โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

ดัชนี คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

ณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross; ICRC / Comité international de la Croix-Rouge (CICR)) เป็นองค์กรมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศสวิสเซอร์แลนด์เมื่อปี..

29 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2460พ.ศ. 2487พ.ศ. 2506การบังคับให้บุคคลสูญหายการสังหารหมู่กาตึญการแลกเปลี่ยนเชลยรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพวันมือแดงวิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโกวิทิต มันตาภรณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถสายตรงมอสโก–วอชิงตันสีสุวัตถิ์ สิริมตะสงครามกลางเมืองซีเรียอัลกออิดะฮ์อันเนอ ฟรังค์อำพล ตั้งนพกุลอดอล์ฟ ไอชมันน์อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่งอ็องรี ดูว์น็องผู้ลี้ภัยดินแดนปาเลสไตน์ตุลาคม พ.ศ. 2548โรงพยาบาลเด็กอินทิรา คานธีเวสต์แบงก์เอสแตล เบอร์นาดอตต์เจนีวา22 สิงหาคม

พ.ศ. 2460

ทธศักราช 2460 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1917 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและพ.ศ. 2460 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2487

ทธศักราช 2487 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1944 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและพ.ศ. 2487 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2506

ทธศักราช 2506 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1963 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและพ.ศ. 2506 · ดูเพิ่มเติม »

การบังคับให้บุคคลสูญหาย

การบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือภาษาปากเรียก การอุ้มหาย (forced disappearance หรือ enforced disappearance) เป็นคำในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หมายถึง กรณีที่บุคคลถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์การการเมือง หรือบุคคลอื่นซึ่งได้รับอนุญาต การสนับสนุน หรือการรับรู้จากรัฐหรือองค์การการเมือง ลักพาตัวไป และรัฐ องค์การการเมือง หรือบุคคลอื่นดังกล่าว บอกปัดไม่รับรู้ชะตากรรมหรือถิ่นที่อยู่ของผู้หายตัวไป โดยจงใจจะให้ผู้นั้นอยู่ภายนอกความคุ้มครองของกฎหมาย ตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2002 เมื่อการบังคับให้บุคคลสูญหายนั้นกระทำเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีพลเรือนเป็นวงกว้างหรือเป็นระบบ ก็จะถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและไม่อยู่ในอายุความ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2006 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติยังได้ตกลงรับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) โดยปรกติแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่า บุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายจะถูกฆ่าทิ้ง เพราะบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายในกรณีเช่นนั้นถูกลักพา หน่วงเหนี่ยวไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทรมานระหว่างการรีดเอาข้อมูล ฆ่าปิดปาก แล้วเอาศพไปซ่อน อนึ่ง แน่นอนว่า การฆ่าดังกล่าวย่อมกระทำโดยซ่อนเร้น ส่วนศพก็มักถูกกำจัดเพื่อมิให้ถูกพบ พยานหลักฐานสำหรับพิสูจน์เกี่ยวกับความตายจึงมักได้มายากเย็น ผู้กระทำจึงสามารถบอกปัดได้ และผู้เสียหายจึงสาบสูญไปในที่สุด กรณีเช่นนี้ ภาษาปากเรียก การอุ้ม.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและการบังคับให้บุคคลสูญหาย · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่กาตึญ

การสังหารหมู่กาตึญ (zbrodnia katyńska, mord katyński, "Katyń crime") เป็นเรื่องราวของการสังหารหมู่ชาวโปแลนด์ ดำเนินการโดยหน่วยเอ็นเควีดี (หน่วยพลาธิการประชาชนเพื่อกิจการภายใน, ตำรวจลับของโซเวียต) ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 1940 แม้ว่าการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในสถานที่ที่แตกต่างกันหลายสังหารหมู่เป็นชื่อหลังจากที่ป่ากาตึญพื้นที่บางส่วนของหลุมฝังถูกค้นพบครั้งแรก การสังหารหมู่ที่ได้รับแจ้งจากหัวหน้าหน่วย NKVD ลัฟเรนตีย์ เบรียา ข้อเสนอของสมาชิกในการจัดการเชลยทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทหารโปแลนด์ลงในวันที่ 5 มีนาคม 1940 ได้รับอนุมัติจากโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตรวมทั้งผู้นำโจเซฟ สตาลิน จำนวนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อประมาณ 22,000 คน.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและการสังหารหมู่กาตึญ · ดูเพิ่มเติม »

การแลกเปลี่ยนเชลย

การแลกเปลี่ยนเชลย (prisoner exchange หรือ prisoner swap) เป็นข้อตกลงกับฝ่ายตรงข้ามในความขัดแย้งที่จะปล่อยเชลย: เชลยศึก, สายลับ, ตัวประกัน ฯลฯ บางครั้ง ศพก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการแลกเปลี่ยน.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนเชลย · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobels fredspris, Nobel Peace Prize) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งในห้าสาขา ที่ริเริ่มโดยอัลเฟร็ด โนเบล ตั้งแต..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ · ดูเพิ่มเติม »

วันมือแดง

ตราสัญลักษณ์ของวันมือแดง วันมือแดง (Red Hand Day) ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันรำลึกประจำปีซึ่งมีการร้องขอผู้นำทางการเมืองและมีการจัดงานขึ้นทั่วโลกเพื่อให้ความสนใจแก่ชะตากรรมของทหารเด็ก เด็กผู้ซึ่งถูกบังคับให้เป็นทหารในช่วงสงครามและความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธเป้าหมายของวันมือแดงคือเรียกร้องให้มีการดำเนินการกับวิธีปฏิบัติดังกล่าว และสนับสนุนเด็กที่ได้รับผลกระทบจากวิธีปฏิบัตินี้ เด็กได้รับรายงานว่าถูกใช้เป็นทหารหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก รวันดา ยูกันดา ซูดาน โกตดิวัวร์ พม่า ฟิลิปปินส์ โคลัมเบีย และปาเลสไตน์ การฟื้นฟูสภาพของทหารเด็กที่กลับคืนสู่ชุมชนนั้นมีแตกต่างกันตั้งแต่ไม่เพียงพอไปจนถึงไม่ปรากฏเลย วันมือแดงได้รับการริเริ่มขึ้นใน..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและวันมือแดง · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก

วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก (Moscow theatre hostage crisis) หรือ การล้อมนอร์ด-โอสท..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและวิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

วิทิต มันตาภรณ์

ตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 - ปัจจุบัน) เป็นนักกฎหมายชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน ศาสตราจารย์กิตติคุณคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและวิทิต มันตาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

อมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระนามเดิม: หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร; พระราชสมภพ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และโดยพระชนมายุจึงนับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์ปัจจุบันในพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะที่พระราชสวามีเสด็จออกผนวช ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499ราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 73, ตอน 76ก, 25 กันยายน..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สายตรงมอสโก–วอชิงตัน

ทรศัพท์สีแดงในสมัยของประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ สายตรงมอสโก–วอชิงตัน คือระบบที่ใช้สำหรับติดต่อโดยตรงระหว่างผู้นำของสหรัฐอเมริกากับรัสเซียโดยอาจรู้จักกันในอีกชื่อคือ โทรศัพท์สีแดง สายตรงนี้เชื่อมต่อระหว่างทำเนียบขาวผ่านทางศูนย์บัญชาการทหารแห่งชาติ (National Military Command Center) กับเครมลิน สายตรงเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงของสงครามเย็น ปัจจุบันไม่มีการใช้โทรศัพท์สีแดงดังกล่าวแล้ว แต่ช่องทางสายตรงนี้ยังคงมีอยู่เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางการลดความเสี่ยงจากนิวเคลียร์ (Nuclear Risk Reduction Center) ที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1988 โดยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสายตรงมอสโก–วอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

สีสุวัตถิ์ สิริมตะ

นักองค์ราชวงศ์ (หม่อมราชวงศ์) สีสุวัตถิ์ สิริมตะ (អ្នកឣង្គរាជវង្ស ស៊ីសុវត្ថិ សិរិមតះ; Sisowath Sirik Matak; 22 มกราคม พ.ศ. 2457 — 21 เมษายน พ.ศ. 2518) เป็นสมาชิกในราชวงศ์กัมพูชา สายราชสกุลสีสุวัตถิ์ นักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ เป็นที่จดจำจากการมีบทบาททางการเมืองในประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกับนักการเมืองฝ่ายขวาในปี พ.ศ. 2513 เพื่อก่อการรัฐประหารต่อสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ประมุขแห่งรัฐซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์เอง และร่วมมือกับลอน นอล ในการสถาปนารัฐบาลสาธารณรัฐเขมร.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสีสุวัตถิ์ สิริมตะ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อัลกออิดะฮ์

อัลกออิดะฮ์ (القاعدة‎, al-Qā`ida "ฐาน") หรือ แอล-ไคดา (al-Qaeda) เป็นกลุ่มก่อการร้ายอิสลามสากล ก่อตั้งโดย อุซามะฮ์ บิน ลาดิน, อับดุลลาห์ อัซซัม (Abdullah Azzam) และนักรบอื่นอีกหลายคน บางช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2531.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและอัลกออิดะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อันเนอ ฟรังค์

อันเนอลีส มารี "อันเนอ" ฟรังค์ (Annelies Marie "Anne" Frank; 12 มิถุนายน 2472 – ประมาณมีนาคม 2488) หรือแอนน์ แฟรงค์ เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของเธอได้ย้ายไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากพรรคนาซีเริ่มมีอำนาจ ต่อมาเมื่อกองทัพนาซีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับออกมาตรการควบคุมชาวยิวจำนวนมาก เธอและครอบครัวกับผู้อื่นอีก 4 คนจึงต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ในอาคารสำนักงานในกรุงอัมสเตอร์ดัมของออทโท ฟรังค์ ผู้เป็นบิดาในห้องลับบนหลังคาตั้งแต่ พ.ศ. 2485 จนถูกหักหลังและถูกนาซีจับเข้าค่ายกักกันในปี พ.ศ. 2487 อันเนอ ฟรังค์เสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในเวลาใกล้เคียงกับพี่สาวในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซินประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม พ.ศ. 2488 สมาชิกตระกูลฟรังค์มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว คือออทโทผู้เป็นพ่อ เขากลับมาอัมสเตอร์ดัมหลังสงครามสิ้นสุดและได้พบสมุดบันทึกของเธอที่เพื่อนเก็บรักษาไว้ให้ จึงพยายามนำออกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2490 ใช้ชื่อหนังสือว่า "Het Achterhuis" หลังจากนั้นมีการแปลจากต้นฉบับภาษาดัตช์ออกไปเป็นภาษาต่าง ๆ มากมาย ฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า "The Diary of a Young Girl" ส่วนฉบับแปลภาษาไทยใช้ชื่อว่า "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์" อันเนอ ฟรังค์ได้รับสมุดบันทึกเป็นของขวัญวันเกิดครบ 13 ขวบ เธอเริ่มเขียนบันทึกตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2485 และสิ้นสุดในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 บันทึกได้รับการแปลจากภาษาดัตช์ออกเป็นภาษาต่าง ๆ มากมายและกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก นอกจากภาพยนตร์แล้วยังมีการนำเรื่องราวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดโทรทัศน์ ละครเวที และแม้แต่อุปรากร งานบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ถือว่าเป็นการเขียนงานอย่างผู้ใหญ่เต็มตัวและเต็มไปด้วยความช่างคิด แสดงให้เห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงภายใต้อำนาจพวกนาซี เป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกจากนิตยสารไทมส์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษ.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและอันเนอ ฟรังค์ · ดูเพิ่มเติม »

อำพล ตั้งนพกุล

อำพล ตั้งนพกุล หรือมักเรียกกันว่า อากง (1 มกราคม 2491 — 8 พฤษภาคม 2555) เป็นชายไทยซึ่งเป็นที่รู้จักเนื่องจากถูกฟ้องว่า ในกลางปี 2553 ได้ส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่สี่ข้อความไปหาสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยมีเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์และพระราชินี อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ต่อมา ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุกยี่สิบปี ได้ถึงแก่ความตายในเรือนจำ และผู้สนับสนุนตั้งพิธีศพที่หน้าศาลอาญากับรั.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและอำพล ตั้งนพกุล · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ไอชมันน์

ออทโท อดอล์ฟ ไอชมันน์ (Otto Adolf Eichmann, 19 มีนาคม ค.ศ. 1906 - 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1962) เป็นสมาชิกพรรคนาซี และ โอเบอร์ชตูร์มบันน์ฟือเรอร์ (พันโท) ของหน่วยเอ็สเอ็ส และหนึ่งในผู้จัดการการล้างชาติโดยนาซีคนสำคัญ เพราะความสามารถพิเศษในการจัดการเป็นระบบและความน่าเชื่อถือทางอุดมการณ์ ไอชมันน์จึงได้รับมอบหมายจากไรน์ฮาร์ด ฮายดริชให้ปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกและจัดการพลาธิการการเนรเทศชาวยิวขนานใหญ่ไปยังเก็ตโตและค่ายมรณะในยุโรปตะวันออกภายใต้การยึดครองของเยอรมนี หลังสงครามยุติ เขาบินไปยังอาร์เจนตินาโดยใช้บัตรอนุญาต (laissez-passer) ออกโดย กาชาดสากล ที่ได้มาโดยตลบแตลง เขาอาศัยอยู่ในอาร์เจนตินาภายใต้รูปพรรณปลอม ทำงานให้กับเมอร์ซิเดสเบนซ์ถึง..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและอดอล์ฟ ไอชมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) เป็นสนธิสัญญาซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีข้อมติที่ 260 ตกลงรับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1948 และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 1951 อนุสัญญานี้กำหนดบทอธิบายศัพท์ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ตามกฎหมาย และเป็นผลมาจากการรณรงค์ยาวนานหลายปีของราฟาเอล เล็มกิน (Raphael Lemkin) นักนิติศาสตร์ แยร์ ออรอน (Yair Auron) นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอล กล่าวว่า "เมื่อราฟาเอล เล็มกิน สร้างศัพท์ว่า 'ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์' เมื่อปี 1944 นั้น เขาเอาการทำลายล้างชาวอาร์เมเนียเมื่อปี 1915 มาเป็นตัวอย่างสำคัญของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" อนุสัญญากำหนดให้รัฐทั้งหลายที่เข้าร่วมอนุสัญญาต้องป้องกันและลงโทษการกระทำทั้งหลาย ๆ ที่ก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งในยามสงบและยามรบ ปัจจุบัน มีรัฐ 144 รัฐให้สัตยาบันแก่อนุสัญญานี้แล้ว.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง

อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง ว่าด้วยการดูแลรักษาทหารผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยในสนามรบ คือสนธิสัญญาหนึ่งในสี่ฉบับของอนุสัญญาเจนีวาที่วางรากฐานของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการพิทักษ์ผู้เป็นเหยื่อของสงคราม อนุสัญญาลงนามครั้งแรกโดยประเทศในยุโรปสิบสองประเทศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี ดูว์น็อง

อ็องรี ดูว์น็อง อ็องรี ดูว์น็อง (Henri Dunant) ชื่อเต็ม ฌ็อง อ็องรี ดูว์น็อง (Jean Henri Dunant; 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1828 — 30 ตุลาคม ค.ศ. 1910) เป็นนักธุรกิจ และนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ชาวสวิส เขาเป็นผู้ให้กำเนิดคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและสภากาชาดประจำชาติ เพื่อช่วยเหลิอบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยสงครามและภัยพิบัติต่าง ๆ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี ค.ศ. 1901 ร่วมกับเฟรเดริก ปาซี (Frédéric Passy) นายอ็องรี ดูว์น็อง เกิดที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้เคร่งศาสนา โดยมีความเชื่อตามแนวทางของนิกายคาลวิน และตั้งมั่นในหลักการ "จงรักเพื่อนบ้านของท่าน" ("Love thy neighbor") เขาได้เดินทางไปทั่วยุโรปเพื่อบรรยายถึงความชั่วร้ายเรื่องความเป็นทาส (slavery) ในปี ค.ศ. 1859 ระหว่างอยู่ที่ประเทศอิตาลี เขาได้ไปที่สนามรบของสงครามแห่งโซลเฟริโน และได้เห็นทหารที่ได้รับบาดเจ็บนับพันคน ถูกปล่อยทิ้งรอความตายในสนามรบตามยถากรรม โดยไม่ได้รับแม้แต่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ที่อาจรักษาชีวิตของคนเหล่านี้ได้ หลังจากที่เขากลับถึงกรุงเจนีวา เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับประสบการณ์ครั้งนี้ของเขา ในชื่อ Un Souvenir de Solferino (ความทรงจำแห่งซอลเฟรีโน) ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1862 ในบทความเขาได้พยายามผลักดันให้มีการจัดตั้ง เครือข่ายนานาชาติของอาสาสมัครเพื่อบรรเทาทุกข์ขึ้น หนังสือของเขาได้รับความสนใจจาก สภาบริหารประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland's Federal Council) และส่งผลให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สนับสนุนให้มีการประชุมสัมมนานานาชาติขึ้นในปี ค.ศ. 1863 เพื่ออภิปรายถึงแนวความคิดของดูว์น็องที่เขาได้เขียนไว้ในบทความ เก้าบทความ (Nine Articles) มีประเทศเข้าร่วมการประชุมสัมนาในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1864 ทั้งหมด 16 ประเทศ และในจำนวนนั้น 12 ประเทศได้ให้การสนับสนุนในเนื้อหา ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง อ็องรี ดูว์น็อง ในวัยชรา ช่วงหลายปีหลังจากนั้น ดูว์น็องได้เขียนบทความเกี่ยวกับการปลดอาวุธ และการตั้งศาลระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ เขาได้ละเลยการงานส่วนตัวจนต้องตกเป็นหนี้สิน ประสบกับความยากจน และได้หายหน้าหายตาไป นอกจากนี้ อ็องรี ดูว์น็อง ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มฟรีเมสันรี (freemasonry) ในขณะที่มีการให้รางวัลโนเบลเป็นครั้งแรกนั้น ก็มีข้อโต้แย้งว่า เขาควรจะได้รับรางวัลนี้หรือไม่ เนื่องจากในขณะนั้นองค์กรกาชาดได้ถูกจัดตั้งเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และบทบาทของ อ็องรี ดูว์น็อง ก็ได้ถูกลืมเลือนไปเช่นกัน ได้มีข้อเสนอให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในสาขาแพทยศาสตร์ เนื่องมาจากบทบาทขององค์กรกาชาดในขณะนั้น ผลการประนีประนอมในท้ายที่สุดได้มีการตัดสินให้เป็นรางวัลร่วมในสาขาสันติภาพ โดยได้รับร่วมกับเฟรเดริก ปาซี ซึ่งเป็นนักต่อสู้เพื่อสันติภาพที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส และถึงแม้ว่าอ็องรี ดูว์น็อง จะมีชีวิตที่ยากจนในขณะนั้น แต่เขาก็บริจาคเงินรางวัลที่ได้รับทั้งหมดเพื่อการกุศล อ็องรี ดูว์น็อง เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1910.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและอ็องรี ดูว์น็อง · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ลี้ภัย

แผนที่แสดงต้นกำเนิดของผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิงใน ค.ศ. 2007 แผนที่แสดงประเทศปลายทางของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 2007 ผู้ลี้ภัย (refugee) หมายถึงบุคคลที่อยู่นอกประเทศต้นกำเนิดหรือประเทศที่มีถิ่นฐานประจำ เพราะเขาผู้นั้นประสบกับภัยอันเกิดแต่การตามล่า การกดขี่ด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความเห็นทางการเมือง หรือ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่ถูกตามล่า บางครั้งอาจเรียกผู้ลี้ภัยว่า ผู้ขอที่ลี้ภัย (asylum seeker) จนกว่าจะได้รับการยอมรับสถานภาพของผู้ลี้ภัย เด็กและสตรีผู้ลี้ภัยเป็นผู้ลี้ภัยกลุ่มย่อยที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ระบบผู้ลี้ภัยจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อประเทศเปิดพรมแดนให้ผู้คนหนีจากความความขัดแย้ง โดยเฉพาะประเทศพื้นบ้านใกล้กับต้นกำเนิดของความขัดแย้ง ระบบผู้ลี้ภัยนี้ได้ช่วยเหลือผู้คนมากมายแต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ ในหลายกรณีการหนีไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยกระทำได้ยากยิ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและผู้ลี้ภัย · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนปาเลสไตน์

นแดนปาเลสไตน์หรือดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองประกอบด้วยเวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) และฉนวนกาซา ในปี 2536 ตามข้อตกลงออสโล ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนในปาเลสไตน์ในอาณัติภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491 กระทั่งสงครามหกวัน ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้ความตกลงการสงบศึกปี 2492 ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศ เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับในสงครามหกวัน ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง" ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า เยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีเจตนาประกาศรัฐปาเลสไตน์ จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและกาชาดสากลถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงก์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนปาเลสไตน์ตามลำดับ ขณะที่อิสราเอลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนอันเป็นผลจากการผนวกในปี 2523 ตามศาลสูงสุดอิสราเอล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ซึ่งห้ามการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองฝ่ายเดียว ใช้ไม่ได้กับเยรูซาเลมตะวันออก เพราะอิสราเอลและพันธมิตรไม่รับรอง "องค์อธิปัตย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย" ที่เดิมเคยควบคุมดินแดนนั้น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (ซึ่งล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐปาเลสไตน์ อันเป็นผลจากสหประชาชาติรับรองเอกราช) ซึ่งรักษาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ไม่เคยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว ทว่า ไม่มีประเทศใดรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอล นับแต่การผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงครามฝ่ายเดียวโดยฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ข้อตกลงออสโล (2538) สถาปนาการออกสู่ทะเลสำหรับกาซาภายใน 20 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ข้อผูกมัดเบอร์ลินปี 2545 ลดเหลือ 19 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม 2549 อิสราเอลกำหนดขีดจำกัด 6 ไมล์ และผลของสงครามกาซาจำกัดการออกลงเหลือขีดจำกัด 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเกินกว่านั้นมีเขตห้ามเข้า (no-go zone) ผลคือ ชาวประมงกว่า 3,000 คนถูกปฏิเสธการออกสู่ 85% ของพื้นที่ทะเลตามที่ตกลงกันในปี 2538 พื้นที่เดดซีส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ และชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามไม่ให้ออกสู่แนวชายฝั่ง การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ระหว่างสองกลุ่มการเมืองจะจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2557 และตั้งรัฐบาลเอกภาพปรองดอง.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและดินแดนปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม พ.ศ. 2548

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและตุลาคม พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลเด็กอินทิรา คานธี

รงพยาบาลเด็กอินทิรา คานธี (Indira Gandhi Children's Hospital) ตั้งอยู่ในกรุงคาบูล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเด็กของประเทศอัฟกานิสถาน, CNN, 2009-03-19 โรงพยาบาลแห่งนี้มี 150 เตียง, Ministry of Defence (United Kingdom) และในปี..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและโรงพยาบาลเด็กอินทิรา คานธี · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์แบงก์

แผนที่เขตเวสต์แบงก์ เวสต์แบงก์ (West Bank; الضفة الغربية; הגדה המערבית หรือ יהודה ושומרון ซึ่งแปลว่า "จูเดียและซาแมเรีย") เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เวสต์แบงก์มีพรมแดนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ร่วมกับรัฐอิสราเอล ส่วนทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปจะเป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน นอกจากนี้ เวสต์แบงก์ยังมีชายฝั่งทะเลตลอดแนวฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซีอีกด้วย เขตเวสต์แบงก์ (รวมนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก) มีเนื้อที่บนบก 5,640 ตารางกิโลเมตร และมีเนื้อที่พื้นน้ำ 220 ตารางกิโลเมตรซึ่งได้แก่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซี ประมาณการกันว่ามีจำนวนประชากร 2,622,544 คน ณ เดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและเวสต์แบงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เอสแตล เบอร์นาดอตต์

อสแตล โรเมน เบอร์นาดอตต์ เคาน์เตสแห่งวิสบอรย์ (26 กันยายน ค.ศ. 1904 — 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1984) มีนามเดิมแต่แรกเกิดว่า เอสแตล โรเมน แมนวิลล์ หรืออาจรู้จักในนาม เอสแตล เอกสตรันด์ เป็นเคาน์เตสสวีเดนเชื้อสายอเมริกันที่มีบทบาทในการเป็นผู้นำคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และเนตรนารี, New York Times, June 5, 1984.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและเอสแตล เบอร์นาดอตต์ · ดูเพิ่มเติม »

เจนีวา

นีวา (Geneva) หรือออกเสียงในภาษาท้องถิ่นว่า เฌอแนฟว์ (Genève) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (รองจากซือริช) ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภาครอม็องดีอันเป็นภูมิภาคที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักในสวิตเซอร์แลนด์ นครเจนีวาตั้งอยู่บริเวณต้นแม่น้ำโรนซึ่งไหลออกจากทะเลสาบเจนีวา เจนีวามีสถานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐแห่งรัฐเจนีวา เจนีวาถือเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของโลก โดยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน, ศูนย์กลางทางการทูต เจนีวาถือเป็นเมืองที่มีองค์กรระหว่างประเทศตั้งอยู่มากที่สุดในโลก ในบรรดาองค์กรเหล่านี้อาทิ หน่วยงานของสหประชาชาติและกาชาดสากล เป็นต้น ในปี 2017 เจนีวาได้รับการจัดอันดับโดย Global Financial Centres Index ให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับ 15 ของโลก และเป็นที่ 5 ของทวีปยุโรป รองจากลอนดอน, ซือริช, แฟรงเฟิร์ต และลักเซมเบิร์ก และยังได้รับการจัดอันดับโดย Mercer's Quality of Living index ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลกในปีเดียวกัน.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและเจนีวา · ดูเพิ่มเติม »

22 สิงหาคม

วันที่ 22 สิงหาคม เป็นวันที่ 234 ของปี (วันที่ 235 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 131 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและ22 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ICRCInternational Committee of the Red Crossกาชาดสากลคณะกรรมการกาชาดสากล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »