โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ข้าวหลามตัด (มุทราศาสตร์)

ดัชนี ข้าวหลามตัด (มุทราศาสตร์)

ตราทรงข้าวหลามตัดของซาราห์ดัชเชสแห่งยอร์ค ข้าวหลามตัด (Lozenge (heraldry)) ในมุทราศาสตร์ “ข้าวหลามตัด” เป็นองค์ประกอบหนึ่งในกลุ่มเครื่องหมายที่ปรากฏบนโล่ในตราอาร์ม ที่มีทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่คล้ายกับรูปข้าวหลามตัดที่พบบนไพ่ “ข้าวหลามตัด” ที่จะแคบกว่าด้านตั้ง แต่แตกต่างจากข้าวหลามตัดแคบ (Fusil) ที่เป็นทรงเดียวกันแต่แคบกว่าอย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติก็มักจะละเลยกัน “ข้าวหลามตัด” อาจจะแบ่งออกไปเป็น “ข้าวหลามตัดกลวง” (Mascle) ที่เป็นทรงข้าวหลามตัดและกลวงออกเป็นทรงข้าวหลามตัดเช่นกัน และอีกทรงหนึ่งที่หาดูได้ยากกว่าก็คือทรง “ข้าวหลามตัดรู” (Rustre) ซึ่งมีรูกลมอยู่ตรงกลาง ถ้าโล่ทั้งโล่เป็นลายข้าวหลามตัดก็จะได้รับการนิยามว่าเป็น “lozengy” (“ลายข้าวหลามตัด”) ถ้าเป็นข้าวหลามตัดกลวงทั้งโล่ก็จะเป็น “masculy” (“ลายข้าวหลามตัดกลวง”) หรือ ถ้าเป็นข้าวหลามตัดแคบทั้งโล่ก็จะเป็น “fusily” (“ลายข้าวหลามตัดแคบ”) ทรงข้าวหลามตัดมักจะเป็นที่สตรีใช้เป็นทรงตราอาร์มที่ใช้กันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี แทนที่จะใช้ทรงโล่อย่างเช่นตราอาร์มของบุรุษ ในอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่ไม่ใช่ในแคนาดา ตราอาร์มของสตรีโสดและของแม่หม้ายจะเป็นทรงข้าวหลามตัดแทนที่จะเป็นโล่โดยไม่มีเครื่องยอดหรือหมวกเกราะ หรือบางครั้งก็จะใช้ทรงรูปไข่แทนที่ (Cartouche) แต่สตรีที่แต่งงานแล้วจะใช้ตราอาร์มที่เป็นโล่ นอกจากจะเป็นสตรีที่มีบรรดาศักดิ์ของตนเองผู้ใช้ตราอาร์มทรงข้าวหลามตัดแม้ว่าจะในระหว่างที่มีคู่สมรส โล่ของสตรีผู้มีสามี (และตราข้าวหลามตัดของแม่หม้าย) อาจจะรวมตราอาร์มเดิมของตนเองกับตราของสามีอาจจะโดยการ “รวมตรา” (Impalement) คือวางตราสองตราเคียงข้างกัน หรือเช่นที่ทำกันในอังกฤษโดยการ “escutcheon of pretence” คือ แสดงตราของสตรีเป็น “โล่ใน” (หรือทรงข้าวหลามตัดในสำหรับแม่หม้าย) เหนือโล่ที่ใหญ่กว่าของสามี ตามกฎที่อนุมัติโดยเจ้าหน้าที่สูงสุดทางมุทราศาสตร์ของอังกฤษเมื่อวันที่ 7 เมษายน..

4 ความสัมพันธ์: สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรโล่ (มุทราศาสตร์)ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ข้าวหลามตัด (มุทราศาสตร์)และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

โล่ (มุทราศาสตร์)

ล่ หรือ โล่ภายในตรา (Escutcheon หรือ scutcheon) ในมุทราศาสตร์ “โล่” เป็นองค์ประกอบที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น บางครั้งก็จะมีการใช้คำว่า “Crest” (“เครื่องยอด”) แทน “Escutcheon” หรือ “โล่กลางตรา” ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง รูปทรงของ “โล่กลางตรา” มาจากรูปทรงของโล่ที่ใช้โดยอัศวินในการต่อสู้ในยุคกลาง รูปทรงที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่นและยุคสมัย เพราะโล่เป็นเครื่องหมายของสงครามจึงเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับบุรุษเท่านั้น สตรีชาวอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วจะใช้โล่ทรงข้าวหลามตัด (Lozenge) ขณะที่สตรีและนักบวชบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปใช้ทรงทรงคาร์ทูช (Cartouche) หรือทรงรูปไข่ ทรงอื่นที่ใช้กันก็มีทรงกลม (roundel) ที่มักจะใช้โดยตราสำหรับชนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ที่มอบให้โดยสำนักงานมุทราศาสตร์แห่งแคนาดา (Canadian Heraldic Authority) คำว่า “Escutcheon” มาจากภาษาอังกฤษกลาง “escochon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “escuchon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “Escochon” ที่มาจากภาษาลาตินพื้นบ้าน (Vulgar Latin) “scūtiōn-” จากภาษาลาติน “scūtum” ที่แปลว่า “โล่” จากความหมายนี้ในมุทราศาสตร์ คำว่า “Escutcheon” สามารถหมายถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของตระกูลและเกียรติยศของตระกูล คำว่า “inescutcheon” หรือ “โล่ใน” เป็นโล่ที่มีขนาดเล็กกว่าโล่หลักที่ตั้งอยู่ในบริเวณโล่หลัก ที่อาจจะใช้สำหรับ “pretense” หรือการวางโล่เหนือโล่อีกโล่หนึ่งของตนเอง ซึ่งคือการวางโล่เหนือโล่หรือสัญลักษณ์ของดินแดนในปกครอง หรือ เพียงเพื่อเป็นเครื่องหมายตกแต่งโดยไม่มีความหมายลึกไปกว่านั้น.

ใหม่!!: ข้าวหลามตัด (มุทราศาสตร์)และโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

อานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระนามเต็มว่า ไดอานา ฟรานเซส (อังกฤษ: Diana Frances) สกุลเดิม สเปนเซอร์ (อังกฤษ: Spencer) ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารอังกฤษ ไดอานาถือกำเนิดในตระกูลขุนนางที่สืบทอดเชื้อสายจากราชวงศ์อังกฤษโบราณ  เป็นบุตรีคนที่ 3 ของ จอห์น สเปนเซอร์ ไวเคานต์อัลธอร์พ และฟรานเซส โรช ในวัยเด็กไดอานาพักอาศัยที่คฤหาสน์พาร์กเฮาส์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่ตำหนักซานดริงแฮม ไดอานาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่ประเทศอังกฤษและได้เข้าศึกษาต่อเป็นเวลาสั้นๆ ในโรงเรียนการเรือนที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  เมื่ออายุได้ 14 ปี ไดอานาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เลดี้ เมื่อบิดาสืบทอดฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น เอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ ไดอานาเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อเป็นเข้าพิธีหมั้นหมายกับเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ใน..

ใหม่!!: ข้าวหลามตัด (มุทราศาสตร์)และไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

รขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์ อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: ข้าวหลามตัด (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lozenge (heraldry)ข้าวหลามตัด (อิสริยาภรณ์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »