สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: รายชื่อขนมไทยอาหารไทยอาหารเวียดนามขนมไทยข้าวเม่าตลาดพลูแพร่งภูธรแพร่งนราแยกสำราญราษฎร์
รายชื่อขนมไทย
''ดาราทอง'' หรือ ''ทองเอกกระจัง'' นี่คือ รายชื่อขนมไทย ประกอบด้วยขนมขบเคี้ยวและขนมหวาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาหารไท.
อาหารไทย
ต้มยำกุ้ง อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดยซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1.
อาหารเวียดนาม
ั๊ญแส่วหรือขนมเบื้องญวนในประเทศเวียดนาม อาหารเวียดนามเป็นอาหารประจำชาติของชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นอาหารที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นของตัวเอง ชาวเวียดนามกินข้าวเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับชาติอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใช้เครื่องปรุงรสที่เป็นของหมักดองเช่นเดียวกัน เนื่องจากเวียดนามเคยถูกจีนและฝรั่งเศสปกครองจึงมีอิทธิพลของทั้งสองชาติปรากฏอยู่บ้าง นอกจากนั้น เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ทอดยาวตามแนวชายฝั่ง ทำให้อาหารเวียดนามแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน อาหารเวียดนามที่คนไทยรู้จักดีและเป็นเอกลักษณ์คือแหนมเนืองและขนมเบื้องญวน.
ขนมไทย
นมไทยหลายชนิด อาทิ ทองหยอด, ทองหยิบ, ฝอยทอง ซึ่งเป็นขนมที่มีที่มาจากโปรตุเกส โดย ท้าวทองกีบม้า ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง.
ข้าวเม่า
้าวเม่า ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทยลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา เส้นทางขนมไท.
ตลาดพลู
นนเทอดไท ถนนสายหลักของตลาดพลู สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ตลาดพลู ตลาดพลู เป็นชุมชนและทางแยกตั้งอยู่บริเวณถนนเทอดไท แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี ติดกับคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ แต่เดิมนั้นเป็นพื้นที่ของชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อย้ายราชธานีไปยังฝั่งพระนคร ชาวจีนบางส่วนที่ตลาดพลูจึงได้ย้ายไปสำเพ็ง และมีชาวมุสลิมจากภาคใต้ที่เข้ามาแทนที่ ได้ริเริ่มการทำสวนพลูที่นี่ ซึ่งทั้งชาวมุสลิมและชาวจีนต่างทำสวนพลูจนเป็นอาชีพที่แพร่หลาย จนเป็นตลาดซื้อขายพลู ที่เรียกว่าตลาดพลู จนบัดนี้ ในอดีต ตลาดพลูเป็นย่านที่มีความคึกคักมาก มีโรงภาพยนตร์ 2 โรง จนมีคำกล่าวว่า "เยาวราชมีอะไร ตลาดพลูก็มีอย่างนั้น" ตลาดพลู ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องของเป็นแหล่งขายอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะอาหารจีนที่เป็นอาหารริมทาง เช่น ข้าวหมูแดง, ไอศกรีมกะทิไข่แข็ง, ก๋วยเตี๋ยวและเกาเหลาเนื้อ, ขนมไทย, เย็นตาโฟ, หมี่กรอบ, ขนมเบื้องทั้งของไทยและญวน รวมถึง ขนมบดิน ขนมเค้กแบบดั้งเดิมของชาวมุสลิมด้านมัสยิดสวนพลู และที่มีชื่ออย่างมากคือ ขนมกุยช่าย ซึ่งเป็นอาหารกินเล่นหรือขนมของชาวแต้จิ๋ว.
แพร่งภูธร
ปากทางเข้าแพร่งภูธรด้านถนนอัษฎางค์ แลเห็นสุขุมาลอนามัย แพร่งภูธร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี เดิมคือ วังสะพานช้างโรงสี วังเหนือ อยู่ทางทิศใต้ของแพร่งนรา ซึ่งเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ต้นราชสกุลไพฑูรย์ เมื่อกรมหมื่นสนิทนเรนทร์สิ้นพระชนม์ จึงเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา ต้นราชสกุลชุมแสง เมื่อกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาเมื่อเมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ปัจจุบัน ใจกลางแพร่งภูธรเป็นลานสาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจำนวนหลากหลายร้าน หลากหลายประเภท เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ, บะหมี่และเกี๊ยว, ต้มสมองหมู, เปาะเปี๊ยะสด, ข้าวหมูแดง, ข้าวแกงกะหรี่เนื้อและสตูว์เนื้อ, ไอศกรีมแบบไทย, ขนมเบื้อง, ผัดไทย รวมถึงอาหารตามสั่ง เช่นเดียวกับถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ และแพร่งนราที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งบางร้านยังมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย สุขุมาลอนามัย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี..
แพร่งนรา
แพร่งนราด้านถนนอัษฎางค์ แพร่งนรา เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศน์เทพวรารามกับวัดมหรรณพาราม ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่งภูธร และอยู่ทางทิศใต้ของแพร่งสรรพศาสตร์ บริเวณนี้เดิมคือ วังวรวรรณ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ซึ่งต่อมาถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ปัจจุบัน แพร่งนราเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่หลากหลายขึ้นชื่อและหลายประเภท เช่นเดียวกับแพร่งภูธร, ถนนตะนาว และถนนมหรรณพที่อยู่ใกล้เคียง ของขึ้นชื่อของที่นี่ ได้แก่ ลูกชิ้นหมูปิ้ง, ขนมหวานไทย, กล้วยปิ้ง และขนมเบื้อง.
แยกสำราญราษฎร์
แยกสำราญราษฎร์ (Samran Rat Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนบำรุงเมืองและถนนมหาไชย ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำราญราษฎร์เป็นชื่อที่ทางการตั้งให้แทนชื่อย่านที่เรียกดั้งเดิมว่า ประตูผี.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ขนมเบื้องไทย