สารบัญ
4 ความสัมพันธ์: กิ้งก่าดงคอสีฟ้ารายการสัตว์วงศ์กิ้งก่าอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
กิ้งก่าดงคอสีฟ้า
กิ้งก่าดงคอสีฟ้า (Blue-crested Lizard,Indo-Chinese Forest Lizard,Indo-Chinese Bloodsucker) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับกิ้งก่าหัวแดง แต่บริเวณท้ายทอยมีหนามเล็กๆยื่นออกมา 2 คู่ ในตัวเต็มวัย มีสีสันสวยงามมาก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มไล่ลงมาอ่อน ตัดกับจุดกลมสีครีม 3 จุด บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่หัวไล่ลงมาจนหลังมีสีฟ้าเข้มแกมเขียว หน้ามีคาดสีขาว เป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต ต้นไม้หนึ่งต้นที่พบ อาจพบมีมากกว่า 1 ตัว โดยจะมีตัวผู้ ปกครอง อยู่เสมอ ถิ่นอาศัยค่อนข้างแตกต่างกับกิ้งก่าคอแดง กิ้งก่าวัยอ่อนมักอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้เล็กๆ หรือตามพุ่มไม้ ตัวเต็มวัยมักเกาะหากินตามลำต้นไม้ขนาดใหญ่ หรือ ระดับเรือนยอด โดยวิ่งกินแมลงขนาดใหญ่ตามเปลือกไม้ หรือ พื้น ได้ดี เช่น มด ด้วง แมลงสาบ กิ้งก่าวัยอ่อนชอบกิน ตัวอ่อนด้วง และ แมลงสาบป่า ขนาดเล็ก ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตต้นไม้และตัวเมียอย่างดุร้าย ขุดหลุมวางไข่ครั้งละ 7-8 ฟอง มักพบในป่าที่ค่อนข้างแห้ง หรือ ตามต้นไม้ริมถนน พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง พบได้มากในป่าฮาลา-บาล.
ดู กิ้งก่าสวนและกิ้งก่าดงคอสีฟ้า
รายการสัตว์
รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.
วงศ์กิ้งก่า
วงศ์กิ้งก่า (Dragon lizards, Old Wolrd lizards, ชื่อวิทยาศาสตร์: Agamidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า วงศ์หนึ่ง ที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความหลากหลายมาก ประมาณเกือบ 500 ชนิด จนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีลักษณะโดยรวม คือ มีขา 4 ข้างเห็นชัดเจน มีเกล็ดปกคลุมด้านหลังและด้านท้องของลำตัว เกล็ดมีขนาดเล็กเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกันหรือต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวอักษรที และกระดูกไหปลาร้ามีรูปร่างโค้ง มีหางยาว แต่โดยทั่วไปน้อยกว่า 1.4 เท่าของความยาวจากปลายจมูกถึงรูก้น ไม่สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้ ยกเว้นในสกุล Uromystax พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ มีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ตะกอง (Physignathus cocincinus) ซึ่งเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น น้ำตก ในภูมิภาคอินโดจีน, กิ้งก่าบินคอแดง (Draco blanfordii), กิ้งก่าสวน (Calotes mystaceus), หรือ แย้เส้น (Leiolepis belliana) ที่พบได้ทั่วไปตามพื้นดินภาคอีสาน.
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี.
ดู กิ้งก่าสวนและอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Calotes mystaceusCalotes versicolorกะปอมกิ้งก่าหัวสีฟ้ากิ้งก่าบ้านหัวน้ำเงิน