โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิโมโน

ดัชนี กิโมโน

วาดกิโมโน กิโมโน เป็นชุดแต่งกายโบราณของประเทศญี่ปุ่น.

24 ความสัมพันธ์: บิจิงะชินเซ็งงุมิชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิชุดชั้นในสตรีมหาอัคคีภัยชิโระกิยะมิโกะวัดเซ็นโซสามเหมียวยอดนินจาสาวหิมะอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3ทากาสุงิ ชินสุเกะดิอะเมซิ่งเรซ: Ha'Merotz La'Millionตัวละครในมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ตำนานคนตัดไผ่แฟนเซอร์วิซโยชิตากะ อามาโนะโจโยเกราะญี่ปุ่นเกอิชาเกียวโต (นคร)เมืองหลวงญี่ปุ่นเสื้อปัดเอ็งกะเทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ

บิจิงะ

อุตะมาโระ, ค.ศ. 1798 บิจิงะ (美人画, Bijinga) เป็นคำทั่วไปสำหรับเรียกศิลปะญี่ปุ่นที่เป็นภาพสตรีผู้มีความงดงามโดยเฉพาะในงานภาพพิมพ์แกะไม้ประเภทภาพอุกิโยะที่เป็นงานศิลปะก่อนหน้าภาพถ่าย คำนี้ใช้สำหรับมีเดียสมัยใหม่ด้วยที่เป็นภาพที่ของสตรีที่มีลักษณะเป็นแบบคลาสสิก โดยเฉพาะที่เป็นภาพของสตรีที่แต่งตัวด้วยกิโมโน ศิลปินภาพอุกิโยะแทบทุกคนจะสร้างงาน “บิจิงะ” เพราะเป็นหัวข้อหลักของศิลปะประเภทที่ว่านี้ แต่จิตรกรผู้มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อในการเขียน “บิจิงะ” ที่สำคัญก็ได้แก่คิตะกาวะ อุตะมาโระ, ซูซูกิ ฮะรุโนะบุ, โตะโยะฮาระ ชิกะโนะบุ และ โตริอิ กิโยะนาง.

ใหม่!!: กิโมโนและบิจิงะ · ดูเพิ่มเติม »

ชินเซ็งงุมิ

งของกลุ่มชินเซ็งงุมิ ชินเซ็งงุมิ เป็นชื่อของกลุ่มตำรวจพิเศษของประเทศญี่ปุ่นในยุคบะกุมะสึ หรือช่วงปลายแห่งการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะว.

ใหม่!!: กิโมโนและชินเซ็งงุมิ · ดูเพิ่มเติม »

ชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิ

งะโกะ ฮิงะชิกุนิ (6 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2504) มีพระนามเดิมคือ เจ้าหญิงชิเงะโกะ เจ้าเทะรุ และภายหลังเสกสมรสกับ เจ้าชายโมะริฮิโระแห่งฮิงะชิกุนิ ทรงพระนามว่า เจ้าหญิงชิเงะโกะ พระชายาโมะริฮิโระแห่งฮิงะชิกุนิ พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตใน สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง อีกทั้งยังเป็นพระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น.

ใหม่!!: กิโมโนและชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิ · ดูเพิ่มเติม »

ชุดชั้นในสตรี

ั้นในสตรีในหลายรูปแบบ ชุดชั้นในสตรี เป็นชุดชั้นในของผู้หญิง และอาจบ่งบอกถึงแฟชั่น ความทันสมัย และมีเสน่ห์ ชุดชั้นในถูกออกแบบด้วยผ้าให้มีความยืดหยุ่น และตกแต่งสวยงาม เช่น ไลคร่า ไนลอน (ไนลอนสามล้อ) เส้นใยสังเคราะห์ แพรซาติน ลูกไม้ ผ้าไหม ผ้าเชียร์ สิ่งทอ ชุดชั้นในผ้าฝ้ายหรือผ้าสังเคราะห์บางชนิดก็เป็นชุดชั้นในสตรี.

ใหม่!!: กิโมโนและชุดชั้นในสตรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาอัคคีภัยชิโระกิยะ

มหาอัคคีภัยชิโระกิยะ เป็นเหตุการณ์เพลิงไหม้ห้างสรรพสินค้าชิโระกิยะในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม..

ใหม่!!: กิโมโนและมหาอัคคีภัยชิโระกิยะ · ดูเพิ่มเติม »

มิโกะ

'''มิโกะ''' (หญิง) และองเมียวจิ (ชาย) จากภาพยนตร์เรื่ององเมียวจิ ปี 2544 มิโกะ (shrine maiden) คือหญิงสาวที่ทำงานอยู่ในศาลเจ้าชินโต ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นเป็นช่วงที่การนับถือเทพเจ้าและธรรมชาติของชาวญี่ปุ่นยังแรงกล้า ชาวบ้านชาวเมืองนับถือเทพเจ้าและเข้าใจว่าเทพเจ้าบันดาลให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น บางสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เช่น ความแห้งแล้ง ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า ฯลฯ คนในสมัยก่อนต่างก็เชื่อว่าเป็นสารจากเทพเจ้าที่ส่งมาให้มนุษย์ได้รับรู้ บางครั้งอาจมารูปแบบสิ่งเหนือธรรมชาติก็ได้ ผู้ที่ทำการรับสารนั้นจากเทพเจ้านั้นจะเป็นหญิงสาวบริสุทธิ์ที่เรียกว่า มิโกะ มิโกะในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นจะไม่ได้แต่งตัวเหมือนกับมิโกะที่เราเห็นในปัจจุบัน ส่วนที่เราเห็นแต่งตัวเหมือนในปัจจุบันนั้นเป็นช่วงเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์แล้ว อย่างที่รู้กันว่าญี่ปุ่นได้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของเทพเจ้า ความเชื่อในเทพเจ้าและธรรมชาติ สิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย ในสมัยนี้อาจเรียกรวมๆ ว่า สร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของเทพนิยาย เมื่อเป็นเช่นนั้นการจะรับสารจากเทพเจ้าจำเป็นต้องมีคนกลางระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ธรรมดา เราเรียกมนุษย์ที่ทำหน้าที่รับสารและแปลสารจากเทพเจ้าว่ามิโกะ มิโกะจะเป็นหญิงสาวพรหมจารี (ไม่ข้องแวะกับชายใด).

ใหม่!!: กิโมโนและมิโกะ · ดูเพิ่มเติม »

วัดเซ็นโซ

วัดเซนโซในย่านอาซากุสะ กรุงโตเกียว ร้านค้าเล็กๆริมถนนนากามิเสะแห่งนี้ มีนักท่องเที่ยวมาจับจ่ายซื้อของมานานหลายศตวรรษแล้ว 200px 200px 200px 200px 200px 200px วัดเซนโซ หรือที่รู้จักกันในชื่อ วัดอาซากุสะ เป็นวัดพุทธในย่านอะสะกุสะ เขตไทโต โตเกียว เป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโตเกียว สถานที่ดั้งเดิมถูกระเบิดเผาทำลายไปเกือบหมดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัววัดปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด แรกเริ่มเคยเป็นวัดในสายเทนได ต่อมาได้แยกเป็นอิสระหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณติดกับวัดเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าอาซากุสะ ซึ่งเป็นศาลเจ้าในศาสนาชินโต วัดเซนโซเป็นสถานที่จัดเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดในโตเกียว เทศกาลมีระยะเวลา 3-4 วัน ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ ระหว่างนี้ถนนใกล้เคียงจะปิดการจราจรตั้งแต่เช้าจนถึงหัวค่ำ ผู้มาสักการะกำลังเผาเครื่องบูชา ที่ทางเข้าวัดมีประตูขนาดใหญ่ เรียกว่า ประตูคามินาริ (Kaminari-mon) หรือ "ประตูอสุนี" บนคานประตูแขวนโคมกระดาษขนาดใหญ่มีความสูงกว่า 5.5 เมตร ที่มีรูปสายฟ้าและเมฆเขียนด้วยสีดำและแดง ในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของเจดีย์ 5 ชั้น และอาคารหลักที่เป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์คันนน (Kannon Bosatsu) ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติจำนวนมาก เดินทางมาเยี่ยมชมวัดเซนโซ บริเวณรอบๆวัดจึงมีร้านค้าขายสินค้าและอาหารพื้นเมืองญี่ปุ่นมาวางขายจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ถนนนากามิเสะ ซึ่งทอดยาวตั้งแต่ประตูสายฟ้าไปจนถึงบริเวณวัด สองข้างถนนเต็มไปด้วยร้านค้าเล็กๆขายของที่ระลึกต่างๆ เช่น พัด ภาพวาดแผ่นไม้ ชุดกิโมโน เสื้อคลุมแบบต่างๆ ม้วนภาพเขียน ขนมหวานพื้นเมือง ไปจนถึงหุ่นยนต์ของเล่น เสื้อยืด หรือของประดับโทรศัพท์มือถือ ตู้บริจาคใบโต ไกด์แนะนำว่าให้โยนเหรียญบริจาคลงไป และควรจะบริจาคเป็นเหรียญที่มีเลข 5 ทั้ง 5 เยน 50 เยน หรือ 500 เยน ซึ่งให้ความหมายที่ว่าจะได้กลับมาที่นี่อีกครั้ง ในบริเวณวัดยังมีสวนที่เงียบสงบ ซึ่งได้รับการดูแลรักษาให้เป็นสวนแบบญี่ปุ่นไว้ได้อย่างดี.

ใหม่!!: กิโมโนและวัดเซ็นโซ · ดูเพิ่มเติม »

สามเหมียวยอดนินจา

มเหมียวยอดนินจา หรือ ขบวนการนินจาจิ๋ว (Samurai Pizza Cats) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์โตเกียว เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533 และได้นำมาฉายในเมืองไทยประมาณปี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535 โดยทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นการ์ตูนยามเช้าประมาณ 7.00-7.30 และย้ายมาอยู่ตอนเย็นประมาณ 5 โมง - 5 โมงครึ่ง ในปีถัดมา ออกอากาศทุกวัน จันทร์ - อังคาร - พุธ โดยนาย อุเอซูดะ กินเซย์ เป็นผู้สร้างและวางรูปแบบตัวการ์ตูน การ์ตูนเรื่องนี้เป็นการ์ตูนแนว เคโมะ หรือ เคโมโนะKemono คือการ์ตูนที่ประดิษฐ์ให้เป็นครึ่งสัตว์ แต่สามารถยืน 2 ขาและพูดได้แบบมนุษย์ ทั้งยังเป็นแบบ SD อีกด้วย ลักษณะการ์ตูนเป็นการนำเสนอวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างสุดขีด ซึ่งสังเกตได้จากฉากในเรื่อง และลักษณะการแต่งกายของตัวการ์ตูน รวมทั้งการดัดแปลงชุดเกราะ (ร่างสุดยอด) ของสามเหมียวนินจาที่คล้ายเกราะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การ์ตูนเรื่องนี้ลิขสิทธิ์เป็นของ ทัตสึโนโกะโปรดักชั่น 1990.

ใหม่!!: กิโมโนและสามเหมียวยอดนินจา · ดูเพิ่มเติม »

สาวหิมะ

วหิมะ สาวหิมะ หรือ ยูกิอนนะ ตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่น เป็นชื่อที่ใช้เรียกภูตหิมะที่มีรูปร่างเป็นสตรีที่งดงาม ว่ากันว่าเป็นจิตวิญญาณแห่งฤดูหนาว ซึ่งยูกิอนนะนี้ จะมีลักษณะเป็นผู้หญิงสาวสวย สวมชุดกิโมโนสีขาวสะอาด นางจะปรากฏตัวบนภูเขาหิมะในวันที่มีพายุหิมะ และหลอกล่อให้ผู้ชายที่หลงใหลในความงามของนางไปสู่ความตาย เรื่องเล่าของสาวหิมะมีหลากหลายอยู่ว่า บางครั้งเล่ากันว่าในวันที่หิมะตกหนัก นักเดินทางที่โชคไม่ดี จะได้พบกับสาวหิมะท่ามกลางพายุหิมะที่อันตราย เธอจะสวมกิโมโนสีขาว และค่อนข้างตัวสูง บ้างก็เล่าว่าเธอสวมกิโมโนสีแดง แล้วรอยเท้าที่เธอเดิน เต็มไปด้วยคราบเลือด บางครั้งเชื่อว่าสาวหิมะเป็นวิญญาณของหญิงที่ตั้งครรภ์ ที่ตายเพราะพายุหิมะ และเมื่อใครเดินผ่านมาตามทางแล้วพบเห็นเธอเข้า เธอจะยิ้มแล้วยอมให้คนนั้นอุ้มลูก เหยื่อจะไม่สามารถปล่อยลูกของเธอได้เมื่ออุ้มแล้ว และลูกของเธอจะหนักขึ้นและเย็นจนแข็ง ทำให้เหยื่อขยับไปไหนไม่ได้ และจะจมหิมะตาย ทว่าเรื่องเล่าที่มีชื่อเสียงของสาวหิมะ เป็นเรื่องที่มีอยู่ว่า ชายตัดฟืน 2 คน คนหนึ่งยังหนุ่ม ส่วนอีกคนค่อนข้างมีอายุ ติดอยู่ท่ามกลางพายุหิมะไม่สามารถกลับได้ จึงต้องหาที่พักซึ่งเป็นกระท่อมร้างเพื่อหลบหิมะก่อน เมื่อทั้งคู่หลับลง กลางดึกนั้นมีเพียงชายคนที่อายุน้อยกว่ากึ่งหลับกึ่งตื่น เห็นผู้หญิงที่สวมกิโมโนสีขาว หน้าตาซีดเผือด และมีแววตาที่น่ากลัว เป่าลมหายใจใส่ชายคนที่มีอายุกว่า ชายคนที่อายุน้อยกว่าตกใจมากจนพูดไม่ออก แล้วสาวหิมะก็เข้ามากระซิบว่าเธอจะไว้ชีวิตเขา ตราบเท่าที่เขาไม่แพร่งพรายเรื่องของเธอให้ใครรู้ แล้วสาวหิมะก็หายตัวไป เขาพบว่าชายคนที่สูงวัยกว่าได้แข็งตายไปแล้ว หลังจากนั้น 1 ปีให้หลัง เขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ค่อนข้างสูง หน้าตาซีดเผือด แต่เป็นผู้หญิงที่หน้าตาดี เขาตัดสินใจแต่งงานและอยู่กินกับเธอ ถึงแม้ว่าเธอจะมีลูกกับเขาถึง 10 คน แต่ความงามของเธอไม่เปลี่ยนแปลงไปเลยซักนิดเดียว วันหนึ่งสามีก็เกิดหลุดปาก เล่าเรื่องสาวหิมะออกมาให้เธอฟัง เมื่อเธอได้ยิน เธอก็คืนร่างกลับเป็นสาวหิมะตนเดิม ตนเดียวกับที่สามีเคยเจอ ด้วยความเป็นมนุษย์ ฝ่ายสามีเกิดหวาดกลัวภรรยา แต่เพราะว่าเธอเห็นแก่ลูกๆ จึงไว้ชีวิตสามีแล้วหายตัวไป หลังจากนั้นก็ไม่มีใครได้พบกับสาวหิมะนางนั้นอีกเลย ส่วนใหญ่แล้ว เรื่องเล่าของ ยุกิอนนะ จะปรากฏในทางตอนเหนือของเกาะญี่ปุ่นเสียเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็นทางแถบฮอกไกโดหรือทางแถบจังหวัดอิวาเทะ เนื่องจากทางตอนเหนือของญี่ปุ่นจะมีอากาศหนาวเย็น และมีหิมะปกคลุมอยู่เกือบตลอดทั้งปี จึงมีเรื่องเล่าขานของยูกิอนนะ มากกว่าท้องที่อื่นๆ และนอกจากนี้เกมออนไลน์ชื่อดังอย่างเทลส์รันเนอร์ยังใช้เรื่องของสาวหิมะมาทำเป็นการแข่งขันโดยใช้ชื่อเจ้าหญิงหิม.

ใหม่!!: กิโมโนและสาวหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3

อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3 ออกอากาศเมื่อวันที่ 22 กันยายน..

ใหม่!!: กิโมโนและอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ทากาสุงิ ชินสุเกะ

ทากาสุงิ ชินสุเกะ() เป็นตัวละครในหนังสือการ์ตูนและภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องกินทามะ ผลงานของฮิเดอากิ โซราจิ เป็นตัวละครร้ายตัวหลักของเรื่อง.

ใหม่!!: กิโมโนและทากาสุงิ ชินสุเกะ · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ: Ha'Merotz La'Million

อะเมซิ่ง เรซ: Ha'Merotz La'Million (המירוץ למיליון‎; The Race to the Million; ดิ อะเมซิ่ง เรซ: การแข่งขันสู่เงินล้าน) เป็นเวอร์ชันอิสราเอลของรายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นรายการแข่งขันเดินทางรอบโลกโดยมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 10 คู่ และทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านเชเกล รายการนี้มีการผลิตและออกอากาศทางช่อง Reshet Channel 2 ของเครือข่ายโทรทัศน์อิสราเอล Reshet โดยเริ่มออกอากาศในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี ในเวลา 21 นาฬิกา (เวลามาตรฐานอิสราเอลที่ใช้ DST ตรงกับเวลา 18 นาฬิกาของ GMT) และมีพิธีกรประจำรายการคือราซ เมอร์แมน.

ใหม่!!: กิโมโนและดิอะเมซิ่งเรซ: Ha'Merotz La'Million · ดูเพิ่มเติม »

ตัวละครในมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์

รายชื่อตัวละครที่ปรากฏในเกมวิชช่วล โนเวลเอโรเกะ ชื่อ เฟท/สเตย์ ไนท์ ที่สร้างโดย ไทป์-มูน และได้ถูกนำไปสร้างเป็น อะนิเมะ โดย สตูดิโอ ดีน.

ใหม่!!: กิโมโนและตัวละครในมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานคนตัดไผ่

ตะเกะโตริ โนะ โอะกินะนำคะงุยะ-ฮิเมะกลับบ้านไปให้ภรรยาโดยโตะซะ ฮิโรมิชิ (Tosa Hiromichi), ราว ค.ศ. 1600 ตำนานคนตัดไผ่ หรือ ตำนานเจ้าหญิงคะงุยะ (竹取物語 หรือ かぐや姫, The Tale of the Bamboo Cutter หรือ The Tale of Princess Kaguya) เป็นตำนานพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่ถือกันว่าเป็นวรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นตัวอย่างของที่มาของนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์ (cf.) เรื่องดำเนินไปโดยมีศูนย์กลางคือเด็กหญิงที่ไม่ทราบที่มา ชื่อ คะงุยะฮิมะ (Kaguya-hime) ที่คนตัดไผ่ไปพบเมื่อยังเป็นทารกภายในปล้องไผ่ที่เรืองแสง กล่าวกันว่าคะงุยะมาจากจันทรประเทศ (月の都) และมีผมที่ “เงาวาวเหมือนทอง”.

ใหม่!!: กิโมโนและตำนานคนตัดไผ่ · ดูเพิ่มเติม »

แฟนเซอร์วิซ

แฟนเซอร์วิส แฟนเซอร์วิส หมายถึง ส่วนของสื่อทางรูปภาพที่ไม่มีความสำคัญต่อเนื้อหา แต่เพิ่มเข้ามาเพื่อเอาใจผู้อ่าน คำคำนี้มักจะใช้กับการ์ตูนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ และอาจมีความหมายในแง่ลบเมื่อใช้วิพากษ์สื่อที่หยาบโลนหรือสื่อที่ไม่มีแก่นสาร แฟนเซอร์วิสมักแสดงความเย้ายวนทางเพศของเพศหญิง (ของเพศชายก็มีเช่นกันแต่น้อย) เพื่อปลุกใจเสือป่า เราสามารถพบฉากอาบน้ำได้ทั่วไปในการ์ตูนในทศวรรษที่ 1990 ในปัจจุบันภาพยนตร์การ์ตูนหลายเรื่องจะอุทิศตอนตอนหนึ่งเพื่อการเดินทางไปพักผ่อนที่บ่อน้ำพุร้อนหรือชายหาด มีจุดประสงค์เพื่อเติมภาพของตัวละครหญิงนุ่งน้อยห่มน้อย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการทำเช่นนี้มักไม่เข้ากับเนื้อเรื่องอย่างมาก นอกจากนี้ การใช้มุมกล้องเพื่อโชว์ให้เห็นกางเกงใน หรือภาพการกระเด้งของหน้าอก (ข้อหลังถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องกันบัสเตอร์ของไกแนกซ์ และเป็นต้นกำเนิดของคำว่า "กระเด้งไกแนกซ์" (Gainax bounce)) ยังเป็นแฟนเซอร์วิสที่พบเห็นได้บ่อยในภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นที่น่าสังเกตว่าการ์ตูนบางเรื่องมีแฟนเซอร์วิสเป็นจุดขายและถูกใช้บ่อยเกินไปจนเฝือ ยกตัวอย่างเช่น เอเค็น เท็นโจเท็งเกะ เอเจนต์ไอกะ และ นาจิคา บลิทซ์ แทกทิกส์ เป็นต้น ฉากแปลงร่างนู้ดเป็นแฟนเซอร์วิสอีกรูปแบบหนึ่ง ถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องคิวตี้ฮันนี่ของ โก นางาอิ คอสเพลย์เป็นแฟนเซอร์วิสอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจไม่มีความเย้ายวนทางเพศโดยตรงนัก ผู้แต่งชุดมักเป็นตัวละครหญิง โดยชุดที่ได้รับความนิยมได้แก่ เนะโกะมิมิ ฮาดากะเอพรอน กิโมโน กระต่ายเพลย์บอย ชุดเมด ชุดมิโกะ ชุดพยาบาล เครื่องแบบตำรวจ ชุดสาวเสิร์ฟ (โดยเฉพาะจากภัตตาคารแอนนามิลเลอร์ส) ชุดพละ เครื่องแบบนักเรียน และชุดว่ายน้ำโรงเรียน เป็นต้น.

ใหม่!!: กิโมโนและแฟนเซอร์วิซ · ดูเพิ่มเติม »

โยชิตากะ อามาโนะ

ตากะ อามาโนะ โยชิตากะ อามาโนะ เกิดเมื่อ 28 กรกฎาคม..

ใหม่!!: กิโมโนและโยชิตากะ อามาโนะ · ดูเพิ่มเติม »

โจโย

() เป็นเมืองในจังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม..

ใหม่!!: กิโมโนและโจโย · ดูเพิ่มเติม »

เกราะญี่ปุ่น

''เกราะญี่ปุ่นของซามูไรในสมัยโบราณ'' เกราะญี่ปุ่น คือเครื่องสวมใส่สำหรับป้องกันอันตรายจากอาวุธ ของนักรบซามูไรในสมัยโบราณและทหารเดินเท้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักรบ ซามูไร ในการต่อสู้ ถูกเรียกว่า จิตวิญญาณแห่งเหล็กกล้า เกราะญี่ปุ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปประเภท คือ โยะโรย และ โดะมะรุ ซึ่ง โยะโรย คือเกราะสำหรับซามูไรขี่ม้า หรือแม่ทัพและไดเมียว ซึ่งลักษณะของเกราะจะมีน้ำหนักมากและมีแผงกำบังไหล่ สีสันฉูดฉาดสะดุดตา ส่วน โดะมะรุ คือเกราะสำหรับซามูไรเดินเท้า จะแตกต่างกับ โยะโรย ตรงที่เกราะจะมีน้ำหนักเบาและสวมพอดีตัวกับผู้สวมใส่ และสีสันค่อนข้างทึ.

ใหม่!!: กิโมโนและเกราะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เกอิชา

กอิชา เกอิชา เป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ถือว่าเป็นผู้ที่ชำนาญทางศิลปะและให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นเสมือนผู้คอยต้อนรับและปรนนิบัติแขก เกอิชามีอยู่แพร่หลายอย่างมากในญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19 เมื่อ ค.ศ. 1920 มีจำนวนเกอิชาถึง 80,000 คน ส่วนในปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีอาชีพเกอิชา แต่จำนวนค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกอิชาฝึกหัดจะเรียกว่า ไมโกะ คำว่า "เกอิชา" นั้น ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า "เกชะ" ในแถบคันไซเรียกว่า เกงิ (芸妓, げいぎ) ส่วนเกอิชาฝึกงานหรือ "เกโกะ" (芸子, げいこ) มีใช้มาตั้งแต่สมัยเมจิ ส่วนคำว่า "กีชา" ที่เรียกว่า "สาวเกอิชา" นั้น นิยมเรียกในช่วงปฏิบัติการร่วมระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา หมายถึง หญิงขายบริการ แต่เรียกตัวเองว่า "เกอิชา" อาชีพของเกอิชานั้นพัฒนาขึ้นมาจาก ไทโคะโมะชิ หรือ โฮกัง ซึ่งคล้ายกับพวกตลกหลวงในราชสำนัก เกอิชาในสมัยแรกนั้นล้วนเป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันนั้นจะเรียกกันว่า "อนนะ เกชะ" (女芸者) หรือเกอิชาหญิง แต่ในปัจจุบันเกอิชาเป็นหญิงเท่านั้น อักษรญี่ปุ่น "เกชะ" หมายถึง ศิลปิน เดิมนั้นหญิงที่จะทำอาชีพเกอิชาจะได้รับการฝึกอบรมตั้งแต่เด็ก สำนักเกอิชามักจะซื้อตัวเด็กหญิงมาจากครอบครัวที่ยากจน แล้วนำมาฝึกฝนเลี้ยงดูโดยตลอด ในช่วงวัยเด็ก พวกเขาจะทำงานเป็นหญิงรับใช้ เพราะผู้ช่วยเกอิชารุ่นพี่ในสำนักถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝนด้วยเช่นกัน และเพื่อชดใช้กับค่าเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน การสอนและฝึกฝนอาชีพที่ยาวนานเช่นนี้ นักเรียนจะอาศัยอยู่ในบ้านของครูผู้ฝึก ช่วยทำงานบ้าน สังเกต และช่วยครู และเมื่อชำนาญเป็นเกอิชาแล้ว สุดท้ายก็จะเลื่อนขึ้นไปสู่ตำแหน่งครูผู้ฝึกอบรมต่อไป การฝึกอบรมนี้จะต้องใช้เวลานานหลายปีทีเดียว ในเบื้องต้นนั้นเด็กสาวจะได้เรียนศิลปะหลายแขนง ได้แก่ การเล่นดนตรี (โดยเฉพาะชะมิเซ็ง รูปร่างคล้ายกีตาร์) การขับร้อง การเต้นรำ การชงชา การจัดดอกไม้ (อิเกะบะนะ) รวมถึงเรื่องบทกวีและวรรณคดี การได้คอยเป็นผู้ช่วยและได้เห็นเกอิชารุ่นพี่ทำงาน พวกเขาก็จะมีความชำนาญมากขึ้นและเรียนรู้ศิลปะที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การแต่งชุดกิโมโน รวมถึงการพนันหลายแบบ รู้จักการสนทนา และการโต้ตอบกับลูกค้า เมื่อหญิงสาวได้เข้ามารับการฝึกฝนเป็นไมโกะหรือเกอิชาฝึกหัด ก็จะเริ่มติดตามเกอิชารุ่นพี่ไปยังโรงน้ำชา งานเลี้ยง และการสังสรรค์ต่าง ๆ ที่เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานจริงของเกอิชา ทำให้ได้ประสบการณ์ทำงานจริงและมีความชำนาญขึ้นเรื่อย ๆ ตำบลกิอง แหล่งเกอิชาในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เกอิชาไม่ใช่โสเภณี แม้ว่าในอดีตจะมีการขายพรหมจารีอย่างถูกต้อง และเกอิชาก็ไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะจ่ายเงินซื้อเพื่อการนี้ก็ตาม เกอิชากับโสเภณีมีความแตกต่างพอสมควร โดยสังเกตอย่างง่ายจากการแต่งตัว โดยที่โสเภณีจะมีสายโอบิผูกชุดที่สามารถแกะได้จากข้างหน้า เพื่อความสะดวกในถอดชุดออกออก เครื่องประดับของเหล่าหญิงโสเภณีมีความงดงาม หรูหรา ฟู่ฟ่า ในขณะที่เกอิชามีผ้าโอบิผูกจากข้างหลังตามชุดกิโมโนทั่วไป เครื่องประดับนั้นจะเรียบง่ายแต่แสดงออกถึงความสวยงามตามธรรมชาติ ในรูปแบบของศิลปะได้อย่างดีทีเดียว เกอิชาสมัยใหม่จะไม่ถูกซื้อตัวหรือพามายังสำนักเกอิชาตั้งแต่เด็กเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว การเป็นเกอิชาในสมัยใหม่นั้นเป็นไปโดยสมัครใจทั้งสิ้น และการฝึกฝนอาชีพนั้นจะเริ่มต้นที่หญิงสาว ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ไม่ใช่เด็กหญิงอย่างแต่ก่อน และจะใช้เวลาที่ยาวนานและยุ่งยากมาก เพราะฝึกเมื่ออายุมาก ปัจจุบันเกอิชายังคงอาศัยอยู่มากในสำนักเกอิชาในบริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ฮะนะมะชิ (花街 "เมืองดอกไม้") หรือ คะเรียวไก (花柳界 "โลกของดอกไม้และต้นหลิว") ซึ่งคล้ายกับย่านโพนโทะโช ในเกียวโต เกอิชานั้นมักได้รับการว่าจ้างให้ปรนนิบัติหมู่คณะ และมักทำงานร่วมกันในโรงน้ำชา (茶屋 ชะยะ) หรือร้านอาหารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยเวลาใช้บริการนั้นจะใช้ธูปจุดเป็นเกณฑ์วัด เรียกว่า "เซนโกได" (線香代 "ค่าธูป") หรือ เคียวกุได (玉代 "ค่าเพชร") ลูกค้าจะติดต่อโดยผ่านสำนักติดต่อเกอิชาหรือ "เค็นบัน" (検番) ซึ่งจะมีตารางนัดของเกอิชาแต่ละคน และทำการนัดหมาย ทั้งเพื่อการทำงานและการฝึกฝนอาชีพ เมื่อหญิงที่ทำงานเป็นเกอิชาแต่งงานก็จะเลิกจากอาชีพนี้ หากไม่แต่งงาน เมื่ออายุมากขึ้นก็จะเลิกอาชีพนี้เช่นกัน แต่อาจทำงานเป็นเจ้าของร้านอาหาร ครูสอนดนตรี เต้นรำ หรือครูสอนเกอิชาต่อไปก็ได้.

ใหม่!!: กิโมโนและเกอิชา · ดูเพิ่มเติม »

เกียวโต (นคร)

แผนที่ ไดไดริ (แบบจำลอง) ของนครเฮอังเกียว เกียวโต, 1891 นักท่องเที่ยวที่วัดคิโยะมิซุ นครเกียวโต (ออกเสียง: เคียวโตะ) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเกียวโต และเป็นอดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดว่าเป็นศูนย์กลางของเกาะฮนชู นอกจากนี้ นครเกียวโตยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ กลุ่มเมืองใหญ่ "เคฮันชิง" และนครเกียวโต ยังจัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 11 ของโลก ในปี..

ใหม่!!: กิโมโนและเกียวโต (นคร) · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวงญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีเมืองหลวง (首都 ชุโตะ หรือ 都 มิยะโกะ) มานับต่อนับ แต่ส่วนมากจะอยู่ในยุคโบราณ และจะอยู่ในภาคคันไซทั้งหมด ยกเว้นโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ เมืองหลวงที่ไม่ใช่เมืองโตเกียว ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศคือ เฮอังเกียว ซึ่งเป็นยุคที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีการประดิษฐ์ตัวอักษรญี่ปุ่น โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรจีน ผู้คนเริ่มที่จะสวมใส่กิโมโน ซึ่งในยุคก่อนหน้านั้น ชาวญี่ปุ่นยังแต่งตัวแบบจีนอยู.

ใหม่!!: กิโมโนและเมืองหลวงญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เสื้อปัด

นางสังขารลาวหลวงพระบางใส่เสื้อปัดโดยมีผ้าเบี่ยงอยู่ชั้นนอก เสื้อปัด (ไทยถิ่นเหนือ: เสื้อปั๊ด, ลาว: ເສື້ອປັດ, เสื้อปัด) หรือ เสื้อป้าย (ลาว: ເສື້ອປ້າຍ, เสื้อป้าย) เป็นเสื้อที่นิยมสวมใส่โดยสตรีในภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโดยมากมักนุ่งโดยผู้หญิงไทยวนล้านนา ไทลื้อ ลาวหลวงพระบาง และ ลาวเวียงจันทน์ เป็นต้น ปัจจุบันในประเทศลาวมักมีการสวมใส่เสื้อปัดในงานพิธีสำคัญต่างๆ เช่นงานแต่งงาน และในแขวงหลวงพระบางของประเทศลาวจะมีการสวมใส่เสื้อปัดโดยนางสังขาร (นางสงกรานต์) อีกด้ว.

ใหม่!!: กิโมโนและเสื้อปัด · ดูเพิ่มเติม »

เอ็งกะ

อ็งกะ (演 (เอ็ง) แปลว่า การแสดง ความบันเทิง / 歌 (คะ) แปลว่า เพลง) คือ รูปแบบดนตรีที่มีการผสมผสานกันระหว่างแนวดนตรีสองแนวที่แตกต่างกัน แนวแรกคือแนวดนตรีแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นในช่วงยุคเมจิ (พ.ศ. 2411 – 2455) กับยุคไทโช (พ.ศ. 2455 – 2469) ส่วนแนวที่สองคือแนวเพลงประโลมโลกแบบป็อปของญี่ปุ่นที่มีกลิ่นอายของเพลงสไตล์คันทรีแบบอเมริกันผสมอยูด้วย โดยเอ็งกะในปัจจุบันนั้น จะหนักไปทางแนวที่สองมากกว่า เอ็งกะกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น สมัยยุคเมจิ โดยได้รับอิทธิพลหรือมีรากฐานมาจากเพลงทางเกาหลีหรือจีน ในช่วงแรก เพลงแนวนี้ถูกนำมาใช้ในด้านการเมืองอยู่บ่อย ๆ อย่างเช่นนำมาใช้แปลงบทแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นทำนองเพลงเพื่อง่ายต่อการเผยแพร่ เป็นต้น แต่ในเวลาต่อมา การใช้ประโยชน์ในด้านนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวเพลงเอ็งกะนี้ ถือได้ว่าเป็นแนวเพลงแรกที่สังเคราะห์เอาสเกลโน้ตเพ็นทาโกนิคของเพลงญี่ปุ่นรวมเข้ากับท่วงทำนองของดนตรีสไตล์ตะวันตกได้เป็นอย่างดี เนื้อร้องของเพลงแนวนี้ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เรื่องความรักและการสูญเสีย ความเหงา ความรันทด ความทุกข์ยากลำบาก ไปจนถึงความตายและการฆ่าตัวตาย เอ็งกะจะสะท้อนให้เห็นถึงประเพณี อุดมการณ์ หรือความเย้ายวนใจในมุมมองของวัฒนธรรมหรือทัศนคติในแบบของญี่ปุ่น คล้ายกับแนวเพลงคันทรีของอเมริกันและเพลงสไตล์ตะวันตก นักร้องเพลงแนวเอ็งกะที่โด่งดังและเป็นที่รักมากที่สุดคือ ฮิบาริ มิโซระ (พ.ศ. 2469 – 2532) เธอได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชินีเพลงเอ็งกะ" และ "ราชินีแห่งโชวะ" ในช่วงที่เธอยังมีชีวิตอยู่และได้รับความนิยมมากที่สุด เอ็งกะได้รับความนิยมมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษล่าสุดนี้เองที่เพลงเอ็งกะได้เสื่อมความนิยมลงทั้งทางด้านยอดขายและการยอมรับ ประจวบกับการที่เพลงแนวเจ-ป็อปแบบอเมริกันโด่งดังขึ้นมาแทนที่พอดี เหตุหนึ่งที่เอ็งกะเดินทางมาถึงช่วงขาลงตรงจุดนี้ก็เพราะว่านักฟังชาวญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ๆ ไม่ประทับใจแนวเพลงดั้งเดิม แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวญี่ปุ่นอีกหลาย ๆ คนที่ยังหลงใหลกับเพลงแนวเอ็งกะนี้อยู่ จนกระทั่งต่อมา เมื่อนักร้องขวัญใจวันรุ่นของญี่ปุ่นในช่วงนั้นอย่างคิโยชิ ฮิกาวะ และยูโกะ นากาซาวะ (สมาชิกรุ่นก่อตั้งของกลุ่มมอร์นิงมุซุเมะ) หันมาร้องเพลงแนวเอ็งกะบ้าง ก็ทำให้แฟนเพลงหนุ่มสาวของญี่ปุ่นหันมานิยมเพลงแนวนี้ได้พอสมควร การแต่งกายของนักร้องเอ็งกะเวลาขึ้นแสดงส่วนใหญ่ ถ้าหากว่าเป็นผู้หญิงพวกเธอจะใส่ชุดกิโมโนหรือไม่ก็ชุดราตรีในการแสดง และถ้าหากว่าเป็นผู้ชายพวกเขาจะใส่ชุดที่เป็นทางการหรือไม่ก็ชุดญี่ปุ่นที่ถูกต้องตามประเพณี เครื่องดนตรีที่ใช้ในเพลงแนวเอ็งกะก็จะเหมือนกันกับที่ใช้ในเพลงดั้งเดิมของญี่ปุ่นทั่วไป อย่างเช่น ชิโนบูเอะ และชามิเซ็ง เป็นต้น ส่วนแหล่งที่จะสามารถฟังเพลงเหล่านี้ได้ในญี่ปุ่น นอกจากจะในรายการโทรทัศน์และวิทยุแล้ว ก็คือที่ร้านอาหาร ร้านสุรา คาเฟ่ และสถานที่ให้บริการคาราโอเกะ ในสหรัฐอเมริกา เอ็งกะก็ยังได้รับความนิยมอยู่ในกลุ่มคนที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น-อเมริกัน (โดยเฉพาะที่สูงอายุแล้ว) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีแฟนเพลงเอ็งกะที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นอยู่ด้วย นอกจากนั้นแล้ว ในอเมริกาก็ยังมีวงดนตรีและนักร้องแนวเอ็งกะอยู่ด้วยเหมือนกัน อย่างเช่นวง ซานโฮเซ จิโดริ ที่เปิดการแสดงในเทศกาลโอบงในช่วงฤดูร้อนอยู่เป็นครั้งคราว เป็นต้น.

ใหม่!!: กิโมโนและเอ็งกะ · ดูเพิ่มเติม »

เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ

ทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ เป็นนิยายไลท์โนเวล จากประเทศญี่ปุ่น เนื้อเรื่องโดย มันตะ ไอโซระ วาดภาพประกอบโดย โคอิน ตีพิมพ์โดยGAบุงโกะ ปัจจุบันมีการเผยแพร่แล้วทั้งหมด 8 เล่ม ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของรักพิมพ์ พับลิชชิ่ง เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ เป็นเรื่องที่ได้รางวัล GAบุงโกะไทโช ครั้งที่1 และGAแม็กกาซีนก็ได้เริ่มตีพิมพ์เรื่องนี้ตั้งแต่ฉบับที่2 เนื้อหาของเรื่องนั้นเป็นแนวตลกแบบตลกเจ็บตัว(slapstick)ผสมกับเลิฟคอมมีดี โดยหลักๆแล้วจะล้อเลียนงานประพันธ์ชุดตำนานคธูลู แต่ก็มีผสมส่วนที่ล้อเลียนอะนิเมะหรือมังงะอย่างโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษและโทคุซัทสึโดยเฉพาะมาสค์ไรเดอร์เดนโอและมาสค์ไรเดอร์ดีเคดเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น โดยในประเทศไทย ฉบับอะนิเมะทั้ง 2 ภาค TIGA เป็นผู้ถือลิขสิท.

ใหม่!!: กิโมโนและเทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

👘

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »