โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิลกาเมช

ดัชนี กิลกาเมช

รูปปั้นกิลกาเมช ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ กิลกาเมช เป็นกษัตริย์ในตำนาน แห่งนครอุรุค ในอาณาจักรบาบิโลน หรือบาบีโลเนีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส ในประเทศอิรักปัจจุบัน เชื่อว่าเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล มีเรื่องเล่าและปกรณัมมากมายที่เขียนเกี่ยวกับกิลกาเมช บางเรื่องเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยจารึกบนแผ่นดินเหนียวเป็นภาษาของพวกซูเมอร์ เรียกว่าภาษาซูเมเรียน ซึ่งยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาดังกล่าวนี้นักโบราณคดีเชื่อว่าไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับภาษาอื่นๆ ที่เราเคยรู้จักเลย เรื่องกิลกาเมชของพวกซูเมอร์นั้น ถูกรวบรวมขึ้นเป็นบทกวีเรื่องยาว เรียกว่า มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) หลงเหลืออยู่เป็นวรรณกรรมในหลายภาษา เช่น ของชาวอัคคาเดีย (ภาษาตระกูลเซมิติค ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาษาฮีบรู, เป็นภาษาที่พูดกันในอาณาจักรบาบิโลน) นอกจากนี้ยังมีปรากฏบนแผ่นจารึกดินเหนียว เป็นภาษาฮูร์เรียน และภาษาฮิตไตต์ (ภาษาหนึ่งในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งพูดกันในเขตรอยต่อยุโรปและเอเชีย นับเป็นหนึ่งในบรรดาภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) ภาษาทั้งหมดที่พูดมานี้ จารด้วยอักษรลิ่ม หรือที่เราคุ้นเคยกันด้วยชื่อ คูเนฟอร์ม ตำนานฉบับเต็มเกี่ยวกับกิลกาเมชนั้น ได้มาจากศิลาจารึก 12 แท่ง จารเป็นภาษาอัคคาเดียน พบในซากปรักหักพังของหอพระสมุด พระเจ้าอะชูรบานิปัล แห่งอัสสิเรีย เมื่อราว 669-633 ปีก่อนคริสตกาล ที่เมืองนีนะเวห์(Nineveh) หอสมุดแห่งนี้ถูกพวกเปอร์เซียทำลายเมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล และจารึกทั้งหมดก็พินาศไปด้วย จารึกนี้ระบุชื่อผู้แต่งไว้ด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากในสมัยโบราณ แทบจะไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเรื่องใด ๆ (จารึกไทยในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาก็ไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเช่นกัน) ผู้แต่งจารึกนี้คือ ชิเนฆิอุนนินนิ (Shin-eqi-unninni) อาจกล่าวได้ว่า บุคคลผู้นี้เป็นนักเขียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกวรรณกรรม ที่เราสามารถระบุชื่อได้ ตำนานของกิลกาเมชนั้นกล่าวโดยย่อ คงเทียบได้กับเรื่องของโนอาห์ ในคัมภีร์ไบเบิ้ลหรือนูห์ ในคัมภีร์อัลกุรอาน นั่นเอง นับเป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก.

7 ความสัมพันธ์: การ์เดียนครอสมหากาพย์กิลกาเมชไฟนอลแฟนตาซีไฟนอลแฟนตาซี Vไวน์เบียร์เทวสิทธิราชย์

การ์เดียนครอส

การ์เดียนครอส (Guardian Cross) เป็นเกมสำหรับเครื่องไอโฟน/ไอแพด ผลิตโดยบริษัทสแควร์-เอนิกซ์โดยมีด้วยกันสองรุ่นคือรุ่นภาษาญี่ปุ่น เปิดตัว 21 มิถุนายน 2555 และรุ่นภาษาอังกฤษ เปิดตัวในวันที่ 13 สิงหาคม 2555 ลักษณะเกมประกอบไปด้วยการใช้เทรดดิงการ์ดจำลอง การล่าศัตรู และการแข่งขันระหว่างผู้เล่น เดอะการ์เดียนได้จัดอันดับเกมและขึ้นเป็นเกมยอดนิยม 20 อันดับแรก ของเกมมือถือประจำสัปดาห์ นอกจากนี้เกมยังได้ขึ้นอันดับ 100 เกมยอดฮิตที่ทำเงินได้ของแอปสตอร์ และติดอันดับเกมดาวน์โหลดฟรียอดฮิต 150 อันดับอีกด้วย ในเดือนธันวาคม 2555 เกมนี้ได้มีการดาวน์โหลดรวมทั้งสิ้นมากกว่า 1,000,000 ครั้ง ทำให้เป็นเกมที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุดของเกมจากสแควร์เอนิกซ์ของระบบปฏิบัติการไอโอเอ.

ใหม่!!: กิลกาเมชและการ์เดียนครอส · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์กิลกาเมช

รึกมหากาพย์กิลกาเมช ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ในอัคคาเดียน มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของเมโสโปเตเมียโบราณ เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมประเภทนิยายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นักวิชาการเชื่อว่ามหากาพย์เรื่องนี้มีกำเนิดมาจากตำนานกษัตริย์สุเมเรียนและบทกวีเกี่ยวกับวีรบุรุษในตำนานที่ชื่อว่า กิลกาเมช ซึ่งถูกรวบรวมเอาไว้กับบรรดาบทกวีอัคคาเดียนในยุคต่อมา มหากาพย์ชุดที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบันปรากฏในแผ่นดินเหนียว 12 แท่งซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีชื่อดั้งเดิมว่า ผู้มองเห็นเบื้องลึก (He who Saw the Deep; Sha naqba īmuru) หรือ ผู้ยิ่งใหญ่กว่าราชันทั้งปวง (Surpassing All Other Kings; Shūtur eli sharrī) กิลกาเมชอาจจะเป็นผู้ปกครองที่มีตัวตนจริงในอดีตระหว่างราชวงศ์ที่ 2 ของยุคต้นของสุเมเรีย (ประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล) สาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกิลกาเมช ผู้กำลังท้อใจกับการปกครองของตน กับเพื่อนของเขาชื่อ เอนกิดู ซึ่งเข้ารับภารกิจเสี่ยงภัยร่วมกับกิลกาเมช เนื้อหาส่วนใหญ่ในมหากาพย์เน้นย้ำถึงความรู้สึกสูญเสียของกิลกาเมชหลังจากเอนกิดูเสียชีวิต และกล่าวถึงการกลับเป็นมนุษย์อีกครั้งพร้อมกับเน้นย้ำเรื่องความเป็นอมตะ เรื่องราวในหนังสือเล่าถึงการที่กิลกาเมชออกเสาะหาความเป็นอมตะหลังจากการเสียชีวิตของเอนกิดู มหากาพย์เรื่องนี้ได้แปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ส่วนวีรบุรุษกิลกาเมชก็ได้เป็นตัวเอกอยู่ในวัฒนธรรมมวลชนยุคใหม.

ใหม่!!: กิลกาเมชและมหากาพย์กิลกาเมช · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี

ฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) เป็นเกมชุดของเกมอาร์พีจี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง สร้างขึ้นโดยสแควร์ (ปัจจุบันคือบริษัท สแควร์เอนิกซ์) โดยเกมชุดไฟนอลแฟนตาซีนี้มีในในเครื่องเล่นหลายชนิด ได้แก่ เครื่องเกมคอนโซล เครื่องเกมเคลื่อนที่ เกมออนไลน์ เกมบนโทรศัพท์มือถือ และยังมีทำเป็น ภาพยนตร์การ์ตูน 3 เรื่อง และ ภาพยนตร์เรื่องยาว 2 เรื่อง ไฟนอลแฟนตาซีชุดแรกออกวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อพ.ศ. 2533 รวมทั้งวางขายภูมิภาคอื่นทั่วโลก เช่น ทวีปยุโรป และออสเตรเลีย เครื่องเล่นเกมที่มี ไฟนอลแฟนตาซี ออกจำหน่าย ได้แก่ แฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม ซูเปอร์นินเทนโด เพลย์สเตชัน วันเดอร์สวอน เพลย์สเตชัน 2 เกมคอมพิวเตอร์ เกมบอยแอดวานซ์ พีเอสพี เกมคิวบ์ นินเทนโด ดีเอส เอกซ์บอกซ์ 360 เพลย์สเตชัน 3 เอกซ์บอกซ์ วัน เพลย์สเตชัน 4 และโทรศัพท์มือถือ ในเดือนสิงหาคม 2560 เฟมในชุดเกมไฟนอลแฟนตาซีมียอดขายรวมมากกว่า 135 ล้านชุดทั่วโลก นับเป็นเกมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของบริษัทสแควร์เอนิกซ์ ปัจจุบันมีเกมหลักออกวางจำหน่ายแล้ว 15 ภาค และมีเกมที่เกี่ยวข้องอีกมาก.

ใหม่!!: กิลกาเมชและไฟนอลแฟนตาซี · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี V

ลโก้เกม ไฟนอลแฟนตาซี V ไฟนอลแฟนตาซี V (ファイナルファンタジーV; Final Fantasy V) เป็นเกมแนวเกมเล่นตามบทบาท พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัท สแควร์ (ปัจจุบันคือ สแควร์อีนิกซ์) ในปี พ.ศ. 2535 ภายหลังได้ถูกรีเมค ลงบนเครื่องเพลย์สเตชัน ในปี พ.ศ. 2541 และเกมบอยแอดวานซ์ ในปี พ.ศ. 2549 ไฟนอลแฟนตาซี V ไม่มีการจำหน่ายภาคภาษาอังกฤษบนซูเปอร์ฟามิคอม เพราะทีมงานใช้เวลาแปลไม่ทัน.

ใหม่!!: กิลกาเมชและไฟนอลแฟนตาซี V · ดูเพิ่มเติม »

ไวน์

วน์แดง (หน้า) และไวน์ขาว (หลัง) บนโต๊ะอาหาร ไวน์ (wine) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากองุ่นหรือผลไม้อื่นหมัก สมดุลเคมีธรรมชาติขององุ่นทำให้มันหมักโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล กรด เอ็นไซม์ น้ำหรือสารอาหารอื่น ยีสต์บริโภคน้ำตาลในองุ่นแล้วเปลี่ยนเป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์ พันธุ์ขององุ่นและสายพันธุ์ของยีสต์ที่ต่างกันทำให้ได้ไวน์คนละแบบ แบบที่รู้จักกันดีเกิดจากอันตรกิริยาที่ซับซ้อนยิ่งระหว่างการเจริญทางชีวเคมีของผลไม้ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหมัก แหล่งที่ปลูก (terrior) และการระบุแหล่ง (appellation) ตลอดจนการแทรกแซงของมนุษย์ในกระบวนการโดยรวม.

ใหม่!!: กิลกาเมชและไวน์ · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์

ียร์ในแก้ว เบียร์ เป็นเมรัยหลาย ๆ รูปแบบที่ผ่านกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์พวกธัญพืช ประวัติศาสตร์ของเบียร์นั้นมีมายาวนาน เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดแรกของโลก เริ่มผลิต 6,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยชนชาติ บาบิโลเนียน เบียร์เป็นที่รู้จักในสมัยอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย และมีหลักฐานย้อนไปยาวนานถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้ข้าวบาร์เลย์ เป็นวัตถุดิบ ในราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ทีการผสมพืชอีกหนึ่งชนิดเข้าไปคือ ฮอปส์ ทำให้มีกลิ่นหอม, รสชาติขม และ สามารถรักษาคุณภาพของเบียร์ให้เก็บได้นานขึ้น แต่เบียร์เหล่านี้แตกต่างจากเบียร์ในปัจจุบัน และเนื่องจากเครื่องปรุงและกรรมวิธีในการผลิตเบียร์แตกต่างกันไปตามสถานที่ ลักษณะของเบียร์ (ชนิดของเบียร์, รสชาติ, และสี) จึงมีความแตกต่างกันได้มาก.

ใหม่!!: กิลกาเมชและเบียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวสิทธิราชย์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: กิลกาเมชและเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »