สารบัญ
29 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2501กราวเขียวมะพร้าวแฝดวงศ์ตะพาบผลไม้ตะพาบม่านลายพม่าตะพาบม่านลายไทยตะพาบหัวกบตะพาบหัวกบลายปลาชะโอนถ้ำปลากระบอกเทาปลากระเบนปลากระเบนกิตติพงษ์ปลากระเบนราหูน้ำจืดปลากดหมูปลากดหมูสาละวินปลากดหัวผานปลาสวยงามปลาหมูฮ่องเต้ปลาหวีเกศปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาตะพัดพม่าปลาตะลุมพุกปลาตะลุมพุกฮิลซาปลาฉลามหัวบาตรปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)ปลาปักเป้าสมพงษ์ปลาแรดแดงปลาเอินฝ้าย
พ.ศ. 2501
ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และพ.ศ. 2501
กราวเขียว
กราวเขียว หรือ ตะพาบหัวกบ (Asian giant softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys มีด้วยกันทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และกราวเขียว
มะพร้าวแฝด
มะพร้าวแฝด, ตาลทะเล, มะพร้าวตูดนิโกร หรือ มะพร้าวทะเล มีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า Coco de mer แปลว่า "มะพร้าวทะเล" สาเหตุที่ถูกขนานอย่างนี้ก็เพราะว่า พวกเดินเรือในอดีตจะพบลูกมะพร้าวทะเลอยู่ในมหาสมุทร แต่ไม่มีใครเห็นพบเห็นต้นของมัน จึงสันนิษฐานว่าคงมีต้นอยู่ใต้ทะเล บ้างก็ไปไกลยิ่งกว่านั้น คือเชื่อว่าคงเป็นผลไม้จากสวรรค์แน่ ๆ และอาจจะเป็นผลไม้แห่งความอมตะที่อีฟ ภรรยาอาดัม ถูกหลอกให้กินก็ได้ นาน ๆ ครั้งจะมีผู้พบเห็นมะพร้าวทะเลถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง มะพร้าวทะเลจึงกลายเป็นของแปลกและหายากยิ่งกว่าเพชรพลอย และแน่นอนผลไม้พิสดารนี้ก็จะถูกนำไปถวายให้แก่คนที่สำคัญที่สุดในแผ่นดิน นั่นคือกษัตริย์หรือสุลต่าน ไว้ประดับบารมีหรือเป็นยาวิเศษรักษาสารพัดโร.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และมะพร้าวแฝด
วงศ์ตะพาบ
วงศ์ตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ของเต่าจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychidae ตะพาบ เป็นเต่าที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งขอบที่อ่อนนิ่มนี้เรียกว่า "เชิง" กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า "Rasculavpharyngcal capacity" ตะพาบจัดเป็นเต่าน้ำที่จะพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยในเขตร้อนทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เมื่อจะวางไข่ ตะพาบจะคลานขึ้นมาวางไข่ในพื้นทรายริมตลิ่งริมน้ำที่อาศัย โดยขุดหลุมแบบเดียวกับเต่าทะเลและเต่าจำพวกอื่นทั่วไป ตะพาบเป็นสัตว์ที่กินสัตว์มากกว่าจะกินพืช โดยหลายชนิดมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าเต่า ตะพาบเป็นเต่าที่มนุษย์นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะซุปในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น หรืออาหารเกาหลี โดยเชื่อว่าทั้งเนื้อและกระดองเป็นเครื่องบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยตะพาบชนิดที่นิยมใช้เพื่อการบริโภคนี้คือ ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis) ซึ่งในหลายประเทศได้มีการเพาะเลี้ยงตะพาบไต้หวันเป็นสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลก หลายข้อมูลระบุว่าคือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่ เป็นสัตว์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนและเวียดนามเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำและปลาน้ำจืดชาวไทย ที่มีผลงานค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เห็นว่า ตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลกน่าจะเป็น "กริวดาว" หรือ "ตะพาบหัวกบลายจุด" ซึ่งเป็นตะพาบที่เคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แต่ทว่า กริวดาว นั้น มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และวงศ์ตะพาบ
ผลไม้
แผงขายผลไม้ ผลไม้ (อีสาน: หมากไม้, บักไม้, ถิ่นเหนือ: หน่วยไม้) หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และผลไม้
ตะพาบม่านลายพม่า
ตะพาบม่านลายพม่า (Burmese narrow-headed softshell) เป็นตะพาบในสกุล Chitra จัดเป็นตะพาบชนิดใหม่ที่เพิ่งอนุกรมวิธานเมื่อปี ค.ศ. 2003 มีลักษณะคล้ายกับตะพาบม่านลายชนิดอื่น ๆ แต่ว่ามีลวดลายที่กระดองเป็นระเบียบกว่า โดยจะเป็นลายบั้ง ๆ และมีสีที่อ่อนกว่า กล่าวคือ จะมีกระดองเป็นสีเขียว อีกทั้งขนาดเมื่อโตเต็มที่ก็มีขนาดเล็กกว่าด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า ที่แม่น้ำชินด์วิน และชายแดนที่ติดกับประเทศไทย มีการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยสามารถเพาะได้แล้วในสถานที่เลี้ยง และเก็บรวบรวมไข่จากธรรมชาต.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และตะพาบม่านลายพม่า
ตะพาบม่านลายไทย
ตะพาบม่านลายไทย (Asian narrow-headed softshell turtle, Siamese narrow-headed softshell turtle, Nutaphand's narrow headed softshell turtle) เป็นตะพาบที่มีลวดลายสวยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก หัวเล็กและลำคอยาว จมูกค่อนข้างสั้นยาว เมื่อขนาดเล็กมากจะมีแถบสีเหลืองปนน้ำตาลบนส่วนหัวและกระดองอย่างชัดเจน โดยสีสันนั้นอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วงก็ได้ บนกระดองลายแถบจะพาดผ่านส่วนหัวยาวอย่างต่อเนื่องมาบนกระดอง ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือขาวอมชมพู โดยโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร ความกว้างของกระดอง 1 เมตร และหนักถึง 100–120 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียครึ่งต่อครึ่ง เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี มีถิ่นกำเนิดที่แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี, แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี และแม่น้ำปิงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และมีรายงานว่าพบที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง และพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย (โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย) ตะพาบตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายริมแหล่งน้ำ โดยขุดหลุมลึก 40–50 เซนติเมตร ออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ปากหลุมทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ไข่จะฟักออกเป็นตัว ลูกตะพาบจะวิ่งหาลงน้ำ และหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ลูกปลา, ลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เลี้ยงตัวจนถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยพฤติกรรมในธรรมชาติจะฝังตัวอยู่ใต้ทรายในพื้นน้ำ โผล่มาแต่เฉพาะตาและจมูกเท่านั้น และจะหาเหยื่อด้วยวิธีการซุ่มนี้ สถานภาพปัจจุบันไม่พบรายงานในธรรมชาติมานานเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว จนเชื่อได้ว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากถูกล่าเป็นอาหารและสัตว์เลี้ยงอย่างมาก รวมทั้งถูกคุกคามในเรื่องที่อยู่อาศัยในธรรมชาติด้วย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ตะพาบม่านลายไทยได้สำเร็จในที่เลี้ยงได้แล้วในปี 2545 โดยให้ผสมพันธุ์ในน้ำและขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ตะพาบม่านลายไทยอัตราการเจริญเติบโตเทียบกับเต่าหรือตะพาบชนิดอื่นแล้ว นับว่ามีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามาก และในต้นปี 2553 แม่พันธุ์ตะพาบม่านลายไทยของกรมประมงก็ได้วางไข่สูงสุดถึง 305 ฟอง ซึ่งนับว่ามากสุดเท่าที่เคยมีมา ใช้เวลาฟัก 61–70 วัน โดยฟักเป็นตัวทั้งหมด 92 ฟอง คิด เป็นอัตราการฟักประมาณร้อยละ 30 ซึ่งทางกรมประมงตั้งเป้าหมายจะเพาะขยายพันธุ์ให้มากขึ้นกว่านี้เพื่อจะได้ปล่อยลูกตะพาบลงสู่ธรรมชาติ เพื่อมิให้เกิดการสูญพันธุ์ นอกจากนี้แล้ว ตะพาบม่านลายไทยยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "กริวลาย", "กราวด่าง", "ม่อมลาย", "มั่มลาย" เป็นต้น โดยที่ตะพาบม่านลายไทยเดิมถูกจัดเป็นชนิดเดียวและใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกับ ตะพาบม่านลายอินเดีย (C.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และตะพาบม่านลายไทย
ตะพาบหัวกบ
ตะพาบหัวกบ (Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 50 กิโลกรัม นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบนี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยโผล่ส่วนจมูกเพื่อขึ้นมาหายใจเพียงวันละ 2–3 ครั้งเท่านั้น ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่" ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ cantorii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่นักสัตว์วิทยาชาวเดนมาร์ก ทีโอดอร์ เอ็ดวาร์ด แซนตอร์ และเชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และตะพาบหัวกบ
ตะพาบหัวกบลาย
ตะพาบหัวกบลาย (New Guinea giant softshell turtle, Bibron's giant softshell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys bibroni จัดเป็นตะพาบอยู่ในสกุลตะพาบหัวกบ (Pelochelys) มีรูปร่างคล้ายตะพาบชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกัน แต่บางตัวมีลวดลายบนกระดองคล้ายกับตะพาบในสกุล Chitra หรือตะพาบม่านลายด้วย โดยพบได้บนเกาะนิวกินี, นิวกินีตะวันตก, ปาปัวนิวกินี และทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ขนาดโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่าตะพาบหัวกบ (P.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และตะพาบหัวกบลาย
ปลาชะโอนถ้ำ
ปลาชะโอนถ้ำ หรือ ปลาชะโอนถ้ำวังบาดาล (Cave sheatfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นปลาที่มีถิ่นอาศัยเพียงถิ่นเดียว มีลำตัวสีขาวเผือกอมเหลืองทั้งตัวคล้ายภาวะผิวเผือก ตามีขนาดเล็กมากและเป็นสีแดง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่พบในถ้ำวังบาดาล ภายในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปลากลุ่มนี้จะมีลักษณะดังที่กล่าวข้างต้น และกลุ่มที่อยู่นอกถ้ำหรือพบในถ้ำอื่น จะมีลำตัวสีเทาอมน้ำตาลเท่านั้น มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาชะโอนถ้ำ
ปลากระบอกเทา
ปลากระบอกเทา (Flathead mullet, Grey mullet, Striped mullet) เป็นปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระบอก (Mugilidae) มีลักษณะทั่วไป คือ เป็นปลาที่มีลำตัวยาวป้อมหัวแหลม ที่ตามีเยื่อไขมันคลุม ปากเล็ก ครีบหลังมีสองอัน ส่วนหลังเป็นสีเทาหรือน้ำตาล ด้านข้างเป็นสีเงินวาวท้องขาว ข้างลำตัวมีแถบสีดำบาง ๆ พบมีอยู่ทั่วไปในเขตร้อนและเหนือหรือใต้เขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับในไทยมีรายงานว่าพบที่จังหวัดสงขลาแต่ไม่มาก วงจรชีวิตของปลากระบอกเทาคล้ายกับปลานวลจันทร์ทะเล ซึ่งเป็นปลาคนละวงศ์กัน กล่าวคือ ผสมพันธุ์วางไข่ในทะเลแล้วลูกปลาจะเข้ามาหากินและเจริญเติบโตในบริเวณชายฝั่ง ปลาจะเจริญเติบโตในบริเวณชายฝั่งและจะโตเต็มวัยพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปลาเพศเมียจะมีไข่ตั้งแต่ 1-3 ล้านฟอง แล้วแต่ขนาดของปลา ปลาจะวางไข่ในทะเลลึกนอกชายฝั่งที่มีอุณหภูมิในช่วง 21-25 องศาเซลเซียส ลักษณะไข่ปลาเป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอยลูกปลาที่ฟักเป็นตัวจะถูกกระแสน้ำพัดพาเข้าในบริเวณชายฝั่ง ลูกปลาช่วงวัยอ่อนจะกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหารเมื่อลูกปลาเจริญได้ขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ก็จะเปลี่ยนอุปนิสัยการกินอาหารมากินพืชแทน ปลากระบอกเทาเป็นปลาที่กินพืชที่แท้จริงจัดอยู่ในขั้นอาหารที่สอง เป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ง่าย และสามารถหาอาหารกินได้ในทุกระดับน้ำ ปลากระบอกเทาจะกินโดยวิธีการดูดหรือแทะเล็มที่พื้นผิววัสดุซึ่งมีทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร แต่จะมีอวัยวะกรองที่คอเรียกว่า "Phary ngeal fitering device" แยกตะกอนอาหารออกจากตะกอนที่ไม่ใช่อาหารแล้วพ่นตะกอนที่ไม่ใช่อาหารออกมาและส่วนที่เป็นอาหารก็จะกลืนลงสู่กระเพาะอาหารส่วนลำไส้จะยาวมาก ขดอยู่หลังกระเพาะอาหารยาวประมาณ 5 เท่าของตัวปลา ลูกปลากระบอกเทา ปัจจุบัน ปลากระบอกเทา มีการทดลองเลี้ยงและส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับปลากระบอกชนิดอื่น ๆ โดยเลี้ยงกันในบ่อดิน นอกจากนี้แล้วยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย นับเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดี.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากระบอกเทา
ปลากระเบน
ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากระเบน
ปลากระเบนกิตติพงษ์
ปลากระเบนกิตติพงษ์ หรือ ปลากระเบนแม่กลอง (Kittipong's whipray) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนในวงศ์นี้ทั่วไป ต่างกันที่ด้านหลังจะมีสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง รอบวงของลำตัว หาง ช่องหายใจ ช่องเหงือกและขอบด้านล่างของตัวเป็นสีคล้ำ และจำนวนของฟันซึ่งมีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ บริเวณขากรรไกรล่างมีจำนวนมากถึง 14-15 แถว ส่วนลำตัวมีขนาดใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 50-80 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ปลากระเบนกิตติพงษ์ ได้ถูกจำแนกออกจากปลากระเบนขาว (H.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากระเบนกิตติพงษ์
ปลากระเบนราหูน้ำจืด
ปลากระเบนราหูน้ำจืด (Giant freshwater whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ที่พบได้ในทะเล โดยมีน้ำหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม ความกว้างได้ถึง 2.5–3 เมตร หรือมากกว่านั้น รวมถึงมีความยาวตั้งแต่ปลายส่วนหัวจรดปลายหางที่บันทึกไว้ได้ใหญ่ที่สุด คือ 5 เมตร ถือเป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีส่วนหางเรียวยาวเหมือนแส้ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ซึ่งในปลาขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 8–10 นิ้ว เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ ในเงี่ยงมีสารเคมีที่มีลักษณะคล้ายเมือกลื่น มีสภาพเป็นสารโปรตีนมีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ สำหรับปลาขนาดใหญ่ พิษนี้จะมีความรุนแรงเทียบเท่ากับพิษของงูกะปะ ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้เมื่อถูกแทงเข้ากลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ และยังพบในแม่น้ำสายใหญ่ต่าง ๆ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำโขง, บอร์เนียว, นิวกินี โดยสถานที่ ๆ มักพบตัวขนาดใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง บริเวณ 20 กิโลเมตรก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และอาจมีน้ำหนักที่มากกว่าได้ถึง 80 เท่า เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาที่ออกมาใหม่นั้นจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และมีปลอกหุ้มเงี่ยงหางเอาไว้ เพื่อมิให้ทำอันตรายต่อแม่ปลา ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว สันนิษฐานว่าที่ต้องมีขนาดตัวใหญ่เช่นนี้ เพื่อมิให้ตกเป็นอาหารของนักล่าชนิดต่าง ๆ ในแม่น้ำ ได้ชื่อว่า "ราหู" เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกด้วยว่า หากใครพบเห็นหรือจับปลากระเบนราหูน้ำจืดได้ จะพบกับความโชคร้าย ตัวอย่างสตัฟฟ์ในสวนสัตว์พาต้า ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าพาต้า ปิ่นเกล้า เดิมปลากระเบนราหูน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura fluviatilis (ปัจจุบันใช้เป็นชื่อพ้องของ ปลากระเบนธง) โดยข้อมูลที่มีอยู่ระบุว่าพบในแม่น้ำสายใหญ่และทะเลสาบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมา เมื่อการระบุชนิดพันธุ์ปลาถูกศึกษาให้ลงรายละเอียดยิ่งขึ้น ปลากระเบนราหูน้ำจืดจึงถูกอนุกรมวิธานในปี ค.ศ.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากระเบนราหูน้ำจืด
ปลากดหมู
ปลากดหมู (Rita catfishes) เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืด ในสกุล Rita (/ริ-ต้า/) ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ปลากดหมู เป็นปลาหนังที่มีลำตัวอ้วนป้อม มีหนวดสั้น ๆ 4 คู่ 2 คู่ใต้คางเพื่อใช้เป็นอวัยวะสัมผัส และมีลักษณะเด่น คือ มีแผ่นกระดูกบริเวณท้ายทอยและบริเวณเหนือครีบอก เป็นแผ่นหนาและแข็งมาก มีขนาดเฉลี่ยยาวประมาณ 19–30 เซนติเมตร ยกเว้นในชนิด R.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากดหมู
ปลากดหมูสาละวิน
ปลากดหมูสาละวิน (Salween rita) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาหนังในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีรูปร่างอ้วนป้อมคล้ายหมู จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีหนวดสั้น ๆ 4 คู่ และลักษณะที่สะดุดตา คือ แผ่นกระดูกบริเวณท้ายทอยและบริเวณเหนือครีบอก เป็นแผ่นหนาและแข็งมาก สีพื้นของลำตัวมีสีเทาคล้ำส่วนท้องจะมีสีอ่อนกว่าส่วนหลังเล็กน้อย มักอาศัยอยู่ตามพื้นน้ำ กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร พบเฉพาะแม่น้ำสาละวินบริเวณพรมแดนไทย–พม่า เท่านั้น เช่น ประจวบคีรีขันธ์, กาญจนบุรี, อุทัยธานี, กำแพงเพชร, ตาก เป็นต้น โดยเฉพาะในแม่น้ำเมยที่เขตอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก นับเป็นปลาที่หาได้ยากมาก โดยเป็นปลาที่พบได้เฉพาะบางฤดูกาลเท่านั้น มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ มีขนาดความยาวได้ถึง 2 เมตร น้ำหนักกว่า 150 กิโลกรัม (แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1.50–1.80 เมตร) นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และใหญ่ที่สุดในบรรดาปลากดหมูทั้งหมด และด้วยความใหญ่ในรูปร่าง ทำให้ได้ชื่อเรียกของคนท้องถิ่นว่า "ปลาบึกสาละวิน" เป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาแปลก หายาก หรือปลาแม่น้ำขนาดใหญ่ ซึ่งทว่าหาได้ยากยิ่ง ทั้งการค้นหาในพื้นที่ธรรมชาติที่อยู่อาศัย กอรปกับเป็นปลาที่ขนส่งเคลื่อนย้ายลำบาก เนื่องจากส่วนใหญ่ ชาวพื้นเมืองที่เป็นผู้หาปลา ซึ่งได้แก่ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ จะไม่มีอุปกรณ์ในการดูแลปลาให้มีชีวิตรอดเมื่อถูกจับ ดังนั้นปลาขนาดใหญ่ที่ถูกจับมักจะตาย อีกทั้งยังมักมีพฤติกรรมดุร้าย ชอบกัดหัวทรายซึ่งพ่นออกซิเจนให้แตกขณะทำการเคลื่อนย้ายอีกด้ว.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากดหมูสาละวิน
ปลากดหัวผาน
ปลากดหัวผาน (Shovelnose sea catfish) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemiarius verrucosus อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae).
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากดหัวผาน
ปลาสวยงาม
ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาสวยงาม
ปลาหมูฮ่องเต้
ปลาหมูฮ่องเต้ หรือ ปลาหมูกำพล (Emperor loach) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) ปลาหมูฮ่องเต้มีสีพื้นผิวของลำตัวจะเป็นสีเหลืองคล้ายกับชุดของฮ่องเต้หรือจักรพรรดิจีนในสมัยโบราณ อันเป็นที่มาของชื่อ สลับลายคู่สีดำขนาดใหญ่ตลอดทั้งลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว จัดเป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามมาก จึงเป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม พบกระจายพันธุ์เฉพาะลุ่มแม่น้ำตะนาวศรีบริเวณชายแดนของไทยกับพม่า ในเขตตะนาวศรีของพม่าเท่านั้น เป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบในปี พ.ศ.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาหมูฮ่องเต้
ปลาหวีเกศ
ปลาหวีเกศ (Siamese schilbeid catfish, Siamese flat-barbelled catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีรูปร่างคล้ายปลาสังกะวาดและปลาเนื้ออ่อนผสมรวมกัน ตัวเรียวยาว มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนหลังเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กมาก มีลักษณะเด่นคือ มีหนวดยาว 4 คู่ แต่หนวดจะแบนไม่เป็นเส้น คล้ายกับเส้นผมของผู้หญิง จึงเป็นที่มาของชื่อ พบอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น กินแมลงเป็นอาหาร ขนาดโตเต็มที่ราว 20 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีรายชื่ออยู่ในกาพย์แห่ชมปลาของเจ้าฟ้ากุ้งนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายที่ว่า ปัจจุบันนี้ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติมานานแล้ว จึงเชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือแต่เพียงซากที่ถูกดองเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากรมประมงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เก็บตัวอย่างได้จากตลาดปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาหวีเกศ
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ปลาตะพัดพม่า
ปลาตะพัดพม่า หรือ ปลาตะพัดลายงู (Blue arowana, Myanmar arowana, Batik myanmar arowana) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae).
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาตะพัดพม่า
ปลาตะลุมพุก
ทความนี้หมายถึงปลา ส่วนตะลุมพุกในความหมายอื่นดูที่: ตะลุมพุก ปลาตะลุมพุก หรือ ปลากระลุมพุก หรือ ปลาหลุมพุก (ใต้) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่เข้ามาวางไข่ในน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa toli ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae).
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาตะลุมพุก
ปลาตะลุมพุกฮิลซา
ปลาตะลุมพุกฮิลซา (Hilsa shad, Ilisha, โอริยา: ଇଲିଶି, Ilishii, เบงกาลี: ইলিশ, Ilish, เตลูกู: పులస, Pulasa หรือ Polasa, สินธี: پلو مڇي, Pallu Machhi) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa ilisha อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) ปลาตะลุมพุกฮิลซา เป็นปลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเทศในแถบอ่าวเบงกอล เช่น บังกลาเทศ, อินเดียและพม่าเนื่องจากใช้เป็นอาหารบริโภคกันมาอย่างยาวนาน จนเสมือนเป็นสมบัติของชาติชิ้นหนึ่งของบังกลาเทศ มีลักษณะคล้ายกับปลาตะลุมพุก (T.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาตะลุมพุกฮิลซา
ปลาฉลามหัวบาตร
ปลาฉลามหัวบาตร (Bull shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae).
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาฉลามหัวบาตร
ปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)
ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาฉลามหางไหม้ (Burnt-tailed barb, Siamese bala-shark) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ปลาหางไหม้ มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีส้มแดงและขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง หากินตามใต้พื้นน้ำ ในอดีตพบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปจนหมดแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากการจับจากธรรมชาติเพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เพียงข้อสันนิษฐาน โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว แม้จะมีรายงานพบในลุ่มแม่น้ำโขง ในเวียดนาม, กัมพูชา และลาว แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน และไม่เป็นที่ยอมรับจาก IUCN ซึ่งในอดีตปลาหางไหม้ได้ถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับปลาฉลามหางไหม้ชนิดที่พบในประเทศอินโดนีเซีย (B.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)
ปลาปักเป้าสมพงษ์
ปลาปักเป้าสมพงษ์ (Redeye puffer, Sompong's puffer) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีพื้นลำตัวสีเทาอมเขียว ใต้ท้องสีขาว มีลวดลายสีเทาเข้มขนาดใหญ่พาดบนแผ่นหลังและข้างลำตัว สามารถปรับเปลี่ยนสีลำตัวให้เข้มหรือจางได้ตามสภาพแวดล้อม ตามีสีแดงสามารถกรอกกลิ้งไปมาได้ ตัวผู้และตัวเมียความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ตัวสีแดง ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็ก มีลำตัวสีเขียวมีลาดพาดตามลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว พบกระจายอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วประเทศ โดยมักหลบอยู่ใต้กอผักตบชวา หรือในบริเวณน้ำกร่อยตามชายฝั่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้แม้แต่ในพื้นที่ฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว มักกัดกันเองเสมอ ๆ ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในตู้เลี้ยง โดยจะวางไข่ในน้ำกร่อย ปลาชนิดนี้ถูกค้นพบโดยคนไทย จึงตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ คือ นายสมพงษ์ เล็กอารีย์ ซึ่งเป็นนักธุรกิจส่งออกปลาสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมีชื่อเรียกอื่น เช่น "ปลาปักเป้าตาแดง" เป็นต้น.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาปักเป้าสมพงษ์
ปลาแรดแดง
ปลาแรดแดง หรือ ปลาแรดแดงอินโด (Giant red tail gourami; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus laticlavius) เป็นปลาแรดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปเหมือนปลาแรดชนิดอื่น ๆ แต่ทว่าปลาแรดแดงจะมีรูปร่างที่ยาวกว่า และพบได้เฉพาะในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเท่านั้น มีลำตัวสีแดงสด ยิ่งเมื่อปลาโตขึ้นเท่าไหร่ สีดังกล่าวจะยิ่งเข้มตามด้วย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ปลาแรดแดงจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปลาแรดชนิดอื่น ๆ และขนาดเมื่อโตเต็มที่จัดว่าเป็นปลาแรดชนิดที่เล็กที่สุดด้วย กล่าวคือมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตรเท่านั้น และมีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวน้อยที่สุด ตัวผู้และตัวเมียมีจุดสีดำเหนือโคนครีบอกทั้งคู่ แตกต่างกันตรงที่ขนาดของลำตัว โดยแรกนั้น ปลาแรดแดง ได้ถูกนำมาสู่ประเทศไทยในฐานะปลาสวยงาม ราวปี..
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาแรดแดง
ปลาเอินฝ้าย
ปลาเอินฝ้าย (Thinlip barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus labeaminor จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างคล้ายปลายี่สก (P.
ดู กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาเอินฝ้าย
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Kittipong Jaruthanin