เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กาเบรียล

ดัชนี กาเบรียล

กาเบรียล เป็นทูตสวรรค์ในศาสนาอับราฮัม โดยชาวยิวและชาวคริสต์เรียกว่ากาเบรียล ส่วนชาวมุสลิมเรียกว่าญิบรีล (גַּבְרִיאֵל, ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Gavriʼel”, Gabrielus, Γαβριήλ, ภาษาฮิบรูไทบีเรียน: “Gaḇrîʼēl”, جبريل “Jibrīl” หรือ “Jibrail”) แปลตรงตัวว่า 'พละกำลังของพระเจ้า' เชื่อว่าเป็นอัครทูตสวรรค์ผู้นำสารมาจากพระเป็นเจ้.

สารบัญ

  1. 33 ความสัมพันธ์: พระวิญญาณบริสุทธิ์พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์พระเยซูการกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมาการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)มลาอิกะฮ์มารีย์ (มารดาพระเยซู)มุฮัมมัดยอห์นผู้ให้บัพติศมาลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์วันพระพิโรธวันทามารีย์หอระฆังซันมาร์โกอัลกุรอานอัครทูตสวรรค์อัครทูตสวรรค์มีคาเอลอูรีเอลอีซาจาโกโป ปอนตอร์โมทูตสวรรค์ดุอา กุเมลคริสโตเฟอร์ วอลเคนฆุลาตฉากแท่นบูชาเกนต์ฉากแท่นบูชาเมรอดซูเปอร์แมนปีพิธีกรรมนักบุญเศคาริยาห์แม่พระรับสารแม่พระรับสาร (ดา วินชี)แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโลโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี29 กันยายน

พระวิญญาณบริสุทธิ์

ระวิญญาณบริสุทธิ์ในรูปนกพิราบล้อมรอบด้วยบรรดาทูตสวรรค์ วาดโดยกอร์ราโด จีอากวินโต ราวคริสต์ทศวรรษ 1750 พระวิญญาณบริสุทธิ์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระจิต (ศัพท์คาทอลิกและออร์ทอดอกซ์) (Holy Spirit; Holy Ghost) เป็นวิญญาณชนิดหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม อันได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม แต่แต่ละศาสนาก็มีความเชื่อเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์แตกต่างกัน บุคคลผู้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะมีความคิดความอ่านไปในวิถีทางเดียวกับพระเจ้า คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ (นิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์) เชื่อเรื่องตรีเอกภาพ โดยถือว่าพระเจ้าพระองค์เดียวนั้นทรงมีสามพระบุคคลแตกต่างกัน คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงถือพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้าด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนอีกหลายนิกาย (เช่น พยานพระยะโฮวา) รวมทั้งศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ (คือชาวยิวและชาวมุสลิม) ก็ไม่ยอมรับความเชื่อนี้.

ดู กาเบรียลและพระวิญญาณบริสุทธิ์

พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

"''การรับเป็นมนุษย์''" เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิตของพระเยซู โดยมีพระตรีเอกภาพอยู่ตรงกลางภาพ ฟรีโดลิน ไลเบอร์ วาดไว้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Incarnation of the Word) ในศาสนาคริสต์หมายถึงการที่พระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเจ้าพระบุตรหรือพระวจนะ ได้เสด็จลงมาบนโลกเพื่อรับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของนางมารีย์ (บางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ จึงยกย่องพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพระมารดาพระเจ้าด้วย) เรื่องพระเจ้ามารับสภาพมนุษย์ถือเป็นหลักคำสอนทางเทววิทยาที่หลักข้อเชื่อไนซีนให้การรับรอง โดยถือว่าพระเยซูเป็นพระบุคคลที่สองในพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ ได้มารับสภาพมนุษย์โดยที่ธรรมชาติพระเป็นเจ้าเดิมยังดำรงอยู่ในตัว หลักข้อเชื่อนี้จึงถือว่าพระเยซูทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเป็นเจ้าโดยสมบูรณ์ ดังที่พระวรสารนักบุญยอห์นระบุว่า "พระวจนะเป็นพระเจ้...

ดู กาเบรียลและพระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ดู กาเบรียลและพระเยซู

การกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมา

การกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือการเกิดของยอห์นผู้ทำพิธีล้าง (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (Nativity of St.) เป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในศาสนาคริสต์ มีรายละเอียดปรากฏในพระวรสารนักบุญลูกา คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 24 มิถุนายนของทุกปี เรียกว่าวันสมโภชนักบุญยอห์น แบปติสต์ บังเกิด (Solemnity of the Birth of St.

ดู กาเบรียลและการกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมา

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

ดู กาเบรียลและการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

มลาอิกะฮ์

มลาอิกะฮ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 68 (ملائكة) เป็นคำพหูพจน์ของ มะลัก (ملك) มีความหมายเดียวกับทูตสวรรค์ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ มีหน้าที่ถวายงานรับใช้แก่อัลลอฮ์บรรจง บินกาซัน.

ดู กาเบรียลและมลาอิกะฮ์

มารีย์ (มารดาพระเยซู)

มารีย์ (מרים, มัรยาม, มีเรียม) คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายเรียกว่าพระแม่มารีย์ พระนางมารีย์พรหมจารี (Blessed Virgin Mary) หรือพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า (Mary, Mother of God) (ในอัลกุรอานว่านางมัรยัม) เป็นสตรีชาวยิวจากเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่และคัมภีร์อัลกุรอานระบุตรงกันว่านางได้เป็นมารดาของพระเยซูโดยอำนาจของพระเจ้า พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูการะบุว่ามารีย์เป็นหญิงพรหมจรรย์ (παρθένος, parthénos ในภาษากรีก) ชาวคริสต์เชื่อสืบกันมาแต่อดีตว่านางได้ตั้งครรภ์บุตรด้วยอำนาจพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ยังเป็นหญิงพรหมจรรย์ ส่วนชาวมุสลิมก็เชื่อว่านางตั้งครรภ์ด้วยโองการของพระเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อนางได้หมั้นหมายกับนักบุญโยเซฟแล้วและอยู่ระหว่างรอพิธีแต่งงาน เมื่อนางได้แต่งงานกับโยเซฟแล้วก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองเบธเลเฮมซึ่งได้เป็นที่ประสูติพระเยซู ตามธรรมเนียมยิวการหมั้นน่าจะเกิดขึ้นเมื่อนางอายุราว 12 ปีแล้วให้กำเนิดพระเยซูในหนึ่งปีหลังจากนั้น คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เริ่มกล่าวถึงนางด้วยเหตุการณ์แม่พระรับสาร เมื่อทูตสวรรค์กาเบรียลมาปรากฏกายต่อหน้านาง แล้วแจ้งว่าพระเจ้าทรงเลือกนางให้เป็นมารดาของพระเยซู คริสตจักรและข้อเขียนนอกพระคัมภีร์ในยุคแรกยังระบุว่าบิดามารดาของนางเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุชื่อนักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา คัมภีร์ไบเบิลบันทึกถึงบทบาทของนางในชีวิตของพระเยซูตั้งแต่การตั้งครรภ์พระองค์จนถึงพระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ ข้อเขียนจากคัมภีร์นอกสารบบยังกล่าวว่าหลังจากมรณกรรมนางได้รับการยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณด้ว.

ดู กาเบรียลและมารีย์ (มารดาพระเยซู)

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ดู กาเบรียลและมุฮัมมัด

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ดู กาเบรียลและยอห์นผู้ให้บัพติศมา

ลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เชื่อว่าทูตสวรรค์มีหน้าที่ต่าง ๆ กัน โดยผู้เขียนที่ใช้ชื่อว่าดิโอนิสิอัสสมาชิกสภาอาเรโอปากัส (Dionysius the Areopagite d.ca.

ดู กาเบรียลและลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์

วันพระพิโรธ

ตรกรรม ''การพิพากษาครั้งสุดท้าย'' โดยฮันส์ เมมลิง วันพระพิโรธ (ละติน: Dies irae ดีเอสอีเร) เป็นเพลงสวดละตินซึ่งสันนิฐานว่าน่าจะเขียนขึ้นโดยพระชาวอิตาลี ทอมมาโซ เด แกลาโน (Tommaso da Celano) แห่งคณะฟรันซิสกัน ไม่ก็ของลาตีโน มาลาบรังกา ออร์ซีนี (Latino Malabranca Orsini) แห่งคณะดอมินิกัน เพลงสวดนี้น่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเก่ากว่านั้น เพลงสวดกล่าวถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายและแตรของอัครทูตสวรรค์กาบรีเอลเบิกวิญญาณที่หน้าบัลลังก์พระเจ้า เพลงสวดนี้ได้ปรากฏเป็นเนื้อร้องในเรควีเอ็มโดยโมซาร์ท.

ดู กาเบรียลและวันพระพิโรธ

วันทามารีย์

วันทามารีย์ (ave maria) เป็นบทภาวนาเก่าแก่ที่คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกใช้สรรเสริญพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นประจำทุกวัน ใช้ในการสวดสายประคำหรือในพิธีต่าง.

ดู กาเบรียลและวันทามารีย์

หอระฆังซันมาร์โก

หอระฆังซันมาร์โก หอระฆังซันมาร์โก มหาวิหารซันมาร์โก หอระฆังซันมาร์โก (Campanile di San Marco, St Mark's Campanile) คือ หอระฆังของมหาวิหารซันมาร์โก ในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ในลานซันมาร์โก (Piazza San Marco) หอระฆังแห่งนี้คือหนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดของเมือง หอระฆังสูง 98.6 เมตร (323 ฟุต) ตั้งอยู่บนมุมของลานซันมาร์โก ใกล้กับด้านหน้ามหาวิหารซันมาร์โก หอระฆังแห่งนี้มีรูปแบบที่เรียบง่าย สร้างอิฐสี่เหลี่ยมเรียงกันเป็นชั้นๆ เหนือขึ้นไปมีระเบียงล้อมรอบหอระฆัง ซึ่งประกอบด้วยระฆัง 5 ใบ ส่วนบนของหอระฆังเป็นลูกบาศก์สี่เหลี่ยมที่มีรูปหน้าของสิงโตซันมาร์โก (Lion of Saint Mark) ประดับอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐเวนิสและตัวแทนผู้หญิงของเมืองเวนิส หลังคาของหอระฆังถูกครอบด้วยยอดแหลมทรงพีระมิด และยอดบนสุดประดับด้วยกังหันอากาศ (weather vane) ในรูปแบบของอัครทูตสวรรค์กาเบรียล (archangel Gabriel) หอระฆังแห่งนี้สร้างขึ้นในรูปแบบของหอเดิม ที่สร้างตั้งแต..

ดู กาเบรียลและหอระฆังซันมาร์โก

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ดู กาเบรียลและอัลกุรอาน

อัครทูตสวรรค์

อัครทูตสวรรค์ทั้งสามในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อัครทูตสวรรค์ (Archangel) ในนิกายโรมันคาทอลิก หรือ หัวหน้าทูตสวรรค์ ในนิกายโปรเตสแตนต์ หมายถึงทูตสวรรค์ระดับสูง มีที่มาจากคำในภาษากรีก αρχάγγελος (arch- + angel) พบในความเชื่อของหลายศาสนาทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ส่วนมากถือเหมือนกันว่า อัครทูตสวรรค์ประกอบด้วย มีคาเอล และ กาเบรียล ส่วนหนังสือโทบิตได้นับรวม ราฟาเอล เป็นอัครทูตสวรรค์ด้วย แต่หนังสือเล่มนี้เป็นที่ยอมรับเข้าในสารบบคัมภีร์ไบเบิลเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์เท่านั้น ส่วนคริสตจักรในนิกายโปรเตสแตนต์ไม่ยอมรับ ชาวโรมันคาทอลิกนิยมฉลองอัครทูตสวรรค์ทั้งมีคาเอล, กาเบรียล และราฟาเอล ในวันที่ 29 กันยายน (ในอดีตวันฉลองทูตสวรรค์กาเบรียลเป็นวันที่ 24 มีนาคม และฉลองทูตสวรรค์ราฟาเอลในวันที่ 24 ตุลาคม) อัครทูตสวรรค์ที่เป็นที่รู้จักในศาสนาอิสลาม คือ กาเบรียล, มีคาเอล, ราฟาเอล และอิสรออีล ส่วนจารีตอื่น ๆ ถือว่าอัครทูตสวรรค์มี 7 องค์ โดยนามจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่ม.

ดู กาเบรียลและอัครทูตสวรรค์

อัครทูตสวรรค์มีคาเอล

อัครทูตสวรรค์มีคาเอลพระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์, หน้า 2428 (Αρχάγγελος Μιχαήλ) หรือ มีคาเอลหัวหน้าทูตสวรรค์ (Michael the archangel) เป็นอัครทูตสวรรค์องค์หนึ่งตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้บัญชาการกองทัพของพระเป็นเจ้า ในหนังสือดาเนียล จดหมายของนักบุญยูดา และหนังสือวิวรณ์กล่าวว่าท่านเป็นผู้นำกองทัพพระเจ้าต่อสู้กับทัพของซาตานตอนที่ซาตานก่อกบฏ หนังสือดาเนียลระบุว่ามีคาเอลเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้า ซึ่งปรากฏในนิมิตของดาเนียลผู้เผยพระวจนะว่าได้เข้าไปช่วยกาเบรียลต่อสู้กับทูตสวรรค์ผู้พิทักษ์จักรวรรดิเปอร์เซียที่มีนามว่าโดเบียล นอกจากนี้คัมภีร์ยังระบุว่าท่านเป็นองค์อุปถัมภ์วงศ์วานอิสราเอลและเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้าผู้ปกป้องลูกหลานประชาชนของดาเนียล ในภาษาฮีบรู คำว่า มีคาเอล (Michael) แปลว่า "ผู้เหมือนพระเจ้า" (mi ผู้ใด, ke คือ/เป็น, El-พระเจ้า) ซึ่งมาจากสำนวนคำถามในคัมภีร์ทาลมุดที่ว่า “ผู้ใดจะเหมือนพระเจ้า?” (ตัวคำถามสื่อคำตอบในทางปฏิเสธว่าไม่มี) เพื่อที่จะบอกว่าไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระเจ้า มีคาเอลจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของความถ่อมตนต่อพระเจ้า ชาวโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และลูเทอแรน เรียกท่านว่า”นักบุญมีคาเอลอัครทูตสวรรค์” หรือเรียกง่าย ๆ ว่านักบุญมีคาเอล ชาวออร์ทอดอกซ์เรียกท่านว่า “ทักสิอาร์คอัครทูตสวรรค์มีคาเอล” หรืออัครทูตสวรรค์มีคาเอล กลุ่มพยานพระยะโฮวา เซเวนเดย์แอดเวนทิสต์ และนิกายใหม่ ๆ บางนิกายในคริสต์ศาสนามองว่ามีคาเอลคือ “พระคริสต์มีคาเอล” ซึ่งหมายถึงพระคริสต์ในสภาพก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายสอนว่ามีคาเอลที่จริงก็คืออาดัมตามหนังสือปฐมกาลนั่นเองที่ไปเกิดบนสวรรค์ และว่ามีคาเอลคือผู้ช่วยพระเยโฮวาห์ (ซึ่งอ้างว่าคือพระเยซูตอนอยู่บนสวรรค์) สร้างโลกตามการชี้นำของพระเจ้.

ดู กาเบรียลและอัครทูตสวรรค์มีคาเอล

อูรีเอล

อูรีเอล (Uriel ความหมาย: พระเจ้าคือแสงแห่งเรา) เป็นหนึ่งในอัครทูตสวรรค์ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ อูรีเอลเป็นทูตสวรรค์แห่งการล้างบาปและเป็นหนึ่งในบรรดาทูตสวรรค์หน้าพระพักตร์ หมายถึงทูตสวรรค์ที่ได้รับอนุญาตให้ยืนอยู่หน้าบัลลังก์พระเจ้าได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสิบองค์คือ คือ ซูรีเอล, เยโฮเอล, ซางาเอล, อคาทรีเอล, เมทาตรอน, เยเฟเฟีย, มีคาเอล, กาบรีเอล, ราฟาเอล และนาธาเอล บางครั้งอูรีเอลยังถูกจัดให้อยู่ในทูตสวรรค์คณะเครูบและคณะเสราฟิม เขาคอยเฝ้ามองภัยร้ายต่างๆยืนอยู่หน้าประตูแห่งเอเดนพร้อมด้วยดาบเพลิง อูรีเอลยังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในทูตสวรรค์ที่ฝังศพให้แก่อาดัมและอาเบลบนสวรรค์ ในหนังสือเอโนค ได้ระบุไว้ว่า อูรีเอล, ราฟาเอล และกาบรีเอล ได้ให้การต่อพระเจ้าถึงมลทิลของพงษ์พันธุ์มนุษย์ที่แปดเปื้อนจากการสมสู่กับเทวดาตกสวรรค์ (เรียกว่าพวก เนฟิล) พระเจ้าจึงบันดาลให้เกิดน้ำท่วมโลกเพื่อชำระล้างโลก ในการนี้พระเจ้าส่งอูรีเอลไปหาโนอาห์เพื่อแจ้งถึงการพิพากษากล่าว ในพันธสัญญาเดิมตอนภัยพิบัติแห่งอียิปต์ พระเจ้าได้แจ้งแก่โมเสสให้วงศ์วานอิสราเอลนำเลือดแกะไปป้ายที่ประตู เพื่อที่กองทัพพระเป็นเจ้าจะได้ละเว้นไม่สังหารคนในบ้านหลังนั้น อูรีเอลเป็นทูตสวรรค์ที่ตรวจตราประตูบ้านในเหตุการณ์ครั้งนั้น นอกจากนี้ อูรีเอลยังเป็นผู้ถือกุญแจสู่นรกในช่วงกาลสิ้นสูญและนำพาอับราฮัมเดินทางไปยังตะวันตก.

ดู กาเบรียลและอูรีเอล

อีซา

อีซา อิบนุ มัรยัม (t "อีซาบุตรนางมัรยัม") คือบุคคลเดียวกันกับ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ แต่ในคติของศาสนาอิสลาม ถือเป็นเพียง ศาสนทูตท่านหนึ่งของอัลลอ.

ดู กาเบรียลและอีซา

จาโกโป ปอนตอร์โม

“จาโคโป ปอนตอร์โม” จากหนังสือ “ชีวิตศิลปิน” โดย จอร์โจ วาซารี พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญ แคพโพนีชาเปล, ซานตาเฟลิชิตา, ฟลอเรนซ์, อิตาลี แคพโพนีชาเปล, ซานตาเฟลิชิตา, ฟลอเรนซ์, อิตาลี โจเซฟในอียิปต์ (รายละเอียด) นักบุญแอนโทนี แอ็บบ็อท พระแม่มารีและนักบุญอลิสซาเบ็ธ นักบุญเควนแต็ง ภาพเหมือนของชายหนุ่ม จาโคโป ปอนตอร์โม หรือ ปอนตอร์โม (Jacopo Pontormo หรือ Jacopo da Pontormo หรือ Pontormo) (24 พฤษภาคม ค.ศ.

ดู กาเบรียลและจาโกโป ปอนตอร์โม

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ดู กาเบรียลและทูตสวรรค์

ดุอา กุเมล

อา (บทอธิษฐานหรือบทขอพร) กุเมล เป็นดุอาบทหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายของนิกายชีอะฮ์ คือบทดุอาที่ท่านญิบรออีล(ทูตสวรรค์)ได้สอนให้ท่านคิฎีร(ศาสนทูตท่านหนึ่งของศาสนาอิสลาม) และท่านอะลีได้สอนดุอาบทนี้แก่ท่านกุเมล บิน ซิยาด สาวกคนสนิทของท่าน สำหรับดุอาบทนี้ เป็นบทที่ผสมผสานด้านจิตวิญญาณได้อย่างลึกซึ้ง และรวมถึงอักขระ ความคล้องจองของวรรคตอน ตามตัวบทที่ไพเราะชวนหลงใหล ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีความต้องการที่จะขออภัยโทษบาปต่างๆ ต่อพระเจ้.

ดู กาเบรียลและดุอา กุเมล

คริสโตเฟอร์ วอลเคน

ริสโตเฟอร์ วอลเคน (อังกฤษ: Christopher Walken) เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1943 ที่ควีนส์ ในมหานครนิวยอร์ก โดยมีชื่อแต่กำเนิดว่า โรนัลด์ วอลเคน (Ronald Walken) โดยมารดามีเชื้อสายสกอต และบิดามีเชื้อสายเยอรมัน เข้าสู่วงการการแสดง โดยการเป็นนักเต้นด้วยอายุเพียง 10 ขวบ ชนิดที่เจ้าตัวไม่คิดมาก่อนว่าจะได้กลายเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ต่อมาวอคลเคนได้แสดงละครเวทีจากบทตลกเบาสมองและบทชีวิตหนักหน่วง ในปี ค.ศ.

ดู กาเบรียลและคริสโตเฟอร์ วอลเคน

ฆุลาต

ลาต (غلاة‎, Ghulat) แปลว่า พวกสุดโต่ง พวกที่ออกนอกลู่นอกทาง มาจากคำว่า غلو‎ (Ghulu) ความสุดโต่ง, ความเกินเลย ในทางวิชาการหมายถึง พวกชีอะหฺที่ออกนอกลู่นอกทางศาสนาอิสลามมากหรือน้อย ด้วยการยกย่องอะลีย์และวงศ์วานของนบีจนเกินเลย เช่น เชื่อว่าพวกเขามีคุณสมบัติความเป็นพระเจ้า หรือเสมอเหมือนพระเจ้า ซึ่งเป็นความคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากศัตรูศาสนาอิสลาม ที่มีจุดประสงค์ที่จะทำลายล้างศาสนาอิสลาม โดยแฝงอยู่ใต้มัซฮับชีอะหฺ และเอาอะห์ลุลเบต(วงศ์วานของนบีมุฮัมมัด)เป็นกำบัง โดยเฉพาะในช่วงสามศตวรรษแรก หลังจากท่านศาสนทูตได้สิ้นชีวิต อันที่จริงทัศนะและวรรณกรรมของพวกฆุลาตกระจัดกระจายและผสมผสานกับวรรณกรรมชีอะหฺสายอื่น ๆ รวมทั้งชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺอีกด้วย จนแยกกันไม่ออก ว่าอันไหนของชีอะหฺสายกลาง อันไหนเป็นของชีอะหฺสุดโต่ง.

ดู กาเบรียลและฆุลาต

ฉากแท่นบูชาเกนต์

วิวเมื่อเปิดบานพับภาพ วิวเมื่อปิดบานพับภาพ ฉากประดับแท่นบูชาเกนต์ (Gents altaarstuk; Ghent Altarpiece) หรือ ลูกแกะของพระเจ้า (Het Lam Gods; Adoration of the Mystic Lamb) เป็นบานพับภาพเขียนเสร็จเมื่อ..

ดู กาเบรียลและฉากแท่นบูชาเกนต์

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ.

ดู กาเบรียลและฉากแท่นบูชาเมรอด

ซูเปอร์แมน

ซูเปอร์แมน คือตัวละครจากหนังสือการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่ ผลงานของ ดีซีคอมิกส์ สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกาDaniels (1998), p.

ดู กาเบรียลและซูเปอร์แมน

ปีพิธีกรรม

วันสำคัญในศาสนาคริสต์ (Liturgical year) ส่วนใหญ่กำหนดตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน มีบ้างที่กำหนดโดยอิงปฏิทินจันทรคติ สำหรับวันสำคัญที่มีมาแต่ศาสนายูดาห.

ดู กาเบรียลและปีพิธีกรรม

นักบุญเศคาริยาห์

ริยาห์ (Zechariah; Ζαχαρίας) หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเศคาริยาห์ เป็นปุโรหิตในศาสนายูดาห์ เกิดเมื่อศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล และเสียชีวิตราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 ตามคัมภีร์ไบเบิล เศคาริยาห์เป็นบิดาของยอห์นผู้ให้บัพติศมา เป็นปุโรหิตในตระกูลของอาโรน ได้แต่งงานกับเอลีซาเบธซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของมารีย์ (มารดาพระเยซู).

ดู กาเบรียลและนักบุญเศคาริยาห์

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

ดู กาเบรียลและแม่พระรับสาร

แม่พระรับสาร (ดา วินชี)

ูบทความหลักที่ แม่พระรับสาร แม่พระรับสาร (ภาษาอังกฤษ: Annunciation) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี เลโอนาร์โดเขียนภาพ “แม่พระรับสาร” ระหว่างปี ค.ศ.

ดู กาเบรียลและแม่พระรับสาร (ดา วินชี)

แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล

แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล (Annunciazione di Cestello) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซันโดร บอตตีเชลลี จิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซีที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ.

ดู กาเบรียลและแม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล

โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

รงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี (Assumption College Thonburi; อักษรย่อ: อ.ส.ธ.) เป็นโรงเรียนเอกชนลำดับ 8 ก่อตั้งโดยคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เมื่อปี พ.ศ.

ดู กาเบรียลและโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

29 กันยายน

วันที่ 29 กันยายน เป็นวันที่ 272 ของปี (วันที่ 273 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 93 วันในปีนั้น.

ดู กาเบรียลและ29 กันยายน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Angel GabrielArchangel GabrielGabrielญิบรีลมะลักญิบรีลทูตสวรรค์กาเบรียลเทวดาเกเบรียล