โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การ์ตูนสี่ช่อง

ดัชนี การ์ตูนสี่ช่อง

การ์ตูนสี่ช่อง เป็นประเภทหนึ่งของการ์ตูนช่องของการ์ตูนญี่ปุ่นซึ่งมีการดำเนินเนื้อเรื่องต่อเนื่องกัน แต่ในแต่ละตอนจะเป็นตอนสั้นๆ ซึ่งมักอยู่ในนิตยสารการ์ตูน หรือหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์มากม.

15 ความสัมพันธ์: A แชนแนล สี่แสบซ่า บ้าขั้นเอกันด๊าม กันดั้มการ์ตูนช่องมังงะยามาดะ ครอบครัวนี้ไม่ธรรมดาลักกีสตาร์ (มังงะ)หอป่วนก๊วนตัวแสบอะโหยัยโง่อัฟกานิสตังนี่ล่ะ นักพากย์!แคลนนาด (วิชวลโนเวล)โรงเรียนป่วนนักเรียนเป๋อเพื่อนหนูเป็นนักฆ่าเทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะTsuredure Children

A แชนแนล สี่แสบซ่า บ้าขั้นเอ

A แชนแนล สี่แสบซ่า บ้าขั้นเอ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทสี่ช่องจบ โดย บีบี คุโรดะ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูนเซเน็น ชื่อ มังงะ ไทม์ คิราระ คารัต และได้รวมเล่ม และวางจำหน่ายเมื่อ 26 ธันวาคม 2552 โดยสำนักพิมพ์โฮบุงฉะ ในส่วนของ อะนิเมะ ถ่ายทำขึ้นโดย โกคุมิ สตูดิโอ และฉายในญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 8 เมษายน 2554 - 24 มิถุนายน 2554 จำนวนทั้งสิ้น 12 ตอน และในส่วนของ โอวีเอ ได้ออกจำหน่ายในวันที่ 21 มีนาคม 2555 โดยวางจำหน่ายในรูปแบบ บลูเรย์ และ ดีวีดี จำนวน 2 ตอน.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและA แชนแนล สี่แสบซ่า บ้าขั้นเอ · ดูเพิ่มเติม »

กันด๊าม กันดั้ม

กันด๊าม กันดั้ม เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแบบสี่ช่องจบ แต่งโดย ฮิเดกิ โอวาดะ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารกันดั้มเอซรายเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน และมีฉบับรวมเล่มออกมาแล้ว 2 เล่ม เนื้อหาหลักในเรื่องเป็นการล้อเลียนภาพยนตร์อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้ม แบบตลกขบขัน เดิมที กันด๊าม กันดั้ม เป็นผลงานที่ ฮิเดกิ โอวาดะ เขียนไว้ก่อนที่จะได้เป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ และนำขึ้นแสดงไว้ใน "" เว็บไซต์ส่วนตัวของตนเอง แต่เมื่อได้เป็นนักเขียนอาชีพแล้ว กันด๊าม กันดั้ม ก็ถูกนำลงตีพิมพ์ในนิตยสารกันดั้มเอซรายเดือน ทำให้ผลงานชิ้นนี้กลายเป็นการ์ตูนล้อเลียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งทางสำนักพิมพ์เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ โอวาดะจึงต้องลบผลงานเรื่อง กันด๊าม กันดั้ม ที่เขียนไว้ทั้งหมดออกจากเว็บไซต์ของตนเอง กันด๊าม กันดั้ม ถูกจัดพิมพ์เป็นภาคภาษาไทยแบบไม่มีลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์ Ant Comics Group.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและกันด๊าม กันดั้ม · ดูเพิ่มเติม »

การ์ตูนช่อง

การ์ตูนช่อง หรือ คอมิกส์ (comics) เป็นทัศนศิลป์รูปแบบหนึ่งที่ประกอบด้วยรูปภาพที่จัดเป็นช่องๆ และข้อความที่อยู่ในบัลลูนคำพูดหรือเป็นคำบรรยายภาพ เริ่มแรกนั้นการ์ตูนช่องมักเป็นการ์ตูนล้อเลียนและมักจะเล่าเรื่องตลกสั้นๆ ในปัจจุบันการ์ตูนช่องจัดเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทย่อยๆ ได้หลายประเภทได้แก่.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและการ์ตูนช่อง · ดูเพิ่มเติม »

มังงะ

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและมังงะ · ดูเพิ่มเติม »

ยามาดะ ครอบครัวนี้ไม่ธรรมดา

มาดะ ครอบครัวนี้ไม่ธรรมดา หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า "My Neighbors the Yamadas" เป็นภาพยนตร์อะนิเมะที่กำกับโดย อิซาโอะ ทาคาฮาตะ เข้าฉายที่ญี่ปุ่นเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ภาพยนตร์คอมิดี้เกี่ยวกับครอบครัวที่นำเสนอออกมาในลักษณะหนังสือการ์ตูนลายเส้น ซึ่งแตกต่างจากภาพยนตร์เรื่องอื่นจากสตูดิโอจิบลิเรื่องอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะได้รับเสียงวิจารณ์ที่ค่อนข้างดี แต่เรื่องนี้กลับไม่สามารถเก็บรายได้ที่ดีบนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศ และได้รับการจัดจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีในอเมริกาในเดือน สิงหาคม..

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและยามาดะ ครอบครัวนี้ไม่ธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ลักกีสตาร์ (มังงะ)

ลักกีสตาร์ (Lucky Star) เป็นมังงะสี่ช่อง เขียนโดย คะงะมิ โยะชิมิซุ (Kagami Yoshimizu) แล้วลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร คอมป์ทิก (Comptiq) ของสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ (Kadokawa) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ตราบบัดนี้ และลงพิมพ์อย่างเดียวกันในนิตยสารอื่น ๆ ด้วย เป็นต้นว่า โชเน็งเอซ (Shōnen Ace) เนื้อหาเป็นเหมือนมังงะสี่ช่องทั่วไปที่ไม่มีเป้าหมายตายตัว แต่ดำเนินเรื่องไปแบบวันต่อวัน ครั้นเดือนสิงหาคม 2548 จึงทำเป็นดรามาซีดีขาย และเมื่อเดือนธันวาคม ปีนั้น ก็ทำขายเป็นวีดิโดเกมแบบนินเท็นโดดีเอส (Nintendo DS) ชื่อ ลักกีสตาร์โมะเอะดริล (Lucky Star Moe Drill) นอกจากนี้ เคียวโตะแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ยังทำมังงะดังกล่าวเป็นอะนิเมะยี่สิบสี่ตอนฉายทางชิบะทีวี (Chiba TV) ของเครือข่ายโทรทัศน์ญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2550 ถึง 16 กันยายน ปีเดียวกัน และมีการเขียนเป็นไลท์โนเวล (light novel) ขายในเดือนกันยายน 2550 อะนิเมะเช่นว่ายังเผยแพร่ในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาที่ คะโดะกะวะพิกเชอส์ (Kadokawa Pictures) ได้รับอนุญาตไป และบันดะอิเอนเตอร์เทนเมนต์ (Bandai Entertainment) จำหน่าย ส่วนในประเทศไทย โรสแอนิเมชันได้รับอนุญาตให้จัดจำหน่าย ต่อมาในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2551 และเดือนมีนาคม 2552 จึงผลิตเป็นดีวีดีหกชุดขายในประเทศญี่ปุ่น และทำเป็นวิดีโอแอนิเมชันดั้งเดิม (original video animation) ขายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 พร้อมดรามาซีดีด้ว.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและลักกีสตาร์ (มังงะ) · ดูเพิ่มเติม »

หอป่วนก๊วนตัวแสบ

หอป่วนก๊วนตัวแสบ (Sunshine Sketch) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทการ์ตูน 4 ช่องแนวตลกและชีวิตประจำวัน แต่งเรื่องและวาดภาพโดย อุเมะ อาโอกิ โดยจะเน้นไปยังนักเรียนสายศิลปะ 4 คน ที่อยู่โรงเรียนมัธยมที่มีชื่อด้านศิลปะแห่งหนึ่ง และทั้ง 4 คนต่างก็พักในหอพักหญิงฮิดามาริด้วยเหมือนกัน รูปแบบและจำนวนตัวละครหลัก โครงพล็อต ลักษณะเนื้อหา การดำเนินเนื้อเรื่อง ใกล้เคียงกันกับเรื่อง K-ON! และ ลัคกี้ สตาร.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและหอป่วนก๊วนตัวแสบ · ดูเพิ่มเติม »

อะโหยัยโง่

อะโหยัยโง่ (アホガール) เป็นการ์ตูนสี่ช่องแบบโชเน็งแนวเสี้ยวหนึ่งของชีวิตและตลกของญี่ปุ่น เขียนและวาดภาพโดย Hiroyuki โดยการ์ตูนตีพิมพ์ครั้งแรกที่นิตยสาร Weekly Shōnen Magazine ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2012 ก่อนจะย้ายไปยังนิตยสาร Bessatsu Shonen Magazine ในเดือน กรกฎาคม 2015ก่อนที่จะตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่มเป็นจำนวน 12 เล่มโดย สำนักพิมพ์โคดันชะ อะนิเมะโทรทัศน์อำนวยการสร้างโดย Diomedéa โดยที่อะนิเมะโทรทัศน์ออกอากาศครั้งแรกในญี่ปุ่นในเดือน กรกฎาคม ถึงเดือน กันยายน 2017 ในประเทศไทย อะโหยัยโง่ได้รับลิขสิทธิ์หนังสือการ์ตูนโดยสำนักพิมพ์รักพิม.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและอะโหยัยโง่ · ดูเพิ่มเติม »

อัฟกานิสตัง

อัฟกานิสตัง (Afghanis-tan) เป็นการ์ตูนสี่ช่องซึ่งวาดโดย ちまきing ซึ่งเดิมทีเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เนื้อหาของอัฟกานิสตังสะท้อนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศอัฟกานิสถานตั้งแต่ยุคของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยใช้ตัวละครเป็นเด็กผู้หญิงแทนประเทศต่างๆ กลุ่มรัฐบาลทาลีบันและกลุ่มก่อการร้ายอัลกออีดะยังได้ปรากฏตัวในเรื่องนี้เช่นกัน ในการ์ตูนสี่ช่องแต่ละหน้าจะมีเนื้อหาซึ่งอธิบายเรื่องราวและประวัติศาสตร์ในความเป็นจริงประกอบ เนื่องจากใช้งานศิลป์ซึ่งมีลักษณะน่ารัก อัฟกานิสตังจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเหตุการโศกนาฏกรรม เช่น วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งในเรื่องอัฟกานิสตังกลายเป็นอเมริกาถูกแมวอัลเควดากัด แต่ขณะเดียวกันก็ได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถอธิบายเรื่องราวในเอเชียกลางให้เข้าใจได้ง่าย หลังจากที่ผู้เขียนได้แต่งอัฟกานิสตังจนจบ ได้ทำภาคต่อคือ ปากิสตัง แต่หยุดไปหลังจากเผยแพร่ได้เพียงสี่ตอน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ติดไวรัส อัฟกานิสตังได้วางจำหน่ายเป็นเล่ม ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและอัฟกานิสตัง · ดูเพิ่มเติม »

นี่ล่ะ นักพากย์!

นี่ล่ะ นักพากย์! (それが声優!, Sore ga Seiyū!?) เป็นการ์ตูนสี่ช่อง เป็นผลงานร่วมที่แต่งโดยนักพากย์ อาซาโนะ มาสึมิ และวาดโดย เค็นจิโร ฮะตะ ภายใต้ชื่อ "ฮาจิเมะมาชิเตะ" นี่ล่ะ นักพากย์! ได้รับการจัดทำเป็นแอนิเมชันโดยสตูดิโอ Gonzo ออกฉายในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและนี่ล่ะ นักพากย์! · ดูเพิ่มเติม »

แคลนนาด (วิชวลโนเวล)

แคลนนาด (Clannad) เป็นชื่อเกมประเภทวิชวลโนเวล (visual novel) ซึ่งบริษัทคีย์ (Key) ผลิตขึ้นและเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2547 สำหรับเล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการของวินโดวส์ ต่อมาจึงพัฒนาให้เล่นกับเพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชันแบบพกพา, เอกซ์บอกซ์ 360 และเพลย์สเตชัน 3 ได้ด้วย เกมนี้เป็นผลงานลำดับที่สามของคีย์ถัดจาก แอร์ (Air) และ แคนอน (Kanon) ตามลำดับ แต่ต่างกันตรงที่เกมทั้งสองนั้นเมื่อแรกประกอบไปด้วยเนื้อหาลามกอนาจารมุ่งเร้ากำหนัดเป็นสำคัญ ต่อภายหลังจึงทำฉบับที่ปราศจากสื่อดังกล่าววางจำหน่ายในตลาดผู้เยาว์ ขณะที่เกมนี้ไม่มีเนื้อหาทำนองเช่นว่ามาแต่ต้น และได้รับการจัดประเภทว่าเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ดี ภายหลังได้ออกตอนพิเศษของเกมนี้โดยมีเนื้อหาเร้ากามารมณ์ ชื่อ โทะโมะโยะอาฟเตอร์: อิตส์อะวันเดอร์ฟูลไลฟ์ (Tomoyo After: It's a Wonderful Life) เกมนี้ว่าด้วยชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งต้องพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตาตั้งแต่เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปจนถึงเติบใหญ่ทำมาหาเลี้ยงชีพ และต้องช่วยเหลือคนเหล่านั้นแก้ไขปัญหาเป็นรายไป เนื้อหาแบ่งเป็นสององก์ต่อเนื่องกัน องก์แรกเรียก "ชีวิตวัยเรียน" (School Life) และองก์ที่สองเรียก "เรื่องราวให้หลัง" (After Story) แรกจำหน่าย ฉบับเล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นขายดีเป็นอันดับหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาก็ติดอันดับเกมห้าสิบเกมที่ขายดีที่สุดในประเทศอีกหลายครั้ง เกมนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นสื่ออื่น ๆ อีกจำนวนมาก ได้แก่ มังงะสี่ชุด ชุดแรกลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร คอมิกรัช (Comic Rush) ชุดสองลง คอมิกดิจิ + (Comi Digi +) ชุดสามลง เด็งเงะกิจีส์แมกาซีน (Dengeki G's Magazine) และชุดสี่ลง แดรก็อนเอจเพียวร์ (Dragon Age Pure) นอกจากนี้ ยังมีประชุมการ์ตูน ไลท์โนเวล สมุดภาพ ละครเสียง และอัลบัมเพลงอีกหลายชุด ต่อมาบริษัทโทเอแอนิเมชัน (Toei Animation) ดัดแปลงเป็นอะนิเมะโรง เข้าฉาย ณ วันที่ 15 กันยายน 2550 เป็นวันแรก และบริษัทเกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ดัดแปลงเป็นอะนิเมะโทรทัศน์จำนวนสองฤดูกาล สี่สิบเจ็ดตอน กับโอวีเอ (original video animation) อีกสองตอน เผยแพร่ในระหว่างปี 2550 ถึง 2553 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมากทั้งในประเทศและต่างประเท.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและแคลนนาด (วิชวลโนเวล) · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนป่วนนักเรียนเป๋อ

อาสึมังกะไดโอ โรงเรียนป่วนนักเรียนเป๋อ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยม เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตเด็กสาว ม.ปลาย ที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม ที่รวมสาวน้อยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยมุขตลกชวนขัน ตามภาษาเด็กๆ ได้แสดงออกมาในรูปแบบการ์ตูนสี่ช่อง ทำให้น่าติดตาม และหัวเราะได้ตลอดเวลา คำว่า อาสึมังกะไดโอ (あずまんが大王) ที่เป็นชื่อเรื่อง เป็นคำที่เป็นการเล่นคำ จากชื่อนักเขียนคือ คิโยฮิโกะ อะสึมะ โดยเอาชื่อสกุลของเขา อะสึมะ (あずま) มารวมกับคำว่า มังงะ (漫画 ที่แปลว่า การ์ตูนที่เป็นหนังสือ) และคำว่า ไดโอ (大王 ที่แปลว่าพระราชา) รวมแล้วหมายถึง อะสึมะราชาแห่งการ์ตูน แต่เนื่องจากการ์ตูนเรื่องนี้ตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนรายเดือน เด็งเงคิไดโอ (月刊コミック電撃大王) จึงสันนิษฐานว่า คำแปลอาจเป็น "การ์ตูนของอาสึมะ ในนิตยสารเด็งเงคิไดโอ".

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและโรงเรียนป่วนนักเรียนเป๋อ · ดูเพิ่มเติม »

เพื่อนหนูเป็นนักฆ่า

ื่อนหนูเป็นนักฆ่า (Kill Me Baby - Baby, Please Kill Me!) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทการ์ตูน 4 ช่องแนวตลกและชีวิตประจำวัน แต่งเรื่องและวาดภาพโดย Kadzuho เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสาวน้อยมัธยมปลายผู้ร่าเริง กับเพื่อนสนิทของเธอที่เป็นนักฆ่า และนินจาสาว ปัจจุบัน มีแบบรวมเล่มด้วยกัน 5 เล่ม และตีพิมพ์ในไทยแล้ว 3 เล่ม โดยสำนักพิมพ์รักพิม.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและเพื่อนหนูเป็นนักฆ่า · ดูเพิ่มเติม »

เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ

ทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ เป็นนิยายไลท์โนเวล จากประเทศญี่ปุ่น เนื้อเรื่องโดย มันตะ ไอโซระ วาดภาพประกอบโดย โคอิน ตีพิมพ์โดยGAบุงโกะ ปัจจุบันมีการเผยแพร่แล้วทั้งหมด 8 เล่ม ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของรักพิมพ์ พับลิชชิ่ง เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ เป็นเรื่องที่ได้รางวัล GAบุงโกะไทโช ครั้งที่1 และGAแม็กกาซีนก็ได้เริ่มตีพิมพ์เรื่องนี้ตั้งแต่ฉบับที่2 เนื้อหาของเรื่องนั้นเป็นแนวตลกแบบตลกเจ็บตัว(slapstick)ผสมกับเลิฟคอมมีดี โดยหลักๆแล้วจะล้อเลียนงานประพันธ์ชุดตำนานคธูลู แต่ก็มีผสมส่วนที่ล้อเลียนอะนิเมะหรือมังงะอย่างโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษและโทคุซัทสึโดยเฉพาะมาสค์ไรเดอร์เดนโอและมาสค์ไรเดอร์ดีเคดเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น โดยในประเทศไทย ฉบับอะนิเมะทั้ง 2 ภาค TIGA เป็นผู้ถือลิขสิท.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและเทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ · ดูเพิ่มเติม »

Tsuredure Children

Tsuredure Children (徒然チルドレン) เป็นการ์ตูนสี่ช่อง แบบ web manga แนวรักตลกของญี่ปุ่น เขียนและวาดภาพโดย Toshiya Wakabayashi อะนิเมะโทรทัศน์อำนวยการสร้างโดย Studio Gokumi โดยที่อะนิเมะโทรทัศน์ออกอากาศครั้งแรกในญี่ปุ่นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2017ถึงวันที่ 19 กันยายน 2017 Funimation เป็นผู้ถือลิขสิทธ์อะนิเมะในฝั่งอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: การ์ตูนสี่ช่องและTsuredure Children · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Yonkoma

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »