เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ

ดัชนี การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1 ในจุดหมายแสวงบุญที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ คือการเดินทางของพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาเพื่อไปสักการะสถานที่สำคัญในพระพุทธประวัติหรือสถูปเจดีย์ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา ในดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล (หรือที่คือดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน) โดยสถานที่สำคัญที่ถือได้ว่าเป็นจุดหมายหลักของชาวพุทธคือสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ฯ สารนาถ สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และกุสินารา สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งนอกจากสังเวชนียสถานแล้ว ยังมีสถานที่สำคัญอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ทั้งที่เป็นมหาสังฆารามในอดีต หรือเมืองสำคัญในสมัยพุทธกาลที่มีความเกี่ยวข้องปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งบางแห่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เช่นที่ พุทธคยา ถ้ำอชันตา-เอลโลล่า เป็นต้น เดิมนั้นการเดินทางไปสักการะยังสถานที่ต่าง ๆ ในดินแดนพุทธภูมิเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องมีความศรัทธาตั้งมั่นอย่างมากจึงจะสามารถไปนมัสการได้ครบทุกแห่ง ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกสบายขึ้น และมีวัดพุทธนานาชาติอยู่ในจุดสำคัญ ๆ ของพุทธสถานโบราณต่าง ๆ ทำให้ชาวพุทธจากทั่วโลกนิยมไปนมัสการพุทธสถานในดินแดนพุทธภูมิเป็นจำนวนมากในแต่ละปี.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: พุทธคยากุสินาราลุมพินีวันวัดเชตวันมหาวิหารวัดเวฬุวันมหาวิหารสังกัสสะสังเวชนียสถานสถูปสาญจีจาริกปาวาโกสัมพีเกสริยาสถูปเวสาลี

พุทธคยา

ทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและพุทธคยา

กุสินารา

กุสินารา หรือ กุศินคร (कुशीनगर, کُشی نگر, Kusinaga, Kushinagar) เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์ ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากม.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและกุสินารา

ลุมพินีวัน

ลุมพินีวัน (Lumbini Vana) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้ ปัจจุบันลุมพินีวันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนประเทศอินเดียทางเหนือเมืองโคราฆปุระ ห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 11 กิโลเมตร และห่างจากสิทธารถนคร (หรือ นครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตก 11 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ปัจจุบัน ลุมพินีวันมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ทางการเรียกสถานที่นี้ว่า รุมมินเด มีสภาพเป็นชนบท มีผู้อาศัยอยู่ไม่มาก มีสิ่งปลูกสร้างเป็นพุทธสถานเพียงเล็กน้อย แต่มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้งวัดไทยลุมพินี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี..

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและลุมพินีวัน

วัดเชตวันมหาวิหาร

วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นอาราม (วัด) ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา วัดเชตวันมหาวิหารเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือแม่น้ำอจิรวดีในสมัยพุทธกาล นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดี.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและวัดเชตวันมหาวิหาร

วัดเวฬุวันมหาวิหาร

กลุ่มป่าไผ่ร่มรื่น ในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเวฬุวันมหาวิหาร หรือ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) คำว่า เวฬุวัน แปลว่าสวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสาวกจำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูชา วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่ เป็นซากโบราณสถานในสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้าน อยู่ในความดูแลของทางราชการอินเดี.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและวัดเวฬุวันมหาวิหาร

สังกัสสะ

ังกัสสะ (Sankassa) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์เสด็จไปทรงจำพรรษาที่ 7 หลังการตรัสรู้ ณ ดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดา ปัจจุบันสังกัสสะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสังกิสสะ บะสันตะปุระ (Sankissa Basantapura) ในจังหวัดฟารุกาหบาท (Farrukhabad) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองแห่งนี้ไม่ค่อยมีผู้แสวงบุญไปจาริกเท่าใดนัก เนื่องจากการเดินทางไปยังหมู่บ้านแห่งนี้ในปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและสังกัสสะ

สังเวชนียสถาน

ังเวชนียสถาน (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและสังเวชนียสถาน

สถูปสาญจี

ูปสาญจี (Sanchi) คำว่า สาญจี คือ ชื่อหมู่บ้านเล็กๆ ในเขต Raisen ของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 46 กิโลเมตร จากเมือง Bhopal และ 10 กิโลเมตรจากเมือง Vidisha ในส่วนกลางของรัฐมัธยประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ สถูปแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi) ซึ่งเป็นมรดกโลกที่รักษาไว้เป็นอย่างดี โดยเปิดทำการให้สาธารณะเข้าชมในเวลา 8.00 -17.00 น.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและสถูปสาญจี

จาริก

ริก เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎก หมายความถึงการเดินทางไปเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ศัพท์นี้ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในประเทศไทยโดยมีความหมายเดียวกับในพระไตรปิฎก เช่น จาริกธุดงค์, โครงการธรรมจาริก เป็นต้น ปัจจุบันการจาริกขยายความหมายไปถึงการเดินทางเพื่อไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสังเวชนียสถานด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คำว่าการ จาริกแสวงบุญ.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและจาริก

ปาวา

ปาวา (Pava) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล เคยเป็นเมืองหลวง 1 ใน 2 เมืองหลวงของเจ้ามัลลกษัตริย์แห่งแควันมัลละ 1 ใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล ปาวาตามที่ปรากฏเรื่องราวในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จผ่านเมื่อคราวเสด็จจากเมืองเวสาลีไปยังกุสินารา เพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยพระพุทธเจ้าได้แวะพักที่ป่ามะม่วงของนายจุนทะเพื่อฉลองศรัทธาเสวยอาหารมื้อสุดท้ายของพระองค์ที่นายจุนทะกัมมารบุตร (นายจุนทะบุตรของนายช่างทอง) จัดถวาย ปัจจุบันเมืองปาวาเป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ 15 กิโลเมตรทางตะวันออกของกุสินารา ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดี.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและปาวา

โกสัมพี

กสัมพี (Kosambi) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นวังสะ 1 ใน มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขายในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน รูปโค้งพระจันทร์เสี้ยวริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโกสัม (Kosam) หรือหมู่บ้านหิสัมบาทตชนบท จังหวัดอัลลฮาบาต รัฐอุตตรประเทศ ของอินเดีย ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 59 กิโลเมตร เมืองนี้ได้เริ่มต้นทำการขุดค้นทางโบราณคดีโดยศาสตรจารย์ จี.อาร.ชาร์มา แห่งมหาวิทยาลัยอัลลาหบาต ในปี พ.ศ.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและโกสัมพี

เกสริยาสถูป

มหาสถูปแห่งเกสเรีย หรือที่ในปัจจุบันเรียกว่า เกสริยา, เกสเรีย (Kesaria, อักษรเทวนาครี: केसरिया) เป็นสถานที่ตั้งของมหาสถูปพบใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย สถานที่ประดิษฐานบาตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาววัชชี เมื่อครั้งพุทธกาลเกสเรียอยู่ในเขตพรมแดนของแคว้นวัชชีและมัลละต่อกัน (รัฐพิหารในปัจจุบัน)แต่ไม่ใช่สถานที่แสดงกาลามสูตร ดังที่เข้าใจกัน เพราะสถานที่แสดงกาลามสูตรนั้น อยู่ในแคว้นโกศล แต่สถูปเกสเรีย อยู่ในแคว้นวัชชีต่อกันกับพรมแดนแคว้นมัลล.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและเกสริยาสถูป

เวสาลี

วสาลี หรือ ไวศาลี (Vaishali) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของคณะเจ้าลิจฉวี ที่มีปกครองแคว้นวัชชีด้วยระบอบคณาธิปไตยแห่งแรก ๆ ของโลก (บ้างก็ว่าด้วยระบอบประชาธิปไตย) เมืองนี้เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่มั่นแห่งสำคัญของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น โดยพระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยี่ยมเมืองแห่งนี้ในปีที่ 5 หลังการตรัสรู้ ตามการกราบบังคมทูลเชิญจากเจ้าผู้ครองแคว้น และในช่วงหลังพุทธกาล เมืองแห่งนี้ได้ตกเป็นของแคว้นมคธโดยการนำของพระเจ้าอชาตศัตรูพระราชาแห่งเมืองราชคฤห์ และหลังการล่มสลายของราชวงศ์พิมพิสารในเมืองราชคฤห์ พระราชาองค์ต่อมาจึงได้ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธมายังเมืองเวสาลี ทำให้เมืองแห่งนี้เจริญถึงขีดสุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองนี้ได้เป็นสถานที่ทำทุติยสังคายนาของพระพุทธศาสนา ก่อนที่จะเสื่อมความสำคัญและถูกทิ้งร้างลงเมื่อมีการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองปาฏลีบุตรหรือเมืองปัตนะอันเป็นเมืองหลวงของรัฐพิหารในปัจจุบัน ปัจจุบันเมืองเวสาลีเป็นซากโบราณสถานอยู่ที่ตำบลบสาร์ท หรือเบสาร์ท (Basarh-Besarh) ในจังหวัดไวศาลี ที่เขตติดต่อของอำเภอสดาร์ (Sadar) กับ (Hajipur) ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการจังหวัด เมืองเวสาลีห่างจากหซิปูร์ 35 กิโลเมตร ห่างจากมุซัฟฟาร์ปูร์ 37 กิโลเมตร โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมุซัฟฟาร์ปูร.

ดู การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิและเวสาลี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ การจาริกแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ