โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแยกใช้อำนาจ

ดัชนี การแยกใช้อำนาจ

การแยกใช้อำนาจ เป็นแบบจำลองวิธีการปกครองรัฐ มีขึ้นครั้งแรกในกรีซโบราณ ภายใต้แบบจำลองนี้ รัฐแบ่งออกเป็นอำนาจต่าง ๆ ซึ่งแต่ละอำนาจมีอำนาจแยกเป็นเอกเทศต่อกัน และมีขอบเขตความรับผิดชอบต่างกัน เพื่อที่อำนาจของอำนาจหนึ่งจะไม่ไปขัดกับอำนาจที่สัมพันธ์กับอีกอำนาจหนึ่ง การแยกใช้อำนาจนี้ปกติแบ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หมวดหมู่:กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวดหมู่:ปรัชญากฎหมาย หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง.

21 ความสัมพันธ์: พรรคการเมืองกบฏในประเทศไทยการลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560มงแต็สกีเยอระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมากรัฐบาลไทยรัฐธรรมนูญนิยมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557สภานิติบัญญัติสหพันธ์สาธารณรัฐสหรัฐสาธารณรัฐโรมันหลักนิติธรรมอำนาจบริหารอำนาจตุลาการฌากอแบ็งประชาธิปไตยประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประชาธิปไตยเสรีนิยมประเทศเยอรมนี

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กบฏในประเทศไทย

ตามกฎหมายไทย กบฏ เป็นความผิดอาญา ฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรืออำนาจอธิปไตยทั้งสาม หรือแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏหรือขบถ และกำหนดโทษสำหรับผู้ก่อการกบฏ ให้ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม มีผู้ได้รับโทษทัณฑ์ในข้อหากบฏในราชอาณาจักรน้อย มีที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เช่น กบฏ ร.ศ. 130 รับนิรโทษกรรมจากรัฐบาล หรือหลบหนีไปนอกราชอาณาจักร เช่น กบฏวังหลวง กรณีที่มีผู้รับโทษประหารชีวิตได้แก่ กบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งเป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้ทหารรัฐประหารรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรในเวลาต่อม.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและกบฏในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560

มีการจัด การลงประชามติรัฐธรรมนูญ ทั่วประเทศตุรกีเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2560 ว่าจะอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งตุรกีที่เสนอไว้ 18 มาตราหรือไม่ ซึ่งพรรครัฐบาล พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (AKP) และพรรคขบวนการชาตินิยม (MHP) เป็นผู้เสนอ หากได้รับอนุมัติ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะถูกยุบและการปกครองระบบรัฐสภาเดิมจะถูกเปลี่ยนเป็นประธานาธิบดีฝ่ายบริหาร (executive presidency) และระบบประธานาธิบดี มีการเสนอให้ที่นั่งในรัฐสภาเพิ่มขึ้นจาก 550 เป็น 600 ที่นั่ง และมีการเสนอให้ประธานาธิบดีควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการสู่สำนักงานผู้พิพากษาและอัยการสูงสุดได้มากขึ้น การจัดรัฐธรรมนูญดังกล่าวอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งมีการประกาศหลังความพยายามรัฐประหารที่ล้มเหลวในเดือนกรกฎาคม 2559 ผลเบื้องต้นชี้ว่าฝ่ายออกเสียงลงคะแนน "ใช่" นำอยู่ 51-49% สภาการเลือกตั้งสูงสุดอนุญาตให้ยอมรับบัตรลงคะแนนที่มิได้ประทับตราว่ามีผลใช้ได้ พรรคฝ่ายค้านหลักประกาศว่าท่าทีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าบัตรลงคะแนนถึง 1.5 ล้านบัตรมิได้ประทับตรา และปฏิเสธยอมรับผลการลงประชามติ สำนักงานการเลือกตั้งแถลงว่า อาจประกาศผลลัพธ์อย่างเป็นทางการในอีก 11 ถึง 12 วัน ประธานธิบดีฝ่ายบริหารเป็นนโยบายที่มีมายาวนานของพรรครัฐบาล AKP และผู้ก่อตั้งและประธานาธิบดีตุรกีคนปัจจุบัน เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ในเดือนตุลาคม 2559 พรรคขบวนการชาตินิยม (MHP) ประกาศความร่วมมือในการผลิตร่างข้อเสนอร่วมกับรัฐบาล ด้วยการสนับสนุนร่วมของทั้งสมาชิกรัฐสภา AKP และ MHP เพียงพอนำข้อเสนอดังกล่าวสู่การลงประชามติหลังการเลือกตั้งรัฐสภาในเดือนมกราคม ผู้ที่เห็นชอบกับการออกเสียงลงคะแนน 'ใช่' แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นต่อประเทศตุรกีที่เข้มแข็งและเสถียร ว่าประธานาธิบดีฝ่ายบริหารจะนำมาซึ่งจุดจบของรัฐบาลผสมที่ไม่เสถียรซึ่งครอบงำการเมอืงตุรกีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงปี 2545 การรณรงค์ 'ไม่' แย้งว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกระจุกอำนาจอยู่ในมือของประธานาธิบดีมากเกินไป ทำลายการแยกใช้อำนาจโดยสิ้นเชิง และดึงอำนาจนิติบัญญัติจากรัฐสภา นักวิจารณ์แย้งว่าระบบที่เสนอจะคล้ายกับ "เผด็จการจากการเลือกตั้ง" โดยไม่มีความสามารถเอาผิดกับฝ่ายบริหารได้ นำไปสู่ "การฆ่าตัวตายทางประชาธิปไตย" ในที่สุด สามวันก่อนการลงประชามติ ผู้ช่วยของแอร์โดกันคนหนึ่งเรียกร้องให้มีระบบสหพันธรัฐหากฝ่ายออกเสียง 'ใช่' ชนะ ทำให้เกิดเสียงโต้กลับจาก MHP ที่นิยมใช่ การรณรงค์ทั้งสองฝ่ายถูกกล่าวหาว่าใช้วาทกรรมแบ่งแยกและสุดขั้ว โดยแอร์โดกันกล่าวหาผู้ออกเสียง 'ไม่' ทุกคนว่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่เข้ากับผู้สมคบรัฐประหารที่ล้มเหลวเมื่อปี 2559 การรณรงค์มีข้อกล่าวหาว่ามีการปราบปรามของรัฐต่อผู้รณรงค์ 'ไม่' ขณะที่การรณรงค์ 'ใช่' สามารถใช้สถานที่และเงินทุนของรัฐในการจัดระเบียบการเดินขบวนและเหตุการณ์การรณรงค์ สมาชิกผู้นำของการรณรงค์ 'ไม่' ล้วนถูกความรุนแรงและการจำกัดการรณรงค์ การรณรงค์ 'ใช่' เผชิญกับการจำกัดการรณรงค์โดยหลายประเทศยุโรป รัฐบาลเยอรมัน ดัตช์ เดนมาร์กและสวิสยกเลิกและขอให้ระงับเหตุการณ์การรณรงค์ 'ใช่' ที่มีเป้าหมายยังผู้ออกเสียงลงคะแนนชาวตุรกีต่างประเทศ การจำกัดดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ทางทูตเสื่อมลงอย่างมากและทำใหเกิดวิกฤตการณ์ทางทูตระหว่างประเทศตุรกีและเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ ยังมีการยกข้อกังวลเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของการออกเสียงลงคะแนน โดยผู้ออกเสียง 'ใช่' ในประเทศเยอรมนีถูกจับได้ว่าพยายามออกเสียงมากกว่าหนึ่งครั้งและยังพบว่ามีบัตรออกเสียงในครอบครองก่อนเริ่มกระบวนการออกเสียงลงคะแนนในต่างประเทศ หมวดหมู่:การลงประชามติในปี พ.ศ. 2560 หมวดหมู่:การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2560 หมวดหมู่:การลงประชามติในประเทศตุรกี หมวดหมู่:การเลือกตั้งในประเทศตุรกี.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและการลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

มงแต็สกีเยอ

ร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หล.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและมงแต็สกีเยอ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก

ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก ทรราชย์เสียงข้างมาก หรือ ทรราชย์โดยเสียงส่วนใหญ่ (Tyranny of the majority) เป็นคำใช้อภิปรายระบอบประชาธิปไตยและการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยบรรยายถึงกรณีที่การตัดสินใจของเสียงข้างมากยึดผลประโยชน์ของตนเหนือผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มเสียงข้างน้อยมากจนกลายเป็นการบีบบังคับ (opression) เปรียบได้กับทรราชย์หรือระบบใช้อำนาจเด็ดขาด มีการนำหลักเกินกึ่งหนึ่ง (supermajority) การจำกัดอำนาจของสภานิติบัญญัติโดยรัฐธรรมนูญ และการริเริ่มบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองมาใช้ตอบโต้ปัญหาที่รับรู้ดังกล่าวA Przeworski, JM Maravall, I NetLibrary (2003) p.223 การแยกใช้อำนาจถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นภายในรัฐบาลด้ว.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลไทย

รัฐบาลไทย เป็นรัฐบาลของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นรัฐบาลเดี่ยว รัฐบาลไทยมีบทบาทขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัฐชาติอันสถานปนาขึ้นครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายหลังทรงผนวกดินแดนและอาณาจักรภายใต้ปกครองของอาณาจักรสยามขึ้นเป็นสยามประเทศ รัฐบาลไทยผ่านการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันรัฐบาลไทยแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ในอดีตก่อนปี 2557 รัฐบาลพลเรือนของไทยมีรูปแบบตามระบบเวสต์มินสเตอร์ของสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของคณะทหาร เรียกว.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและรัฐบาลไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญนิยม

รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) เป็นแนวคิดที่ต้องการวางหลักเกณฑ์ในการมองรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นกฎหมายสูงสุด และคุ้มครองสิทธิของประชาชนโดยแท้จริง แนวคิดนี้ยังกล่าวว่าหากรัฐใดมีรัฐธรรมนูญ แต่ไม่กล่าวถึงโครงสร้างแห่งหลักประกันสิทธิของประชาชนในรัฐ รัฐธรรมนูญนั้นก็เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่สมบูรณ์ หรือไม่เป็นรัฐธรรมนูญ แนวคิดรัฐธรรมนูญนั้นมีมากมายแตกต่างกันแตกหากเชื่อในเรื่องของการมีกฎหมายสูงสุดอันเป็นหลักประกันสิทธิของประชาชนเหมือนกันก็ย่อมเรียกว่า รัฐธรรมนูญนิยม วัตถุประสงค์ของกระแสแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมนี้เน้นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐในฐานะผู้ปกครองซึ่งมีอำนาจสูงสุดกับประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครอง โดยรัฐจะต้องให้การรับรองและคุ้มครองซึ่งสิทธิเสรีภาพของผู้ใต้ปกครองและประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการปกครองหรือในการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทั้งนี้จะต้องมีการสร้างระบบควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจและมีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพเพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมที่มีแนวคิดในการสร้างมาตรการขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับเก่านั่นเอง.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและรัฐธรรมนูญนิยม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหม.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิกฤตการณ์การเมืองไท..

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐ

หพันธ์สาธารณรัฐเป็นสหพันธรัฐของรัฐที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" ไม่คงเส้นคงวา ทว่า ณ ใจกลาง ความหมายตามอักษรของคำว่า "สาธารณรัฐ" เมื่อใช้อ้างอิงถึงระบอบการปกครองหมายถึง "รัฐซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือผู้แทนประชาชน มิใช่พระมหากษัตริย์หรือจักรพรรดิ; ประเทศที่ไม่มีพระมหากษัตริย์" ในสหพันธ์สาธารณรัฐ มีการแยกใช้อำนาจระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลของเขตการปกครองย่อยหนึ่ง ๆ แม้ว่าสหพันธ์สาธารณรัฐแต่ละแห่งจัดการการแยกใช้อำนาจนี้ต่างกัน แต่ปัญหาร่วมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการป้องกันประเทศ และนโยบายการเงินปกติจัดการที่ระดับสหพันธรัฐ ขณะที่ปัญหาอย่างการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายการศึกษาปกติจัดการที่ระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่น ทว่า มีความเห็นแตกต่างกันว่าปัญหาใดควรเป็นอำนาจหน้าที่ของสหพันธรัฐ และเขตการปกครองปกติมีอำนาจอธิปไตยในบางปัญหาซึ่งรัฐบาลกลางไม่มีเขตอำนาจ ฉะนั้น สหพันธ์สาธารณรัฐจึงนิยามขัดต่อสาธารณรัฐรัฐเดี่ยว (unitary republic) ดี่ที่สุด ซึ่งรัฐบาลกลางมีอำนาจอธิปไตยเต็มเหนือทุกส่วนของชีวิตการเมือง ข้อแตกต่างทางการเมืองระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐและสหพันธรัฐอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหพันธ์ราชาธิปไตย (federal monarchies) ซึ่งมีระบบการปกครองแบบรัฐสภา ส่วนใหญ่เป็นประเด็นของรูปแบบทางกฎหมายมากกว่าสาระทางการเมือง เพราะสหพันธรัฐส่วนมากมีการปฏิบัติหรือโครงสร้างเป็นแบบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ทว่า ในบางสหพันธ์ราชาธิปไตย เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยึดหลักการอื่นนอกเหนือจากประชาธิปไต.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและสหพันธ์สาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและสาธารณรัฐโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

หลักนิติธรรม

หลักนิติธรรม (Rule of Law) หากพิจารณาในฐานะแนวคิดของชาวตะวันตกนั้นก็จะพบว่ามีรากเหง้ามาแต่ครั้งสมัยกรีกโบราณจากข้อถกเถียงสำคัญที่ว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะเป็นการปกครองด้วยสิ่งใด ระหว่างกฎหมายที่ดีที่สุด กับ สัตบุรุษ (คนดี) โดยอริสโตเติล (Aristotle) ได้สรุปว่า กฎหมายเท่านั้นที่ควรจะเป็นผู้ปกครองสูงสุดในระบอบการเมือง (Aristotle, 1995: 127) และจากข้อสรุปของอริสโตเติลตรงนี้นี่เอง ที่ได้พัฒนาไปสู่แนวคิดพื้นฐานสำคัญของรัฐสมัยใหม่ในอีกหลายพันปีถัดมาว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะต้องให้กฎหมายอยู่สูงสุด (supremacy of law) และทุกๆ คนต้องมีสถานะที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย กล่าวคือ แม้ตามหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ ผู้ปกครองจะมีอำนาจอันชอบธรรมในการออกและบังคับใช้กฎหมาย แต่ตัวผู้ปกครอง หรือ รัฐเองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่พวกเขาออก และบังคับใช้ด้วยเฉกเช่นเดียวกันกับพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐ เพื่อที่จะทำให้การเมืองนั้นวางอยู่บนรากฐานของกฎหมาย และรัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่จำกัด (limited government) โดยตัวกฎหมายเป็นสำคัญ.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและหลักนิติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจบริหาร

อำนาจบริหาร (Executive) เป็นการปกครองส่วนที่มีอำนาจและความรับผิดชอบเฉพาะการบริหารประเทศประจำวัน ระบบการแยกใช้อำนาจออกแบบมาเพื่อกระจายอำนาจในบรรดาหลายฝ่าย เป็นความพยายามที่จะรักษาเสรีภาพปัจเจกบุคคลเพื่อเป็นการสนองตอบผู้นำทรราชตลอดประวัติศาสตร์ บทบาทของฝ่ายบริหาร คือ บังคับใช้กฎหมายตามที่สภานิติบัญญัติบัญญัติขึ้นและระบบตุลาการตีความ ฝ่ายบริหารสามารถเป็นบ่อเกิดของกฎหมายบางประเภทได้ เช่น กฤษฎีกาหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร ระบบข้าราชการประจำบริหารมักเป็นที่มาของระเบี.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและอำนาจบริหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจตุลาการ

อำนาจตุลาการ เป็นระบบศาลซึ่งทำหน้าที่ตีความและใช้บังคับกฎหมาย (apply the law) ในนามของรัฐ ตุลาการยังเป็นกลไกสำหรับระงับข้อพิพาท ภายใต้ลัทธิการแยกใช้อำนาจ ฝ่ายตุลาการมักไม่สร้างกฎหมาย (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือบังคับใช้กฎหมาย (enforce the law) (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร) แต่ตีความกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ฝ่ายตุลาการมักได้รับภารกิจให้ประกันความยุติธรรมเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มักประกอบด้วยศาลอุทธรณ์สูงสุด (court of final appeal) เรียกว่า "ศาลสูงสุด" หรือ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ร่วมกับศาลที่ต่ำกว่า ในหลายเขตอำนาจ ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายผ่านกระบวนการการพิจารณาทบทวนโดยศาล ศาลที่มีอำนาจการพิจารณาทบทวนโดยศาลอาจบอกล้างกฎหมายและหลักเกณฑ์ของรัฐเมื่อเห็นว่ากฎหมายหรือหลักเกณฑ์นั้นไม่เข้ากับบรรทัดฐานที่สูงกว่า เช่น กฎหมายแม่บท บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาเป็นกำลังสำคัญสำหรับตีความและนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ ฉะนั้น จึงสร้างประชุมกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและอำนาจตุลาการ · ดูเพิ่มเติม »

ฌากอแบ็ง

การประชุมใหญ่สโมสรฌากอแบ็งในปีค.ศ. 1791 สมาคมเหล่าสหายของรัฐธรรมนูญ (Société des amis de la Constitution) หรือหลังเปลี่ยนชื่อในปี..

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและฌากอแบ็ง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (Office of the Council of State of Thailand.) เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ประเภทการปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) ไว้ในคำเดียวกัน สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไท..

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: การแยกใช้อำนาจและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Separation of powersการแบ่งแยกอำนาจ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »