โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

ดัชนี การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) เป็นแน้วโน้มที่เรามีในการประเมินค่าสูงเกินไปว่า สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ คือ เราอาจจะคิดว่าเราควบคุมเหตุการณ์อะไรบางอย่างได้ แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเราจะไม่ได้มีส่วนควบคุม ชื่อของปรากฏการณ์นี้ตั้งขึ้น.ญ. ดร.

7 ความสัมพันธ์: การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา)การแปลการพินิจภายในผิดการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกรายชื่อความเอนเอียงทางประชานความเหนือกว่าเทียมความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดีปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป

การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา)

การประเมินตัวเองหลัก หรือ ค่าประเมินตัวเองหลัก (Core self-evaluations ตัวย่อ CSE) เป็นลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait) แบบเสถียรอย่างหนึ่งซึ่งรวมการประเมินทั้งตัวเอง ทั้งความสามารถ และทั้งการควบคุมเหตุการณ์ได้ของตน โดยพื้นฐานและใต้จิตสำนึก คนที่มีค่าประเมินตัวเองหลักสูงจะคิดถึงตัวเองในเชิงบวกและมั่นใจในความสามารถของตน และโดยนัยตรงกันข้าม ผู้มีค่าประเมินต่ำจะประเมินตัวเองในเชิงลบและขาดความมั่นใจ แนวคิดในเรื่องนี้ตรวจสอบเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และการประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การแปลการพินิจภายในผิด

วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่น้ำขึ้นไปมักจะใช้เพื่อแสดงอุปมาของจิตเหนือสำนึกและจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ส่วนที่โผล่ขึ้นเห็นได้ง่าย (จิตเหนือสำนึก) แต่ว่าเป็นส่วนที่มีรูปร่างขึ้นอยู่กับส่วนที่มองไม่เห็นที่ยิ่งใหญ่กว่า (จิตใต้สำนึก) การแปลการพินิจภายในผิด"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" และของ introspection ว่า "การพินิจภายใน" (introspection illusion) เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ที่เราคิดอย่างผิด ๆ ว่า เรามีความเข้าใจโดยประจักษ์ โดยผ่านการพินิจภายใน (introspection) เกี่ยวกับเหตุเกิดของสภาวะจิตใจของเรา ในขณะที่ไม่เชื่อถือการพินิจภายในของผู้อื่น ในบางกรณี การแปลสิ่งเร้าผิดชนิดนี้ ทำให้เราอธิบายพฤติกรรมของตนเองอย่างมั่นใจแต่ผิดพลาด หรือทำให้พยากรณ์สภาวะหรือความรู้สึกทางจิตใจของตนในอนาคตที่ไม่ถูกต้อง มีการตรวจสอบการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ในการทดลองทางจิตวิทยา ซึ่งเสนอการแปลการพินิจภายในผิดว่าเป็นเหตุของความเอนเอียง เมื่อเราเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น มีการตีความผลงานทดลองเหล่านี้ว่า แทนที่จะให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นเหตุของสภาวะจิตใจของตน การพินิจภายในเป็นกระบวนการสร้าง (construction) และอนุมาน (inference) เหตุของสภาวะจิตใจ เหมือนกับที่เราอนุมานสภาพจิตใจของคนอื่นจากพฤติกรรม เมื่อเราถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า การพินิจภายในที่เชื่อถือไม่ได้ เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตนที่ตรงกับความจริง ผลที่ได้อาจจะเป็นการปรากฏของการแแปลสิ่งเร้าผิดว่าเหนือกว่า (illusory superiority) ผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น เราแต่ละคนจะคิดว่าเรามีความคิดที่เอนเอียงน้อยกว่าผู้อื่น และมีความคิดที่เห็นตามผู้อื่นน้อยกว่าคนอื่น และแม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะได้รับรายงานของการพินิจภายในของผู้อื่น ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังจะตัดสินว่า เป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่ถือเอาการพินิจภายในของตนว่า เชื่อถือได้ แม้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ จะให้ความเข้าใจความกระจ่างชัดเกี่ยวกับผลงานวิจัยทางจิตวิทยาบางอย่าง แต่หลักฐานที่มีอยู่ไม่อาจจะบอกได้ว่า การพินิจภายในนั้นเชื่อถือได้ขนาดไหนในสถานการณ์ปกติ การแก้ปัญหาความเอนเอียงที่เกิดจากการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ อาจเป็นไปได้ด้วยการศึกษาเรื่องความเอนเอียง และเรื่องการเกิดขึ้นใต้จิตสำนึกของความเอนเอียง.

ใหม่!!: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และการแปลการพินิจภายในผิด · ดูเพิ่มเติม »

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" (Positive illusions) เป็นทัศนคติเชิงบวกไม่สมจริง ที่มีต่อตนเองหรือต่อบุคคลที่ใกล้ชิด เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดในรูปแบบของการหลอกลวงตนเอง (self-deception) หรือการยกย่องตนเอง (self-enhancement) ที่ทำให้รู้สึกดี ดำรงรักษาความเคารพตน (self-esteem) หรือช่วยกำจัดความไม่สบายใจอย่างน้อยก็ในช่วงเวลาสั้น ๆ มีรูปแบบใหญ่ ๆ 3 อย่างคือ ความเหนือกว่าเทียม (illusory superiority) ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) และการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า "positive illusions" เกิดใช้เป็นครั้งแรกในงานปี 1988 ของเทย์เลอร์และบราวน์ โดยมีการกล่าวถึงภายหลังว่า "แบบจำลองสุขภาพจิตปี 1988 ของเทย์เลอร์และบราวน์ยืนยันว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกบางอย่างแพร่หลายเป็นอย่างสูงในความคิดปกติ และเป็นตัวพยากรณ์ค่าเกณฑ์ที่ปกติสัมพันธ์กับสุขภาพจิตที่ดี" มีข้อถกเถียงที่ยังไม่ยุติว่า บุคคลแสดงปรากฏการณ์นี้อย่างสม่ำเสมอในขอบเขตแค่ไหน และปรากฏการณ์นี้มีประโยชน์อะไรกับบุคคลเหล่านั้น.

ใหม่!!: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive biase) เป็นความโน้มเอียงที่จะคิดในรูปแบบที่มีผลเป็นความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ จากความมีเหตุผลโดยทั่วไป หรือจากการประเมินการตัดสินใจที่ดี บ่อยครั้งเป็นประเด็นการศึกษาในสาขาจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม แม้ว่าความเอนเอียงเหล่านี้จะมีอยู่จริง ๆ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำได้ แต่ก็มักจะมีข้อโต้เถียงว่า ควรจะจัดประเภทหรืออธิบายความเอนเอียงเหล่านี้ได้อย่างไร ความเอนเอียงบางอย่างเป็นกฎการประมวลข้อมูล หรือเป็นทางลัดการประมวลผลที่เรียกว่า ฮิวริสติก ที่สมองใช้เพื่อการประเมินและการตัดสินใจ ปรากฏการณ์เหล่านี้เรียกว่า ความเอนเอียงทางประชาน ความเอนเอียงในการประเมินหรือการตัดสินใจ อาจจะเกิดจากแรงจูงใจ เช่นเมื่อความเชื่อเกิดบิดเบือนเพราะเหตุแห่งการคิดตามความปรารถนา (wishful thinking) ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะอธิบายได้โดยหลักทางประชาน (cognitive หรือที่เรียกว่า cold) หรือโดยหลักทางแรงจูงใจ (motivational หรือเรียกว่า hot) แต่เหตุทั้งสองสามารถเกิดร่วมกัน ยังมีข้อถกเถียงกันอีกด้วยว่า ความเอนเอียงเหล่านี้จัดเป็นความไม่สมเหตุผลโดยส่วนเดียว หรือว่า จริง ๆ มีผลเป็นทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เรามักจะถามคำถามที่ชี้คำตอบที่ต้องการ ที่ดูเหมือนจะเอนเอียงไปเพื่อยืนยันสันนิษฐานของเราเกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ แต่ว่า ปรากฏการณ์ที่บางครั้งเรียกว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) เช่นนี้ สามารถมองได้ว่าเป็นทักษะทางสังคมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ งานวิจัยในเรื่องความเอนเอียงเหล่านี้ มักจะทำในมนุษย์ แต่ผลที่พบในมนุษย์ บางครั้งก็พบในสัตว์อื่นเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราให้ค่าของที่ได้ในปัจจุบันสูงกว่าที่จะได้ในอนาคต ก็พบด้วยในหนู นกพิราบ และลิง.

ใหม่!!: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และรายชื่อความเอนเอียงทางประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ความเหนือกว่าเทียม

วามเหนือกว่าเทียม (Illusory superiority) เป็นความเอนเอียงทางประชาน ที่บุคคลประเมินคุณสมบัติหรือความสามารถของตนเทียบกับคนอื่นเกินจริง ซึ่งเห็นได้ชัดในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเชาวน์ปัญญา ความสามารถในการทำงานหรือการสอบ หรือการมีคุณลักษณะหรือลักษณะบุคลิกภาพที่น่าชอบใจ เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก (positive illusion) ชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับตนเอง เป็นปรากฏการณ์ที่ศึกษากันในสาขาจิตวิทยาสังคม มีคำภาษาอังกฤษอื่น ๆ ที่หมายถึงคำนี้รวมทั้ง above average effect (ปรากฏการณ์เหนือกว่าโดยเฉลี่ย) superiority bias (ความเอนเอียงว่าเหนือกว่า) leniency error (ความผิดพลาดแบบปรานี) sense of relative superiority (ความรู้สึกว่าเหนือกว่าโดยเปรียบเทียบ) หรือภาษาอังกฤษผสมภาษาละตินว่า primus inter pares effect และ Lake Wobegon effect (ปรากฏการณ์ทะเลสาบโวบีกอน) ซึ่งเป็นทะเลสาบในเมืองนวนิยายที่ ๆ "หญิงทั้งหมดแข็งแรง ชายทุกคนรูปหล่อ และเด็กทั้งปวงเหนือกว่าเด็กธรรมดา" ส่วนคำว่า "illusory superiority" ได้ใช้เป็นครั้งแรกโดยนักจิตวิทยาคู่หนึ่งในปี 1991.

ใหม่!!: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และความเหนือกว่าเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี

วามเอนเอียงโดยการมอง (ความเสี่ยงของตน) ในแง่ดี แปล "optimism" ว่าการมองในแง่ดี หรือ ความเอนเอียงโดยสุทรรศนนิยม"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ optimism ว่า "สุทรรศนนิยม" (optimism bias) หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า unrealistic optimism (การมองในแง่ดีแบบเป็นไปไม่ได้) หรือ comparative optimism (การมองในแง่ดีเชิงเปรียบเทียบ) เป็นความเอนเอียงที่เป็นเหตุให้เราเชื่อว่า เรามีโอกาสที่จะประสบเหตุการณ์เลวร้ายน้อยกว่าคนอื่น มีองค์ประกอบ 4 อย่างที่ทำให้เกิดความเอนเอียงนี้คือ.

ใหม่!!: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป (overconfidence effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานอันมีหลักฐานชัดเจน ที่ความเชื่อมั่นอันเป็นอัตวิสัยคือเป็นความรู้สึกส่วนตัว จะเกินกว่าความเป็นจริงที่เป็นปรวิสัยอย่างคงเส้นคงวา โดยเฉพาะเมื่อความรู้สึกเชื่อมั่นค่อนข้างสูง นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับเทียบความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย ให้ตรงกับความจริงได้ไม่ดี ในวรรณกรรมวิชาการต่าง ๆ ความเชื่อมั่นเกินจะมีนิยาม 3 อย่าง คือ.

ใหม่!!: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Illusion of controlแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »