สารบัญ
29 ความสัมพันธ์: บารัก โอบามาชาวไวกิงพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์กฎบัตรซาราโกซากระทรวงยุทธศาสตร์ธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรมการทำลายถิ่นฐานธรรมชาติการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการปรับตัวไม่ดีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรัฐแคลิฟอร์เนียภูเขาไฟใหญ่วาฬนาร์วาลวิวัฒนาการของมนุษย์สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกันสหรัฐสุชนา ชวนิชย์ธรณีวิทยาทางทะเลทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554ดอนัลด์ ทรัมป์ความยืดหยุ่นทางจิตใจความผันแปรได้ทางพันธุกรรมความแปรปรวนของสภาพอากาศความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกคาบสมุทรแอนตาร์กติกประเทศนาอูรูนาฬิกาวันสิ้นโลกไมเคิล บลูมเบอร์กExpo Zaragoza 2008Homo habilisUnion of Concerned Scientists
บารัก โอบามา
รัก ฮูเซน โอบามา ที่ 2 (Barack Hussein Obama II; เกิด 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 ตั้งแต..
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและบารัก โอบามา
ชาวไวกิง
แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและชาวไวกิง
พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์
แผนที่แสดงเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เป็นสีแดง เขต พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) ที่รู้จักกันโดยเป็นอู่อารยธรรม เป็นบริเวณรูปจันทร์เสี้ยวที่รวมแผ่นดินที่ชื้นและอุดมสมบูรณ์โดยเทียบกับบริเวณข้างเคียงในเอเชียตะวันตกที่เป็นเขตกึ่งแห้งแล้ง และรวมบริเวณรอบ ๆ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นบริเวณอยู่ติดกับเขตเอเชียน้อยหรือที่เรียกว่าอานาโตเลีย คำนี้เริ่มใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ แล้วต่อมาจึงกลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในโลกตะวันตกแม้ในสาขาภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) และในเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต ความหมายทั้งหมดที่มีของคำนี้ ล้วนรวมเขตเมโสโปเตเมีย คือผืนแผ่นดินรอบ ๆ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส และรวมเขตลิแวนต์ คือฝั่งทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันที่มีดินแดนร่วมอยู่ในเขตนี้รวมทั้งประเทศอิรัก คูเวต ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิสราเอล และปาเลสไตน์ โดยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกีและทางทิศตะวันตกของอิหร่าน เขตนี้บ่อยครั้งเรียกว่าอู่อารยธรรม (cradle of civilization) เพราะเป็นเขตที่เกิดพัฒนาการเป็นอารยธรรมมนุษย์แรก ๆ สุด ซึ่งเจริญรุ่งเรืองโดยอาศัยทรัพยากรน้ำและเกษตรกรรมที่มีอยู่ในเขต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในเขตนี้รวมทั้งการพัฒนาภาษาเขียน การทำแก้ว ล้อ และระบบชลประทาน.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์
กฎบัตรซาราโกซา
กฎบัตรซาราโกซา 2551 (THE 2008 ZARAGOZA CHARTER) การจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ ณ เมืองซาราโกซา เป็นการจัดแสดงนิทรรศการครั้งแรกที่กำหนดแนวคิดหลัก คือ น้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Water and Sustainable Development) และจัดแสดงที่ริมฝั่งแม่น้ำเอโบร เมืองซาราโกซา ราชอาณาจักรสเปน โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมงานถึง 104 ประเทศ องค์กรระดับนานาชาติ 3 แห่ง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสเปน องค์การนิทรรศการนานาชาติ หรือ BIE หรือ (The Bureau International des Expositions; International Exhibitions Bureau) ได้ให้คำแนะนำแนวคิดการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้ให้สอดคล้องกับงานขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ BIE ตั้งเป้าหมายการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง และเป็นการให้ความรู้แก่สาธารณชน การจัดงานที่ซาราโกซาครั้งนี้ตั้ง เป้าหมาย ให้ผู้เข้าชมหลายล้านคนได้รับความรู้เกี่ยวกับน้ำและปัญหาในการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากงานนี้จะเป็นแหล่งรวมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว กิจกรรมของการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ (Water Tribune)เป็นการถ่ายทอดความรู้และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ตลอดจนความท้าทายในการจัดการทรัพยากรน้ำที่มนุษยชาติกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันและในอนาคต ตลอดระยะเวลา 93 วันของการจัดแสดงนิทรรศการ เวทีนี้เป็นกิจกรรมใหญ่ที่สุดและรวบรวมกิจกรรมระดับนานาชาติเกี่ยวกับน้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดไว้ การประชุมสัมมนาทรัพยากรน้ำนี้ เสร็จสิ้นก่อนวันปิดงานแสดงนิทรรศการเป็นเวลา 2 วัน โดยการนำเสนอบทสรุปและการวิเคราะห์ในรูปของกฎบัตรซาราโกซา 2008 (The 2008 Zaragoza Charter).
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกฎบัตรซาราโกซา
กระทรวงยุทธศาสตร์ธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรม
กระทรวงธุรกิจ พลังงาน และ นโยบายอุตสาหกรรม (BEIS) เป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ซึ่งจัดตั้งโดย เทเรซา เมย์ เมื่อ 14 กรกฎาคม ค.ศ.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกระทรวงยุทธศาสตร์ธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรม
การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ
การเผาป่าเพื่อใช้เนื้อที่ในการเกษตรในเม็กซิโก การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ (Habitat destruction) หมายถึงกระบวนการที่ถิ่นฐานธรรมชาติถูกทำให้กลายเป็นถิ่นฐานที่ไม่อาจจะสนับสนุนหรือไม่อาจจะใช้ในการการดำรงชีวิตของสปีชีส์ที่เคยดำรงชีวิต ณ ถิ่นฐานนั้นแต่เดิมได้ กระบวนการดังว่านี้เป็นการกำจัดโดยการทำให้ต้องเคลื่อนย้ายหรือทำลายสิ่งที่มีชีวิตจากถิ่นฐานที่เดิมเคยดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นการลดความหลาหลายของชีวภาพ (biodiversity) การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติโดยมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นการทำเพื่อการขยายตัวทางเกษตรกรรม, การขยายตัวทางอุตสาหกรรม และ การขยายตัวของเมือง กิจการอื่นที่ทำลายถิ่นฐานธรรมชาติก็ได้แก่การทำเหมือง และ การถางป่า การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติเป็นสาเหตุลำดับหนึ่งในการสร้างการสูญพันธุ์ให้แก่สปีชีส์ต่างๆ ทั่วโลก ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อการวิวัฒนาการ และการอนุรักษ์ชีวภาพ สาเหตุอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำลายสปีชีส์ก็ได้แก่การสร้างความแตกแยกแก่ถิ่นฐานธรรมชาติ (habitat fragmentation), ความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา, ความเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ, การรุกรานของสปีชีส์อื่น, ความเปลี่ยนแปลงของอาหารในสิ่งแวดล้อม คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันที่ใช้ก็ได้แก่ “การสูญเสียถิ่นฐานธรรมชาติ” (loss of habitat) หรือ “การลดบริเวณถิ่นฐานธรรมชาติ” (habitat reduction) ที่มีความหมายที่กว้างออกไปที่รวมทั้งการสูญเสียถิ่นฐานที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่นจาก น้ำเสีย และ noise pollution.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ
การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change denial) หรือ การปฏิเสธปรากฏการณ์โลกร้อน (global warming denial) เป็นการปฏิเสธ การไม่ให้ความสำคัญ หรือการสงสัยอย่างไร้เหตุผล เรื่องมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอัตราและขอบเขตของปรากฏการณ์โลกร้อน ขอบเขตของปรากฏการณ์ที่มีเหตุมาจากมนุษย์ ผลกระทบของปรากฏการณ์ต่อธรรมชาติและสังคมมนุษย์ และโอกาสที่การกระทำของมนุษย์จะสามารถลดผลกระทบเหล่านั้น ส่วน วิมตินิยมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change skepticism) และการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องที่มีองค์คาบเกี่ยวกัน และมักจะมีคุณลักษณะคล้าย ๆ กัน กล่าวคือ ทั้งสองปฏิเสธมติปัจจุบันส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อย การปฏิเสธสามารถทำโดยปริยาย คือเมื่อบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ ทางสังคมยอมรับวิทยาศาสตร์ แต่หันไปสนใจเรื่องที่ง่าย ๆ กว่า แทนที่จะหาทางแก้ไข มีงานศึกษาทางสังคมศาสตร์หลายงานที่วิเคราะห์จุดยืนต่าง ๆ เหล่านี้ว่าเป็นรูปแบบของ denialism (การเลือกที่จะปฏิเสธความจริง เพื่อหลีกเลี่ยงความจริงที่ทำให้ไม่สบายใจ) ในการโต้เถียงเรื่องปรากฏการณ์โลกร้อน มีการเรียกการรณรงค์เพื่อทำลายความเชื่อถือของมวลชนในวิทยาศาตร์ภูมิอากาศว่า "กลการปฏิเสธ" ของกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มการเมือง และกลุ่มอุดมคติต่าง ๆ โดยได้การสนับสนุนจากสื่ออนุรักษ์นิยม และนักบล็อกวิมตินิยม เพื่อสร้างความไม่แน่ใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อน ในการอภิปรายของชาวตะวันตกในที่สาธารณะ คำเช่นว่า climate skepticism (วิมตินิยมเกี่ยวกับภูมิอากาศ) ใช้โดยความหมายเหมือนกับคำว่า climate denialism (ปฏิเสธนิยมเกี่ยวกับภูมิอากาศ): "Climate scepticism in the sense of climate denialism or contrarianism is not a new phenomenon, but it has recently been very much in the media spotlight.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การปรับตัวไม่ดี
การปรับตัวไม่ดี (maladaptation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรม (trait) ที่/หรือว่าได้กลายเป็นมีโทษมากกว่ามีคุณ เทียบกับการปรับตัว (adaptation) ที่มีคุณมากกว่ามีโทษ สิ่งมีชีวิตทุกหน่วย ตั้งแต่แบคทีเรียจนถึงมนุษย์มีทั้งลักษณะที่ปรับตัวดีและไม่ดี โดยเหมือนกับการปรับตัวที่ดี การปรับตัวไม่ดีอาจเกิดขึ้นในระยะเวลาระดับธรณีกาล หรือแม้แต่ภายในช่วงอายุหนึ่งของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์ มันอาจเป็นการปรับตัว ที่แม้จะสมเหตุสมผลในช่วงเวลานั้น ได้มีความเหมาะสมที่ลดลง ๆ และกลายมาเป็นปัญหาโดยตนเองเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ นี่เป็นเพราะว่าเป็นไปได้เมื่อเวลาผ่านไป ที่การปรับตัวที่ดีอย่างหนึ่ง จะกลายเป็นลักษณะที่ไม่เหมาะสมโดยการคัดเลือก หรือกลายมาเป็นการทำงานผิดปกติมากกว่าเป็นการปรับตัวที่ดี ให้สังเกตว่าแนวคิดในเรื่องนี้ ตามที่เริ่มกล่าวถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาศัยมุมมองที่ผิดพลาดของทฤษฎีวิวัฒนาการ คือเชื่อกันว่า การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะเสื่อมลงแล้วกลายเป็นการปรับตัวที่ไม่ดี แล้วในที่สุดก็จะสร้างความพิการถ้าไม่คัดออกจากกรรมพันธุ์ แต่ความจริงแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการปรับตัวอย่างหนึ่งน้อยครั้งมากที่จะเป็นตัวตัดสินการอยู่รอดโดยตนเอง แต่ว่าเป็นสิ่งที่ดุลกับการปรับตัวที่เสริมกันและต่อต้านกันอื่น ๆ ซึ่งต่อ ๆ มาจะไม่สามารถเปลี่ยนโดยไม่มีผลต่อการปรับตัวอย่างอื่น ๆ ได้ หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ ปกติแล้วจะไม่สามารถได้ประโยชน์จากการปรับตัวที่ดี โดยไม่มีราคาเป็นการปรับตัวที่ไม่ดี ลองพิจารณาตัวอย่างที่ดูง่าย ๆ คือ ปรากฏแล้วว่ามันยากมากที่สัตว์จะวิวัฒนาการการหายใจได้ทั้งในน้ำและบนบก และการปรับตัวให้หายใจได้ดีกว่าในที่หนึ่งก็จะทำให้แย่ลงในอีกที่หนึ่ง.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวไม่ดี
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ลื่อนไหวที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในช่วงที่ภัยแล้งเกิดขึ้นhttp://thinkprogress.org/climate/2014/04/25/3430883/drought-all-california/ ทั้งรัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือนธันวาคม พ.ศ.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ภูเขาไฟใหญ่
ัชนีการระเบิดของภูเขาไฟระดับ 7 ภูเขาไฟใหญ่ หรือ ซูเปอร์วอลเคโน (Supervolcano) คือภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีมวลการปะทุอยู่ในระดับ 8 ซึ่งเป็นค่าสูงสุดในดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟที่มีค่าปริมาตรมวลสารปะทุมากกว่า 1,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ภูเขาไฟใหญ่เกิดขึ้นเมื่อหินหนืดจากเนื้อโลกดันตัวขึ้นไปด้านบนแต่ยังไม่ประทุสู่บนเปลือกโลกแต่จะขังตัวเป็นแอ่งใต้เปลือกโลกแทน จนเวลาผ่านไปแอ่งแม็กมาก็จะใหญ่จนมีแรงดันมากขึ้นจนเปลือกโลกรับแรงดันไม่ไหวจึงปะทุออกมา ซึ่งเหตุการ์ณแบบนี้จะเกิดบริเวณจุดร้อนเช่นแอ่งภูเขาไฟเยลโลว์สโตนหรือในเขตมุดตัวของเปลือกโลกอย่างทะเลสาบโตบา และลักษณะอื่นที่ทำให้มีการปะทุปริมาตรมวลสารจำนวนมากจะอยู่บริเวณที่มีการสะสมหินอัคนีเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยลาวา, เถ้าภูเขาไฟและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเช่นการเกิดยุคน้ำแข็งขนาดเล็กที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ การระเบิดที่ใหญ่ที่สุดของภูเขาไฟใหญ่คือการปะทุโอรัวนุเมื่อ 26,500 ปีก่อนซึ่งเป็นการระเบิดของภูเขาไฟตาอูโปในประเทศนิวซีแลน.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภูเขาไฟใหญ่
วาฬนาร์วาล
นาร์วาล (narwhal; ชื่อวิทยาศาสตร์: Monodon monoceros) เป็นวาฬมีฟันขนาดกลาง ซึ่งใช้ชีวิตตลอดทั้งปีที่บริเวณอาร์กติก เป็นหนึ่งในสองของสปีชีส์วาฬวงศ์โมโนดอนติแด เช่นเดียวกับวาฬเบลูกา นาร์วาลเพศผู้มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มีงาที่ยาว, ตรง, เป็นเกลียวที่ยื่นมาจากกรามบนด้านซ้ายของพวกมัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ฟันเพียงซี่เดียวของพวกมันที่อาจยาวได้ถึง 3 เมตร สำหรับตัวผู้บางตัวอาจมีได้ถึงสองซี่ ขณะที่ตัวเมียเองก็อาจมีได้เหมือนกันแต่ทว่าไม่ยาวและไม่โดดเด่นเท่า ปัจจุบันยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้สำหรับทำอะไร เพราะนาร์วาลไม่ได้ใช้งาตรงนี้ในการขุดเจาะหาอาหารหรือต่อสู้กันเอง ในยุคกลางงาของนาร์วาลถูกขายในราคาที่สูงให้แก่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง และถูกมองว่าเป็นยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล นาร์วาลส่วนใหญ่พบในบริเวณอาร์กติกของแคนาดาและเขตทะเลของกรีนแลนด์ หาได้ยากในบริเวณละติจูด 65°เหนือ นาร์วาลเป็นนักล่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเขตอาร์กติก มันกินเหยื่อบริเวณพื้นใต้น้ำเป็นอาหาร โดยเป็นปลาซีกเดียวเป็นส่วนใหญ่ ที่ระดับความลึกถึง 1,500 เมตรใต้ก้อนน้ำแข็งหนา มีการล่านาร์วาลมากว่าหนึ่งพันปีโดยชาวอินูอิตในภาคเหนือของแคนาดาและกรีนแลนด์สำหรับเนื้อและงา รวมถึงล่าเพื่อการยังชีพแบบควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงทุกวันนี้ ในขณะที่ประชากรต่างถือว่าพวกมันตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีช่วงที่แคบและอดอาหาร.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวาฬนาร์วาล
วิวัฒนาการของมนุษย์
''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิวัฒนาการของมนุษย์
สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน
ำนักงานของสมาคมในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Association for the Advancement of Science, ตัวย่อ AAAS) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรนานาชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อโปรโหมตการร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ พิทักษ์รักษาอิสรภาพทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุนความรับผิดชอบทางวิทยาศาสตร์ และสนับสนุนการศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ เป็นสมาคมวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิกทั้งที่เป็นบุคคลและองค์กรถึง 126,995 รายในท้ายปี 2551 เป็นผู้ดำเนินการพิมพ์วารสารวิทยาศาสตร์ที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันรายสัปดาห์ Science ซึ่งมีสมาชิกประจำที่ 138,549 ราย และเป็นวารสารแนวหน้าระดับโลกวารสารหนึ่ง.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน
สหรัฐ
หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสหรัฐ
สุชนา ชวนิชย์
รองศาสตราจารย์ สุชนา ชวนิชย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวไทย ผู้ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิจัยยังทวีปแอนตาร์กติก ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ทำการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไท.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุชนา ชวนิชย์
ธรณีวิทยาทางทะเล
้าแผ่นเปลือโลกแยกตัวออกจะเกิดเทือกเขากลางสมุทรหากอีกแผ่นมุดลงใต้อีกแผ่นจะเกิดร่องลึกก้นสมุทร ธรณีวิทยาทางทะเล คือการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโครงสร้างของพื้นมหาสมุทรและศึกษาเกี่ยวข้องกับธรณีฟิสิกส์, ธรณีเคมี, ตะกอนวิทยาและบรรพชีวินวิทยาที่ค้นคว้าวิจัยและหาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นมหาสมุทรและชายฝั่ง ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของธรณีฟิสิกส์และสมุทรศาสตร์กายภาพ การศึกษาเกี่ยวกับธรณีวิทยาทางทะเลมีความสำคัญมากในการหาข้อมูลและหลักฐานสำคัญเกี่ยวการขยายตัวของพื้นทะเลและเปลือกโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากทะเลลึกเป็นพื้นที่สุดท้ายที่ยังไม่ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่โดยละเอียดจึงต้องเริ่มมีการสำรวจเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร (เรือดำน้ำ) วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ (ปิโตรเลียมและเหมืองแร่โลหะ) และวัตถุประสงค์ด้านการวิจั.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและธรณีวิทยาทางทะเล
ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554
ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริก..
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554
ดอนัลด์ ทรัมป์
อนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (Donald John Trump; เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และยังเป็นนักธุรกิจ, พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์หลายเรื่อง เขาเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัททรัมป์ออร์กาไนเซชัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ยังเป็นผู้ก่อตั้งทรัมป์เอนเตอร์เทนเมนต์รีสอร์ต ที่มีกิจการกาสิโนและโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก และด้วยการใช้ชีวิตที่หรูหราและการพูดจาที่โผงผางทำให้เขามีชื่อเสียง ยังเป็นส่วนให้เขาประสบความสำเร็จในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางช่องเอ็นบีซี ที่ชื่อ The Apprentice (ที่เขารับตำแหน่งพิธีกรและผู้อำนวยการสร้าง) ดอนัลด์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก ดอนัลด์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และในครั้งจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี..
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและดอนัลด์ ทรัมป์
ความยืดหยุ่นทางจิตใจ
วามยืดหยุ่นได้ทางด้านจิตใจ*.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยืดหยุ่นทางจิตใจ
ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม
การเปลี่ยนแปรทางพันธุกรรม หรือ ความผันแปรทางพันธุกรรม หรือ ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม (Genetic variability, จากคำว่า vary + liable - เปลี่ยนได้) เป็นสมรรถภาพของระบบชีวภาพไม่ว่าจะที่ระดับสิ่งมีชีวิตหรือที่กลุ่มประชากร ในการเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มูลฐานของความผันแปรได้ทางพันธุกรรมก็คือความแตกต่างทางพันธุกรรมของระบบชีวภาพในระดับต่าง ๆ ความผันแปรได้ทางพันธุกรรมอาจนิยามได้ด้วยว่า เป็นค่าความโน้มเอียงที่จีโนไทป์แต่ละชนิด ๆ ในกลุ่มประชากรจะแตกต่างกัน โดยต่างจากความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ซึ่งเป็นจำนวนความแตกต่างที่พบในกลุ่มประชากร ความผันแปรได้ของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จึงหมายถึงค่าความโน้มเอียงที่ลักษณะจะต่าง ๆ กันเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและต่อปัจจัยทางพันธุกรรมอื่น ๆ ความผันแปรได้ของยีนในกลุ่มประชากรสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เพราะถ้าไม่สามารถผันแปรได้ กลุ่มสิ่งมีชีวิตก็จะมีปัญหาปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และดังนั้น จะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ความผันแปรได้เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการวิวัฒนาการ เพราะมีผลต่อการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตต่อความกดดันทางสิ่งแวดล้อม และดังนั้น สิ่งมีชีวิตจึงสามารถรอดชีวิตได้ต่าง ๆ กันในกลุ่มประชากรหนึ่ง ๆ เนื่องจากธรรมชาติจะคัดเลือกความต่างซึ่งเหมาะสมที่สุด ความผันแปรได้ยังเป็นมูลฐานของความเสี่ยงต่อโรคและความไวพิษ/ยาที่ต่าง ๆ กันในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเพิ่มความสนใจในเรื่องการแพทย์แบบปรับเฉพาะบุคคล (personalized medicine) โดยเนื่องกับโครงการจีโนมมนุษย์ และความพยายามเพื่อสร้างแผนที่กำหนดขอบเขตความแตกต่างทางพันธุกรรมของมนุษย์ เช่น ในโครงการ International Hapmap homologous recombination เป็นเหตุเกิดความผันแปรได้ทางพันธุกรรมที่สำคัญ polyploidy จะเพิ่มความผันแปรได้ทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์เปลี่ยนแพรเซี่ยงไฮ้ให้มีดอกสีต่างกัน.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความผันแปรได้ทางพันธุกรรม
ความแปรปรวนของสภาพอากาศ
วามแปรปรวนของสภาพอากาศ (Climate Variability) หมายถึง สภาพภูมิอากาศ ที่มีการเปลี่ยนไปจากปกติ ในช่วงเวลาที่มากกว่าช่วงฤดูกาลหรือช่วงปี เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าวันต่อวันแบบสภาพอากาศ Weather นอกจากนี้ความแปรปรวนของสภาพอากาศ อาจหมายถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระดับที่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยของปีอื่นๆแต่ไม่ส่งผลแตกต่างทางสถิติในระดับยาวนานหรือระดับสภาพภูมิอากาศ มักมีความสับสนระหว่าง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) กับ ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ซึ่งความแตกต่างคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเกิดในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ส่วนความแปรปรวนของสภาพอากาศ จะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น เดือนต่อเดือน ปีต่อปี.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวนของสภาพอากาศ
ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก
10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก
คาบสมุทรแอนตาร์กติก
แผนที่คาบสมุทรแอนตาร์กติก คาบสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของทวีปแอนตาร์กติกา ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่แหลมแอดัมส์ (ทะเลเวดเดลล์) จนถึงแผ่นดินใหญ่ทางตอนใต้ของหมู่เกาะเอกลันด์ (Eklund Islands) คาบสมุทรแอนตาร์กติกมีความสำคัญต่อการค้นคว้าที่ทำให้ทราบว่าความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภูมิภาค ตำแหน่งที่อยู่ในเขตขั้วโลกทำให้มีสถานีการทดลองหลายสถานีจากหลายชาติมาตั้งกันอยู่ประปราย แต่ละประเทศต่างก็อ้างสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของดินแดนต่าง ๆ เช่น แอนตาร์กติกาของอาร์เจนตินา ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร และดินแดนแอนตาร์กติกาของชิลี ซึ่งไม่มีการอ้างสิทธิ์ใดที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่มีประเทศใดที่พยายามอ้างสิทธิ์อย่างจริงจัง.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและคาบสมุทรแอนตาร์กติก
ประเทศนาอูรู
นาอูรู หรือชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐนาอูรู (Republic of Nauru; Ripublik Naoero) เป็นประเทศเกาะตั้งอยู่ในภูมิภาคไมโครนีเซีย ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศนาอูรูตั้งอยู่ใกล้กับเกาะบานาบาของประเทศคิริบาสมากที่สุด โดยอยู่ห่างกัน 300 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก ประเทศนาอูรูเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกและเล็กเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศโมนาโกและนครรัฐวาติกัน โดยมีพื้นที่ และมีประชากรอาศัยอยู่ทั้งสิ้น 9,488 คนcvv ดินแดนที่เป็นประเทศนาอูรูในปัจจุบันมีชาวไมโครนีเซียและโพลินีเซียเข้ามาอยู่อาศัย ในระยะเวลาต่อมาจักรวรรดิเยอรมนีได้ผนวกดินแดนนาอูรูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติโดยมีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้บริหารกิจการต่าง ๆ ในเกาะแห่งนี้ร่วมกัน ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ามายึดครองนาอูรู เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีและได้รับเอกราชในปี..
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเทศนาอูรู
นาฬิกาวันสิ้นโลก
นาฬิกาวันสิ้นโลก (Doomsday Clock) เป็นหน้าปัดนาฬิกาเชิงสัญลักษณ์ โดยเป็นการเปรียบการนับถอยหลังมหันตภัยทั่วโลกที่อาจเกิด (เช่น สงครามนิวเคลียร์หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนาฬิกาวันสิ้นโลก
ไมเคิล บลูมเบอร์ก
มเคิล รูเบนส์ บลูมเบอร์ก (Michael Rubens Bloomberg) (เกิด 14 กุมภาพันธ์ 2485) เป็นนักธุรกิจ นักเขียน นักการเมือง และนักการกุศลชาวอเมริกัน เขามีทรัพย์สินสุทธิประเมินที่ 47,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท) โดยเดือนตุลาคม 2560 จึงทำให้เขาเป็นคนรวยที่สุดอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา และอันดับ 10 ของโลก เขาได้ลงนามร่วมกับองค์กรสัญญาว่าจะให้ ที่มหาเศรษฐีสัญญาว่าจะมอบทรัพย์สินของตนเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง บลูมเบอร์กเป็นผู้ก่อตั้ง ประธานบริหาร และเจ้าของบริษัท Bloomberg L.P.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและไมเคิล บลูมเบอร์ก
Expo Zaragoza 2008
Expo Zaragoza 2008 งานแสดงนิทรรศการนานาชาติที่เมืองซาราโกซา ราชอาณาจักรสเปน ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน ถึง 14 กันยายน 2551 ณ เมืองซาราโกซา ราชอาณาจักรสเปน มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้ประเทศต่างๆ เห็นความสำคัญเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและให้ความสำคัญของทรัพยากรน้ำต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตตลอดจนการป้องกันปัญหาความขัดแย้งของภูมิภาค เรื่องการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในอนาคต ทั้งนี้ ซาราโกซาได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองศูนย์กลางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งทศวรรษ (ค.ศ.2005 – 2015) ขององค์การสหประชาชาติด้ว.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและExpo Zaragoza 2008
Homo habilis
Homo habilis เป็นมนุษย์เผ่า Hominini มีชีวิตอยู่ในระหว่างช่วงอายุหิน Gelasian และ Calabrian คือครึ่งแรกของสมัยไพลสโตซีนประมาณ 2.1-1.5 ล้านปีก่อน โดยอาจวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษสาย australopithecine ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นแบบก็คือซากศพหมายเลข OH 7 ที่พบในปี 2503 (ค.ศ.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและHomo habilis
Union of Concerned Scientists
Union of Concerned Scientists (อาจแปลว่าสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใย ตัวย่อ UCS) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยให้เสียงสนับสนุนวิทยาศาสตร์ (science advocacy) ในประเทศสหรัฐอเมริกา สมาชิกรวมทั้งประชาชนทั่วไปและนักวิทยาศาสตร์มืออาชี.ดร.เจมส์ แม็คคาร์ธี ผู้เป็นศาสตราจารย์คณะสมุทรศาสตร์ชีวะที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและอดีตประธานสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Association for the Advancement of Science) เป็นประธานกรรมการปัจจุบันขององค์กร.
ดู การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและUnion of Concerned Scientists
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Climate changeการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ