โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การออกเสียงประชามติ

ดัชนี การออกเสียงประชามติ

การออกเสียงประชามติ (referendum) คือ การนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศ ไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน.

66 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2542พ.ศ. 2545พ.ศ. 2550พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์พฤษภาคม พ.ศ. 2549กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)การริเริ่มออกกฎหมายของประชาชน (สวิตเซอร์แลนด์)การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์การลงประชามติว่าด้วยรัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1793การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559การลงประชามติแยกเป็นเอกราชการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557การลงประชามติเงินให้กู้กรีซ พ.ศ. 2558การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งการขอประชามติโดยบังคับการปฏิวัติประชาธิปไตยการเลิกล้มราชาธิปไตยการเลือกตั้งในฝรั่งเศสสมัยสาธารณรัฐที่ 5กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีมติมหาชนยิบรอลตาร์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์รัฐคารินเทียราชอาณาจักรอิตาลีวิเชียร พจน์โพธิ์ศรีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซสหพันธรัฐสหราชอาณาจักรสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สองสิงหาคม พ.ศ. 2550สงครามรัสเซีย-จอร์เจียอัลเบร์โต ฟูคีโมรีอันชลุสส์อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนีอุทัย พิมพ์ใจชนฌัก ชีรักธงชาติมาดากัสการ์ธงชาติเบลารุสข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมคลองปานามาตุลาคม พ.ศ. 2548ประชาธิปไตยประชาธิปไตยโดยตรงประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาประชาธิปไตยเสรีนิยม...ประวัติศาสตร์ออสเตรเลียประเทศออสเตรเลียประเทศอิตาลีประเทศไอซ์แลนด์ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรนิวแคลิโดเนียนิธิ เอียวศรีวงศ์แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์กเพื่อนพ้องน้องพี่ (บริษัท)เวสเทิร์นสะฮาราเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย1 ธันวาคม19 สิงหาคม30 สิงหาคม30 ตุลาคม30 เมษายน ขยายดัชนี (16 มากกว่า) »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

ลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ หรือ พระองค์จุล (28 มีนาคม พ.ศ. 2451 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2506) พระโอรสพระองค์เดียวในจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับ หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก ชาวรัสเซีย ทรงสมรสกับหม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 30 กันยายน..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม พ.ศ. 2549

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและพฤษภาคม พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

การริเริ่มออกกฎหมายของประชาชน (สวิตเซอร์แลนด์)

การเดินขบวนหน้ารัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อสนับสนุนการริเริ่มเปลี่ยนรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐโดยประชาชนเพื่อ "ห้ามการส่งออกอุปกรณ์ทางทหาร" ในปี 2550 ซึ่งต่อมาลงประชามติเมื่อปี 2552 โดยประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย การริเริ่มออกกฎหมายของประชาชน หรือ การริเริ่มออกกฎหมายโดยประชาชน (popular initiative, Volksinitiative, Initiative populaire, Iniziativa popolare, Iniziativa dal pievel) เป็นกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงที่ให้ประชาชนเสนอกฎหมายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่ว่าจะในระดับสหพันธรัฐ รัฐ หรือเทศบาล ในระดับสหพันธรัฐและรัฐ คำนี้หมายถึงการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญในระดับนั้น ๆ ซึ่งเป็นกลไกการปกครองโดยตรงนอกเหนือไปจากการขอ/การลงประชามติและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการริเริ่มออกกฎหมายของประชาชน (สวิตเซอร์แลนด์) · ดูเพิ่มเติม »

การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์

การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ (Voting in Switzerland, votation) เป็นกระบวนการที่ประชาชนชาวสวิสตัดสินใจในเรื่องการปกครองและเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ โดยหน่วยเลือกตั้งจะเปิดตอนเช้าวันเสาร์และวันอาทิตย์ แต่คนโดยมากจะลงคะแนนล่วงหน้าทางไปรษณีย์ (Abstimmungssonntag) การลงคะแนนจะยุติที่เที่ยงวันอาทิตย์ และโดยปกติจะรู้ผลในเย็นวันเดียวกัน ระบอบการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์พิเศษกว่าประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ ในปัจจุบัน เพราะมีการดำเนินงานแบบประชาธิปไตยโดยตรงขนานกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงมีการเรียกระบอบนี้ว่า ระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง ซึ่งให้อำนาจประชาชนเพื่อค้านกฎหมายที่ผ่านรัฐสภา และเพื่อเสนอการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้ทุกเมื่อ ในระดับสหพันธรัฐ อาจมีการลงคะแนนเสียงด้วยเหตุดังต่อไปนี้คือ.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติว่าด้วยรัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1793

การลงประชามติว่าด้วยรัฐธรรมนูญแห่งฝรั่ง..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการลงประชามติว่าด้วยรัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1793 · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือรู้จักกันในสหราชอาณาจักรว่า การลงประชามติอียู (EU referendum) คือการลงประชามติที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติแยกเป็นเอกราช

การลงประชามติแยกเป็นเอกราช (Independence referendum) คือ การลงประชามติประเภทหนึ่งซึ่งพลเมืองในดินแดนหนึ่งตัดสินว่าดินแดนนั้นควรเป็นประเทศเอกราชใหม่หรือไม.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการลงประชามติแยกเป็นเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560

งสนับสนุนเอกราชในนครบาร์เซโลนา รอยพ่นสีแสดงการต่อต้านเอกราชในนครบาดาโลนา สภาบริหารแคว้นปกครองตนเองกาตาลุญญาในประเทศสเปนพยายามจะจัดการลงประชามติว่าด้วยเอกราชของกาตาลุญญาในวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557

มีการลงประชามติว่าประเทศสกอตแลนด์ควรเป็นประเทศเอกราชหรือไม่ในวันที่ 18 กันยายน 2557 หลังความตกลงระหว่างรัฐบาลสกอตแลนด์และสหราชอาณาจักร มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติการลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ซึ่งกำหนดการจัดการลงประชามตินี้ในวันที่ 21 มีนาคม 2556 ผ่านรัฐสภาสกอตแลนด์เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 และได้รับพระบรมราชานุญาตในวันที่ 17 ธันวาคม 2556 คำถามลงประชามติที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแนะนำจะเป็น "สกอตแลนด์ควรเป็นประเทศเอกราชหรือไม่" ผู้ออกเสียงลงคะแนนตอบได้เพียงใช่หรือไม่ ผู้อยู่อาศัยทุกคนในสกอตแลนด์ที่มีอายุเกิน 16 ปีสามารถออกเสียงลงมติได้โดยมีข้อยกเว้นบางประการ รวมมีกว่า 4 ล้านคน ข้อเสนอเอกราชต้องการคะแนนเสียงข้างมากปรกติจึงจะผ่าน เยสสกอตแลนด์ (Yes Scotland) เป็นกลุ่มรณรงค์หลักสนับสนุนเอกราช ขณะที่เบตเทอร์ทูเกเธอร์ (Better Together) เป็นกลุ่มรณรงค์หลักคัดค้านเอกราช ขณะที่กลุ่มรณรงค์ พรรคการเมือง ธุรกิจ หนังสือพิมพ์และปัจเจกบุคคลสำคัญอื่นอีกมากเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ปัญหาสำคัญที่ถูกหยิบยกระหว่างการรณรงค์มีเงินตราซึ่งสกอตแลนด์หลังได้รับเอกราชจะใช้ รายจ่ายสาธารณะและน้ำมันทะเลเหนือ การนับคะแนนเริ่มหลังปิดการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งเมื่อ 22:00 BST (21:00 UTC) ของวันที่ 18 กันยายน เช้าวันที่ 19 กันยายน 2557 เมื่อนับการลงมติทั้งหมดแล้ว 55.3% ลงมติคัดค้านเอกราช หลังจากนั้น อเล็กซ์ ซัลมอนด์ นายกรัฐมนตรีสกอตแลนด์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคแห่งชาติสกอตเพื่อแสดงความรับชอบต่อผลประชามต.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติเงินให้กู้กรีซ พ.ศ. 2558

ผลการลงประชามติแบ่งตามพื้นที่ การออกเสียงประชามติเพื่อตัดสินใจว่ากรีซจะยอมรับเงื่อนไขการช่วยเหลือวิกฤติหนี้สาธารณะภายในประเทศหรือไม่ ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมการยุโรป กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารกลางยุโรปเมื่อ 25 มิถุนายน 2558 ได้มีการลงประชามติเมื่อ 5 กรกฎาคม 2558 นายกรัฐมนตรีอาเลกซิส ซีปรัส ประกาศให้มีการลงประชามติในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 27 มิถุนายน 2558 และเป็นที่รับรองในวันถัดมาโดยรัฐสภาและประธานาธิบดี ซึ่งเป็นการลงประชามติครั้งแรกหลังจากการลงประชาติมติสาธารณรัฐในปี 2507 และเป็นการลงประชามติครั้งแรกของกรีซที่ไม่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการปกครองของประเทศ ผลการลงประชามติข้อเสนอในการช่วยเหลือได้ถูกปฎิเสธโดยเสียงส่วนใหญ่ร้อยละ 61 ต่อร้อยละ 39 ผลการลงประชามติยังทำให้อันโดนิส ซามารัส ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ต้องออกจากตำแหน่ง.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการลงประชามติเงินให้กู้กรีซ พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง

thumb การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง (recall) คือ กระบวนการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งจากตำแหน่ง.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง · ดูเพิ่มเติม »

การขอประชามติโดยบังคับ

ปสเตอร์สนับสนุนให้สวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมสันนิบาตชาติในปี 2463 สวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมกับสหประชาชาติในปี 2545 การขอประชามติโดยบังคับ หรือ การลงประชามติโดยบังคับ หรือ การลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือ การลงประชามติแก้ไขกฎบัตร (mandatory referendum, obligatorisches Referendum, référendum obligatoire, referendum obligatoric) เป็นกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่บังคับให้มีการลงประชามติในเรื่องที่รัฐบาลระดับสหพันธรัฐ ระดับรัฐ หรือระดับเทศบาล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร ต้องการตัดสิน เช่นการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ การเข้าร่วมเป็นภาคีกับหน่วยการปกครองอื่น ๆ ไม่ว่าจะในระดับสหพันธรัฐหรือรัฐ การตัดสินใจเรื่องงบประมาณของฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารของรัฐบาลระดับรัฐหรือระดับเทศบาล การเปลี่ยนรัฐธรรมมนูญของสหพันธรัฐจำต้องได้เสียงข้างมากจากทั้งประชาชนและจากรัฐ (double majority).

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการขอประชามติโดยบังคับ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติประชาธิปไตย

การปฏิวัติประชาธิปไตย (democratic revolution) เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือการปฏิวัติ ซึ่งเป็นการจัดตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย และล้มล้างรัฐบาลอันมิใช่ประชาธิปไตย การปฏิวัติอเมริกาเป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการล้มล้างรัฐบาลในระบอบราชาธิปไตย และจัดตั้งด้วยรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการปฏิวัติประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

การเลิกล้มราชาธิปไตย

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์อาจเป็นผลมาจากการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการเลิกล้มราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งในฝรั่งเศสสมัยสาธารณรัฐที่ 5

การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส (Élections en France) เป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยในระบอบสาธารณรัฐของประเทศฝรั่งเศส ตัวแทนฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติจะถูกเลือก (ทางตรงหรือทางอ้อม) โดยประชาชนฝรั่งเศสหรือถูกแต่งตั้งโดยตัวแทนที่ถูกเลือกมาแล้ว ประชาชนฝรั่งเศสยังมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในการลงประชามติอีกด้วย การเลือกตั้งในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 มี 2 ประเภท ได้แก.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและการเลือกตั้งในฝรั่งเศสสมัยสาธารณรัฐที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

มติมหาชน

มติมหาชน (Public opinion) คือ พฤติกรรมทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตย แสดงออกถึงอุดมการณ์ อำนาจอธิปไตยของปวงชน ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐบาลว่าเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ต้องเป็นไปในทางสันติไม่เกิดผลร้ายต่อผ้อื่น มติมหาชนเริ่มใช้เป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส โดยรุสโซเป็นผู้ริเริ่มใช้คำนี้ มติมหาชนต่างจากการทำประชาพิจารณ์และประชามติตรงที่ว่า ประชาพิจารณ์และประชามติเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนประเด็นหรือโครงสร้างสาธารณะจะลงมือปฏิบัต.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและมติมหาชน · ดูเพิ่มเติม »

ยิบรอลตาร์

รอลตาร์ (Gibraltar) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับจุดใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสเปน และมีประชากรประมาณ 32,000 คน สถานที่ที่มีชื่อเสียงของยิบรอลตาร์คือ โขดหินยิบรอลตาร์ (Rock of Gibraltar) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของโลก เดิมทียิบรอลตาร์เคยเป็นดินแดนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและยิบรอลตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1958 (ฉบับที่ 15 ของประเทศฝรั่งเศส) วางกฎเกณฑ์สำหรับสถาบันต่างๆ ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ซึ่งถือคติการปกครองว่า "รัฐบาลจากประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" ชาวฝรั่งเศสได้รับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยประชามติเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1958 และกฎหมายสูงสุดฉบันนี้ได้รับการแก้ไขแล้ว 24 ครั้ง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทำด้วยวิธีต่างๆ คือ การแก้ไขโดยสภาผู้แทนแห่งรัฐหรือ Congrès (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาลงคะแนนเสียงพร้อมกัน) หรือการแก้ไขซึ่งรับรองโดยประชาชนผ่านทางประชามติ อารัมภบทของรัฐธรรมนูญฉบับนี้อ้างอิงถึง (1) คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 (2) อารัมภบทรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1946 (รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4) และ (3) กฎบัตรสิ่งแวดล้อมฉบับปี..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ (Konstytucja Rzeczypospolitej Polskiej) ได้รับอนุมัติจากสมัชชาแห่งชาติของประเทศโปแลนด์เมื่อวันที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐคารินเทีย

รินเทีย (Carinthia; Kärnten; Koroška) เป็นรัฐทางใต้สุดของประเทศออสเตรีย มีเมืองหลวงชื่อ คลาเกินฟวร์ท อุตสาหกรรมหลักของรัฐ คือ การท่องเที่ยว อิเล็คทรอนิกส์ วิศวกรรม การป่าไม้ และเกษตรกรรม เป็นแหล่งตากอากาศฤดูร้อน เดิมเป็นถิ่นฐานของพวกเคลติก เป็นส่วนหนึ่งของแคว้นนอริคุมในจักรวรรดิโรมัน ชาวเยอรมันและชาวสโลวีนได้เข้ารุกราน และเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรบาวาเรียในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ปกครองโดยราชวงศ์ฮับสบูร์กใน..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและรัฐคารินเทีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี

ลตำรวจเอก วิเชียร์ พจน์โพธิ์ศรี อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาต.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)

นิติบัญญัติแห่งชาติ (National Diet) หรือ รัฐสภา ของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยสองสภานิติบัญญัติคือ สภาล่างเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงเรียกว่า ราชมนตรีสภา สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี ส่วนสมาชิกราชมนตรีสภามีวาระ 6 ปี และนอกเหนือไปจากการพิจารณากฎหมายต่าง ๆ แล้ว สภานิติบัญญัติยังมีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติของญี่ปุ่นประชุมครั้งแรกในชื่อ สภานิติบัญญัติแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ เมื่อ..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ

มเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ (กรีก: Άννα-Μαρία Βασίλισσα των Ελλήνων อันนา มาเรีย, พระราชสมภพ: 30 สิงหาคม พ.ศ. 2489-) พระนามเมื่อแรกประสูติ เจ้าหญิงอันเนอ-มารี ดักมาร์ อิงกริดแห่งเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Princess Anne-Marie Dagmar Ingrid of Denmark) พระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (หรือ สมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์) ในช่วง 6 มีนาคม ค.ศ. 1964 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1973 ภายหลังได้มีการลงประชามติล้มเลิกการปกครองระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐในมาตราที่ 4, ข้อที่ 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งรัฐระบุไว้ว่า "Titles of nobility or distinction are neither conferred upon nor recognized in Greek citizens พระอิสริยยศนำหน้าพระนามจะไม่ได้รับเกียรติอย่างเป็นทางการของประชาชนกรีซ" ดูเพิ่มได้ที.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐ

แผนที่ประเทศสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ รัฐเดี่ยว สหพันธรัฐ (federation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์ สหพันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเท.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและสหพันธรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง

นิโต มุสโสลินีกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สองผู้นำเผด็จการในทวีปยุโรปก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สาเหตุเบื้องต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ความตึงเครียดเกี่ยวกับชาตินิยม ประเด็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และความไม่พอใจอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสมัยระหว่างสงครามในทวีปยุโรป รวมทั้งผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ลงเอยด้วยการปะทุของสงคราม ซึ่งมักเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการบุกครองโปแลนด์ โดยนาซีเยอรมนี ความก้าวร้าวทางทหารนี้เป็นผลมาจากการตัดสินใจของผู้นำของเยอรมนีและญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นจากการปฏิบัติอันก้าวร้าวและบรรจบกับการประกาศสงคราม และ/หรือ การต่อต้านด้วยกำลัง.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม พ.ศ. 2550

งหาคม..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและสิงหาคม พ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย

งครามรัสเซีย-จอร์เจีย หรือสงครามเซาท์ออสซีเชีย (ในรัสเซียมีอีกชื่อหนึ่งว่า สงครามห้าวัน) เป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ระหว่างจอร์เจียฝ่ายหนึ่ง กับรัสเซียและรัฐบาลผู้แบ่งแยกของเซาท์ออสซีเชียและอับฮาเซียอีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเซาท์ออสซีเชียเมื่อ พ.ศ. 2534-2535 ระหว่างเชื้อชาติจอร์เจียกับออสเซเตียได้สิ้นสุดลงด้วยพื้นที่เกินกว่าครึ่งเล็กน้อยของเซาท์ออสซีเชียอยู่ภายใต้การควบคุมโดยพฤตินัยของรัฐบาลที่รัสเซียหนุนหลัง หากนานาชาติมิได้ให้การรับรองแต่อย่างใด ระหว่างคืนวันที่ 7 และ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 จอร์เจียเปิดฉากการรุกทางทหารขนานใหญ่ต่อเซาท์ออสซีเชีย ในความพยายามที่จะยึดพื้นที่คืน จอร์เจียอ้างว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการสนองต่อเหตุโจมตีต่อผู้รักษาสันติภาพและหมู่บ้านของตนในเซาท์ออสซีเชีย และรัสเซียกำลังเคลื่อนหน่วยทหารที่มิใช่เพื่อการรักษาสันติภาพเข้ามาในพื้นที่ การโจมตีของจอร์เจียเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียในบรรดาผู้รักษาสันติภาพรัสเซีย ผู้ซึ่งต้านทานการโจมตีร่วมกับทหารอาสาสมัครออสเซเตีย จอร์เจียยึดซคินวาลีได้สำเร็จในไม่กี่ชั่วโมง รัสเซียสนองโดยการจัดวางกำลังกองทัพที่ 58 ของรัสเซีย และกำลังพลร่มรัสเซียในเซาท์ออสซีเชีย และเปิดฉากโจมตีทางอากาศต่อกำลังจอร์เจียในเซาท์ออสซีเชียและเป้าหมายทางทหารและการส่งกำลังบำรุงในดินแดนจอร์เจีย รัสเซียอ้างว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการแทรกแซงทางมนุษยธรรมและการบังคับใช้สันติภาพที่จำเป็น กำลังรัสเซียและออสเซเตียสู้รบกับกำลังจอร์เจียทั่วเซาท์ออสซีเชียเป็นเวลาสี่วัน โดยมีการสู้รบหนักที่สุดในซคินวาลี วันที่ 9 สิงหาคม ทัพเรือของรัสเซียปิดล้อมชายฝั่งจอร์เจียบางส่วน และยกนาวิกโยธินขึ้นบกบนชายฝั่งอับฮาเซียRoy Allison,, in International Affairs, 84: 6 (2008) 1145–1171. Accessed 2009-09-02. 2009-09-05. ทัพเรือจอร์เจียพยายามจะขัดขวาง แต่พ่ายแพ้ในการปะทะกันทางทะเล กำลังรัสเซียและอับฮาเซียเปิดแนวรบที่สองโดยการโจมตีหุบโคโดรีที่จอร์เจียครองอยู่ กำลังจอร์เจียต้านทานได้เพียงเล็กน้อย และต่อมา กำลังรัสเซียได้ตีโฉบฉวยฐานทัพหลายแห่งในทางตะวันตกของจอร์เจีย หลังการสู้รบอย่างหนักในเซาท์ออสซีเชียเป็นเวลาห้าวัน กำลังจอร์เจียก็ร่นถอย ทำให้รัสเซียสามารถกรีธาเข้าสู่จอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาทและยึดครองนครต่าง ๆ ของจอร์เจียได้จำนวนหนึ่ง สหภาพยุโรปที่มีฝรั่งเศสเป็นประธานเข้าไกล่เกลี่ยสถานการณ์ และคู่กรณีบรรลุความตกลงหยุดยิงขั้นต้นในวันที่ 12 สิงหาคม โดยจอร์เจียลงนามเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมในกรุงทบิลิซี และรัสเซียลงนามเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมในกรุงมอสโก หลายสัปดาห์ให้หลังการลงนามในความตกลงหยุดยิงดังกล่าว รัสเซียเริ่มถอนทหารส่วนมากออกจากจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท รัสเซียได้สถาปนาเขตกันชนรอบอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชีย ตลอดจนตั้งจุดตรวจในดินแดนจอร์เจีย ท้ายที่สุด กำลังเหล่านี้ได้ถูกถอนออกจากจอร์เจียส่วนที่ไม่พิพาท อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตะวันตกบางคนยืนยันว่า ทหารเหล่านี้ไม่ได้กลับไปประจำยังแนวที่ประจำอยู่เดิมก่อนหน้าที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้นตามที่ระบุไว้ในแผนสันติภาพ กำลังรัสเซียยังประจำอยู่ในอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชียความตกลงสองฝ่ายกับรัฐบาลทั้งสองดินแดน.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและสงครามรัสเซีย-จอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบร์โต ฟูคีโมรี

อัลเบร์โต เกเนีย ฟูคีโมรี อีโนโมโต (Alberto Kenya Fujimori Inomoto) มีชื่อแต่เดิมว่า เค็นยะ ฟุจิโมะริ (เกิด: 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481) เป็นชาวเปรูเชื้อสายญี่ปุ่นซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศเปรูระหว่าง 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ฟูคีโมรีเป็นผู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจเปรูที่ตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) และจัดการกับผู้ก่อการร้ายในประเทศ แต่ภายหลังเขาโดนข้อหาการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และละเมิดสิทธิมนุษยชนจนต้องหลบหนีออกนอกประเทศในปี..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและอัลเบร์โต ฟูคีโมรี · ดูเพิ่มเติม »

อันชลุสส์

ตำรวจชายแดนเยอรมัน-ออสเตรียกำลังรื้อถอนที่กั้นชายแดนในเหตุการณ์อันชลุสส์ ปี 1938. อันชลุสส์ (Anschluss, Anschluß, ท. การผนวก หรือ การเชื่อมโยง) เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อนาซีสำหรับการบุกครองและการรวมประเทศออสเตรียเข้ากับเยอรมนีในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและอันชลุสส์ · ดูเพิ่มเติม »

อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี

อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี (Il Canto degli Italiani) หรือ "เพลงแห่งชาวอิตาลี" เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอิตาลี เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวอิตาลีในชื่อ "อินโนดีมาเมลี" (Inno di Mameli - เพลงสรรเสริญของมาเมลี) อันเป็นการขนานนามตามชื่อผู้ประพันธ์เพลง และ "ฟราเตลลีดีตาเลีย" (Fratelli d'Italia - พี่น้องชาวอิตาลีทั้งหลาย) ซึ่งเรียกตามบทร้องวรรคเปิดของเพลงนี้ บทร้องของเพลงนี้ได้ประพันธ์โดยกอฟเฟรโด มาเมลี (Goffredo Mameli - ขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาชาวเจนัวและมีอายุได้ 20 ปี) ในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1847 ที่เมืองเจนัว ท่ามกลางบรรยากาศในการต่อสู้ของประชาชนเพื่อการรวมชาติและการทำสงครามปลดแอกจากจักรวรรดิออสเตรีย อีกสองเดือนต่อมา มีเกเล โนวาโร (Michele Novaro) ซึ่งเป็นชาวเจนัวเช่นกัน ได้ประพันธ์ทำนองสำหรับบทร้องของมาเมลีขึ้นที่เมืองโตริโน เพลงดังกล่าวนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากมหาชนท่ามกลางยุคแห่งการรวมชาติ (Risorgimento) นานนับทศวรรษ หลังการรวมชาติสำเร็จลงในปี ค.ศ. 1861 เพลงที่ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติอิตาลีนั้นมิใช่เพลง "อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี" ซึ่งได้รับความนิยมจากมหาชน แต่เป็นเพลง "มาร์ชาเรอาเลดอร์ดีนันซา" (Marcia Reale d'Ordinanza - เพลงมาร์ชหลวงตามพระราชโองการ) เพลงดังกล่าวนี้เป็นเพลงสรรเสริญประจำราชวงศ์ซาวอย อันเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์ผู้ปกครองอิตาลีหลังยุคการรวมชาติ และได้ใช้เป็นเพลงชาติอิตาลีสืบมาจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่ออิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการลงประชามติยกเลิกระบอบราชาธิปไตยและสถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐขึ้นแทนที่ โดยเพลง "อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี" ได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐอิตาลีเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1946 และอีกเกือบ 60 ปีให้หลัง เพลงนี้จึงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการตามกฎหมายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและอิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี · ดูเพิ่มเติม »

อุทัย พิมพ์ใจชน

นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 8 สมั.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและอุทัย พิมพ์ใจชน · ดูเพิ่มเติม »

ฌัก ชีรัก

ัก เรอเน ชีรัก (Jacques René Chirac; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 —) รัฐบุรุษฝรั่งเศส อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายกเทศมนตรีกรุงปารี.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและฌัก ชีรัก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมาดากัสการ์

23px ธงชาติมาดากัสการ์ สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติมาดากัสการ์ เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศนี้เตรียมการลงประชามติต่อสถานะของประเทศในประชาคมฝรั่งเศส และเป็นเวลาก่อนหน้าการประกาศเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส 2 ปี ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตอนต้นธงเป็นแถบสีขาวตามแนวตั้ง กว้างเป็น 1 ใน 3 ส่วนของความยาวธง ส่วนที่เหลือตอนปลายธงแบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนเป็นพื้นสีแดง ครึ่งล่างพื้นสีเขียว สีในธงชาติมาร์ดากัสการ์นี้สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ของประเทศ ความปรารถนาในอิสรภาพ และชนชั้นในสังคมมาร์ดากัสการ์ โดยสีแดงและสีขาวนั้นคือสีธงของสมเด็จพระราชินีรานาวาโลนาที่ 3 (Ranavalona III) กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรเมรินา (Merina kingdom) ซึ่งพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2439 และสีนี้อาจเป็นเครื่องบ่งบอกว่าชาวมาร์ดากัสการ์มาจากคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังปรากฏการใช้สีดังกล่าวนี้ร่วมกันในธงชาติอินโดนีเซีย ส่วนสีเขียวหมายถึงชนชั้นโฮวา (Hova) อันเป็นชนชั้นสามัญชนในสังคมมาร์ดากัสการ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านและเรียกร้องเอกราชจากฝรั่ง.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและธงชาติมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเบลารุส

งชาติเบลารุส แบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้น เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2538 หลังจากการลงประชามติเพื่อเลือกแบบธงชาติเบลารุสในเดือนประชาชนในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ธงที่ใช้อยู่นี้ใช้แทนธงชาติเดิมในปี พ.ศ. 2461 สมัยที่ใช้ชื่อประเทศว่าสาธารณรัฐประชาชนเบลารุส ก่อนที่ประเทศเบลารุสจะมีฐานะเป็นสาธารณรัฐโซเวียต ขึ้นตรงต่อสหภาพโซเวียต ต่อมาเมื่อประเทศได้รับเอกราชก็ได้ใช้ธงในยุคดังกล่าวอีกครั้ง ธงแบบปัจจุบันนี้เป็นการดัดแปลงจากธงชาติสมัยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียเพียงเล็กน้อย โดยยกเอารูปค้อนเคียวและดาวแดงออก ซึ่งธงขององค์กรและหน่วยงานราชการต่างๆ ในเบลารุสหลายแห่งล้วนดัดแปลงจากรูปแบบของธงชาติด้วย อย่างในก็ตาม ยังมีคนบางกลุ่มที่ใช้ธงสีพื้นขาวและแดงเป็นเครื่องหมายในการต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค แม้ว่าธงดังกล่าวนี้ถือเป็นธงต้องห้ามในประเทศเบลารุสก็ตาม.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและธงชาติเบลารุส · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

คลองปานามา

แผนที่การเดินทางในคลองปานามา โดยมีรายชื่อประตูกั้นน้ำประกอบ สถานที่ตั้งของคลองปานามาระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน โดยตัวคลองตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของแผนที่ คลองปานามา (Panama Canal) เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและคลองปานามา · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม พ.ศ. 2548

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและตุลาคม พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา

ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา (Substantive Democracy) เป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยที่เน้นเรื่องของผลลัพธ์ (outcome) ของกระบวนการและกลไกต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย โดยเกณฑ์หรือมาตรวัดความเป็นประชาธิปไตยเชิงเนื้อหามักประกอบด้ว.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย

ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย ประวัติศาสตร์ของดินแดนและประชากรที่อาศัยอยู่ในเครือรัฐออสเตรเลีย รวมถึงชนพื้นเมืองที่อยู่มาก่อน และชาวอาณานิคมที่อพยพเข้ามาในภายหลัง ผู้คนที่เข้ามาอาศัยเป็นกลุ่มแรก เชื่อกันว่าเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อพยพขึ้นมาอาศัยอยู่ในแผ่นดินทวีปออสเตรเลีย ข้ามทะเลมาจากหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ 40,000 ถึง 70,000 ปีที่แล้ว ธรรมเนียมและประเพณีเชิงศิลป์, ดนตรี และศาสนาที่พวกเขาสถาปนาขึ้นเป็นหนึ่งในประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ที่ยังสืบทอดมาจนนับบัดนี้ Bish Whore อะไรก็ไม่รู้ James Cook is very good chef and i like it alot เป็นการอดิดที่ดีมาก ชาวยุโรปที่เทียบฝั่งออสเตรเลียและขึ้นบกเป็นคนแรกคือ วิลเลิม ยันส์โซน นักสำรวจชาวดัตช์ ขึ้นฝั่งในปี..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอซ์แลนด์

อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร

ซอร์เบียและมอนเตเนโกร (Serbia and Montenegro, SCG) เป็นชื่อของอดีตสหพันธรัฐซึ่งเป็นการรวมอย่างหลวม ๆ ของเซอร์เบียและมอนเตเนโกร อดีตสาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนถึง พ.ศ. 2549 ตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านตอนตะวันตกกลาง ซึ่งแต่เดิมมีชื่อประเทศว่า สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศในปี2003 ในชื่อ สหภาพรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกร เซอร์เบียและมอนเตเนโกรมีความร่วมมือกันเฉพาะบางด้านในการเมือง (เช่น ผ่านสหพันธ์การป้องกันประเทศ) ทั้ง 2 รัฐมีนโยบายเศรษฐกิจและหน่วยเงินของตนเอง และประเทศไม่มีเมืองหลวงรวมอีกต่อไป โดยที่แบ่งแยกสถาบันที่ใช้ร่วมกันระหว่างเมืองเบลเกรดในเซอร์เบียและเมืองพอดกอรีตซาในมอนเตเนโกร ทั้งสองรัฐแยกออกจากกันหลังจากมอนเตเนโกรจัดให้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ทำให้เกิดประเทศใหม่คือประเทศมอนเตเนโกร ส่วนประเทศเซอร์เบียก็กลายเป็นผู้สืบสิทธิ์ต่าง ๆ ของประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร · ดูเพิ่มเติม »

นิวแคลิโดเนีย

นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) หรือ นูแวล-กาเลดอนี (Nouvelle-Calédonie) ชื่ออื่น ๆ ที่นิยมเรียกได้แก่ "คานากี" (Kanaky) และ "เลอกายู" (Le Caillou) เป็น "อาณานิคมพิเศษ (sui generis collectivity)" (ในทางปฏิบัติ ดินแดนโพ้นทะเล) ของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยเกาะหลัก (เกาะกร็องด์แตร์, Grande Terre) และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเมลานีเซียในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงใต้ นิวแคลิโดเนียมีเนื้อที่ 18,575.5 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของเกาะไต้หวัน ประชากรที่สำรวจได้เมื่อพ.ศ. 2547 มีอยู่ 230,789 คน มีรหัสประเทศโดเมนระดับบนสุดในอินเทอร์เน็ต ว่า.nc เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของนิวแคลิโดเนียคือ นูเมอา (Nouméa) หน่วยเงินคือ ฟรังก์ซีเอฟพี ตั้งแต..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและนิวแคลิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

นิธิ เอียวศรีวงศ์

ตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483) เป็นนักคิด นักเขียน และศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ชาวไทย ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นจากสภาวิจัยแห่งชาติ, รางวัลฟูกูโอกะ และรางวัลศรีบูรพา อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและนิธิ เอียวศรีวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก (Maria Adelheid Theresia Hilda Antonia Wilhelmina vu Lëtzebuerg, Marie Adélaïde Thérèse Hilda Antonie Wilhelmine, พระนามเต็ม: มารี อเดเฮด เทเรซ ฮิลดา วิลเฮลมิเน ฟอน นัสเซา-ไวล์บวร์ก; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 – 24 มกราคม พ.ศ. 2467) ทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสลักเซมเบิร์กพระองค์แรกระหว่าง ครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เพื่อนพ้องน้องพี่ (บริษัท)

ริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจสื่อสารมวลชน ก่อตั้งโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ และมีกลุ่มเพื่อนของนายวีระร่วมถือหุ้น เพื่อประกอบกิจการต่างๆ คือ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี (พ.ศ. 2550-2551), นิตยสารข่าว วาไรตี้นิวส์ฉบับมหาประชาชน (พ.ศ. 2550), รายการโทรทัศน์ ความจริงวันนี้-เพื่อนพ้องน้องพี่-มหาประชาชน (พ.ศ. 2551 - 2553) และหนังสือพิมพ์ มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้ (พ.ศ. 2552 - 2555).

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและเพื่อนพ้องน้องพี่ (บริษัท) · ดูเพิ่มเติม »

เวสเทิร์นสะฮารา

วสเทิร์นสะฮารา (Western Sahara; الصحراء الغربية; เบอร์เบอร์: Taneẓroft Tutrimt; Sáhara Occidental) เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในภูมิภาคมาเกร็บ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดกับประเทศโมร็อกโก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศแอลจีเรีย ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศมอริเตเนีย ส่วนทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ประมาณ 266,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย มีประชากรประมาณ 500,000 คน เกือบร้อยละ 40 อาศัยอยู่ที่เอลอายูน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเวสเทิร์นสะฮารา เวสเทิร์นสะฮาราถูกสเปนปกครองจนถึงปลายคริสตศวรรษที่ 20 หลังจากนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากข้อเรียกร้องของโมร็อกโก เป็นดินแดนที่มีประชากรและพื้นที่มากที่สุดที่อยู่ในรายชื่อนี้ ในปี 2508 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติครั้งแรกเกี่ยวกับเวสเทิร์นสะฮารา ในการขอให้สเปนให้เอกราชแก่ดินแดนนี้ หนึ่งปีต่อมามติใหม่ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อขอให้มีการลงประชามติโดยสเปนเกี่ยวกับการตัดสินใจด้วยตนเอง ในปี 2518 สเปนได้ยกเลิกการบริหารจัดการดินแดนนี้ไปสู่การจัดการบริหารร่วมโดยโมร็อกโก (ซึ่งได้เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนนี้มาตั้งแต่ปี 2500)และมอริเตเนีย สงครามปะทุขึ้นระหว่างประเทศเหล่านี้กับขบวนการชาตินิยมซาห์ราวี แนวร่วมโปลีซารีโอซึ่งได้ประกาศให้ดินแดนนี้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีมีรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ในทินดูฟ แอลจีเรีย ต่อมา มอริเตเนียได้ถอนการอ้างสิทธิเหนือดินแดนในปี 2522 และในที่สุดโมร็อกโกก็ได้ควบคุมดินแดนส่วนใหญ่รวมทั้งเมืองสำคัญและทรัพยากรธรรมชาติ องค์การสหประชาชาติพิจารณาว่าแนวร่วมโปลีซารีโอเป็นตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายของชาวซาห์ราวีและยืนยันว่าชาวซาห์ราวีมีสิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง ในปี 2560 ไม่มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติใดให้การยอมรับอำนาจอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา อย่างไรก็ตาม หลายประเทศได้แสดงการสนับสนุนต่อการรับรองในอนาคตเกี่ยวกับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในฐานะดินแดนปกครองตนเองของราชอาณาจักร กล่าวโดยสรุป การผนวกดินแดนยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในประชาคมนานาชาติเนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องของการผนวกดินแดนอื่นๆ อีก (เช่น การผนวกดินแดนของรัสเซียในคาบสมุทรไครเมีย) ตั้งแต่ที่สหประชาชาติผลักดันให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในปี 2534 สองในสามของดินแดน(รวมถึงส่วนใหญ่ของชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก) ถูกปกครองโดยรัฐบาลโมร็อกโกซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบลับๆ จากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ขณะที่ส่วนที่เหลือถูกปกครองโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแอลจีเรีย ในระดับนานาชาติ ประเทศต่างๆ เช่น รัสเซียอยู่ในฐานะที่คลุมเครือและเป็นกลางในการอ้างสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็ได้กดดันให้ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาอย่างสันติ ทั้งโมร็อกโกและโปลีซาริโอต่างพยายามที่จะเพิ่มแรงสนับสนุนในการรับรองดินแดนอย่างเป็นทางการจากชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะชาติจากแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา แนวร่วมโปลีซาริโอได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีจาก 37 ประเทศ และยังเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกาต่อไป ขณะที่โมร็อกโกได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง และส่วนใหญ่จากโลกมุสลิมและสันนิบาตอาหรับ ตลอดสองทศวรรษหลัง การยอมรับที่มีต่อทั้งสองฝ่ายขยายเพิ่มและถดถอยลงตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและเวสเทิร์นสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศรัสเซีย

การที่เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก จึงทำให้รัสเซียแบ่งเขตการปกครองเป็นหลายระดับและหลายประเภท.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

1 ธันวาคม

วันที่ 1 ธันวาคม เป็นวันที่ 335 ของปี (วันที่ 336 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 30 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและ1 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

19 สิงหาคม

วันที่ 19 สิงหาคม เป็นวันที่ 231 ของปี (วันที่ 232 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 134 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและ19 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 สิงหาคม

วันที่ 30 สิงหาคม เป็นวันที่ 242 ของปี (วันที่ 243 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 123 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและ30 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 ตุลาคม

วันที่ 30 ตุลาคม เป็นวันที่ 303 ของปี (วันที่ 304 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 62 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและ30 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 เมษายน

วันที่ 30 เมษายน เป็นวันที่ 120 ของปี (วันที่ 121 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 245 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การออกเสียงประชามติและ30 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Referendumการลงประชามติการแสดงประชามติลงประชามติประชามติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »