เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การสงครามเคมี

ดัชนี การสงครามเคมี

ทหารแคนาดาที่ถูกรมด้วยแก๊สมัสตาร์ดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเคมี หรือ อาวุธเคมี (Chemical warfare หรือ CW) คือการใช้คุณสมบัติอันเป็นพิษของสารเคมีในการเป็นอาวุธเพื่อการสังหาร, สร้างความบาดเจ็บ หรือ สร้างความพิการให้แก่ศัตรู ประเภทของสงครามนี้แตกต่างจากการใช้อาวุธสามัญ (conventional weapons) หรือ อาวุธนิวเคลียร์ เพราะการทำลายโดยสารเคมีมิได้เกิดจากแรงระเบิด อาวุธเคมีจัดอยู่ในประเภทอาวุธเพื่อการทำลายล้างสูงโดยสหประชาชาติและการผลิตก็เป็นการผิดกฎอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention) ของปี ค.ศ.

สารบัญ

  1. 20 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2458ยุทธการฉางชา (1939)ราชอาณาจักรอิตาลีรายชื่อสนธิสัญญาวิกตอร์ กรีญาร์สหประชาชาติสารวีเอ็กซ์สงครามอิรัก–อิหร่านสงครามอ่าวเปอร์เซียสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหน่วย 731อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมีความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดประวัติศาสตร์การทหารประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงไบเออร์เครื่องฉีดอีพิเนฟรินอัตโนมัติ22 เมษายน

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู การสงครามเคมีและพ.ศ. 2458

ยุทธการฉางชา (1939)

ทธการฉางชา (17 กันยายน – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1939) เป็นความพยายามครั้งแรกของญี่ปุ่นในการยึดครองฉางชา ประเทศจีน ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง.

ดู การสงครามเคมีและยุทธการฉางชา (1939)

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ.

ดู การสงครามเคมีและราชอาณาจักรอิตาลี

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ดู การสงครามเคมีและรายชื่อสนธิสัญญา

วิกตอร์ กรีญาร์

ปฏิกิริยากรีญาร์ ฟร็องซัว โอกุสต์ วิกตอร์ กรีญาร์ (François Auguste Victor Grignard; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1935) เป็นนักเคมีชาวฝรั่งเศส เกิดที่เมืองแชร์บูร์ กรีญาร์เข้าเรียนด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลียงก่อนจะเปลี่ยนไปเรียนเคมี ต่อมาในปี..

ดู การสงครามเคมีและวิกตอร์ กรีญาร์

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ดู การสงครามเคมีและสหประชาชาติ

สารวีเอ็กซ์

รวีเอกซ์ (VX ย่อมาจาก venomous agent X) มีชื่อทางเคมีคือ Methylphosphonothioic acid S- O-ethyl ester และมีสูตรเคมีคือ C11H26NO2PS หรือ CH3-P(.

ดู การสงครามเคมีและสารวีเอ็กซ์

สงครามอิรัก–อิหร่าน

งครามอิรัก–อิหร่าน (Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท) สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003 สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว.

ดู การสงครามเคมีและสงครามอิรัก–อิหร่าน

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช.

ดู การสงครามเคมีและสงครามอ่าวเปอร์เซีย

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ดู การสงครามเคมีและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

หน่วย 731

หน่วย 731 เป็นหน่วยงานเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาอาวุธชีวภาพของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยใช้มนุษย์เป็นหนูทดลองในช่วง สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (1937–1945 ช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง) หน่วย 731 มีฐานหลักที่เขตผิงฝาง เขตหนึ่งของฮาร์บิน ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแมนจูกัว รัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น.

ดู การสงครามเคมีและหน่วย 731

อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง

อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (อังกฤษ: Weapon of Mass Destruction, WMD) คืออาวุธที่สามารถสังหารมนุษย์, สัตว์หรือพืชในจำนวนมาก และอาจทำลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมหาศาล ซึ่งจำแนกได้เป็นอาวุธหลายประเภทด้วยกันได้แก่ อาวุธปรมาณู, อาวุธชีวภาพ, อาวุธเคมี รวมไปถึงอาวุธกัมมันตภาพรังสี (ต่างจากอาวุธปรมาณูตรงที่ให้แรงระเบิดน้อยกว่ามาก แต่แพร่กัมมันตรังสีในปริมาณที่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับอาวุธปรมาณู) ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นจากกองกำลังที่มีอำนาจทางการเงินและเทคโนโลยีที่ด้อยกว่า (เช่น ผู้ก่อการร้าย) เป็นที่โต้เถียงกันว่าศัพท์นี้ (ในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาไทยนั้น ไม่ค่อยพบเห็นการใช้คำนี้มากนัก) ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อใด โดยนิยามนี้อาจถูกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ.

ดู การสงครามเคมีและอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง

อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี

ทหารแคนาดาที่ถูกรมด้วยแก๊สมัสตาร์ดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention หรือ CWC) คือความตกลงการควบคุมอาวุธที่ห้ามการผลิต, การสะสม และการใช้อาวุธเคมี ข้อตกลงปัจจุบันได้รับการบริหารโดยองค์การเพื่อการห้ามอาวุธเคมี (OPCW) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มักจะเข้าใจผิดกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ ในเดือนพฤษภาคม..

ดู การสงครามเคมีและอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ดู การสงครามเคมีและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ดู การสงครามเคมีและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

ประวัติศาสตร์การทหาร

ประวัติศาสตร์การทหาร เป็นการรวบรวมบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของความขัดแย้ง ตั้งแต่ข้อขัดแย้งระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองเล็ก ๆ สองเผ่า ระหว่างสองรัฐ หรือสงครามโลกที่มีผลกระทบต่อประชากรโลกในระดับที่รุนแรง นักประวัติศาสตร์การทหารเป็นผู้ทำการบันทึกประวัติศาสตร์การทหารเหล่านี้ กิจกรรมทางทหาร เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานับพันปี แต่การจัดการบันทึกข้อมูลนั้นเป็นไปอย่างหยาบ ๆ สิ่งที่เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โลกก่อนประวัติศาสตร์นั้นแทบจะไม่มีข้อมูลหลงเหลืออยู่ แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า รูปแบบของยุทธวิธี ยุทธศาสตร์ และจุดมุ่งหมายในการทำสงครามต่าง ๆ นั้นแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลาร่วมห้าพันปี ในประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้และในรอบ 90,000 ปีตั้งแต่มีเผ่าพันธุ์มนุษย์ปรากฏขึ้นมาบนโลก ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ ยุทธวิธี Double envelopment หรือการล้อมสองด้าน ซึ่งเป็นยุทธวิธีพื้นฐานที่ใช้กันมากในการทำสงคราม ได้ถูกใช้โดย ฮันนิบาล (Hannibal) ที่ยุทธการคันนาย เมื่อ 216 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นเวลากว่าสองพันสองร้อยปีมาแล้ว ต่อมาอีกเกือบพันปี ก็ถูกใช้อีกโดย Robin Phan Persie คาลิด ไอบิน อัลวาลิด (Khalid ibn al-Walid) ที่ยุทธการวาฮายา (Walaja) ใน ค.ศ.

ดู การสงครามเคมีและประวัติศาสตร์การทหาร

ประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง

ประเทศเกาหลีเหนือประกาศในปี 2552 ว่าประเทศพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และครอบครองคลังอาวุธนิวเคลียร์ค่อนข้างธรรมดาขนาดเล็ก ประเทศเกาหลีเหนือยังมีสมรรถนะอาวุธเคมีและ/หรืออาวุธชีวภาพ ตั้งแต่ปี 2546 ประเทศเกาหลีเหนือไม่เป็นภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์อีกต่อไป วันที่ 9 ตุลาคม 2549 ประเทศเกาหลีเหนือประกาศว่าทดลองนิวเคลียร์ครั้งแรกสำเร็จ มีการตรวจพบการระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน มีการประมาณว่าแรงระเบิด (yield) น้อยกว่าหนึ่งกิโลตัน และตรวจพบปริมาณกัมมันตรังสีบางส่วน Yield estimates section ในเดือนเมษายน 2552 รายงานเปิดเผยว่าประเทศเกาหลีเหนือกลายเป็น "รัฐนิวเคลียร์โตสมบูรณ์" (fully fledged nuclear power) เป็นความเห็นที่ผู้อำนวยการใหญ่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) มุฮัมมัด อัลบะรอดะอี แบ่งปัน วันที่ 25 พฤษภาคม 2552 ประเทศเกาหลีเหนือทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่สอง ทำให้เกิดแรงระเบิดที่ประมาณระหว่าง 2 ถึง 7 กิโลตัน North Korea's Nuclear test Explosion, 2009.

ดู การสงครามเคมีและประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง

ไบเออร์

ออร์ เอจี (Bayer AG; ออกเสียง ไบเออร์ แต่ตามต้นฉบับภาษาเยอรมัน และชาวต่างชาตินิยมออกเสียงเป็น เบเยอร์) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมีและยา บริษัทก่อตั้งในปี..

ดู การสงครามเคมีและไบเออร์

เครื่องฉีดอีพิเนฟรินอัตโนมัติ

เครื่องฉีดอีพิเนฟรินอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ใช้สำหรับฉีดยาอีพิเนฟรินในขนาดที่กำหนดเอาไว้แล้วเข้าสู่ร่างกายแบบอัตโนมัติ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับรักษาแอนาฟิแล็กซิสหรือภาวะแพ้รุนแรง EpiPen เป็นอุปกรณ์ชนิดนี้แบบหนึ่ง พัฒนามาจากอุปกรณ์ ComboPen รุ่น Mark I NAAK ซึ่งพัฒนาโดยกองทัพสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาภาวะถูกสารพิษทำลายประสาทในกรณีสงครามที่มีการใช้อาวุธเคมี หมวดหมู่:การปฐมพยาบาล Category:Drug delivery devices Category:ภาวะภูมิไวเกินประเภทที่ 1.

ดู การสงครามเคมีและเครื่องฉีดอีพิเนฟรินอัตโนมัติ

22 เมษายน

วันที่ 22 เมษายน เป็นวันที่ 112 ของปี (วันที่ 113 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 253 วันในปีนั้น.

ดู การสงครามเคมีและ22 เมษายน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Chemical agentChemical agentsChemical attackChemical warfareChemical warfare agentChemical weaponChemical weapon agentChemical weaponsGas (chemical warfare)Gas attackGas bombPoison gasPoisonous gasการโจมตีด้วยอาวุธเคมีการโจมตีด้วยแก๊สสงครามเคมีอาวุธเคมีแก๊สพิษ