โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การวิจัย

ดัชนี การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

118 ความสัมพันธ์: บรรยากาศศาสตร์บล็อกเชนบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ชุมชนนักวิทยาศาสตร์พยากรณ์โรคพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)กฎบัตรซาราโกซากระทรวงยุทธศาสตร์ธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรมการรับรู้รสการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาการลวงสัมผัสตะแกรงเหล็กร้อนการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดการวิจัยการวิจัยทางการพยาบาลการวิจัยขั้นทุติยภูมิการวิจัยขั้นปฐมภูมิการวิจัยโรคมะเร็งการวิจัยเชิงบุกเบิกการสร้างภาพประสาทการผลิตยาปฏิชีวนะการจัดการระบบวิจัยการจำลองการทบทวนวรรณกรรมการค้าประเวณีเด็กการป่าไม้ในเมืองการเข้ารหัสฐานข้อมูลงานวิจัยไทยภาษาศาสตร์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีมีดโกนอ็อกคัมรายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอรายชื่อตำแหน่งทางวิชาการรายการสาขาวิชารายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยลิงอ้ายเงียะวารสารวิชาการวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์วาซาบิวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวิศวกรรมซอฟต์แวร์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยานิพนธ์ศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์เบอร์ลินศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติสมมติฐาน...สมาคมผู้คงแก่เรียนสารประกอบของก๊าซมีตระกูลสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐสิ่งมีชีวิตตัวแบบสุวบุญ จิรชาญชัยสถาบันสมิธโซเนียนสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหญ้ามิสแคนทัสช้างหลักฐานเชิงประสบการณ์หลุยส์ ปาสเตอร์หล่อฮังก๊วยอะมิกดะลาอะแพชี เล็นยาอันดับมหาวิทยาลัยไทยอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาอาการคันต่างที่ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกายผาสุก พงษ์ไพจิตรจอร์จ ไมนอตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุดภาพชัดเสื่อมทิม เบอร์เนิร์ส-ลีข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมดาบปลายปืน เอ็ม 9ดนัย ทายตะคุคริส เบเคอร์ความล้มเหลวความสมเหตุสมผลภายนอกความสมเหตุสมผลทางนิเวศความจำความเอนเอียงในการตีพิมพ์คณะกรรมการคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยงานคอปกเขียวฉัตรทิพย์ นาถสุภาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตปริศนาปัจจัยกระทบปูเยตินักฟิสิกส์นักวิจัยหลังปริญญาเอกนักวิจัยดีเด่นแห่งชาตินันทริกา ชันซื่อแบบสอบถามแพขยะใหญ่แปซิฟิกแล็กทูโลสแผ่นซีดีโพรซีดดิงโมโนทรีมโมเช แอเร็นส์โรคกามวิปริตโรคกุ้งตายด่วนโรคใคร่เด็กโลกาภิวัตน์โจรกรรมทางวรรณกรรมเบราน์ชไวค์เภสัชพันธุศาสตร์เรียงความเข้ามหาวิทยาลัยเวชปฏิบัติอิงหลักฐานเอเอชพีเฮนดริค เวด โบดีเจ. เค. โรว์ลิงเจสตอร์เคลฟเวอร์แฮนส์เซจิ โอะงะวะเปลือกสมองส่วนรู้รส ขยายดัชนี (68 มากกว่า) »

บรรยากาศศาสตร์

แผนภูมิผสมแสดงวัฏจักร/วิวัฒนาการขององค์ประกอบต่างๆ ของบรรยากาศโลก ผลกระทบระดับภูมิภาคของ ENSO คราวร้อน (El Niño). บรรยากาศศาสตร์ (Atmospheric sciences) เป็นคำศัพท์กลางๆ ใช้เรียกการศึกษาด้านบรรยากาศ ซึ่งได้แก่กระบวนการ ผลของระบบอื่นๆ ที่มีต่อบรรยากาศ และ ผลของบรรยากาศที่มีต่อระบบอื่นๆ อุตุนิยม ซึ่งรวมถึง "เคมีบรรยากาศ" และ "ฟิสิกส์บรรยากาศ" ที่หลักๆ เน้นไปที่การพยากรณ์อากาศ ภูมิอากาศวิทยา (Climatology) ได้แก่ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ทั้งระยะยาวและระยะสั้น) ที่จะบ่งชี้ภูมิอากาศเฉลี่ยและการเปลี่ยนไปตามเวลาที่เนื่องมาจากทั้งภูมิอากาศที่ผันแปรตามธรรมชาติ และภูมิอากาศที่ผันแปรตามกิจกรรมของมนุษย์ สาขาวิชาด้านบรรยากาศศาสตร์ได้ขยายตรอบคลุมถึงสาขาศาสตร์แห่งดาวเคราะห์และการศึกษาบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล.

ใหม่!!: การวิจัยและบรรยากาศศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

บล็อกเชน

แผนภาพของบล็อกเชน (หรือโซ่บล็อก) สายโซ่หลักมีบล็อกต่อกันยาวสุดตั้งแต่บล็อกเริ่มต้น (สีเขียว) จนถึงบล็อกปัจจุบัน บล็อกกำพร้า (สีม่วง) จะอยู่นอกโซ่หลัก บล็อกเชน#timestamping block for bitcoin --> บล็อกเชน (blockchain) หรือว่า โซ่บล็อก ซึ่งคำอังกฤษดั้งเดิมเป็นคำสองคำคือ block chain เป็นรายการระเบียน/บันทึก (record) ที่เพิ่มขึ้น/ยาวขึ้นเรื่อย ๆ โดยแต่ละรายการเรียกว่า บล็อก ซึ่งนำมาเชื่อมต่อเป็นลูกโซ่ (เชน) โดยตรวจสอบความถูกต้องและรับประกันความปลอดภัยโดยวิทยาการเข้ารหัสลับ บล็อกแต่ละบล็อกปกติจะมีค่าแฮชของบล็อกก่อนหน้าซึ่งสามารถใช้ยืนยันความถูกต้องของบล็อกก่อนหน้า มีตราเวลาและข้อมูลธุรกรรม บล็อกเชนออกแบบให้ทนทานต่อการเปลี่ยนข้อมูลที่บันทึกแล้ว คือมันเป็น "บัญชีแยกประเภท (ledger) แบบกระจายและเปิด ที่สามารถบันทึกธุรกรรมระหว่างบุคคลสองพวกอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่ยืนยันได้และถาวร" เมื่อใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนปกติจะจัดการโดยเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ ซึ่งร่วมกันใช้โพรโทคอลเดียวกันเพื่อการสื่อสารระหว่างสถานี (node) และเพื่อยืนยันความถูกต้องของบล็อกใหม่ ๆ เมื่อบันทึกแล้ว ข้อมูลในบล็อกใดบล็อกหนึ่ง จะไม่สามารถเปลี่ยนย้อนหลังโดยไม่เปลี่ยนข้อมูลในบล็อกต่อ ๆ มาทั้งหมดด้วย ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้การร่วมมือจากสถานีโดยมากในเครือข่าย บล็อกเชนออกแบบมาตั้งแต่ต้นเพื่อให้ปลอดภัย (secure by design) และเป็นตัวอย่างของระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจายที่ทนต่อความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ได้สูง ดังนั้น ความเห็นพ้องแบบไม่รวมศูนย์ จึงเกิดได้โดยอาศัยบล็อกเชน ซึ่งอาจทำให้มันเหมาะเพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ, บันทึกระเบียนการแพทย์, ในการจัดการบริหารระเบียนแบบอื่น ๆ เช่น การจัดการผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบ (identity management), การประมวลผลธุรกรรม, การสร้างเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ, การตามรอยการผลิตและขนส่งอาหาร, หรือการใช้สิทธิออกเสียง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ใช้นามแฝง ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ประดิษฐ์บล็อกเชนขึ้นในปี 2008 (พ.ศ. 2551) เพื่อใช้กับเงินคริปโทสกุลบิตคอยน์ โดยเป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนทำให้บิตคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกที่แก้ปัญหาการใช้จ่ายสินทรัพย์เกินกว่าครั้งเดียว (Double spending problem) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามซึ่งเชื่อใจหรือมีคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง เป็นการออกแบบซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำหรับโปรแกรมประยุกต์อีกมากมายหลายอย่าง ในกรณีของบิตคอยน์ ผู้ใช้งานจะทำการโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถซื้อขายและยืนยันการใช้จ่ายบิตคอยน์ โดยจะมีการสร้างบล็อกขึ้นใหม่เพื่อเก็บรายการการซื้อขายแลกเปลี่ยน ในอัตราประมาณหนึ่งบล็อกต่อ 10 นาที และแต่ละบล็อกจะมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ยมากกว่า 500 รายการ.

ใหม่!!: การวิจัยและบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

ตราจารย์ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนปัจจุบัน อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนผู้บริหารและอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตเป็นอธิการบดีคนที่ 2 ในวาระการดำรงตำแหน่งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.

ใหม่!!: การวิจัยและบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชุมชนนักวิทยาศาสตร์

มชนนักวิทยาศาสตร์ (scientific community) เป็นเครือข่ายชุมชนที่หลากหลายของนักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานอย่างมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยรวมชุมชนย่อย ๆ ที่ทำงานในวิทยาศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่ง และในสถาบันหนึ่ง ๆ ถึงแม้การทำงานข้ามสาขาและข้ามสถาบันก็มีอย่างแพร่หลายเหมือนกัน ความเป็นกลาง (หรือภาวะปรวิสัย) ควรจะเป็นผลของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในชุมชน การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันผ่านการปรึกษาและอภิปรายในวารสารวิทยาศาสตร์และงานประชุม จะช่วยให้เกิดความเป็นกลาง โดยรับรองคุณภาพของระเบียบวิธีวิจัยและการแปลความหมายของผลที่ได้.

ใหม่!!: การวิจัยและชุมชนนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พยากรณ์โรค

พยากรณ์โรค (prognosis) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงการอธิบายผลที่น่าจะเกิดขึ้นของโรค มีความแม่นยำมากเมื่อใช้กับประชากรขนาดใหญ่ เช่นอาจกล่าวว่า "ผู้ป่วยช็อคเหตุติดเชื้อ 45% จะเสียชีวิตใน 28 วัน" ได้โดยมั่นใจ เพราะงานวิจัยได้ศึกษามาแล้วว่าผู้ป่วยจำนวนเท่านี้เสียชีวิตจริง อย่างไรก็ดีเป็นการยากกว่ามากที่จะนำพยากรณ์โรคเช่นนี้มาใช้กับผู้ป่วยคนหนึ่งๆ โดยยังต้องการข้อมูลอื่นๆ อีกมาก เพื่อจะหาว่าผู้ป่วยรายนี้อยู่ในกลุ่ม 45% ที่จะเสียชีวิต หรือ 55% ที่จะรอดชีวิต พยากรณ์โรคที่สมบูรณ์นั้นควรประกอบไปด้วยเวลา ความสามารถในการประกอบกิจวัตร และรายละเอียดของการดำเนินโรค เช่น แย่ลงเรื่อยๆ มีอาการรุุนแรงเป็นครั้งๆ หรือมีอาการรุนแรงเฉียบพลันไม่สามารถพยากรณ์ได้ เป็นต้น หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์.

ใหม่!!: การวิจัยและพยากรณ์โรค · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ห้องจัดแสดงชั้น 4: อุทยานจามจุรี พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร เกี่ยวกับภาพรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ทั้งผลงานอันเกิดจากการวิจัย และองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยได้ผลิตขึ้น ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย พัฒนาการทางด้านกายภาพ ความเป็นอยู่ของนิสิต ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมไทย อาคารแห่งนี้ เดิมเป็นอาคารเรียนของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อว่า อาคารเคมี 3 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น ได้รับการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเฉลิมฉลองวาระ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2560 ตัวอาคารได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัย ลดความปิดทึบของตัวอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเดิม โดยใช้กระจกกับโครงสร้างเหล็ก และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อกับผู้ชมทุกกลุ่ม(Universal Design)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม.

ใหม่!!: การวิจัยและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) · ดูเพิ่มเติม »

กฎบัตรซาราโกซา

กฎบัตรซาราโกซา 2551 (THE 2008 ZARAGOZA CHARTER) การจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ ณ เมืองซาราโกซา เป็นการจัดแสดงนิทรรศการครั้งแรกที่กำหนดแนวคิดหลัก คือ น้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Water and Sustainable Development) และจัดแสดงที่ริมฝั่งแม่น้ำเอโบร เมืองซาราโกซา ราชอาณาจักรสเปน โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมงานถึง 104 ประเทศ องค์กรระดับนานาชาติ 3 แห่ง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสเปน องค์การนิทรรศการนานาชาติ หรือ BIE หรือ (The Bureau International des Expositions; International Exhibitions Bureau) ได้ให้คำแนะนำแนวคิดการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้ให้สอดคล้องกับงานขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ BIE ตั้งเป้าหมายการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง และเป็นการให้ความรู้แก่สาธารณชน การจัดงานที่ซาราโกซาครั้งนี้ตั้ง เป้าหมาย ให้ผู้เข้าชมหลายล้านคนได้รับความรู้เกี่ยวกับน้ำและปัญหาในการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากงานนี้จะเป็นแหล่งรวมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว กิจกรรมของการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ (Water Tribune)เป็นการถ่ายทอดความรู้และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ตลอดจนความท้าทายในการจัดการทรัพยากรน้ำที่มนุษยชาติกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันและในอนาคต ตลอดระยะเวลา 93 วันของการจัดแสดงนิทรรศการ เวทีนี้เป็นกิจกรรมใหญ่ที่สุดและรวบรวมกิจกรรมระดับนานาชาติเกี่ยวกับน้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดไว้ การประชุมสัมมนาทรัพยากรน้ำนี้ เสร็จสิ้นก่อนวันปิดงานแสดงนิทรรศการเป็นเวลา 2 วัน โดยการนำเสนอบทสรุปและการวิเคราะห์ในรูปของกฎบัตรซาราโกซา 2008 (The 2008 Zaragoza Charter).

ใหม่!!: การวิจัยและกฎบัตรซาราโกซา · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงยุทธศาสตร์ธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรม

กระทรวงธุรกิจ พลังงาน และ นโยบายอุตสาหกรรม (BEIS) เป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ซึ่งจัดตั้งโดย เทเรซา เมย์ เมื่อ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 โดยจัดตั้งหลังที่เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเป็นการรวมหน่วยงานระหว่าง กระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และ ทักษะ และ กระทรวงพลังงานและการเปลื่ยนแปลงสภาวะอากาศ BEIS รับผิดชอบเกี่ยวกับ เรื่องการส่งเสริมธุรกิจ การอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม การขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานและการเปลื่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลก โดยรับโอนหน้าที่จากทั้งสองกระทรวง.

ใหม่!!: การวิจัยและกระทรวงยุทธศาสตร์ธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: การวิจัยและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (Acceptance and commitment therapy ตัวย่อ ACT) เป็นรูปแบบจิตบำบัดแบบหนึ่งของ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavior therapy) หรือ clinical behavior analysis (CBA) เป็นการแทรกแซงทางจิตวิทยาที่มีหลักฐานเชิงประสบการณ์ ด้วยวิธีให้ยอมรับ (acceptance) และมีสติ โดยผสมกันต่างจากวิธีอื่น ๆ บวกกับการให้คำมั่นสัญญาและกลยุทธ์การเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทางใจได้ วิธีนี้ในเบื้องต้นเคยเรียกว่า "comprehensive distancing" เริ่มในปี 1982 (โดย ศ. ดร. สตีเวน ซี. เฮย์ส) ตรวจสอบในปี 1985 (โดย Robert Zettle) แล้วจึงพัฒนาเป็นรูปแบบปัจจุบันในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 มีโพรโทคอลหลายอย่างสำหรับ ACT ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมหรือสถานการณ์ที่ต้องการเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องสุขภาพทางพฤติกรรม จะมีรูปแบบสั้น ๆ ที่เรียกว่า focused acceptance and commitment therapy (FACT) จุดมุ่งหมายของ ACT ไม่ใช่เพื่อกำจัดความรู้สึกที่ไม่ดี แต่ว่า ให้อยู่ได้กับสิ่งที่ตนประสบ และ "ดำเนินไปในพฤติกรรมที่มีค่า" ACT ให้คนเปิดใจต่อความรู้สึกที่ไม่ดี แล้วศึกษาเพื่อที่จะไม่มีปฏิกิริยาต่อพวกมันเกินควร และไม่หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่พวกมันเกิดขึ้น ผลการรักษาเป็นแบบเวียนก้นหอยเชิงบวก ที่ความรู้สึกที่ดีขึ้นนำไปสู่การเข้าใจความจริงที่ดีขึ้น.

ใหม่!!: การวิจัยและการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา · ดูเพิ่มเติม »

การลวงสัมผัสตะแกรงเหล็กร้อน

การลวงสัมผัสตะแกรงเหล็กร้อน (thermal grill illusion) เป็นการลวงประสาทสัมผัสที่ค้นพบในปี..

ใหม่!!: การวิจัยและการลวงสัมผัสตะแกรงเหล็กร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด (Chronostasis, จาก χρόνος, chrónos, แปลว่า "เวลา" และ στάσις, stásis, แปลว่า "หยุด") เป็นการรับรู้เวลาผิดอย่างหนึ่ง ที่เกิดความรู้สึกเมื่อเริ่มกิจกรรมใหม่ว่า เวลายืดออกไป ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกเหมือนเวลาหยุดจะเกิดขึ้นเมื่อกำลังตรึงตาที่จุด ๆ หนึ่ง แล้วทำการเคลื่อนไหวตาแบบรวดเร็วที่เรียกว่า saccade (เหลือบตา) ไปมองที่จุดที่สอง ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้มองอยู่ที่จุดที่สองเป็นระยะเวลานานกว่าที่ได้มองแล้วจริง ๆ โดยสามารถเกิดความรู้สึกเหมือนเวลายืดออกไปแบบนี้ถึง 500 มิลลิวินาที (ครึ่งวินาที) เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ขัดแย้งกับไอเดีย (หรือทฤษฎี) ที่ว่า ระบบการมองเห็นทำการจำลองเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปก่อนจะเกิดการรับรู้เหตุการณ์นั้นจริง ๆ รูปแบบของการลวงประสาทที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือ ภาพลวงตาเหมือนนาฬิกาหยุด (stopped-clock illusion) ที่หลังจากการเหลือบตาแบบ saccade ไปดูนาฬิกา การเคลื่อนไปของเข็มวินาทีเป็นครั้งแรกเหมือนจะใช้เวลานานกว่าครั้งที่สอง โดยที่เข็มวินาทีอาจจะดูเหมือนกับหยุดอยู่กับที่สักระยะหนึ่งหลังจากการเหลือบดู การแปลสิ่งเร้าผิดเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นทางหูและทางสัมผัสได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยหนึ่งบอกเป็นนัยว่า เมื่อกำลังฟังเสียงสัญญาณโทรศัพท์ที่บอกว่า โทรศัพท์เบอร์ที่โทรไปกำลังดังอยู่ ถ้ามีการสลับหูเพื่อจะฟังเสียงนั้น คนโทรจะประเมินระยะเวลาระหว่างสัญญาณโทรศัพท์ดังมากเกินไป.

ใหม่!!: การวิจัยและการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

ใหม่!!: การวิจัยและการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัยทางการพยาบาล

การวิจัยทางการพยาบาล (Nursing research) เป็นการวิจัยที่ให้หลักฐานใช้สำหรับสนับสนุนปฏิบัติการพยาบาล โดยการพยาบาล เป็นขอบเขตที่อิงหลักฐานของปฏิบัติการ ซึ่งได้รับการพัฒนาตั้งแต่ยุคของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพยาบาลเป็นจำนวนมากเป็นผู้ทำการวิจัยในมหาวิทยาลัย ตลอดจนในการกำหนดการบริการสุขภาพ การศึกษาพยาบาลให้ความสำคัญต่อการใช้หลักฐานจากการวิจัยเพื่อที่จะหาเหตุผลสำหรับการจำแนกปฏิบัติทางการพยาบาล ในประเทศอังกฤษและประเทศเวลส์ ทางสภาอาจกำหนดให้พยาบาลกระทำอย่างสมเหตุสมผลก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าการแทรกแซงของพวกเธอจะได้รับการสนับสนุนโดยการวิจัยหรือไม่ การวิจัยทางการพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในสองขอบเขต ซึ่งได้แก่.

ใหม่!!: การวิจัยและการวิจัยทางการพยาบาล · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัยขั้นทุติยภูมิ

การวิจัยขั้นทุติยภูมิ (secondary research) เป็นขั้นตอนของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการข้อมูลที่มีอยู่ เช่นการสรุปผล การวิเคราะห์ผล นอกเหนือจากการวิจัยขั้นปฐมภูมิที่มีการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาทำการวิจัย การวิจัยขั้นทุติยภูมินิยมใช้ักันมาในการวิจัยทางการตลาดและการวิจัยทางการแพทย์ โดยเฉพาะในทางการแพทย์ การวิจัยขั้นนี้จะเป็นลักษณะหลักของ systematic review โดยการนำเครื่องมือทางสถิติมาวิเคราะห.

ใหม่!!: การวิจัยและการวิจัยขั้นทุติยภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัยขั้นปฐมภูมิ

การวิจัยขั้นปฐมภูมิ (primary research) คือชนิดของการวิจัยที่ออกไปเก็บข้อมูลด้วยตนเองไม่ว่าจะทำแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม หรือการสังเกตการณ์ โดยผู้ทำวิจัยที่ดีจะมีการผสมผสานระหว่างการวิจัยขั้นปฐมภูมิและการวิจัยขั้นทุติยภูมิเข้าด้วยกันได้อย่างดี การวิจัยขั้นปฐมภูมิเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการทำวิจัย ซึ่งมีการใช้กันในหลายสาขาวิชา ไม่ว่า ทางด้านธุรกิจ ด้านวิชาการ หรืองานส่วนตัว.

ใหม่!!: การวิจัยและการวิจัยขั้นปฐมภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัยโรคมะเร็ง

รงพยาบาลมะเร็งมหาวิทยาลัยฟลอริดา การวิจัยโรคมะเร็ง (Cancer research) เป็นการวิจัยพื้นฐานด้านมะเร็งเพื่อหาสาเหตุและพัฒนากลยุทธ์สำหรับการป้องกัน, การวินิจฉัย, การรักษา และการฟื้นฟู การวิจัยโรคมะเร็งในด้านต้นกำเนิดและการพัฒนาของเชื้อโรค, ชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลเพื่อการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพในการประเมินและเปรียบเทียบประยุกต์การรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ การดำเนินเหล่านี้ประกอบด้วยศัลยศาสตร์, รังสีบำบัด, เคมีบำบัด, ฮอร์โมนบำบัด, ภูมิคุ้มกันบำบัด และรังสีบำบัดร่วม เช่น การให้เคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง โดยได้มีการเริ่มขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยมุ่งเน้นในการวิจัยโรคมะเร็งทางคลินิกขยับสู่การรักษาที่ได้มาจากการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ ดังเช่น ภูมิคุ้มกันบำบัด และยีนบำบั.

ใหม่!!: การวิจัยและการวิจัยโรคมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัยเชิงบุกเบิก

การวิจัยเชิงบุกเบิก (exploratory research) คือประเภทของการวิจัยที่ปัญหายังไม่ได้รับการนิยามหรือบ่งชี้โดยชัดเจนมาก่อน การวิจัยเชิงบุกเบิกเอื้อให้ผู้วิจัยทำการออกแบบกระบวนการขั้นตอนการวิจัย การเก็บข้อมูล และการเลือกชื่อเรื่องได้ดีที่สุด ด้วยลักษณะการวิจัยพื้นฐานแบบนี้เองที่ได้ผลการวิจัยออกมาบ่อยครั้งว่าปัญหาที่นึกคาดไว้หรือที่ตั้งเป็นสมมุติฐานไว้ว่าไม่มีอยู่จริง การวิจัยเชิงบุกเบิก มักพึ่งการวิจัยทุติยภูมิ (secondary research) เช่น การทบทวนวรรณกรรม หรือการเข้าหาปัญหาเชิงปริมาณเช่นการสอบถามหรืออภิปรายอย่างไม่เป็นทางการกับผู้บริโภค, ลูกจ้าง, ฝ่ายบริหารจัดการหรือคู่แข่ง และเข้าสู่ปัญหาที่ลึกขึ้นโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การเจาะกลุ่ม (focus groups) วิธีถามแบบเลียบเคียง กรณีศึกษา หรือการศึกษานำร่อง อินเทอร์เน็ตช่วยให้วิธีวิจัยมีความเป็นปฏิสัมพันธ์ได้มาก เช่น RSS (รูปแบบหนึ่งของเว็บฟีด) สามารถให้ข้อมูลข่าวสารสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยมาก โปรแกรมค้นหาหลักๆ เช่น กูเกิลอเลิร์ต จะส่งข้อมูลที่ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องวิจัยแก่ผู้วิจัยโดยอัตโนมัติทางอีเมล ส่วนโปรแกรมกูเกิลเทรนด์ สามารถสืบค้นข้อมูลเรื่องวิจัยที่ละเอียดเจาะจงแต่ได้ผลช้ากว่า นอกจากนี้ผู้วิจัยยังสามารถสร้างเว็บไซต์ที่เรียกว่า “บล็อก” เฉพาะของตนขึ้นเพื่อรองรับข้อมูลข่าวสารที่อาจป้อนเข้ามาถึงได้ทุกเนื้อหาวิชา ผลของการวิจัยเชิงบุกเบิกมักไม่มีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจโดยตัวของมันเอง แต่ในบางสถานการณ์ก็เป็นตัวเอื้อช่วยให้การเจาะลงลึกสู่รายละเอียดของการวิจัยแม่นยำขึ้น และแม้ว่าผลการวิจัยที่เป็นเชิงปริมาณอาจช่วยให้บ่งชี้หรือนิยามได้ชัดในระดับ “ทำไม” “อย่างไร” และ “เมื่อใด” ที่สิ่งนั้นเกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถบอกผู้วิจัยได้ว่า “บ่อยเพียงใด” หรือ “มากน้อยเท่าใด” การวิจัยเชิงบุกเบิกไม่อาจนำมาใช้ในการเป็นการทั่วไปได้ในด้านประชากรศาสตร.

ใหม่!!: การวิจัยและการวิจัยเชิงบุกเบิก · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างภาพประสาท

MRI ของศีรษะ แสดงภาพตั้งแต่ยอดจนถึงฐานของกะโหลก ภาพตามระนาบแบ่งซ้ายขวาของศีรษะคนไข้ที่มีหัวโตเกิน (macrocephaly) แบบไม่ร้ายที่สืบต่อในครอบครัว การสร้างภาพประสาท หรือ การสร้างภาพสมอง (Neuroimaging, brain imaging) เป็นการใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมของโครงสร้าง หน้าที่ หรือการทำงานทางเภสัชวิทยา ของระบบประสาท เป็นศาสตร์ใหม่ที่ใช้ในการแพทย์ ประสาทวิทยา และจิตวิทยา แพทย์ที่ชำนาญเฉพาะในการสร้างและตีความภาพสมองในสถานพยาบาลเรียกตามภาษาอังกฤษว่า neuroradiologist (ประสาทรังสีแพทย์) การสร้างภาพวิธีต่าง ๆ ตกอยู่ในหมวดกว้าง ๆ 2 หมวดคือ.

ใหม่!!: การวิจัยและการสร้างภาพประสาท · ดูเพิ่มเติม »

การผลิตยาปฏิชีวนะ

การผลิตยาปฏิชีวนะ (production of antibiotics) เป็นเรื่องที่ทำอย่างแพร่หลาย เริ่มตั้งแต่มีการค้นพบเบื้องต้นโดย ดร.

ใหม่!!: การวิจัยและการผลิตยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

การจัดการระบบวิจัย

การจัดการระบบวิจัย เป็นรูปแบบการจัดการระบบงานวิจัย ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่หลากหลาย ได้แก่ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลนโยบาย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลทุนวิจัย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ทำงานวิจัย หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการวิจัย หน่วยงานที่ต้องการผลวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ หากมองในมุมมองที่กว้าง สาธารณชนทั้งหมดอยู่ในกลุ่มผู้ต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ องค์ประกอบแต่ละส่วนของระบบการวิจัยเป็นระบบที่คล้ายมีชีวิต (organic) จึงต้องการการจัดการเชิงระบบ เพื่อทำให้ระบบวิจัยมีวิวัฒนาการไปกับส่วนอื่นๆ ของสังคมอย่างสอดคล้องเกื้อกูลกัน.

ใหม่!!: การวิจัยและการจัดการระบบวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การจำลอง

การจำลองการเคลื่อนตัวของนักบินอวกาศในอวกาศโดยทดสอบในน้ำแทนที่ การจำลอง หรือ ซีมิวเลชัน (simulation) เป็นการจำลองของสิ่งที่มีอยู่จริง เหตุการณ์ในอดีต หรือขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อชี้ชัดลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาให้ชัดเจน บางครั้งจะมีการสร้างแบบจำลองอย่างง่ายขึ้น เพื่อให้จุดเด่นจุดใดจุดหนึ่งชี้ชัดออกม.

ใหม่!!: การวิจัยและการจำลอง · ดูเพิ่มเติม »

การทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจั.

ใหม่!!: การวิจัยและการทบทวนวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณีเด็ก

การค้าประเวณีเด็ก (Prostitution of children, child prostitution) เป็นการค้าประเวณีที่เกี่ยวกับเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก เด็กในที่นี้มักจะหมายถึงผู้เยาว์ หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในเขตกฎหมายโดยมาก การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายโดยเป็นส่วนของกฎหมายห้ามการค้าประเวณีโดยทั่ว ๆ ไป การค้าประเวณีเด็กมักจะปรากฏในรูปแบบของการค้าเซ็กซ์ (sex trafficking) ที่เด็กถูกลักพาตัว หรือถูกหลอกให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าเพศ หรือว่า เป็นเซ็กซ์เพื่อการอยู่รอด ที่เด็กจะร่วมกิจกรรมทางเพศแลกเปลี่ยนกับปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อชีวิตรวมทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย การค้าประเวณีเด็กมักจะเกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และบางครั้งจะเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกัน และมีคนที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อจะเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก งานวิจัยแสดงว่า อาจจะมีเด็กมากถึง 10 ล้านคนทั่วโลกที่ค้าประเวณี โดยมีปัญหาหนักที่สุดในทวีปอเมริกาใต้และเอเชีย แต่ก็เป็นปัญหาทั่วโลก ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดว่า การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล โดยมีการรณรงค์และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติการเช่นนี้ เด็กโดยมากที่เกี่ยวข้องเป็นหญิง อาจจะอายุเพียงแค่ 4-5 ขวบ เรียนน้อยมากและถูกคนแปลกหน้าหลอกได้ง.

ใหม่!!: การวิจัยและการค้าประเวณีเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

การป่าไม้ในเมือง

การป่าไม้ในเมือง (urban forestry) หมายถึงการดูแลและจัดการต้นไม้ใหญ่ (trees) ทั้งหลายที่ขึ้นอยู่ในเขตเมืองเพื่อเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในเมืองให้ดีขึ้น การป่าไม้ในเมืองเป็นสิ่งสนุบสนุนบทบาทของต้นไม้ในฐานะเป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง นักการป่าไม้ในเมืองทำหน้าที่ปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ใหการสนับสนุนการอนุรักษ์ต้นไม้และป่า ส่งเสริมให้มีการวิจัยและแสดงให้สาธารณชนเล็งเป็นคุณประโยชน์ของต้นไม้ที่มีอยู่มากมายแก่มนุษย์ การป่าไม้ในเมืองปฏิบัติโดยรุกขกร (arborist) ของเทศบาลหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและโดยรุกขกรภาคเอกชน รวมทั้งรุกขกรสาธารณูปโภค (utility arborists) นอกจากนี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรุกขกรรมหรือการป่าไม้ในเมืองอีกหลายฝ่ายได้แก่ ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม นักผังเมือง ที่ปรึกษา นักการศึกษา นักวิจัยและนักรณรงค์ในชุมชน.

ใหม่!!: การวิจัยและการป่าไม้ในเมือง · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัส

การเข้ารหัส (encryption) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของรับบการอ่านที่เป็นภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องหรือสัญญาณอื่น โดยเกี่ยวข้องกับวิธีการทางคณิตศาสตร.

ใหม่!!: การวิจัยและการเข้ารหัส · ดูเพิ่มเติม »

ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย

นข้อมูลงานวิจัยไทย คือเครือข่ายฐานข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากงานวิจัย ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบการวิจัยและสนับสนุนการวิจัยในประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขแห่งชาติ (สวรส.) และ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ใหม่!!: การวิจัยและฐานข้อมูลงานวิจัยไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: การวิจัยและภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานระดับภาควิชา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ใหม่!!: การวิจัยและภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยไทยสุริยะ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยพัฒนา เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ “วิทยาลัยไทยเทคนิค” เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยกรุงเทพ” และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 18 ธันวาคม..

ใหม่!!: การวิจัยและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ในสหราชอาณาจักรที่มีเปิดสอนในระบบที่อิงฐานการเรียนการสอนในห้องเรียนและบนพื้นฐานของการทำวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1881 ในรูปแบบของมหาวิทยาลัยวิทยาลัย (University College) โดยเปิดสอน 3 คณะ (Faculty) ที่ประกอบด้วยภาควิชา (Department) และสำนักวิชา (School) ต่างๆรวมแล้ว 35 สาขาวิชา มหาวิทยาลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในด้านนวัตกรรมงานวิจัย โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ใน 18 มหาวิทยาลัยจากสมาชิก 19 แห่ง ติด 20 อันดับแรกของประเทศในด้านงบวิจัย และเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มความร่วมมือด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือของสหราชอาณาจักรอีกด้วย มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหราชอาณาจักรที่สามารถสร้างมหาวิทยาลัยอิสระในประเทศจีนและเป็นมหาวิทยาลัยจีน-บริติชแห่งแรกของโลก เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่เปิดสอนสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ (Oceanography) การออกแบบเมือง (Civic Design) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) และชีวเคมี (Biochemistry) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมีเงินสนับสนุนรายปีกว่า 410 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วบงบประมาณที่สนับสนุนด้านงานวิจัยถึง 150 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง.

ใหม่!!: การวิจัยและมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส

ตึกคณะนิติศาสตร์ของยูซีแอลเอ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (ยูซีแอลเอ หรือ UCLA) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่ทำการวิจัยตั้งอยู่ในเขตเวสต์วูต ของมหานครลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ยูซีแอลเอเป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาเป็นระบบของรัฐบาลและถือเป็นมหาวิทยาลัยระบบไอวีลีคของรัฐบาล มหาวิทยาลัยเปิดสอนให้แก่นักเรียนในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจำนวนกว่า 337 หลักสูตรในสาขาวิชาที่หลากหลายVazquez, Ricardo.

ใหม่!!: การวิจัยและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: การวิจัยและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

มีดโกนอ็อกคัม

หลักการของออคแคม (Ockham's Razor หรือ Occam's Razor) ถูกเสนอโดยวิลเลียมแห่งออคแคม เป็นหลักการหนึ่งในปรัชญาวิทยาศาสตร์ในการเลือกทฤษฎีที่เหมาะสมและตรงกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลอง หลักการของออคแคมนี้ถูกนำไปตีความในหลายรูปแบบ โดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวถึงหลักการของออคแคมในรูปแบบที่ง่ายที่สุดได้ว่า: "เราไม่ควรสร้างข้อสมมุติฐานเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น" หรือ "ทฤษฎีไม่ควรซับซ้อนเกินความจำเป็น" นั่นคือในกรณีที่ทฤษฎี หรือคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ มากกว่าหนึ่งรูปแบบ สามารถอธิบาย และทำนาย สิ่งที่ได้จากการสังเกตทดลอง ได้เท่าเทียมกัน หรือไม่ต่างกันมาก เราควรจะเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุด หรือซับซ้อนน้อยที่สุดนั่นเอง หลักการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างหนักแน่น จากนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หรือกาลิเลโอ กาลิเลอี ที่มองธรรมชาติเป็นสิ่งที่สวยงามดั่งศิลป.

ใหม่!!: การวิจัยและมีดโกนอ็อกคัม · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ

รายละเอียดของตัวละครจากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องกันดั้มดับเบิลโอผลงานของบริษัทซันไร.

ใหม่!!: การวิจัยและรายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตำแหน่งทางวิชาการ

ตำแหน่งทางวิชาการ คือ ตำแหน่งของบุคคลในแวดวงวิชาการสำหรับนักวิชาการ อาจารย์ หรือนักเรียนในการทำวิจัย และการสอนในสถาบันอุดมศึกษ.

ใหม่!!: การวิจัยและรายชื่อตำแหน่งทางวิชาการ · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: การวิจัยและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: การวิจัยและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ลิงอ้ายเงียะ

ลิงอ้ายเงียะ, ลิงอัสสัม หรือ ลิงภูเขา (Assam macaque) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อยู่ในอันดับวานร (ไพรเมต) มีรูปร่างอ้วนเทอะทะ แขนและขาสั้น ขนตามลำตัวมีสีเหลืองปนเทา บางตัวอาจมีสีเข้มมากจนดูคล้ายสีน้ำตาลดำ ส่วนหัวไหล่ ศีรษะ และแขนจะมีสีอ่อนกว่าสีขนบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย ขนบริเวณหัวและหางมักมีสีเทา ขนที่ไหล่มีความยาวมากกว่า 8.5 เซนติเมตร ในบางฤดูกาลผิวหนังใต้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมฟ้า มีความยาวลำตัวและหางรวม 51-63.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 20-38 เซนติเมตร น้ำหนัก 5-10 กิโลกรัม มักอาศัยในป่าบนภูเขาสูงหรือตามที่ราบสูงซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-3,500 เมตร ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ซึ่งมีเรือนยอดไม้สูงจากพื้นดินประมาณ 10-15 เมตร จากการศึกษาพบว่ามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 40- 60 ตัว ในระหว่างการหากินจะมีสมาชิกบางตัวทำหน้าที่ระวังภัยให้ฝูง โดยจะนั่งสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้ซึ่งสูงที่สุด และหากมีอันตรายเข้ามาใกล้จะส่งเสียงร้องเตือนให้หลบหนี โดยจะร้องเสียงดัง "ปิ้ว" ลิงอ้ายเงียะจัดเป็นลิงนิสัยดุร้าย สามารถกระดิกหางได้เหมือนสุนัข เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน กินอาหารประกอบไปด้วย ผลไม้ ยอดไม้อ่อน แมลง และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์พบในเนปาล ภูฏาน สิกขิมและรัฐอัสสัมของอินเดีย ภาคใต้ของจีน ภาคเหนือของพม่า ภาคเหนือของเวียดนาม ภาคตะวันตกและภาคอีสานของไทย แบ่งเป็นชนิดย่อย 2 ชนิดได้แก่ ลิงอ้ายเงียะตะวันออก (M. a. assamensis) และลิงอ้ายเงียะตะวันตก (M. a. pelops) ซึ่งแบ่งตามสองฝั่งของแม่น้ำพรหมบุตร ลิงอ้ายเงียะในประเทศไทย ปัจจุบันนี้พบได้เพียง 9 แห่งเท่านั้น ได้แก่ วัดถ้ำปลา และวัดถ้ำผาแลนิภาราม.เชียงราย, บ้านป่าไม้.เชียงใหม่, เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล.พิษณุโลก, อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน.กำแพงเพชร, เขตรักษาพันธ์ป่าอุ้มผาง.ตาก, อุทยานแห่งชาติภูเขียว.ชัยภูมิ, เขื่อนเขาแหลม และ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ.กาญจนบุรี ซึ่งถือว่าน้อยมาก ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: การวิจัยและลิงอ้ายเงียะ · ดูเพิ่มเติม »

วารสารวิชาการ

วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์นับเป็นวาสารวิชาการสาขาหนึ่ง วารสารวิชาการ (academic / scientific / scholarly journal) หมายถึงวารสารที่ตีพิมพ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอและจะต้องผ่านการตรวจคุณภาพบทความโดยผู้รู้ในสาขาวิชานั้นๆ หรือที่เรียกวารสารประเภทนี้เป็นการเฉพาะว่าวารสารผ่านการทบทวน (peer-reviewed periodical) วารสารวิชาการเป็นเวทีสำหรับการแนะนำและนำเสนอผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่หรือความเห็นทางวิชาการใหม่ๆ เพื่อรับการตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ผู้รู้ด้วยกัน ปกติเนื้อหาสาระในวารสารจะอยู่ในรูปของบทความเสนอ งานวิจัยที่มีความเริ่มแรก บทปริทัศน์ และการวิจารณ์หนังสือ งานตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพที่ไม่มีการตรวจรับคุณภาพเรียกโดยทั่วไปว่า นิตยสารวิชาชีพ (professional magazine) คำ วารสารวิชาการ ใช้กับสิ่งตีพิมพ์วิชาการทุกสาขา วารสารเหล่านี้อภิปรายถึงแง่มุมต่างๆ ในเชิงวิชาการของสาขานั้น.

ใหม่!!: การวิจัยและวารสารวิชาการ · ดูเพิ่มเติม »

วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์

ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ วารสารวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ตามกำหนดเวลา ซึ่งตั้งใจเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมักเป็นการรายงานการวิจัยใหม่ ปัจจุบันมีวารสารวิทยาศาสตร์หลายพันฉบับกำลังตีพิมพ์อยู่ และมีอีกมากที่เคยตีพิมพ์มาก่อนช่วงใดช่วงหนึ่งในอดีต วารสารส่วนใหญ่ศึกษาเฉพาะเรื่องอย่างสูง แม้วารสารเก่าแก่ที่สุดบางฉบับ เช่น เนเจอร์ จะตีพิมพ์บทความและเอกสารวิทยาศาสตร์ในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ก็ตาม วารสารวิทยาศาสตร์มีบทความซึ่งผ่านการกลั่นกรอง ในความพยายามที่จะประกันว่าบทความเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวารสาร และความถูกต้องตามวิทยาศาสตร์ แม้วารสารวิทยาศาสตร์มองเผิน ๆ แล้วจะคล้ายกับนิตยสารมืออาชีพ แต่แท้จริงแล้วทั้งสองค่อนข้างแตกต่างกันทีเดียว วารสารวิทยาศาสตร์ฉบับต่าง ๆ จะมีอ่านโดยบังเอิญน้อยครั้งนัก เพราะคนนิยมนิตยสารมากกว่า การพิมพ์ผลงานวิจัยเป็นส่วนสำคัญของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ หากงานวิจัยกำลังอธิบายถึงการทดลองหรือการคำนวณ งานเหล่านี้จะต้องให้รายละเอียดเพียงพอที่นักวิจัยอิสระจะทำการทดลองหรือการคำนวณซ้ำเพื่อพิสูจน์ผล บทความวารสารแต่ละบทนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถาวร ประวัติศาสตร์วารสารวิทยาศาสตร์เริ่มตั้งแต..

ใหม่!!: การวิจัยและวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วาซาบิ

วาซาบิ เป็นเครื่องปรุงที่ทำมาจากการบดลำต้นของพืช Canola (Japanese horseradish) จัดเป็นไม้ล้มลุกที่อยู่ในตระกูลเดียวกับพวกบรอกโคลีและกะหล่ำ เป็นสมุนไพรดั้งเดิมของญี่ปุ่น สามารถปลูกได้ทั้งบนดิน และพื้นน้ำ โดยปลูกบนพื้นน้ำจะให้คุณภาพที่ดีกว่า ในหลายประเทศมักจะเรียกวาซาบิกันผิด ๆ ว่าฮอร์สแรดิชญี่ปุ่น ฮอร์สแรดิชสีเขียว หรือแม้แต่มัสตาร์ดญี่ปุ่น.

ใหม่!!: การวิจัยและวาซาบิ · ดูเพิ่มเติม »

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skepticism, Scientific scepticism) เป็นหลักปฏิบัติในการที่จะสืบหาว่า เรื่องที่อ้างว่าเป็นจริงนั้นมีหลักฐานโดยงานวิจัยเชิงประสบการณ์ (เชิงประจักษ์) หรือไม่ สามารถทำซ้ำได้หรือไม่ เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้เป็นปกติในการ "เพิ่มขยายความรู้ที่ยืนยันได้พิสูจน์ได้" ยกตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: การวิจัยและวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (evolution of mammalian auditory ossicles) เป็นเหตุการณ์ทางวิวัฒนาการที่มีหลักฐานยืนยันดีที่สุด และสำคัญที่สุด เหตุการณ์หนึ่ง โดยมีทั้งซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) จำนวนมากและตัวอย่างที่เยี่ยมของกระบวนการ exaptation คือการเปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระหว่างวิวัฒนาการ ในสัตว์เลื้อยคลาน แก้วหูจะเชื่อมกับหูชั้นในผ่านกระดูกท่อนเดียว คือ columella ในขณะที่ขากรรไกรล่างและบนจะมีกระดูกหลายท่อนที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกชิ้นหนึ่งของขากรรไกรล่างและบน (articular และ quadrate) หมดประโยชน์โดยเป็นข้อต่อ และเกิดนำไปใช้ใหม่ในหูชั้นกลาง ไปเป็นตัวเชื่อมกับกระดูกโกลนที่มีอยู่แล้ว รวมกันกลายเป็นโซ่กระดูกสามท่อน (โดยเรียกรวมกันว่ากระดูกหู) ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และดังนั้นช่วยให้ได้ยินได้ดีกว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกหูสามท่อนนี้เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ตามลำดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกยังต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เพราะมีคอเคลียที่วิวัฒนาการเกิดขึ้น หลักฐานว่า กระดูกค้อนและกระดูกทั่งมีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับกระดูก articular และ quadrate ของสัตว์เลื้อยคลานเบื้องต้นมาจากคัพภวิทยา แล้วต่อมา การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมากมายก็ได้ยืนยันข้อสรุปนี้ โดยให้ประวัติการเปลี่ยนสภาพอย่างละเอียด ส่วนวิวัฒนาการของกระดูกโกลนจาก hyomandibula เป็นเหตุการณ์ต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน.

ใหม่!!: การวิจัยและวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิต ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์เป็นต้น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด วิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นศาสตร์ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีการวิศวกรรมที่จะควบคุมและดำเนินการผลิต ที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดผลได้ และ สามารถตรวจหาข้อผิดพลาดพร้อมสาเหตุได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ตั้งแต่อยู่ในระหว่างการผลิตได้อีกทั้งยังมีการทบทวนและตรวจสอบ ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: การวิจัยและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งแรกของประเทศไทย มีผู้จบการศึกษารุ่นแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: การวิจัยและวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

วิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์, ปริญญานิพนธ์ หรือ ดุษฎีนิพนธ์ (thesis หรือ dissertation) เป็นเอกสารที่เขียนโดยนักวิจัย นักศึกษา หรือนักวิชาการ พรรณนาขั้นตอน วิธีการ และผลการศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าวิจัยมาได้ โดยเขียนอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วิทยานิพนธ์เป็นเอกสารบังคับในการจบการศึกษา สำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการจะใช้เป็นเอกสารในการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ.

ใหม่!!: การวิจัยและวิทยานิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์เบอร์ลิน

ตราสัญลักษณ์ของศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์เบอร์ลิน อาคารศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์เบอร์ลิน ศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์เบอร์ลิน (Wissenschaftszentrum Berlin für Sozialforschung หรือย่อว่า WZB) เป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ในด้านสังคมศาสตร์ เป็นสถาบันประเภทนี้ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ศูนย์วิจัยก่อตั้งใน..

ใหม่!!: การวิจัยและศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์เบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) หรือ เนคเทค (NECTEC) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยมีหน้าที่หลักในการดำเนินการวิจัย ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในภาครัฐ รวมถึงการบริการเพื่อพัฒนา เสริมสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเท.

ใหม่!!: การวิจัยและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: การวิจัยและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมผู้คงแก่เรียน

มาคมนักปราชญ์ (learned societies) หรือ สมาคมผู้รู้ หมายถึงสมาคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและยกระดับวิชาความรู้ในสาขาวิชาการต่างๆ โดยสมาชิกภาพอาจเปิดให้บุคคลทั่วไปเป็นได้ หรืออาจจำกัดเฉพาะผู้มีคุณสมบัติตามกำหนด ดังเช่นสมาคมนักปราชญ์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศต่างๆ เช่น แอกคาเดอเมีย เดอิ ลินเซอิ (en:Accademia dei Lincei ก่อตั้ง พ.ศ. 2146 ตรงกับรัชสม้ยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช), อแคเดมี ฟรังเซส์ (en:Académie Française ก่อตั้ง พ.ศ. 2178 ตรงกับรัชสม้ยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง), ราชสมาคมแห่งลอนดอน (ก่อตั้ง พ.ศ. 2203 ตรงกับรัชสม้ยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช), โซดาลิทาส ลิทเทอรารุม วิสตูลานา (en:Sodalitas Litterarum Vistulana ก่อตั้ง พ.ศ. 2031 ตรงกับปลายรัชสม้ยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) เป็นต้น สมาคมนักปราชญ์เกือบทั้งหมดเป็นองค์การไม่แสวงกำไร กิจกรรมทั่วๆ ไป รวมถึงการจัดประชุมทางวิชาการเพื่อการนำเสนอและการอภิปรายผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ และตีพิมพ์หรือให้การอุปถัมภ์วารสารวิชาการของสาขานั้นๆ บางสมาคมทำหน้าที่เป็นองค์การวิชาชีพ เพื่อกำกับดูแลกิจกรรมของสมาชิกเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันของมวลสมาชิก สมาคมนักปราชญ์มีความสำคัญยิ่งในทางสังคมวิทยาวิทยาศาสตร์ การรวมกันก่อตั้งกันเป็นรูปสมาคมนับเป็นก้าวสำคัญที่จะก่อให้เกิดสาขาวิชาหรือแขนงวิชาใหม่ๆ ขึ้น สมาคมนักปราชญ์อาจมีลักษณะของวัตถุประสงค์เป็นแบบทั่วไปที่กว้าง เช่น สมาคมเพื่อความก้าวหน้าแห่งวิทยาศาสตร์อเมริกัน (en:American Association for the Advancement of Science ก่อตั้ง พ.ศ. 2391 ตรงกับปลายรัชสม้ยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4) หรืออาจมีวัตถุประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง เช่น สมาคมภาษาสมัยใหม่ (en: Modern Language Association) สมาคมนักปราชญ์เกือบทั้งหมดจะเป็นสมาคมแห่งประเทศที่มีสมาคมสาขาในประเทศ (แม้บางสมาคมอาจมีสาขาในประเทศอื่น) หรืออาจเป็นสมาคมนานาชาติ เช่น สหพันธ์สมาคมห้องสมุดนานาชาติ (en:International Federation of Library Associations) ในกรณีหลังนี้มักมีสมาคมสาขาในประเทศต่างๆ สมาคมนักปราชญ์ในระดับท้องถิ่นก็มีเช่นกัน เช่น สมาคมการแพทย์แมสซาชูเซตส์ ซึ่งตีพิมพ์วารสารการแพทย์แห่งนิวอิงแลนด์ที่มีชื่อเสียง.

ใหม่!!: การวิจัยและสมาคมผู้คงแก่เรียน · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบของก๊าซมีตระกูล

รประกอบของก๊าซมีตระกูล คือสารประกอบทางเคมีของธาตุในหมู่ขวาสุดของตารางธาตุ หรือกลุ่มก๊าซมีตระกูล.

ใหม่!!: การวิจัยและสารประกอบของก๊าซมีตระกูล · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว. หรือ TRF) เป็นองค์การมหาชน ประเภทจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: การวิจัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ

ำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) หรือ "อีพีเอ" เป็นหน่วยงานระดับประเทศ หรือระดับรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลปกป้องสุขภาพของมวลมนุษย์และปกป้องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งได้แก่อากาศ น้ำและแผ่นดิน EPA เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2513 จัดตั้งโดยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน โดยมีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชา หน่วยงานนี้ไม่ใช่กระทรวงแต่ผู้อำนวยการได้รับการเทียบเท่ากับรัฐมนตรี ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) คือนายสตีเฟน แอล จอห์นสัน (Stephen L. Johnson) และผู้ช่วยผู้อำนวยการคือนายมาร์คัส พีคอค พนักงานเต็มเวลาในหน่วยงานนี้มีจำนวนประมาณ 18,000 คนAlso see.

ใหม่!!: การวิจัยและสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตตัวแบบ

''Escherichia coli'' เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบที่เป็นโพรแคริโอตและแบคทีเรียแกรมลบ แมลงวันทองเป็นสัตว์ทดลองที่ใช้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ''Saccharomyces cerevisiae'' เป็นโพรแคริโอตตัวแบบที่ใช้ศึกษามากที่สุดในอณูชีววิทยาและชีววิทยาของเซลล์ สิ่งมีชีวิตตัวแบบ หรือ สิ่งมีชีวิตแบบจำลอง (model organism) เป็นสปีชีส์สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ ที่ใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ทางชีววิทยาต่าง ๆ โดยคาดหวังว่า สิ่งที่ค้นพบในแบบจำลองจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตแบบจำลองจะเป็นแบบยังมีชีวิตอยู่ และได้ใช้อย่างกว้างขวางในงานวิจัยโรคมนุษย์ที่การทดลองในมนุษย์เป็นไปไม่ได้หรือไม่ถูกจริยธรรม กลยุทธ์นี่ใช้ได้ก็เพราะสิ่งมีชีวิตทั้งหมดสืบเชื้อสายร่วมกันจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยได้อนุรักษ์วิถีเมแทบอลิซึม วิถีพัฒนาการ และกระบวนการอื่น ๆ ทางพันธุกรรมตลอดวิวัฒนาการ แม้การศึกษาสิ่งมีชีวิตตัวแบบจะให้ข้อมูลที่ดี แต่ก็ต้องระวังเมื่อประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในการวิจัยโรคมนุษย์ สิ่งมีชีวิตตัวแบบจะทำให้เข้าใจกระบวนการของโรคดีขึ้นโดยไม่ต้องเสี่ยงทำอันตรายแก่มนุษย์ สปีชีส์ที่เลือกปกติจะผ่านเกณฑ์ความสมมูลทางอนุกรมวิธาน (taxonomic equivalency) บางอย่างกับมนุษย์ คือสัตว์จะมีปฏิกิริยาทางสรีรภาพต่อโรคหรือต่อการรักษา ในรูปแบบที่คล้าย ๆ กับของมนุษย์ ถึงแม้จะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการทางชีววิทยาที่พบในสัตว์ตัวแบบจะเป็นอย่างเดียวกันในมนุษย์ แต่วิธีการรักษาและยาจำนวนมากที่ใช้ในโรคมนุษย์ ก็ได้พัฒนาอาศัยแนวคิดที่ได้จากสัตว์ตัวแบบเป็นบางส่วน มีแบบจำลองโรค 3 ประเภทหลัก ๆ คือ homologous (กำเนิดเดียวกัน), isomorphic (สมสัณฐาน) และ predictive (พยากรณ์) สัตว์จำลองแบบกำเนิดเดียวกันจะมีเหตุโรค อาการ และการรักษาเหมือนกับของมนุษย์ที่มีโรค สัตว์จำลองแบบสมสัณฐานจะมีอาการและการรักษาเหมือนกัน สัตว์จำลองแบบพยากรณ์จะมีสภาพเพียงแค่บางอย่างที่คล้ายกับมนุษย์ผู้มีโรค แต่ก็มีประโยชน์ในการคาดหมายกลไกต่าง ๆ เกี่ยวกับโร.

ใหม่!!: การวิจัยและสิ่งมีชีวิตตัวแบบ · ดูเพิ่มเติม »

สุวบุญ จิรชาญชัย

ตราจารย์ สุวบุญ จิรชาญชัย (เกิด ปี พ.ศ. 2507 -) เป็นคณบดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาสมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไท.สุวบุญ จิรชาญชัย หรือ.ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย มีความเชี่ยวชาญด้านสาขาเคมี โดยเฉพาะเรื่อง พอลิเมอร์ชีวภาพ ซุปปราโมเลกุล พอลิเมอร์สังเคราะห์ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable plastics) พอลิเมอร์เมมเบรนเซลล์ เชื้อเพลิง โดยได้สร้างผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำกว่า 80 เรื่อง เขาได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติในสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี..

ใหม่!!: การวิจัยและสุวบุญ จิรชาญชัย · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสมิธโซเนียน

อาคารสถาบันวิจัยสมิธโซเนียน หรือ "The Castle" เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบัน สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกกว่า 19 แห่ง สวนสัตว์ ศูนย์วิจัย และหน่วยงานสนามอีกมากมายอยู่ในเมืองนิวยอร์ก เวอร์จิเนีย ปานามา และที่อื่นๆ มีวัตถุสิ่งของต่างๆ ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์มากกว่า 136 ล้านชิ้น สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นตามความประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เจมส์ สมิธสัน (James Smithson; ค.ศ. 1765-1829) ซึ่งระบุพินัยกรรมว่า หากหลานชายของเขา เฮนรี เจมส์ ฮังเกอร์ฟอร์ด ไม่มีทายาท ก็ให้ยกมรดกทั้งหมดให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อก่อตั้งองค์กรที่สามารถ "เพิ่มพูนและเผยแพร่ความรู้" ให้แก่มนุษยชาติ ปี..

ใหม่!!: การวิจัยและสถาบันสมิธโซเนียน · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ดำเนินงานวิจัยทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและประเด็นศึกษาเกี่ยวกัปทวีปเอเชีย และมีภารกิจในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมในหลายรูปแบบ และมีบทบาทในการให้ความเข้าใจเชิงวิชาการแก่สังคมในประเด็นอันเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์หลายครั้ง.

ใหม่!!: การวิจัยและสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

หญ้ามิสแคนทัสช้าง

หญ้ามิสแคนทัสช้าง (Miscanthus giganteus) เป็นหญ้ามิสแคนทัสชนิดพืชหลายฤดูชนิดหนึ่ง (perennial grass) ขนาดใหญ่ (ที่สามารถสูงได้ถึง 4 เมตร) ที่นำมาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ปัจจุบันมีการผลิตเชิงการค้าในสหราชอาณาจักรซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดที่เพิ่มกำลังเพิ่มอย่างรวดเร็ว นอกจากการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าและความร้อนที่มีราคาประหยัดแล้ว หญ้ามิสแคนทัสช้างยังเป็นพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ด้วยระบบรากที่มีขนาดใหญ่มันจึงสามารถหาอาหารได้ดีกว่า นอกจากนี้ลำต้นส่วนล่างที่สูงยังใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ ตามธรรมชาติได้ดีด้วย การให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงและไม่ต้องการการดูแลมาก หญ้ามิสแคนทัสช้างจึงมีความเหมาะสมมากในการเก็บกักคาร์บอนและใช้ในการสร้างดิน.

ใหม่!!: การวิจัยและหญ้ามิสแคนทัสช้าง · ดูเพิ่มเติม »

หลักฐานเชิงประสบการณ์

หลักฐานเชิงประสบการณ์"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ empirical ว่า "เชิงประสบการณ์" หรือ "เชิงประจักษ์" (Empirical evidence, empirical data, sense experience, empirical knowledge, a posteriori) หรือ หลักฐานเชิงประจักษ์ หรือ ข้อมูลประจักษ์ หรือ ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส หรือ ความรู้เชิงประจักษ์"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ empirical knowledge ว่า "ความรู้เชิงประจักษ์" หรือ "ความรู้เชิงประสบการณ์" หรือ ความรู้เชิงประสบการณ์ เป็นแหล่งความรู้ที่ได้ผ่านการสังเกตการณ์และการทดลอง ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "empirical" มาจากภาษากรีกโบราณว่า "ἐμπειρία" (empeiría) ซึ่งแปลว่าประสบการณ์ หลักฐานเชิงประสบการณ์เป็นข้อมูลที่ใช้พิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับความเชื่อ หรือพิสูจน์ความเท็จในข้ออ้าง ในมุมมองของนักประสบการณ์นิยม เราจะสามารถอ้างว่ามีความรู้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อที่เป็นจริงอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ ซึ่งไม่เหมือนกับมุมมองของนักเหตุผลนิยมว่า เพียงเหตุผลหรือการครุ่นคิดไตร่ตรองก็เพียงพอที่จะเป็นหลักฐานแสดงความจริงหรือความเท็จของข้ออ้าง ประสาทสัมผัสเป็นแหล่งความรู้หลัก (แหล่งความรู้ปฐมภูมิ) ของหลักฐานเชิงประสบการณ์ ถึงแม้ว่าหลักฐานอื่น ๆ เช่นความจำและคำให้การของผู้อื่นอาจจะมาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสในที่สุด แต่ว่านี้ก็ยังถือว่าเป็นแหล่งความรู้ทุติยภูมิหรือเป็นแหล่งความรู้โดยอ้อม อีกนัยหนึ่ง คำว่า "empirical evidence" อาจใช้เป็นไวพจน์ของผลการทดลอง โดยนัยนี้ คำว่า ผลเชิงประจักษ์ (empirical result) หมายถึงผลที่ยืนยันสมมุติฐาน (ความเชื่อ ข้ออ้าง) โดยรวม ๆ ส่วนคำว่า semi-empirical (กึ่งประจักษ์) หมายถึงระเบียบวิธีในการคิดค้นทฤษฎีที่ใช้สัจพจน์พื้นฐาน หรือกฎวิทยาศาสตร์และผลทางการทดลอง วิธีการเช่นนี้ไม่เหมือนกับวิธีที่เรียกว่า ab initio ซึ่งหมายถึงวิธีที่ใช้การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive reasoning) อาศัยปฐมธาตุ (first principle) ซึ่งทางวิทยาศาสตร์หมายถึงงานทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่มีฐานจากกฎวิทยาศาสตร์ที่มีหลักดีแล้ว ที่ไม่ต้องใช้ข้อสมมุติอย่างเช่นรูปแบบเชิงประจักษ์ (empirical model) ในเรื่องการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ หลักฐานเชิงประสบการณ์เป็นเรื่องจำเป็นก่อนที่สมมุติฐานใดสมมุติฐานหนึ่งจะได้การยอมรับจากชุมชนนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้น งานทางวิทยาศาสตร์จะต้องผ่านการตรวจสอบผ่านวงจรที่เป็นระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์รวมทั้งการสร้างสมมุติฐาน การออกแบบการทดลอง การปริทัศน์จากผู้ชำนาญในสาขา (peer review) การปริทัศน์จากผู้มีความเห็นไม่ตรงกัน (adversarial review) การทำซ้ำผลการทดลอง (reproduction) การแสดงผลในงานประชุม และการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะผ่านกระบวนการเช่นนี้ ผู้ทำงานจะต้องสื่อสารแสดงสมมุติฐานที่ชัดเจน (บ่อยครั้งแสดงเป็นสูตรคณิต) แสดงขอบเขตจำกัดของการทดลองและกลุ่มควบคุม (บางครั้งจำเป็นต้องแสดงว่าใช้เครื่องมืออะไรบ้าง) และใช้วิธีการวัดการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐาน ประพจน์ (statement) หรือข้ออ้าง (argument) ที่พิสูจน์อาศัยหลักฐานเชิงประสบการณ์เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า a posteriori (แปลว่า มาจากทีหลัง) โดยเปรียบเทียบกับคำว่า a priori (แปลว่า มาจากก่อนหน้า) ความรู้หรือการให้เหตุผลแบบ a priori ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ (ยกตัวอย่างเช่น "คนโสดทุกคนไม่มีคู่แต่งงาน") เทียบกับความรู้หรือการให้เหตุผลแบบ a posteriori ที่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ (เช่น "คนโสดบางคนมีความสุขมาก") การแยกแยะระหว่างความรู้ที่เป็น a priori และ a posteriori ก็เป็นเช่นการแยกแยะระหว่างความรู้ที่ไม่อาศัยประสบการณ์ (ไม่อาศัยหลักฐาน) กับความรู้ที่อาศัยประสบการณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากหนังสือ Critique of Pure Reason (บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล) ของนักปรัชญาทรงอิทธิพลอิมมานูเอล คานต์ มุมมองของปฏิฐานนิยม (positivism) ก็คือการสังเกตการณ์ ประสบการณ์ และการทดลอง เป็นตัวตัดสินที่เป็นกลางระหว่างทฤษฎีต่าง ๆ ที่แข่งขันกัน แต่ว่า ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960, ก็เกิดบทวิจารณ์ที่ยังไม่สามารถลบล้างที่เสนอว่า กระบวนการเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อและประสบการณ์ที่มีมาก่อน ๆ ดังนั้น จึงไม่สามารถหวังได้ว่า นักวิทยาศาสตร์สองท่านที่มีการสังเกตการณ์ มีประสบการณ์ และทำการทดลองร่วมกัน จะสามารถทำการสังเกตการณ์ที่เป็นกลางต่อทฤษฎีต่าง ๆ โดยเหมือน ๆ กัน นั่นก็คือ บทบาทของการสังเกตการณ์โดยเป็นตัวตัดสินที่เป็นกลางต่อทฤษฎีต่าง ๆ อาจจะเป็นไป what the fack.

ใหม่!!: การวิจัยและหลักฐานเชิงประสบการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์ (27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410 ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอ.

ใหม่!!: การวิจัยและหลุยส์ ปาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

หล่อฮังก๊วย

หล่อฮังก๊วย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เป็นพืชพืนเมืองของทางตอนใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง ในการแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้ สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม..

ใหม่!!: การวิจัยและหล่อฮังก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกดะลา

มองมนุษย์แบ่งหน้าหลัง อะมิกดะลามีสีแดงเข้ม อะมิกดะลา (พหูพจน์: amygdalae ออกเสียงว่า เอกพจน์: amygdala หรือ corpus amygdaloideum มาจาก ἀμυγδαλή, amygdalē, แปลว่า อัลมอนด์, ทอนซิล แสดงไว้ในตำรากายวิภาคของเกรย์ ว่า nucleus amygdalæ) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสรูปอัลมอนด์ ฝังลึกอยู่ในสมองกลีบขมับส่วนกลาง (medial temporal lobe) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ซับซ้อนรวมทั้งมนุษย์ด้วย อะมิกดะลามีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการในระบบความจำ กับในการตอบสนองโดยความรู้สึก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก.

ใหม่!!: การวิจัยและอะมิกดะลา · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี เล็นยา

อะแพชี เล็นยา (Apache Lenya) เป็นระบบจัดการเนื้อหา (CMS) ที่เป็นโอเพนซอร์สในรูปแบบภาษาจาวาและเอกซ์เอ็มแอล ทำงานอยู่บนเฟรมเวิร์กจัดการเนื้อหา (content management framework) ที่ชื่อ อะแพชี เคอคูน (Apache Cocoon) ลักษณะสำคัญประกอบด้วยการควบคุมการปรับปรุงแก้ไข (revision control), การจัดกำหนดการ (scheduling), ความสามารถในการสืบค้น, การรองรับกระแสงาน (workflow) และตัวแก้ไขแบบ WYSIWYG บนเบราว์เซอร.

ใหม่!!: การวิจัยและอะแพชี เล็นยา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับมหาวิทยาลัยไทย

อันดับมหาวิทยาลัยไทยจากมุมมองของนานาชาติหลากหลายสำนัก สามารถทำให้เห็นภาพรวมและศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยในสังคมโลกยุคปัจจุบัน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเพื่อให้ทัดเทียมนานาอารยประเท.

ใหม่!!: การวิจัยและอันดับมหาวิทยาลัยไทย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ และมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยแจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนั้น การจัดอันดับนี้ใช้ชื่อว่า "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" ได้แบ่งหัวข้อการจัดอันดับออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ ด้านการวิจัย และ ด้านการเรียนการสอน ได้จัดทำออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ อันดับในภาพรวมแบ่งแยกตามมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็นกลุ่ม และอันดับแบ่งแยกย่อยในแต่ละสาขาวิชา โดยแบ่งออกเป็น 7 สาขาวิชาย่อย ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์ (2) สาขาเทคโนโลยี (3) สาขาชีวการแพทย์ (4) สาขามานุษยวิทยาและศิลปกรรมศาสตร์ (5) สาขาสังคมศาสตร์ (6) สาขาเกษตร (7) สาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร.

ใหม่!!: การวิจัยและอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

อาการคันต่างที่

อาการคันต่างที่ (Referred itch, mitempfindungen) เป็นปรากฏการณ์ที่การเร้าร่างกายที่ส่วนหนึ่งกลับรู้สึกคันหรือระคายที่อีกส่วนหนึ่ง อาการนี้ไม่ค่อยมีอันตราย แต่อาจน่ารำคาญ โดยคนที่สุขภาพดีก็มีอาการได้เหมือนกัน สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการเริ่มตั้งแต่แรงกดที่ผิวหนัง การขูด การทำให้ระคาย จนไปถึงการดึงขน แต่ความคันต่างที่ไม่ควรเจ็บ มันมักจะเป็นความเหน็บชาที่น่ารำคาญซึ่งอาจทำให้รู้สึกว่าควรเกา ทั้งสิ่งเร้าและความคันต่างที่ จะเกิดในร่างกายซีกเดียวกัน (ipsilateral) และเพราะการเกาหรือการกดส่วนที่คันต่างที่ไม่ได้ทำให้บริเวณที่เร้าตอนแรกคัน ความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณที่เร้าและบริเวณที่คันต่างที่จึงเป็นไปในทางเดียว (unidirectional) ความคันจะเกิดเองและอาจหยุดแม้จะเร้าอีกที่หนึ่งต่อไปเรื่อย ๆ อาการคันต่างที่มีสองอย่าง คือ แบบปกติ และแบบได้ทีหลัง (เพราะโรค) อาการธรรมดามักจะพบตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ และจะคงยืนเกือบตลอดหรือไม่ก็ตลอดชีวิต ส่วนอาการที่ได้ทีหลังเป็นผลจากความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลาง และจะคงยืนเพียงแค่ระยะหนึ่ง อาการจะต่างกันระหว่างบุคคล แต่โดยทั่วไปจะไม่เกิดที่ฝ่าเท้า ฝ่ามือ และใบหน้า ปัจจัยทางพันธุกรรมดูจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็มีงานศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ ซึ่งแสดงว่ามีชายคนหนึ่งที่ลูก ๆ ของเขาก็เป็นด้วย กลไกทางสรีรภาพที่เป็นเหตุยังไม่ชัดเจน และก็ยังไม่มีทฤษฎีใดที่ได้การยอมรับอย่างทั่วไป งานวิจัยและข้อมูลเกี่ยวกับอาการจะค่อนข้างจำกัดและเก่า งานวิจัยในเรื่องนี้โดยมากได้ทำในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และงานที่ตีพิมพ์ล่าสุดเกิดเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 มีงานศึกษาจำนวนหนึ่งที่ทำในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ดี จะต้องรวบรวมและไขข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่สมบูรณ.

ใหม่!!: การวิจัยและอาการคันต่างที่ · ดูเพิ่มเติม »

ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีผลมากต่อโครงสร้าง หน้าที่การทำงาน และการรู้คิดของสมอง งานวิจัยในมนุษย์จำนวนมากแสดงว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (จากเบาถึงหนักที่ใช้กระบวนการสร้างพลังงานโดยออกซิเจน) โดยอย่างน้อย 30 นาทีทุกวันปรับปรุงการทำงานของสมอง โดยปรับหน้าที่การรู้คิด (cognitive function) การแสดงออกของยีน และสภาพพลาสติกทางประสาท (neuroplasticity) และพฤติกรรมที่มีผลดี ผลที่ได้ในระยะยาวรวมทั้งการเกิดเซลล์ประสาท (neurogenesis) ที่เพิ่มขึ้น, การทำงานทางประสาทที่ดีขึ้น (เช่นในการส่งสัญญาณแบบ และ BDNF), การรับมือกับความเครียดที่ดีขึ้น, การควบคุมพฤติกรรมที่ดีขึ้น, ความจำชัดแจ้ง (declarative) ความจำปริภูมิ (spatial) ความจำใช้งาน (working) ที่ดีขึ้น, และการปรับปรุงทางโครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างสมองและวิถีประสาทที่สัมพันธ์กับการควบคุมการรู้คิดและความจำ ผลการออกกำลังกายต่อความรู้คิดอาจช่วยการเรียนหนังสือในนักเรียนนักศึกษา เพิ่มผลิตผลการทำงาน ช่วยรักษาการทำงานของสมองในคนแก่ ป้องกันหรือบำบัดความผิดปกติทางประสาทแบบต่าง ๆ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไป คนที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ (เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ และขี่จักรยาน) ได้คะแนนดีกว่าเมื่อตรวจสอบการทำงานทางประสาทจิตวิทยาที่วัดหน้าที่การรู้คิดบางอย่าง เช่น การควบคุมการใส่ใจ การหยุดพฤติกรรมอัตโนมัติเพื่อทำสิ่งที่ได้ผลกว่า (inhibitory control) ความยืดหยุ่นทางการรู้คิด ความจำใช้งานในด้านการอัพเดตและความจุ ความจำชัดแจ้ง ความจำปริภูมิ และความเร็วในการประมวลข้อมูล การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังเป็นยาแก้ซึมเศร้าและยาทำให้ครึ้มใจอีกด้วย ดังนั้น การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะปรับปรุงอารมณ์และความภูมิใจในตนเอง (self-esteem) ให้ดีขึ้นโดยทั่วไป.

ใหม่!!: การวิจัยและผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย · ดูเพิ่มเติม »

ผาสุก พงษ์ไพจิตร

ตราจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย เป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร หรือ ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร จบการศึกษาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย และได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เคยได้รับการรับเชิญไปสอนยังมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ในปี 2554.ดร.ผาสุก มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้เขียนรายงานการวิจัยและหนังสือหลายฉบับเกี่ยวกับการทุจริตในประเทศไทย โดยได้ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2552 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับตำแหน่งเป็นเมธีวิจัยอาวุโสประจำ สกว.

ใหม่!!: การวิจัยและผาสุก พงษ์ไพจิตร · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ไมนอต

อร์จ ริชาดส์ ไมนอต (George Richards Minot; 2 ธันวาคม ค.ศ. 1885 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950) เป็นแพทย์และนักวิจัยชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองบอสตัน เป็นบุตรของเจมส์ แจ็กสัน ไมนอตและเอลิซาเบธ ไมนอต ไมนอตเรียนที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ก่อนจะทำงานที่ห้องปฏิบัติการที่โรงเรียนแพทย์จอห์นส ฮ็อปกินส์ ต่อมาไมนอตทำงานที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์และเริ่มศึกษาภาวะโลหิตจาง ในปี..

ใหม่!!: การวิจัยและจอร์จ ไมนอต · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: การวิจัยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

จุดภาพชัดเสื่อม

ัดเสื่อม (macular degeneration) หรือ จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (age-related macular degeneration ตัวย่อ AMD, ARMD) เป็นโรคที่ทำให้มองไม่ชัดหรือมองไม่เห็นที่กลางลานสายตา เริ่มแรกสุดบ่อยครั้งจะไม่มีอาการอะไร ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บางคนจะมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ ที่ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แม้จะไม่ทำให้ตาบอดโดยสิ้นเชิง การมองไม่เห็นในส่วนกลางก็จะทำให้กิจกรรมในชีวิตต่าง ๆ ทำได้ยากรวมทั้งจำหน้าคน ขับรถ อ่านหนังสือเป็นต้น การเห็นภาพหลอนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ใช่เป็นส่วนของโรคจิต จุดภาพชัดเสื่อมปกติจะเกิดกับคนสูงอายุ ปัจจัยทางพันธุกรรมและการสูบบุหรี่ก็มีผลด้วย เป็นอาการเนื่องกับความเสียหายต่อจุดภาพชัด (macula) ที่จอตา การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจตา ความรุนแรงของอาการจะแบ่งออกเป็นระยะต้น ระยะกลาง และระยะปลาย ระยะปลายยังแบ่งออกเป็นแบบแห้ง (dry) และแบบเปียก (wet) โดยคนไข้ 90% จะเป็นแบบแห้ง การป้องกันรวมทั้งการออกกำลังกาย ทานอาหารให้ถูกสุขภาพ และไม่สูบบุหรี่ วิตามินต่อต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุดูเหมือนจะไม่ช่วยป้องกัน ไม่มีวิธีแก้หรือรักษาการเห็นที่สูญไปแล้ว ในรูปแบบเปียก การฉีดยาแบบ anti-VEGF (Anti-vascular endothelial growth factor) เข้าที่ตา หรือการรักษาอื่น ๆ ที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการยิงเลเซอร์ (laser coagulation) หรือ photodynamic therapy อาจช่วยให้ตาเสื่อมช้าลง อาหารเสริมรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุสำหรับคนไข้ที่มีโรคอาจช่วยชะลอความเสื่อมด้วย ในปี 2015 โรคนี้มีผลต่อคนไข้ 6.2 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2013 มันเป็นเหตุให้ตาบอดเป็นอันดับสี่หลังต้อกระจก การเกิดก่อนกำหนด และต้อหิน มันเกิดบ่อยที่สุดในผู้มีอายุเกิน 50 ปีในสหรัฐอเมริกา และเป็นเหตุเสียการเห็นซึ่งสามัญที่สุดในคนกลุ่มอายุนี้ คนประมาณ 0.4% ระหว่างอายุ 50-60 ปีมีโรคนี้ เทียบกับ 0.7% ของคนอายุ 60-70 ปี, 2.3% ของคนอายุ 70-80 ปี, และ 12% ของคนอายุเกิน 80 ปี.

ใหม่!!: การวิจัยและจุดภาพชัดเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี

ซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นและประดิษฐ์เวิลด์ไวด์เว็บ เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ เวิลด์ไวด์เว็บ ผู้อำนวยการWorld Wide Web Consortium (ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาต่อเนื่องใหม่ ๆ เกี่ยวกับเว็บ) นักวิจัยอาวุโสและผู้นั่งในตำแหน่ง ทรีคอมฟาวน์เดอร์สแชร์ (3Com Founders Chair) ที่หอทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แห่งเอ็มไอที (CSAIL).

ใหม่!!: การวิจัยและทิม เบอร์เนิร์ส-ลี · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: การวิจัยและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ดาบปลายปืน เอ็ม 9

ปลายปืนเอ็ม 9 และฝักดาบ ดาบปลายปืนรุ่น เอ็ม 9 (M9) เป็นมีดอเนกประสงค์และดาบปลายปืน นำมาใช้โดยสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 (1984) มันมีฝักดาบที่มีลักษณะพิเศษโดยสามารถนำไปใช้เป็นตัวตัดลวดได้ ผู้ที่ประดิษฐ์และพัฒนาดาบปลายปืนนี้คือชารล์ส เอ. "มิคกี้" ฟินน์ (Charles A. "Mickey" Finn) ภายใต้สังกัดของบริษัทวิจัยและพัฒนาของเขาเองบริษัทควาล-เอ-เท็ค (Qual-A-Tec) ซึ่งต่อมาเขาได้ทำการผลิตดาบปลายปืนรุ่นนี้ภายใต้สังกัดของโฟรบิสทรี (Phrobis III) เมื่อกองทัพได้ทำสัมปทานให้ทำการผลิตดาบปลายปืนรุ่นนี้ออกมา 325,000 เล่ม ส่วนบริษัทผู้ผลิตดาบปลายปืนรุ่นนี้ในเชิงพาณิชย์ภายใต้ชื่อทางการค้าของตนเองคือบริษัทบัคไนฟ์ (Buck Knife Company) นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบดาบปลายปืน เอ็ม 9 หรือมีดรุ่นบัคมาสเตอร์ (Buckmaster) ซึ่งเป็นรุ่นต่อมาของเอ็ม 9 เลย โดยที่มีดและดาบปลายปืนทุกรุ่นนั้นถูกออกแบบโดยตัวผู้ประดิษฐ์ดั้งเดิมหรือมิคกี้ ฟินน์นั่นเอง ดาบปลายปืนเอ็ม 9 ภายใต้การออกแบบของฟินน์นั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นที่นิยมอย่างมาก และทำให้ถูกนำไปการลอกเลียนแบบอย่างแพร่หลายในประเทศอื่นๆ ซึ่งในเวลาต่อมาการลอกเลียนแบบเหล่านี้ผิดกฎหมาย หลังจากที่ฟินน์ได้ทำการจดสิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข #4622707 ซึ่งช่วยหยุดวงจรการผลิตมีดลอกเลียนแบบได้บางส่วน แต่ยังคงมีการลอกเลียนแบบอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งในบางประเทศก็มีการขายมีดลอกเลียนแบบนี้อย่างถูกกฎหมาย หลังจากที่สัมปทานในการผลิตดาบปลายปืนระหว่างโฟรบิสทรีกับรัฐบาลสหรัฐฯ ได้สิ้นสุดลง สิทธิทางปัญญาของแบบดาบปลายปืนรุ่นนี้ก็ตกเป็นของกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งได้มอบสิทธิ์ให้กับหลายบริษัทในการผลิตมีดรุ่นแปลงมาจากเอ็ม 9 หลายต่อหลายรุ่นด้วยกัน ดาบปลายปืนเอ็ม 9 ถือว่าเป็นอาวุธประจำการของกองทัพบกสหรัฐฯ (รวมถึงสังกัดทางหหารส่วนอื่นด้วย แต่ไม่รวมไปถึงนาวิกโยธินสหรัฐฯ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ) และกองทัพในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก มีดรุ่นนี้ยังถูกนำไปจำหน่ายในเชิงพาณิชย์อีกด้วย ในบรรดารุ่นที่มีแบบมาจากเอ็ม 9 ที่ถูกผลิตขึ้น บางรุ่นจะมีร่องดาบ (หรือฟุลเลอร์ - Fuller พิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติทำให้เลือดที่มาจากการทิ่มแทงไหลออกไปได้โดยง่าย) แต่ในบางรุ่นจะไม่มี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ได้รับสัมปทานในการผลิตดาบปลายปืนในล็อตหนึ่งๆ และสเป็คที่ทางกองทัพได้กำหนดมาให้ในขณะนั้น ดาบปลายปืนเอ็ม 9 นั้นแต่เดิมถูกผลิตมาเพื่อแทนที่ดาบปลายปืนรุ่นเอ็ม 6 (M6) และเอ็ม 7 (M7) ซึ่งได้เข้าเป็นอาวุธประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 (1957) และ 2507 (1964) ตามลำดับ แต่ต่อมาพบว่ามันได้เข้าแทนที่อาวุธประจำการในบางสังกัดเท่านั้น ทั้งนี้ทหารส่วนมากเลือกที่จะยังคงใช้ดาบปลายปืนรุ่นเอ็ม 7 เนื่องจากดาบปลายปืนรุ่นเอ็ม 9 นั้นหักและชำรุดได้ง่ายกว่าดาบปลายปืนรุ่นก่อนมาก เพราะใบมีดที่มีลักษณะค่อนข้างบาง และมีคุณภาพแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ได้รับสัมปทานในการผลิต ตัวอย่างของดาบปลายปืนรุ่นต่อมาที่ถูกดัดแปลงมาจากดาบปลายปืนรุ่นเอ็ม 9 ได้แก่ดาบปลายปืนรุ่น เอ็ม 11 อีโอดี (M11 EOD - Explosive ordnance disposal) ซึ่งถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้ในการกำจัดวัตถุระเบิด ซึ่งมีส่วนประกอบพิเศษเพิ่มเข้ามาเช่นหัวกลมที่ด้ามดาบที่ใช้แทนค้อนได้ แต่ดาบปลายปืนรุ่นนี้ยังคงใช้ใบมีดและฝักดาบเหมือนกับเอ็ม 9 บริษัทผู้ผลิตดาบปลายปืนรุ่นเอ็ม 9 หลักๆ นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 บริษัทได้แก่บริษัทผู้รับสัมปทานของผู้ผลิตดั้งเดิมคือบริษัทโฟรบิส, บริษัทที่ได้รับสัมปทานมาจากโฟรบิสอีกทีในระหว่างช่วงรับสัมปทานแรกคือบริษัทบัค, บริษัทแลนเคย์ (LanCay) และบริษัทออนตาริโอ (Ontario) โดยที่บริษัทผู้ออกแบบคือบริษัทควาล-เอ-เท็ค โดยบริษัทนี้ได้ทำการก่อตั้งบริษัทลูกเพื่อทำสัมปทานกับรัฐบาลสหรัฐฯ อีกที คือบริษัทโฟรบิสนั่นเอง สัมปทานเริ่มต้นขึ้นในปี..

ใหม่!!: การวิจัยและดาบปลายปืน เอ็ม 9 · ดูเพิ่มเติม »

ดนัย ทายตะคุ

ร.ดนัย ทายตะคุ (3 มีนาคม) ภูมิสถาปนิกและนักวิจัย ผู้บุกเบิกและผู้เชี่ยวชาญแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์นิเวศวิทยา นับว่าเป็นคนแรกของประเทศไทย จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2520 หลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2526 แล้ว ได้เริ่มทำงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 5 ปี จึงศึกษาต่อปริญญาโทสาขาภูมิสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสหรัฐอเมริกา ได้รับปริญญา Master of Landscape Architecture เมื่อปี พ.ศ. 2533 และศึกษาต่อปริญญาเอกสาขาการวางแผนสิ่งแวดล้อมที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ปี พ.ศ. 2542กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม และได้ดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรปริญญาโทในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การวิจัยและดนัย ทายตะคุ · ดูเพิ่มเติม »

คริส เบเคอร์

ริส เบเคอร์ (Chris Baker) หรือชื่อเต็มว่า คริสโตเฟอร์ จอห์น เบเคอร์ (ภาษาอังกฤษ: Christopher John Baker) เป็นนักเขียน บรรณาธิการวารสารสยามสมาคม และนักวิจัยอิสระ เขาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลามากกว่า 20 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ผลงานที่เป็นที่รู้จักคือหนังสือ A History of Thailand, Thaksin: The Business of Politics in Thailand, Thailand's Boom and Bust and Thailand's Crisis ซึ่งหนังสือดังกล่าวทั้งหมดเขียนร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: การวิจัยและคริส เบเคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความล้มเหลว

Montparnasse ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1895) ความล้มเหลว (บางบริบทใช้ ความขัดข้อง) หมายถึงสถานะหรือสภาวะที่ไม่ประสบกับจุดมุ่งหมายดังที่ต้องการหรือที่ตั้งใจ และอาจมองได้ว่ามีความหมายตรงข้ามกับความสำเร็จ ความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์มีความหมายกว้างครอบคลุมตั้งแต่ความล้มเหลวในการขายผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการแตกหักของผลิตภัณฑ์ ในกรณีเลวร้ายที่สุดอาจทำให้บุคคลบาดเจ็บล้มตาย ซึ่งเป็นขอบเขตหนึ่งของการศึกษานิติวิศวกรรม (forensic engineering).

ใหม่!!: การวิจัยและความล้มเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ความสมเหตุสมผลภายนอก

วามสมเหตุสมผลภายนอก (External validity) เป็นความสมเหตุผลในการอนุมานเหตุผลโดยอุปนัย (inductive inference) ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยปกติอาศัยข้อมูลที่ได้จากการทดลองที่สมเหตุสมผลทางสถิติ กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นขอบเขตที่ผลงานศึกษาจะสามารถใช้ได้ (คือเป็นจริง) โดยทั่วไปในสถานการณ์อื่น ๆ และกับคนอื่น ๆ นอกงานวิจัย ยกตัวอย่างเช่น การอนุมานโดยอุปนัยอาศัยงานศึกษาจิตบำบัดแบบเปรียบเทียบ (comparative psychotherapy) จะต้องทดลองกับตัวอย่างบุคคลที่เฉพาะเจาะจง (เช่น เป็นอาสาสมัคร มีความซึมเศร้าระดับสูง ไม่มีโรคหรืออาการอย่างอื่น) คำถามก็คือว่า ถ้าจิตบำบัดเช่นนี้ประสบผลสำเร็จในตัวอย่างคนไข้เช่นนี้ มันจะมีประสิทธิภาพกับผู้ไม่ใช่อาสาสมัคร หรือผู้มีความซึมเศร้าเล็กน้อย หรือผู้มีโรคหรืออาการอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ข้อจำกัดมีหลายอย่างรวมทั้ง.

ใหม่!!: การวิจัยและความสมเหตุสมผลภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

ความสมเหตุสมผลทางนิเวศ

ในงานวิจัย ความสมเหตุสมผลทางนิเวศ (ecological validity) ของงานศึกษาหมายความว่า วิธีการ วัสดุสิ่งของ และสิ่งแวดล้อมที่ใช้ในงาน ต้องคล้ายกับสถานการณ์จริงในโลกที่เป็นประเด็นการศึกษา แต่ว่าโดยไม่เหมือนกับความสมเหตุผลภายในและภายนอก ความสมเหตุสมผลทางนิเวศไม่จำเป็นสำหรับความสมเหตุสมผลทางสถิติของงาน.

ใหม่!!: การวิจัยและความสมเหตุสมผลทางนิเวศ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ใหม่!!: การวิจัยและความจำ · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงในการตีพิมพ์

วามเอนเอียงในการตีพิมพ์ (ผลงานวิจัย) (Publication bias) เป็นความเอนเอียง (bias) ในประเด็นว่า ผลงานวิจัยอะไรมีโอกาสมากกว่าที่จะได้รับการตีพิมพ์ ในบรรดางานทั้งหมดที่ได้ทำ ความเอนเอียงโดยธรรมชาติแล้วไม่ได้เป็นปัญหาทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ความเอนเอียงในการที่จะไม่ตีพิมพ์เรื่องไม่จริงเป็นความเอนเอียงที่พึงปรารถนา แต่ความเอนเอียงที่เป็นปัญหาก็คือความโน้มน้าวที่นักวิจัย บรรณาธิการ และบริษัทผลิตยา มักจะมีความประพฤติกับผลงานทดลองที่เป็น "ผลบวก" (คือ แสดงว่าประเด็นการทดลองมีความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) แตกต่างจากงานทดลองที่เป็น "ผลลบ" (null result หรือผลว่าง คือ ประเด็นการทดลองไม่มีความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) หรือว่าไม่มีความชัดเจน ซึ่งนำไปสู่ความเอนเอียงที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องนั้น ที่มีในบรรดางานที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งหมด ความเอนเอียงนี้มักจะเป็นไปในทางการรายงานผลที่มีนัยสำคัญ แม้ว่าจริง ๆ แล้วงานทดลองที่แสดงนัยสำคัญไม่ได้มีคุณภาพการออกแบบการทดลองที่ดีกว่างานทดลองที่แสดงผลว่าง คือ ได้เกิดการพบว่า ผลที่มีนัยสำคัญมีโอกาสที่จะได้รับการตีพิมพ์มากกว่าผลที่แสดงผลว่างมากกว่าถึง 3 เท่า และก็มีการพบด้วยว่า เหตุผลสามัญที่สุดของการไม่ตีพิมพ์ผลงานก็คือผู้ทำงานวิจัยปฏิเสธที่จะเสนอผลงานเพื่อพิมพ์ (เพราะว่า ผู้ทำงานวิจัยหมดความสนใจในประเด็นนั้น หรือว่าคิดว่า ผู้อื่นจะไม่สนใจในผลว่าง หรือเหตุผลอื่น ๆ) ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงถึงบทบาทของนักวิจัยในปรากฏการณ์ความเอนเอียงในการตีพิมพ์นี้ เพื่อที่จะพยายามลดปัญหานี้ วารสารแพทย์ที่สำคัญบางวารสารเริ่มมีการกำหนดให้ลงทะเบียนงานทดลองก่อนที่จะเริ่มทำเพื่อว่า ผลที่ไม่แสดงความสัมพันธ์ของประเด็นงานวิจัยกับผลจะไม่ถูกกักไว้ไม่ให้พิมพ์ มีองค์กรการลงทะเบียนเช่นนี้หลายองค์กร แต่นักวิจัยมักจะไม่รู้จัก นอกจากนั้นแล้ว ความพยายามที่ผ่านมาที่จะระบุหางานทดลองที่ไม่ได้รับการพิมพ์ปรากฏว่า เป็นเรื่องที่ยากและมักจะไม่เพียงพอ อีกกลยุทธ์หนึ่งที่เสนอโดยผู้ทำการวิเคราะห์งานวิจัยต่าง ๆ ก็คือให้ระวังการใช้ผลงานทดลองทางคลินิกที่ไม่ใช่แบบสุ่ม (non-randomised) และมีตัวอย่างทางสถิติน้อย เพราะว่า เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อข้อผิดพลาดและความเอนเอียง.

ใหม่!!: การวิจัยและความเอนเอียงในการตีพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการ

ณะกรรมการพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก โดยสหสมาคมพระคริสตธรรม (ประมาณ ค.ศ. 1980) คณะกรรมการ (ถ้าหมายถึงคนเดียวจะเรียกว่า กรรมการ) คือการชุมนุมเพื่อปรึกษาหารือ (deliberative assembly) ของบุคคลกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของการชุมนุมหรือองค์กรอื่นที่ใหญ่กว่า คณะกรรมการระดับสูงสุดอาจเรียกว่า คณะกรรมาธิการ คณะกรรมการมีหน้าที่หลายอย่างแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง อาท.

ใหม่!!: การวิจัยและคณะกรรมการ · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี..

ใหม่!!: การวิจัยและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยสภากาชาดไท.

ใหม่!!: การวิจัยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

งานคอปกเขียว

งานสีเขียว (Green Jobs) หรืองานคอปกเขียว (ตั้งให้ล้อกับคอปกขาวและคอปกน้ำเงิน) เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (โปรดดู เศรษฐกิจสีเขียว) งานสีเขียวคืองานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวข้องทางอ้อมด้วยการไม่สร้างมลพิษให้เกิดการปนเปื้อนหรือเป็นงานที่ใช้พลังงานสะอาด เป็นต้น.

ใหม่!!: การวิจัยและงานคอปกเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ตราจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภาขณะดูงานด้านเศรษฐกิจชาวนาที่ประเทศเปรู เพื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยเมื่อ พ.ศ. 2540 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (5 กันยายน พ.ศ. 2484 -) ผู้ร่วมริเริ่มแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. นักวิจัยดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้แต่งตำราและบทความด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งทั่วไปและเศรษฐศาสตร์การเมืองแพร่หลายในจำนวนมาก.

ใหม่!!: การวิจัยและฉัตรทิพย์ นาถสุภา · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

ัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์สวมชุดครุยระดับปริญญาเอก กลุ่มบัณฑิตที่ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกับอาจารย์ของพวกเขา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Philosophiae doctor, Doctor of Philosophy, อักษรย่อ ปร.ด., PhD, Ph.D. หรือ DPhil) คือปริญญาทางวิชาการสูงสุดที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยในหลายประเทศ การได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมาจากหลักสูตรที่มีความกว้างขวางของสาขาทางวิชาการ การได้มาซึ่งปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมักจะเป็นที่ต้องการสำหรับอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ บุคคลที่ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตอาจใช้คำนำหน้าว่าดอกเตอร์ (Doctor) หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "ดร." ("Dr") ในทางกฎหมายได้ หรือในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษอาจใช้คำที่แตกต่างกันเช่น "Dr.

ใหม่!!: การวิจัยและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนา

ปริศนา (puzzle) คือปัญหาสำหรับท้าทายความเฉลียวฉลาด (ingenuity) ของมนุษย์ ปริศนามักจะถูกออกแบบมาเพื่อความบันเทิง แต่บางครั้งก็กลายเป็นปัญหาทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง สำหรับกรณีหลัง ผลสำเร็จของปริศนาอาจมีความสำคัญในการพิสูจน์และการวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์ การหาผลสำเร็จของปริศนาบางอย่างอาจต้องใช้แบบแผน (pattern) และขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง บุคคลที่มีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็ว อาจสามารถไขปัญหาได้ดีกว่าบุคคลอื่น ปริศนาซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการเสาะหาและการค้นพบแนวทางในการแก้ปัญหา อาจแก้ได้รวดเร็วกว่าด้วยทักษะการอนุมานที่ดี.

ใหม่!!: การวิจัยและปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

ปัจจัยกระทบ

ปัจจัยกระทบ (impact factor) ปกติใช้คำย่อว่า IF หมายถึงการวัดการได้รับการอ้างอิงของวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อใช้เป็นตัวแทนที่บ่งชี้ความสำคัญและความน่าเชื่อถือของวารสารในสาขาวิชาการนั้น.

ใหม่!!: การวิจัยและปัจจัยกระทบ · ดูเพิ่มเติม »

ปูเยติ

นื่องจากปูเยติถูกค้นพบได้ไม่นานนักข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปูชนิดนี้จึงมีอยู่อย่างจำกัด โดยนักวิทยาศาสตร์ นักสำรวจ นักวิจัย ล้วนแล้วแต่ตั้งคำถามเกี่ยวกับปูชนิดนี้ค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็น.

ใหม่!!: การวิจัยและปูเยติ · ดูเพิ่มเติม »

นักฟิสิกส์

นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้น.

ใหม่!!: การวิจัยและนักฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

นักวิจัยหลังปริญญาเอก

นักวิจัยหลังปริญญาเอก หรือ โพสต์-ด็อก (post-doc ย่อมาจาก postdoctoral appointment) เป็นตำแหน่งงานทางด้านงานวิจัยให้กับทางมหาวิทยาลัยภายหลังจากบุคคลที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยทั่วไปช่วงระยะเวลาในการทำงานจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวงาน ตั้งแต่ 6 เดือนจนถึง 5 ปี โดยส่วนใหญ่ตำแหน่งโพสต์-ด็อก จะมีให้กับนักศึกษาในด้านวิทยาศาสาตร์ ถึงแม้ว่าในสาขาอื่นเช่น วิศวกรรม จะมีบ้างก็ตาม เงินเดือนของตำแหน่งโพสต์-ด๊อก เมื่อเปรียบเทียบกับตำแหน่งอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันจะน้อยกว่า แต่โอกาสของตำแหน่งนี้จะเปิดกว้างกว่าเมื่อเปรียบเทียบในเชิงวิชาการ ตำแหน่งนักวิจัยหลังปริญญาเอกมีความแตกต่างกับผู้ช่วยวิจัยหรือเจ้าหน้าที่วิจัย คือ โดยปกติแล้วจะต้องได้รับปริญญาเอกมาก่อน หรือมีประสบงานในสถาบันวิทยาศาสตร์หรือวงการอุตสาหกรรมที่เทียบเท่ากับปริญญาเอก ในบางกรณี นักวิจัยหลังปริญญาเอกอาจจะต้องจัดการเรียนการสอน ตำแหน่งของนักวิจัยหลังปริญญาจะมีความแตกต่างกันไปตามประเทศและสถานศึกษา ในบางครั้ง อาจมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่ง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตำแหน่งชั่วคราว หมวดหมู่:การวิจัย หมวดหมู่:การศึกษา.

ใหม่!!: การวิจัยและนักวิจัยหลังปริญญาเอก · ดูเพิ่มเติม »

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ หมายถึง นักวิจัยที่ได้รับเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีการมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 โดยมอบให้แก่นักวิจัยซึ่งได้อุทิศตนให้กับการวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่อง ในกลุ่มวิชาการ หรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเป็นผลงานวิจัยที่ทำสะสมกันมาเป็นเวลาตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ทั้งเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้นๆ สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยผู้อื่นได้ ในอันที่จะทุ่มเทกำลังใจ และสติปัญญาในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศชาต.

ใหม่!!: การวิจัยและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

นันทริกา ชันซื่อ

รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ (ชื่อเล่น: หนิ่ง; นามสกุลเดิม: โพธิปักษ์)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจากการแต่งตั้งโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 90/2557 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบุตรสาวของ ร.น.ดร.รท.ประสิทธิ์ โพธิปักษ์ อดีตคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ ทันตแพทย์หญิง มนูญ (กปิตถัย) โพธิปักษ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีระดับเกียรตินิยมจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อจบแล้วได้เข้าไปทำงานเป็นเลขานุการส่วนตัวของ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จากการที่ได้ใกล้ชิดกับนักธุรกิจ จึงได้ทำให้ไปศึกษาปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งทางกลุ่มบริษัทซีพีมีแนวความคิดที่จะทำธุรกิจด้านสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก จึงได้ทำให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านสัตว์น้ำโดยเฉพาะที่ The College of William & Mary รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ร..ญ.ดร.นันทริกา เชี่ยวชาญเรื่องโรคสัตว์น้ำ และมีงานวิจัยต่าง ๆ มากมาย อาทิ ค่ามาตรฐานเลือดปลาไทย, การแยกเพศในปลามังกร (Scleropages formosus), ค่ามาตรฐานเลือดตะพาบม่านลาย (Chitra chitra) เป็นต้น และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในแวดวงของกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงหรือปลาสวยงาม เป็นคอลัมนิสต์ที่มีผลงานประจำตอบปัญหาหรือเขียนบทความลงในนิตยสารสัตว์เลี้ยงและปลาสวยงามหลายเล่ม ในชื่อของ "หมอหนิ่ง" นอกจากนี้แล้ว ยังได้ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหลายโครงการ เช่น การจัดตั้งชมรมอนุรักษ์เต่าร่วมกับทางกลุ่มบริษัทซีพี รณรงค์และให้ความรู้เรื่องการปล่อยเต่าคืนสู่ธรรมชาติอย่างถูกต้องตามหลักสายพันธุ์, การเก็บตัวอย่างพิษของปลากระเบนราหูเจ้าพระยา (Himantura chaophraya) เพื่อการศึกษา เป็นต้น ชีวิตส่วนตัว นอกจากงานด้านศึกษาวิจัยและสัตวแพทย์สัตว์น้ำแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ชื่นชอบคือกีฬายิงปืน โดยเฉพาะการยิงปืนรณยุทธ เป็นตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันยิงปืนในระดับนานาชาติมาแล้วในหลายประเทศ ชีวิตครอบครัวสมรสกับ น.เอกวรรณ ชันซื่อ บุตรชายคนโตของ นายวรรณ ชันซื่อ อดีตประธานรัฐสภา มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน เป็นหญิง 3 ชาย 1.

ใหม่!!: การวิจัยและนันทริกา ชันซื่อ · ดูเพิ่มเติม »

แบบสอบถาม

ตัวอย่างแบบสอบถาม แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัยอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยชุดคำถามเพื่อจุดประสงค์ในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบ ถึงแม้ว่าแบบสอบถามจะถูกนิยมใช้กันมากในการรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ แต่ทว่าไม่จำเป็นเสมอไป แบบสอบถามนั้นคิดค้นขึ้นมาครั้งแรกโดยฟรานซิส กัลตัน (Francis Galton) แบบสอบถามจะมีจุดเด่นกว่าแบบสำรวจประเภทอื่นคือ ค่าใช้จ่ายต่ำ และมักจะมีรูปแบบคำตอบที่ชัดเจนซึ่งง่ายต่อการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ แบบสอบถามที่ดีจำเป็นต้องถูกออกแบบมาให้ผู้ตอบเข้าใจง่ายและไม่กำกวม.

ใหม่!!: การวิจัยและแบบสอบถาม · ดูเพิ่มเติม »

แพขยะใหญ่แปซิฟิก

gyre) หนึ่งในห้าของโลก แพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า แพขยะตะวันออก หรือ วงวนขยะแปซิฟิก (Pacific Trash Vortex) คือวงวนใหญ่ของขยะมหาสมุทร (marine litter) ที่อยู่ส่วนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือตำแหน่งประมาณ 135 -135° ตะวันตก ถึง 155-155° ตะวันตก และเส้นขนานที่ 35° เหนือ ถึงเส้นขนานที่ 42° เหนือ และประมาณขนาดใหญ่ได้เป็น 2 เท่าของเนื้อที่รัฐเท็กซัสซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศไทย แพขยะมีลักษณะของการรวมตัวอย่างเข้มของขยะพลาสติกและขยะอื่นที่ถูกกักรวมได้ด้วยกระแสวงวนใหญ่แปซิฟิกเหนือ แม้ขนาดแพขยะนี้จะมีขนาดใหญ่มหาศาลและหนาแน่นแต่ก็ไม่อาจเห็นได้จากดาวเทียมเนื่องจากตัวขยะทั้งหมดอยู่ใต้หรือใกล้ผิวน้ำ.

ใหม่!!: การวิจัยและแพขยะใหญ่แปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

แล็กทูโลส

แล็กทูโลส (Lactulose) เป็นน้ำตาลที่ดูดซึมไม่ได้และใช้รักษาอาการท้องผูกและโรคสมองเหตุตับ (hepatic encephalopathy) โดยใช้ทานสำหรับท้องผูก และใช้ทานหรือใส่ในไส้ตรงสำหรับโรคสมอง ปกติจะออกฤทธิ์ภายใน 8-12 ชม.

ใหม่!!: การวิจัยและแล็กทูโลส · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นซีดี

แผ่นซีดี แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นจานแสง หรือดิสก์แสงเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตราฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การวิจัยและแผ่นซีดี · ดูเพิ่มเติม »

โพรซีดดิง

รายงานการประชุม (proceedings) หมายถึงชุดเอกสารที่ตีพิมพ์ที่ใช้ประกอบในการประชุมหรือการสัมมนา ซึ่งจะอยู่ในรูปของหนังสือ หรือบางครั้งเป็น ซีดี หรือดีวีดี ซึ่งรายงานการประชุมมักจะเผยแพร่หลังจากการสัมมนาจบสิ้นลง ภายในรายงานประกอบด้วยผลงานของนักวิจัยที่ได้มาแสดงผลงานในการสัมมน.

ใหม่!!: การวิจัยและโพรซีดดิง · ดูเพิ่มเติม »

โมโนทรีม

มโนทรีม หรือ โมโนทรีมาทา (Monotremata) เป็นอันดับในการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์อันดับหนึ่ง อยู่ในชั้น Mammalia หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และอยู่ในชั้นย่อยโมโนทรีม (บางครั้งเรียกชั้นย่อยนี้ว่า Prototheria) สัตว์ในอันดับโมโนทรีมภาษาอังกฤษเรียกว่าโมโนทรีม (monotreme) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก mono (หนึ่ง) + trema (รู) เนื่องจากสัตว์ในอันดับนี้มีช่องขับถ่ายและช่องสืบพันธุ์เป็นช่องเดียวกัน โมโนทรีมเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงอันดับเดียวที่ออกลูกเป็นไข่ แทนที่จะออกลูกเป็นตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น.

ใหม่!!: การวิจัยและโมโนทรีม · ดูเพิ่มเติม »

โมเช แอเร็นส์

มเช แอเร็นส์ (משה ארנס, Moshe Arens; เกิด 27 ธันวาคม ค.ศ. 1925) เป็นวิศวกรการบิน นักวิจัย อดีตนักการทูตและนักการเมืองชาวอิสราเอล ในระหว่างปี..

ใหม่!!: การวิจัยและโมเช แอเร็นส์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคกามวิปริต

รคกามวิปริต (paraphilia, sexual perversion, sexual deviation) หรือ กามวิปริต เป็นประสบการณ์ความตื่นตัวทางเพศระดับสูงต่อวัตถุ สถานการณ์ หรือบุคคลที่ไม่ทั่วไป แต่ก็ไม่มีมติส่วนใหญ่ของนักวิชาการว่าเส้นแบ่งระหว่างความสนใจทางเพศที่แปลก กับโรคกามวิปริตอยู่ที่ไหน มีข้อโต้แย้งที่ยังไม่ยุติว่า กามวิปริตแบบไหน ควรจะมีรายชื่ออยู่ในคู่มือวินิจฉัยทางแพทย์เช่น คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) หรือ บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) หรือถ้าจะต้องมีโดยประการทั้งปวง จำนวนประเภทและอนุกรมวิธาน (taxonomy) ของกามวิปริตก็ยังโต้เถียงยังไม่ยุติอีกด้วย มีหนังสือเล่มหนึ่งที่มีรายการถึง 549 ประเภท ส่วน DSM-5 มีรายการความผิดปกติทางกามวิปริต (paraphilic disorder) 8 ประเภท นักวิชาการได้เสนอการจัดหมวดหมู่ย่อยแบบต่าง ๆ โดยอ้างว่า วิธีการจัดหมวดหมู่แบบอื่น ๆ เช่นวิธีการที่รวมมิติทั้งหมด วิธีกำหนดอาการเป็นพิสัย หรือวิธีกำหนดตามคำให้การของคนไข้ (complaint-oriented) จะเข้ากับหลักฐานได้ดีกว.

ใหม่!!: การวิจัยและโรคกามวิปริต · ดูเพิ่มเติม »

โรคกุ้งตายด่วน

รคกุ้งตายด่วน หรือกลุ่มอาการตายด่วน (Shrimp Early Mortality Syndrome, ย่อ: EMS.) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (Acute Hepatopancreatic Necrosis Syndrome, ย่อ: AHPNS.) เป็นโรคระบาดส่งผลถึงตายในกุ้งเลี้ยง ซึ่งเป็นอาการที่พบว่าเซลล์ตับและตับอ่อนของกุ้งมีลักษณะการตายหรือถูกทำลายอย่างรุนแรง โรคกุ้งตายด่วน (EMS) หรือกลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (AHPNS) เริ่มมีการระบาดครั้งแรกในรัฐเทกซัสปี 2528 จากนั้นโรคนี้แพร่ระบาดไปยังฟาร์มกุ้งในทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาในปี 2552 มีการแพร่มายังประเทศจีน และกระจายอย่างรวดเร็วสู่ประเทศเวียดนามในปี 2553 ในมาเลเซียปี 2554 และประเทศไทยปลายปี 2554 ตามลำดับ ในต้นปี 2556 พบว่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคนี้คือ Vibrio parahaemolyticus อัตราการตายสูงสุดพบในกุ้งขาวแวนนาไม (Penaeus vannamei)ซึ่งเป็นกุ้งเลี้ยงที่ติดในสองอันดับแรกที่มีการเลี้ยงมากที่สุด โดยกุ้งที่เกิดโรคกุ้งตายด่วน (EMS) หรือกลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (AHPNS) จะเกิดภายใน 20 - 30 วันหลังการปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ ในช่วงระยะแรกกุ้งในบ่อที่ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติอย่างเด่นชัด ไม่มีอาการเกยขอบบ่อ แต่จะเริ่มพบกุ้งตายในยอและตายที่ก้นบ่อ หลังจากนั้นจะพบซากกุ้งลอยขึ้นมา กุ้งเริ่มทยอยตาย และหากไม่ได้รับการรักษาก็จะส่งผลกระทบต่อกุ้งระยะโพสท์ลาวาซึ่งจะมีอัตราตายถึง 90% ภายใน 30 วัน ภาพตัวอย่างการเกิดโรคตายด่วนในกุ้งที่เกิดภายในเซล์ตับ จากงานวิจัยพบว่าโรคกุ้งตายด่วนไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพคน เนื่องจากเชื้อ V.parahaemolyticus บางสายพันธุ์ที่พบได้ยากเท่านั้นที่มียีนชนิดพิเศษ 2 ตัวซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของคนได้และมีเพียง 1-2% ของสายพันธุ์ของเชื้อ V.parahaemolyticus ที่พบได้ในธรรมชาติทั่วโลกเท่านั้นที่มียีนพิเศษ 2 ชนิดนี้.

ใหม่!!: การวิจัยและโรคกุ้งตายด่วน · ดูเพิ่มเติม »

โรคใคร่เด็ก

รคใคร่เด็ก หรือ ความใคร่เด็ก (Pedophilia, paedophilia) เป็นความผิดปกติทางจิตที่ผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นตอนปลายมีความต้องการทางเพศเป็นหลักหรืออย่างจำกัดเฉพาะ ต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพัน.

ใหม่!!: การวิจัยและโรคใคร่เด็ก · ดูเพิ่มเติม »

โลกาภิวัตน์

ลกาภิวัตน์ (มักเขียนผิดเป็น โลกาภิวัฒน์) หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง.

ใหม่!!: การวิจัยและโลกาภิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

โจรกรรมทางวรรณกรรม

รกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (plagiarism) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือนักวิจัยถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (en:academic dishonesty) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” (en:academic fraud) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงานสื่อสารมวลชนถือเป็นละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารศาสตร์ (en:journalistic ethics) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ (en:citation) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตที่บทความปรากฏในรูปของอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่า “การคัดลอก-แปะ” (en:copying and pasting) โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน.

ใหม่!!: การวิจัยและโจรกรรมทางวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เบราน์ชไวค์

ราน์ชไวค์ (Braunschweig; อังกฤษ, ฝรั่งเศส: Brunswick) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นเมืองอิสระ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ ปัจจุบันมีประชากรราว 247,000 คน ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของรัฐนีเดอร์ซัคเซินรองจากฮันโนเวอร์ เมื่อรวมเขตปริมณฑลของเมืองเข้าด้วยจะมีประชากรราว 1 ล้านคน เบราน์ชไวค์เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศและสหภาพยุโรป, Ec.europa.eu, 2014.

ใหม่!!: การวิจัยและเบราน์ชไวค์ · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชพันธุศาสตร์

ัชพันธุศาสตร์ แปลจากคำอังกฤษว่า Pharmocogenetics ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า Pharmacogenomics โดยยังไม่มีการกำหนดนิยามคำสองคำนี้แน่ชัด โดยทั่วไป เภสัชพันธุศาสตร์ มักใช้ในความหมายว่าเป็นการศึกษาหรือการตรวจทางคลินิกเพื่อตรวจหาความแปรผันทางพันธุกรรมที่ทำให้ผู้รับยามีการตอบสนองต่อยาแตกต่างกันไป ในขณะที่ pharmocogenomics มักเป็นคำกว้างกว่าหมายถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางจีโนมิคส์ในการค้นหายาใหม่ๆ และทำให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ๆ ของยาเดิม เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการใช้ยาเพื่อรักษาโรคในผู้ป่วยแต่ละรายถึงแม้จะเป็นชนิดเดียวกันแต่อาจให้ผลในการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยอาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆหลายปัจจัย เช่น พยาธิสรีรวิทยา สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย (เช่น อาหาร การสูบบุหรี่) รวมทั้งลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วยเช่นความผิดแผกทางพันธุกรรมของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงยา (metabolism) หรือความผิดแผกของความไว (sensitivity) ในการตอบสนองต่อยา ซึ่งศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางพันธุกรรมกับการตอบสนองต่อยาหรือการเกิดพิษของยานี้เรียกว่าเภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenetics หรือ pharmacogenomics) ซึ่งปัจจุบันนี้เภสัชพันธุศาสตร์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเภสัชพันธุศาสตร์นี้เป็น การศึกษาความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรม (genetic polymorphisms) ในจีโนมมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่การนำความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์มาใช้ ในการทำนายการตอบสนองต่อยา การเลือกใช้ยาและขนาดยาที่เหมาะสม การค้นหา และ การพัฒนายาใหม่ที่เหมาะสมเฉพาะกลุ่มประชากร ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาจากองค์ความรู้พื้นฐานว่ามนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างของรหัสดีเอ็นเอในยีนที่เกี่ยวข้องกับวิถีพยาธิกำเนิดของโรค (pathogenesis pathways) ยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยาหรือเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamic) และยีนที่เกี่ยวข้องกับเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) การทราบความแตกต่างเหล่านี้โดยละเอียด ย่อมจะนำไปสู่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของโรค การเลือกใช้ยาตามความเหมาะสมกับโรค การเลือกขนาดยาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาสูงสุด และ ลดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากับผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ในเวชปฏิบัติ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิทธิพลของยีนที่ทำให้เกิดลักษณะทางคลินิก และการตอบสนองต่อยา ในแง่ของความจำเพาะของความแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละเชื้อชาติ ไม่เพียงแพทย์เท่านั้นที่ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น บุคลากรอื่นๆ ทางสาธารณสุข รวมถึงนักวิจัยสาขาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยความรู้บูรณาการในศาสตร์แต่ละแขนง เช่น การใช้ความรู้ทางชีวสารสนเทศ (bioinformatics) มาจัดเก็บ รวบรวม เปรียบเทียบ สืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลทางชีววิทยาอย่างเป็นระบบ การศึกษาการแสดงออกของยีนในระดับ mRNA ภายในเซลล์ (transcriptomics) การศึกษาโปรตีโอมิกส์ (proteomics) ในด้านโครงสร้าง ประเภท ปริมาณ และหน้าที่ของโปรตีนที่แต่ละเซลล์สร้างขึ้น ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นๆ อีกจำนวนมาก เช่น metabolomics, phenomics, infectomics เป็นต้น เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่จำเพาะของลักษณะทางพันธุกรรมในเชิงลึกจนนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยในเวชปฏิบัติได้.

ใหม่!!: การวิจัยและเภสัชพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เรียงความเข้ามหาวิทยาลัย

รียงความเข้ามหาลัย (statement of purpose) เป็นเรียงความที่กล่าวถึงเป้าหมายของผู้เขียนในด้านการทำงาน และงานวิจัย ซึ่งในสหรัฐอเมริกาจะเป็นเอกสารหลักที่ต้องการในการสมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัยระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยเรียงความนี้จะแสดงถึง แนวคิด มุมมอง ความสามารถในการวิเคราะห์ หลักเหตุผล รวมถึงแรงบันดาลใจของผู้สมัคร ชื่อเรียกอื่นของเรียงความเข้ามหาวิทยาลัยได้แก่ Personal statement, Letter of Intent, Statement of Interest, Goals Statement, Personal Narrative, Application Essay ตัวเรียงความจะมีความยาวประมาณหนึ่งหน้ากระดาษ และไม่ยาวเกินสองหน้.

ใหม่!!: การวิจัยและเรียงความเข้ามหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

ำว่า เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (Evidence-based medicine ตัวย่อ EBM) เป็นแบบการแพทย์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวินิจฉัยตัดสินใจให้ดีที่สุด โดยเน้นการใช้หลักฐานจากงานวิจัยที่มีการออกแบบและการดำเนินการที่ดี แม้ว่าการแพทย์ที่อาศัยวิทยาศาสตร์ (คือไม่ใช่การแพทย์ทางเลือกเป็นต้น) ทั้งหมดล้วนแต่ต้องอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ (empirical evidence) แต่ว่า EBM เข้มงวดยิ่งกว่านั้น คือมีการจัดระดับหลักฐานโดยกำลังของวิธีการสืบหาหลักฐาน (epistemologic strength) และมีการกำหนดว่า หลักฐานที่มีกำลังที่สุด (คือที่มาจากงาน meta-analysis, งานปริทัศน์เป็นระบบ, และงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม) เท่านั้นที่จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) ที่เข้มแข็งน่าเชื่อถือที่สุดได้ ส่วนหลักฐานจากงานที่มีกำลังอ่อนประเภทอื่น (เช่นงานศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเป็นต้น) จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) แบบอ่อนเท่านั้น ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Evidence-based medicine" ดั้งเดิม (เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1992) ใช้หมายถึงวิธีการสอนวิชาการทางแพทย์ และวิธีเพื่อเพิ่มคุณภาพการวินิจฉัยตัดสินใจของแพทย์แต่ละบุคคล ๆ หลังจากนั้น คำก็เริ่มใช้กินความหมายมากขึ้นและรวมถึงวิธีการที่มีมาก่อนแล้ว คือวิธีการที่เน้นใช้หลักฐานในการแนะนำแนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งชุมชน (เช่นคำว่า "evidence-based practice policies" แปลว่า นโยบายการปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ต่อจากนั้นอีก คำก็กินความมากขึ้น หมายถึงวิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยตัดสินใจในการแพทย์ทุกระดับ และแม้ในวิชาการสาขาอื่น ๆ อีกด้วย โดยเรียกใช้คำที่กว้างขึ้นว่า evidence-based practice (ตัวย่อ EBP แปลว่า การปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการศึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยตัดสินใจในคนไข้รายบุคคล แนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งกลุ่มชน หรือการให้บริการทางสุขภาพโดยทั่ว ๆ ไป EBM สนับสนุนว่า โดยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจและนโยบายการปฏิบัติ ควรจะอาศัยหลักฐาน ไม่ใช่เพียงแค่อาศัยความเชื่อของแพทย์รักษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหารเท่านั้น คือ เป็นแบบการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความคิดเห็นของแพทย์รักษา ซึ่งอาจจะจำกัดโดยความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือโดยความเอนเอียง มีการบูรณาการด้วยความรู้ที่มีอยู่ทั้งหมดจากสิ่งเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) และนำไปใช้ได้ EBM โปรโหมตระเบียบวิธีที่เป็นรูปนัย (formal) และชัดแจ้ง (explicit) ในการวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อให้เป็นข้อมูลกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ EBM สนับสนุนโปรแกรมการศึกษาเพื่อสอนข้อปฏิบัติของ EBM ต่อนักศึกษาแพทย์ แพทย์รักษา และผู้กำหนดน.

ใหม่!!: การวิจัยและเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน · ดูเพิ่มเติม »

เอเอชพี

ตัวอย่างผังเอเอชพี เอเอชพี (AHP ย่อจาก Analytic Hierarchy Process) เป็นเทคนิคที่ใช้ช่วยในการแก้ไขปัญหา Multi-criteria decision analysis เอเอชพีช่วยให้การตัดสินใจโดยการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด และช่วยให้ผู้ตัดสินใจเข้าใจปัญหาการตัดสินใจของตัวเองมากยิ่งขึ้น มากกว่าการบอกว่าคำตอบไหนเป็น"คำตอบที่ถูก" เอเอชพีพัฒนาขึ้นมาจากพื้นฐานของความรู้ในด้านคณิตศาสตร์และจิตวิทยา พัฒนาขึ้นมาโดย โธมัส แอล. ซาตี (Thomas L. Saaty) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ลักษณะของเอเอชพีจะเริ่มกำหนดกรอบงานของโครงสร้างการวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องมีการตัดสินใจ โดยแสดงองค์ประกอบเชิงปริมาณสำหรับปัจจัยแต่ละอย่างที่เกี่ยวโยงกับเป้าประสงค์ที่วางไว้ เพื่อประเมินหาคำตอบในเชิงปริมาณสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจ เอเอชพีมีการใช้งานทั่วโลกหลากหลายรูปแบบในการวิเคราะห์การตัดสินใจ ในหลายวงการเช่น รัฐบาล ธุรกิจ อุตสาหกรรม การแพทย์ การศึกษา และงานวิจัย หลายหน่วยงานได้มีการประยุกต์นำซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มาช่วยในขั้นตอนการตัดสินใจให้รวดเร็วและง่ายขึ้น.

ใหม่!!: การวิจัยและเอเอชพี · ดูเพิ่มเติม »

เฮนดริค เวด โบดี

นดริค เวด โบดี (Hendrik Wade BodeVan Valkenburg, M. E. University of Illinois at Urbana-Champaign, "In memoriam: Hendrik W. Bode (1905-1982)", IEEE Transactions on Automatic Control, Vol. AC-29, No 3., March 1984, pp. 193-194. Quote: "Something should be said about his name. To his colleagues at Bell Laboratories and the generations of engineers that have followed, the pronunciation is boh-dee. The Bode family preferred that the original Dutch be used as boh-dah."; 24 ธันวาคม ค.ศ. 1905 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1982) เป็นวิศวกร นักวิจัย นักประดิษฐ์ นักเขียน และนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายดัทช์ เป็นผู้บุกเบิกทฤษฎีระบบควบคุมยุคใหม่และระบบโทรคมนาคมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ปฏิวัติทั้งเนื้อหาและกระบวนวิธีในการทำวิจัย ผลงานวิจัยของเขาส่งผลกระทบอย่างมากต่อสาขาวิชาทางวิศวกรรมจำนวนมาก และเป็นรากฐานให้แก่นวัตกรรมยุคใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น โบดีเป็นหนึ่งในนักปรัชญาวิศวกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของเขา ได้รับความยกย่องในแวดวงวิชาการทั่วโลกมาอย่างยาวนาน (via Internet archive) เขายังมีชื่อเสียงในหมู่นักศึกษาวิศวกรรมยุคใหม่ โดยเฉพาะในการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ขนาดและมุมแบบอะซิมโทติก ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อของเขาว่า โบดีพล็อต.

ใหม่!!: การวิจัยและเฮนดริค เวด โบดี · ดูเพิ่มเติม »

เจ. เค. โรว์ลิง

แอนน์ "โจ" โรว์ลิง (Joanne "Jo" Rowling, OBE FRSL) หรือนามปากก.

ใหม่!!: การวิจัยและเจ. เค. โรว์ลิง · ดูเพิ่มเติม »

เจสตอร์

JSTOR (ออกเสียงว่า เจสตอร์ ย่อมาจาก Journal Storage แปลว่า หน่วยเก็บวารสาร) เป็นห้องสมุดดิจิทัลที่ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: การวิจัยและเจสตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคลฟเวอร์แฮนส์

ลฟเวอร์แฮนส์แสดงความสามารถ เคลฟเวอร์แฮนส์ (Clever Hans) หรือ แดร์คลูเกอฮันส์ (der Kluge Hans)เป็นม้าพันธุ์รัสเซีย (Orlov Trotter) ตัวหนึ่ง ที่มีการอ้างว่า มันสามารถคิดเลขง่าย ๆ และแก้ปัญหาใช้สติปัญญาอื่น ๆ บางอย่างได้ แต่ว่าหลังจากได้ทำการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบแล้วในปี..

ใหม่!!: การวิจัยและเคลฟเวอร์แฮนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซจิ โอะงะวะ

ซจิ โอะงะวะ (เกิด 19 มกราคม 2477) เป็นนักค้นคว้าชาวญี่ปุ่น ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ค้นพบเทคนิคที่ใช้ใน fMRI (Functional Magnetic Resonance Imaging) ผู้ได้รับการนับถือว่า เป็นบิดาของการสร้างภาพสมองโดยกิจยุคสมัยใหม่ ผู้ได้ชี้ว่า ความเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในโลหิต ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก จึงทำให้สามารถสร้างแผนภาพของโลหิต และเพราะเหตุนั้น ของเขตในสมองที่กำลังทำงาน แผนภาพนี้ส่องให้เห็นว่า เซลล์ประสาทกลุ่มไหนในสมองตอบสนองด้วยสัญญาณเคมีไฟฟ้า ในการทำงานของจิตใจ ดร.

ใหม่!!: การวิจัยและเซจิ โอะงะวะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนรู้รส

ปลือกสมองส่วนรู้รส (gustatory cortex ตัวย่อ GC) เป็นโครงสร้างสมองซึ่งทำหน้าที่รับรู้รส โดยมีโครงสร้างย่อย 2 ส่วน คือ anterior insula ใน insular cortex, และ operculum ส่วนหน้าที่บริเวณ inferior frontal gyrus ในสมองกลีบหน้า เพราะองค์ประกอบของมัน เปลือกสมองส่วนรู้รสบางครั้งจึงเรียกในวรรณกรรมต่าง ๆ ว่า AI/FO (Anterior Insula/Frontal Operculum) โดยใช้เทคนิคการบันทึกสัญญาณนอกเซลล์ นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงว่า นิวรอนใน AI/FO จะตอบสนองต่อรสหวาน รสเค็ม รสขม และรสเปรี้ยว และเข้ารหัสความเข้มข้นของสิ่งเร้าที่มีร.

ใหม่!!: การวิจัยและเปลือกสมองส่วนรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Basic researchResearchResearch methodologyการวิจัยพื้นฐานการวิจัยขั้นพื้นฐานการทำวิจัยการค้นคว้าระเบียบวิธีวิจัยวิจัยสถาบันวิจัยงานวิจัยงานวิจัยพื้นฐานงานวิจัยขั้นพื้นฐานนักวิจัย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »