โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การมาครั้งที่สอง

ดัชนี การมาครั้งที่สอง

การมาครั้งที่สอง ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนและชาวมุสลิม การมาครั้งที่สอง (Second Coming) หมายถึงการที่พระเยซูจะเสด็จมาบนโลกอีกครั้งในอนาคต ความเชื่อนี้มีที่มาจากข้อความในพระวรสารในสารบบและถูกพัฒนาต่อมาตามอวสานวิทยาของศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม แนวคิดเรื่องการมาครั้งที่สองถือเป็นหลักความเชื่อสำคัญ จึงปรากฏรายละเอียดในหลักข้อเชื่อไนซีนว.

16 ความสัมพันธ์: พระคริสต์พระเยซูพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์การพิพากษาครั้งสุดท้ายการล้อมเวโกมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมุฮัมมัดศัตรูของพระคริสต์สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทยหลักข้อเชื่อของอัครทูตอัครทูตสวรรค์มีคาเอลอารมาเกดโดนอารามโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญคณะซี. เอ็ม. เอ.โปรเตสแตนต์เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์

พระคริสต์

รูป ''พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ'' ที่อารามนักบุญแคเธอริน พระพักตร์ของพระเยซูสองฝากแสดงอารมณ์ต่างกัน สื่อว่าพระเยซูมีสองธรรมชาติคือเป็นพระเป็นเจ้าและเป็นมนุษย์ในบุคคลเดียว''God's human face: the Christ-icon'' by Christoph Schoenborn 1994 ISBN 0-89870-514-2 page 154''Sinai and the Monastery of St. Catherine'' by John Galey 1986 ISBN 977-424-118-5 page 92 พระคริสต์ (Christ; Χριστός, คริสตอส) ในศาสนายูดาห์เรียกว่าพระเมสสิยาห์ หมายถึง ผู้ได้รับเจิม ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซูJesus of history, Christ of faith by Thomas Zanzig 2000 ISBN 0-88489-530-0 คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน คือผู้ที่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกทำนายไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ดังนั้นชาวคริสต์จึงมักเรียกพระเยซูว่า พระเยซูคริสต์ ซึ่งหมายถึง พระเยซูผู้ได้รับเจิม ในปัจจุบันคำว่าพระคริสต์จึงใช้หมายถึงพระเยซูชาวนาซาเรธไปโดยปริยาย ศาสนายูดาห์ไม่เคยยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ (แม้แต่พระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลก็กล่าวถึงเรื่องชาวยิวปฏิเสธพระเยซู) แต่คริสต์ศาสนิกชนก็ยังเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์และจะเสด็จมาอีกครั้งในการพิพากษาครั้งสุดท้าย การใช้คำว่า "คริสต์" เพื่อหมายถึงพระเยซูโดยเฉพาะยังปรากฏในชื่อสาขาวิชา เช่น เทววิทยาศาสนาคริสต์ คริสตวิทยา ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นศึกษาธรรมชาติและสถานะบุคคลของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบและบทจดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและพระคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

จุลจิตรกรรม "พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" จากพระวรสารรับบิวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (Ascension of Jesus) เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูลอยขึ้นสวรรค์ต่อหน้าอัครทูตของพระองค์หลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนม์ได้ 40 วัน และมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งกล่าวขึ้นในขณะนั้นว่าเมื่อพระเยซูกลับมา ก็จะมีลักษณะเดียวกัน เมื่อพระเยซูขึ้นสวรรค์แล้วก็ไปประทับอยู่ทางขวาของพระบิดา พระวรสารในสารบบที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้คือพระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 24 และพระวรสารนักบุญมาระโกบทที่ 16 และยังปรากฏในหนังสือกิจการของอัครทูตบทที่ 1 ด้วย เหตุการณ์นี้ยังได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่อไนซีน คริสต์ศาสนิกชนจัดการเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์นี้ในวันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์ในแต่ละปี (จึงตรงกับวันพฤหัสบดีเสมอ) พิธีนี้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู (อีก 4 เหตุกาณ์ที่เหลือ คือ รับบัพติศมา จำแลงพระกาย ถูกตรึงกางเขน และคืนพระชนม์)Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 จดหมายของนักบุญเปาโล (ราว ค.ศ. 56-ค.ศ. 57) ได้กล่าวถึงพระเยซูบนสวรรค์และการเสด็จสู่แดนผู้ตายซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเป็นครั้งแรก แต่การอ้างอิงที่มีอิทธิพลที่สุดตามการกล่าวอ้างของโรเบิร์ต ดับเบิลยู ฟังค์ (Robert W. Funk) มาจาก คือพระเยซูขึ้นสวรรค์หลังจากที่มีพระบัญชาเอก (Great Commission) คือสี่สิบวันหลังจากที่คืนพระชนม์โดยมีอัครทูตเป็นพยาน ในพระวรสารนักบุญลูกา "การเสด็จขึ้นสวรรค์" เกิดขึ้นในค่ำวันอีสเตอร์Robert W. Funk and the Jesus Seminar.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

การพิพากษาครั้งสุดท้าย

การพิพากษาครั้งสุดท้าย(Last Judgment) หรือ วันแห่งการพิพากษา (Day of Judgment) หรือ วันโลกาวินาศ (Doomsday) ตามหลักอวสานวิทยาศาสนาคริสต์ (Christian eschatology) หมายถึง วันที่พระเป็นเจ้าทรงพิพากษาบรรดาประชาชาติต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการคืนชีพของบรรดาผู้ตายและการมาครั้งที่สองของพระเยซู หัวข้อนี้เป็นที่นิยมทำในงานศิลปะต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่าพระเจ้าทรงกำหนดวันหนึ่งไว้เพื่อจะพิพากษาโลก และวันแห่งการพิพากษานั้นจะยาวนานหนึ่งพันปี พระเจ้าจะทรงทำลายองค์ประกอบต่างๆของสังคมมนุษย์ที่เสื่อมทรามและกำจัดคนชั่ว ผู้รอดชีวิตจากอวสานของยุคนี้คือ "คนเป็น" ที่จะถูกพิพากษา ในช่วงการพิพากษาซึ่งยาวนานหนึ่งพันปีนั้น พระเยซูพร้อมด้วยชายและหญิง 144,000 คนที่ถูกปลุกขึ้นจากตายสู่ชีวิตในสวรรค์จะปกครองแผ่นดินโลก ในวันพิพากษา ซาตานและเหล่าผีปิศาจจะถูกจำกัดไม่ให้มีอำนาจครอบงำกิจการของมนุษ.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและการพิพากษาครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมเวโก

การล้อมเวโก (Waco siege) เป็นการปิดล้อมกลุ่มอาคารเมาท์คาร์เมลเซ็นเตอร์ของกลุ่มลัทธิแบรนช์ดาวิเดียนส์ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยสำนักงานควบคุมแอลกอฮอล์ ยาสูบและอาวุธปืน (ATF) และสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ลัทธิแบรนช์ดาวิเดียนส์เป็นลัทธิที่เชื่อในการเสด็จมาอีกครั้งของพระเยซู เป็นกลุ่มที่แยกมาจากลัทธิดาวิเดียนเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ (Davidian Seventh-day Adventist) มีผู้นำคือเดวิด โคเรช ซึ่งประกาศว่าตนเองคือผู้เผยพระวจนะคนสุดท้าย พฤติการณ์หลายอย่างของกลุ่ม เช่น การรับสตรีวัยรุ่นเข้ามาเป็นภรรยาของโคเรช การทำธุรกิจค้าอาวุธและความสงสัยว่าภายในลัทธิมีการทารุณเด็กทางเพศ ทำให้ในวันที่ 28 กุมภาพัน..

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและการล้อมเวโก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Basilica di San Francesco d'Assisi; Basilica of St.) ตั้งอยู่ที่เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกของคณะฟรันซิสกัน ซึ่งเป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก่อตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชั้นบนและชั้นล่างของมหาวิหารมองจากจัตุรัสเดลเลลอจเจ (Piazza delle Logge).

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและมุฮัมมัด · ดูเพิ่มเติม »

ศัตรูของพระคริสต์

ปีศาจอยู่เบื้องหลังศัตรูของพระคริสต์ วาดราว ค.ศ. 1501 ในศาสนาคริสต์ ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารได้กล่าวถึง ศัตรูของพระคริสต์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ปฏิปักษ์ของพระคริสตเจ้า (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (Antichrist) ว่าหมายถึง บุคคลที่ไม่ยอมรับว่าพระบุตรพระเป็นเจ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์คือพระเยซู หรือไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ ซึ่งถือว่าปฏิเสธพระเจ้าพระบิดาด้วย ศัตรูของพระคริสต์จะมาล่อลวงมนุษย์ให้ปฏิเสธพระเยซูในช่วงวาระสุดท้ายของโลก ในศาสนาอิสลาม นบีมุฮัมมัดเรียกผู้ต่อต้านพระคริสต์ว่า "ดัจญาล" (ผู้หลอกลวง) หมายถึง ผู้ที่อัลลอฮ์ส่งมาเพื่อทดสอบความเชื่อของมนุษย์ในช่วงใกล้วันสิ้นโลก ดัจญาลมักทำตัวเป็นพระเจ้า สามารถแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้ ทั้งชุบชีวิตคน เรียกฝนให้ตก เป็นต้น แต่ในที่สุดดัจญาลจะสิ้นฤทธิ์และถูกนบีอีซา (พระเยซู) ซึ่งกลับมาบนโลกอีกครั้งฆ่าต.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและศัตรูของพระคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย

หคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย (ส.ค.บ.; Thailand Baptist Convention; TBC) เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประสานงานด้านศาสนาและดูแลสมาชิกของมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์, หน้า 166-167 โดยมี ศาสนาจารย์ บุญครอง ปิฏกานนท์ เป็นประธานคนแรก.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

หลักข้อเชื่อของอัครทูต

หลักข้อเชื่อของอัครทูต, คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย (Symbolum Apostolorum/Symbolum Apostolicum;Apostle’s creed) หรือ “หลักข้อเชื่อของอัครธรรมทูต” บางครั้งเรียกว่า “สัญลักษณ์ของอัครทูต” ชาวคาทอลิกเรียกว่า "บทข้าพเจ้าเชื่อ" เป็นคำแถลงเกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ยุคแรก ซึ่งคำแถลงลักษณะนี้เรียกว่า creed (หลักข้อเชื่อ) หรือ symbol (สัญลักษณ์) หลักข้อเชื่อนี้มีปรากฏใช้ในหลายนิกายทั้งในพิธีกรรมและตำราคำสอน และมักพบมากที่สุดในคริสตจักรตะวันตกที่เน้นพิธีกรรม คือคริสตจักรละติน ลูเทอแรน แองกลิคัน และออทอร์ดอกซ์ตะวันตก ตลอดจนเพรสไบทีเรียน เมทอดิสต์ และคริสตจักรคองกริเกชันแนล หลักข้อเชื่อของอัครทูตเป็นข้อความเชื่อที่อิงกับแนวคิดทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ จดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม่ และบางส่วนจากพันธสัญญาเดิม หลักข้อเชื่อนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากหลักข้อเชื่อโรมัน เพราะในเนื้อหาไม่ได้กล่าวถึงหรือแก้ปัญหาประเด็นปัญหาทางคริสตวิทยาดังที่ปรากฏในหลักข้อเชื่อไนซีนและหลักข้อเชื่ออื่น ๆ ของคริสตชนที่เกิดขึ้นในยุคหลัง เช่น ปัญหาความเป็นพระเจ้าของพระเยซูหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชาวคริสต์ยุคแรก ๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตอย่างลัทธิเอเรียสและลัทธิเอกภาพนิยมจึงยอมรับหลักข้อเชื่อนี้ด้วย ชื่อ “หลักข้อเชื่อของอัครทูต” อาจจะเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตามความเชื่อของคริสตชนที่ว่าอัครทูตทั้งสิบสองคนเป็นผู้แต่งข้อต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดยืนยันได้ว่าความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงMcGrath, Alister E., Christian Theology: An Introduction", Singapore: Blackwell Publisher, 2007, p. 14.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและหลักข้อเชื่อของอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูตสวรรค์มีคาเอล

อัครทูตสวรรค์มีคาเอลพระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์, หน้า 2428 (Αρχάγγελος Μιχαήλ) หรือ มีคาเอลหัวหน้าทูตสวรรค์ (Michael the archangel) เป็นอัครทูตสวรรค์องค์หนึ่งตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้บัญชาการกองทัพของพระเป็นเจ้า ในหนังสือดาเนียล จดหมายของนักบุญยูดา และหนังสือวิวรณ์กล่าวว่าท่านเป็นผู้นำกองทัพพระเจ้าต่อสู้กับทัพของซาตานตอนที่ซาตานก่อกบฏ หนังสือดาเนียลระบุว่ามีคาเอลเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้า ซึ่งปรากฏในนิมิตของดาเนียลผู้เผยพระวจนะว่าได้เข้าไปช่วยกาเบรียลต่อสู้กับทูตสวรรค์ผู้พิทักษ์จักรวรรดิเปอร์เซียที่มีนามว่าโดเบียล นอกจากนี้คัมภีร์ยังระบุว่าท่านเป็นองค์อุปถัมภ์วงศ์วานอิสราเอลและเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้าผู้ปกป้องลูกหลานประชาชนของดาเนียล ในภาษาฮีบรู คำว่า มีคาเอล (Michael) แปลว่า "ผู้เหมือนพระเจ้า" (mi ผู้ใด, ke คือ/เป็น, El-พระเจ้า) ซึ่งมาจากสำนวนคำถามในคัมภีร์ทาลมุดที่ว่า “ผู้ใดจะเหมือนพระเจ้า?” (ตัวคำถามสื่อคำตอบในทางปฏิเสธว่าไม่มี) เพื่อที่จะบอกว่าไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระเจ้า มีคาเอลจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของความถ่อมตนต่อพระเจ้า ชาวโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และลูเทอแรน เรียกท่านว่า”นักบุญมีคาเอลอัครทูตสวรรค์” หรือเรียกง่าย ๆ ว่านักบุญมีคาเอล ชาวออร์ทอดอกซ์เรียกท่านว่า “ทักสิอาร์คอัครทูตสวรรค์มีคาเอล” หรืออัครทูตสวรรค์มีคาเอล กลุ่มพยานพระยะโฮวา เซเวนเดย์แอดเวนทิสต์ และนิกายใหม่ ๆ บางนิกายในคริสต์ศาสนามองว่ามีคาเอลคือ “พระคริสต์มีคาเอล” ซึ่งหมายถึงพระคริสต์ในสภาพก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายสอนว่ามีคาเอลที่จริงก็คืออาดัมตามหนังสือปฐมกาลนั่นเองที่ไปเกิดบนสวรรค์ และว่ามีคาเอลคือผู้ช่วยพระเยโฮวาห์ (ซึ่งอ้างว่าคือพระเยซูตอนอยู่บนสวรรค์) สร้างโลกตามการชี้นำของพระเจ้.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและอัครทูตสวรรค์มีคาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อารมาเกดโดน

อห์นแห่งปัทมอสกำลังนิพนธ์หนังสือวิวรณ์ อารมาเกดโดน (Armageddon; Ἁρμαγεδών. Harmagedōn, הַר מְגִדּוֹ, Har Megiddo; أرمجدون; ภาษาละตินสมัยหลัง: Armagedōn) เป็นสมรภูมิการยุทธ์อันเกี่ยวข้องกับคำพยากรณ์วันสิ้นโลกตามความเชื่อของศาสนาอับราฮัม ตามความเชื่อของฝ่ายบุพสหัสวรรษนิยม (premillennialism) พระเมสสิยาห์จะเสด็จมาอีกครั้ง เพื่อขจัดศัตรูของพระคริสต์ (antichrist) ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลขนานเขาเหล่านั้นว่า "สัตว์" (beast) โดยพระเมสสิยาห์จะกระทำสงคราม ณ สมรภูมิอารมาเกดโดน เพื่อยังให้ "สัตว์" ทั้งปวงปลาสนาการไป และบัดนั้น ซาตานจักถูกผลักไสลงสู่ "ช่องบาดาล" (bottomless pit) หรือ "นรกขุมลึก" (abyss) เป็นเวลาหนึ่งพันปี ซึ่งเรียกว่า "ยุคพันปี" (Millennial Age) ทว่า เมื่อซาตานได้รับการปลดปล่อยจากนรกแล้ว มันจักประชุมฝูงชนแห่ง "ยะยูจและมะยูจ" (Gog and Magog) จาก "มุมทั้งสี่ของแผ่นดินโลก" (four corners of the earth) และประดาพลมากลุ้มรุมล้อม "องค์บริสุทธิ์" (holy ones) และ "นครอันเป็นที่รัก" (beloved city) (หมายถึง นครเยรูซาเลม) เอาไว้ ฝ่ายพระเจ้าจะบันดาลเพลิงกาฬร่วงลงจากชั้นฟ้า และผลาญไหม้เหล่ายะยูจและมะยูจ เมื่อนั้น ปีศาจที่ล่อลวงชนแห่งยะยูจและมะยูจมา ก็จะถูกทิ้งลง "บึงไฟนรก" (Gehenna) ที่ซึ่งฝูง "สัตว์" และ "ผู้เผยพระวจนะเท็จ" (False Prophet) ถูกส่งลงมาเมื่อพันปีก่อนหน้านี้ คำภาษาอังกฤษว่า "Armageddon" มาจากภาษาฮีบรูว่า "har məgiddô" (הר מגידו) หมายถึง "เขาเมกิดโด" (Mountain of Megiddo) สถานที่ทำสงครามหลายครั้งในสมัยโบราณ.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและอารมาเกดโดน · ดูเพิ่มเติม »

อารามโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ

อารามโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ (Beaulieu-sur-Dordogne Abbey) หรือชื่อเต็มคือ อารามแซ็ง-ปีแยร์เดอโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ (Abbaye Saint-Pierre de Beaulieu-sur-Dordogne) เป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกติน ตั้งอยู่ที่เมืองโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ กอแรซ แคว้นลีมูแซ็ง ประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและอารามโบลีเยอ-ซูร์-ดอร์ดอญ · ดูเพิ่มเติม »

คณะซี. เอ็ม. เอ.

องค์การเดอะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารีอะไลแอนซ์ (Christian and Missionary Alliance) เรียกโดยย่อว่า คณะซี.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและคณะซี. เอ็ม. เอ. · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์

ริสตจักรเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ (Seventh-day Adventist Church) เป็นคริสตจักรและนิกายหนึ่งในขบวนการแอดเวนทิสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ ที่ถือวันเสาร์เป็นวันสะบาโต และรอรับเสด็จพระเยซูที่จะเสด็จมาอีกครั้ง นิกายนี้มีพัฒนาการมาจากขบวนการมิลเลไรต์ในสหรัฐอเมริกาช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี..

ใหม่!!: การมาครั้งที่สองและเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »