โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทำหน้าที่ของไต

ดัชนี การทำหน้าที่ของไต

ในวักกะวิทยา (วิทยาไต) การทำงานของไตอาจหมายถึงค่าที่ใช้บ่งชี้สภาพของไต หรือหน้าที่โดยปกติของไตก็ได้ อัตราการกรองที่โกลเมอรูลัสคืออัตราการไหลของสารน้ำที่ถูกกรองผ่านไต อัตราการชำระครีเอทินีนคือปริมาตรของพลาสมา (น้ำเลือด) ที่ถูกกรองเอาครีเอทินีนออกไปจนหมด ในหนึ่งหน่วยเวลา มีประโยชน์สามารถใช้ประมาณค่า GFR ได้ เนื่องจากการวัด GFR ที่แท้จริง มีความยุ่งยากมากจนไม่อาจทำได้ในการให้บริการสาธารณสุขปกติ โดยค่า CrCl จะสูงกว่า GFR จริงๆ เนื่องจากร่างกายมีการขับครีเอทินีนผ่านกลไกอื่นที่ไม่ใช่การกรองด้วย ทั้งนี้กลไกนี้ยับยั้งได้ด้วยยา cimetidine หมวดหมู่:สรีรวิทยาของไต.

17 ความสัมพันธ์: กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับกลุ่มอาการเนโฟรติกการบำบัดทดแทนไตการตั้งครรภ์การเป็นพิษจากพาราเซตามอลสรีรวิทยาไตหน่วยไตอะมิกาซินจักซ์ตาโกลเมอรูลาร์ แอปพาราตัสความดันโลหิตสูงโรคนิ่วไตโรคไตเรื้อรังไตไตวายไตเสียหายเฉียบพลันเจนตามัยซินICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ

กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ

กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ (Hepatorenal syndrome, HRS) เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือตับวายเต็มขั้นมีการทำงานของไตเสื่อมลงอย่างเฉียบพลัน โรคนี้มักเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ การรักษาอื่นๆ เช่นการฟอกเลือด อาจช่วยชะลอการดำเนินโรคได้ HRS อาจเกิดกับผู้ป่วยตับแข็ง (ทุกสาเหตุ) ตับอักเสบรุนแรงเนื่องจากแอลกอฮอล์ หรือตับวายเต็มขั้น มักเกิดเพื่อการทำงานของตับแย่ลงอย่างรวดเร็วจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การติดเชื้อ เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือการได้รับยาขับปัสสาวะมากเกินขนาด ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างพบบ่อยของตับแข็ง โดยพบในผู้ป่วยตับแข็งถึง 18% ภายใน 1 ปีตั้งแต่วินิจฉัย และ 39% ภายใน 5 ปีตั้งแต่วินิจฉัย เชื่อกันว่าเมื่อการทำงานของตับแย่ลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในระบบไหลเวียนส่วนที่หล่อเลี้ยงลำไส้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของการไหลของเลือดและสภาพของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ไตวายที่เกิดจาก HRS เป็นผลที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดเหล่านี้มากกว่าจะเป็นผลที่เกิดจากการบาดเจ็บของไตโดยตรง สภาพของไตนั้นจะค่อนข้างปกติทั้งจากการดูด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์ ยิ่งกว่านั้นการทำงานของไตยังอาจจะทำงานได้ปกติอีกด้วยหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า (เช่นสมมติได้มีการปลูกถ่ายไตนี้ไปยังบุคคลที่มีตับปกติ) การวินิจฉัย HRS ขึ้นกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่มีโอกาสเป็นโรค ปัจจุบันมีการให้คำนิยาม HRS ไว้สองชนิด โดยชนิดที่ 1 ผู้ป่วยจะมีการทำงานของไตที่แย่ลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ชนิดที่ 2 จะมีความสัมพันธ์กับการมีท้องมานที่รักษาตามปกติด้วยยาขับปัสสาวะแล้วไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก อัตราตายของผู้ป่วย HRS ชนิดที่ 1 สูงกว่า 50% ในระยะสั้นตามบันทึกชุดกรณีผู้ป่วย แนวทางการรักษาระยะยาววิธีเดียวคือการปลูกถ่ายตับ ซึ่งระหว่างที่รอการปลูกถ่ายตับนั้นผู้ป่วย HRS มักได้รับการรักษาอื่นๆ ซึ่งช่วยทำให้ความตึงของหลอดเลือดดีขึ้น พร้อมกับยาและการรักษาประคับประคองอื่นๆ หรือการสร้างทางเชื่อมของระบบไหลเวียนพอร์ทัลและระบบไหลเวียนทั่วร่างกายภายในตับผ่านทางหลอดเลือดดำคอ (TIPS) เพื่อลดความดันในหลอดเลือดดำพอร์ทัล ผู้ป่วยบางคนอาจจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดเพื่อทดแทนการทำงานของไต หรือเทคนิคใหม่ๆ อย่างการฟอกตับ เป็นต้น.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและกลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเนโฟรติก

กลุ่มอาการเนโฟรติกคือกลุ่มกว้างๆ ของโรคไตอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของการทำงานของไตทำให้มีการสูญเสียโปรตีนในเลือดปริมาณมากไปกับปัสสาวะ ทำให้มีภาวะโปรตีน ชนิดที่เรียกว่า อัลบูมิน ในเลือดต่ำ และบวม โรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการเนโฟรติกมีหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่ minimal-change nephropathy, focal segmental glomerulosclerosis และ membranous nephropathy นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ที่ไม่ได้มีผลต่อไตอย่างเดียว อีกหลายโรค เช่น ที่พบในเบาหวาน อะไมลอยโดซิส และลูปัส อีริธีมาโตซัส เป็นต้น กลุ่มอาการเนโฟรติกพบได้ในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ ทุกเพศ และทุกเชื้อชาติ อาจเกิดเดี่ยวๆ หรือเกิดร่วมกับกลุ่มอาการไตอักเสบ ซึ่งมีการอักเสบของโกลเมอรูลัส ทำให้มีเลือดออกมากับปัสสาวะและการทำงานของไตเสื่อมลงได้.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและกลุ่มอาการเนโฟรติก · ดูเพิ่มเติม »

การบำบัดทดแทนไต

การบำบัดทดแทนไตคือการรักษาวิธีหนึ่งที่ใช้ทดแทนหน้าที่ของไตในการฟอกและกรองเลือด ใช้เมื่อไตทำงานไม่ได้หรือทำงานได้ไม่เพียงพอ เรียกว่าไตวาย ทั้งไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง การบำบัดทดแทนไตมีหลายวิธี ได้แก่ การแยกสารผ่านเยื่อ (dialysis) (ทั้งการชำระเลือดผ่านเยื่อ (hemodialysis) และการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง (peritoneal dialysis)), การกรองเลือด, การกรองเลือดและชำระเลือดผ่านเยื่อ และการปลูกถ่ายไต หมวดหมู่:วักกวิทยา.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและการบำบัดทดแทนไต · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การเป็นพิษจากพาราเซตามอล

การเป็นพิษจากพาราเซตามอลเกิดจากการได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด อาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาดในครั้งเดียวหรือใช้ยาสะสมต่อเนื่องก็ได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังได้รับยาเกินขนาด บางรายอาจมีอาการแบบไม่จำเพาะ เช่น ปวดท้องเล็กน้อย หรือคลื่นไส้ หลังจากนั้นจะตามมาด้วยระยะที่ไม่มีอาการใดๆ ประมาณ 2-3 วัน ตามด้วยอาการของภาวะตับวาย ได้แก่ดีซ่าน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และเพ้อสับสน ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ไตวาย ตับอ่อนอักเสบ น้ำตาลในเลือดต่ำ และเลือดเป็นกรดจากแลกติก ในกรณีผู้ป่วยไม่เสียชีวิตมักฟื้นตัวได้ในเวลา 2-3 สัปดาห์ หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดีขึ้นได้เองในขณะที่บางรายจะเสียชีวิต ภาวะนี้อาจเกิดจากการกินยาผิดขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเป็นการฆ่าตัวตายก็ได้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพิษได้แก่การติดสุรา การขาดสารอาหาร หรือการใช้ยาอื่นร่วมด้วย พิษต่อตับที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากตัวยาพาราเซตามอลโดยตรง แต่เกิดจากสารเมตาบอไลต์ชื่อ NAPQI ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างมาจากตัวยา สารนี้จะลดปริมาณกลูตาไทโอนในตับ และทำลายเซลล์ตับได้โดยตรง การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัติเพื่อดูปริมาณยาที่รับเข้าสู่ร่างกาย ร่วมกับการตรวจระดับยาพาราเซตามอลในเลือดเทียบกับระยะเวลาหลังจากการรับยาเข้าสู่ร่างกาย แพทย์มักอาศัยแผนภาพโนโมแกรมของรูแม็ค-แม็ธธิวเพื่อประเมินว่าระดับยาที่วัดได้ในเวลาที่ตรวจนั้นอยู่ในช่วงที่เป็นพิษหรือไม่ เพียงใด การรักษาอาจทำด้วยการให้ถ่านกัมมันต์หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในเวลาอันสั้นหลังรับยาเข้าสู่ร่างกาย ปัจจุบันไม่แนะนำให้บังคับให้ผู้ป่วยอาเจียนเอายาออกมา หากประเมินแล้วพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดพิษ แพทย์มักให้ยาอะซีติลซิสเตอีนเพื่อต้านพิษ ซึ่งมักให้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หลังจากฟื้นตัวแล้วผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางจิตเวชร่วมด้วย ในบางรายหากมีอาการตับวายขั้นรุนแรงอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ซึ่งข้อบ่งชี้ของการปลูกถ่ายตับมักดูจากความเป็นกรดของเลือด ค่าแลกเตตในเลือดที่สูง การแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ หรือมีโรคสมองจากตับอย่างรุนแรง หากได้รับการรักษาในระยะแรกจะมีโอกาสเกิดตับวายน้อยมาก โดยรวมผู้ป่วยภาวะพิษจากพาราเซตามอลจะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.1% มีการบรรยายภาวะพิษจากพาราเซตามอลเป็นครั้งแรกในช่วงคริสตทศวรรษ 1960 อัตราการเกิดภาวะเป็นพิษนี้แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของโลก ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยภาวะนี้ประมาณ 100,000 คนต่อปี ในสหราชอาณาจักรเป็นภาวะรับยาเกินขนาดจนเกิดพิษที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดคือผู้ป่วยเด็ก และเป็นสาเหตุของภาวะตับวายเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย อาเจียน ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ค่าตับ serum transaminase(ALT, AST) จะสูงมาก ไฟล์:Paracetamol metabolism it.svg|สารพิษ NAPQI จากยาพาราเซตามอล ไฟล์:NAPQI.png|สารพิษ NAPQI.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและการเป็นพิษจากพาราเซตามอล · ดูเพิ่มเติม »

สรีรวิทยาไต

รีรวิทยาไต เป็นการศึกษาสรีรวิทยาของไต อันครอบคลุมการทำหน้าที่ทุกอย่างของไต รวมถึงการดูดซึมกลับซึ่งกลูโคส กรดอะมิโน และสารโมเลกุลเล็กอื่น การกำกับแร่ธาตุโซเดียม โพแทสเซียมและอิเล็กโทรไลต์อื่น การกำกับสมดุลของเหลวและความดันเลือด การธำรงสมดุลกรด-เบส การผลิตฮอร์โมนหลายชนิด รวมถึงอีรีโทรปอยอีติน และการปลุกฤทธิ์วิตามินดี สรีรวิทยาไตส่วนมากศึกษาที่ระดับหน่วยไต อันเป็นหน่วยทำหน้าที่เล็กที่สุดของไต แต่ละหน่วยเริ่มต้นด้วยส่วนกรองซึ่งกรองเลือดที่เข้าสู่ไต ของเหลวที่กรองได้จะไหลตามความยาวของหน่วยไต ซึ่งเป็นโครงสร้างรูปท่อบุด้วยเซลล์ที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะชั้นเดียวและล้อมรอบด้วยหลอดเลือดฝอย หน้าที่หลักของเซลล์บุเหล่านี้ คือ การดูดน้ำและสารโมเลกุลเล็กจากของเหลวที่กรองได้กลับเข้าสู่เลือด และหลั่งของเสียจากเลือดออกมาเป็นปัสสาวะ การทำหน้าที่ที่เหมาะสมของไตจำเป็นต้องได้รับและกรองเลือดอย่างเพียงพอ การกรองเกิดขึ้นในระดับที่เห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยหน่วยกรองหลายแสนหน่วย เรียก เม็ดไต (renal corpuscle) ซึ่งแต่ละหน่วยประกอบด้วยโกลเมอรูลัสและโบว์แมนแคปซูล การประเมินการทำหน้าที่ของไตสากลมักใช้การประมาณอัตราการกรอง เรียก อัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate; GFR).

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและสรีรวิทยาไต · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยไต

หน่วยไต (nephron) เป็นโครงสร้างพื้นฐานและหน่วยทำงานพื้นฐานของไต มีหน้าที่หลักคือควบคุมสมดุลของสารน้ำและสารต่างๆ ในร่างกาย เช่นโซเดียม ผ่านการกรองเลือดที่ผ่านหน่วยไต ดูดกลับสารที่ต้องการ และขับสารที่ไม่ต้องการทิ้งผ่านทางปัสสาวะ หน้าที่ของหน่วยไตนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของร่างกาย ซึ่งจะถูกควบคุมโดยระบบต่อมไร้ท่อผ่านทางฮอร์โมนต่างๆ เช่น ฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ อัลโดสเตอโรน และพาราไทรอยด์ เป็นต้น ไตปกติข้างหนึ่งของมนุษย์จะมีหน่วยไตอยู่ประมาณ 800,000 ถึง 1.5 ล้านหน่วยไต.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและหน่วยไต · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกาซิน

อะมิกาซิน (Amikacin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ การติดเชื้อในข้อ, การติดเชื้อในช่องท้อง, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยาหลายขนานอีกด้วย ยานี้มีทั้งในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อและ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อะมิกาซินออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย โดยจะเข้าจับกับหน่วยย่อยที่ 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายไปในที่สุด ทั้งนี้ อะมิกาซินมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ คือ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน, การทรงตัวผิดปกติ, และเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตได้ ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบอุบัติการณ์การเกิดค่อนข้างน้อย ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจตามมาได้ นอกจากนี้ การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กที่คลอดออกมามีภาวะหูหนวกแบบถาวรได้ อะมิกาซินเป็นยาที่พัฒนาขึ้นมาจากกานามัยซิน ได้รับการจดสิทธิบัตรเมื่อ..

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและอะมิกาซิน · ดูเพิ่มเติม »

จักซ์ตาโกลเมอรูลาร์ แอปพาราตัส

Schematic depicting how the RAAS works. Here, activation of the RAAS is initiated by a low perfusion pressure in the juxtaglomerular apparatus Renal corpuscle. Juxtaglomerular apparatus is "D". จักซ์ตาโกลเมอรูลาร์ แอปพาราตัส (Juxtaglomerular apparatus) เป็นโครงสร้างหนึ่งของไต ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยไตแต่ละอัน ชื่อ Juxtaglomerular apparatus มาจากลักษณะทางเนื้อเยื่อที่พบว่าโครงสร้างนี้อยู่ข้างๆ โกลเมอรูลัส อยู่ระหว่าง vascular pole ของ renal corpuscle และส่วนย้อนกลับของ distal convoluted tubule ของหน่วยไตอันเดียวกัน การมีตำแหน่งอยู่ที่บริเวณนี้มีความสำคัญต่อหน้าที่ของ Juxtaglomerular apparatus ในการควบคุมปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงไตและ glomerular filtration rate โดยเซลล์ของ Juxtaglomerular apparatus ประกอบด้วย macula densa, extraglomerular mesangial cell และ juxtaglomerular cell.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและจักซ์ตาโกลเมอรูลาร์ แอปพาราตัส · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

โรคนิ่วไต

รคนิ่วไต (kidney stone disease, urolithiasis) เป็นก้อนวัสดุแข็งที่เกิดในทางเดินปัสสาวะ นิ่วไตปกติจะเกิดในไตแล้วออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ โดยก้อนเล็ก ๆ อาจจะผ่านออกโดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าใหญ่เกินกว่า 5 มิลลิเมตร ก็อาจขวางท่อไตมีผลให้เจ็บอย่างรุนแรงที่หลังหรือท้องส่วนล่าง นิ่วยังอาจทำให้เลือดออกในปัสสาวะ ทำให้อาเจียน หรือทำให้เจ็บเมื่อถ่ายปัสสาวะ (dysuria) คนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งจะเกิดนิ่วอีกภายใน 10 ปี นิ่วโดยมากมีเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งระดับแคลเซียมสูงในปัสสาวะ (hypercalciuria) โรคอ้วน อาหารบางชนิด ยาบางชนิด การทานแคลเซียมเป็นอาหารเสริม ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์เกินในเลือด (hyperparathyroidism) โรคเกาต์ และดื่มน้ำไม่พอ นิ่วจะเกิดในไตเมื่อแร่ในปัสสาวะเข้มข้นมาก การวินิจฉัยปกติจะอาศัยอาการ การตรวจปัสสาวะ และภาพฉายรังสี โดยการตรวจเลือดอาจมีประโยชน์ นิ่วมักจะจัดกลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่ คือ nephrolithiasis (ในไต) ureterolithiasis (ในท่อไต) cystolithiasis (ในกระเพาะปัสสาวะ) หรือโดยองค์ประกอบของนิ่ว เช่น แคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate), กรดยูริก, สตรูไวท์ (struvite), ซิสทีน (cystine) เป็นต้น คนไข้ที่มีนิ่วสามารถป้องกันโดยดื่มน้ำให้ผลิตปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน ถ้ายังไม่พอ อาจทานยาไทอะไซด์ (thiazide), ไซเตรต (citrate, กรดไซตริก) หรืออัลโลพิวรีนอล (allopurinol) คนไข้ควรเลี่ยงดื่มน้ำอัดลม (เช่น โคลา) ถ้านิ่วไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา ไม่เช่นนั้นแล้ว ยาแก้ปวดเป็นการรักษาเบื้องต้น โดยใช้ยาเช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) หรือโอปิออยด์ นิ่วที่ใหญ่เพิ่มขึ้นอาจขับออกได้โดยใช้ยา tamsulosin หรืออาจต้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy), การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy), หรือการผ่าตัดนิ่วผ่านผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy) คนทั่วโลกประมาณ 1-15% จะมีนิ่วไตในช่วงหนึ่งของชีวิต ในปี 2558 มีคนไข้ 22.1 ล้านราย ทำให้เสียชีวิต 16,100 ราย เป็นโรคที่สามัญยิ่งขึ้นในโลกตะวันตกตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยทั่วไป ชายจะเป็นมากกว่าหญิง นิ่วไตเป็นโรคที่ปรากฏตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมีการกล่าวถึงการผ่าตัดเพื่อเอาออกเริ่มตั้งแต่ 600 ปีก่อน..

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและโรคนิ่วไต · ดูเพิ่มเติม »

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งมีค่อยๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการของการที่ไตทำงานเสื่อมลงนั้นเกือบทั้งหมดเป็นอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไตวายเรื้อรังจะพบจากการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคไต เช่น ผู้ป่วยความดันเลือดสูง เบาหวาน หรือผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไต เช่น โรคของระบบหัวใจหลอดเลือด ซีด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและโรคไตเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและไต · ดูเพิ่มเติม »

ไตวาย

ตวาย (renal failure, kidney failure, renal insufficiency) เป็นภาวะซึ่งการทำงานของไตผิดปกติไปจนไม่สามารถกรองสารพิษและของเสียออกจากเลือดได้เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน (ไตเสียหายเฉียบพลัน) และเรื้อรัง (ไตวายเรื้อรัง) ซึ่งเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หลายสาเหตุ ไตที่วายจะมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสลดลง ตรวจเคมีในเลือดมักพบว่ามีระดับครีแอทินีนในซีรัม (serum creatinine) สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของไตได้แก่ความผิดปกติของปริมาณสารน้ำในร่างกาย กรดด่างไม่สมดุล ระดับโพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต ผิดปกติ เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้เลือดจาง กระดูกหักแล้วหายช้า ในบางสาเหตุอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนปนในปัสสาวะได้ การเป็นโรคไตเรื้อรังส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ได้อย่างมาก.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและไตวาย · ดูเพิ่มเติม »

ไตเสียหายเฉียบพลัน

วะไตเสียหายเฉียบพลัน (acute kidney injury, AKI) หรือเดิมใช้ชื่อว่าภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure, ARF) คือภาวะซึ่งร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของไตอย่างเฉียบพลัน มีสาเหตุหลากหลายตั้งแต่ภาวะปริมาตรเลือดต่ำทุกแบบ การได้รับสารซึ่งเป็นอันตรายต่อไต การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ และสาเหตุอื่นๆ การวินิจฉัยภาวะไตเสียหายเฉียบพลันอาศัยลักษณะเฉพาะของผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การมีระดับของยูเรียไนโตรเจนในเลือดและครีแอทินีนขึ้นสูง หรือการตรวจพบว่าไตผลิตปัสสาวะออกมาได้น้อยกว่าปกติ ภาวะไตเสียหายเฉียบพลันสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมตะบอลิก ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ยูเรียคั่งในเลือด เสียสมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่นๆ การให้การรักษาทำได้โดยให้การรักษาประคับประคอง เช่น การบำบัดทดแทนไต และการรักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหต.

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและไตเสียหายเฉียบพลัน · ดูเพิ่มเติม »

เจนตามัยซิน

นตามัยซิย (Gentamicin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันมีจำหน่ายในตลาดยาภายใต้ชอื่การค้า Garamycin และอื่นๆ ยานี้ถูกนำมาใช้วนการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของกระดูก (osteomyelitis), เยื่อบุหัวใจอักเสบ, ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease;PID), เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ รวมไปถึงโรคติดเชื้ออื่นๆอีกมากมาย แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาหนองใน หรือการติดเชื้อคลามัยเดีย โดยสามารถบริหารยาได้หลายช่องทาง ได้แก่ การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, การฉีดเข้าหล้ามเนื้อ หรือยาใช้ภายนอกในรูปแบบยาทา ยาทาสำหรับใช้ภายนอกนั้นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อของแผลไฟไหม้ หรืออาจมีในรูปแบบยาหยอดยาสำหรับการติดเชื้อในดวงตา ในประเทศพัฒนาแล้ว ยานี้มักถูกนำมาใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในช่วง 2 วันแรกระหว่างรอผลการตรวจเพาะเชื้อสาเหตุและตรวจความไวของเชื้อนั้นๆต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ จากนั้นจะมีการปรับเปลี่ยนการรักษาตามผลการตรวจดังกล่าว นอกจากนี้ การใช้ยานี้อาจจำเป็นต้องติดตามระดับยาในกระแสเลือดโดยการตรวจเลือดด้วย เพื่อเฝ้าติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงจากยานี้ เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ จึงมีกลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกันนี้ โดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ส่งผลให้เซลล์ของแบคทีเรียนั้นๆขาดโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ และตายไปในที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่า เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการฆ่าแบคทีเรีย (bactericidal antibiotic) ซึ่งแตกต่างจากยาปฏิชีวนะกลุ่มอื่นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนเช่นกัน แต่มีคุณสมบัติเพียงแค่ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (bacteriostatic antibiotic) เช่นเดียวกันกับยาชนิดอื่นๆ การใช้เจนตามัยซินในการรักษา อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้หลายประการ โดยเฉพาะการเกิดพิษต่อหู และการเกิดพิษต่อไต ซึ่งถือเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงของเจนตามัยซินและยาปฏิชีวนะอื่นในกลุ่มนี้ โดยการเกิดพิษต่อหูจากยานี้จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้ทั้งระบบการได้ยินและระบบการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งอาจพัฒนาเป็นความผิดปกติแบบถาวรได้ นอกจากนี้ การใช้เจนตามัยซินในระหว่างตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในกลุ่มประชากรดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม ยานี้ไม่ถูกขับออกทางน้ำนม ทำให้สามารถใช้ยานี้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงที่กำลังให้นมบุตร เจนตามัยซินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและเจนตามัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: การทำหน้าที่ของไตและICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Creatinine clearanceCreatinine clearance rateCreatinine clearance testEstimated Glomerular Filtration RateGlomerular filtrationGlomerular filtration rateKidney functionKidney function testsRenal functionRenal function testSingle nephron glomerular filtration rateTest of renal functionการกรองที่โกลเมอรูลัสการทำงานของไตอัตราการกรองสารที่ไตอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสอัตราการกรองที่โกลเมอรูลัสอัตราการกรองของโกลเมอรูลัสอัตราการกรองของไตอัตราการชำระครีเอทินีนค่าชำระครีเอตินีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »