โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทดลองแบบอำพราง

ดัชนี การทดลองแบบอำพราง

การทดลองแบบอำพราง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hemisphere ว่า "doubled blind cross-over study" ว่า "การศึกษาข้ามกลุ่มแบบอำพรางสองฝ่าย" (blind experiment, blinded experiment) เป็นการทดลองที่ปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองที่อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียงในผลการทดลอง ไม่ให้ผู้ทำการทดลอง หรือผู้รับการทดลอง หรือทั้งสองฝ่าย รับรู้ จนกระทั่งการทดลองได้จบเสร็จสิ้นลงแล้ว ความเอนเอียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นเป็นได้ทั้งแบบจงใจหรือแบบไม่จงใจ ส่วนการทดลองที่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้เรื่องที่ปิด เรียกว่า การทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blinded experiment) นักวิทยาศาสตร์จะใช้การทดสอบแบบอำพราง.

19 ความสัมพันธ์: บูโพรพิออนฟลูอ็อกเซทีนพาโรโมมัยซินการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอกการหลอกลวงตัวเองการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการทดลองแบบเปิดกาแฟขี้ชะมดรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยสมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์สเตรปโตมัยซินความสมเหตุสมผลภายในความเอนเอียงของผู้ทดลองงานศึกษาแบบสังเกตตัวแปรกวนโหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์One Million Dollar Paranormal Challenge

บูโพรพิออน

ูโพรพิออนรสำหรับรับประทานในรูปแบบยาออกฤทธิ์นาน ความแรง 300 มิลลิกรัม/เม็ด ชื่อการค้า Wellbutrin XL ซึ่งถูกผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 โดยแวเลียนต์ฟาร์มาซูติคอลส์ (Valeant Pharmaceuticals) บูโพรพิออน (Bupropion) เป็นยาที่มีข้อข่งใช้หลักสำหรับต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่ มีจำหน่ายในตลาดยาสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า Wellbutrin, Zyban และอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แพทย์มักสั่งจ่ายบูโพรพิออนเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นหลัก ในขณะที่ประเทศอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้น การใช้บูโพรพิออนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวถือเป็นการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ (off-label use) ถึงแม้ว่ายานี้จะมีผลในการต้านซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ยานี้เป็นยาเสริมในกรณีที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทางเลือกแรกอย่างยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินได้ไม่เต็มที่ ปัจจุบัน บูโพรพิออนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด โดยส่วนใหญ่แล้วต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์หรือซื้อได้โดยใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ในประเทศไทย เนื่องจากสถานะทางกฎหมายปัจจุบันของบูโพรพิออนนั้นจัดเป็นยาอันตราย ประชาชนจึงสามารถเข้าถึงได้จากร้านยาที่มีเภสัชกรปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ที่ใช้ยานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อติดตามประเมินผลและเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด บูโพรพิออนเป็นยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางด้วยการยับยั้งการเก็บกลับนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีน (NDRI) โดยจัดเป็นยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอะทิพิคอล ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นที่เป็นที่นิยมสั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งมักเป็นยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินแบบจำเพาะ อย่างไรก็ตาม การได้รับการรักษาด้วยบูโพรพิออนอาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดอาการชักหรือโรคลมชักเพิ่มมากขึ้นได้ โดยความผิดปกติข้างต้นถือว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของบูโพรพิออน และเป็นสาเหตุที่ทำให้ยานี้ถูกเพิกถอนออกจากตลาดยาไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็ได้รับการรับรองให้นำกลับมาใช้ใหม่ภายใต้ขนาดยาแนะนำในการรักษาที่ลดต่ำลงจากเดิม ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบบูโพรพิออนกับยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นๆแล้วพบว่า บูโพรพิออนไม่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว, ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, หรือการนอนไม่หลับ เหมือนที่เกิดขึ้นในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าอื่น เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่าบูโพรพิออนนั้นส่งผลต่อเป้าหมายทางชีวภาพหลากหลายตำแหน่งในร่างกาย แต่ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อเป็นยาต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่นั้นเป็นผลมาจากการที่ยานี้ออกฤทธิ์เป็นสารยับยั้งการเก็บกลับนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีนและปิดกั้นตัวรับนิโคทินิคในร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้อาการซึมเศร้าบรรเทาลง และเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด ตามลำดับ ทั้งนี้ บูโพรพิออนจัดเป็นสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มอะมิโนตีโตน ซึ่งมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอย่างคาทิโนน, แอมฟีพราโมน และฟีนีไทลามีน บูโพรพิออนถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนาริแมน เมห์ต้า (Nariman Mehta) เมื่อปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและบูโพรพิออน · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูอ็อกเซทีน

ฟลูอ็อกเซทีน (Fluoxetine) หรือชื่อทางการค้าคือ โปรแซ็ค (Prozac) และ ซาราเฟ็ม (Sarafem) เป็นยาแก้ซึมเศร้าแบบรับประทานประเภท selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) ใช้รักษาโรคซึมเศร้า (MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรคหิวไม่หายแบบทานแล้วอาเจียน (bulimia nervosa) โรคตื่นตระหนก (panic disorder) และความละเหี่ยก่อนระดู (premenstrual dysphoric disorder ตัวย่อ PMDD) เป็นยาที่อาจลดความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในคนไข้อายุเกิน 65 ปี และเป็นยาที่ใช้รักษาการหลั่งน้ำอสุจิเร็ว (premature ejaculation) ได้ด้วย ผลข้างเคียงที่สามัญก็คือนอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ปากแห้ง เป็นผื่น และฝันผิดปกติ ผลข้างเคียงที่รุนแรงรวมทั้งเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome) อาการฟุ้งพล่าน การชัก โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นสำหรับคนอายุต่ำกว่า 25 ปี และความเสี่ยงการเลือดออกสูงขึ้น --> ถ้าหยุดแบบฉับพลัน อาจมีอาการหยุดยา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความวิตกกังวล ความเวียนหัวคลื่นไส้ และการรับรู้สัมผัสที่เปลี่ยนไป ยังไม่ชัดเจนว่า ยาปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์หรือไม่ --> แต่ว่าถ้าทานยาอยู่แล้ว ก็ยังเหมาะสมที่จะทานต่อไปเมื่อให้นมลูก กลไกการทำงานของยายังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่ายาเพิ่มการทำงานของระบบเซโรโทนินในสมอง บริษัท Eli Lilly and Company ค้นพบยาในปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและฟลูอ็อกเซทีน · ดูเพิ่มเติม »

พาโรโมมัยซิน

รโมมัยซิน (Paromomycin) เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ หลายชนิด เช่นโรคบิดมีตัว, โรคไกอาร์ดิเอสิส (giardiasis), โรคติดเชื้อลิชมาเนีย, และ โรคติดเชื้อพยาธฺตัวตืด (Tapeworm infection) โดยพาโรโมมัยซินจัดเป็นยาทางเลือกแรกสำหรับการรักษาโรคบิดมีตัว หรือโรคไกอาร์ดิเอสิสในหญิงตั้งครรภ์ และเป็นยาทางเลือกรองในข้อบ่งใช้อื่นที่เหลือตามที่กล่าวข้างต้น โดยพาโรมัยซินสามารถตั้งตำรับให้อยู่ได้ทั้งรูปแบบยาสำหรับรับประทาน, ยาใช้ภายนอก, หรือยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยเมื่อได้รับยาพาโรโมมัยซินโดยการรับประทาน ได้แก่เบื่ออาหาร,คลื่นไส้,อาเจียน,ปวดท้อง,และท้องเสีย เมื่อใช้ยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการคัน,แดง,และตุ่มพองได้ ส่วนการได้รับยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาจทำให้มีไข้,ตับทำงานผิดปกติ,หรือหูหนวกได้ การใช้ยานี้ในค่อนข้างปลอดภัยในหญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร ทั้งนี้ พาโรมัยซินจัดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย พาโรโมมัยซินเป็นสารที่คัดแยกได้จากเชื้อแบคทีเรียStreptomyces krestomuceticusถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในทศวรรษที่1950 และได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาใน..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและพาโรโมมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก

หลอกที่ใช้ในงานวิจัยและการปฏิบัติจริง การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (Placebo-controlled studies) หรือ การศึกษาควบคุมด้วยการรักษาหลอก เป็นวิธีการทดสอบการรักษาทางการแพทย์ ที่นอกจากจะมีกลุ่มบุคคลที่ได้รับการรักษาที่เป็นประเด็น ก็ยังมีกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาหลอก (placebo) ที่ออกแบบไม่ให้มีผลอะไร การรักษาหลอกมักจะใช้ในการทดลองแบบอำพราง ที่คนไข้ไม่รู้ว่าตนกำลังได้รับการรักษาแบบจริงหรือหลอก บ่อยครั้งจะมีกลุ่มอีกลุ่มหนึ่ง (natural history) ที่ไม่ได้รับการรักษาอะไรเลย จุดมุ่งหมายของกลุ่มรักษาหลอกก็เพื่อที่จะแก้ปรากฏการณ์ยาหลอก (placebo effect) ซึ่งหมายถึงผลจากกระบวนการรักษาที่ไม่ได้เกิดจากการรักษาที่เป็นประเด็น เป็นผลที่อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งการรู้ว่ากำลังได้รับการรักษา ความใส่ใจจากแพทย์พยาบาล และความคาดหวังถึงประสิทธิผลการรักษาของผู้ทำงานวิจัย และถ้าไม่มีกลุ่มรักษาหลอกเพื่อใช้เปรียบเทียบ ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า การรักษามีผลอะไรจริง ๆ หรือไม่ เพราะคนไข้บ่อยครั้งจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาแบบหลอก การรักษาแบบหลอกอาจมีหลายแบบรวมทั้ง ยาที่มีแต่น้ำตาล การผ่าตัดที่ไม่ทำอะไรที่ได้ผลจริง ๆ (เช่น เพียงแต่ผ่า และบางครั้งจับหรือจัดการอวัยวะเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ) หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (เช่น การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์) ที่ไม่ได้เปิดจริง ๆ นอกจากนั้นแล้ว เพราะเหตุที่ร่างกายสามารถดีขึ้นได้โดยธรรมชาติ หรือเพราะผลทางสถิติอื่น ๆ เช่น regression to the mean (คือโรคที่อาการหนักมากมักจะดีขึ้น) คนไข้เป็นจำนวนมากจะดีขึ้นแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาโดยประการทั้งปวง ดังนั้น คำถามที่เป็นประเด็นเมื่อประเมินการรักษาไม่ใช่ "การรักษาได้ผลหรือไม่" แต่เป็น "การรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาหลอก หรือเมื่อไม่ได้การรักษาอะไรเลยหรือไม่" นักวิจัยที่ทำการทดลองทางคลินิกในยุคต้น ๆ คนหนึ่งเขียนไว้ว่า "จุดประสงค์แรกของการทดสอบการรักษาก็คือเพื่อสืบหาว่า คนไข้ที่ได้รับการรักษาที่กำลังสืบสวนหายได้เร็วกว่า ได้สมบูรณ์กว่า ได้บ่อยครั้งกว่า ที่จะเป็นเมื่อไม่ได้" หรือกล่าวโดยกว้าง ๆ ก็คือ จุดมุ่งหมายของการทดลองทางคลินิกก็เพื่อจะกำหนดว่า การรักษาอะไร ทำอย่างไร ต่อคนไข้ประเภทไหน ในสภาวะอะไร ที่ได้ผลดีที่สุด ดังนั้น การใช้การรักษาหลอกเป็นองค์ควบคุมมาตรฐานในการทดลองทางคลินิกโดยมาก ซึ่งพยายามทำการประเมินเชิงปริมาณ (quantitative assessment) ของประสิทธิผลของยาหรือการรักษา การตรวจสอบหรือการทดลองทางคลินิกอย่างที่ว่า เรียกว่า การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (placebo-controlled study) โดยมีกลุ่มควบคุมเป็นแบบลบ (คือเป็นกลุ่มที่ไม่ควรได้ผล) ส่วนงานศึกษาที่ควบคุมโดยการรักษาที่เคยตรวจสอบมาก่อนแล้ว จะเรียกว่า positive-control study เพราะว่า กลุ่มควบคุมเป็นแบบบวก (คือควรจะได้ผลดังที่เคยพบมาก่อนแล้ว) องค์กรควบคุมของรัฐจะอนุมัติยาก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบที่ไม่ใช่เพียงแค่แสดงว่ามีผลต่อคนไข้ แต่ว่าผลต่างที่ได้มีมากกว่าที่ได้จากการรักษาหลอก (คือมีผลต่อคนไข้จำนวนมากกว่า มีผลต่อคนไข้ในระดับสูงกว่า หรือทั้งสอง).

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก · ดูเพิ่มเติม »

การหลอกลวงตัวเอง

การหลอกลวงตัวเอง (Self-deception) เป็นกระบวนการปฏิเสธหรือให้เหตุผลแก้ต่างว่า หลักฐานหรือเหตุผลที่คัดค้านความคิดความเชื่อของตน ไม่อยู่ในประเด็นหรือไม่สำคัญ เป็นการที่ทำให้ตัวเองเชื่อเรื่องความจริง (หรือความไม่จริง) อย่างหนึ่ง โดยวิธีที่ไม่ปรากฏกับตนว่ากำลังหลอกตัวเอง.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการหลอกลวงตัวเอง · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบเปิด

Open-label trial หรือ Open trial (การทดลองแบบเปิด) เป็นการทดลองทางคลินิกประเภทหนึ่ง ที่ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมการทดลองจะรู้ว่า จะได้รับการรักษาแบบไหน (คือการรักษาของกลุ่มทดลอง หรือของกลุ่มควบคุม/เปรียบเทียบ) เปรียบเทียบกับการทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียว ที่ผู้ร่วมการทดลองจะไม่รู้ และการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย ที่ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมการทดลองจะไม่รู้ การทดลองแบบเปิดอาจจะเหมาะสมในการเปรียบเทียบการรักษาพยาบาลที่คล้ายกันมาก เพื่อกำหนดว่าวิธีไหนมีประสิทธิผลดีกว่า และอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ในบางสถานการณ์ เช่นการเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการให้ยากับกายภาพบำบัด การทดลองแบบเปิดอาจจะจัดสรรผู้ร่วมการทดลองเข้ากลุ่มแบบสุ่ม แม้จะไม่มีการอำพราง และอาจจะไม่มีกลุ่มควบคุม คือผู้ร่วมการทดลองทั้งหมดจะได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและการทดลองแบบเปิด · ดูเพิ่มเติม »

กาแฟขี้ชะมด

วไร่กาแฟขี้ชะมดที่เกาะสุมาตราแสดงมูลที่ชะมดถ่ายออกมา มีเมล็ดกาแฟอยู่ภายในแต่ยังไม่ได้ล้าง กาแฟขี้ชะมด หรือ กาแฟชะมด (Kopi Luwak, civet coffee) หมายถึงเมล็ดกาแฟที่สัตว์กลุ่มชะมดโดยเฉพาะคืออีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hermaphroditus) ได้กินและถ่ายออกมาแล้ว นอกจากนั้นแล้ว ยังหมายถึงเครื่องดื่มกาแฟที่ทำมาจากเมล็ดกาแฟชนิดนี้ โดยที่คนอินโดนีเซียเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kopi Luwak (โกปิ ลูวะก์) (ซึ่งคำว่า Kupi เป็นภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า กาแฟ ส่วนคำว่า Luwak หมายถึงอีเห็นข้างลาย) มีราคาซื้อขายที่สูงมาก เมื่อขายปลีกเป็นกาแฟปรุงสำเร็จถ้วยละ 500-1,500 บาท และขายเป็นเมล็ดกาแฟ กิโลกรัมละ 100,000 บาท (ราคาในประเทศไทย) ผู้ผลิตการแฟอ้างว่า วิธีการที่ให้กำเนิดกาแฟนี้ เพิ่มคุณภาพผ่านกลไกสองอย่างคือ การคัดเลือกเมล็ด และการย่อย คือ ชะมดจะเลือกกินเมล็ดกาแฟซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่า และกลไกการย่อยของชะมดอาจจะเพิ่มรสชาติของเมล็ดกาแฟ คือ ชะมดจะกินเมล็ดกาแฟพร้อมกับเนื้อเข้าไป และจะเกิดการหมักในทางเดินอาหาร เอนไซม์ Protease ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนจะซึมเข้าไปในเมล็ด ทำให้เกิดเพปไทด์ที่สั้นกว่าและจำนวนกรดอะมิโนอิสระที่มากกว่า ส่วนเมล็ดจะผ่านระบบทางเดินอาหารของตัวชะมดจนกระทั่งถ่ายออกมา ซึ่งชาวไร่จะเก็บและนำผ่านกระบวนการผลิตต่อไป วิธีการผลิตกาแฟดั้งเดิมที่เก็บมูลชะมดในป่า ได้เปลี่ยนไปเป็นกระบวนการขังชะมดไว้ในกรงแล้วบังคับให้กินเมล็ดกาแฟ ซึ่งได้สร้างปัญหาด้านจริยธรรมเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงชะมด เพราะชะมดถูกบังคับให้อยู่ใน "สิ่งแวดล้อมที่น่าสะพรึงกลัว" รวมทั้งการถูกขังแยก อาหารที่ไม่ดี กรงที่เล็ก และอัตราการตายในระดับสูง ในปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและกาแฟขี้ชะมด · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์

อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ สมองของนักฟิสิกส์ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ถูกวิจัยและคาดคะเนอย่างมาก สมองของไอนสไตน์ถูกนำออกมาภายในเจ็ดชั่วโมงครึ่งหลังการเสียชีวิตของเขา ด้วยเขามีชื่อเสียงเป็นอัจฉริยบุคคลชั้นนำคนหนึ่งแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 สมองของเขาจึงได้รับความสนใจ มีการนำลักษณะต่าง ๆ ในสมองทั้งที่ปกติและแปลกไปใช้สนับสนุนความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกายวิภาคศาสตร์กับความฉลาดทั่วไปและทางคณิตศาสตร์ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เสนอว่าบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการพูดและภาษานั้นเล็กกว่า ขณะที่บริเวณเกี่ยวกับจำนวนและการประมวลผลเชิงปริภูมินั้นใหญ่กว่า การศึกษาอื่น ๆ พบว่าสมองของไอนสไตน์มีจำนวนเซลล์เกลียมากกว่าปกต.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและสมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

สเตรปโตมัยซิน

ตรปโตมัยซิน (Streptomycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด รวมถึง วัณโรค, การติดเชื้อ ''Mycobacterium avium'' complex, เยื่อบุหัวใจอักเสบ, บรูเซลโลสิส, การติดเชื้อแบคทีเรียสกุลเบอโคเดอเรีย, กาฬโรค, ไข้กระต่าย, และไข้หนูกัด กรณีวัณโรคระยะแสดงอาการนั้นมักจะใช้สเตรปโตมัยซินร่วมกับไอโซไนอะซิด, ไรแฟมพิซิน, และไพราซินาไมด์ ยานี้สามารถบริหารยาได้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำและการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สเตรปโตมัยซินจัดเป็นยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ที่หน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวนได้ ส่งผลให้แบคทีเรียเซลล์นั้นๆตายไปในที่สุด อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการได้รับการรักษาด้วยสเตรปโตมัยซิน ได้แก่ อาการรู้สึกหมุน, อาเจียน, อาการชาบริเวณผิว, ไข้, และมีผื่นคัน การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกหูหนวกแต่กำเนิดได้ แต่การใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตรนั้นพบว่าค่อนข้างมีความปลอดภัย ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ใช้สเตรปโตมัยซินในผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย เนื่องจากอาจทำให้อาการของโรคแย่ลงได้ สเตรปโตมัยซินถูกค้นพบใน..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและสเตรปโตมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

ความสมเหตุสมผลภายใน

ในงานศึกษาวิทยาศาสตร์ ความสมเหตุสมผลภายใน (Internal validity) เป็นคุณลักษณะที่สะท้อนถึงขอบเขตหรือระดับ ที่ข้อสรุปในงานศึกษาหนึ่ง มีความสมเหตุสมผล (validity) ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของงานศึกษาที่จะลดความคลาดเคลื่อนเป็นระบบ (systematic error) หรือความเอนเอียงหรืออคติ (bias).

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและความสมเหตุสมผลภายใน · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงของผู้ทดลอง

ในวิทยาศาสตร์เชิงทดลอง ความเอนเอียงของผู้ทดลอง (experimenter's bias) เป็นความเอนเอียงที่เป็นอัตวิสัยที่เกิดขึ้นโดยโน้มน้าวไปทางค่าผลที่คาดหวังโดยผู้ทำการทดลอง ยกตัวอย่างเช่น ความเอนเอียงที่เกิดขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลโดยไม่รู้ตัวต่อผู้ร่วมการทดลองหรือสัตว์ทดลอง เช่นในกรณีของม้าคเลเวอร์แฮน.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและความเอนเอียงของผู้ทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาแบบสังเกต

ในสาขาวิทยาการระบาดและสถิติศาสตร์ งานศึกษาแบบสังเกต"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ observational methods ว่า "วิธีวิจัยแบบสังเกต" และ study ว่า "งานศึกษา, การศึกษา" (observational study) เป็นการศึกษาที่อนุมานผลของวิธีการรักษาที่เป็นประเด็นการศึกษาต่อคนไข้ ใช้เมื่อการจัดคนไข้เข้ากับกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ซึ่งแตกต่างจากการทดลองเช่นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ที่สามารถจัดผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนให้อยู่ในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยสุ่มได้.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและงานศึกษาแบบสังเกต · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแปรกวน

แสดงตัวแปรกวนแบบง่าย ๆ คือถ้ารู้ "Z" ก็จะเห็นได้ว่า ''X'' ไม่สัมพันธ์กับ ''Y'' แต่ถ้าไม่เห็น ''Z'' ก็จะปรากฏความสัมพันธ์เทียมระหว่าง ''X'' กับ ''Y'' ซึ่งในกรณีนี้ ''Z'' จะเรียกว่า ปัจจัยกวนหรือตัวแปรกวน ในสถิติศาสตร์ ตัวแปรกวน (confounding variable) ปัจจัยกวน (confounding factor) หรือ ตัวกวน (confounder) เป็นตัวแปรนอก (extraneous variable) ในแบบจำลองทางสถิติที่มีสหสัมพันธ์โดยตรงหรือโดยผกผัน กับทั้งตัวแปรตาม (dependent variable) และตัวแปรอิสระ (independent variable) ความสัมพันธ์ปลอม (spurious relationship) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ที่ประเมินอย่างผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยกวน เป็นการประเมินที่ประกอบด้วย omitted-variable bias (ความเอนเอียงโดยละเว้นตัวแปร).

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและตัวแปรกวน · ดูเพิ่มเติม »

โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

หราศาสตร์เป็นระบบความเชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่า ปรากฏการณ์ในท้องฟ้า (คือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์) สัมพันธ์กับเหตุการณ์และบุคลิกภาพในโลกมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ได้ปฏิเสธโหราศาสตร์เพราะว่า ไม่สามารถอธิบายความเป็นไปในจักรวาลได้จริง มีการทดสอบหลักวิชาโหราศาสตร์ตะวันตกตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว แต่ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่สนับสนุนเหตุหรือผลที่กล่าวไว้ในหลักโหราศาสตร์ต่าง ๆ เมื่อไรก็ตามที่โหราศาสตร์พยากรณ์เหตุการณ์ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้ ข้อทำนายเหล่านั้นล้วนแต่ถูกพิสูจน์ว่าเท็จแล้วทั้งสิ้น งานทดสอบที่มีชื่อเสียงที่สุดทำโดยนักฟิสิกส์ ดร.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและโหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์

หตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์ (fallacy of incomplete evidence) หรือ การปิดบังหลักฐาน (suppressing evidence) หรือแปลจากคำภาษาอังกฤษว่า Cherry picking คือ การเลือกเก็บเชอร์รี่ เป็นการชี้หลักฐานเป็นกรณี ๆ หรือแสดงข้อมูลที่ยืนยันความเห็นโดยเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ โดยที่มองข้ามกรณีหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมากที่อาจจะขัดแย้งกับความเห็นนั้น ๆ นี้เป็นเหตุผลวิบัติโดยการเลือกให้ความใส่ใจ และตัวอย่างที่เห็นบ่อยที่สุดก็คือความเอนเอียงเพื่อยืนยัน เหตุผลวิบัติชนิดนี้จะเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ เป็นปัญหาสำคัญในการอภิปรายที่เป็นสาธารณะ ชื่อที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า "การเลือกเก็บเชอร์รี่" มีมูลมาจากวิธีการเก็บลูกเชอร์รี่ คือ คนเก็บจะเลือกเก็บแต่ลูกที่สุกและงามที่สุด ส่วนคนที่เห็นแต่ลูกที่เก็บแล้ว อาจจะสรุปอย่างผิด ๆ ว่า ลูกเชอร์รี่โดยมากงาม การเลือกเก็บเชอร์รี่พบได้ในเหตุผลวิบัติเชิงตรรกะหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่นเหตุผลวิบัติโดยหลักฐานเป็นเรื่องเล่ามักจะใส่ใจแต่ข้อมูลที่บุคคลต่าง ๆ เล่าให้ฟังแต่ไม่ใส่ใจหลักฐานข้อมูลอื่น ๆ ส่วน "การใช้หลักฐานแบบเลือก" (selective use of evidence) จะปฏิเสธข้อมูลที่ไม่เข้ากับประเด็นที่อ้าง ในขณะที่ "ทวิวิภาคเทียม" (false dichotomies) จะแสดงทางเลือกเพียงแค่สองอย่างแม้จะมีทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้ได้ การเลือกเก็บเชอร์รี่อาจหมายถึงการเลือกข้อมูลหรือเซ็ตข้อมูล ที่จะมีผลให้งานศึกษาหรืองานสำรวจ แสดงผลที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงแค่ความบิดเบือนจนกระทั่งถึงแม้แต่การคัดค้านความเป็นจริง.

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและเหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

One Million Dollar Paranormal Challenge

One Million Dollar Paranormal Challenge (รางวัลท้าทายเรื่องเหนือธรรมชาติล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นโครงการของมูลนิธิการศึกษาเจมส์แรนดี้ (James Randi Educational Foundation ตัวย่อ JREF) ที่จะจ่ายเงินรางวัล on ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36,320,000 onต้นปี 2559) ให้กับใครก็ตามที่สามารถแสดงความสามารถเหนือธรรมชาติหรือปาฏิหาริย์ ภายใต้กฏการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถตกลงกันได้ โครงการรูปแบบเดียวกันเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: การทดลองแบบอำพรางและOne Million Dollar Paranormal Challenge · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Blind experimentBlind trialBlinded experimentBlinded trialDouble blindDouble-blind trialDouble-blinded experimentDouble-blinded trialSingle blindTriple blindTriple-blind experimentTriple-blind trialTriple-blinded experimentTriple-blinded trialการทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียวการทดลองแบบอำพรางสองฝ่ายการทดลองแบบบอดการทดลองแบบบอดสองทางการทดลองแบบบอดสามทางการทดลองแบบบอดทางเดียวการทดลองแบบปิดการทดลองแบบปิดสองทางการทดลองแบบปิดสามทางการทดลองแบบปิดทางเดียวงานทดลองแบบบอดงานทดลองแบบบอดสองทางงานทดลองแบบบอดสามทางงานทดลองแบบบอดทางเดียวงานทดลองแบบปิดงานทดลองแบบปิดสองทางงานทดลองแบบปิดสามทางงานทดลองแบบปิดทางเดียว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »