โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทดลองทางความคิด

ดัชนี การทดลองทางความคิด

การทดลองทางความคิด (Thought Experiment) (มาจากคำ เยอรมัน ว่า Gedankenexperiment ซึ่งตั้งโดย ฮานส์ คริสเตียน เออร์สเตด) ในความหมายที่แพร่หลายที่สุดคือ การใช้แผนการที่จินตนาการขึ้นมาเพื่อช่วยเราเข้าใจวิถีทางที่สิ่งต่าง ๆ เป็นในความเป็นจริง ความเข้าใจได้มาจากปฏิกิริยาต่อสถานการณ์นั้น หลักการของการทดลองทางความคิด เป็น a priori มากกว่า เชิงประจักษ์ กล่าวคือ การทดลองทางความคิดไม่ได้มาจาก การสังเกต หรือ การทดลอง แต่อย่างใด การทดลองทางความคิดคือคำถามเชิง สมมติฐาน ที่วางรูปแบบอย่างดีซึ่งให้เหตุผลจำพวก "จะเกิดอะไรถ้า?" (ดูที่ irrealis moods) การทดลองทางความคิดถูกนำมาใช้ใน ปรัชญา, ฟิสิกส์, และสาขาอื่น ๆ มันถูกใช้ในการตั้งคำถามทางปรัชญาอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ยุคกรีก สมัยก่อน โสกราตีส ในฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ นั้น การทดลองทางความคิดที่มีชื่อเริ่มจากคริสตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ตัวอย่างต่าง ๆ ก็ได้เริ่มพบมากตั้งแต่อย่างน้อยในยุคของ กาลิเลโอ.

8 ความสัมพันธ์: บทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปกล้องจุลทรรศน์ของไฮเซนเบิร์กลูกกระสุนปืนใหญ่ของนิวตันหากต้นไม้ล้มในป่าห้องอักษรจีนปัญหารถรางเฟืองแบบบราวน์เรือของธีเซียส

บทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

แคสซีนี (จินตนาการของศิลปิน): คลื่นวิทยุถูกส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกชะลอโดยปริภูมิ-เวลาที่บิดงอ (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์พัฒนาระหว่าง..

ใหม่!!: การทดลองทางความคิดและบทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

กล้องจุลทรรศน์ของไฮเซนเบิร์ก

กล้องจุลทรรศน์ของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg's microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ในการทดลองทางความคิดของเวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ต่อมาการทดลองทางความคิดนี้นำไปสู่หลักความไม่แน่นอนของกลศาสตร์ควอนตัมซึ่งขัดกับหลักการพื้นฐานของทัศนศาสตร์ กล่าวคือการสังเกตสิ่งที่มีมวลมากในชีวิตประจำวันนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของวัตถุที่ถูกสังเกตแต่อย่างใด แต่เมื่อพูดถึงวัตถุที่มีมวลน้อยอย่างเช่นอิเล็กตรอนแล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะสังเกตพฤติกรรมของอิเล็กตรอนโดยไม่กระทบต่อพฤติกรรมของมันเอง เนื่องจากแสงมีโมเมนตัมแปรผันตามความถี่คองคลื่นแสง ดังนั้นวัตถุที่ถูกแสงตกกระทบจึงมีการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมหรือ ถูกชน ด้วยโฟตอนดังปรากฏการณ์คอมพ์ตัน นั่นคือยิ่งต้องการภาพของวัตถุชัดเจนเท่าไหร่ก็ต้องใช้แสงที่มีความถี่มากขึ้น และทำให้โฟตอนมีโมเมนตัมมากขึ้นก็จะรบกวนพฤติกรรมของวัตถุที่ถูกสังเกตมากขึ้นตามไปด้ว.

ใหม่!!: การทดลองทางความคิดและกล้องจุลทรรศน์ของไฮเซนเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ลูกกระสุนปืนใหญ่ของนิวตัน

300px ลูกกระสุนปืนใหญ่ของนิวตัน (Newton's cannonball) เป็นการทดลองทางความคิดที่ ไอแซก นิวตัน ใช้ตั้งสมมติฐานว่า แรงของความโน้มถ่วงนั้นใช้ได้ทั่วไปและเป็นแรงสำคัญสำหรับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห.

ใหม่!!: การทดลองทางความคิดและลูกกระสุนปืนใหญ่ของนิวตัน · ดูเพิ่มเติม »

หากต้นไม้ล้มในป่า

"ต้นไม้ที่ล้มในป่าจะมีเสียงหรือไม่ หากไม่มีคนอยู่ในที่นั้น" เป็นคำถามทางปรัชญาที่นำไปสู่การทดลองทางความคิด เกี่ยวกับการสังเกตและการรับรู้ หมวดหมู่:ปัญหาทางปรัชญา หมวดหมู่:การทดลองทางความคิด.

ใหม่!!: การทดลองทางความคิดและหากต้นไม้ล้มในป่า · ดูเพิ่มเติม »

ห้องอักษรจีน

้อถกเถียงว่าด้วยห้องอักษรจีน (the Chinese room argument) เสนอว่า ไม่ว่าจะออกแบบโปรแกรมให้ซับซ้อนเพียงใด ก็ไม่สามารถสร้าง "จิต" (mind) "เจตจำนง" (intentionality) หรือ "ความตื่นรู้" (consciousness) ให้เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์นั้นจะสามารถตอบสนองได้เหมือนมนุษย์มาก หรือตอบสนองได้ด้วยลักษณะที่ดูมีความฉลาดอย่างมากเพียงใดก็ตาม ข้อถกเถียงนี้ได้รับการเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชื่อ John Searle ในบทความเรื่อง "Minds, Brains, and Programs" ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Behavioral and Brain Sciences เมื่อ..

ใหม่!!: การทดลองทางความคิดและห้องอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหารถราง

ปัญหารถราง เป็นการทดลองทางความคิดเชิงจริยธรรม ปัญหามีดังต่อไปนี้ รถรางคันหนึ่งกำลังวิ่งบนอยู่บนรางรถไฟ บนรางข้างหน้านั้นมีคน 5 คนกำลังถูกมัดอยู่บนรางและไม่สามารถขยับตัวได้ รถรางคันดังกล่าวกำลังวิ่งไปหาพวกเขา คุณกำลังยืนอยู่ข้างคันโยกที่ตั้งอยู่ในระยะห่างไกลจากรางรถไฟ ถ้าคุณดึงคันโยก รถรางจะสับเปลี่ยนเส้นทางไปอีกรางหนึ่ง แต่ทว่า คุณสังเกตเห็นว่าบนรางนั้นมีคนอยู่ 1 คน คุณมี 2 ทางเลือก.

ใหม่!!: การทดลองทางความคิดและปัญหารถราง · ดูเพิ่มเติม »

เฟืองแบบบราวน์

Brownian ratchet คือ การทดลองทางความคิด เกี่ยวกับเครื่องจักร perpetual motion ที่เห็นได้ชัดซึ่งตั้งโดย ริชาร์ด ไฟยน์แมน ในการบรรยาย ฟิสิกส์ ณ California Institute of Technology ในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 เพื่อเป็นการอธิบาย กฎทางเทอร์โมไดนามิกส์ อุปกรณ์ในการทดลองทางความคิดประกอบด้วยเกียร์ซึ่งมี เฟืองหมุนทางเดียว โดยที่มันสั่นภายใต้ การเคลื่อนที่แบบบราวน์ (เป็นที่มาของชื่อดังกล่าว) ใน heat bath แนวคิดคือว่าการเคลื่อนที่ในทิศหนึ่งจะสามารถเป็นไปได้ตามเฟือง แต่การเคลื่อนที่ในทิศตรงกันข้ามจะถูกกันไว้ เกียร์จึงหมุนด้วยแรงเล็ก ๆ ไปเรื่อย ๆ ในทิศหนึ่งโดยปราศจาก heat gradient ใด ๆ นี่เป็นการหักล้าง กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ ซึ่งเริ่มไว้ว่า "มันเป็นไปไม่ได้สำหรับเครื่องมือใดที่จะทำงานในวัฏจักรหนึ่งโดยรับความร้อนจากระบบ reservoir เดียวและเกิดงานลัพธ์ขึ้น" ถึงแม้ว่าในตอนแรก Brownian ratchet ดูจะสกัดเอางานที่ใช้ได้จากการเคลื่อนที่แบบบราวน์ ไฟนย์แมนแสดงผ่านรายละเอียดข้อโต้แย้งจำนวนหนึ่งว่า การทำงานของมันจะทำลายตัวเอง และในความเป็นจริงจะไม่สามารถสร้างงานใด ๆ ได้ วิธีการง่าย ๆ ที่ทำให้เห็นภาพว่าเครื่องกลดังกล่าวนั้นใช้ไม่ได้ คือ การระลึกว่าเฟืองหมุนทางเดียวก็เป็นไปตามการเคลื่อนที่แบบบราวน์เช่นกัน อันที่จริงแล้วเฟืองจะมีขนาดเทียบได้กับเกียร์และทำตัวตามการเคลื่อนที่ของของขนาดเดียวกัน ดังนั้นเมื่อใดที่เครื่องกลเฟืองไปข้างหน้า มันก็จะไถลไปด้วยเนื่องจากการเคลื่อนที่แบบบราวน์ของเฟือง อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้นำไปสู่การพัฒนา Brownian motor ซึ่งสามารถสร้างงานที่เป็นประโยชน์ได้ แต่ไม่ขัดแย้งกับกฎทางเทอร์โมไดนามิก.

ใหม่!!: การทดลองทางความคิดและเฟืองแบบบราวน์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือของธีเซียส

ำเภาของธีเซียส หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าปฏิทรรศน์ธีเซียส (Theseus' paradox) เป็น การทดลองทางความคิด (Thought experiment) ที่ตั้งคำถามว่า หากวัตถุหนึ่งค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยส่วนประกอบใหม่ วัตถุดังกล่าวนั้นยังคงเป็นวัตถุเดิมโดยสภาพพื้นฐานหรือไม่ โดยปฎิทรรศน์นี้ได้รับการบันทึกอย่างมีชื่อเสียงโดยนักปรัชญา พลูทาร์ก (Plutarch) ใน ไลฟ์ ออฟ ธีเซียส (Life of Theseus) ในปลายศตวรรษที่ 1 โดยพลูทาร์กได้ถามว่า หากสำเภาลำหนึ่งได้รับการซ่อมแซมโดยการแทนที่ไม้เก่าด้วยไม้ใหม่ทั้งหมด สำเภาลำนี้ยังคงเป็นสำเภาลำเดิมหรือไม่ ปฎิทรรศน์นี้ผ่านการถกเถียงมากมายในหมู่นักปรัชญาสมัยโบราณ เช่น เฮราคลิตุส (Heraclitus) โสกราตีส (Socrates) และ เพลโต (Plato) ก่อนหน้าข้อเขียนของพลูทาร์ก และยังคงมีการถกเถียงในหมู่นักปรัชญาสมัยใหม่ เช่น โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) และ จอห์น ล็อก (John Locke) นอกจากนี้ ยังมีปฎิทรรศน์นี้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ขวานคุณปู่ (Grandfather's axe) โดยหลายคนกล่าวว่าการทดลองทางความคิดนี้เป็น "แบบจำลองสำหรับนักปรัชญา" บ้างตอบว่า "วัตถุนั้นยังคงเป็นวัตถุเดิม" ในขณะที่บ้างก็ว่า "วัตถุนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว".

ใหม่!!: การทดลองทางความคิดและเรือของธีเซียส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Thought experiment

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »