เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การดื้อแพ่ง

ดัชนี การดื้อแพ่ง

การดื้อแพ่ง หรือ การขัดขืนอย่างสงบ (civil disobedience) หรือ "อารยะขัดขืน" เป็นรูปแบบการต่อต้านทางการเมืองอย่างสงบเพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่ ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านอังกฤษในประเทศอินเดีย ในการต่อสู้กับการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และในยุโรป รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวียในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดยเฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบทาสและสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจลาจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที.

สารบัญ

  1. 32 ความสัมพันธ์: ฟ้าเดียวกันพ.ศ. 2465พิภพ ธงไชยพจนานุกรมคำใหม่การกบฏการก่อการกำเริบ 8888การก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557การก่อความไม่สงบการปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554การปฏิวัติคาร์เนชันการประท้วงการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งการประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557การประท้วงในประเทศอาร์มีเนีย พ.ศ. 2561การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2560–2561การประท้วงในเกาหลีใต้ พ.ศ. 2559การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออกมือตบรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549ราชอาณาจักรอิตาลีวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560สงครามกลางเมืองซีเรียอาหรับสปริงอู๋ จิ้งยวี่ขบวนการนักศึกษาทานตะวันไชยันต์ ไชยพรเฮนรี เดวิด ทอโร18 มีนาคม420 (วัฒนธรรมกัญชา)

ฟ้าเดียวกัน

ฟ้าเดียวกัน เป็นวารสารราย 3 เดือน ที่นำเสนอการเคลื่อนไหวทางสังคม ในรูปแบบของขบวนการประชาชนและทางความคิด ฉบับแรกวางแผงเมื่อต้นปี พ.ศ.

ดู การดื้อแพ่งและฟ้าเดียวกัน

พ.ศ. 2465

ทธศักราช 2465 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1922 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู การดื้อแพ่งและพ.ศ. 2465

พิภพ ธงไชย

งไชย พิภพ ธงไชย เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ที่ อ.ป่าโมก.

ดู การดื้อแพ่งและพิภพ ธงไชย

พจนานุกรมคำใหม่

หน้าปกพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมคำใหม่ เป็นพจนานุกรมภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสถานเรียบเรียงขึ้น มีเนื้อหารวบรวมและให้นิยามคำไทยต่าง ๆ ที่ไม่ปรากฏใน.

ดู การดื้อแพ่งและพจนานุกรมคำใหม่

การกบฏ

การกบฏ หรือการขบถ (rebellion) หมายถึง การปฏิเสธการเชื่อฟังหรือคำสั่ง ฉะนั้น จึงอาจมองว่ารวมพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งมุ่งทำลายหรือเข้าควบคุมตำแหน่งผู้มีอำนาจอันเป็นที่ยอมรับ เช่น รัฐบาล ผู้ว่าราชการ ประธาน ผู้นำทางการเมือง สถาบันการเงิน หรือบุคคลผู้รับผิดชอบ ด้านหนึ่ง รูปแบบพฤติกรรมอาจรวมวิธีปราศจากความรุนแรง เช่น ปรากฏการณ์การดื้อแพ่ง การขัดขืนของพลเรือนและการขัดขืนโดยปราศจากความรุนแรง อีกด้านหนึ่ง อาจรวมการรณรงค์ด้วยความรุนแรง ผู้เข้าร่วมการกบฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกบฏด้วยอาวุธ เรียก "กบฏ" หรือ "ขบถ" การกบฏที่มีอาวุธแต่ขอบเขตจำกัด เรียก การก่อการกบฏ (insurrection) และหากรัฐบาลอันเป็นที่ยอมรับไม่รับรองกบฏเป็นคู่สงคราม การกบฏนั้นจะเป็นการก่อการกำเริบ (insurgency) และกบฏจะเป็นผู้ก่อการกำเริบ (insurgent) ในความขัดแย้งที่ใหญ่กว่า อาจมีการรับรองกบฏเป็นคู่สงครามโดยไม่รับรองรัฐบาลของกบฏ ในกรณีนี้ ความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นสงครามกลางเมือง.

ดู การดื้อแพ่งและการกบฏ

การก่อการกำเริบ 8888

การก่อการปฏิวัติ 8888 (8888 UprisingYawnghwe (1995), pp. 170; พม่า: ၈၄လုံး หรือ ရ္ဟစ္‌လေးလုံး) เป็นการกำเริบระดับชาติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่า เมื่อ..

ดู การดื้อแพ่งและการก่อการกำเริบ 8888

การก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557

การก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซเป็นชุดการเดินขบวนและการจลาจลในประเทศบูร์กินาฟาโซในเดือนตุลาคม..

ดู การดื้อแพ่งและการก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557

การก่อความไม่สงบ

การก่อความไม่สงบ (civil disorder, civil unrest หรือ civil strife) เป็นคำในความหมายกว้างซึ่งใช้โดยฝ่ายบังคับใช้กฎหมายในการอธิบายรูปแบบของการก่อให้เกิดความวุ่นวายของกลุ่มบุคคลตั้งแต่หนึ่งรูปแบบขึ้นไป การก่อความวุ่นวายของประชาชนเป็นเครื่องแสดงและเป็นรูปแบบหนึ่งของการประท้วงต่อปัญหาทางการเมืองและสังคมขนาดใหญ่ ความรุนแรงของพฤติการณ์เกิดขึ้นพร้อมกับการแสดงออกถึงความไม่พอใจของสาธารณะ ตัวอย่างของการก่อความไม่สงบเช่น การเดินขบวนประท้วงผิดกฎหมาย การยึดพื้นที่ประท้วง และการกีดขวางในรูปแบบอื่น การจลาจล การก่อวินาศกรรม และรูปแบบของอาชญากรรมอื่น ๆ การก่อความไม่สงบมีเจตนาที่จะเป็นการแสดงออกถึงสาธารณชนและรัฐบาล แต่ได้บานปลายจนกลายมาเป็นความสับสนอลหม่านโดยทั่วไป.

ดู การดื้อแพ่งและการก่อความไม่สงบ

การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554

การประท้วงในจัตุรัสทาห์รีร์ กรุงไคโร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 การปฏิวัติอียิปต..

ดู การดื้อแพ่งและการปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554

การปฏิวัติคาร์เนชัน

การปฏิวัติคาร์เนชั่น (Carnation Revolution,Revolução dos Cravos),เรียกอีกอย่างว่า 25 เมษายน (vinte e cinco de Abril), เป็นการทำรัฐประหารครั้งแรกในกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เมื่อวันที่ 25 เมษายน..

ดู การดื้อแพ่งและการปฏิวัติคาร์เนชัน

การประท้วง

การประท้วง การประท้วง (Protest) เป็นการแสดงออกด้วยการกระทำ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคัดค้าน หรือ ไม่เห็นด้วย มีหลากหลายวิธี เช่น การ อดข้าวประท้วง การเดินประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแสดงออกทางสังคมและการเมือง การประท้วงที่ใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความวุ่นวายจะกลายเป็น การจลาจล.

ดู การดื้อแพ่งและการประท้วง

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง

การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท.

ดู การดื้อแพ่งและการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง

การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557

การประท้วงต่อต้านรัฐบาล (បាតុកម្មប្រឆាំងរាជរដ្ឋាភិបាល) ได้เริ่มต้นขึ้นที่กัมพูชาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยผู้ประท้วงได้รวมตัวกันที่พนมเปญเพื่อขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุน เซนซึ่งผู้ชุมนุมเห็นว่ารัฐบาลได้โกงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.

ดู การดื้อแพ่งและการประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557

การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557

ผู้ชุมนุมบริเวณที่ทำการของรัฐบาลฮ่องกง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 การประท้วงในฮ่องกง..

ดู การดื้อแพ่งและการประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2557

การประท้วงในประเทศอาร์มีเนีย พ.ศ. 2561

กลุ่มนักการเมืองและประชาชนภายใต้การนำ..

ดู การดื้อแพ่งและการประท้วงในประเทศอาร์มีเนีย พ.ศ. 2561

การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2560–2561

การประท้วงในประเทศอิหร่าน..

ดู การดื้อแพ่งและการประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2560–2561

การประท้วงในเกาหลีใต้ พ.ศ. 2559

การประท้วงในเกาหลีใต้..

ดู การดื้อแพ่งและการประท้วงในเกาหลีใต้ พ.ศ. 2559

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย แถลงข่าวในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู การดื้อแพ่งและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549

การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก

250px การเดินขบวนวันจันทร์ เมื่อ..

ดู การดื้อแพ่งและการเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก

มือตบ

มือตบ การใช้มือตบระหว่างการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เท้าตบ หัวใจตบ มือตบ เป็นอุปกรณ์เชียร์กีฬาที่ทำด้วยพลาสติกสีสดใส รูปร่างเลียนแบบมือของมนุษย์ 3 ชั้นยึดติดกัน มีด้ามจับ เมื่อเขย่าจะมีเสียงดังจากชิ้นพลาสติกที่กระทบกัน คล้ายเสียงปรบมือ ใช้ตบทำเสียงแทนการตบมือ มือตบผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน ผลิตออกมาเพื่อสำหรับเด็กเล่น จนกระทั่ง ค.ศ.

ดู การดื้อแพ่งและมือตบ

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

รัฐประหารในประเทศไท..

ดู การดื้อแพ่งและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ.

ดู การดื้อแพ่งและราชอาณาจักรอิตาลี

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

วิกฤตการณ์การเมืองไท..

ดู การดื้อแพ่งและวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560

วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน..

ดู การดื้อแพ่งและวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560

สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

ดู การดื้อแพ่งและสงครามกลางเมืองซีเรีย

อาหรับสปริง

อาหรับสปริง (Arab Spring, الثورات العربية‎ al-Thawrāt al-ʻArabiyyah) เป็นคลื่นปฏิวัติการเดินขบวน การประท้วงและสงครามซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2553 ตราบจนปัจจุบัน ผู้ปกครองถูกโค่นจากอำนาจในตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และเยเมน การก่อการกำเริบพลเมืองอุบัติขึ้นในบาห์เรน และซีเรีย การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นในอัลจีเรีย อิรัก จอร์แดน คูเวต โมร็อกโก และซูดาน และการประท้วงเล็กเกิดในเลบานอน มอริเตเนีย โอมาน ซาอุดิอาระเบีย จิบูตี และเวสเทิร์นสะฮารา การประท้วงมีเทคนิคการดื้อแพ่งร่วมกันในการรณรงค์ต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการนัดหยุดงาน การเดินขบวน การเดินแถว และการชุมนม เช่นเดียวกับการใช้โซเชียลมีเดียในการจัดระเบียบ สื่อสารและสร้างความตระหนักเมื่อเผชิญกับความพยายามของรัฐในการปราบปรามและตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต การเดินขบวนอาหรับสปริงหลายประเทศเผชิญกับการตอบสนองรุนแรงจากทางการ เช่นเดียวกับทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลและการเดินขบวนโต้ตอบ การโจมตีเหล่านี้ได้รับการสนองจากผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงในบางกรณี.

ดู การดื้อแพ่งและอาหรับสปริง

อู๋ จิ้งยวี่

อู๋ จิ้งยวี่ อู๋ จิ้งยวี่ เกิดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เป็นนักเทควันโดชาวจีน.

ดู การดื้อแพ่งและอู๋ จิ้งยวี่

ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน

วนการนักศึกษาทานตะวัน (Sunflower Student Movement) เป็นชื่อเรียกกลุ่มผู้ประท้วงในประเทศไต้หวัน ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา และประชาชนซึ่งรวมกำลังกันยึดสถานที่ราชการตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2014 โดยเริ่มเข้าควบคุมที่ทำการสภานิติบัญญัติ และต่อมาจึงลุกลามไปยังสำนักงานสภาบริหาร (คณะรัฐมนตรี) ทั้งนี้ เพื่อต่อต้านการที่สภานิติบัญญัติ ซึ่งพรรคชาตินิยม (Guómíndǎng; Kuomintang) ครองเสียงข้างมาก จะให้สัตยาบันแก่ความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบ (Hǎixiá Liǎng'àn Fúwù Màoyì Xiéyì; Cross-Strait Service Trade Agreement) ที่สภาบริหารได้ทำไว้กับประเทศจีน โดยไม่พิจารณาเป็นรายข้อ ผู้ประท้วงเชื่อว่า ความตกลงนี้จะกระทบเศรษฐกิจไต้หวัน เพราะจะเปิดให้จีนใช้อำนาจทางการเมืองบีบคั้นเศรษฐกิจไต้หวันจนเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ ส่วนผู้สนับสนุนความตกลงเห็นว่า ความตกลงจะช่วยให้ทั้งจีนและไต้หวันลงทุนในตลาดของแต่ละฝ่ายได้อย่างเสรีมากขึ้น เดิมที ผู้ประท้วงเรียกให้พิจารณาความตกลงอีกครั้งโดยทำเป็นรายข้อ แต่ภายหลังเปลี่ยนไปเรียกให้เลิกทำความตกลงนั้นเสีย แล้วตรากฎหมายควบคุมการทำความตกลงกับจีน พรรคชาตินิยมยินดีให้พิจารณาความตกลงเป็นรายข้อในวาระที่ 2 แต่ไม่เห็นด้วยที่จะส่งความตกลงกลับไปให้คณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติพิจารณาอีกครั้ง ต่อมา พรรคชาตินิยมยินยอมตามข้อเสนอที่ให้พิจารณาซ้ำเป็นรายข้อ แต่กล่าวว่า ต้องให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (Mínzhǔ Jìnbù Dǎng; Democratic Progressive Party) เลิกคว่ำบาตรกระบวนพิจารณา พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่ตกลงด้วย และแถลงว่า ควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกับจีนมาพิจารณาความตกลง เพราะเป็น "มติมหาชนกระแสหลัก" อย่างไรก็ดี พรรคชาตินิยมบอกปัดข้อเสนอดังกล่าว ความเคลื่อนไหวนี้นับเป็นคราวแรกในประวัติศาสตร์ชาติไต้หวันที่สภานิติบัญญัติถูกประชาชนบุกยึด และสำนักข่าวบีบีซีเห็นว่า เป็นการชี้ชะตาไต้หวัน เพราะจะช่วยให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทั้งจะทวีการพิทักษ์ประโยชน์ประชาชน มิใช่ประโยชน์ของพรรคการเมือง.

ดู การดื้อแพ่งและขบวนการนักศึกษาทานตะวัน

ไชยันต์ ไชยพร

ตราจารย์ ดร.ไชยันต์ ไชยพร (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2502 -) เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่รู้จักกันในฐานะอาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาฯ ผู้ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชนในการเลือกตั้งปี พ.ศ.

ดู การดื้อแพ่งและไชยันต์ ไชยพร

เฮนรี เดวิด ทอโร

นรี เดวิด ทอโร ในปี 1856 เฮนรี เดวิด ทอโร (Henry David Thoreau, 12 กรกฎาคม 2360 - 6 พฤษภาคม 2405) นักเขียนและนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เกิดที่เมืองคองคอร์ด รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อจบการศึกษาในปี..

ดู การดื้อแพ่งและเฮนรี เดวิด ทอโร

18 มีนาคม

วันที่ 18 มีนาคม เป็นวันที่ 77 ของปี (วันที่ 78 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 288 วันในปีนั้น.

ดู การดื้อแพ่งและ18 มีนาคม

420 (วัฒนธรรมกัญชา)

420, 4:20, หรือ 4/20 เป็นคำรหัสในวัฒนธรรมกัญชาที่หมายถึงการบริโภคกัญชา โดยเฉพาะการสูบในเวลา 4:20 p.m. (16.20 น.) และการเสพเพื่อฉลองในวันที่ 20 เมษายน (ในสหรัฐจะเขียนว่า 4/20).

ดู การดื้อแพ่งและ420 (วัฒนธรรมกัญชา)

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Civil disobedienceการขัดขืนอย่างสงบการขัดขืนอย่างอารยะการปฏิเสธอำนาจรัฐของพลเมืองการแข็งขืนอย่างอารยะสิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมายอารยะแข็งขืนดื้อแพ่ง