โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การกุเหตุความจำเสื่อม

ดัชนี การกุเหตุความจำเสื่อม

ในจิตวิทยาหรือจิตเวชศาสตร์ การกุเหตุความจำเสื่อม"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (confabulation มากจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า "การเล่าเรื่อง") เป็นความปั่นป่วนของความจำที่ปรากฏโดยคำพูดหรือการกระทำที่ไม่ตรงกับประวัติ ภูมิหลัง หรือสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง การกุเหตุความจำเสื่อมต่างจากการโกหกเพราะไม่มีเจตนาที่จะหลอกลวง และบุคคลนั้นไม่รู้ว่า ข้อมูลของตนนั้นไม่ตรงกับความจริงMoscovitch M. 1995.

7 ความสัมพันธ์: Anton-Babinski syndromeการหลอกลวงตัวเองการแปลการพินิจภายในผิดความจำแพริโดเลียSomatoparaphreniaSplit-brain

Anton-Babinski syndrome

Anton-Babinski syndrome เป็นอาการที่เกิดขึ้นน้อย เกิดจากความเสียหายที่สมองกลีบท้ายทอย ที่คนไข้มองไม่เห็นเพราะเหตุคอร์เทกซ์ (คือตาไม่ได้เป็นอะไร แต่ความเสียหายในสมองทำให้มองไม่เห็น) แต่ยืนยันอย่างแน่วแน่เด็ดเดี่ยวว่า ตนมองเห็น ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามองไม่เห็น คนไข้กลบเกลื่อนการมองไม่เห็นของตนโดยการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation) อาการนี้ตั้งชื่อตามประสาทแพทย์ชาวออสเตรียเกเบรียล แอนตัน และประสาทแพทย์ชาวฝรั่งเศสโจเซ็ฟ บาบินสกี.

ใหม่!!: การกุเหตุความจำเสื่อมและAnton-Babinski syndrome · ดูเพิ่มเติม »

การหลอกลวงตัวเอง

การหลอกลวงตัวเอง (Self-deception) เป็นกระบวนการปฏิเสธหรือให้เหตุผลแก้ต่างว่า หลักฐานหรือเหตุผลที่คัดค้านความคิดความเชื่อของตน ไม่อยู่ในประเด็นหรือไม่สำคัญ เป็นการที่ทำให้ตัวเองเชื่อเรื่องความจริง (หรือความไม่จริง) อย่างหนึ่ง โดยวิธีที่ไม่ปรากฏกับตนว่ากำลังหลอกตัวเอง.

ใหม่!!: การกุเหตุความจำเสื่อมและการหลอกลวงตัวเอง · ดูเพิ่มเติม »

การแปลการพินิจภายในผิด

วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่น้ำขึ้นไปมักจะใช้เพื่อแสดงอุปมาของจิตเหนือสำนึกและจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ส่วนที่โผล่ขึ้นเห็นได้ง่าย (จิตเหนือสำนึก) แต่ว่าเป็นส่วนที่มีรูปร่างขึ้นอยู่กับส่วนที่มองไม่เห็นที่ยิ่งใหญ่กว่า (จิตใต้สำนึก) การแปลการพินิจภายในผิด"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" และของ introspection ว่า "การพินิจภายใน" (introspection illusion) เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ที่เราคิดอย่างผิด ๆ ว่า เรามีความเข้าใจโดยประจักษ์ โดยผ่านการพินิจภายใน (introspection) เกี่ยวกับเหตุเกิดของสภาวะจิตใจของเรา ในขณะที่ไม่เชื่อถือการพินิจภายในของผู้อื่น ในบางกรณี การแปลสิ่งเร้าผิดชนิดนี้ ทำให้เราอธิบายพฤติกรรมของตนเองอย่างมั่นใจแต่ผิดพลาด หรือทำให้พยากรณ์สภาวะหรือความรู้สึกทางจิตใจของตนในอนาคตที่ไม่ถูกต้อง มีการตรวจสอบการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ในการทดลองทางจิตวิทยา ซึ่งเสนอการแปลการพินิจภายในผิดว่าเป็นเหตุของความเอนเอียง เมื่อเราเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น มีการตีความผลงานทดลองเหล่านี้ว่า แทนที่จะให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นเหตุของสภาวะจิตใจของตน การพินิจภายในเป็นกระบวนการสร้าง (construction) และอนุมาน (inference) เหตุของสภาวะจิตใจ เหมือนกับที่เราอนุมานสภาพจิตใจของคนอื่นจากพฤติกรรม เมื่อเราถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า การพินิจภายในที่เชื่อถือไม่ได้ เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตนที่ตรงกับความจริง ผลที่ได้อาจจะเป็นการปรากฏของการแแปลสิ่งเร้าผิดว่าเหนือกว่า (illusory superiority) ผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น เราแต่ละคนจะคิดว่าเรามีความคิดที่เอนเอียงน้อยกว่าผู้อื่น และมีความคิดที่เห็นตามผู้อื่นน้อยกว่าคนอื่น และแม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะได้รับรายงานของการพินิจภายในของผู้อื่น ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังจะตัดสินว่า เป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่ถือเอาการพินิจภายในของตนว่า เชื่อถือได้ แม้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ จะให้ความเข้าใจความกระจ่างชัดเกี่ยวกับผลงานวิจัยทางจิตวิทยาบางอย่าง แต่หลักฐานที่มีอยู่ไม่อาจจะบอกได้ว่า การพินิจภายในนั้นเชื่อถือได้ขนาดไหนในสถานการณ์ปกติ การแก้ปัญหาความเอนเอียงที่เกิดจากการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ อาจเป็นไปได้ด้วยการศึกษาเรื่องความเอนเอียง และเรื่องการเกิดขึ้นใต้จิตสำนึกของความเอนเอียง.

ใหม่!!: การกุเหตุความจำเสื่อมและการแปลการพินิจภายในผิด · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ใหม่!!: การกุเหตุความจำเสื่อมและความจำ · ดูเพิ่มเติม »

แพริโดเลีย

รูปถ่ายจากดาวเทียมของที่ราบสูงไซโดเนียบนดาวอังคาร ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Face on Mars (ใบหน้าบนดาวอังคาร)" ส่วนรูปที่ถ่ายมาจากมุมอื่น ๆ จะไม่สามารถเห็นภาพลวงตานี้ แพริโดเลีย หรือ แพไรโดเลีย (Pareidolia) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งเร้าเช่นภาพหรือเสียงที่ไม่ชัดเจนและไม่มีรูปแบบ (คือบังเอิญ สุ่ม) ว่ามีความหมายมีความสำคัญ เป็นการรับรู้แบบหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์กันในข้อมูลสุ่มที่ไม่มีความหมาย ตัวอย่างที่สามัญอย่างหนึ่งคือการเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ ชายบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ และการได้ยินข้อความที่ซ่อนไว้บนแผ่นเสียงไวนิลที่เล่นย้อนทาง คำว่า Pareidolia มาจากคำในภาษากรีกว่า para- (παρά, แปลว่า "ข้าง ๆ, ไปเป็นหน้ากระดาน, แทนที่") ซึ่งในที่นี้หมายถึงอะไรที่บกพร่อง ผิดพลาด หรือเกิดขึ้นแทนที่ และคำนามว่า eidōlon (εἴδωλον แปลว่า "ภาพ, รูปร่าง, สัณฐาน") ซึ่งมีความหมายเป็นส่วนย่อยของคำว่า eidos.

ใหม่!!: การกุเหตุความจำเสื่อมและแพริโดเลีย · ดูเพิ่มเติม »

Somatoparaphrenia

Somatoparaphrenia เป็นอาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง (monothematic delusion) ชนิดหนึ่งที่คนไข้ปฏิเสธว่าเป็นเจ้าของแขนขาหรือร่างกายทั้งซีก ถึงแม้ว่าจะให้หลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า แขนขาเป็นของคนไข้และสืบเนื่องอยู่กับร่างกาย คนไข้กลับกุเรื่องราวขึ้นว่า เป็นแขนขาของใครจริง ๆ และถึงเรื่องราวที่แขนขานั้นมาติดอยู่กับกายตนได้อย่างไรFeinberg, T., Venneri, A., Simone, A.M., et al.

ใหม่!!: การกุเหตุความจำเสื่อมและSomatoparaphrenia · ดูเพิ่มเติม »

Split-brain

Split-brain (แปลว่า ภาวะสมองแยก) เป็นคำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกผลที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับการตัด corpus callosum ซึ่งเป็นใยประสาทที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวา เป็นบางส่วนหรือทั้งหมดออก เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการยับยั้งหรือการขัดข้องของการสื่อสารกันระหว่างซีกสมองทั้งสองข้าง การผ่าตัดที่มีผลเป็นภาวะนี้เรียกว่า corpus callosotomy (หรือสั้น ๆ ว่า callosotomy) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายในการบรรเทาอาการโรคลมชักที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ในขั้นเบื้องต้น แพทย์จะตัดเพียงส่วนหนึ่งของ corpus callosum ออก และถ้าไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง ก็จะตัดส่วนที่เหลือออกด้วย เพื่อจะลดความเสี่ยงจากความบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุเพราะความรุนแรงของการชัก โดยปกติแล้ว ก่อนที่จะใช้วิธีการรักษานี้ คนไข้จะได้รับการเยียวยาโดยใช้ยาก่อน ถ้าแสดงรูปให้กับคนไข้ภาวะสมองแยกในลานสายตาด้านซ้าย (คือครึ่งซ้ายที่ตาทั้งสองเห็น) คนไข้จะไม่สามารถเรียกชื่อของวัตถุที่เห็นนั้นได้ นี้เป็นเพราะว่าศูนย์ควบคุมภาษาในสมองอยู่ในสมองซีกซ้ายสำหรับคนส่วนมาก และระบบสายตาส่งภาพจากลานสายตาด้านซ้ายไปยังสมองซีกขวาเท่านั้น (แต่คนที่มีศูนย์ควบคุมภาษาอยู่ในสมองซีกขวา ก็จะประสบอาการแบบเดียวกัน ถ้าแสดงรูปทางลานสายตาด้านขวา) และเนื่องจากมีความขัดข้องของการสื่อสารระหว่างสมองทั้งสองซีก คนไข้จึงไม่สามารถเรียกชื่อของวัตถุที่สมองซีกขวาเท่านั้นกำลังเห็น แต่บุคคลนั้นจะสามารถจับวัตถุนั้นด้วยมือซ้ายและสามารถจับคู่สิ่งที่จับกับภาพที่เห็น (ที่อยู่ในเขตลานสายตาด้านซ้าย) เนื่องจากว่า สมองซีกขวาเป็นผู้ควบคุมมือด้านซ้ายนั้น ผลที่พบเกี่ยวกับการคิดหาเหตุผลสำหรับสิ่งที่เห็นมีนัยคล้าย ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น มีการแสดงรูปลานหิมะและรูปไก่ให้คนไข้ดูในลานสายตาตรงข้ามกัน แล้วให้คนไข้เลือกคำศัพท์ที่สัมพันธ์กับรูปที่เห็นที่ดีที่สุด คนไข้จะเลือกพลั่ว (สำหรับโกยหิมะ) สำหรับลานหิมะ และตีนไก่สัมพันธ์กับไก่ แต่เมื่อถามเหตุผลคนไข้ว่าทำไมจึงเลือกพลั่ว คำตอบของคนไข้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับไก่ (เช่น พลั่วก็เพื่อจะใช้ทำความสะอาดเล้าไก่).

ใหม่!!: การกุเหตุความจำเสื่อมและSplit-brain · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ConfabulateConfabulationMomentary confabulationPrimary confabulationProvoked confabulationSecondary confabulationSpontaneous confabulationการกุเหตุจำพลาดการกุเหตุความจำเสื่อมทุติยภูมิการกุเหตุความจำเสื่อมปฐมภูมิการกุเหตุความจำเสื่อมแบบมีการชักนำการกุเหตุความจำเสื่อมแบบชั่วขณะการกุเหตุความจำเสื่อมแบบเกิดขึ้นเอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »