โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กัสตง เลอรู

ดัชนี กัสตง เลอรู

กัสตง หลุยส์ อาลแฟรด เลอรู (Gaston Louis Alfred Leroux; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1868 – 15 เมษายน ค.ศ. 1927) เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวฝรั่งเศส เกิดที่กรุงปารีส เรียนที่โรงเรียนในแคว้นนอร์ม็องดีก่อนจะกลับมาเรียนวิชากฎหมายที่ปารีส หลังเรียนจบเขาทำงานเป็นเสมียนศาลและนักวิจารณ์ละคร ต่อมาเลอรูทำงานเป็นนักข่าวให้กับหนังสือพิมพ์เลอมาร์แต็ง ในปี..

4 ความสัมพันธ์: คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนาปีศาจแห่งโรงอุปรากรโรงอุปรากรปาแลการ์นีเย23 กันยายน

คินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา

นดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แนวสืบสวนสอบสวน เรื่องโดย โยซาบุโร่ คานาริ และเซย์มารุ อามางิ ภาพโดย ฟุมิยะ ซาโต้ ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นโดยสำนักพิมพ์โคดันฉะ ตีพิมพ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ แปลโดยยูตะ, บี, ชิริว และกาญจนี ต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นแอนิเมชันโดยโตเอแอนิเมชัน ในปีพ.ศ. 2540 - 2543 และกลับมาออกอากาศใหม่อีกครั้งในภาครีเทิร์น ในปี พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน.

ใหม่!!: กัสตง เลอรูและคินดะอิจิ กับคดีฆาตกรรมปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

ปีศาจแห่งโรงอุปรากร

ปีศาจแห่งโรงอุปรากร (The Phantom of the Opera; Le Fantôme de l'Opéra) เป็นวรรณกรรมฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งประพันธ์โดยนักเขียนชาวฝรั่งเศสนามว่า กัสตง เลอรู เป็นนวนิยายแนวโกธิกแบบลึกลับสยองขวัญซึ่งอิงจากเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในโรงอุปรากรการ์นิเย่ของฝรั่งเศส และมีเนื้อหาที่กล่าวถึงความรักสามเส้าระหว่างชายอัปลักษณ์ชื่ออีริค (แฟนธ่อม) คริสติน ดาเอ้ ผู้เป็นนักร้องอุปรากรสาวซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเขา และราอูล ซึ่งเรื่องนี้จบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่เศร้าสลด จากเนื้อหาที่คลาสสิกของ ปีศาจแห่งโรงอุปรากร นี้เอง ที่ทำให้มีการนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์, ละครเวที และละครเพลงอยู่บ่อยครั้งตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา และยังมีบทประพันธ์ลูกอีกหลายเรื่อง อาทีเช่น The Phantom (โดย Susan Kay), แฟนทอมออฟเดอะแมนแฮตตัน เป็นต้น นิยายเรื่อง ปีศาจแห่งโรงอุปรากร นับเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ด้วย เนื่องจากกัสตง เลอรูได้เขียนขึ้นโดยได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงโดยนับจากช่วงเวลาที่เขาเขียนนิยายย้อนกลับไปประมาณสามสิบปี ซึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความสนใจแก่เลอรู คือ "การตกลงมาอย่างไม่ทราบสาเหตุของโคมระย้า" ระหว่างอุปรากรเรื่อง "เฟาสต์" ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายคนและเสียชีวิตหนึ่งคน, การจมน้ำเสียชีวิตของคนกลุ่มเล็กๆ ในคลองใต้โรงละครอย่างลึกลับ, การเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาของเคาต์ฟิลลิปป์ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์โรงละคร และมีการพบศพของเขาที่ปากท่อระบายน้ำ, เรื่องเล่าเกี่ยวกับ "ผี" ในโรงละคร และการที่โรงละครจะต้องสูญเงินอย่างเป็นปริศนามากถึง 20,000 ฟรังส์ต่อเดือนในช่วงนั้น แม้ในนิยาย "ผีแห่งโรงละคร" จะเป็นเรื่องที่พูดกันมากในช่วงเวลานั้นจริงๆ แต่แท้จริงแล้ว เรื่องของผีไม่ใช่เรื่องแพร่หลาย หากเป็นเรื่องที่รู้กันลับๆ เฉพาะในหมู่คนที่ทำงานในโรงอุปรากรเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ เรื่องของผีตนนี้โด่งดังขึ้นจากนวนิยายของเลอรูนั้นเอง กัสตง เลอรูได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าเขาเชื่อเรื่องที่เขาเขียน และยังอ้างว่าระหว่างการซ่อมแซมโรงอุปรากรการ์นิเย่ เขาได้พบศพของมนุษย์ ซึ่งเขาแน่ใจว่านั่นคือ อีริค-ผีแห่งโรงละคร โดยอ้างว่าโครงกระดูกนั่นมี "แหวนทองคำเกลี้ยง" สวมที่นิ้ว ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของคนเปอร์เซียที่ว่า "เขาได้รับแหวนทองคำจากคริสติน ดาเอ้ในวันที่เธอทิ้งเขาไป" แต่เลอรู ไม่ได้บอกว่าร่างที่เชื่อว่าเป็นอีริคนั้นถูกย้ายไปไว้ที่ไหน.

ใหม่!!: กัสตง เลอรูและปีศาจแห่งโรงอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย

ันไดเอก ห้องโถงเอก โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย (Palais Garnier; Opéra de Paris; Opéra Garnier; Paris Opéra) เป็นโรงอุปรากรตั้งอยู่ในกรุงปารีสในฝรั่งเศส ที่สร้างโดย ชาร์ล การ์นีเย เป็นสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูบาโรก โรงอุปรากรปาแลการ์นีเยถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของยุค เมื่อทำการเปิดในปี ค.ศ. 1875 โรงอุปรากรมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Académie Nationale de Musique - Théâtre de l'Opéra” (สถาบันดนตรีแห่งชาติ - โรงละครเพื่อการแสดงอุปรากร) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1978 เมื่อได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “Théâtre National de l'Opéra de Paris” (โรงละครแห่งชาติเพื่อการแสดงอุปรากรแห่งปารีส) แต่หลังจากคณะอุปรากรแห่งปารีส (Opéra National de Paris) เลือกโรงอุปรากรบัสตีย์ซึ่งเป็นโรงอุปรากรที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่เป็นโรงอุปรากรหลักแล้ว โรงละครแห่งชาติก็เปลี่ยนชื่อเป็น “ปาแลการ์นีเย” แม้ว่าจะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Académie Nationale de Musique” (สถาบันดนตรีแห่งชาติ) แม้ว่าคณะอุปรากรจะย้ายไปยังโรงอุปรากรบัสตีย์ แต่ “ปาแลการ์นีเย” ก็ยังคงเรียกกันว่า “โรงอุปรากรปารีส”.

ใหม่!!: กัสตง เลอรูและโรงอุปรากรปาแลการ์นีเย · ดูเพิ่มเติม »

23 กันยายน

วันที่ 23 กันยายน เป็นวันที่ 266 ของปี (วันที่ 267 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 99 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กัสตง เลอรูและ23 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กัสตง เลอรูซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »