โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กอลจิคอมเพล็กซ์

ดัชนี กอลจิคอมเพล็กซ์

กอลจิ คอมเพล็กซ์ (Golgi complex) มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน หลายอย่าง คือ กอลจิ บอดี (Golgi body) กอลจิ แอพพาราตัส (Golgi apparatus) ดิกไทโอโซม (dictyosome) เป็นออร์แกเนลล์ ที่ตั้งขึ้นตามชื่อของ คามิลโล กอลจิ (camillo golgi) นักชีววิทยาชาวอิตาลี ซึ่งพบกอลจิ คอมเพล็กซ์ในปี พ.ศ. 2423 โดยการศึกษาจากเซลล์ประสาท และพบออร์แกเนลล์นี้ ต่อมาเมื่อมีการประดิษฐ์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงพบและยืนยันว่าออร์แกเนลล์นี้มีจริง ในปี พ.ศ. 2499 กอลจิบอดี มีรูปร่างเป็นลักษณะคล้ายชามซึ่งเรียกว่า ซิสเทอร์นา (cisterna หรือ flattened sac) เป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ มีจำนวนไม่แน่นอน มีประมาณ 5-10 ชั้น มักพบ 2-8 อัน ตรงปลายของถุงมักโป่งออก ถุงเหล่านี้มีผนัง 2 ชั้น หรือยูนิตเมมเบรนเหมือนๆ กับเยื่อหุ้มนิวเคลียส และเยื่อหุ้มเซลล์ และมีโครงสร้างคล้าย SER ภายในถุงมีของเหลวบรรจุอยู่ โดยทั่วไป จะพบในเซลล์สัตว์ มีกระดูกสันหลัง มากกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างของกอลจิบอดี จะเปลี่ยนอยู่เสมอ เป็นเพราะบางส่วนเจริญเติบโต บางส่วนจะหด และหายไป ด้านที่มีการเจริญเติบโต จะสร้างตัวเองโดย มีการรวมตัวของเวสิเคล จากเอนโดพลาสมิก เรทิคิวลัม กับซิสเทอร์น่า ทำให้ขนาด ของซิสเทอร์น่า แต่ละอันเพิ่มขึ้น และในบริเวณช่องว่าง ของซิสเทอร์น่า จะเปลี่ยนแปลง รูปร่างของสารใหม่ต่างๆ ที่กอลจิบอดี ดูดซึมเอาไว้ให้เป็นสารอื่นได้ ที่ด้านตรงกันข้าม ของกอลจิบอดีเป็นด้านที่มีการปลดปล่อยสาร ส่วนเวสิเคิลอื่น ซึ่งมีสารใหม่ต่างๆ อยู่จะถูกขับออกมา บางส่วนของเวสิเคิล เหล่านี้จะรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ ที่อยู่ติดกับผนังเซลล์ ทำให้ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิว ของเยื่อหุ้มเซลล์ ในเวสิเคลแต่ละอันนั้น จะมีสารประกอบ โพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารสนับสนุน การเจริญเติบโต ของผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล.

10 ความสัมพันธ์: ยูแคริโอตลักษณะปรากฏสฟิงโกไมอีลินออร์แกเนลล์อะโครโซมผลิตภัณฑ์ (ชีววิทยา)แวคิวโอลไกลโคสะมิโนไกลแคนไข้เด็งกีเซลล์ (ชีววิทยา)

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณะปรากฏ

ตาสีเทาแท้ ในสิ่งมีชีวิต ลักษณะปรากฏ หรือ ฟีโนไทป์ หรือ ลักษณะสืบสายพันธุ์ (phenotypic trait, trait) เป็นรูปแบบฟิโนไทป์หนึ่งโดยเฉพาะที่สามารถสังเกตเห็นได้ ซึ่งกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ยกตัวอย่างเช่น สีตาเป็นลักษณะหนึ่ง (character) ของสิ่งมีชีวิต ในขณะที่ตาสีดำ สีฟ้า สีน้ำตาล เป็นต้น จะเป็น "ลักษณะปรากฏ/ลักษณะสืบสายพันธุ์" (trait) กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นลักษณะปรากฏทางกายหรือทางพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์และสิ่งแวดล้อมในช่วงพัฒนาการ.

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และลักษณะปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

สฟิงโกไมอีลิน

รงสร้างทั่วไปของสฟิงโกลิพิด สฟิงโกไมอีลิน (sphingomyelin) เป็นสฟิงโกลิพิดชนิดหนึ่งที่พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์ โดยเฉพาะเยื่อไมอีลินที่หุ้มรอบแอกซอนของเซลล์ประสาท ส่วนใหญ่ประกอบด้วยฟอสโฟโคลีน (phosphocholine) และเซราไมด์ (ceramide) หรือหมู่ฟังก์ชันเอทาโนลามีน (ethanolamine) ดังนั้นสฟิงโกไมอีลินจึงสามารถจัดอยู่ในกลุ่มสฟิงโกฟอสโฟลิพิด (sphingophospholipids) ในมนุษย์ สฟิงโกไมอีลินนับเป็นประมาณร้อยละ 85 ของสฟิงโกลิพิดในร่างกาย และคิดเป็น 10–20 ร้อยละโมลของลิพิดในเยื่อหุ้มเซลล์ สฟิงโกไมอีลินถูกแยกครั้งแรกโดยนักเคมีชาวเยอรมัน Johann L.W. Thudicum ในทศวรรษที่ 1880Ramstedt B, Slotte JP.

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และสฟิงโกไมอีลิน · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกเนลล์

นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลจิแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในชีววิทยาของเซลล์ ออร์แกเนลล์เป็นโครงสร้างย่อยๆ ภายในเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะ และอยู่ภายในโครงสร้างปิดที่เป็นเยื่อลิพิดแบ่งออกเป็น1ชั้นและ2ชั้น คำว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มาจากแนวความคิดที่ว่า โครงสร้างเล็กๆ ในเซลล์นี้เปรียบเหมือนกับ อวัยวะ (organ) ของร่างกาย (โดยการเติมคำปัจจัย -elle: เป็นส่วนเล็กๆ) ออร์แกเนลล์มองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และแยกให้บริสุทธิ์ได้โดยวิธีการกระบวนการปั่นแยกเซลล์ (cell fractionation) ออร์แกเนลล์มีหลายชนิดโดยเฉพาะในเซลล์ยูแคริโอตของสัตว์ชั้นสูง เซลล์โปรแคริโอตในครั้งหนึ่งเคยคิดว่าไม่มีออร์แกเนลล์ แต่ว่ามีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการเกิดขึ้นกับวัวและควายด้ว.

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และออร์แกเนลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อะโครโซม

อะโครโซม(acrosome) เป็นออร์แกแนลล์ที่อยู่บริเวณส่วนหัวของตัวอสุจิของสัตว์ส่วนใหญ่ มีรูปร่างคล้ายหมวก พัฒนามาจากกอลจิแอปพาราตัส เอนไซม์ที่สำคัญในอะโครโซมคือ hyaluronidase และ acrosin ซึ่งจะทำลายเยื่อหุ้มของเซลล์ไข่ เรียก zona pellucida เพื่อให้นิวเคลียสของอสุจิเข้าไปผสมกับนิวเคลียสของไข่ได้ อสุจิของมนุษ.

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และอะโครโซม · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ (ชีววิทยา)

ผลิตภัณฑ์ (product) ในทางชีววิทยาของเซลล์ (cellular biology) เกี่ยวกับเซลล์ คือบางสิ่งบางอย่างที่ ผลิต โดย ออร์แกเนลล์ (organelle) เช่น กอลจิ แอพพาราตัส (Golgi apparatus) หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์.

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และผลิตภัณฑ์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

แวคิวโอล

รูปเซลล์สัตว์ทั่วไปแสดงถึงองค์ประกอบภายในเซลล์. ออร์แกเนลล์: (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (จุดเล็กๆ) (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบหยาบ (6) กอลจิแอปพาราตัส (7) ไซโตสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอลภายในเซนโทรโซม แวคิวโอล (Vacuole) เป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด พบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักเล็กกว่าในพืช แวคิวโอลสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และแวคิวโอล · ดูเพิ่มเติม »

ไกลโคสะมิโนไกลแคน

อนดรอยตินซัลเฟต ไฮยาลูโรแนน (-4GlcUA''β''1-3GlcNAc''β''1-) n ไกลโคสะมิโนไกลแคน (glycosaminoglycan; GAG) หรือ มิวโคโพลีแซ็กคาไรด์ (mucopolysaccharide) เป็นโพลีแซ็กคาไรด์สายยาวไม่แตกแขนงซึ่งประกอบด้วยหน่วยไดแซ็กคาไรด์ซ้ำๆ หลายหน่วย ซึ่งหน่วยที่ซ้ำประกอบจากน้ำตาลเฮกโซส (หรือน้ำตาลที่มีคาร์บอน 6 อะตอม) หรือกรดเฮกซูโรนิก เชื่อมกับเฮกโซซามีน (น้ำตาลที่มีคาร์บอน 6 อะตอมที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจน).

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และไกลโคสะมิโนไกลแคน · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เด็งกี

้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่น ๆ ในเวลาสั้น ๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และจำนวนของยุง และป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะยังไม่มีวัคซีนในทางพาณิชย์ ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลัก ๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการคืนน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนต่อปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต..

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และไข้เด็งกี · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: กอลจิคอมเพล็กซ์และเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Golgi apparatusกอลจิ คอมเพล็กซ์กอลจิ แอพพาราตัสกอลจิแอปพาราตัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »