โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพโซเวียต

ดัชนี กองทัพโซเวียต

กองทัพโซเวียต หรือ กองทัพสหภาพโซเวียต มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กองทัพแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Вооружённые Силы Союза Советских Социалистических Республик, Вооружённые Силы Советского Союза) หมายถึง กองกำลังทหารของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (1917–1922) และสหภาพโซเวียต (1922–1991) นับแต่การเริ่มต้นหลังสงครามกลางเมืองรัสเซียสิ้นสุดกระทั่งล่มสลายในเดือนธันวาคม 1991 ตามกฎหมายราชการทหารทั่วสหภาพ เดือนกันยายน 1925 กองทัพโซเวียตประกอบด้วยห้าเหล่า ได้แก่ กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ หน่วยอำนวยการการเมืองรัฐ (OGPU) และ กองกำลังภายใน (convoy guards) ภายหลัง OGPU แยกเป็นอิสระและรวมเข้ากับ NKVD ในปี 1934 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเพิ่มหน่วยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (1960) กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ (1948) และกำลังประชาชนแห่งชาติทั่วสหภาพ (1970) ซึ่งจัดเป็นอันดับที่หนึ่ง สามและหกในการนับความสำคัญเปรียบเทียบอย่างเป็นทางการของโซเวียต (โดยกำลังภาคพื้นดินมีความสำคัญเป็นอันดับสอง กองทัพอากาศเป็นอันดับสี่ และกองทัพเรือเป็นอันดับห้า) อำนาจทางทหารของโซเวียตในขณะนั้นใหญ่ที่สุดและทรงอำนาจที่สุดของโลก โครงสร้างการบังคับบัญชาของกองทัพแห่งสหภาพ.

44 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2482พีพีชา-41กองทัพรัสเซียกองทัพคีร์กีซสถานกองทัพประชาชนบัลแกเรียกองทัพประชาชนแห่งชาติกองทัพแดงกองทัพเรือโซเวียตกองทัพเติร์กเมนิสถานการบุกครองโปแลนด์การล้อมบูดาเปสต์การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956รัฐบาลเฟล็นส์บวร์ควาซีลี ลาโนวอยสกั๊ดสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานอสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟอะฟานาซี เบโลโบโรดอฟอาร์พีจี (อาวุธ)อูลานบาตาร์อีวาน โคเนฟอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโคจอมพลสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตจอมพลแห่งสหภาพโซเวียตคอลล์ออฟดิวตี: ยูไนทิดออฟเฟนซิฟคิม อิล-ซ็องตูโปเลฟ ตู-22ประเทศอิหร่านประเทศโรมาเนียนีกีตา ครุชชอฟนีโคไล บุลกานินแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1โอฟิตเซรืยโครงการอวกาศโซเวียตเลโอนิด เบรจเนฟเหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 20 ปีการทำงานและรับใช้กองทัพแดง"เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ"เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวแดงเคอนิจส์แบร์กเปโตร โปโรเชนโกGeneralissimo24 ธันวาคม

พ.ศ. 2482

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและพ.ศ. 2482 · ดูเพิ่มเติม »

พีพีชา-41

ีพีชา-41 (pistolet-pulemyot Shpagina; Пистолет-пулемёт Шпагина; "Shpagin machine pistol");เป็นปืนกลมือของโซเวียตที่ออกแบบโดย Georgy Shpagin ที่มีราคาถูก, มีความน่าเชื่อถือและใช้งานง่ายกว่าปืนกลมือพีพีดี-40.ชื่อเล่นทั่วไปเป็น "พี-พี-ช่า"(ППШ) จากคำนำหน้าสามตัวและคำว่า "พาพาช่า"(папаша) ซึ่งหมายถึง "พ่อ หรือ บิดา" พีพีชา-41 เป็นปืนกลมือประจำกายแบบซองกระสุนที่ใช้งานแบบเปิดลูกเลื่อนและทำให้ปืนสะท้อนถอยหลัง (Blowback).ส่วนใหญ่มันทำมาจากการปั๊มเหล็กกล้.สามารถบรรจุกระสุนได้ด้วยกล่องหรือแม็กกาซีนตลับหอยโข่ง (drum magazine) และยิงด้วยกระสุน 7.62×25มม.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและพีพีชา-41 · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพรัสเซีย

กองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย (Вооружённые Си́лы Росси́йской Федера́ции) เป็นราชการทหารของประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย วันที่ 7 พฤษภาคม 2535 บอริส เยลต์ซินลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีที่สถาปนากระทรวงกลาโหมรัสเซียและกำหนดให้หน่วยทหารกองทัพโซเวียตทั้งหมดในดินแดนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ประธานาธิบดีรัสเซียเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพ จำนวนกำลังพลมีระบุในคำสั่งประธานาธิบดีรัสเซีย วันที่ 1 มกราคม 2551 มีการกำหนดทหาร 2,019,629 นาย รวมถึงทหาร 1,134,800 นาย ในปี 2553 สถาบันศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศประเมินว่ากองทัพรัสเซียมีกำลังพลประจำการราว 1,040,000 นาย และกองหนุน 2,035,000 นาย (ส่วนใหญ่เป็นอดีตทหารเกณฑ์)IISS Military Balance 2010, p. 222 หอบัญชีรัสเซียรายงานกำลังพลในกองทัพและได้รับค่าจ้างแท้จริงไว้ที่ 766,000 นายในเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งไม่ตรงกับกำลังพลที่ระบุไว้ในคำสั่งประธานาธิบดี จนถึงเดือนธันวาคม 2556 กองทัพมีกำลังพลอยู่ที่ร้อยละ 82 ของกำลังพลที่ต้องการ.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพคีร์กีซสถาน

กองทัพคีร์กีซสถาน เดิมตั้งขึ้นจากอดีตกองทัพโซเวียตในมลฑลทหารเตอร์คีสถานที่ประจำอยู่ในรัฐที่เพิ่งแยกเป็นเอกราช ซึ่งรวมถึงกองทัพบก กำลังทางอากาศและป้องกันภัยทางอากาศ และหน่วยกำลังรักษาดินแดน หน่วยภายใน สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยชายแดน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพคีร์กีซสถาน · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพประชาชนบัลแกเรีย

กองทัพประชาชนบัลแกเรีย (Българска народна армия: Bulgarska Narodna Armiya, BNA) เป็นกองกำลังทหารของสาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพประชาชนบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพประชาชนแห่งชาติ

กองทัพประชาชนแห่งชาติ (NPA) (German: Nationale Volksarmee – NVA) เป็นชื่อเรียกของกองทัพสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี มีกำลังทหารประมาณ 120,000 นาย กองทัพประชาชนแห่งชาติถูกสถาปนาในปี 1956 และถูกยุบในปี 1990 กองทัพมีส่วนในการบุกครองพร้อมกับกองทัพสหภาพโซเวียต ต่อรัฐบาลเชโกสโลวาเกียในช่วงปรากสปริง ในปี 1968 นอกจากนี้ยังมีการพบว่ามีเจ้าหน้าที่ทางทหารของเยอรมนีตะวันออกทำงานให้กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในแอฟริกาในช่วงสงครามเย็น.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพประชาชนแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือโซเวียต

กองทัพเรือโซเวียต (Военно-морской флот СССР (ВМФ)) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของสหภาพโซเวียต กองทัพเรือโซเวียตมีกองเรือย่อยคือกองเรืออาร์กติก, กองเรือบอลติก, กองเรือทะเลดำ, กองเรือแปซิฟิก และนอกจากนี้กองทัพเรือโซเวียตยังบัญชาการ ฐานทัพเรือเลนินกราด และ กองเรือรบเล็กแคสเปียน ซึ่งเป็นกองเรือที่ลาตตะเวนในทะเลสาบแคสเปียนและบัญชาการ Soviet Naval Aviation, นาวิกโยธินโซเวียต และ Coastal Artillery.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพเรือโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเติร์กเมนิสถาน

กองทัพเติร์กเมนิสถาน ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ กำลังทางอากาศและป้องกันภัยทางอากาศ หน่วยชายแดน หน่วยทหารภายใน และหน่วยพิทักษ์สาธารณรัฐ หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มลฑลทหารเติร์กเกสสถาน ส่วนสำคัญของกองทัพโซเวียต ยังอยู่ในดินแดนเติร์กเมนิสถาน ซึ่งมีกองพลปืนเล็กยาวยนต์หลายกองพล ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 รัฐบาลใหม่ของรัสเซียลงนามสนธิสัญญากลาโหมทวิภาคีกับเติร์กเมนิสถาน ซึ่งสนับสนุนให้รัฐบาลใหม่ของเติร์กเมนิสสถานตั้งกองทัพของตน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพเติร์กเมนิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและการบุกครองโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมบูดาเปสต์

ทธการที่บูดาเปสต์ หรือ การล้อมบูดาเปสต์ เป็นการสู้รบตลอด 50 วันของกองทัพโซเวียต ณ กรุงบูดาเปสต์เมืองหลวงของฮังการี ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองจะสิ้นสุดลง โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรุกบูดาเปสต์ ยุทธการเริ่มขึ้นเมื่อกรุงบูดาเปสต์ซึ่งถูกปกป้องโดยกองทัพฮังการีและเยอรมนี ถูกโจมตีครั้งแรกโดยกองทัพโซเวียตและกองทัพโรมาเนียในวันที่ 26 ธันวาคม 1944 ในช่วงการรบที่บูดาเปสต์พลเรือน 38,000 คนเสียชีวิตขณะอพยพหรือถูกทหารฆ่า กรุงบูดาเปสต์ยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1945 โดยเป็นการรบที่ได้รับชัยชนะในเชิงยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตร ในการรุกหน้าสู่กรุงเบอร์ลิน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและการล้อมบูดาเปสต์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956

การปฏิวัติฮังการี..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค

รัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค (Flensburger Regierung), หรือเป็นที่รู้จักกันคือ คณะรัฐมนตรีเฟล็นส์บวร์ค (Flensburger Kabinett),รัฐบาลเดอนิทซ์ (Regierung Dönitz), หรือ คณะรัฐมนตรีชเวริน ฟอน โครซิจค์ (Kabinett Schwerin von Krosigk),เป็นรัฐบาลที่มีอายุสั้นของนาซีเยอรมนี ในช่วงระยะเวลาสามสัปดาห์ของช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป.รัฐบาลได้ถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังจากฟือเรอร์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรม เมื่อวันที่ 30 เมษายนในระหว่างยุทธการเบอร์ลิน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและรัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

วาซีลี ลาโนวอย

วาซีลี เซมิโอโนวิช ลาโนวอย (Василий Семенович Лановой) เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโรงละครชาวรัสเซีย โดยผลงานที่ลาโนวอยประสบความสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ 1970 คือภาพยนตร์เล่าวิวัฒนาการของกองทัพโซเวียต เรื่อง โอฟิตเซรืย นอกจากนี้เขายังเล่นบท นายพล ชุทซ์ชทัฟเฟิล Karl Wolff ในละครโทรทัศน์แนวสายลับเรืองเซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย (1973) ในปี 2014 เขาแสดงท่าที่สนับสนุน วลาดีมีร์ ปูติน ในการผนวกไครเมียจากยูเครนในช่วงวิกฤตการณ์ไครเมี.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและวาซีลี ลาโนวอย · ดูเพิ่มเติม »

สกั๊ด

รวด R-17 (SS-1c Scud-B) ของโปแลนด์ รถยิงขีปนาวุธ MAZ-543 ที่ใช้ยิงสกั๊ด (R-300 Elbrus / SS-1c Scud-B) สกั๊ด (Scud) เป็นชื่อที่ใช้เรียกขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ของสหภาพโซเวียต ที่ผลิตขึ้นระหว่างสงครามเย็น และมีใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก มาจากชื่อที่นาโตใช้เรียกขีปนาวุธ R-11, R-17 และ R-300 เอลบรูส ของโซเวียต ว่า SS-1 Scud ปัจจุบันชื่อนี้ใช้เป็นชื่อรวมๆ ที่เรียกขีปนาวุธทั้งหลายที่พัฒนามาจากขีปนาวุธต้นแบบของโซเวียต ทั้งตระกูล Al-Hussein, Al-Abbas ที่พัฒนาโดยอิรัก ตระกูล Shahab ที่พัฒนาโดยอิหร่าน และ Hwasong, Rodong ที่พัฒนาโดยเกาหลีเหนือ.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสกั๊ด · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (Latvian Soviet Socialist Republic; Latvijas Padomju Sociālistiskā Republika; Латви́йская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียถูกจัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (Lithuanian Soviet Socialist Republic; Lietuvos Tarybų Socialistinė Respublika; Лито́вская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐแห่งนี้ดำรงอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน

| casualties1.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟ

วันที่ 10 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและอสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเลโอนิด เบรจเนฟ · ดูเพิ่มเติม »

อะฟานาซี เบโลโบโรดอฟ

อะฟานาซี ปัฟลันเตียวิช เบโลโบโรดอฟ (Афанасий Павлантьевич Белобородов) เป็นผู้บัญชาการกองทัพโซเวียตในช่วงแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต 2 ครั้ง และ เครื่องอิสริยาภรณ์อื่น ๆ 7 ดวง นอกจากนี้เบโลโบโรดอฟยังบัญชาการมณฑลทหารมอสโกตั้งแต่ปี 1963 ถึงปี 1968.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและอะฟานาซี เบโลโบโรดอฟ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์พีจี (อาวุธ)

รวจและเครื่องยิง อาร์พีจี (RPG; ย่อมาจาก "rocket-propelled grenade" ระเบิดซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด) เป็นระบบอาวุธต่อต้านรถถังซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ยิงประทับบ่า (shoulder-fired) ศัพท์ทางการทหารเรียกว่า เครื่องยิงจรวด ลักษณะเป็นปล้องสำหรับยิงจรวดซึ่งที่หัวติดวัตถุระเบิดไว้ อาร์พีจีบางประเภทใช้ได้ครั้งเดียว บางประเภทสามารถบรรจุซ้ำได้ โดยส่วนใหญ่บรรจุจรวดเข้าทางปากปล้อง อาร์พีจีทรงประสิทธิภาพมากเมื่อใช้ต่อต้านยานพาหนะติดอาวุธ จรวดอาร์พีจีนั้นกองทัพสหภาพโซเวียตพัฒนาขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยปรับปรุงมาจากอาวุธพันแซร์เฟาสท์ (Panzerfaust) ของนาซีเยอรมนี อาร์พีจีรุ่นแรกที่ใช้ในกองทัพโซเวียต คือ อาร์พีจี-2 ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1949 ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นอาร์พีจี-7 เมื่อปี 1961 และแบ่งปันให้มิตรประเทศใช้ ก่อนจะแพร่หลายเป็นอันมากในยุคสงครามเย็น.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและอาร์พีจี (อาวุธ) · ดูเพิ่มเติม »

อูลานบาตาร์

อูลานบาตาร์ (Улаанбаатар, เสียงอ่าน) เป็นเมืองหลวงของมองโกเลีย ในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและอูลานบาตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีวาน โคเนฟ

อีวาน สเตปาโนวิช โคเนฟ (Ива́н Степа́нович Ко́нев; 28 ธันวาคม 1897– 21 พฤษภาคม 1973) เป็นผู้บัญชาการกองทัพโซเวียต ผู้นำกองทัพแดงในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีส่วนร่วมในการยึดดินแดนจำนวนมากในยุโรปตะวันออกกลับคืนมาจากภายใต้อำนาจปกครองของฝ่ายอักษะ และช่วยเหลือในการเข้ายึดกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี ในปี 1956 โคเนฟได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังแห่งกติกาสัญญาวอร์ซอ โคเนฟได้นำกองกำลังเข้าปราบปรามในเหตุการณ์การปฏิวัติฮังการีด้วยกองพลยานเกราะโซเวียต.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและอีวาน โคเนฟ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค

อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค (Алякса́ндр Рыго́равіч Лукашэ́нка Алекса́ндр Григо́рьевич Лукаше́нко, เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2497) เป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเบลารุส ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 20 กรกฎาคม..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค · ดูเพิ่มเติม »

จอมพลสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต

อมพลสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต (Генералиссимус Советского Союза; Generalissimus Sovétskogo Soyuza) เป็นยศทหารที่ถูกเสนอเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1945 โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับยศทหารในยุคกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย โดยมอบให้กับโจเซฟ สตาลิน หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง แต่ถึงแม้ว่าสตาลินจะไม่ได้ใช้ยศนี้อย่างเป็นทางการ ยศนี้ก็ยังถือว่าเป็นยศทหารที่สูงที่สุดในสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและจอมพลสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต

อมพลแห่งสหภาพโซเวียต (Ма́ршал Сове́тского Сою́за) เป็นยศสูงสุดในกองทัพโซเวียต (ส่วนยศสูงสุด จอมพลสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการเสนอให้โจเซฟ สตาลินหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ไม่เคยได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ).

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

คอลล์ออฟดิวตี: ยูไนทิดออฟเฟนซิฟ

อลล์ออฟดิวตี: ยูไนทิดออฟเฟนซิฟ (Call of Duty: United Offensive) เป็นวิดีโอเกมภาคเสริมแนวยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งที่พัฒนาโดย Gray Matter Interactive โดยพัฒนาที่ Pi Studios และเผยแพร่โดย Activision เป็นเกมสำหรับ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์และ โอเอสเทน โดยวางจำหน่ายในวันที่ 14 กันยายน 2004.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและคอลล์ออฟดิวตี: ยูไนทิดออฟเฟนซิฟ · ดูเพิ่มเติม »

คิม อิล-ซ็อง

อนุสาวรีย์คิม อิล-ซ็อง คิม อิล-ซ็อง (15 เมษายน พ.ศ. 2455 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) เป็นผู้นำคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและคิม อิล-ซ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ตูโปเลฟ ตู-22

ตูโปเลฟ ตู-22 (Tupolev Tu-22 Blinder) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าไบลน์เดอร์) เป็นเครื่องบินเจ๊ตทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงแบบแรกของสหภาพโซเวียต ประกฎตัวครั้งแรกเมื่อวันแสดงการบินที่มอสโคว์ในปี 1961 องค์การนาโตกำหนดรหัสเป็นไบลน์เดอร.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและตูโปเลฟ ตู-22 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

นีกีตา ครุชชอฟ

นีกีตา เซียร์เกเยวิช ครุชชอฟ (Никита Сергеевич Хрущёв; Nikita Sergeyevich Khrushchev 17 เมษายน ค.ศ. 1894 - 11 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1953 ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากนิโคไล บัลกานิน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและนีกีตา ครุชชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

นีโคไล บุลกานิน

นีโคไล อะเลคซันโดรวิช บุลกานิน (Никола́й Алекса́ндрович Булга́нин; Nikolai Alexandrovich Bulganin; 11 มิถุนายน 2438 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518) เป็นนักการเมืองโซเวียต เป็น ผู้บัญชาการประชากลาโหม แห่งสหภาพโซเวียตภายใต้รัฐบาลโจเซฟ สตาลิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2496–พ.ศ. 2498) และประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต (1955-1958) ภายใต้รัฐบาล นีกีตา ครุชชอฟ.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและนีโคไล บุลกานิน · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1

แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 (1-й Белорусский фронт) เป็นแนวรบหน้าของกองทัพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงหลังสงครามแนวรบนี้ได้วางกำลังในเยอรมนีตะวันออกเป็นกองกำลังโซเวียตในเยอรมนีตะวันออก.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

โอฟิตเซรืย

อฟิตเซรืย (Ofitsery) เป็นภาพยนตร์แนวสงครามและนาฏกรรมของสหภาพโซเวียต ที่เล่าวิวัฒนาการของกองทัพโซเวียต กำกับการแสดงโดย Vladimir Rogovy ภาพยนตร์นี่เป็นภาพยนตร์ที่มีคนดูมากที่สุดเรื่องหนึ่งในสหภาพโซเวียตโดยมีคนดูมากถึง 53.4 ล้านคน ภาพยนตร์นี้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ Alexey Trofimov และ Ivan Varavva เพื่อนในกองทัพแดง ซึ่งพวกเขาได้ผจญภัยทั่วสหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษที่ 1920 นอกจากนี้ยังได้ไปร่วมต่อสู้ในสงครามกลางเมืองสเปนและในช่วงมหาสงครามของผู้รักชาติ ในตอนปานปลายของชีวิตทั้งสองได้พบกันอีกครั้งในฐานะนายพล.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและโอฟิตเซรืย · ดูเพิ่มเติม »

โครงการอวกาศโซเวียต

รวดอาร์-7 โครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศเป็นโครงการที่จัดทำโดยอดีต สหภาพโซเวียตจากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการ สลายตัว ในปี..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและโครงการอวกาศโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนิด เบรจเนฟ

ลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ (Леонид Ильич Брежнев; Leonid Illyich Brezhnev; 19 ธันวาคม 2449 – 10 ธันวาคม 2525) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีโซเวียตคนที่ 8 ระหว่างสงครามเย็น.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเลโอนิด เบรจเนฟ · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 20 ปีการทำงานและรับใช้กองทัพแดง"

หรียญที่ระลึก "ครบรอบ 20 ปีการทำงานและรับใช้กองทัพแดง" (Юбилейная медаль «XX лет Рабоче-Крестьянской Красной Армии») เป็นเหรียญที่ระลึกของสหภาพโซเวียต เนื่องในวาระครบรอบ 20 ปีการก่อตั้งกองทัพโซเวียต ได้รับการประกาศจากคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตในวันที่ 24 มกราคม..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 20 ปีการทำงานและรับใช้กองทัพแดง" · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ"

หรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ" (Юбилейная медаль «30 лет Советской Армии и Флота») เป็นเหรียญที่ระลึกของสหภาพโซเวียต เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปีการก่อตั้งกองทัพโซเวียต และ กองทัพเรือโซเวียต ได้รับการประกาศจากคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1948 ระเบียบการมอบเหรียญได้รับการแก้ไขเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 1980 ตามประกาศจากคณะกรรมการบริหารสูงสุดของสหภาพโซเวียตของสหภาพโซเวียตเลขที่ 2523-X เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ" ถูกสวมใส่ที่ด้านซ้ายของหน้าอกและอยู่รวมกับเหรียญอื่น ๆ โดยไว้ลำดับถัดไปจากเหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 20 ปีการทำงานและรับใช้กองทัพแดง" หากมีเหรียญจากสหภาพโซเวียตที่สูงกว่าหรือจากเหรียญของสหพันธรัฐรัสเซีย ให้ไว้ในลำดับถัดไป ลักษณะของเหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ" มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร ด้านหน้าเป็นรูปครึ่งขวาของวลาดีมีร์ เลนิน และ โจเซฟ สตาลิน (หน้าสุด) โดยที่มีเลขโรมัน "XXX" อยู่ด้านล่าง ด้านหลังมีข้อความที่เขียนเป็นขอบวงกลมว่า "เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปี" («В ОЗНАМЕНОВАНИЕ ТРИДЦАТОЙ ГОДОВЩИНЫ») และมีรูปดาวห้าแฉกอยู่ด้านล่างสุดของเหรียญ ตรงกลางมีข้อความที่เขียนเป็น 2 บรรทัดว่า "กองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ" («СОВЕТСКОЙ АРМИИ И ФЛОТА») พร้อมกับระบุปี "1918-1948".

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 30 ปีการสถาปนากองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ" · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวแดง

รื่องอิสริยาภรณ์ดาวแดง (Орден Краснoй Звезды) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ทางทหารของ สหภาพโซเวียต เครื่องอิสริยาภรณ์ได้รับการสถาปนาตามประกาศจากคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตในวันที่ 6 เมษายน 1930 ลักษณะของเครื่องอิสริยาภรณ์ดาวแดงเป็นดาวห้าแฉกเงินเคลือบสีแดงขนาด 47 มิลลิเมตร ถึง 50 มิลลิเมตร (ขึ้นอยู่กับรูปแบบ) ตรงกลางของเหรียญมีโล่สีเงินออกซิไดซ์มีภาพของทหารสวมเสื้อคลุมและถือปืนไรเฟิลอยู่ ตรงขอบโล่สีเงินออกซิไดซ์มีคำขวัญคอมมิวนิสต์เขียนว่า "กรรมกรทั่วโลกจงสามัคคีกัน !" («Пролетарии всех стран, соединяйтесь!») ด้านล่างของขอบขอบโล่สีเงินออกซิไดซ์มีข้อความเขียนอักษรย่อของสหภาพโซเวียตในภาษารัสเซียว่า "แอสแอสแอสเอร์" («СССР») ด้านล่างสุดของขอบขอบโล่สีเงินออกซิไดซ์มีรูป ค้อนเคียว ด้านหลังของดาวมีอักษรระบุถึงโรงงานที่ผลิดและเลขที่ของเครื่องอิสริยากรณ.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเครื่องอิสริยาภรณ์ดาวแดง · ดูเพิ่มเติม »

เคอนิจส์แบร์ก

ปรัสเซียตะวันออก ตั้งแต่ปี 1919 ถึงปี 1939 ตราประจำเมืองเคอนิจส์แบร์ก เคอนิจส์แบร์ก (Königsberg) เป็นอดีตชื่อเมืองของเมืองคาลินินกราด โดยเป็นอดีตเมืองของชาวปรัสเซียเก่า ในสมัย Sambian ต่อมาเมืองนี้เป็นเมืองของ อัศวินทิวทอนิก, ดัชชีปรัสเซีย, ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิรัสเซีย และ เยอรมนี จนถึงปี 1946 หลังจากที่ถูกทำลายในช่วง สงครามโลกครั้งที่สองโดยกองทัพโซเวียต เคอนิจส์แบร์กถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียต ต่อมาเมืองเคอนิจส์แบร์กถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองคาลินินกราด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคอนิจส์แบร์ก ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี 1944 และในช่วงถูกล้อม ในปี 1945 เคอนิจส์แบร์กถูกยึดครองและปกครองโดยสหภาพโซเวียต ชาวเยอรมันที่อยู่ในเมืองถูกขับไล่ทั้งหมดและแทนที่ด้วยชาวรัสเซียและเชื้อชาติอื่นในสหภาพโซเวียต ตามนโยบายการแผลงเป็นรัสเซีย เคอนิจส์แบร์ก ถูกใช้ชื่อในภาษารัสเซียในชื่อ "Kyonigsberg" (Кёнигсберг) ก่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "คาลินินกราด" ในปี 1946 ซึ่งตั้งชื่อตามประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต มีฮาอิล คาลีนิน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเคอนิจส์แบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปโตร โปโรเชนโก

ปโตร โอเลกลอฟวิช โปโรเชนโก (Петро́ Олексі́йович Пороше́нко) เป็น ประธานาธิบดียูเครน คนที่ 5 และคนปัจจุบัน เรื่มดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2014.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเปโตร โปโรเชนโก · ดูเพิ่มเติม »

Generalissimo

Generalissimo เป็นคำในภาษาอิตาลี มาจากคำว่า generale ประสมกับส่วนต่อท้ายคำ -issimo ซึ่งมาจากภาษาละติน -issimus ซึ่งหมายถึง "อย่างที่สุด, ไปจนถึงขั้นสูงสุด" เป็นยศทางทหารที่สูงกว่าจอมพล Generalissimo เป็นผู้คุมอำนาจทางทหารอย่างเบ็ดเสร็จ ในบางครั้ง "Generalissimo" ถูกใช้ในภาษาอังกฤษใหม่ โดยมีความหมายถึง นายทหารผู้ซึ่งได้รับอำนาจทางการเมืองจากการก่อรัฐประหาร หรือในบางกรณีที่หมายถึงผู้ที่สั่งระงับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า เพื่อที่จะครอบครองอำนาจด้วยวิธีทางทหาร.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและGeneralissimo · ดูเพิ่มเติม »

24 ธันวาคม

วันที่ 24 ธันวาคม เป็นวันที่ 358 ของปี (วันที่ 359 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 7 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและ24 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กองทัพสหภาพโซเวียต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »