เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

ดัชนี กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น หรือ JSDF บางครั้งเรียกว่า JSF หรือ SDF เป็นบุคลากรจากประเทศญี่ปุ่นที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบ และฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองญี่ปุ่น ในเวลาหลังสงคราม กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตนเองในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แต่ล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.

สารบัญ

  1. 31 ความสัมพันธ์: กฎหมายสันติภาพและความมั่นคงญี่ปุ่นกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่นกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นการสังหารหมู่นานกิงก็อตซิลล่า ถล่ม เดสทรอยย่า ศึกอวสานก็อตซิลล่ามาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นมิชิมะ ยุกิโอะมีรียศทหารกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นยุทธการที่นานกิงยูเอสเอส แลงลีย์ (CV-1)สถานีศิริราช (รถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีแดงอ่อน)สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองหลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์)หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืมอภิธานศัพท์ในอีวานเกเลียนถนนพัฒน์พงศ์ทอง (ภาพยนตร์)ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมะห์มุด บาดารูดินที่ 2ซูสีไทเฮา ภาค 1ประเทศญี่ปุ่นป๋วย อึ๊งภากรณ์โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพโฮวา ไทป์-89ไทป์ 61เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นอินดีเพนเดนซ์เอกซ์เจแปนเอเอช-1 คอบราเจมส์ คลาเวลล์เทศกาลหิมะซัปโปโระเดอะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว

กฎหมายสันติภาพและความมั่นคงญี่ปุ่น

กฎหมายสันติภาพและความมั่นคง เป็นร่างกฎหมายญี่ปุ่นในปี 2015 ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กับพรรคเสรีประชาธิปไตยซึ่งครองเสียงข้างมากในรัฐสภา สนับสนุนการออกกฎหมายเพื่อให้ทหารญี่ปุ่นเข้าร่วมในการขัดกันระหว่างประเทศได้ นับเป็นการล้มเลิกนโยบายที่แล้วมาของประเทศที่ให้รบเพื่อป้องกันตนเท่านั้น รัฐสภาเห็นชอบกับกฎหมายนี้ในเดือนกันยายน 2015 แม้ขัดกับความคิดเห็นของสาธารณชน นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นยอมให้ทหารปฏิบัติการเพื่อป้องกันตนเท่านั้น กฎหมายนี้จึงมีการตีความเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเสียใหม่ ทหารจึงจะสามารถปฏิบัติการนอกประเทศเพื่อ "การป้องกันตนเองแบบหมู่" สำหรับมิตรประเทศได้.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและกฎหมายสันติภาพและความมั่นคงญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น (Japan Ground Self-Defense Force คำย่อ: JGSDF) เป็นหนึ่งในสามเหล่าทัพ ของประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการบรรเทาทุกข์และพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศญี่ปุ่น มาตั้งแต..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japan Air Self-Defense Force: JASDF) เป็นสาขาหนึ่ง ของ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันน่านฟ้าของญี่ปุ่นและการดำเนินงานการบินอื่น ๆ JASDF ดำเนินการลาดตระเวนทางอากาศทั่วญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน ก็มีเครือข่ายกับที่เชื่อมกับหน่วยงานภาคพื้นดิน รวมกึงระบบเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้าทางอาก.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น

การสังหารหมู่นานกิง

การสังหารหมู่นานกิง (Nanking Massacre หรือ Nanjing Massacre) หรือรู้จักกันในนามการข่มขืนนานกิง (Rape of Nanking) เป็นการสังหารหมู่และการข่มขืนยามสงคราม (war rape) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลาหกสัปดาห์หลังญี่ปุ่นยึดนครนานกิง อดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในช่วงนี้ พลเรือนและทหารจีนที่ถูกปลดอาวุธหลายแสนคนถูกทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นฆ่าTotten, Samuel.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและการสังหารหมู่นานกิง

ก็อตซิลล่า ถล่ม เดสทรอยย่า ศึกอวสานก็อตซิลล่า

ก็อตซิลล่า ถล่ม เดสทรอยย่า ศึกอวสานก็อตซิลล่า (Gojira tai Desutoroia,Godzilla vs.) เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ไคจูในปี ค.ศ. 1995 ผู้อำนวยการสร้างโดย Tomoyuki Tanaka และ Shogo Tomiyama กำกับโดย Takao Okawara เป็นภาพยตร์เรื่องที่ 22 ของก็อตซิลลาซีรีส์ ซึ่งต่อจากภาคก็อดซิลลา ปะทะ สายพันธุ์ก็อดซิลลาต่างดาว และเป็นภาคสุดท้ายในยุคเฮย์เซย์ โดยออกฉายทางโรงภาพยนตร์ทั่วญี่ปุ่นในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและก็อตซิลล่า ถล่ม เดสทรอยย่า ศึกอวสานก็อตซิลล่า

มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น

มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น เป็นบทในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นที่ห้ามพฤติการณ์แห่งสงครามโดยรัฐ รัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในข้อความนี้ รัฐสละสิทธิอธิปไตยในสงครามและห้ามการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศผ่านการใช้กำลัง มาตรานี้ยังแถลงว่า เพื่อบรรลุเป้าประสงค์เหล่านี้ จะไม่มีการธำรงกองทัพที่มีศักย์สงคราม แม้ญี่ปุ่นยังธำรงกองทัพโดยพฤตินัย คือ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น

มิชิมะ ยุกิโอะ

มิชิมะ ยุกิโอะ เป็นนามปากกาของ ฮิระโอะกะ คิมิตะเกะ (14 มกราคม ค.ศ. 1925 - 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970) เป็นกวีและนักเขียนชาวญี่ปุ่น ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเขียนท่านหนึ่งที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ยุกิโอะเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมถึง 3 ครั้ง และเกือบได้รับรางวัลนี้ในปี..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและมิชิมะ ยุกิโอะ

มีรี

มีรี (ยาวี) เป็นนครชายทะเลทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐซาราวะก์ ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนประเทศบรูไน บนเกาะบอร์เนียว เมืองมีพื้นที่ 997.43 ตร.กม.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและมีรี

ยศทหารกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

ทความนี้ระบุตำแหน่งและยศใช้โดยกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและยศทหารกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

ยุทธการที่นานกิง

ทธการที่นานกิง เริ่มหลังจากยุทธการเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและยุทธการที่นานกิง

ยูเอสเอส แลงลีย์ (CV-1)

ูเอสเอส แลงลีย์ (CV-1) เรือบรรทุกสินค้า ยูเอสเอส จูปิเตอร์ (AV-3) ดัดแปลงเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินทะเล ยูเอสเอส แลงลีย์ (USS Langley) มีรหัสว่า CV-1 ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น AV-3 เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อตามชื่อของแซมมวล เพียร์พอนด์ แลงลีย์ นักดาราศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เดิมเรือลำนี้เป็นเรือบรรทุกสินค้า ชื่อ ยูเอสเอส จูปิเตอร์ (AV-3) ได้รับการดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินในปี..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและยูเอสเอส แลงลีย์ (CV-1)

สถานีศิริราช (รถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีแดงอ่อน)

นีศิริราช (หรืออาจใช้ชื่อสถานีบางกอกน้อย) เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ซึ่งโครงการยังอยู่ระหว่างการวางแผนและออกแบบ มีแนวเส้นทางผ่านใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ในกรุงเทพมหานคร และลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงฝั่งธนบุรี จุดที่ตั้งสถานีแห่งนี้มีความสำคัญเพราะสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเก่าแก่ที่สุดและเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทยได้โดยตรง ขณะเดียวกันก็ยังมีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับกรุงธนบุรีในอดีต และยังมีสถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งเคยเป็นต้นทางของทางรถไฟสายใต้ และทางรถไฟสายมรณะ ไทย-พม่า ที่กองทัพญี่ปุ่นสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและสถานีศิริราช (รถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีแดงอ่อน)

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

หลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์)

หลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์) พลเอก หลวงเสนาณรงค์ (นามเดิม ศักดิ์ เสนาณรงค์) (พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2498) อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 6 ค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในภาคใต้ ซึ่งต่อต้านการรุกรานจากกองทัพญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพา ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก และปลัดกระทรวงกลาโหม หลวงเสนาณรงค์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ระหว่างวันที่ 14-19 กรกฎาคม..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและหลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์)

หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม

หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม (Farewell My Concubine; ดีวีดีในไทย ใช้ชื่อว่า "หลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม") เป็นภาพยนตร์จีนที่กำกับโดยเฉิน ข่ายเกอ สร้างจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของลิเลียน ลี นักเขียนชาวฮ่องกง มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโตวจื่อ นักแสดงอุปรากรจีนชาย ที่ได้รับการฝึกฝนให้รับบทเป็นตัวนาง กับซือโถว เพื่อนรุ่นพี่ที่คอยปกป้องโตวจื่อมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตขึ้นโตวจื่อใช้ชื่อในการแสดงว่า เฉิงเตี๋ยอี มีชื่อเสียงโด่งดังกับกับบทอวี้จี่อัน นางสนมของเซี่ยงอี่ (หรือ ฌ้อปาอ๋อง 232-202 ปีก่อนคริสตกาล) แม่ทัพแห่งแคว้นฉู่ตะวันตกในยุคราชวงศ์ฉิน ที่แสดงโดยซือโถว ซึ่งใช้ชื่อในการแสดงว่า ต้วนเสี่ยวโหลว บทบาทของทั้งคู่มาจากอุปรากรปักกิ่งเรื่อง "ฌ้อปาอ๋อง" เกี่ยวกับการรบเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างเซี่ยงอี่ กับหลิวปัง, การสถาปนาราชวงศ์ฮั่น และเรื่อง "ศาลาโบตั๋น" ภาพยนตร์นำเสนอความสัมพันธ์แบบสามเส้าแบบ ชาย-ชาย-หญิง ระหว่าง เฉิงเตี๋ยอี (รับบทโดย เลสลี่ จาง) กับ ต้วนเสี่ยวโหลว (รับบทโดย จาง เฟิงอี้) และนางโลมชื่อ จูเสียน (รับบทโดย กง ลี่) โดยภาพยนตร์จบลงที่ความตายของเฉิงเตี๋ยอี โดยใช้ดาบเชือดคอตัวเอง เช่นเดียวกับในบทอวี้จี่อัน ที่ตัวเองเป็นผู้เล่น ภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและการเมืองจีนในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 ตั้งแต่ยุคสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การพ่ายแพ้ของกองทัพญี่ปุ่น การโค่นล้มพรรคก๊กมินตั๋งโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผ่านยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่งิ้วกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จนมาถึงยุคปัจจุบัน เป็นภาพยนตร์ภาษาจีนเพียงเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1993.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและหลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม

อภิธานศัพท์ในอีวานเกเลียน

้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง อีวานเกเลียน.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและอภิธานศัพท์ในอีวานเกเลียน

ถนนพัฒน์พงศ์

นักเต้นย่านพัฒน์พงศ์ พัฒน์พงศ์ เป็นย่านบันเทิงยามราตรีของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนพัฒน์พงศ์ซึ่งเชื่อมระหว่างถนนสีลมกับถนนสุรวงศ์ แขวงสีลม เขตบางรัก จัดเป็นย่านโคมแดงที่เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบไปด้วยคลับ บาร์ ที่มีการแสดงการเต้นอะโกโก้ และอาจมีการค้าประเวณี ตั้งอยู่บนถนนพัฒน์พงศ์ซอย 1 และพัฒน์พงศ์ซอย 2 และยังอยู่ใกล้เคียงกับถนนธนิยะ ที่เป็นย่านค้าบริการระดับสูง เน้นให้บริการเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ไม่ให้บริการลูกค้าชาวไทย และซอยจารุวรรณ หรือรู้จักกันในชื่อ "พัฒน์พงศ์ซอย 3" หรือ "สีลม ซอย 4" ที่เป็นย่านให้บริการเฉพาะลูกค้าเกย์ นอกจากชื่อในด้านธุรกิจบริการแล้ว พัฒน์พงศ์ยังเป็นย่านที่มีแผงลอยขายสินค้าในเวลากลางคืน มีชื่อเสียงเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แผ่นซีดี ดีวีดี และสินค้าเลียนแ.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและถนนพัฒน์พงศ์

ทอง (ภาพยนตร์)

ทอง เป็นภาพยนตร์ไทยแนวแอ็คชั่น มีชื่อภาษาอังกฤษว่า S.T.A.B.(Gold) กำกับการแสดงโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร เข้าฉายครั้งแรกในปี..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและทอง (ภาพยนตร์)

ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมะห์มุด บาดารูดินที่ 2

ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมะห์มุด บาดารูดินที่ 2 (Bandar Udara Internasional Sultan Mahmud Badarudin II) เป็นสนามบินนานาชาติในเมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้ ประเทศอินโดนีเซีย ชื่อสนามบินมาจาก สุลต่านมะห์มุด บาดารูดินที่ 2 ซึ่งเป็นสุลต่านแห่งปาเล็มบัง ในช่วงปี..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมะห์มุด บาดารูดินที่ 2

ซูสีไทเฮา ภาค 1

ซูสีไทเฮา ภาค 1 (อังกฤษ: The Empress Dowager) เป็นภาพยนตร์ที่กล่าวถึงพระราชประวัติของพระนางซูสีไทเฮา ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 1975 กำกับโดย หลี่ ฮั่นเซียง นำแสดงโดย ตี้ หลุง, หลิง ปอ, ลิซ่า ลู่ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีภาคต่อคือ ซูสีไทเฮา ภาค 2.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและซูสีไทเฮา ภาค 1

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น

ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ตราจารย์ พันตรี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 43 ปี 3 เดือน และได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10 และเป็นผู้แต่งหนังสือ "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ป๋วย เกิดและเติบโตจากคนจีน ด้วยฐานะที่ไม่ร่ำรวย เขาจึงดิ้นรนต่อสู้อุปสรรคในชีวิตต่างๆ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเข้าร่วมพันธมิตรกับญี่ปุ่น ป๋วยก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ และได้พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย มีครั้นหนึ่งที่ป๋วยเสี่ยงชีวิตในการลอบกระโดดร่มเข้าไทย ณ บ้านวังน้ำขาว จังหวัดชัยนาท จนได้ชื่อว่าเป็น “วีรบุรุษวังน้ำขาว” เมื่อสงครามยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เขาก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ รวมถึงยังได้รับตำแหน่งทั้งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ป๋วยได้แสดงความกล้าหาญ หลายครั้งโดยเฉพาะการส่งจดหมายในนาม "นายเข้ม เย็นยิ่ง" ถึงจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับสังคม จุดประกายให้กับขบวนการ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยความที่เขาได้รับการชื่นชมมากมายจากสังคม ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ป๋วยก็ถูกทั้งฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ออกมาโจมตีกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จนในที่สุดก็ต้องออกเดินทางลี้ภัยไปต่างประเทศ และเสียชีวิตลงในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและป๋วย อึ๊งภากรณ์

โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ

รงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ (Mandarin Oriental, Bangkok) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก โดยในอดีตมีชื่อว่า "โรงแรมโอเรียนเต็ล" โดยปัจจุบันบริหารงานโดย บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) (เดิมมีชื่อว่า บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) เป็นโรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และเคยเป็นหนึ่งในโรงแรมที่ถือว่าดีที่สุดของโลก.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ

โฮวา ไทป์-89

วา ไทป์-89 (89式アサルトライフル; Howa Type 89 Assault Rifle) เป็นชื่อเรียกที่อ้างอิงถึง "ไรเฟิล ไทป์89 5.56 มม." (89式5.56mm小銃) เป็นปืนเล็กยาวจู่โจมญี่ปุ่น ที่ได้รับการนำมาใช้โดยกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหน่วยทีมรักษาความปลอดภัยพิเศษของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น และทีมจู่โจมพิเศษ ไม่เคยมีการส่งอาวุธนี้ออกนอกประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากนโยบายต่อต้านการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เข้มงวด ปืนนี้เป็นที่รู้จักในปฏิบัติการ.จี.เอ.ดี.เอฟ ในฐานะคู่หู ปืนนี้ได้เข้ามาแทนที่ปืนไรเฟิลที่ใช้กระสุนขนาดใหญ่อย่างโฮวา ไทป์-64 ในหน่วยรบแถวหน้.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและโฮวา ไทป์-89

ไทป์ 61

ทป์ 61 ไทป์ 61 (61式戦車, Roku-ichi Shiki sensha) เป็นรถถังชนิด main battle tank (MBT) ผลิดและใช้งานโดย กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (JGSDF), รถถังออกแบบโดย Mitsubishi Heavy Industries เรืองราวทั้งหมดมันเริ่มจาก ความต้องการ รถถัง ของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้รับความเสียหายอย่างหนัก และโรงงานเป็นจำนวนมาก ถูกพิษสงครามทำลายจนไม่อาจฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ และประกอบกับญี่ปุ่นโดนฝ่ายสัมพันธมิตรบังคับให้ยุบกองกำลังทางทหารทั้งหมด จึงทำให้ตำรวจมีกองกำลังเพียงอย่างเดียวคือกอง กำลังตำรวจ เท่านั้นที่ติดอาวุธเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึงต่อมาก็ได้มีการจัดตั้ง National Police Reserve หรือ กองกำลังตำรวจติดอาวุธแห่งชาติ ซึ่งต่อมากองกำลังนี้จะพัฒนาเป็นกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินต่อไป เมื่อสหภาพโซเวียตได้ยึดเอาเกาะที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของญี่ปุ่น ทางตอนเหนือของฮอกไกโด และเกาะซาฮาริ (แซกคาริน) ไปและตั้งกองกำลังขึ้นบนเกาะ ทางการญี่ปุ่นจึงต้องจัดหารถถังเพื่อป้องกันตัวเองจากรถถัง T-44 (ผลิตในปี 1944) ของสหภาพโซเวียตในสมัยนั้น ในปี 1950 ทางกองกำลังป้องกันตนเอง และบริษัทมิซูบิชิ ได้เริ่มมีโครงการที่จะพัฒนารถถังของตนเพื่อทดแทน M4A3E8 สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ให้ไว้จำนวนหนึ่ง และเนื่องด้วยว่าตอนนั้น ทางโรงงานของ มิซูบิชิ กำลังอยู่ในช่วงเวลาของการฟื้นตัว การผลิตเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก ทางการญี่ปุ่นจึงมีทางเลือก 3 ทางคือ สร้างรถถังใช้เอง ไม่ก็ต้องนำเข้ารถถัง M-47 Patton (ผลิตในปี 1954) จากสหรัฐอเมริกาหรือ จะอัพเกรด M4 ที่มีอยู่ โดยเมื่อคิดคำนึงถึงการขนส่งและอื่นๆแล้ว ญี่ปุ่นกลับพบว่าหากซื้อรถถัง M-47 จากสหรัฐจะมีปัญหายุ่งยากกว่า เพราะรางรถไฟของญี่ปุ่นนั้นใช้ความกว้างรางแบบ เคป เกจ (Cape gauge) ขนาดความกว้างราง 1.067 เมตร (3 ฟุต 6 นิ้ว) ทำให้ไม่สามารถบรรทุกสิ่งของที่กว้างกว่า 3 เมตรได้ ในขณะที่รถถถัง M-47 Patton มีขนาดความกว้างถึง 3.52 เมตร ย่อมจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการขนส่งทางรถไฟไปยังภูมิภาคต่างๆ ประกอบกับทางรถไฟของญีปุ่นยังไม่ทันสมัยในยุคนั้น ซึ่งรองรับน้ำหนักของสิ่งที่บรรทุกได้ไม่เกิน 35 ตัน การสั้งซื้ออรถถังขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเมื่อต้องข้ามสะพานหรือ ลอดอุโมงค์ได้ การสั้งซื้อรถถัง M-47 Patton จึงต้องตัดออกไป และแล้วในที่สุดทางการญี่ปุ่นก็ได้กำหนดคุณลักษณะของรถถังใหม่ของพวก.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและไทป์ 61

เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นอินดีเพนเดนซ์

ูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์ (CVL-22) เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นอินดีเพนเดนซ์ (Independence class aircraft carrier) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเบาของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตามคำสั่งของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นอินดีเพนเดนซ์

เอกซ์เจแปน

อกซ์เจแปน (X Japan) เป็นวงดนตรีเฮฟวีเมทัลชาวญี่ปุ่น จากจังหวัดชิบะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและเอกซ์เจแปน

เอเอช-1 คอบรา

อเอช-1 คอบรา (AH-1 Cobra) เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองใบพัด หนึ่งเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทเบลล์ มันใช้เครื่องยนต์และระบบใบพัดแบบเดียวกันกับยูเอช-1 ไอโรควอยส์ ในบางครั้งเอเอช-1 จะหมายถึงฮิวอี้คอบราหรือสเนค เอเอช-1 เป็นกองกำลังหลักในกองบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกสหรัฐแต่ก็ถูกแทนที่โดยเอเอช-64 อาพาชี่ รุ่นที่พัฒนายังคงทำการบินต่อไปในหลายๆ ประเทศที่ใช้มัน เอเอช-1 แบบสองเครื่องยนต์ยังคงประจำการในกองนาวิกโยธินสหรัฐในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมหลัก.

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและเอเอช-1 คอบรา

เจมส์ คลาเวลล์

มส์ คลาเวลล์ (10 ตุลาคม ค.ศ. 1924 - 7 กันยายน ค.ศ. 1994) เป็นนักเขียน นักเขียนบทภาพยนตร์ และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ เคยเป็นทหารผ่านศึกในสงครามโลกครั้งที่สอง สังกัดกองทัพเรืออังกฤษ และยังตกเป็นเชลยศึกต่อกองทัพญี่ปุ่นในระหว่างสงคราม ผลงานที่มีชื่อเสียงของเจมส์ คลาเวลล์ คือนวนิยายชุด เอเชียนซากา จำนวน 6 เรื่อง ที่เขียนระหว่างปี..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและเจมส์ คลาเวลล์

เทศกาลหิมะซัปโปโระ

งานในสวนสาธารณะโอโดริ เทศกาลหิมะซัปโปโระ เป็นเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียงของนครซัปโปโระ ซึ่งจัดขึ้นประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี บนพื้นที่จัดงาน 3 ส่วนคือ สวนสาธารณะโอโดริ, ย่านการค้าซูซูกิโน และซัปโปโระคอมมูนิตีโดม (สึโดมุ) ในงานมีการนำเสนอประติมากรรมที่สร้างจากหิมะและน้ำแข็งเป็นจำนวนนับร้อยชิ้น เทศกาลหิมะซัปโปโระเป็นเทศกาลหิมะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และมีผู้เข้าชมงานจากทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนทุกปี มีคนไทยจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประกวดการปั้นหิมะเกือบทุกปี หลายพวกเขาได้รับรางวัลชนะเลิศ (Grand Champion).

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและเทศกาลหิมะซัปโปโระ

เดอะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว

อะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว (The Bridge on the River Kwai) หรือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว มีชื่อไทยว่า สะพานเดือดเลือดเชลยศึก เป็นภาพยนตร์อังกฤษ ออกฉาย ปี..

ดู กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและเดอะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว

หรือที่รู้จักกันในชื่อ กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นกองทัพญี่ปุ่น