โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กษัตรีองค์มี

ดัชนี กษัตรีองค์มี

กษัตรีองค์มี หรือ พระองค์เจ้าหญิงมี หรือ นักองค์เม็ญศานติ ภักดีคำ ผ. ดร.

7 ความสัมพันธ์: ราชวงศ์เหงียนรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชาสมเด็จพระราชินีนาถสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีจักรพรรดิมิญ หมั่งข้าบดินทร์

ราชวงศ์เหงียน

ราชวงศ์เหงียน (Nhà Nguyễn, หญ่า-งฺเหวียน; จื๋อโนม: 阮朝, Nguyễn triều, งฺเหวียนเจี่ยว) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนามที่ปกครองเวียดนามมา 143 ปี เริ่มจากในปี ค.ศ. 1802 เมื่อจักรพรรดิซา ล็อง ทรงปราบดาภิเษกหลังจากปราบปรามกบฏไตเซินแล้ว และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทรงสละราชสมบัติ และมอบอำนาจให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิซา ล็อง เวียดนามมีชื่อว่า เวียดนาม (越南) อยู่อย่างปัจจุบัน แต่ในรัชสมัยของจักรพรรดิมิญ หมั่ง พระองค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ดั่ยนาม (大南, แปลว่า "ชาติยิ่งใหญ่ทางตอนใต้") การปกครองของราชวงศ์เหงียนถูกจำกัดโดยอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส ประเทศได้ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โคชินไชนาเป็นรัฐอาณานิคมโดยตรงขณะที่อันนามและตังเกี๋ยกลายเป็นรัฐอารักขาซึ่งมีอิสระเพียงในนาม.

ใหม่!!: กษัตรีองค์มีและราชวงศ์เหงียน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา

250px หน้านี้เป็นรายพระนามพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: กษัตรีองค์มีและรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถ

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา สมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Regnant) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ.

ใหม่!!: กษัตรีองค์มีและสมเด็จพระราชินีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี

มเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี หรือ นักองด้วง หรือ พระองค์ด้วง (ព្រះបាទ អង្គ ឌួង; พระบาทองค์ด้วง) เสด็จพระราชสมภพเมี่อ พ.ศ. 2339 และสวรรคตเมี่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาสมัยใหม่เป็นพระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชของกัมพูชา ซึ่งท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างราชอาณาจักรสยาม และญวน.

ใหม่!!: กษัตรีองค์มีและสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี

มเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพร.

ใหม่!!: กษัตรีองค์มีและสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมิญ หมั่ง

มิญ หมั่ง (Minh Mạng, 明命; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 — 20 มกราคม ค.ศ. 1841) หรือในพงศาวดารไทยเรียก มินมาง มีพระนามเดิมว่า เหงียน ฟุก ด๋าม (Nguyễn Phúc Đảm, 阮福膽) เป็นจักรพรรดิแห่งเวียดนามจากราชวงศ์เหงียน ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นผู้นำของเวียดนามในช่วงสงครามอานามสยามยุทธ จักรพรรดิซา ล็อง พระบิดาของจักรพรรดิมิญ หมั่ง ได้กอบกู้เวียดนามจากกบฏเต็ยเซิน จักรพรรดิมิญ หมั่งทรงรับช่วงต่อบ้านเมืองจากพระบิดาและทรงจัดระเบียบการปกครองของราชสำนักเวียดนามให้เรียบร้อย จักรพรรดิมิญ หมั่งทรงเคร่งครัดในลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo–Confucianism) เป็นอย่างมาก เป็นกษัตริย์ที่ใส่พระทัยในการปกครองและความเป็นอยู่ของราษฎร แต่ทว่าความเคร่งครัดในลัทธิขงจื๊อของพระองค์ทำให้ราชสำนักเวียดนามเกิดความขัดแย้งกับมิชชันนารีชาวตะวันตก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะฝรั่งเศสเสื่อมถอยลงอย่างมากในรัชสมัยของพระองค์ จนนำไปสู่การสูญเสียเอกราชแก่ฝรั่งเศสในที.

ใหม่!!: กษัตรีองค์มีและจักรพรรดิมิญ หมั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าบดินทร์

้าบดินทร์ เป็นนวนิยายไทยที่ประพันธ์โดย วรรณวรรธน์ มีเนื้อเรื่องอิงประวัติศาสตร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกว่า "วิลาศ" เข้ามามีบทบาททางการค้ากับประเทศไทยเป็นอย่างมาก แกนหลักของเรื่องถูกถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ เหม บุตรชายแห่งพระยาบริรักษ์กับคุณหญิงชม เด็กหนุ่มที่งดงามทั้งรูปร่างหน้าตา กิริยา วาจาจนได้ชื่อว่า "พ่อเหมรูปทอง" เหมสนใจใฝ่รู้ในภาษาวิลาศและได้แอบไปเรียนกับครูแหม่มบ่อย ๆ เมื่อผู้เป็นพ่อทราบเข้าก็ไม่พอใจเนื่องด้วยไม่ไว้ใจในพวกวิลาศ เหมจึงถูกส่งไปเรียนกับพระครูโพที่วัด ซึ่งที่นั่นทำให้เหมได้เรียนรู้วิชาดาบอาทมาฏติดตัวมาอีกหนึ่งแขนง หลวงสรอรรถ เข้ามาเจรจากับพระยาบริรักษ์ เพื่อขอลดค่าระวางปากเรือให้กับเรือกับปิตันฝรั่ง แต่พระยาบริรักษ์ไม่ยอม อีกทั้งเหมกับบัว หญิงสาวที่หลวงสรอรรถชอบใจ ได้ต้องใจกันตามประสาหนุ่มสาว ทำให้หลวงสรอรรถร่วมมือกับพระยาปลัดสมุทรปราการ ผู้ที่ถูกหลวงสรอรรถกุมความลับว่ามีรสนิยมทางเพศวิปริต ชอบสังวาสกับเด็กหญิงแล้วฆ่าทิ้ง ร่วมมือกันวางแผนใส่ร้ายพระยาบริรักษ์ว่าฆ่า มิสเตอร์เจเมสัน ทำให้ชะตาชีวิตของเหมต้องพลิกผัน พระยาบริรักษ์ตัดสินใจยอมรับตวามผิดทั้งที่ไม่ได้ก่อ เพื่อปกป้องบ้านเมืองไม่ให้เกิดศึกสงคราม ทำให้ทั้งสามต้องโทษโดนริบราชบาตร และปลดยศถาบรรดาศักดิ์ไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้างในพระนคร ความตกต่ำของเหมทำให้บัวตัดความสัมพันธ์กับเหมอย่างไม่ใยดี ขณะที่ครอบครัวของบัวไม่กล้ายื่นมือเข้าช่วยเหลือ มีเพียงลำดวน ลูกสาวคนเล็กของขุนนาฏยโกศลซึ่งเป็นน้องสาวของบัว ที่รักและสนิทสนมกับเหมตั้งแต่เด็กจนเป็นสาวรุ่นเท่านั้น ที่ยังให้ความเห็นอกเห็นใจเหม อีกทั้งในวันที่เหมและคุณหญิงชม ผู้เป็นแม่ ถูกแห่ประจานจนกระหายน้ำ ลำดวนก็ได้ซื้อแตงกวาให้คุณหญิงชมทานเพื่อดับกระหาย ทำให้เหมทราบซึ้งในน้ำใจน้องน้อยเป็นอย่างมาก หลังจากที่กลายเป็นตะพุ่นช้าง เหมก็ได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งคชสารจากขุนศรีไชยทิตยจนได้เป็นหมอควาญช้าง หรือ "เสดียง" ซึ่งโชคชะตาก็ทำให้เขาได้กลับมาพบกับ "ลำดวน" ซึ่งบัดนี้โตเป็นสาวเต็มตัวและได้นางเอกละครรำแห่งอัมพวาอีกครั้ง ด้วยความประทับใจในความดีงามของลำดวน ได้หล่อหลอมความกับความผูกพันจึงบังเกิดเป็นความรัก แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งจากหมื่นวิชิตหนุ่มเจ้าเล่ห์ผู้หมายปองในตัวลำดวน และด้วยฐานะที่แตกต่างของทั้งคู่ เหมจึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อไต่เต้าจากตะพุ่นช้างเป็นนายทหารผู้กล้าจนได้เป็นถึง "หลวงสุรบดินทร์" เพื่อพิสูจน์ว่าตนคู่ควรกับหญิงอันเป็นที่รัก ทั้งยังใช้ความรู้ความสามารถ รับราชการสนองพระเดชพระคุณแผ่นดินตามคำสอนสุดท้ายของผู้เป็นพ่อ ที่ว่า "ถึงเจ้าจะเกิดเป็นเศษเสี้ยวธุลีของแผ่นดิน เจ้าจงรู้ว่า แผ่นดินให้อะไรกับเจ้า และตัวเจ้าเองมีความหมายต่อแผ่นดินเพียงใด จงทำตัวเป็นเศษธุลีที่มีค่าของแผ่นดิน เป็นข้าแห่งบดินทร์ อันร้อยรวมศรัทธา ความกล้าหาญ ความรัก ความภักดี ไว้ในดวงใจเดียวกัน" ข้าบดินทร์ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์โดยค่ายทีวีซีน ของ ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์ ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย กิจจา ลาโพธิ์ ออกแบบการต่อสู้โดย ธนาวุฒิ เกสโร ลำดับภาพ วิโรจน์ ภุมวิภาชน์ ลงเสียงประกอบ ปั้น-ปั้น กำกับการแสดงโดย อรรถพร ธีมากร ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เจมส์ มาร์ ภีรนีย์ คงไทย และ มณีรัตน์ ศรีจรูญ ออกอากาศวันแรก 30 พฤษภาคม 2558.

ใหม่!!: กษัตรีองค์มีและข้าบดินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมเด็จพระมหาราชินีองค์มีสมเด็จพระราชินีนาถองค์มี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »