เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กวางผาจีน

ดัชนี กวางผาจีน

กวางผาจีน หรือ กวางผาจีนถิ่นใต้ (Chinese goral, South China goral) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Naemorhaedus griseus อยู่ในวงศ์ Bovidae.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: กวางผารายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยวงศ์ย่อยแกะและแพะวงศ์วัวและควายสัตว์ป่าสงวนดอยเชียงดาว

กวางผา

กวางผา (Gorals) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่จำพวกแอนทีโลปสกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae ใช้ชื่อสกุลว่า Naemorhedus.

ดู กวางผาจีนและกวางผา

รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย

นี่คือ รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย มีทั้งสิ้น 264 ชนิด มี 3 ชนิดถูกคุกคามจนเข้าขั้นวิกฤติ มี 11 ชนิดถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ มี 24 ชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และ 2 ชนิดมีความเสี่ยงต่ำแต่ใกล้ถูกคุกคาม และสูญพันธุ์ไป 1 ชน.

ดู กวางผาจีนและรายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย

วงศ์ย่อยแกะและแพะ

วงศ์ย่อยแกะและแพะ เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caprinae ลักษณะที่สำคัญของวงศ์นี้ คือจะมีเขาในทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวผู้จะมีเขาที่ใหญ่และตันกว่า ใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ และป้องกันตัว ลักษณะของเขา เช่นความคมและความโค้งของเขา จะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ตัวผู้มักมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียราวร้อยละ 20-30 ตัวเมียจะมีเต้านม 2 หรือ 4 เต้า และจะมีขนที่หนานุ่มตลอดทั้งลำตัว ลักษณะกีบเท้าจะมีการพัฒนาให้มีลักษณะพิเศษ คือ มีแผ่นกีบที่มีความหนา และมีความชื้นมาก เพื่อสะดวกในการป่ายปีนที่สูง เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีนิเวศวิทยาอยู่รวมกันเป็นฝูงและอาศัยอยู่บนภูเขา, หน้าผา หรือที่ราบสูง สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุล 12 สกุล ดังนี้.

ดู กวางผาจีนและวงศ์ย่อยแกะและแพะ

วงศ์วัวและควาย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้.

ดู กวางผาจีนและวงศ์วัวและควาย

สัตว์ป่าสงวน

กวางผาจีน (''Nemorhaedus griseus'') 1 ใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.

ดู กวางผาจีนและสัตว์ป่าสงวน

ดอยเชียงดาว

ระอาทิตย์ตกบนยอดดอยเชียงดาว ดอยเชียงดาว หรือ ดอยหลวงเชียงดาว (Doi Chiang Dao, Doi Luang Chiang Dao) เป็นดอยหรือยอดเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองมาจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูง 2,275 เมตร (7,136 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ชื่อในสมัยก่อนเรียกว่า "ดอยอ่างสลุง" ชื่อกันตามตำนานพื้นเมืองว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในสลุงทองคำหรือบริเวณอ่างสลุง จึงเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยหลวง" เนื่องจากเป็นดอยที่มีขนาดสูงใหญ่ ("หลวง" ในภาษาเหนือ หมายถึง "ใหญ่") เพี้ยนเป็น "ดอยหลวงเพียงดาว" จนกลายมาเป็น "ดอยหลวงเชียงดาว" หรือ "ดอยเชียงดาว" ในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อุณหภูมิตามปกติจะถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝน อากาศหนาวเย็นตลอดฤดูหนาวและฤดูฝนอากาศชุ่มชื้นมาก เป็นแหล่งที่มีพืชพรรณหลากหลายและมีหลายชนิดที่เป็นพืชถิ่นเดียวไม่พบในส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย มีทั้งพืชเขตร้อน, กึ่งเขตร้อนและพืชเขตอบอุ่น จึงเป็นสถานที่ ๆ พบความหลากหลายทางชีวภาพมาก เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน มีอายุระหว่าง 230–250 ล้านปี เป็นหมู่หินราชบุรีของไทย ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนทะเล และซากสัตว์ที่มีหินปูน สันนิษฐานว่า พื้นที่ในบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นท้องทะเลมาก่อนที่การตกตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการังและหอย เป็นแหล่งนิยมสำหรับการดูนก มีนกอาศัยอยู่ที่นี่มากกว่า 300 ชนิด รวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นที่หายาก เช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว, ไก่ฟ้าหางลายขวาง, กวางผา รวมถึงเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน เป็นต้น.

ดู กวางผาจีนและดอยเชียงดาว

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Naemorhaedus griseusSouth China goralกวางผาจีนถิ่นใต้กวางผาจีนใต้