โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย

ดัชนี กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย เป็นกลุ่มย่อยของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดทั้งหมดราว 351 ล้านคน แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก และมีจำนวนเล็กน้อยในผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย ภาษามาลากาซีเป็นภาษาในกลุ่มนี้ที่อยู่ห่างไกลที่สุดใช้พูดบนเกาะมาดากัสการ์ในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะเฉพาะของกลุ่มภาษานี้คือมีแนวโน้มใช้การซ้ำคำทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อแสดงรูปพหูพจน์ การออกเสียงเป็นแบบง่ายๆ ไม่ค่อยพบกลุ่มของพยัญชนะ เช่น str หรือ mpt ในภาษาอังกฤษ มีเสียงสระใช้น้อย ส่วนมากมีห้าเสียง.

100 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาบาตานิกกลุ่มภาษาตองงิกกลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีกลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซาภาษาชวาภาษาบันยูมาซันภาษาบันติกภาษาบาหลีภาษาบาซับภาษาบาเฮาภาษาบูกัตภาษาบูกิสภาษาบูฮิดภาษาบูตัวนอนภาษาฟิลิปีโนภาษาฟีจีภาษากัมเบอราภาษากามาโยภาษากาปัมปางันภาษากาโยภาษากาเงียนภาษากินาไรอาภาษามลายูภาษามลายูบรูไนภาษามลายูบางกอกภาษามลายูจัมบีภาษามลายูปัตตานีภาษามลายูเกอดะฮ์ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลันภาษามลาเนากลางภาษามอแกลนภาษามอแกนภาษามักอันซีภาษามักอินดีภาษามากัสซาร์ภาษามาราเนาภาษามารีเบเลสภาษามาลากาซีภาษามาดูราภาษามาเลเซียภาษามีนังกาเบาภาษายากุนภาษาระแดภาษาราตักนอนภาษาอักลันภาษาอัมบาลาภาษาอัมปานังภาษาอาซีภาษาอานุสภาษาอาเบลเลน...ภาษาอาเจะฮ์ภาษาอินโดนีเซียภาษาอูรักลาโว้ยภาษาอีบันภาษาอีบานักภาษาอีบาไฮภาษาอีวาตันภาษาอีโลกาโนภาษาฮารอยภาษาฮานูโนโอภาษาฮีรีโมตูภาษาจรูภาษาจามภาษาจามตะวันออกภาษาจามตะวันตกภาษาจารายภาษาทซัตภาษาดัวโนภาษาคาลูยาภาษาคาปิซภาษางายูภาษาตองงาภาษาตากาล็อกภาษาตูกังเบซีภาษาตูตงภาษาซาซะก์ภาษาซุนดาภาษาปนันตะวันออกภาษานาอูรูภาษาโบลีเนาภาษาโบโตลันภาษาโรกลายใต้ภาษาโรกลายเหนือภาษาโอรังเซอเลตาร์ภาษาโอซิงภาษาโฮโวงันภาษาโตโจเดเดภาษาโปโรฮาโนนภาษาเบอไลต์ภาษาเกมักภาษาเม็นตาไวภาษาเวตาร์ภาษาเอมบาโละห์ภาษาเตมวนภาษาเตาภาษาเตาซุกภาษาเตตุมภาษาเซบัวโนรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ขยายดัชนี (50 มากกว่า) »

กลุ่มภาษาบาตานิก

กลุ่มภาษาบาตานิก เป็นกลุ่มของภาษาในกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มี 3 กลุ่มคือ ภาษาอีวาตัน ภาษาบาบูยัน และภาษาอิตบายัต ใช้พูดในบาตานและหมู่เกาะบาตาเนส ซึ่งเป็นหมู่เกาะทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างไต้หวันกับเกาะลูซอน อีกกลุ่มหนึ่งคือภาษายามิ ใช้พูดบนเกาะกล้วยไม้ใกล้กับไต้หวัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและกลุ่มภาษาบาตานิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาตองงิก

กลุ่มภาษาตองงิก (Tongic languages) เป็นกลุ่มภาษาย่อยในกลุ่มภาษามาลาโย-พอลินีเชียน ประกอบไปด้วย 2 ภาษา คือภาษานีวเวและภาษาตองงา และอาจจะมีภาษานีอูอาโฟโออูเป็นภาษาที่สามในกลุ่มนี้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและกลุ่มภาษาตองงิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี

กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี (Sunda-Sulawesi languages) เป็นสาขาของกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ได้แก่ภาษาที่ใช้พูดในเกาะซูลาเวซี และเกาะซุนดาใหญ่ เช่นเดียวกับในชามอโรและปาเลา โดยทั่วไป กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกแบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มตอนใน (ซุนดา-ซูลาเวซี) และกลุ่มตอนนอก (บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์) ซึ่งการแบ่งนี้ใช้หลักทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและกลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา

กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา (Formosan language) เป็นภาษาของชาวพื้นเมืองในไต้หวันซึ่งมีจำนวน 2% ของประชากรบนเกาะไต้หวัน แต่มีจำนวนน้อยกว่านั้นที่ยังพูดภาษาดั้งเดิมของตน จากภาษาพื้นเมืองทั้งหมด 26 ภาษา เป็นภาษาตายแล้ว 10 ภาษา ที่เหลืออีก 4-5 ภาษาเป็นภาษาที่ใกล้ตายZeitoun, Elizabeth & Ching-Hua Yu.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและกลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาชวา

ษาชวา คือภาษาพูด ของผู้ที่อาศัยอยู่บนตอนกลางและตะวันออกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย เป็นภาษาแม่ของมากกว่า 75,500,000 คน ภาษาชวาอยู่ในภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน จึงสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายู ผู้พูดภาษาชวา พูดภาษาอินโดนีเซียด้วย สำหรับวัตถุประสงค์ทางการและธุรกิจ และเพื่อสื่อสารกับชาวอินโดนีเซียอื่น ๆ มีชุมชนผู้พูดภาษาชวาขนาดใหญ่ในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐเซอลาโงร์และยะโฮร์ (คีร์ โตโย รัฐมนตรีของเซอลาโงร์ เป็นชนพื้นเมืองของชวา) อย่างไรก็ดี ภาษาชวาไม่สามารถเข้าใจกันกับภาษามลายูได้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาชวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบันยูมาซัน

ษาบันยูมาซัน จัดเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาชวา ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในเขตบันยูมาซันในชวากลาง และบริเวณรอบๆเทือกเขาซลาเมตและแม่น้ำเซอรายู บริเวณใกล้เคียงในชวาตะวันตกและทางเหนือของจังหวัดบันเติน อยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก ลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกับภาษามลายู ภาษาซุนดา ภาษามาดูรา ภาษาบาหลี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบันยูมาซัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบันติก

ษาบันติก เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใช้พูดในทางเหนือของเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย เป็นภาษาของชาวบันติก ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ภาษามลายูสำเนียงมานาโดแทน ทำให้ภาษาบันติกเหลือผู้พูดน้อย เป็นภาษาที่ใช้พูดในหมู่ผู้ชายโดยที่ผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปีมีน้อยมาที่รู้ภาษานี้ เป็นภาษารูปคำติดต่อ เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม และกริยา-กรรม-ประธาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบันติก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาหลี

ษาบาหลี เป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ใช้พูดในเกาะชวา เกาะบาหลีและเกาะลอมบอก มีผู้พูด 3.8 ล้านคน คิดเป็น 2.1 % ของประชากรอินโดนีเซียทั้งประเทศ โดยที่ชาวบาหลีส่วนใหญ่จะพูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง เขียนด้วยอักษรบาหลีและอักษรละติน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใกล้เคียงกับภาษาซาซักและภาษากัมเบอราในเกาะซุมบาวา มีการแบ่งระดับชั้นภายในภาษ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาซับ

ษาบาซับ (Basap language) มีผู้พูด 15,000 คน (พ.ศ. 2550) ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีเนเซีย สาขาบอร์เนียวเหนือ สาขาย่อย เรยัง-ซาเยา ภาษานี้ใช้ในครัวเรือน ชุมชน และทางศาสนา ผู้พูดนับถือศาสนาพื้นเมืองและศาสนาคริสต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบาซับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาเฮา

ษาบาเฮา (Bahau language) มีผู้พูด 19,000 คน ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบาเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบูกัต

ษาบูกัต (Bukat language) มีผู้พูด 400 คน ในจังหวัดกาลิมันตันตะวันตก ทางตะวันออกเฉียงเหนือใกล้กับชายแดนรัฐซาราวะก์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีเนเซีย สาขาบอร์เนียวเหนือ สาขาย่อย ซาราวะก์เหนือ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบูกัต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบูกิส

ษาบูกิส เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรราว 4 ล้านคน ในภาคใต้ของเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย คำว่า บูกิส มาจากภาษามลายู ส่วนชาวบูกิสเรียกภาษาของตนว่า บาซา อูกิ แปลว่ากษัตริย์องค์แรก ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ในอาณาจักรบุกิสโบราณ แต่เรื่องราวไม่ชัดเจนเพราะไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานลายลักษณ์อักษรครั้งแรกที่พบคือ อี ลา กาลิโก ซึ่งเป็นภาพวงกลม เล่าถึงกำเนิดชีวิต พบในซูลาเวซีใต้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบูกิส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบูฮิด

ภาษาบูฮิด เป็นภาษาที่พูดโดยชาวมังยัน ในจังหวัดมินโดโร ฟิลิปปินส์ แบ่งเป็นสำเนียงตะวันออกและตะวันตก มีตัวอักษรเป็นของตนเองคืออักษรบูฮิด บูฮิด.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบูฮิด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบูตัวนอน

ภาษาบูตัวนอน (Butuanon language) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ใช้พูดในอากูซัน เดล นอร์เต และ อากูซัน เดลซูร มีผู้พูดเป็นภาษาแม่บางส่วนในมิซามิสตะวันออกและซูริเกา เดล นอร์เต อยู่ในภาษากลุ่มวิซายัน บูตัวนอน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาบูตัวนอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาฟิลิปีโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟีจี

ษาฟีจี อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมลาโย-โพลินีเซียน พูดในประเทศฟีจี ประมาณ 320,000 คน และมีผู้ใช้ภาษาฟีจีในประเทศนิวซีแลนด์อีกเกือบพันคน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาฟีจี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากัมเบอรา

ษากัมเบอราหรือภาษาซุมบา ภาษาซุมบาตะวันออก ภาษาฮุมบา ภาษาฮีลู ฮุมบา เป็นภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ใช้พูดในหมู่เกาะซุนดาน้อย ประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษากัมเบอรา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากามาโย

ภาษากามาโย เป็นภาษาที่มีผู้พูดไม่มากนักใน เมืองบิสลิก ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน กลุ่มย่อยวิซายัน กามาโย.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษากามาโย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาปัมปางัน

ษากาปัมปางัน เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้พูดในประเทศฟิลิปปิน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษากาปัมปางัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาโย

ภาษากาโย เป็นภาษาที่มีผู้พูดราว 180,000 คน (พ.ศ. 2532) ในเขตภูเขาของสุมาตราเหนือ รอบๆ ตาเกโงน เก็นเต็ง และ โลโกน ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก ตระกูลออสโตรนีเซียน แต่ไม่ใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มเท่าใดนัก กาโย.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษากาโย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาเงียน

ษากาเงียน (Kangean language) มีผู้พูดทั้งหมด 110,000 คน (พ.ศ. 2543) ในมาดูราตะวันออก เข้าใจกันได้บางส่วนกับภาษามาดูราตะวันออก มีรากศัพท์ร่วมกัน 75% จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีนีเซีย สาขามลาโย-ซุมบาวัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษากาเงียน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากินาไรอา

ษากีนาไรอา อยู่ในตระกูลวิซายัน มีผู้พูดในจังหวัดอันตีเกและอีโลอีโล ประเทศฟิลิปปินส์ จากอิทธิพลของสื่อและพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน ผู้พูดภาษากีนาไรอาจะเข้าใจภาษาฮีลีไกโนนได้ แต่ภาษากีนาไรอาไม่ใช่สำเนียงของภาษาฮีลีไกโนน เป็นเพียงภาษาที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษากินาไรอา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูบรูไน

ษามลายูบรูไน (Bahasa Melayu Brunei) เป็นภาษาประจำชาติของประเทศบรูไนและเป็นภาษากลางในพื้นที่บางส่วนของมาเลเซียตะวันออก ภาษานี้ไม่ใช่ภาษาราชการของบรูไน (ซึ่งใช้ภาษามลายูมาตรฐานเป็นภาษาราชการ) แต่มีบทบาทสำคัญในสังคมและกำลังแทนที่ภาษาของชนกลุ่มน้อยภาษาอื่น ๆ ภาษามลายูบรูไนมีผู้พูดประมาณ 266,000 คนhttp://www.ethnologue.com/show_language.asp?code.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามลายูบรูไน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูบางกอก

ษามลายูบางกอก หรือ ภาษามลายูกรุงเทพ (อักษรยาวี: بڠكوق ملايو; บาซอนายูบาเกาะ) เป็นภาษามลายูถิ่นที่ใช้พูดกันในชุมชนชาวไทยเชื้อสายมลายูที่พำนักบริเวณชานเมืองของกรุงเทพมหานคร บ้างก็เป็นชนที่อาศัยมาแต่เดิม บ้างก็เป็นกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนขึ้นภาคกลางของไทยช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษามลายูบางกอกไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรเชื้อสายมลายูในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานี และนนทบุรี และมีจำนวนมากที่หันมาใช้ภาษาไทยมาตรฐาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามลายูบางกอก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูจัมบี

ษามลายูจัมบี (Bahasa Melayu Jambi) เป็นรูปแปรหนึ่งของภาษามลายูที่พูดกันในจังหวัดจัมบี ประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามลายูจัมบี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูปัตตานี

ษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมเป็นภาษาเดียวกันว่า "ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี".

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามลายูปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูเกอดะฮ์

ษามลายูเกอดะฮ์, ภาษามลายูไทรบุรี หรือ ภาษามลายูสตูล (Bahasa Melayu Kedah) เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษามลายู ใช้พูดในทางภาคตะวันตกของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) รัฐปีนัง รัฐปะลิส และทางตอนเหนือของรัฐเประก์ ในประเทศไทยมีผู้พูดในจังหวัดสตูล บางส่วนของจังหวัดตรังและระนอง ข้ามไปยังเขตเขตเกาะสองของประเทศพม่า และยังพบว่ามีการพูดบางพื้นที่ทางตอนบนของเกาะสุมาตรา ของประเทศอินโดนีเซียด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามลายูเกอดะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน

ษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน (Bahasa Melayu Negeri Sembilan) หรือ ภาษามลายูมีนังกาเบา มีผู้พูดประมาณ 507,500 คน (พ.ศ. 2547) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โปลินีเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวา สาขาย่อยมลายูอิก ใกล้เคียงกับภาษามีนังกาเบาในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ผู้พูดภาษานี้เป็นชาวมีนังกาเบาที่อพยพเข้ามาอยู่ในมาเลเซี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลาเนากลาง

ษามลาเนากลาง (Central Melanau) หรือภาษามิลาเนา ภาษามิลาโน มีผู้พูดทั้งหมด 113,280 คน พบในรัฐซาราวะก์ ประเทศมาเลเซีย 113,000 คน ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเรอยังและแม่น้ำบาลินเกียน ในบรูไน 280 คน ในบริเวณเมืองกัวลาเบอไลต์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขาบอร์เนียวเหนือ สาขาย่อยมลาเนา-กายัง ผู้พูดภาษานี้จะพูดภาษามลายูได้ด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามลาเนากลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามอแกลน

ษามอแกลน (Moklen) เป็นภาษาในตระกูลออสโตรนีเชียน ซึ่งพูดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตถึงจังหวัดพังงา มีผู้พูดราว 1,500 (พ.ศ. 2527) – 4,000 คน (พ.ศ. 2543) ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มมอญ-เขมรและภาษาไทยมาก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามอแกลน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามอแกน

ษามอแกน (Moken) หรือภาษามอเก็น ภาษาเมาเก็น ภาษาบาซิง หรือ เซลุง, ซาลอง, ซะโลน และชาวเกาะ เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิกซึ่งพูดกันทางใต้ของประเทศพม่าลงมา ตั้งแต่เมืองมะริดลงมาทางใต้ พบมากในบริเวณเกาะของพม่าภาคใต้และคาบสมุทรเมกุย (ประมาณ 7,000 คน) ไปจนถึงจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ ของประเทศไทย ใกล้เคียงกับภาษามอเกลน และมีความสัมพันธ์กับภาษาอูรักลาโอ้ย เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม เป็นชาวประมง ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเรือ นับถือความเชื่อดั้งเดิมหรือเป็นมุสลิม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามอแกน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามักอันซี

ษามักอันซี (Mag-antsi) หรือภาษามักอันชี เป็นภาษากลุ่มซัมบัล มีผู้พูดราว 4,200 ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามักอันซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามักอินดี

ษามักอินดี (Mag-indi) หรือภาษาบาโลกา เป็นภาษากลุ่มซัมบัล มีผู้พูดราว 5,000 ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามักอินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามากัสซาร์

ภาษามากัสซาร์ หรือ ภาษามากาซาร์ เป็นทั้งชื่อของภาษาและระบบการเขียนในเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน ใกล้เคียงกับภาษาบูกิส ในอดีตเขียนด้วยอักษรลนตารา/มากาซาร์ ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาบูกิสและภาษามันดาร์ด้วย ปัจจุบันนิยมเขียนด้วยอักษรละตินมากกว่า หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอินโดนีเซีย.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามากัสซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาราเนา

ภาษามาราเนา เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใช้พูดในจังหวัดลาเนา เดล นอริเต และ ลาเนา เดล ซุร ในฟิลิปปินส์ มาราเนา.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามาราเนา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามารีเบเลส

ษามารีเบเลส (Mariveleño) หรือ ภาษาบาตาอัน (Bataan) เป็นภาษากลุ่มซัมบัล มีผู้พูดราว 500 คน ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามารีเบเลส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลากาซี

ษามาลากาซี (Malagasy หรือ Malgache ในภาษาฝรั่งเศส) เป็นภาษาราชการของประเทศมาดากัสการ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามาลากาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาดูรา

ษามาดูราเขียนด้วยอักษรชวา ภาษามาดูรา (Madura language) เป็นที่ใช้พูดบนเกาะมาดูรา ในประเทศอินโดนีเซีย และเกาะอื่นๆ เช่นเกาะกาเงียน เกาะซาปูดี และทางตะวันออกของชวาตะวันออก พบในสิงคโปร์ด้วย อยู่ในกลุ่มย่อยซุนดา ของภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก ตระกูลอสสโตรนีเซียน เคยเขียนด้วยอักษรชวา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน มีผู้พูด 13,600,000 คนในอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2543) ภาษานี้มีรากศัพท์เหมือนกับภาษากาเงียน 75% และเข้าใจกันได้ยาก ภาษานี้มีหลายสำเนียง สำเนียงซูเมเนบ จัดเป็นสำเนียงมาตรฐาน สำเนียงบังกาลนที่พูดในสุราบายา เป็นสำเนียงที่ใช้ทางการค้ามากที่สุด เป็นสำเนียงที่ใช้ในเมืองและได้รับอิทธิพลจากภาษาอินโดนีเซียมาก และผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาอินโดนีเซียด้วย แปลไบเบิลเป็นภาษานี้ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามาดูรา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาเลเซีย

ษามาเลเซีย (มาเลเซีย: Bahasa Malaysia; Malaysian language) หรือ ภาษามลายูมาตรฐาน (มาเลเซีย: Bahasa Melayu Baku; Standard Malay language) เป็นภาษาราชการของประเทศมาเลเซียและเป็นทำเนียบภาษาที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานจากภาษามลายูถิ่นมะละกา มีความใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซียกว่าร้อยละ 95 มีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่เป็นจำนวนกว่า 10 ล้านคน และมีผู้พูดเป็นภาษาที่สองประมาณ 18 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียจากกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากชาวมลายู ภาษามาเลเซียยังเป็นหนึ่งในวิชาบังคับในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของมาเลเซียอีกด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามีนังกาเบา

ภาษามีนังกาเบา (ชื่อในภาษาของตนเอง: Baso Minang (kabau); ภาษาอินโดนีเซีย: Bahasa Minangkabau) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใช้พูดโดยชาวมีนังกาเบาในสุมาตราตะวันตก ทางตะวันตกของเกาะเรียว และเมืองอื่น ๆ ในอินโดนีเซียเนื่องจากการอพยพ รวมทั้งในประเทศมาเลเซีย ภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษามลายูทั้งในด้านศัพท์และไวยากรณ์ นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้เป็นสำเนียงของภาษามลายู ในมาเลเซีย ภาษานี้ใช้พูดในรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวมีนังกาเบาที่อพยพมาจากสุมาตรา ภาษานี้เป็นภาษากลางในชายฝั่งตะวันตกของสุมาตราเหนือ และเคยใช้ในบางส่วนของอาเจะฮ์ ในชื่อ Aneuk Jamee มีนังกาเบา มีนังกาเบา.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษามีนังกาเบา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายากุน

ษาจากุน (Jakun language) มีผู้พูดราว 27,448 คน พบในประเทศมาเลเซีย บริเวณชายฝั่งและดินแดนตอนในของแม่น้ำไปรัง จากเปอกันในรัฐปะหังไปถึงซรีกาดิงในรัฐยะโฮร์ ทางตะวันออกไปถึงเบอนุต ทางตะวันตกเฉียงเหนือไปถึงตอนกลางของที่ลุ่มแม่น้ำมวตตอนกลาง จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยมาเลย์อิก อาจจะเป็นสำเนียงของภาษามลายู ภาษานี้เป็นภาษาของชาวจากุน ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองสาขามลายูดั้งเดิม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษายากุน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาระแด

ษาระแด (Rade) บ้างเรียก ภาษาแด, อีแด, ระแดว์, เรอแดว และเรอเดว มีผู้พูดในเวียดนาม 270,000 คน (พ.ศ. 2542) ทางภาคใต้ของเวียดนาม อาจจะมีในกัมพูชาด้วย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยจาม เขียนด้วยอักษรละติน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาระแด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราตักนอน

ภาษาราตักนอน (Ratagnon) หรือภาษาลาตักนอน ภาษาดาตักนอน เป็นภาษาที่พูดโดยชาวราตักนอนที่เป็นชนพื้นเมืองในมินโดโร ผู้พูดภาษานี้เปลี่ยนมาพูดภาษาตากาล็อกเป็นส่วนใหญ่และเป็นภาษาที่ใกล้ตาย ราตักนอน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาราตักนอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอักลัน

ษาอักลัน (ฟิลิปีโนและAklanon, Akeanon) เป็นภาษากลุ่มวิซายันมีความคล้ายคลึงภาษาฮีลีไกโนนในด้านรากศัพท์ราวร้อยละ 65–68.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอักลัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัมบาลา

ษาอัมบาลา (Ambala) เป็นภาษากลุ่มซัมบัลมีผู้พูดมากกว่า 2,000 คนใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอัมบาลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัมปานัง

ษาอัมปานัง (Ampanang language) มีผู้พูด 30,000 คน (พ.ศ. 2524) ในจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีนีเซีย สาขาเกรทเตอร์ บาริโต สาขาย่อยบาริโต-มาฮากัม ผู้พูดภาษานี้นับถือศาสนาพื้นเมืองและดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และหาของป.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอัมปานัง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาซี

ภาษาอาซี เป็นภาษาตระกูลวิซายัน ใช้พูดในจังหวัดโรมโบลน ประเทศฟิลิปปินส์ ควบคู่กับภาษาโรมโบลมานอนและภาษาโอโฮน ชื่ออื่นๆของภาษานี้คือ บันตัวนอน กาลาตราวันฮอน โอดิโองานอน ซิบาเลญอน ซิมาราญอน และบิซายา อาซี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอานุส

ษาอานุส เป็นภาษาที่ใช้พูดในอิเรียน จายา ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในภาษากลุ่มอ่าวซาร์มี-จาวาปุระ ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอานุส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาเบลเลน

ษาอาเบลเลน (Abellen) หรือภาษาอาบูรลิน เป็นภาษากลุ่มซัมบัลมีผู้พูดราว 3,500 คนใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอาเบลเลน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาเจะฮ์

ภาษาอาเจะฮ์ เป็นภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในอาเจะฮ์ เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และโบตา รัฐเประก์ ประเทศมาเลเซีย อาเจะฮ์ อาเจะฮ์.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอาเจะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอินโดนีเซีย

ษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia; Indonesian language) เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรักลาโว้ย

ษาอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi') หรือภาษาเลาตา ภาษาชาวเล ภาษาชาวน้ำ ภาษาลาโว้ย มีผู้พูดในประเทศไทยราว 3,000 คน(พ.ศ. 2543) โดยเฉพาะในเกาะภูเก็ตและเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ นอกจากนี้ยังมีจังหวัดซึ่งอยู่ภายในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ของประเทศไทย อย่างเกาะอาดัง จังหวัดสตูล ไม่พบในประเทศมาเลเซีย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก สาขาย่อยมาลายัน โดยชาวอูรักลาโว้ยเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย นับถือความเชื่อดั้งเดิม ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอูรักลาโว้ย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีบัน

ษาอีบัน (Iban language) มีผู้พูดทั้งหมด 694,400 คน พบในรัฐซาราวะก์ ประเทศมาเลเซีย 658,000 คน พบในบรูไน 21,400 คน พบในกาลีมันตัน ประเทศอินโดนีเซีย 15,000 คน (พ.ศ. 2546) ทางตะวันตกของกาลิมันตัน ใกล้กับชายแดนติดกับรัฐซาราวะก์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยมาลาโย-ซุมบาวันเหนือและตะวันออก ใกล้เคียงกับภาษามลายูซาราวะก์ ในมาเลเซียมีการสอนภาษาอีบันในโรงเรียนประถมศึกษา มีรายการวิทยุเป็นภาษาอีบัน เขียนด้วยอักษรละติน เรียงประโยคแบบประธาน กริยา กรรม ในอินโดนีเซีย เป็นภาษาที่ใช้ในโบสถ์คาทอลิกสำหรับผู้พูดภาษาอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณแม่น้ำเรยัง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอีบัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีบานัก

ภาษาอีบานัก มีผู้พูด 500,000 คน ในฟิลิปปินส์ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอีซาเบลา จากายัน โซลานา จาบากัน และอีลากัน รวมทั้งผู้อพยพไปอยู่ ตะวันออกกลางและสหรัฐ ผู้พูดภาษานี้ ส่วนใหญ่จะพูดภาษาอีโลกาโน ที่เป็นภาษากลางของลูซอนภาคเหนือได้ด้วย คำว่า “อีบานัก” มาจาก “บันนัก” แปลว่าแม่น้ำ ใกล้เคียงกับภาษากัดดัง ภาษาอีตาวิส ภาษาอักตา ภาษาโยกัด และภาษามาลาเวก อีบานัก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอีบานัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีบาไฮ

ภาษาอีบาไฮ (Ibajaynon) เป็นกลุ่มภาษาวิซายัน มีผู้พูดราว 39,643 คน ใน 36 หมู่บ้าน ในบริเวณแผ่นดินใหญ่ของเมืองอีบาไฮ จังหวัดอักลัน มีรากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาอักลันร้อยละ 93% มีทั้งการจัดจำแนกให้เป็นภาษาพี่น้องที่ใกล้ชิดมากหรือเป็นภาษาถิ่นของภาษาอกลานอน จุดแตกต่างที่สำคัญคือภาษาอีบาไฮมีคำที่เป็นรูปแบบสั้นของคำในภาษาอักลัน อีบาไฮ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอีบาไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีวาตัน

ภาษาอีวาตัน หรืออีบาตัน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย มีผู้พูดบนเกาะบาตาเนส ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ เนื่องจากอยู่ใกล้ไต้หวัน จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาพื้นเมืองในไต้หวัน มากกว่าภาษาในฟิลิปปินส์อื่นๆ แต่ไม่จัดอยู่ในภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซา อักษร “e” จะออกเสียงใกล้เคียงกับ “uh” ในภาษาอังกฤษ เช่น palek ออกเสียงเป็น pa-luhk อีวาตัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอีวาตัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีโลกาโน

ษาอีโลกาโนเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชาร์โมโร ภาษาเตตุมและภาษาไปวัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอีโลกาโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮารอย

ษาฮารอย มีผู้พูดทั้งหมด 35,000 คน (พ.ศ. 2541) ในภาคใต้ของเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยจามเหนือและตะวันออก เขียนด้วยอักษรละติน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาฮารอย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮานูโนโอ

ภาษาฮานูโนโอ เป็นภาษาที่พูดโดยชาวมังยัน ในจังหวัดมินโดโร ฟิลิปปินส์ เขียนด้วยอักษรฮานูโนโอ ฮานูโนโอ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาฮานูโนโอ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีรีโมตู

ษาฮีรีโมตู (Hiri Motu)หรือ โปลีเซ โมตู (Police Motu) หรือ พิดจิน โมตู (Pidgin Motu)เป็นภาษาราชการของปาปัวนิวกินี เป็นรูปแบบที่ง่ายของภาษาโมตู ไม่เป็นทั้งภาษาพิดจินและภาษาลูกผสม โดยมีลักษณะของภาษาทั้งสองแบบ ความแตกต่างลักษณะทางสัทวิทยาและไวยากรณ์ ทำให้ผู้พูดภาษาฮีรีโมตูและภาษาโมตูเข้าใจกันได้ยาก แม้จะมีรากศัพท์คล้ายกัน และมีพื้นฐานของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน จำนวนผู้พูดภาษานี้ต่างจากภาษาทอกพิซินเพราะมีผู้พูดลดจำนวนลง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาฮีรีโมตู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจรู

ษาจรู (Chru) หรือภาษาจูรู ภาษากรู มีผู้พูดในเวียดนามทั้งสิ้น 14,978 คน (พ.ศ. 2542) ในจังหวัดลัมดอง และจังหวัดบิญ ถ่วน มีผู้พูดในสหรัฐและฝรั่งเศสด้วย ส่วนใหญ่ผู้พูดภาษานี้จะพูดภาษาเวียดนามได้ด้วย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก สาขาย่อยอาเจะห์-จาม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาจรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาม

ภาษาจามอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดราว 1 แสนคนในเวียดนามและ 220,000 คนในกัมพูชา (พ.ศ. 2535) มีผู้พูดกลุ่มเล็กๆในไทยและมาเลเซีย มีความใกล้เคียงกับภาษาในตระกูลเดียวกันที่ใช้พูดในอินโดนีเซีย มาเลเซีย มาดากัสการ์ และฟิลิปปินส์ มี 2 สำเนียงคือภาษาจามตะวันออกและภาษาจามตะวันตก จาม จาม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาจาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจามตะวันออก

ษาจามตะวันออก (Eastern Cham) มีผู้พูดทั้งหมด 72,873 คน (พ.ศ. 2545) ในเวียดนาม มีผู้พูดบางส่วนในสหรัฐ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก สาขาย่อยอาเจะห์-จาม ได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกมาก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาจามตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจามตะวันตก

ษาจามตะวันตก (Western Cham) หรือภาษาจามกัมพูชา ภาษาจามใหม่ มีผู้พูดทั้งหมด 253,100 คน พบในกัมพูชา 220,000 คน (พ.ศ. 2535) ในเมืองใกล้กับแม่น้ำโขง พบในไทย 4,000 คน ในกรุงเทพฯ และอาจมีตามค่ายผู้อพยพ ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาพูดภาษาไทย สำเนียงที่ใช้พูดในไทยได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติกมาก พบในเวียดนาม 25,000 คน โดยอยู่ในไซ่ง่อน 4,000 คน มีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย ลิเบีย มาเลเซีย ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐและเยเมน ภาษานี้มีความแตกต่างจากภาษาจามตะวันออกที่ใช้พูดทางภาคกลางของเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก สาขาย่อยอาเจะห์-จาม เขียนด้วยอักษรจามและอักษรโรมัน ผู้พูดภาษานี้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาจามตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาราย

ษาจารายเป็นภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย พูดโดยชาวจารายในเวียดนามและกัมพูชา มีผู้พูดราว 332,557 คน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่ในเวียดนาม อยู่ในกลุ่มย่อยจาม ใกล้เคียงกับภาษาจามที่ใช้พูดในเวียดนามตอนกลาง มีผู้พูดภาษานี้บางส่วนอยู่ในสหรัฐ ซึ่งอพยพไปเมื่อครั้งสงครามเวียดนาม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาจาราย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทซัต

ษาทซัต หรือภาษาอุตซัต ภาษาฮุยฮุย ภาษาฮุย หรือภาษาจามไหหนาน เป็นภาษาที่ใช้พูดบนเกาะไหหลำ ประเทศจีน โดยชาวอุตซุล อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน สาขามาลาโย-โพลีเนเซีย ใกล้เคียงกับภาษาจาม ที่ใช้พูดในเวียดนามปัจจุบัน ภาษานี้เป็นภาษาเดียวในสาขามาลาโย-โพลีเนเซียที่มีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งน่าจะเป็นผลจากการติดต่อกับผู้พูดภาษาจีนและภาษาไหลหรือหลีในเกาะไหหลำ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาทซัต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัวโน

ษาดัวโน (Duano language) มีผู้พูดทั้งหมด 15,500 คน พบในอินโดนีเซีย 15,000 คน (พ.ศ. 2549) ในบริเวณทางตะวันตกและชายฝั่งตะวันออกของเกาะเรียว จังหวัดดาราตัน พบในมาเลเซีย 500 คน (พ.ศ. 2550) ในบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้และตะวันตกของรัฐยะโฮร์ ผู้พูดในมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยมาเลย์อิก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาดัวโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาลูยา

ภาษาคาลูยา (ฟิลิปีโนและCaluyanon) เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษากีนาไรอา ใช้พูดในหมู่เกาะคาลูยาของจังหวัดอันตีเก ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้พูดส่วนใหญ่ใช้ภาษาฮีลีไกโนนเป็นภาษาที่สอง คาลูยา.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาคาลูยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาปิซ

ษาคาปิซ (Capiznon; capiceño) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ใช้พูดในวิซายาตะวันตก ประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดคาปิซทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปาไน จัดอยู่ในภาษากลุ่มวิซายัน ภาษานี้มักสับสนกับภาษาฮีลีไกโนนแต่ก็มีคำศัพท์และการออกเสียงเป็นของตนเอง มีคำศัพท์ของภาษาอักลันและภาษาวาไรปนอยู่ด้วย และถือเป็นภาษาที่พูดเร็วที่สุดในบริเวณนี้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาคาปิซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษางายู

ษางายู (Ngaju language) หรือ ภาษางายา มีผู้พูด 890,000 คน (พ.ศ. 2546) ในกาลิมันตัน ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีนีเซีย สาขาเกรทเตอร์ บาริโต สาขาย่อยบาริโตตะวันตก เป็นภาษาที่ใช้ทางการค้าในพื้นที่ส่วนใหญ่ของกาลิมันตัน แปลไบเบิลเป็นภาษานี้ตั้งแต..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษางายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตองงา

ภาษาตองงา (lea faka-Tonga) เป็นภาษาราชการของประเทศตองงา พูดกันทั้งหมด 105,319 คน เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีรูปแบบการเรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม มีความใกล้ชิดกับภาษานีวเว หมวดหมู่:สังคมตองงา ตองงา.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาตองงา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาตากาล็อก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตูกังเบซี

ษาตูกังเบซี เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน ใช้พูดในกลุ่มเกาะตูกังเบซี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะซูลาเวซี ในอินโดนีเซีย มีผู้พูดราว 200.000 คน มีพยัญชนะ 25 เสียง สระ 5 เสียง มีการเน้นเสียงที่พยางค์ที่ 2 หรือพยางค์สุดท้าย ลักษณะเฉพาะของภาษานี้ คิอ เสียงจากเส้นเสียง และเสียงเสียดแทรก /s/ มีเสียงนาสิกที่แยกเป็นหน่วยเสียงต่างหาก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาตูกังเบซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตูตง

ษาตูตง (Tutong language) หรือ ภาษาตูตุง มีผู้พูดในประเทศบรูไน 16,600 คน (พ.ศ. 2549) บริเวณรอบ ๆ เมืองตูตงตามแนวชายฝั่ง จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โปลินีเซีย สาขาบอร์เนียวเหนือ สาขาย่อยซาราวะก์เหนือ มีรากศัพท์ร่วมกับภาษาเบอไลต์ร้อยละ 54 ผู้พูดส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาตูตง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซาซะก์

ษาซาซะก์ เป็นภาษาที่พูดโดยชาวซาซักซึ่งอยู่ในเกาะลอมบอก ประเทศอินโดนีเซีย มีความใกล้เคียงกับภาษาบาหลีและภาษากัมเบอราในเกาะซุมบาวา แบ่งเป็น 5 สำเนียง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาซาซะก์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซุนดา

ษาซุนดาเป็นภาษาที่ใช้พูดในหมู่ชาวซุนดา ประเทศอินโดนีเซียในเขตชวาตะวันตก อยู่ในตระกูลออโตรนีเซียน สาขามลาโย-โพลีนีเซียน สำเนียงปรีงาอันเป็นสำเนียงที่มีการสอนในระดับประถมศึกษา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาซุนดา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปนันตะวันออก

ษาปนันตะวันออก (Eastern Penan) หรือภาษาปูนัน มีผู้พูดทั้งหมด 6,455 คน พบในรัฐซาราวะก์ ประเทศมาเลเซีย 6,400 คน (พ.ศ. 2549) ในบริเวณแม่น้ำอะโปะห์ ทางตะวันออกของแม่น้ำบารัม พบในบรูไน 55 คน (พ.ศ. 2546) ทางตะวันตกของแม่น้ำบารัมจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขาบอร์เนียวเหนือ สาขาย่อยซาราวากันเหนือ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาปนันตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานาอูรู

ษานาอูรู (dorerin Naoero: โดเรริน นาโอเอโร) เป็นตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่พูดในประเทศนาอูรู คาดว่ามีคนพูดประมาณ 7,000 คน หรือ 50% ของประชากรนาอูรู คนพูดแทบทุกคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ด้วย ภาษานาอูรูเป็นสมาชิกของภาษากลุ่มไมโครนีเซียในกลุ่มออสโตรนีเซียน มีรหัส ISO 639 คือ 'na' และ 'nau'.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษานาอูรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโบลีเนา

ษาโบลีเนา (ฟิลิปีโนและBolinao) เป็นภาษาที่ใช้พูดในเทศบาลอันดาและโบลีเนา จังหวัดปังกาซีนัน ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้พูดราว 50,000 คน มากเป็นอันดับสองในกลุ่มภาษาซัมบัล มีพยัญชนะ 16 เสียง สระ 5 เสียง โครงสร้างพยางค์เป็นแบบง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโบลีเนา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโบโตลัน

ษาโบโตลัน (Botolan) เป็นภาษากลุ่มซัมบัล มีผู้พูด 32,867 คนใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโบโตลัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโรกลายใต้

ษาโรกลายใต้ (Southern Roglai) หรือภาษาไร มีผู้พูดทั้งสิ้น 41,000 คน (พ.ศ. 2542) ทางภาคใต้ของเวียดนาม ใกล้เคียงกับภาษาจรูและภาษาโรกลายเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยจาม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโรกลายใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโรกลายเหนือ

ษาโรกลายเหนือ (Northern Roglai) หรือภาษาแอดลาย ภาษารากลาย ภาษารังกลาย มีผู้พูดทั้งสิ้น 52,900 คน (พ.ศ. 2545) ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยจาม เขียนด้วยอักษรละติน มีรายการวิทยุออกอากาศด้วยภาษานี้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโรกลายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโอรังเซอเลตาร์

ษาโอรังเซอเลตาร์ (Orang Seletar language) มีผู้พูดทั้งหมดราว 880 คน พบทางชายฝั่งตอนเหนือของสิงคโปร์และชายฝั่งด้านตรงข้ามของมาเลเซีย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยมาเลย์อิก อาจจะเป็นสำเนียงของภาษามลายู.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโอรังเซอเลตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโอซิง

ษาโอซิง (Osing language) มีผู้พูด 300,000 คน (พ.ศ. 2543) ในชวาตะวันออกตามแนวชายฝั่งตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ มีความใกล้เคียงกับภาษาชวาตะวันออก จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีนีเซีย เขียนด้วยอักษรชวา ผู้พูดภาษานี้เป็นมุสลิม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโอซิง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโฮโวงัน

ษาโฮโวงัน (Hovongan language) มีผู้พูด 1,000 คน (พ.ศ. 2534) ในจังหวัดกาลิมันตันตะวันตก จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีนีเซีย สาขาสุลาเวสีใต้ สาขาย่อย บูกิส ผู้พูดภาษานี้นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพื้นเมือง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโฮโวงัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโตโจเดเด

ภาษาโตโจเดเด (Tokodede) หรือ ภาษาโตโกเดเด ภาษาตูกูเด และภาษาโตโจด ผู้พูดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำลอยส์ ติมอร์-เลสเต จัดอยู่ในกลุ่มมาลาโย-โพลินีเซียตะวันออกตอนกลาง สาขาติมอร์ หนังสือเล่มแรก ที่ตีพิมพ์ด้วยภาษาโตโจเดเดคือ Peneer meselo laa Literatura kidia-laa Timór ซึ่งเกี่ยวกับวรรณคดีในติมอร์ ปัจจุบัน จำนวนผู้พูดภาษานี้เริ่มลดลง โตโจเดเด.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโตโจเดเด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปโรฮาโนน

ภาษาโปโรฮาโนน (Porohanon) เป็นภาษากลุ่มวิซายันที่ใช้พูดในหมู่เกาะคาโมเตส จังหวัดเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ใกล้เคียงกับภาษาฮีลีไกโนนและภาษามัสบาเต เข้าใจได้บางส่วนกับภาษาเซบูซึ่งมีศัพท์ใช้ร่วมกันร้อยละ 87 โปโรฮาโนน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาโปโรฮาโนน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบอไลต์

ษาเบอไลต์ (Belait language) หรือ เลเมอติง (Lemeting) มีผู้พูด 1,000 คนในบรูไน อาจจะมีในรัฐซาราวะก์ ประเทศมาเลเซียด้วยแต่ไม่ทราบจำนวน พูดภาษามลายูบรูไนได้ด้วย ส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขาบอร์เนียวเหนือ สาขาย่อยซาราวะก์เหนือ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเบอไลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกมัก

ภาษาเกมัก หรือภาษาเอมา เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยราว 50,000 คน ในภาคกลางตอนเหนือของเกาะติมอร์ อาศัยอยู่ในตำบลโบโบนาโรในติมอร์-เลสเต และจังหวัดนูซาเต็งการา ในอินโดนีเซีย จัดอยู่ในกลุ่มมาลาโย-โพลินีเซียตะวันออกตอนกลาง สาขาติมอร์ ใกล้เคียงกับภาษาโตโจเดเด และภาษามัมไบ เป็นภาษาประจำชาติภาษาหนึ่งของติมอร์-เลสเตนอกเหนือจากภาษาเตตุมและภาษาโปรตุเกสที่เป็นภาษาราชการ ปัจจุบัน จำนวนผู้พูดภาษานี้เริ่มลดลง เกมัก เกมัก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเกมัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเม็นตาไว

ภาษาเม็นตาไว เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน พูดโดยชาวเม็นตาไวในเกาะเม็นตาไว สุมาตราตะวันตก มีหลายสำเนียง เช่น ซิมาเลอฆี ซากาลากัน ซีลาบู ตารีกากู ซัวมันฆันยา ซีเบอรุตเหนือ ซีเบอรุตใต้ ซีปูรา ปาไฆ เป็นต้น มเนตาไว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเม็นตาไว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวตาร์

ภาษาเวตาร์ เป็นภาษาที่ใช้พูดบนเกาะเวตาร์ ที่อยู่ทางใต้ของหมู่เกาะโมลุกกะ และเกาะใกล้เคียงคือเกาะลีรัน และอาตัวโร บนเกาะอาตัวโรมีสามสำเนียงคือ ราเฮอซุก (ทางเหนือ) เรอซุก (ทางตะวันออกเฉียงใต้) และราคลูงู (ทางตะวันตกเฉียงใต้) ส่วนสำเนียงดาดูอาเป็นสำเนียงของชาวเวตาร์ที่อพยพเข้าสู่เกาะติมอร์ ได้รับอิทธิพลจากภาษามลายูมาก วเตาร์ วเตาร์.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเวตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอมบาโละห์

ษาเอมบาโละห์ (Embaloh language) หรือภาษามาโล ภาษาเมอมาโละห์ ภาษาปารี ภาษาซาเงา มีผู้พูดทั้งหมด 10,000 คน (พ.ศ. 2534) ในจังหวัดกาลิมันตันตะวันตก จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามลาโย-โพลีนีเซีย สาขาสุลาเวสีใต้ สาขาย่อย บูกิส ผู้พูดภาษานี้นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพื้นเมือง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเอมบาโละห์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตมวน

ษาเตมวน (Temuan) หรือภาษาเบนัว คาดว่ามีผู้พูดภาษานี้ประมาณ 22,162 คน (พ.ศ. 2546) ทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเซอลาโงร์ ปะหัง ยะโฮร์ เนอเกอรีเซิมบีลัน จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวัน สาขาย่อยมาเลย์อิก บางครั้งจัดให้เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษามลายู.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเตมวน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตา

ษาเตาหรือภาษายามิเป็นภาษากลุ่มบาตานิกพูดโดยชาวเตาในไต้หวัน เป็นภาษาเดียวในไต้หวันที่ไม่อยู่ในภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซา แต่มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ร่วมกับภาษาอีวาตันที่พูดในเกาะบาตาเนส ทางตอนเหนือของฟิลิปปิน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเตา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตาซุก

ษาเตาซุก (Wikang Tausug; Tausug language) หรือ ภาษาซูก (เตาซุก: Bahasa Sūg) อยู่ในตระกูลวิซายัน มีผู้พูดในจังหวัดซูลู ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้พูดในมาเลเซียและอินโดนีเซียด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเตาซุก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตตุม

ษาเตตุม (หรือเตตุน) เป็นภาษาประจำชาติของประเทศติมอร์-เลสเต เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่มีคำจำนวนมากมาจากภาษาโปรตุเกส รวมถึงภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเตตุม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซบัวโน

ษาเซบู (Cebuano; Sebwano; เซบู: Sinugboanon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ 18 ล้านคน ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากชื่อเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึง ที่เกี่ยวกับเชื้อชาต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาเซบัวโน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กลุ่มภาษามลาโย-โพลีนีเซียกลุ่มภาษามาลาโย-โพลินีเซียนภาษากลุ่มมลาโย-โพลินีเซียนภาษากลุ่มมาลาโย-โพลินีเซียนภาษากลุ่มมาลาโย-โพลิเนเซียภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีนีเชียนภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีนีเซียนภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียมาลาโย-โปลินีเชียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »