เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี

ดัชนี กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี

กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี (Sunda-Sulawesi languages) เป็นสาขาของกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ได้แก่ภาษาที่ใช้พูดในเกาะซูลาเวซี และเกาะซุนดาใหญ่ เช่นเดียวกับในชามอโรและปาเลา โดยทั่วไป กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกแบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มตอนใน (ซุนดา-ซูลาเวซี) และกลุ่มตอนนอก (บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์) ซึ่งการแบ่งนี้ใช้หลักทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ.

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียศูนย์กลางกลุ่มภาษามาเลย์อิกภาษาชวาภาษาบันยูมาซันภาษาบูกิสภาษากาโยภาษามลายูภาษามากัสซาร์ภาษามาดูราภาษามีนังกาเบาภาษาจามตะวันตกภาษาตูกังเบซีภาษาซาซะก์ภาษาซุนดาภาษาเม็นตาไวรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียศูนย์กลาง

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียศูนย์กลาง หรือ กลุ่มภาษานิวเคลียร์มาลาโย-โพลีเนเซีย เป็นสาขาของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนซึ่งคาดว่ามีแหล่งกำเนิดอยู่ที่เกาะซูลาเวซี แยกเป็น 2 สาขาคือ.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียศูนย์กลาง

กลุ่มภาษามาเลย์อิก

กลุ่มภาษามาเลย์อิก เป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี มีสมาชิก 25 ภาษา แพร่กระจายในเขตสุมาตราตอนกลางรวมทั้งภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย, ภาษามีนังกาเบาในสุมาตรากลาง, ภาษาอาเจะฮ์ในอาเจะฮ์, ภาษาจามในเวียดนามและกัมพูชา, ภาษามอเก็นในประเทศไทย และภาษาอีบันในบอร์เนียวเหนือ หมวดหมู่:ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและกลุ่มภาษามาเลย์อิก

ภาษาชวา

ษาชวา คือภาษาพูด ของผู้ที่อาศัยอยู่บนตอนกลางและตะวันออกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย เป็นภาษาแม่ของมากกว่า 75,500,000 คน ภาษาชวาอยู่ในภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน จึงสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายู ผู้พูดภาษาชวา พูดภาษาอินโดนีเซียด้วย สำหรับวัตถุประสงค์ทางการและธุรกิจ และเพื่อสื่อสารกับชาวอินโดนีเซียอื่น ๆ มีชุมชนผู้พูดภาษาชวาขนาดใหญ่ในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐเซอลาโงร์และยะโฮร์ (คีร์ โตโย รัฐมนตรีของเซอลาโงร์ เป็นชนพื้นเมืองของชวา) อย่างไรก็ดี ภาษาชวาไม่สามารถเข้าใจกันกับภาษามลายูได้.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษาชวา

ภาษาบันยูมาซัน

ษาบันยูมาซัน จัดเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาชวา ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในเขตบันยูมาซันในชวากลาง และบริเวณรอบๆเทือกเขาซลาเมตและแม่น้ำเซอรายู บริเวณใกล้เคียงในชวาตะวันตกและทางเหนือของจังหวัดบันเติน อยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก ลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกับภาษามลายู ภาษาซุนดา ภาษามาดูรา ภาษาบาหลี.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษาบันยูมาซัน

ภาษาบูกิส

ษาบูกิส เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรราว 4 ล้านคน ในภาคใต้ของเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย คำว่า บูกิส มาจากภาษามลายู ส่วนชาวบูกิสเรียกภาษาของตนว่า บาซา อูกิ แปลว่ากษัตริย์องค์แรก ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ในอาณาจักรบุกิสโบราณ แต่เรื่องราวไม่ชัดเจนเพราะไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานลายลักษณ์อักษรครั้งแรกที่พบคือ อี ลา กาลิโก ซึ่งเป็นภาพวงกลม เล่าถึงกำเนิดชีวิต พบในซูลาเวซีใต้.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษาบูกิส

ภาษากาโย

ภาษากาโย เป็นภาษาที่มีผู้พูดราว 180,000 คน (พ.ศ. 2532) ในเขตภูเขาของสุมาตราเหนือ รอบๆ ตาเกโงน เก็นเต็ง และ โลโกน ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก ตระกูลออสโตรนีเซียน แต่ไม่ใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มเท่าใดนัก กาโย.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษากาโย

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษามลายู

ภาษามากัสซาร์

ภาษามากัสซาร์ หรือ ภาษามากาซาร์ เป็นทั้งชื่อของภาษาและระบบการเขียนในเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน ใกล้เคียงกับภาษาบูกิส ในอดีตเขียนด้วยอักษรลนตารา/มากาซาร์ ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาบูกิสและภาษามันดาร์ด้วย ปัจจุบันนิยมเขียนด้วยอักษรละตินมากกว่า หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอินโดนีเซีย.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษามากัสซาร์

ภาษามาดูรา

ษามาดูราเขียนด้วยอักษรชวา ภาษามาดูรา (Madura language) เป็นที่ใช้พูดบนเกาะมาดูรา ในประเทศอินโดนีเซีย และเกาะอื่นๆ เช่นเกาะกาเงียน เกาะซาปูดี และทางตะวันออกของชวาตะวันออก พบในสิงคโปร์ด้วย อยู่ในกลุ่มย่อยซุนดา ของภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตก ตระกูลอสสโตรนีเซียน เคยเขียนด้วยอักษรชวา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน มีผู้พูด 13,600,000 คนในอินโดนีเซีย (พ.ศ.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษามาดูรา

ภาษามีนังกาเบา

ภาษามีนังกาเบา (ชื่อในภาษาของตนเอง: Baso Minang (kabau); ภาษาอินโดนีเซีย: Bahasa Minangkabau) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใช้พูดโดยชาวมีนังกาเบาในสุมาตราตะวันตก ทางตะวันตกของเกาะเรียว และเมืองอื่น ๆ ในอินโดนีเซียเนื่องจากการอพยพ รวมทั้งในประเทศมาเลเซีย ภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษามลายูทั้งในด้านศัพท์และไวยากรณ์ นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้เป็นสำเนียงของภาษามลายู ในมาเลเซีย ภาษานี้ใช้พูดในรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวมีนังกาเบาที่อพยพมาจากสุมาตรา ภาษานี้เป็นภาษากลางในชายฝั่งตะวันตกของสุมาตราเหนือ และเคยใช้ในบางส่วนของอาเจะฮ์ ในชื่อ Aneuk Jamee มีนังกาเบา มีนังกาเบา.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษามีนังกาเบา

ภาษาจามตะวันตก

ษาจามตะวันตก (Western Cham) หรือภาษาจามกัมพูชา ภาษาจามใหม่ มีผู้พูดทั้งหมด 253,100 คน พบในกัมพูชา 220,000 คน (พ.ศ. 2535) ในเมืองใกล้กับแม่น้ำโขง พบในไทย 4,000 คน ในกรุงเทพฯ และอาจมีตามค่ายผู้อพยพ ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาพูดภาษาไทย สำเนียงที่ใช้พูดในไทยได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติกมาก พบในเวียดนาม 25,000 คน โดยอยู่ในไซ่ง่อน 4,000 คน มีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย ลิเบีย มาเลเซีย ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐและเยเมน ภาษานี้มีความแตกต่างจากภาษาจามตะวันออกที่ใช้พูดทางภาคกลางของเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก สาขาย่อยอาเจะห์-จาม เขียนด้วยอักษรจามและอักษรโรมัน ผู้พูดภาษานี้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษาจามตะวันตก

ภาษาตูกังเบซี

ษาตูกังเบซี เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน ใช้พูดในกลุ่มเกาะตูกังเบซี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะซูลาเวซี ในอินโดนีเซีย มีผู้พูดราว 200.000 คน มีพยัญชนะ 25 เสียง สระ 5 เสียง มีการเน้นเสียงที่พยางค์ที่ 2 หรือพยางค์สุดท้าย ลักษณะเฉพาะของภาษานี้ คิอ เสียงจากเส้นเสียง และเสียงเสียดแทรก /s/ มีเสียงนาสิกที่แยกเป็นหน่วยเสียงต่างหาก.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษาตูกังเบซี

ภาษาซาซะก์

ษาซาซะก์ เป็นภาษาที่พูดโดยชาวซาซักซึ่งอยู่ในเกาะลอมบอก ประเทศอินโดนีเซีย มีความใกล้เคียงกับภาษาบาหลีและภาษากัมเบอราในเกาะซุมบาวา แบ่งเป็น 5 สำเนียง.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษาซาซะก์

ภาษาซุนดา

ษาซุนดาเป็นภาษาที่ใช้พูดในหมู่ชาวซุนดา ประเทศอินโดนีเซียในเขตชวาตะวันตก อยู่ในตระกูลออโตรนีเซียน สาขามลาโย-โพลีนีเซียน สำเนียงปรีงาอันเป็นสำเนียงที่มีการสอนในระดับประถมศึกษา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษาซุนดา

ภาษาเม็นตาไว

ภาษาเม็นตาไว เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน พูดโดยชาวเม็นตาไวในเกาะเม็นตาไว สุมาตราตะวันตก มีหลายสำเนียง เช่น ซิมาเลอฆี ซากาลากัน ซีลาบู ตารีกากู ซัวมันฆันยา ซีเบอรุตเหนือ ซีเบอรุตใต้ ซีปูรา ปาไฆ เป็นต้น มเนตาไว.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและภาษาเม็นตาไว

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ดู กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซีและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่