โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มท้องถิ่น

ดัชนี กลุ่มท้องถิ่น

ราจักรแคระ Sextans A หนึ่งในดาราจักรสมาชิกของกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก ซึ่งปรากฏเป็นแถบดาวสีเหลืองในภาพ Sextans A คือภาพดาวสีน้ำเงินอ่อนที่เห็นได้ชัดเจน กลุ่มท้องถิ่น (Local Group) เป็นกลุ่มของดาราจักรซึ่งมีดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วยดาราจักรมากกว่า 35 แห่ง มีจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ระหว่างทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนโดรเมดา กลุ่มท้องถิ่นกินเนื้อที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ล้านปีแสง และมีรูปร่างเหมือนดัมเบลล์ ประมาณการว่ากลุ่มท้องถิ่นมีมวลรวมประมาณ (1.29 ± 0.14) เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และเป็นสมาชิกหนึ่งอยู่ใน กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (หรือเรียกว่าเป็น กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น) ด้วย สมาชิกที่มีมวลมากที่สุดสองแห่งในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก และ ดาราจักรแอนโดรเมดา ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานทั้งสองแห่งนี้มีดาราจักรบริวารโคจรอยู่โดยรอบเป็นระบบดาราจักร ดังนี้.

20 ความสัมพันธ์: กระจุกดาวทรงกลมกระจุกดาวเปิดกลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาวการชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับทางช้างเผือกอันดับของขนาด (ความยาว)ที่ตั้งของโลกในเอกภพดาราศาสตร์ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบดาราจักรดาราจักรแอนดรอมิดาดาราจักรแคระดาราจักรแคระชนิดรีดาราจักรไทรแองกูลัมดาวฤกษ์เมฆแมเจลแลนเมฆแมเจลแลนใหญ่เมฆแมเจลแลนเล็กเส้นเวลาของอนาคตไกลเนบิวลาบึ้ง1 E22 m

กระจุกดาวทรงกลม

เมสสิเยร์ 80 กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวแมงป่อง อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเรา 28,000 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์นับแสนดวง กระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster) เป็นแหล่งรวมของดวงดาวที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม โคจรไปรอบๆ แกนกลางดาราจักร ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันค่อนข้างมาก ทำให้พวกมันรวมตัวเป็นกลุ่มทรงกลม มีความหนาแน่นของดาวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในจุดศูนย์กลาง บางครั้งเรียกชื่อโดยย่อเพียงว่า globular กระจุกดาวทรงกลมมักพบอยู่ในกลดดาราจักร มีดวงดาวรวมตัวกันอยู่มากและมักมีอายุเก่าแก่กว่าส่วนที่เหลือของดาราจักร หรือกระจุกดาวเปิดซึ่งมักพบในจานดาราจักร ในดาราจักรทางช้างเผือกมีกระจุกดาวทรงกลมอยู่ราว 158 แห่ง และคาดว่ายังมีกระจุกดาวที่ยังค้นไม่พบอีกราว 10-20 แห่งAshman, Keith M.; Zepf, Stephen E. (1992).

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและกระจุกดาวทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวเปิด

กระจุกดาวลูกไก่ หนึ่งในกระจุกดาวเปิดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหลายพันดวงที่รวมกลุ่มกันอยู่ในเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ชุดเดียวกัน และมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันและกันอย่างหลวมๆ กระจุกดาวเปิดจะพบได้ในดาราจักรชนิดก้นหอยและชนิดไร้รูปร่างเท่านั้น ซึ่งเป็นดาราจักรที่ยังมีการก่อตัวของดาวฤกษ์ดำเนินอยู่ โดยทั่วไปมีอายุน้อยกว่าร้อยล้านปี และมักถูกรบกวนจากกระจุกดาวอื่นหรือกลุ่มเมฆที่มันโคจรอยู่ใกล้ๆ ทำให้สูญเสียสมาชิกในกระจุกดาวไปบ้างในการประจันหน้าเช่นนั้น กระจุกดาวเปิดที่มีอายุน้อยอาจยังคงอยู่ในกลุ่มเมฆโมเลกุลซึ่งมันก่อตัวขึ้นมา ส่องแสงและความร้อนจนสามารถสร้างบริเวณเอช 2 ขึ้นมาได้ เมื่อเวลาผ่านไป แรงดันของการแผ่รังสีจากกระจุกดาวจะทำให้เมฆโมเลกุลกระจัดกระจายออกไป โดยทั่วไปมวลของแก๊สในกลุ่มเมฆประมาณ 10% จะรวมเข้าอยู่ในดาวฤกษ์ก่อนที่แรงดันของการแผ่รังสีจะผลักพวกมันออกไปเสีย กระจุกดาวเปิดเป็นวัตถุท้องฟ้าที่สำคัญมากในการศึกษาวิวัฒนาการของดวงดาว เพราะดาวฤกษ์ในกระจุกดาวเดียวกันจะมีอายุใกล้เคียงกันและมีลักษณะทางเคมีคล้ายคลึงกัน การศึกษาผลกระทบต่อตัวแปรอันละเอียดอ่อนต่างๆ ของคุณลักษณะของดวงดาวจึงทำได้ง่ายกว่าการศึกษาดาวฤกษ์เดี่ยวๆ กระจุกดาวเปิดจำนวนหนึ่ง เช่น กระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว หรือ กระจุกดาวอัลฟาเพอร์เซย์ เป็นกระจุกดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กระจุกดาวบางจำพวกเช่นกระจุกดาวแฝดจะมองเห็นได้ค่อนข้างยากหากไม่ใช้เครื่องมือช่วย ส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะมองเห็นได้โดยใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและกระจุกดาวเปิด · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว

กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (Virgo Supercluster) หรือ กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น (Local Supercluster) เป็นกลุ่มกระจุกดาราจักรผิดปกติ ที่ประกอบด้วยกลุ่มกระจุกหญิงสาว นอกเหนือจากกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งจะประกอบด้วยดาราจักรทางช้างเผือก กับแอนดรอเมดา ไม่น้อยกว่า 100 กลุ่มดาราจักรและกลุ่ม ตั้งอยู่ภายในเส้นผ่าศูนย์กลางของ 33 เมก้าพาร์เซก (110 ล้านปีแสง) มันเป็นหนึ่งในล้านของกลุ่มกระจุกดาราจักรในจักรวาล.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและกลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว · ดูเพิ่มเติม »

การชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับทางช้างเผือก

แนวคิดของนาซา ในการชนกันของดาราจักรโดยใช้ภาพคอมพิวเตอร์สร้างขึ้น การชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับดาราจักรทางช้างเผือก (Andromeda–Milky Way collision) เป็นการชนกันของดาราจักร ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในประมาณ 4 พันล้านปี ระหว่าง 2 ดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งประกอบด้วยระบบสุริยะและโลก กับดาราจักรแอนดรอมิดาMuir, Hazel.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและการชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับทางช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความยาว)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและอันดับของขนาด (ความยาว) · ดูเพิ่มเติม »

ที่ตั้งของโลกในเอกภพ

ที่ตั้งของโลกในเอกภพ (Earth's location in the Universe) นั้นตั้งแต่ที่มนุษย์ได้เริ่มมีการสร้างและสมมุติตำแหน่งที่ตั้งของโลกขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้วโดยเริ่มจากการสังเกตการณ์ด้วยกล้องส่องทางไกลและซึ่งเริ่มมีความแพร่หลายมากในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ในอดีตนานมาแล้วนั้นมนุษย์เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์, ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่หมุนรอบโลกและในศตวรรษที่ 17 ก็มีแนวคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นผลมาจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์นามว่าวิลเลียม เฮอร์เชลและยังได้อธิบายต่ออีกว่าดวงอาทิตย์และระบบสุริยะอยู่ในกาแลคซีที่เป็นรูปแผ่นดิสก์ขนาดใหญ่ และในศตวรรษที่ 20 ได้มีการขอสังเกตจากการสำรวจดาราจักรชนิดก้นหอยจึงเผยให้เห็นว่ากาแลคซี่ทางช้างเผือกของเราเป็นหนึ่งในพันล้านกาแลคซีในจักรวาลที่กำลังขยายตัวจึงได้มีการจัดกลุ่มกระจุกดาราจักรขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 20 จากนั้นก็มีการกำหนดเอกภพที่สังเกตได้ซึ้งเกิดจากกลุ่มกระจุกดาราจักรและช่องว่างขนาดใหญ่ (Cosmic voids) รวมกันเป็นใยเอกภพ (Galaxy filament) ซึ่งกลุ่มกระจุกดาราจักร, ช่องว่างและใยเอกภพนั้นเป็นโครงสร้างใหญ่ ๆ ที่สามารถพบและสังเกตได้ในเอกภพ โครงสร้างเหล่ามีขนาดใหญ่มากอาจมีขนาดมากกว่า 1000 เมกะพาร์เซก และเอกภพนั้นจะรวมจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันซึ่งหมายความว่าทุกส่วนของเอกภพนั้นมีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นขององค์ประกอบและโครงสร้างเดียวกัน และในปัจจุบันนี้มนุษย์ก็ยังไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดหรือขอบของเอกภพนั้นอยู่ที่ใดเนื่องจากโลกเป็นส่วนเล็ก ๆ ในเอกภพจึงไม่สามารถหาตำแหน่งขอบของเอกภพได้จากโลก.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ

ราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ (Extragalactic astronomy) คือสาขาวิชาหนึ่งของการศึกษาดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับวัตถุอันอยู่พ้นไปจากดาราจักรทางช้างเผือกของเรา (หรืออาจกล่าวว่า เป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ทุกชนิดที่มิได้อยู่ในขอบเขตของดาราศาสตร์ดาราจักร) ผลจากการที่เครื่องมือวัดและตรวจจับต่างๆ มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในห้วงอวกาศอันไกลมากๆ ได้ และยังสามารถคำนวณระยะห่างได้ด้วย การศึกษาในศาสตร์นี้จึงอาจแบ่งได้เป็น ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบใกล้ (Near-Extragalactic Astronomy) และดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบไกล (Far-Extragalactic Astronomy) กลุ่มของดาราจักรนอกระบบใกล้คือการศึกษาดาราจักรต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใกล้พอจะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบอย่างละเอียดได้ (เช่น ซากซูเปอร์โนวา กลุ่มดาว) ส่วนดาราจักรนอกระบบไกลจะสามารถศึกษาได้แต่ปรากฏการณ์ที่สว่างมากๆ จนเป็นที่สังเกตเห็น หัวข้อการศึกษาบางส่วนได้แก.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแอนดรอมิดา

ราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรแอนดรอมิดา (Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมสสิเยร์ 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอมิดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้แอนดรอมิดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอมิดา คือประมาณ 7.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรแอนดรอมิดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว ทั้งนี้ ดาราจักรแอนดรอมิดาและดาราจักรทางช้างเผือกคาดว่าจะปะทะและรวมกันเป็นดาราจักรรี (elliptical galaxy) ขนาดใหญ่ ในอีก 3.75 พันล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและดาราจักรแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแคระ

ราจักร Sextans A ในกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงดาราจักรขนาดใหญ่ที่มีมวลมากคือแอนดรอเมดาและทางช้างเผือก ดาราจักรแห่งนี้อยู่ห่างออกไปราง 4 ล้านปีแสง ฉากหลังสีเหลืองสว่างคือทางช้างเผือก ดาราจักรแคระ (Dwarf Galaxy) คือดาราจักรขนาดเล็กที่มีดาวฤกษ์อยู่เพียงไม่กี่พันล้านดวง ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยหากเทียบกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราที่มีดาวฤกษ์อยู่ราว 2-4 แสนล้านดวง ในบางครั้งเมฆแมเจลแลนใหญ่ซึ่งมีดาวฤกษ์อยู่ราว 3 หมื่นล้านดวง ก็ถูกนับว่าเป็นดาราจักรแคระด้วย ในกลุ่มท้องถิ่นของเรามีดาราจักรแคระอยู่หลายแห่ง ซึ่งมักโคจรไปรอบๆ ดาราจักรที่ใหญ่กว่า เช่น ทางช้างเผือก ดาราจักรแอนดรอเมดา และดาราจักรไทรแองกูลัม รายงานการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้ทราบว่าดาราจักรแคระเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากแรงไทดัลในระหว่างวิวัฒนาการช่วงแรกๆ ของทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนดรอเมดา ดาราจักรแคระที่ได้รับผลกระทบจากแรงไทดัลทำให้ดาราจักรแตกตัวและเกิดปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างกัน สายธารของสสารในดาราจักรถูกดึงออกจากดาราจักรต้นกำเนิดของมัน รวมถึงกลดของสสารมืดที่อยู่รอบๆ ดาราจักรทางช้างเผือกมีดาราจักรแคระโคจรอยู่รอบๆ จำนวน 14 ดาราจักร จากการค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า กระจุกดาวทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดในทางช้างเผือก คือ โอเมกาคนครึ่งม้า ที่จริงเป็นแกนกลางของดาราจักรแคระแห่งหนึ่งที่มีหลุมดำอยู่ที่ใจกลาง (ดูรายละเอียดเพิ่มที่ ทางช้างเผือก) ดาราจักรแคระสามารถมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและดาราจักรแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแคระชนิดรี

ราจักรแคระชนิดรี (Dwarf elliptical galaxy; หรือเรียกย่อว่า dE) เป็นดาราจักรชนิดรีที่มีขนาดเล็กกว่าดาราจักรอื่นๆ มาก จัดเป็นประเภท dE ถือเป็นชนิดของกลุ่มและกระจุกดาราจักรที่พบได้ทั่วไป และมักอยู่กับดาราจักรอื่นใกล้เคียงในลักษณะดาราจักรคู่ หนึ่งในดาราจักรแคระชนิดรีที่อยู่ใกล้กับดาราจักรของเรามากที่สุดคือ เมสสิเยร์ 110 (หรือรู้จักอีกชื่อว่า NGC205) เป็นดาราจักรบริวารของดาราจักรแอนดรอเมดา ค้นพบโดยนักล่าดาวหางชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาลส์ เมสสิเยร์ ในปี..

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและดาราจักรแคระชนิดรี · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรไทรแองกูลัม

ราจักรไทรแองกูลัม หรือ ดาราจักรสามเหลี่ยม (Triangulum Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่อ วัตถุเมสสิเยร์ M33 หรือ NGC 598) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอยที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 3 ล้านปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวสามเหลี่ยม บางครั้งในหมู่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นอาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ดาราจักรเครื่องปั่นด้าย (Pinwheel Galaxy) รวมถึงในเว็บไซต์สาธารณะทั่วไป อย่างไรก็ดีในฐานข้อมูลดาราศาสตร์ SIMBAD นักวิชาการด้านดาราศาสตร์จะใช้คำว่า "Pinwheel Galaxy" กับวัตถุเมสสิเยร์ M101 รวมถึงนักดาราศาสตร์สมัครเล่นอีกส่วนหนึ่งหรือเว็บไซต์ทั่วไปก็อ้างอิงถึงวัตถุเมสสิเยร์ M101 ด้วยชื่อ "Pinwheel Galaxy" เช่นเดียวกัน ดาราจักรสามเหลี่ยมเป็นดาราจักรที่ใหญ่เป็นอันดับที่สามในกลุ่มท้องถิ่น โดยเล็กกว่าดาราจักรแอนดรอเมดาและทางช้างเผือก มันอาจมีแรงโน้มถ่วงที่ดึงดูดอยู่กับดาราจักรแอนดรอเมดาด้วย ขณะเดียวกัน ดาราจักรปลา (LGS 3) ซึ่งเป็นดาราจักรสมาชิกเล็กๆ แห่งหนึ่งในกลุ่มท้องถิ่น อาจจะเป็นดาราจักรบริวารของดาราจักรสามเหลี่ยมก็ได้.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและดาราจักรไทรแองกูลัม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เมฆแมเจลแลน

มฆแมเจลแลนใหญ่ เมฆแมเจลแลนเล็ก เมฆแมเจลแลนทั้งสองแห่ง เป็นดาราจักรแคระชนิดไร้รูปแบบ และเป็นดาราจักรสมาชิกอยู่ในกลุ่มท้องถิ่น ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าดาราจักรทั้งสองนี้โคจรอยู่รอบ ๆ ทางช้างเผือกของเรา แต่งานวิจัยยุคใหม่ชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและเมฆแมเจลแลน · ดูเพิ่มเติม »

เมฆแมเจลแลนใหญ่

มฆมาเจลลันใหญ่ เมฆแมเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud, LMC) คือดาราจักรบริวารของทางช้างเผือก อยู่ห่างจากเราออกไปเพียงไม่ถึง 50 กิโลพาร์เซก (ประมาณ 160,000 ปีแสง) ถือเป็นดาราจักรที่อยู่ใกล้กับทางช้างเผือกเป็นอันดับที่สาม โดยมีดาราจักรแคระชนิดรีคนยิงธนู (ประมาณ 16 กิโลพาร์เซก) กับดาราจักรแคระสุนัขใหญ่ (ประมาณ 12.9 กิโลพาร์เซก) อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่มีมวลสมมูลประมาณ 1 หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ (1010 มวลดวงอาทิตย์) นั่นคือมีมวลเป็นประมาณ 1/10 เท่าของมวลของทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในกลุ่มท้องถิ่น โดยมีดาราจักรแอนดรอเมดา ทางช้างเผือก และดาราจักรไทรแองกูลัม เป็นดาราจักรขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง สอง และสามตามลำดับ โดยมากเมฆแมเจลแลนใหญ่มักถูกพิจารณาว่าเป็นดาราจักรไร้รูปแบบ (ในฐานข้อมูลวัตถุพ้นดาราจักรขององค์การนาซา ระบุรหัสตามลำดับฮับเบิลให้แก่มันเป็น Irr/SB(s)m) อย่างไรก็ดีเมฆแมเจลแลนใหญ่ก็มีโครงสร้างคล้ายคานที่บริเวณศูนย์กลาง ทำให้เชื่อได้ว่ามันอาจจะเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานมาก่อน ลักษณะอันไร้รูปแบบของเมฆแมเจลแลนใหญ่อาจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาน้ำขึ้นน้ำลงระหว่างตัวมันเองกับทางช้างเผือกและเมฆแมเจลแลนเล็ก เมฆแมเจลแลนใหญ่ปรากฏบนท้องฟ้ายามกลางคืนเป็น "เมฆ" จาง ๆ อยู่ในทางซีกโลกใต้ บริเวณชายขอบระหว่างกลุ่มดาวปลากระโทงแทงกับกลุ่มดาวภูเขา เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรคู่กับเมฆแมเจลแลนเล็ก ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกประมาณ 20 อง.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและเมฆแมเจลแลนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เมฆแมเจลแลนเล็ก

มฆมาเจลลันเล็ก เมฆแมเจลแลนเล็ก (Small Magellanic Cloud, SMC) เป็นดาราจักรแคระ แห่งหนึ่งในกลุ่มท้องถิ่น ถือเป็นหนึ่งในดาราจักรที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยอยู่ห่างจากดาราจักรของเราประมาณ 200,000 ปีแสง มีดาวฤกษ์อยู่เป็นสมาชิกจำนวนหลายร้อยล้านดวง บ้างเชื่อว่าเมฆแมเจลแลนเล็กเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานมาก่อน แต่ถูกรบกวนโดยทางช้างเผือกทำให้มันเสียรูปร่างไป แต่ก็ยังสามารถมองเห็นโครงสร้างรูปคานบริเวณตรงกลางได้บ้าง เมฆแมเจลแลนเล็กมีค่าเดคลิเนชันเฉลี่ยถึง -73 องศา มันจึงสามารถมองเห็นได้จากด้านซีกโลกใต้หรือซีกโลกเหนือตอนล่างมาก ๆ เท่านั้น ตำแหน่งปรากฏบนฟ้าอยู่ใกล้กลุ่มดาวนกทูแคน เป็นแถบแสงหม่น ๆ กว้างประมาณ 3 องศาบนท้องฟ้า ดูราวกับเป็นชิ้นส่วนที่หลุดออกไปจากทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนเล็กเป็นดาราจักรคู่กันกับเมฆแมเจลแลนใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกประมาณ 20 อง.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและเมฆแมเจลแลนเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของอนาคตไกล

ำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและเส้นเวลาของอนาคตไกล · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาบึ้ง

นบิวลาบึ้ง หรือ เนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula; หรือรู้จักในชื่อ 30 โดราดัส หรือ NGC 2070) เป็นบริเวณเอช 2 ที่อยู่ในเมฆแมเจลแลนใหญ่ เดิมเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ จวบกระทั่ง พ.ศ. 2294 นิโคลาส์ หลุยส์ เดอ ลาซายล์ จึงตรวจพบว่ามันมีลักษณะโดยธรรมชาติเป็นแบบเนบิวลา เนบิวลาบึ้งมีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 8 เมื่อคำนึงถึงระยะห่างของมันที่อยู่ห่างออกไปถึง 180,000 ปีแสง ถือได้ว่าเป็นวัตถุที่มีความสว่างสูงมาก มันส่องสว่างมากเสียจนถ้าหากมันอยู่ใกล้โลกในระยะเดียวกับเนบิวลานายพราน ก็อาจทำให้เกิดเงาแสงขึ้นได้ทีเดียว เนบิวลาบึ้งเป็นย่านดาวระเบิดที่มีกระบวนการสูงที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น มันยังเป็นย่านที่ใหญ่ที่สุดและมีการกำเนิดดาวมากที่สุดในกลุ่มท้องถิ่นโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณถึง 200 พาร์เซก ที่ใจกลางของมันเป็นกระจุกดาวที่เล็กมากแต่หนาแน่นมาก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 พาร์เซก) คือกระจุกดาว R136a อันเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานมหาศาลที่ทำให้เนบิวลานี้สว่างไสว ซูเปอร์โนวาที่ใกล้ที่สุดเท่าที่ตรวจพบหลังจากการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ คือ ซูเปอร์โนวา 1987A ก็เกิดขึ้นที่บริเวณขอบของเนบิวลาบึ้งแห่งนี้.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและเนบิวลาบึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

1 E22 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 10 Zm (10,000,000,000,000,000 กม.) ถึง 100 Zm (100,000,000,000,000,000 กม.) (1022 และ 1023 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 1,000,000 ปีแสง ----.

ใหม่!!: กลุ่มท้องถิ่นและ1 E22 m · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กลุ่มดาราจักรท้องถิ่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »