เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กระเล็น

ดัชนี กระเล็น

กระเล็น หรือ กระถิก หรือ กระถึก เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์ฟันแทะ จำพวกกระรอก ใช้ชื่อสกุลว่า Tamiops กระเล็นจัดว่าเป็นกระรอกขนาดเล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย ขนาดโดยเฉลี่ยรวมความยาวทั้งลำตัว, หัว และหางแล้วประมาณ 20 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวสีน้ำตาล มีลายสีขาวดำพาดขนานตามยาวของลำตัวเห็นเด่นชัด ตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง คล้ายกับลายของชิพมังค์ (Tamias spp.) ซึ่งเป็นกระรอกขนาดเล็กเช่นกัน แต่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนหางของกระเล็นจะไม่เป็นพวงฟูเหมือนกระรอกทั่วไป ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 6 เต้า กระเล็นหากินในเวลากลางวัน หากินบนต้นไม้สูง ๆ เป็นหลัก กินอาหารได้หลากหลายเหมือนกระรอกทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้, ตอนใต้ของจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบทั้งหมด 4 ชนิด ในประเทศไทยพบได้ 2 ชนิด พบได้ทั่วไปทั้งในป่าทึบหรือในชุมชนเมือง โดยที่ไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนแต่ประการใ.

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: ชิปมังก์กระรอกกระเล็นขนปลายหูสั้น

ชิปมังก์

ปมังก์ (chipmunk) เป็นกระรอกขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Tamias จัดเป็นกระรอกดินจำพวกหนึ่ง กระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ และบางชนิดพบได้ในทวีปเอเชียตอนบนและตะวันออก ชิปมังก์มีลักษณะคล้ายกับกระเล็น (Tamiops spp.) ซึ่งเป็นกระรอกต้นไม้และพบได้ในเอเชียอาคเนย์ คือ เป็นกระรอกขนาดเล็ก และมีลายแถบเป็นริ้วสีขาวและดำคล้ำลากผ่านบริเวณใบหน้าทั้งสองด้าน, หลัง และหาง สีขนตามลำตัวจะแตกต่างกันออกไปตั้งแต่สีเทาจนถึงสีน้ำตาลออกแดงต่างกันตามแต่ชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย ความยาวลำตัวประมาณ 8–11.5 นิ้ว มีหางที่มีขนเป็นพวงฟูต่างจากกระเล็น ความยาวประมาณ 3–4 นิ้ว นอกจากนี้แล้วชิปมังก์ยังมีกระพุ้งแก้มที่ใช้สำหรับเก็บอาหารได้อีกด้วย ชิปมังก์จะสร้างโพรงในระดับต่ำกว่าพื้นดิน ทางเข้าจะมีการปิดบังไว้ใต้ก้อนหินหรือพุ่มไม้ต่าง ๆ เป็นอย่างดี แม้จะอยู่ในโพรงแล้วก็ตาม ชิปมังก์ก็ยังเป็นสัตว์ที่ตื่นตัวตลอดเวลา มีการระแวดระวังภัยสูง เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลาย แต่ส่วนมากจะเป็น ลูกไม้ชนิดต่าง ๆ แม้กระทั่งลูกไม้ที่มีเปลือกแข็ง, ถั่ว, เมล็ดพืช, ข้าว, ไข่นก, แมลง แม้กระทั่งเห็ดรา มีฤดูผสมพันธุ์ ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิของทุกปี ตัวเมียจะออกลูกครอกละ 2–8 ตัว ลูกชิปมังก์จะอยู่กับพ่อแม่เป็นเวลา 2 เดือนและหลังจากนั้นจะจากไปหาอาหารด้วยตนเอง หลังจากผ่านไป 5 เดือน ชิปมังก์วัยอ่อนจะเจริญเติบโตจนมีขนาดตัวโตเต็มวัย ในช่วงฤดูหนาวที่อากาศหนาว อาหารหายาก จะเข้าสู่การจำศีลด้วยการนอนอยู่นิ่ง ๆ ในโพรงของตัวเอง จนกว่าจะถึงฤดูร้อน ชิปมังก์มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 2–3 ปี.

ดู กระเล็นและชิปมังก์

กระรอก

กระรอก(Squirrel, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: ฮอก) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae.

ดู กระเล็นและกระรอก

กระเล็นขนปลายหูสั้น

กระเล็นขนปลายหูสั้น หรือ กระถิกขนปลายหูสั้น (Himalayan striped squirrel, Burmese striped squirrel) เป็นกระรอกขนาดเล็ก ความยาวหัวและลำตัวประมาณ 11-12 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ขนหางสั้นและเรียบติดหนังไม่ฟูเป็นพวงอย่างกระรอกทั่วไป ปลายหูสีขาว ลำตัวสีน้ำตาลอมเทา หลังมีลายแถบขนานกันไปตามแนวสันหลังสีเหลืองหรือสีครีมสลับดำ แถบสีครีมด้านนอกสุดพาดยาวตั้งแต่จมูกไปจนจรดโคนหาง แถบนอกสุดนี้จะกว้างและสีสดกว่าแถบใน และกว้างกว่าของกระเล็นขนปลายหูยาว (T.

ดู กระเล็นและกระเล็นขนปลายหูสั้น

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Asiatic striped squirrelStriped squirrelTamiopsกระถิกสกุลกระถิกสกุลกระเล็น