โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระสือ

ดัชนี กระสือ

กระสือ กระสือ เป็นชื่อผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิงและชอบกินของโสโครก คู่กับ "กระหัง" ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้.

31 ความสัมพันธ์: บ้านผีปอบกระสือ (ละครโทรทัศน์)กระสือ (แก้ความกำกวม)กระหังการประทับฟ้องมานานังกัลมนฤดี ยมาภัยยุวดี เรืองฉายรัชนู บุญชูดวงรายชื่อละครโทรทัศน์ของดาราวีดีโอรายชื่อผีไทยรุ่งกานดา เบญจมาภรณ์วรนันท์ พร้อมมูลวีรยุทธ รสโอชาสาวิกา ไชยเดชสุวัจนี ไชยมุสิกหยาดทิพย์ ราชปาลหนุ่มทิพย์ผีในวัฒนธรรมไทยผีโพงจรูญ ธรรมศิลป์ธงชัย ประสงค์สันติณัทธร สมคะเนคลองสุนัขหอนตำนานกระสือปอบน้ำเงิน บุญหนักแดร๊กคูล่าต๊อกโขมดไทโคราชเสาวลักษณ์ ศรีอรัญญ์

บ้านผีปอบ

นตร์เรื่องบ้านผีปอบ ภาคแรก บ้านผีปอบ เป็นภาพยนตร์ไทย ประเภทหนังผีประเภทผสมความตลกขบขัน ที่มีการสร้างถึง 14 ภาคตั้งแต่ปี 2532 – 2554 เป็นหนังที่นำเอาตัวละครผีปอบมาจากนิยายเรื่องของ เหม เวชกร ความประสบความสำเร็จในภาคแรก ๆ ทำให้มีการสร้างภาคต่อ ๆ มา และกลายเป็นภาพยนตร์สยองขวัญผสมเบาสมอง โดยเน้นความตลกเบาสมองเสียมากกว่า แต่ก็ทำให้ ปอบหยิบ โด่งดังและเป็นที่รู้จัก อย่างดี ในภาพยนตร์จะมีวิธีการหนีผีแปลกๆ แบบหนีลงตุ่ม วิ่งหนีขึ้นต้นไม้ เหาะข้ามคลอง หรือแม้กระทั่ง แกล้งผีปอบต่างๆนาๆ เช่น ทาสีทำเป็นประตูลวง เป็นต้น หรือตัวผีปอบเองก็มีวิธีวิ่งไล่จับคนแปลกๆเช่น เช่น ขี่บั้งไฟ ขี่มอเตอร์ไซค์ ใช้พัดสันกำแพงเป็นต้น โดยมีณัฐนี สิทธิสมาน ที่ได้ฉายานามว่า เจ้าแม่ผีปอบ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ซีรี่ยส์ภาพยนตร์เรื่อง บ้านผีปอบ ในภาคแรกผู้รับบทผีปอบคือ สุชาดา อีแอม และ ตัวละคร ปอบหยิบ เริ่มมีตั้งแต่ภาคที่ 2 รับบทด้วย ณัฐนี สิทธิสมาน บ้านผีปอบภาคที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น พันธุ์ผีปอบ 34 เนื่องจากมีปัญหาบางประการ เนื่องจากภาคนี้ ณัฐนี สิทธิสมาน ไม่ได้เล่น และบ้านผีปอบข้ามภาค 12 ไป เนื่องจากถือเคล็ดว่าไม่เป็นหนังโหล กลายเป็นภาคที่ 13 ภาพยนตร์เรื่อง บ้านผีปอบ 2 (ปี 2533) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2558.

ใหม่!!: กระสือและบ้านผีปอบ · ดูเพิ่มเติม »

กระสือ (ละครโทรทัศน์)

กระสือ เป็นละครโทรทัศน์ไทย เป็นบทประพันธ์ของ บุราณ ที่เค้าโครงสร้างจาก "ผีกระสือ" ผีพื้นบ้านไทย ถูกนำมาสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2522 ในรูปแบบภาพยนตร์โทรทัศน์ สร้างโดยดาราฟิล์ม กำกับการแสดงโดย มานพ สัมมาบัต นำแสดงโดย รัชนู บุญชูดวง, เสกศักดิ์ สันติพงษ์, ละออ นพพรรณ, ป๊อกเขี้ยวเพชร, สวาท นาคศิริ, เมธี ด้วงบุญ, บังเละ, สุดเฉลียว เกิดผล ออกฉายทาง ช่อง 7 มีความยาวถึง 200 ตอน จากความโด่งดังจึงถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2525 กำกับโดย โกมินทร์ นำแสดงโดย พอเจตน์ แก่นเพชร, อาภาพร กรทิพย์, พิศมัย วิไลศักดิ์, รสริน จันทรา, รุ่งนภา กลมกล่อม, สามารถ พึ่งกิจ เข้าฉายเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 ผลิตโดย บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด กำกับการแสดงโดย จรูญ ธรรมศิลป์ นำแสดงโดย ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, รชนีกร พันธุ์มณี, มนฤดี ยมาภัย, สุวัจนี ไชยมุกสิก, น้ำเงิน บุญหนัก ออกอากาศเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2537 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2538 และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2555 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ ใช้ชื่อเรื่อง กระสือจำศีล นำแสดงโดย วรนันท์ พร้อมมูล, สุทัศสรณ์ สัจจะภูริภูมิ, รติพงษ์ ภู่มาลี, น้ำทิพย์ เสียมทอง, เยาวเรศ นิศากร, ฉัตรมงคล บำเพ็ญ ออกอากาศทางช่อง ทีวี จ๊ะทิงจา ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม - 3 สิงหาคม 2555.

ใหม่!!: กระสือและกระสือ (ละครโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

กระสือ (แก้ความกำกวม)

กระสือ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กระสือและกระสือ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

กระหัง

กระหัง หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า กระหาง เป็นผีตามความเชื่อของคนไทย เป็นผีผู้ชาย คู่กับผีกระสือ ซึ่งเป็นผู้หญิง เชื่อกันว่าผู้ที่เป็นผีกระหังนั้น จะเป็นผู้ที่เล่นไสยศาสตร์ เมื่ออาคมแกร่งกล้าไม่สามารถควบคุมได้ก็จะเข้าตัว กลายเป็นผีกระหังไป คติความเชื่อเรื่องผีกระหังมีขึ้นเมื่อใดไม่เป็นที่ทราบ และไม่ปรากฏในพระอัยการลักษณะรับฟ้องในกฎหมายตราสามดวง ผีกระหัง จะบินได้ในเวลากลางคืน จะใช้กระด้งฝัดข้าวติดกับแขนแทนปีก และใช้สากตำข้าวหรือสากกระเบือผูกติดกับขา แทนหาง หรือขา ออกหากินของโสโครก เช่นเดียวกับ ผีกระสือ หรือผีโพง.

ใหม่!!: กระสือและกระหัง · ดูเพิ่มเติม »

การประทับฟ้อง

thumb การประทับฟ้อง (acceptance หรือ admission) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "รับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป" กล่าวคือ เป็นการที่ศาลมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา หลังจากที่ศาลพิเคราะห์แล้ว ซึ่งอาจจะโดยไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ลงความเห็นว่า คดีที่ฟ้องนั้นมีมูลพอที่จะว่ากล่าวตัดสินให้ได้ คำว่า "ประทับฟ้อง" ในภาษาไทยนั้น มีเบื้องหลังมาจากวิธีพิจารณาคดีตามกฎหมายไทยแต่โบราณ คือ พระธรรมศาสตร์ หรือที่ในสมัยต่อมาได้รับการประชุมเข้าเป็น ประชุมกฎหมายรัชกาลที่ 1 ซึ่งมาตรา 1 แห่งพระธรรมนูญ ในประชุมกฎหมายดังกล่าว บัญญัติว่าราชบัณฑิตยสถาน, 2553: 58.

ใหม่!!: กระสือและการประทับฟ้อง · ดูเพิ่มเติม »

มานานังกัล

มานานังกัล มานานังกัล (Manananggal) ผีหรือปีศาจชนิดหนึ่ง ตามความเชื่อของชาวฟิลิปปินส์ เป็นผีดูดเลือดหรือแวมไพร์อย่างหนึ่ง บางครั้งอาจสับสนกับอัสวังหรือวัก-วัก ซึ่งเป็นผีดูดเลือดที่น่ากลัวอย่างหนึ่งของฟิลิปปินส์ มานานังกัล เป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างหน้าตาสวย มีปีกคล้ายค้างคาวขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง ใช้สำหรับบินโฉบดูดเลือดเหยื่อ โดยศัพท์คำว่า "มานานังกัล" (manananggal) มาจากภาษาตากาล็อกคำว่า tanggal (คำเดียวกับคำว่า tanggal ในภาษามลายู) หมายถึง "ถอด" หรือ "แยก" อันหมายถึง สามารถถอดร่างหรือแยกตัวออกมาโดยไม่ตาย คล้ายกับกระสือตามความเชื่อของไทย มานานังกัล นอกจากจะดูดเลือดมนุษย์แล้ว ยังชอบที่จะล่าเอาตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ผู้หญิงที่กำลังตั้งท้องอยู่ด้วย ด้วยการใช้ลิ้นยาว ๆ ตวัดลากออกมากินขณะผู้หญิงคนนั้นหลับอยู่ และยังชอบกินหัวใจเด็กรวมถึงพ่นของเหลวใส่ปากของผู้หญิงตั้งท้องเพื่อทำลายเด็กในท้องด้วย และยังชอบกินลูกไก่ ความเชื่อเรื่องมานานังเกลกระจายไปทั่วฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะในภูมิภาควิซายัน มีความเชื่อว่ามานานังเกลกลัวกระเทียม หากแขวนกระเทียมไว้ที่ประตูหรือหน้าต่างบ้านจะช่วยป้องกันมานานังกัลได้ และมานานังกัลยังกลัวเกลือ หากนำเกลือมาโรยไว้ที่ ๆ พักของมานานังเกลหรือที่ลำตัวท่อนล่างที่ตัดขาดออกจากกัน จะทำให้มานานังกัลต่อตัวไม่ได้ และเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นมานานังกัลก็จะตายเหมือนเช่นผีดูดเลือดหรือแวมไพร์ชนิดอื่น เรื่องราวของมานานังกัล รวมถึงอัสวังได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ตามวัฒนธรรมร่วมสมัยในหลายครั้ง หลายเรื่อง เช่น Manananggal ในปี..

ใหม่!!: กระสือและมานานังกัล · ดูเพิ่มเติม »

มนฤดี ยมาภัย

มนฤดี ยมาภัย นักแสดงชาวไทย เป็นนางเอกยอดนิยมช่วงหนึ่ง ที่มีผลงานสร้างชื่อจากละครโทรทัศน์ ดาวพระศุกร์ (พ.ศ. 2523) และมีผลงานการแสดงมากมายเช่น นักรักรุ่นกระเตาะ นักเลงตราควาย นิสิตใหม่ แม่จอมยุ่ง กุ๊กมือเก่า บัวขาว ฯลฯ.

ใหม่!!: กระสือและมนฤดี ยมาภัย · ดูเพิ่มเติม »

ยุวดี เรืองฉาย

วดี เรืองฉาย หรือ ปู เป็นที่รู้จักจากฉายา ปู โลกเบี้ยว เกิดวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 เป็นนักแสดง พิธีกร ตลก และหมอดูชื่อดัง.

ใหม่!!: กระสือและยุวดี เรืองฉาย · ดูเพิ่มเติม »

รัชนู บุญชูดวง

รัชนู บุญชูดวง เป็นนักแสดงหญิงชาวไท.

ใหม่!!: กระสือและรัชนู บุญชูดวง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อละครโทรทัศน์ของดาราวีดีโอ

ละครของดาราวีดีโอ เป็นผลงานละครโทรทัศน์ของ บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด ที่ออกอากาศตั้งแต..

ใหม่!!: กระสือและรายชื่อละครโทรทัศน์ของดาราวีดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผีไทย

้านล่างนี้คือ รายชื่อผีไท.

ใหม่!!: กระสือและรายชื่อผีไทย · ดูเพิ่มเติม »

รุ่งกานดา เบญจมาภรณ์

รุ่งกานดา เบญจมาภรณ์ (ชื่อเล่น: แมว) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ป้าแมว ดาวพระศุกร์" เป็นนักแสดงอาวุโสท่านหนึ่ง และอดีตนักแสดงค่ายดาราวิดีโอ.

ใหม่!!: กระสือและรุ่งกานดา เบญจมาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

วรนันท์ พร้อมมูล

วรนันท์ พร้อมมูล ชื่อเล่น ต้น เป็นนักแสดงชาวไทย และเป็นดารา นักแสดงสังกัด ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น และ ดาราวีดีโอ (ช่อง 7).

ใหม่!!: กระสือและวรนันท์ พร้อมมูล · ดูเพิ่มเติม »

วีรยุทธ รสโอชา

วีรยุทธ รสโอชา เป็นนักแสดงชาวไทยที่มีหน้าตาคล้ายกับ แด๊ก ลิขิต เอกมงคล, หนุ่ย อำพล ลำพูน และ หนึ่ง วรเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ เกิดเมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: กระสือและวีรยุทธ รสโอชา · ดูเพิ่มเติม »

สาวิกา ไชยเดช

วิกา ไชยเดช มีชื่อเล่นว่า พิ้งกี้ (19 มิถุนายน พ.ศ. 2529) เป็นนักแสดงและอดีตนักร้องหญิงชาวไทย ที่มีผลงานทางละคร เพลง และภาพยนตร์ไทย รวมทั้งมีผลงานภาพยนตร์อินเดี.

ใหม่!!: กระสือและสาวิกา ไชยเดช · ดูเพิ่มเติม »

สุวัจนี ไชยมุสิก

วัจนี พานิชชีวะ (สกุลเดิม ไชยมุสิก; เกิด: 26 ธันวาคม พ.ศ. 2517) เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย สุวัจนีถือเป็นนักแสดงเจ้าบทบาทโดยเฉพาะบทนางร้าย เป็นนางร้ายลำดับต้น ๆ ของวงการละครไท.

ใหม่!!: กระสือและสุวัจนี ไชยมุสิก · ดูเพิ่มเติม »

หยาดทิพย์ ราชปาล

หยาดทิพย์ ราชปาล มีชื่อเล่นว่า หยาด หรือ ซันนี่ เป็นนางแบบและนักแสดง เกิดวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนคนเล็กในจำนวนพี่น้อง 2 คน สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ม.1-3จาก โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ม.4-ม.6จาก โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เคยศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรังสิต ก่อนสำเร็จการศึกษาและได้ย้ายไปศึกษาต่ออีกมหาวิทยาลัยกรุงเทพในภาคอินเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ เอกภาษาอังกฤษ เคยเป็นนักกีฬาเทควันโดระดับมัธยมศึกษ.

ใหม่!!: กระสือและหยาดทิพย์ ราชปาล · ดูเพิ่มเติม »

หนุ่มทิพย์

หนุ่มทิพย์ เป็นละครโทรทัศน์ไทย จากบทประพันธ์ ว.วินิจฉัยกุล สร้างเป็นละครโทรทัศน์ทั้ง 2 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2542 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และสร้างโดยดาราวิดีโอทั้ง 2 ครั้ง.

ใหม่!!: กระสือและหนุ่มทิพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ผีในวัฒนธรรมไทย

ลเพียงตา ซึ่งเป็นสิงสถิตย์ของผีที่คุ้มครองดูแลที่ดิน ชาวไทยเชื่อว่า ผีสามารถให้คุณหรือให้โทษได้ หากเซ่นสวรวงหรือบูชาไม่ถูกต้อง เช่น ผีขุนน้ำ คือ เทพอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย ซึ่งสถิตอยู่บนดอยสูง ผีขุนน้ำมักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านจะอัญเชิญมาสถิตที่หอผีที่ปลูกอย่างค่อนข้างถาวรใต้ต้นไม้เหล่านี้ ผีขุนน้ำที่อยู่ต้นแม่น้ำใด ก็มักจะได้ชื่อตามแม่น้ำนั้น เช่น ผีปันน้ำ (เทือกเขาผีปันน้ำ ในภาคเหนือ) หรือผีมด และ ผีเมง คือ ผีบรรพบุรุษตามความเชื่อของชาวล้านนา (คำว่า "มด" หมายถึงระวังรักษา) ส่วนผีเมงนี้เข้าใจกันว่ารับมาจากชนเผ่าเม็งหรือมอญโบราณ, ผีเจ้าที่ หรือพระภูมิเจ้าที่ คือผีที่รักษาประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้ดูแลรักษาเขตนั้น ๆ ดังนั้น คนโบราณเมื่อเดินทางและหยุดพักที่ใด มักจะบอกขออนุญาตเจ้าที่ทุกครั้ง นอกเหนือไปจากผีดังกล่าวแล้ว ในแต่ละท้องถิ่นยังมีผีอีกหลายประเภท เช่น ผีกละ หรือ ผีจะกละ เป็นผีที่มักเข้าสิงผู้คนเพื่อเรียกร้องจะกินอาหาร เมื่อเข้าสิงใคร ก็จะแสดงกิริยาผิดปกติไป เมื่อคนสังเกตเห็นก็มักร้องขอกินอาหารและจะกินอย่างตะกละตะกลาม จึงเรียกผีกละตามลักษณะการกิน แต่มักเขียนเป็นผีกะ หรือผีกละยักษ์ เป็นผีที่อยู่รักษาสถานที่ต่างๆ เช่น วัดร้าง, ถ้ำ หรือที่ซึ่งมีสมบัติฝังหรือซ่อนอยู่ ผีกละยักษ์จะคอยพิทักษ์สมบัติเหล่านั้น จนกว่าเจ้าของจะรับทรัพย์สินเหล่านั้นไป ในกรณีผีกละยักษ์ที่อยู่ในวัด เล่ากันว่า มักจะเป็นวิญญาณของพระหรือเจ้าอาวาสที่ผิดวินัย เมื่อตายแล้วไปเกิดไม่ได้ จึงต้องทำหน้าที่พิทักษ์วัดไปจนกว่าจะสิ้นกรรม รูปร่างของผีกละยักษ์ไม่แน่นอน บ้างก็ว่าเป็นหมูตัวใหญ่ที่มีร่างกายเป็นทองแดง บ้างก็ว่าเป็นสุนัขใหญ่สีดำสนิททั้งตัว เป็นต้น ผี มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวไทยมาแต่โบราณ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย จนเกิดเป็นข้อห้าม หรือคะลำ ในภาษาอีสานต่าง ๆ ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคไป เช่น ห้ามกินเลือด, ห้ามเลี้ยงนกฮูก, นกเค้าแมว, นกแสก, และค้างคาว, ห้ามเคาะจานข้าว, ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน หรือห้ามเผาศพในวันศุกร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: กระสือและผีในวัฒนธรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

ผีโพง

ผีโพง เป็นผีตามความเชื่อพื้นบ้านทางภาคเหนือ ผู้ที่เป็นผีโพงเกิดจากเล่นไสยศาสตร์แล้วควบคุมวิชาในตัวเองไม่ได้ หรือปลูกว่านชนิดหนึ่ง เรียกว่าว่านผีโพง ซึ่งมีสีขาว รสฉุนร้อน เมื่อแก่จะมีธาตุปรอทลงกิน ทำให้เกิดแสงส่องสว่างแบบแมงคาเรือง ผู้ที่เป็นผีโพง ในเวลากลางวันจะเป็นเหมือนผู้คนธรรมดา ๆ ทั่วไป แต่ตกกลางคืนจะกลายร่างเป็นผีโพง มีจุดเด่นคือ มีแสงสว่างหรือดวงไฟที่รูจมูก ออกหาของกิน ได้แก่ ของสกปรกคาว เช่น กบ, เขียด, ศพ หรือรกเด็กเกิดใหม่ เช่นเดียวกับผีกระสือ, ผีกระหัง หรือผีปอบ โดยปกติแล้ว ผีโพงจะไม่ทำร้ายมนุษย์ แต่ถ้าหากถูกคุกคามก็จะจู่โจมทำร้ายได้เช่นกัน หากมีผู้ใดไปทำอะไรให้ผีโพงไม่พอใจ ผีโพงจะใช้ก้านกล้วยที่ตัดใบออกหมดหรือคานคาบของแม่ม่ายพุ่งข้ามหลังคาบ้านผู้นั้น ซึ่งครอบครัวของผู้ที่โดนขว้างจะพบกับภัยพิบัติต่าง ๆ นานา ผีโพงจะตายได้ เมื่อมีผู้ไปพบปะกับผีโพงเข้าอย่างจัง และทักว่าผีโพงแท้จริงแล้วคือใคร หากผ่านพ้นมาได้หนึ่งวันแล้ว ผู้ที่เป็นผีโพงจะตาย ผีโพงสามารถถ่ายทอดให้แก่กันได้ ด้วยพ่นน้ำลายใส่หน้าหรือมีใครไปกินน้ำลายของผีโพงเข้า ที่ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อ บ้านหนองผีหลอก อยู่ห่างจากตัวอำเภอโชคชัยประมาณ 5 กิโลเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นไร่มันสำปะหลังและนาข้าว เหตุที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากคำร่ำลือที่มีมาแต่อดีตนับร้อยปีว่าที่แห่งนี้ ในอดีตมีสภาพเป็นหนองน้ำพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ติดกับทางเกวียน ในเวลาค่ำคืนมีผีโพงและผีโป่งออกมาจับกบเขียดกินเป็นอาหารบ่อย ๆ จนไม่มีผู้ใดกล้าผ่านไปในเวลากลางคืน แต่จนปัจจุบันนี้หมู่บ้านแห่งนี้ยังมิได้มีการยกฐานะเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: กระสือและผีโพง · ดูเพิ่มเติม »

จรูญ ธรรมศิลป์

รูญ ธรรมศิลป์ (ชื่อเล่น เป๊ะ) เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2499 เป็นผู้กำกับ ค่ายผลิตละคร ดาราวิดีโอ ช่อง 7 สี และมีผลงานเรื่องแรกคือเรื่อง เจ้าหญิงแตงอ่อน และได้สร้างผลงานละครหลังข่าวไว้อีกมากมาย เช่น รากนครา ฟ้าใหม่ หลงเงาจันทร์ ขิงก็ราข่าก็แรง อาเก๋ง เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยโรคมะเร็ง เมื่อช่วงเช้าวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ.

ใหม่!!: กระสือและจรูญ ธรรมศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชัย ประสงค์สันติ

งชัย ประสงค์สันติ เป็น นักร้อง, นักแสดง, พิธีกร และ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ ชาวจังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: กระสือและธงชัย ประสงค์สันติ · ดูเพิ่มเติม »

ณัทธร สมคะเน

ณัทธร สมคะเน (ชื่อเล่น: ต๊ะ, เกิด 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521) นักแสดงชายจากภาพยนตร์เรื่องกระสือ เกิดที่อังกฤษ แต่กลับมาโตที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ (ชื่อเดิม อัสสัมชัญสำโรง) และระดับปริญญาตรีจาก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเท.

ใหม่!!: กระสือและณัทธร สมคะเน · ดูเพิ่มเติม »

คลองสุนัขหอน

ลองสุนัขหอน เป็นคลองสายหนึ่งที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนในจังหวัดสมุทรสาคร กับแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดสมุทรสงคราม ในอดีตเป็นที่ตั้งชุมชนและเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง.

ใหม่!!: กระสือและคลองสุนัขหอน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานกระสือ

ตำนานกระสือ (อังกฤษ:Demonic Beauty)เป็นภาพยนตร์ของค่าย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล กำกับภาพยนตร์โดย บิณฑ์ บรรลือฤท.

ใหม่!!: กระสือและตำนานกระสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปอบ

ปอบ เป็นผีจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในความเชื่อพื้นบ้านของไทย โดยเฉพาะในภาคอีสาน โดยเชื่อกันว่าเป็นผีที่กินของดิบ ๆ สด ๆ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม โดยมีความเชื่อว่า ผู้ที่จะกลายเป็นปอบนั้น มักจะเป็นผู้เล่นคาถาอาคม หรือคุณไสย พอรักษาคาถาอาคมที่มีอยู่กับตัวไม่ได้ หรือกระทำผิดข้อห้าม ซึ่งในภาษาอีสานจะเรียกว่า "คะลำ" ซึ่งผู้ที่เป็นปอบจะเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ปอบ เป็นผีที่ไม่มีตัวตนเหมือนกระสือหรือกองกอย แต่ปอบคือจิตวิญญาณมิจฉาทิฏฐิ จะเข้าแฝงร่างสิงสู่คนที่เป็นสื่อให้ และใช้ร่างหรือรูปลักษณ์ของคนๆนั้น ไปกระทำการไม่ดีต่างๆ และเชื่อด้วยว่า หากวิญญาณปอบเข้าสิงสู่ผู้ใด จะกินตับไตไส้พุงของผู้ที่โดนสิงจนกระทั่งตาย ผู้ที่โดนกินจะนอนตายเหมือนกับนอนหลับธรรมดา ๆ ไม่มีบาดแผล ซึ่งเรียกกันว่า "ใหลตาย" ในทางมานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ อธิบายว่า ความเชื่อเรื่องปอบนั้นเป็นกลไกการสร้างความเชื่อของคนในชุมชน เนื่องจากไม่วางใจบุคคลแปลกหน้าหรือแม้แต่กระทั่งคนในชุมชนเดียวกันเอง ที่มีพฤติกรรมแปลกออกไป ซึ่งในสมัยโบราณ บุคคลที่โดนกล่าวหาว่าเป็นปอบ จะถึงกับถูกขับไล่ให้ออกชุมชนเลยทีเดียว ปอบ เป็นผีที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในสังคมไทย มีการนำไปอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประการ อาทิ ภาพยนตร์ชุด บ้านผีปอบ เป็นต้น ตามตำนานของทางพระพุทธศาสนาเล่าว่า ผีปอบ คือ ผีสายยักษ์ อยู่ในสายการปกครอง ของท้าวเวสสุวัณ ที่เข้าสิงร่างมนุษย์ ก็เพื่ออาศัยร่างมนุษย์กินอาหาร โดยเฉพาะอาหารสดคาว หรือ สัตว์เป็นๆ เช่น ไปหักคอเป็ด ไก่ ในเล้ากิน หรืออาศัยร่าง เหมือนเป็นร่างทรง จะเข้าสิงร่างมนุษย์ที่มีวิบากกรรมทางนี้ คือ อดีตเคยนับถือผีเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกยามมีทุกข์ จนเป็นประเพณีธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมา มีจิตผูกพันกับผี และกรรมทำปาณาติบาต ฆ่าสัตว์เซ่นไหว้ผี บางทีก็ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น เป็ด ไก่ บางทีก็ฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย เป็นต้น.

ใหม่!!: กระสือและปอบ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเงิน บุญหนัก

น้ำเงิน บุญหนัก หรือชื่อจริงว่า สวง จารุวิจิตร และชื่อเล่นว่า เปี๊ยก (เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2483) เป็นนักแสดงและนักพากย์ชาวไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนขัตติยาณีผดุงศึกษา เข้าสู่วงการการแสดงครั้งแรกเมื่อปี 2499 จากการชักนำของ ม.ล.ทรงสอางค์ ทิฆัมพร ผลงานแรกคือภาพยนตร์เรื่อง สาปสวรรค์ เมื่อปี..

ใหม่!!: กระสือและน้ำเงิน บุญหนัก · ดูเพิ่มเติม »

แดร๊กคูล่าต๊อก

แดร๊กคูล่าต๊อก เป็นภาพยนตร์ตลกที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: กระสือและแดร๊กคูล่าต๊อก · ดูเพิ่มเติม »

โขมด

มด เป็นผีชนิดหนึ่ง มาจากภาษาเขมร (ខ្មោច "โขฺมจ") แปลว่าผีทั่วไปบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: กระสือและโขมด · ดูเพิ่มเติม »

ไทโคราช

ทเบิ้ง ไทเดิ้ง หรือไทโคราช เป็นกลุ่มชนพื้นถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน.

ใหม่!!: กระสือและไทโคราช · ดูเพิ่มเติม »

เสาวลักษณ์ ศรีอรัญญ์

วลักษณ์ ศรีอรัญญ์ (ปุ๋ย) เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2515 เริ่มจากได้รับตำแหน่ง มิสทีนไทยแลนด์ คนแรก ในปี 2532 หลังจากนั้นได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี..

ใหม่!!: กระสือและเสาวลักษณ์ ศรีอรัญญ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กระสือ (ผี)ผีกระสือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »