โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ

ดัชนี กระทรวงกลาโหมสหรัฐ

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ (United States Department of Defense; ย่อ: DoD) เป็นกระทรวงของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ ที่ทำหน้าที่ประสานงานและตรวจตราการทำงานและหน่วยงานราชการของรัฐบาลสหรัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของชาติและการทหาร.

44 ความสัมพันธ์: ชัค เฮเกลพ.ศ. 2544กระทรวงกลาโหมกระทรวงกองทัพบกสหรัฐกระทรวงกองทัพอากาศสหรัฐกระทรวงกองทัพเรือสหรัฐกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิกระทรวงในรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐกองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฎิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิดกองทัพอากาศสหรัฐกองทัพเรือสหรัฐการยึดกรุงไซ่ง่อนมหาวิทยาลัยนอร์วิชมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีรอเบิร์ต เกตส์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกองทัพบกสหรัฐรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาลรายชื่อตัวละครในดาย ฮาร์ดศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐสำนักข่าวกรองกลางสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสงครามเวียดนามจอร์จ ดับเบิลยู. บุชทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)ดาร์ปาคริสต์ทศวรรษ 2000คณะเสนาธิการร่วมซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3ประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ตประธานคณะเสนาธิการร่วมโบลว์ฟิชเมษายน พ.ศ. 2548เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นฟอร์เรสตัลเอสทีเอส-27เอ็ม1 เอบรามส์เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์เดอะเพนตากอนGovernment Accountability Office.com11 กันยายน

ชัค เฮเกล

ลส์ ทิโมธี เฮเกล (Charles Timothy Hagel) หรือ ชัค เฮเกล (Chuck Hagel) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกันซึ่งเคยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาคนที่ 24 ตั้งแต่เดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและชัค เฮเกล · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกลาโหม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกระทรวงกลาโหม · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกองทัพบกสหรัฐ

กระทรวงทหารบกสหรัฐ (อังกฤษ: United States Department of the Army; ตัวย่อ: DA) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่กองทัพสหรัฐจัดขึ้นและนำโดยอธิบดีกระทรวงทหารบกสหรัฐซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายภายใต้อนุสัญญา 10 USC § 3013 เพื่อดำเนินกิจการและกำหนดระเบียบสำหรับรัฐบาลของตนภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและทิศทางของกระทรวงกลาโหมและประธานาธิบดี อธิบดีกระทรวงหารบกสหรัฐเป็นข้าราชการพลเรือนที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีและได้รับการยืนยันจากวุฒิสภา เจ้าหน้าที่อาวุโสคนอื่น ๆ ของกระทรวงคือรองปลัดกระทรวง และรองเสนาธิการทหารบก.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกระทรวงกองทัพบกสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกองทัพอากาศสหรัฐ

กระทรวงกองทัพอากาศสหรัฐ (United States Department of the Air Force; ตัวย่อ: DAF) เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกระทรวงกองทัพอากาศสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกองทัพเรือสหรัฐ

กระทรวงกองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Department of the Navy; ตัวย่อ: DoN) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ Act of Congress เมื่อวันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกระทรวงกองทัพเรือสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) เป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อแรกก่อในปี..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงในรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ

กระทรวงในรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ เป็นหน่วยงานประเภทกระทรวงของรัฐบาลกลางสหรัฐ โดยที่ปกครองแบบระบบทั่วไปของกระทรวงที่อยู่ในการปกครองแบบระบบรัฐสภาหรืออาจจะเป็นระบบกึ่งประธานาธิบดี แต่สหรัฐอยู่ในระบบประธานาธิบดี ซึ่งจะมีหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้นำ กระทรวงในรัฐบาลกลางสหรัฐจะถูกกำหนดโดยประธานาธิบดีสหรัฐ ปัจจุบันมีรัฐมนตรีกระทรวง 15 คน ผู้นำกระทรวงในรัฐบาลกลางสหรัฐมักจะถูกเรียกว่า รัฐมนตรี แต่ยกเว้นกระทรวงยุติธรรมสหรัฐที่จะเรียกผู้นำกระทรวงว่า อัยการสูงสุด (ในกระทรวงสำนักงานไปรษณีย์สหรัฐจะเรียกผู้นำกระทรวงว่า นายไปรษณีย์ใหญ่ ซึ่งเรียกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ผู้นำกระทรวงในรัฐบาลกลางสหรัฐจะถูกจัดตั้งโดยประธานาธิบดีสหรัฐ และต้องได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาสหรัฐ และก็ตามดุลพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐ สมาชิกผู้นำกระทรวงในรัฐบาลกลางสหรัฐจะถูกเรียกว่า คณะรัฐมนตรีสหรัฐ ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษาให้กับประธานาธิบดีสหรัฐ ในทัศนะความเห็น (บท 2, ส่วน 2, วรรค 1) ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ ผู้นำกระทรวงในรัฐบาลกลางสหรัฐมีความหมายถึง "ผู้ที่เป็นผู้นำสูงสุดของแต่ละกระทรวงนั้นๆ" ผู้นำกระทรวงในรัฐบาลกลางสหรัฐมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งตลอดของประธานาธิบดี จนกว่าประธานาธิบดีสหรัฐจะออกจากราชการ ถ้าในกรณีตำแหน่งว่าง รองประธานาธิบดี, สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจะต้องเข้ารับดำรงตำแหน่งต่อในกระทรวงที่ว่าง.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกระทรวงในรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฎิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด

กองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฏิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด (Combined Joint Task Force – Operation Inherent Resolve; อักษรย่อ: CJTF–OIR) เป็นกองกำลังเฉพาะกิจร่วม ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐ เพื่อต่อต้านรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ไอเอสไอแอล) ที่จัดขึ้นโดยกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐเพื่อประสานความร่วมมือทางทหารในการต่อต้านไอเอสไอแอล (ดาอิซ) และประกอบด้วยกองกำลังทหารสหรัฐกับบุคลากรจากกว่า 30 ประเทศ เป้าหมายที่ระบุไว้ของกองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฏิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด คือ "ลดและทำลาย" ไอเอสไอแอล ซึ่งจัดตั้งโดยกองบัญชาการทหารส่วนกลางของสหรัฐ ที่ได้มีการประกาศในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม–ปฎิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศสหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐ (United States Air Force; USAF) คือกองกำลังพิเศษทางอากาศและอวกาศของกองทัพสหรัฐ และเป็นกองกำลังหนึ่งในเจ็ดของหน่วยงานที่ใส่เครื่องแบบของสหรัฐ ในอดีตวันที่ 1 สิงหาคม..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกองทัพอากาศสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือสหรัฐ

ระวังสับสนกับ กระทรวงทหารเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกองทัพเรือสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

การยึดกรุงไซ่ง่อน

การยึดกรุงไซ่ง่อน (หรือเรียกว่า การเสียกรุงไซ่ง่อน โดยผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ หรือ การปลดปล่อยไซ่ง่อน โดยผู้สนับสนุนเวียดนามเหนือ) คือการยึดเมืองหลวงของเวียดนามใต้ กรุงไซ่ง่อน โดยกองทัพประชาชนเวียดนาม (PAVN) และแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 เหตุการณ์นี้ทำให้สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง และทำให้ช่วงถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลเวียดนามเหนือเริ่มต้นขึ้น ทำให้เวียดนามทั้งสองฝ่ายกลับมารวมประเทศกันอีกครั้งอย่างเป็นทางการ ภายใต้รัฐระบอบคอมมิวนิสต์ กองกำลังเวียดนามเหนือที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพลเอกอาวุโสหวั่น เตี๋ยง จุ๋ง เริ่มดำเนินการโจมตีกรุงไซ่ง่อนเป็นครั้งสุดท้าย โดยเริ่มจากการเปิดฉากระดมยิงอย่างหนักจากกองปืนใหญ่ของพลเอกเหวียน วัน ต่วนในวันที่ 29 เมษายน ในตอนบ่าย ทหารเวียดนามเหนือก็สามารถยึดจุดสำคัญๆ ภายในเมือง และเชิญธงชาติเวียดนามเหนือขึ้นเหนือทำเนียบประธานาธิบดีแห่งเวียดนามใต้ได้สำเร็จ หลังจากนั้นไม่นานเวียดนามใต้ก็ยอมจำนน กรุงไซ่ง่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมินห์ ตามชื่อผู้นำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ โฮจิมินห์ โดยก่อนที่เมืองจะถูกยึด มีการอพยพบุคลากรอเมริกันแทบทั้งหมด ทั้งพลเรือนและทหารออกจากไซ่ง่อน อีกทั้งยังอพยพพลเรือนเวียดนามใต้อีกหลายหมื่นคนที่ทำงานให้กับรัฐบาลเวียดนามใต้ออกจากกรุงไปด้วย การอพยพครั้งนี้ริเริ่มปฏิบัติการฟรีเควียนท์วินด์ (Operation Frequent Wind) ซึ่งเป็นการอพยพทางเฮลิคอปเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อสิ้นสุดสงคราม หลังจากที่มีผู้อพยพลี้ภัยเป็นจำนวนมาก รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ทำให้จำนวนประชากรของเมืองลดน้อยลงไปอีก ด้วยการให้ประชากรบางส่วนให้ไปอยู่นอกเมือง โดยการบังคับหรือเพื่อแลกกับอาหาร.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและการยึดกรุงไซ่ง่อน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนอร์วิช

มหาวิทยาลัยนอร์วิช (Norwich University; NU) เป็นมหาวิทยาลัยการทหารเอกชน ที่ตั้งอยู่ในเมือง นอร์ธฟิลด์ รัฐ เวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและมหาวิทยาลัยนอร์วิช · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต เกตส์

รอเบิร์ต ไมเคิล เกตส์ (Robert Michael Gates) เป็นรัฐบุรุษชาวอเมริกัน เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนที่ 22 ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2011 เขาทำงานในสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) และสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นเวลายาวนานถึง 26 ปี และเป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช นอกจากนี้เขายังเคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐ หลังจากลาออกจากซีไอเอ เขาไปดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีและกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม นอกจากนี้ เขายังเป็นหนึ่งในฝ่ายวิคราะห์อิรัก (ISG) ของรัฐสภาสหรัฐ เพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับสงครามในอิรัก เกตส์ได้รับการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในปี 2006 แทนที่โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งสองพรรค ในปี 2007 นิตยสาร Times ได้จัดให้เขาเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งปี.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและรอเบิร์ต เกตส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (Secretary of Defense) เป็นหัวหน้าและประธานบริหารกระทรวงกลาโหม อันเป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐDoDD 5100.1: Enclosure 2: a อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเหนือกองทัพสหรัฐอเมริกานั้นเป็นรองเพียงประธานาธิบดีTrask & Goldberg: p.11 ประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีโดยจารีตประเพณี และเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติตามกฎหม.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกองทัพบกสหรัฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกองทัพบกสหรัฐ (-en SECARM หรือ SECARMY) เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนอาวุโสในกระทรวงกลาโหมสหรัฐ มีความรับผิดชอบตามกฎหมายสำหรับทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกองทัพสหรัฐฯ ทรัพยากรบุคคล บุคลากร การกำลังสำรอง การแต่งตั้งกำลังพล ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ระบบอาวุธ การครอบครองยุทธพันธ์ การสื่อสารและการจัดการทางการคลัง ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกองทัพบก ได้รับการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีสหรัฐ และลงมติรับรองโดยวุฒิสภาสหรัฐ ตำแหน่งรัฐมนตรีนี้ไม่เทียบเท่ากับข้าราชการระดับรัฐมนตรี โดยอยู่ภายใต้สายบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ตำแหน่งนี้มาแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม ในวันที่ 18 กันยายน 1947 เมื่อกระทรวงการสงครามสหรัฐได้ลดฐานะไปเป็นกระทรวงกองทัพบกสหรัฐและอยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2017 มาร์ก เอสปีร์ ได้รับความยินยอมและเห็นชอบให้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2017 ได้เข้าพิธีสาบานตน.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกองทัพบกสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

รัฐประหารในประเทศไท..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาล

ในหลายสังคมได้มีการห้ามหนังสือบางเล่ม รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาลที่ปรากฏข้างล่างนี้เป็นเพียงบางส่วนของรายชื่อหนังสือทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามโดยรัฐบาลด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง การห้ามอาจจะเป็นการห้ามระดับชาติหรือระดับรองและบางครั้งอาจจะมีโทษทางกฎหมายถ้าละเมิด นอกจากการห้ามทางกฎหมายแล้วก็อาจจะเป็นการห้ามโดยสถาบันศาสนาโดยการห้ามไม่ให้ผู้นับถือศาสนาอ่านหนังสือที่ห้าม แต่โดยปราศจากโทษทางอาญา แต่บางครั้งการห้ามก็อาจจะได้รับการยกเลิกเมื่อมีการท้าทายกันในศาล และศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการห้ามเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหม.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและรายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในดาย ฮาร์ด

ทความนี้เกี่ยวกับรายชื่อตัวละครหลักในภาพยนตร์ชุด ดาย ฮาร์ด ตั้งแต่ภาค 1-5.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและรายชื่อตัวละครในดาย ฮาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม

ูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) เป็นศูนย์ใน กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา - กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ทำงานที่ศูนย์พยากรณ์อากาศทางทะเลกองทัพเรือ (Naval Maritime Forecast Center) ในท่าเรือเพิร์ล, รัฐฮาวาย JTWC จะรับผิดชอบตรวจสอบพายุหมุนเขตร้อนและออกคำเตือนให้กับประเทศทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก, ทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย สำหรับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาจะรับผิดชอบสหรัฐอเมริกาและไมโครนีเซีย ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นมีจุดประสงค์คือ ป้องกันกองทัพเรือและกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาและติดต่อกับประเทศอื่นๆทั่วโลกด้วยJoint Typhoon Warning Center.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักข่าวกรองกลาง

ำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency) หรือย่อว่า ซีไอเอ (CIA) เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือนของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจากทั่วโลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของชุมชนข่าวกรองสหรัฐ (U.S. Intelligence Community; IC) สำนักข่าวกรองรายงานต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence; DNI) และจะเน้นไปที่การหาข่าวกรองให้ ประธานาธิบดีสหรัฐ และ คณะรัฐมนตรีสหรัฐ เป็นหลัก ไม่เหมือนกับ สำนักงานสอบสวนกลาง ที่เป็นหน่วยงานราชการความมั่นคงภายใน สำนักข่าวกรองกลางไม่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวมข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดเฉพาะในการที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวกรองกลางไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น มันยังมีหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการระดับชาติในการประสานงานกับหน่วนงานต่างๆที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการข่าวกรองทางมนุษย์ทั้งหมด ในชนชุมข่าวกรองสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักข่าวกรองกลางเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย ในการดำเนินการและดูแลการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น (Covert Action/Operation) โดยคำสั่งประธานาธิบดี สำนักข่าวกรองกลางสามารถควบคุมอิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทางแผนกยุทธวิธีของตน อย่างเช่น แผนกปฏิบัติการณ์พิเศษ (Special Activities Division; SAD) ก่อนจะมีรัฐบัญญัติการปฏิรูปการข่าวกรองและการป้องกันการก่อการร้าย (Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นหัวหน้าชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสำนักข่าวกรองถูกจัดระเบียบภายใต้ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้จะมีการถ่ายโอนอำนาจบางส่วนไปยังผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติก็ตาม สำนักข่าวกรองกลางได้มีขนาดเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ในปี..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและสำนักข่าวกรองกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ

ำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency) หรือย่อว่า เอ็นเอสเอ (NSA) เป็นองค์กรข่าวกรองของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่สังเกตการณ์ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลเพื่อหาข่าวกรองต่างประเทศและหน้าที่การต่อต้านการข่าวกรองของประเทศอื่น โดยใช้ข่าวกรองทางสัญญาณ (Signal Intelligence; SIGINT) สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการปกป้องระบบการสื่อสารและข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ จากการสงครามทางการแทรงซึมและเครือข่าย แม้ว่าหลายๆการทำงานสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติจะเป็นการพึ่งพาในการรวบรวมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างอดทน แต่สำนักงานก็ได้รับอนุญาตในการทำภารกิจให้สำเร็จโดยการปฏิบัติการณ์ลับ รวมไปกับระบบการดักฟังทางอิเล็กทรอนิกส์ และได้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการก่อวินาศกรรมผ่าน Stuxnet มากกว่านั้นสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติมีเจ้าหน้าที่จำนวนมากอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ที่ซึ่งหน่วยงานราชการการรวบรวมพิเศษ (Special Collection Service; SCS) ได้ติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังไว้ในพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึง ยุทธวิธีการรวบรวมของหน่วยงานราชการรวบรวมพิเศษถูกกล่าวหาว่าหมายรวมถึง การเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด การลักทรัพย์ การดักฟังสาย และการบุกรุกเข้าไป ไม่เหมือนกับองค์ข่าวกรองกลาโหม (Defense Intelligence Agency; DIA) และ สำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency; CIA) ทั้งคู่เป็นการหาข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติไม่มีการรวบรวมขาวกรองจากแหล่งข่าวทางมนุษย์ แม้มักจะถูกทำให้เหมือนอย่างนั้นในวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอดนิยม (จำพวกหนังสือ เกมส์ ภาพยนต์หรือซีรีส์ต่างๆ) ในความเป็นจริงสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติได้รับความไว้วางใจด้วยความช่วยเหลือและการประสานงานในด้านข่าวกรองทางสัญญาณกับองค์รัฐบาลอื่นๆ ซึ่งถูกป้องกันโดยกฎหมายในการกระทำปฏิบัติการณ์ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติผ่านทาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในฐานะที่เป็นหนึ่งของความรับผิดชอบเหล่านี้ สำนักงานได้มีองค์กรที่ตั้งอยู่ร่วมกันเรียกว่า หน่วยงานราชการความมั่นคงกลาง (Central Security Service; CSS) ซึ่งที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานงานระหว่างสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานการเข้ารหัสลับอื่นๆของ กองทัพสหรัฐ นอกจากนี้ผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ ยังทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองสั่งการไซเบอร์สหรัฐฯ (United States Cyber Command; USCYBERCOM) และเป็นหัวหน้าหน่วยงานราชการความมั่นคงกลาง ไปพร้อมๆกันด้ว.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

รืออากาศโท จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช (George Walker Bush) เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 43 บุชสังกัดพรรครีพับลิกัน และเกิดในตระกูลบุชซึ่งเป็นตระกูลนักการเมืองตระกูลใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยพ่อของเขาคือ จอร์จ บุช ประธานาธิบดีคนที่ 41 และน้องชายเขา เจบ บุช เป็นอดีตผู้ว่าการมลรัฐฟลอริดา ก่อนเริ่มเล่นการเมือง จอร์จ ดับเบิลยู บุชเป็นนักธุรกิจบ่อน้ำมัน และเป็นเจ้าของทีมเบสบอล เทกซัส เรนเจอร์ (Texas Rangers) เขาเริ่มเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นโดยเป็นผู้ว่าการรัฐเทกซัสคนที่ 46 ชนะการเสนอชื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน และชนะการเลือกตั้งต่อรองประธานาธิบดี อัล กอร์ใน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และได้รับการเลือกตั้งสมัยที่สองเมื่อ พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) โดยเอาชนะวุฒิสมาชิก จอห์น เคร์รี ของ พรรคเดโมแครต.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและจอร์จ ดับเบิลยู. บุช · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

#ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรั.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ)

ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายกิจการความมั่นคงแห่งชาติ (Assistant to the President for National Security Affairs, ย่อ APNSA) หรือ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor, ย่อ NSA) The National Security Advisor and Staff: p. 1.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ (สหรัฐ) · ดูเพิ่มเติม »

ดาร์ปา

ำนักโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหม (Defense Advanced Research Projects Agency) หรือ DARPA คือหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐที่มีหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีใหม่สำหรับการใช้งานทางทหาร หน่วยงานดังกล่าวถูกตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและดาร์ปา · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 2000

ริสต์ทศวรรษ 2000 (2000s) คือคริสต์ทศวรรษตามปฏิทินเกรโกเรียน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและคริสต์ทศวรรษ 2000 · ดูเพิ่มเติม »

คณะเสนาธิการร่วม

ณะเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff, ย่อ: JCS) เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารระดับสูงสุดในกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางทหาร คณะเสนาธิการร่วมซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการกองทัพบก, เสนาธิการกองทัพอากาศ, หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกองทัพเรือ, ผู้บัญชาการเหล่านาวิกโยธิน และหัวหน้าสำนักคุ้มกันแห่งชาติ ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติปี..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและคณะเสนาธิการร่วม · ดูเพิ่มเติม »

ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3

ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 (C-17 Globemaster III) เป็นเครื่องบินขนส่งทางทหารขนาดใหญ่ ซี-17 นั้นถูกสร้างให้กับกองทัพอากาศสหรัฐตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2523-2533 โดยแมคดอนเนลล์ ดักลาส เครื่องบินนั้นใช้ชื่อเหมือนกับเครื่องบินสองรุ่นก่อนหน้าที่ใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐเช่นกัน นั่นคือซี-74 โกลบมาสเตอร์และซี-124 โกลบมาสเตอร์ 2 ซี-17 ถูกใช้เพื่อทำการลำเลียงอยู่บ่อยครั้ง ทั้งทหารและสินค้า เพื่อส่งไปยังฐานปฏิบัติการหลักหรือฐานปฏิบัติการในแนวหน้าทั่วโลก มันมีความสามารถในการขนส่งหน่วยรบเข้าสู่สมรภูมิได้อย่างต่อเนื่องพร้อมกับดำเนินการส่งเสบียงต่อไป ซี-17ยังสามารถให้การลำเลียงทางยุทธวิธี อพยพคนเจ็บ และการปล่อยพลร่ม.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ต

ประวัติอินเทอร์เน็ต เป็นการศึกษาความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต ความคิดเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายเดียวที่สามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถสื่อสารกันได้นั้นได้มีการพัฒนาผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกัน การหลอมรวมกันของการพัฒนาเหล่านั้นได้นำไปสู่เครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลายที่รู้จักกันในชื่อว่า อินเทอร์เน็ต การพัฒนาเหล่านั้นมีทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี และการรวมโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน ความคิดเรื่องนี้ในครั้งแรก ๆ ปรากฏขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หากแต่การนำแนวคิดเหล่านี้ไปปฏิบัติได้จริงนั้นเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เทคโนโลยีซึ่งนับได้ว่าเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตสมัยใหม่นั้นได้เริ่มแพร่หลายออกไปทั่วโลก ในคริสต์ทศวรรษ 1990 การมาถึงของเวิลด์ไวด์เว็บได้ทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ประธานคณะเสนาธิการร่วม

ประธานคณะเสนาธิการร่วม (อังกฤษ: Chairman of the Joint Chiefs of Staff หรือ CJCS) เป็นประธานของคณะเสนาธิการร่วม อันเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารระดับสูงสุดในกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่รับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางทหาร คณะเสนาธิการร่วมซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการกองทัพบก, เสนาธิการกองทัพอากาศ, หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกองทัพเรือ, ผู้บัญชาการเหล่านาวิกโยธิน และหัวหน้ากองกำลังพิทักษ์ชาติ ประธานคณะเสนาธิการร่วมคนปัจจุบัน คือ พล.อ. โจเซฟ ดันฟอร์ด จากหน่วยนาวิกโยธิน หมวดหมู่:ประธานคณะเสนาธิการร่วม หมวดหมู่:คณะเสนาธิการร่วม.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและประธานคณะเสนาธิการร่วม · ดูเพิ่มเติม »

โบลว์ฟิช

Diagram of Blowfish Diagram of Blowfish's F function โบลว์ฟิช (Blowfish) ในวิทยาการเข้ารหัสลับนั้น เป็นการเข้ารหัสวิธีหนึ่งซึ่งใช้วิธีการเข้ารหัสแบบบล็อก (Block Cipher) และคีย์แบบสมมาตร (Symmetric Key) ซึ่งได้รับการออกแบบในปี..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและโบลว์ฟิช · ดูเพิ่มเติม »

เมษายน พ.ศ. 2548

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและเมษายน พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นฟอร์เรสตัล

ูเอสเอส ฟอร์เรสตัล (CV-59) เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นฟอร์เรสตัล (Forrestal class aircraft carrier) เป็นชั้นของเรือบรรทุกเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยกังหันไอน้ำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ออกแบบและสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นแรกที่สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีระวางขับน้ำ 75,000 ตัน มากกว่ารุ่นก่อนหน้า (เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นมิดเวย์) ประมาณ 25% และเป็นต้นแบบของเรือบรรทุกเครื่องบินในยุคปัจจุบัน ตั้งชื่อตามชื่อของเจมส์ ฟอร์เรสตัล อดีตรัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือสหรัฐอเมริกา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาคนแรก ในสมัยประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน เรือบรรทุกเครื่องบินในชั้นนี้ มีด้วยกันทั้งสิ้น 4 ลำ ปัจจุบันปลดประจำการแล้วทั้งหมด ในจำนวนนี้ 2 ลำจะถูกจมลง เพื่อใช้เป็นปะการังเทียม อีกลำหนึ่งจะอนุรักษ์ไว้เป็นพิพิธภัณฑ.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นฟอร์เรสตัล · ดูเพิ่มเติม »

เอสทีเอส-27

STS-27 เป็นภารกิจการส่งกระสวยอวกาศของนาซาครั้งที่ 27 และเป็นเที่ยวบินครั้งที่ 3 ของกระสวยอวกาศแอตแลนติส STS-27 ถูกเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1988 ใช้เวลาในการปฏิบัติภารกิจสี่วัน เป็นภารกิจการส่งกระสวยอวกาศครั้งที่สองหลังจากที่เกิดเหตุภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์เมื่อมกราคม ค.ศ. 1986 ข้อมูลของ STS-27 ถูกจัดเก็บโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ระบบบกันความร้อนของกระสวยอวกาศในภารกิจนี้ได้รับความเสียหายอย่างมากในระหว่างการลิฟ-ออฟ (lift-off) ซึ่งยังกระทบกับปีกด้านขวาของกระสวยอวกาศอีกด้วย ฮูต กิบสัน เมื่อเขาได้เห็นความเสียหายของกระสวยอวกาศ เขาได้กล่าวว่า "วีอาร์โกอิ่งทูดาย" (พวกเรากำลังไปสู่ความตาย) เหตุการณ์นี้มีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของ STS-107 เมื่อ 15 ปีที่แล้วที่เกิดจากระบบความร้อนเสียหายระหว่างกับโลก แต่เหตุการณ์ในกระสวยอวกาศภารกิจนี้สามารถขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ และปฏิบัติภารกิจได้สำเร็.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและเอสทีเอส-27 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ม1 เอบรามส์

อ็ม1 เอบรามส์ (M1 Abrams) เป็นรถถังหลักรุ่นที่สามของสหรัฐอเมริกา ชื่อของมันมาจากนายพลเครกตัน เอบรามส์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐในสงครามเวียดนามตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและเอ็ม1 เอบรามส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์

"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" (The Star-Spangled Banner แปลว่า ธงอันแพรวพราวด้วยดารา) เป็นเพลงชาติประจำสหรัฐ โดยเนื้อเพลงมาจากกวีนิพนธ์ชื่อว่า "การต่อสู้พิทักษ์ป้อมแม็กเฮ็นรี่ (Defence of Fort M'Henry)" ซึ่งประพันธ์ขึ้นในวันที่ 14 กันยายน..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและเดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเพนตากอน

อะเพนตากอน (The Pentagon) หรือ อาคารเพนตากอน เป็นอาคารที่ทำการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เคานตีอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย อาคารเพนตากอนรูปห้าเหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ทางการทหารของสหรัฐอเมริกา อาคารเพนตากอนเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นอาคารสำนักงานที่มีพนักงานมากที่สุดในโลก และเคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับตามปริมาณพื้นที่ใช้สอย) ปัจจุบันมีพนักงานทั้งทหารและพลเรือนทำงานมากกว่า 23,000 คน และพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหารอีกกว่า 3,000 คน รูปทรงของเพนตากอนเป็นรูปห้าเหลี่ยม ตัวอาคารมีห้าชั้น และแต่ละชั้นแบ่งเป็นวงย่อยๆ ห้าวงซ้อนกัน บริเวณใจกลางของเพนตากอนมีอาณาเขต 20,000 ตร.ม. นับเป็นอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลกที่ทหารไม่จำเป็นต้องทำความเคารพนายทหารชั้นสัญญาบัตร (ตามปกติในที่โล่ง เมื่อสวมหมวกจะต้องทำความเคารพเสมอ).

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและเดอะเพนตากอน · ดูเพิ่มเติม »

Government Accountability Office

Government Accountability Office (ตัวย่อ GAO แปลว่า "สำนักงานความรับผิดชอบรัฐบาล") เป็นหน่วยงานรัฐบาลที่ให้บริการตรวจสอบบัญชี การประเมิน และการสืบสวน แก่รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นสถาบันตรวจสอบสูงสุดของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและGovernment Accountability Office · ดูเพิ่มเติม »

.com

.com เป็นโดเมนระดับบนสุดตามหมวด (gTLD) ในระบบการตั้งชื่อโดเมนบนอินเทอร์เน็ต ย่อมาจากคำว่า commercial แสดงถึงวัตถุประสงค์ในตอนเริ่มแรกว่าใช้สำหรับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์โดยทั่วไป ในปัจจุบันไม่มีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับผู้ขอจัดตั้งชื่อโดเมน (จดโดเมน).com ดังนั้นบุคคล บริษัท องค์กร หรือกลุ่มบุคคลใด ๆ ก็สามารถจดโดเมนที่เป็น.com ได้ ปัจจุบัน.com เป็นโดเมนที่มีการใช้งานมากที่สุด โดเมน.com เริ่มแรกดูแลจัดการโดยกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันนี้บริหารงานโดยเวอริไซน์ การจดทะเบียน.com สามารถกระทำผ่านผู้รับจดทะเบียนที่ได้รับรองโดยบรรษัทอินเทอร์เน็ตว่าด้วยการกำหนดชื่อและหมายเลข (ICANN) ชื่อที่จดทะเบียนจะได้รับการยอมรับให้เป็นชื่อโดเมนสากล โดเมน.com เป็นโดเมนระดับบนสุดตามหมวด ที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและ.com · ดูเพิ่มเติม »

11 กันยายน

วันที่ 11 กันยายน เป็นวันที่ 254 ของปี (วันที่ 255 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 111 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กระทรวงกลาโหมสหรัฐและ11 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »