โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ

ดัชนี กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ

150px กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacrum) เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลัง ซึ่งเดิมมี 8 ชิ้น แต่จะเชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และจะต่อกับกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) โดยจะมีช่องเปิด (sacral foramina) เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่ไปยังบริเวณเชิงกรานแล.

8 ความสัมพันธ์: กระดูกรูปร่างไม่แน่นอนรายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์วิวัฒนาการของมนุษย์ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพแอนเดรียส เวซาเลียสเชิงกรานICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน

กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน (Irregular bone) เป็นกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งที่ลักษณะแปลกเฉพาะ ไม่สามารถจัดให้อยู่ในกลุ่มของกระดูกยาว, กระดูกสั้น, กระดูกแบน, หรือกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อได้ กระดูกชนิดนี้มีหน้าที่หลากหลายภายในร่างกาย เช่น ปกป้องเนื้อเยื่อประสาท (เช่นกระดูกสันหลังช่วยปกป้องไขสันหลัง), เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) (เช่นในกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum)), ช่วยค้ำจุนคอหอย (pharynx) และท่อลม (trachea), และเป็นจุดเกาะของลิ้น (เช่น กระดูกไฮออยด์ (hyoid)) กระดูกรูปร่างไม่แน่นอนประกอบด้วยชั้นกระดูกเนื้อแน่น (compact bone) บางๆ ที่หุ้มล้อมรอบกระดูกเนื้อโปร่ง (cancellous tissue) ตัวอย่างของกระดูกรูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กระดูกสันหลัง (vertebræ), กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum), กระดูกก้นกบ (coccyx), กระดูกขมับ (temporal), กระดูกสฟีนอยด์ (sphenoid), กระดูกเอทมอยด์ (ethmoid), กระดูกโหนกแก้ม (zygomatic), กระดูกขากรรไกรบน (maxilla), กระดูกขากรรไกรล่าง (mandible), กระดูกเพดานปาก (palatine), กระดูกก้นหอยของจมูกชิ้นล่าง (inferior nasal concha), และกระดูกไฮออยด์ (hyoid).

ใหม่!!: กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและกระดูกรูปร่างไม่แน่นอน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์

รงกระดูกของผู้ใหญ่ โดยทั่วไปประกอบด้วยกระดูก 206-350 ชิ้น ขึ้นกับอายุ จำนวนของกระดูกของแต่ละคนอาจแตกต่างกันขึ้นกับความหลากหลายทางกายวิภาค (anatomical variation) เช่น ประชากรมนุษย์จำนวนหนึ่งที่มีกระดูกซี่โครงต้นคอ (cervical rib) หรืออาจมีจำนวนกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวเกินมา (ตัวเลขในวงเล็บแสดงจำนวนของกระดูกในบริเวณนั้นๆ ตัวเลข ตัวหนา หลังชื่อแสดงตำแหน่งของกระดูกในภาพทางขวา) The human skeleton.

ใหม่!!: กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและรายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์

รายชื่อกล้ามเนื้อของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่างประมาณ 640 มัด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจำนวนกล้ามเนื้อที่แน่นอนก็ยังไม่แน่ชัดเพราะแต่ละแหล่งข้อมูลก็มีการจัดกลุ่มกล้ามเนื้อแตกต่างกัน ทำให้จำนวนกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์มีตั้งแต่ 640-850 มัด ซึ่งตารางนี้มีรายชื่อกล้ามเนื้อประมาณ 320 มัด หน้าที่ของกล้ามเนื้อในตารางนี้เป็นหน้าที่มาตรฐานเมื่อร่างกายอยู่ในตำแหน่าค (anatomical position) ในตำแหน่งร่างกายอื่นๆ กล้ามเนื้ออาจมีหน้าที่ที่ต.

ใหม่!!: กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและรายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตใดก็ได้ ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งทั้งกลุ่มสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษของมันและกลุ่มลูกหลานของมันมีร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นเศษ ในกรณีที่กลุ่มลูกหลานมีกายวิภาคและการดำรงชีวิตที่ต่างกันอย่างมากจากกลุ่มบรรพบุรุษ ซากดึกดำบรรพ์เช่นนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า การแบ่งหน่วยอนุกรมวิธานเป็นอะไรที่มนุษย์สร้างขึ้นในภายหลัง แล้วกำหนดใส่สิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนและมีความแตกต่างแบบต่อเนื่อง ปกติจะไม่มีทางรู้ได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่ง ๆ อยู่ใกล้จุดที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ วิวัฒนาการเบนออกจากกันแค่ไหน เพราะบันทึกซากดึกดำบรรพ์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถสมมุติได้ว่า สิ่งมีชีวิตช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่งเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่อ ๆ มา แม้นักวิทยาศาสตร์อาจจะใช้มันเป็นแบบของบรรพบุรุษ ในปี..

ใหม่!!: กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ · ดูเพิ่มเติม »

แอนเดรียส เวซาเลียส

แอนเดรียส เวซาเลียส แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) (บรัสเซลส์, 31 ธันวาคม ค.ศ. 1514 - ซาคินธอส, 15 ตุลาคม ค.ศ. 1564) นักกายวิภาคศาสตร์ แพทย์ และผู้เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์ชื่อ “โครงสร้างของร่างกายมนุษย์” (De humani corporis fabrica) เวซาเลียสถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งกายวิภาคศาสตร์มนุษย์สมัยใหม่ เวซาเลียส (Vesalius) เป็นชื่อภาษาละตินของ อันเดรอัส ฟาน เวเซล (Andreas van Wesel) บางครั้งอาจเรียกชื่อของเขาว่า Andreas Vesal.

ใหม่!!: กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและแอนเดรียส เวซาเลียส · ดูเพิ่มเติม »

เชิงกราน

งกราน (pelvis) เป็นโครงสร้างกระดูกของร่างกายที่อยู่ปลายล่างของกระดูกสันหลัง จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hipbone), กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum), และกระดูกก้นกบ (coccyx) กระดูกสะโพกประกอบด้วยกระดูกย่อยๆ 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกปีกสะโพก (ilium), กระดูกก้น (ischium), และกระดูกหัวหน่าว (pubis) กระดูกปีกสะโพกเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดและเป็นส่วนบนสุด กระดูกก้นเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังเยื้องด้านล่าง และกระดูกหัวหน่าวเป็นส่วนหน้าของกระดูกสะโพก กระดูกสะโพก 2 ชิ้นจะมาเชื่อมกันทางด้านหน้าเป็นแนวประสานหัวหน่าว (symphysis pubis) และเชื่อมด้านหลังกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ เชิงกรานจะประกอบกันเป็นเบ้าของข้อต่อสะโพก เกิดเป็นกระดูกโอบรยางค์ล่าง (หรือรยางค์หลัง).

ใหม่!!: กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและเชิงกราน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sacrumกระดูกใต้กระเบนเหน็บ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »