เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กระจก

ดัชนี กระจก

กระจกมักถูกใช้ในงานสถาปัตยกรรม กระจก หมายถึงวัสดุที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งมีองค์ประกอบหลักทางเคมีคือซิลิคอน ซึ่งสามารถหลอมและนำไปขึ้นรูปได้ เมื่อเย็นตัวแล้วมีลักษณะ โปร่งใส และเป็นของแข็งโดยไม่จับผลึก (มีค่าความหยัดตัวสูง) กระจกจึงสามารถแตกได้เหมือนแก้ว และมีความคมมากกว่าแก้วเมื่อแตกเพราะมีความบางในการผลิต ความแตกต่างในการใช้คำเมื่อเทียบกับคำว่าแก้วคือ กระจกจะใช้เรียกแก้วที่นำมาทำให้เป็นแผ่น โดยมีลักษณะแบนราบและมีความหนาประมาณหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ กระจกเป็นลักษณะการผลิตวัสดุประเภทแก้วที่ทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างๆ เช่น เพื่อเป็นวัสดุกั้นขวางที่ไม่ทึบแสง ใช้เพื่อเป็นฉนวนกั้น ใช้เพื่อประดับตบแต่งอาคาร ฯลฯ ในบางความต้องการใช้ กระจกถูกนำไปปรับคุณสมบัติต่อเพื่อให้มีคุณลักษณะบางอย่าง เช่น ฉาบปรอทที่ด้านๆหนึ่งเพื่อให้มีคุณสมบัติสะท้อนแสงเรียกว่า กระจกเงา หรือผสมสารชนิดอื่นลงไปในเนื้อสารให้มีสีสันหรือความทึบแสงบางส่วนหรือทั้งหมดเรียกว่า กระจกสี กระจกทึบ หรือกระจกควัน หรือนำไปพ่นทรายลงบนพื้นผิวเพื่อให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของความเรียบบนผิวทำให้แสงผ่านได้แต่มีลักษณะมัวๆเรียกว่า กระจกฝ้า เนื่องจากกระจกคือวัสดุประเภทแก้วซึ่งมีความโปร่งใสมากและยังมีค่าดรรชนีหักเหของแสงที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงมีการนำไปสร้างเป็นวัสดุที่มีความหนาไม่สม่ำเสมอแต่มีลักษณะเฉพาะ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า เลนส์ (lens) เช่น มีสัณฐานกลมเหมือนเหรียญที่เว้าเข้าตรงกลางทั้งสองด้านเรียกว่า เลนส์เว้า หรือเว้าเข้าด้านเดียวอีกด้านหนึ่งแบนราบและฉาบปรอทมักเรียกว่า กระจกเว้า มีสัณฐานกลมเหมือนเหรียญที่ป่องออกตรงกลางทั้งสองด้านเรียกว่า เลนส์นูน หรือนูนออกด้านเดียวอีกด้านหนึ่งแบนราบและฉาบปรอทมักเรียกว่า กระจกนูน ซึ่งเลนส์คือประเภทการผลิตวัสดุประเภทแก้วในรูปแบบของกระจกเพื่อการใช้งานในลักษณะของการหักเหแสงนั่นเอง กระจกบางประเภทถูกนำไปประกอบสร้างแบบพิเศษ เช่น เคลือบเนื้อสารบางประเภทเช่นพลาสติกด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน (เนื้อสารที่นำมาเคลือบเรียกว่าฟิล์ม) เพื่อให้ทึบแสงหรือเพื่อให้ไม่แตกร่วนหรือเพื่อให้เมื่อแตกแล้วไม่มีความคมคล้ายเมล็ดข้าวโพด เช่น กระจกรถยนต์ ฟิล์มบางประเภทที่นำมาเคลือบเช่น เคฟลาร์ มีลักษณะทางโครงสร้างเคมีที่สามารถกระจายแรงที่มากระทบด้านหน้าออกไปทางด้านข้างได้ จึงทำให้สามารถผลิตเป็นกระจกนิรภัย ที่สามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ และในบางกรณีการผลิตแบบเคลือบด้านนอก อาจปรับเป็นการผลิตแบบสอดไส้ข้างใน หรือ ผสมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน ในบางกรณีกระจกอาจสร้างจากวัสดุที่มีความใสไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันกับแก้วแต่เป็นวัสดุประเภทอื่นไปเลย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามกระจกจะมีความหมายในลักษณะ ใส บาง เป็นแผ่น มีผิวราบเรียบอย่างมาก อาจหมายรวมไปถึง สะท้อนแสงได้ รวมหรือเบี่ยงเบนแสงได้ หรือ เป็นเงา เสมอๆ วัสดุประเภทกระจกนั้น หากมีค่าความยอมให้ผ่านของแสงมากจะเรียกว่า โปร่งใส หากมีค่าน้อยจะเรียกว่า โปร่งแสง และหากไม่มีค่าเลยจะเรียกว่า ทึบแสง ความหมายโดยปริยายของกระจก มักจะหมายถึงกระจกเงา ถ้าพูดโดยไม่ระบุว่าเป็นกระจกใส เช่นในประโยคว่า "ส่องกระจกชะโงกดูเงา" (เพี้ยนมาจาก "ส่องกะโหลกชะโงกดูเงา" โดยกะโหลกคำนี้แปลว่ากะลา) หรือ "น้ำใสราวกับกระจก" (ส่องลงไปเห็นใบหน้าได้) หมวดหมู่:วัสดุ หมวดหมู่:กระจก.

สารบัญ

  1. 55 ความสัมพันธ์: ฟลูออรีนพระอักโษภยพุทธะพระเมรุมาศพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)พินบอลพีระมิดลูฟวร์กระบวนการเพลตแห้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์การวัดความแข็งบริเนลล์การแปรใช้ใหม่ฝอยขัดหม้อภาพเหมือนตนเองลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิงวัสดุวัสดุก่อสร้างวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารวัดธรรมมิการามวรวิหารวังแก้วสฟิงซ์ ฟาโรห์สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์หอคอยเฉลิมพระเกียรติหน้าต่างห้องอำพันอะลูมิเนียมจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียทองแดงทิลล์ ออยเลนชปีเกลดอกไม้ประดิษฐ์ดิอะเมซิ่งเรซ 12ดิอะเมซิ่งเรซ 13คะงะมิตู้ปลาซิลิกอนไดออกไซด์ซิลิคอนประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรียปรากฏการณ์โลกร้อนปรากฏการณ์เรือนกระจกนกหงส์หยกแว่นแอโฟรไดทีแดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชันแดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 1)แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 2)โจเซฟ แพกซ์ตันโขนโคลด์เอนด์โตเกียวซีไลฟ์ปาร์คโซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1ไอโฟน 4... ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

ฟลูออรีน

ฟลูออรีน (Fluorine) (จากภาษาละติน Fluere แปลว่า "ไหล") เป็นธาตุเคมีที่เป็นพิษและทำปฏิกิริยาได้มากที่สุด มีสัญลักษณ์ F และเลขอะตอม 9 เป็นธาตุแฮโลเจนที่เป็นเบาที่สุดและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากที่สุด มันปรากฎอยู่ในรูปของแก๊สสีเหลืองที่ภาวะอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาได้เกือบทุกธาตุรวมทั้งแก๊สมีตระกูลบางตัว มีสมบัติเป็นอโลหะมากที่สุด (ถ้าไม่รวมแก๊สมีตระกูล).

ดู กระจกและฟลูออรีน

พระอักโษภยพุทธะ

ระอักโษภยะพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง "ไม่หวั่นไหว" ประทับทางทิศตะวันออกของพุทธมณฑล พระกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระ เป็นสัญญลักษณ์แทนโพธิจิตในสรรพสัตว์ ถือดอกบัวที่เป็นสัญญลักษณ์แห่งความกรุณา และระฆังที่หมายถึงอิตถีภาวะแห่งเมตตาและขันติ ทรงช้างคู่สีน้ำเงิน อันเป็นสัญญลักษณ์แห่งพลังมหาศาล พระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระที่รู้จักกันดีคือพระวัชรปาณีโพธิสัตว์และพระกษิติครรภ์โพธิสัตว.

ดู กระจกและพระอักโษภยพุทธะ

พระเมรุมาศ

ระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ ใจกลางเมือง เพื่อใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพหรือพระราชพิธีพระศพโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็น "กุฎาคาร หรือ เรือนยอด" คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้ พระเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต ภายในพระเมรุมาศมี “พระเมรุทอง” ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี 2 รูปแบบคือพระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้ราชาศัพท์ว่า “ทิวงคต” หรือ “สิ้นพระชนม์” การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น ภายหลังจากการถวายพระเพลิงแล้ว ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระเมรุที่ถูกรื้อถอนบางส่วนจะนำไปถวายวัด เพื่อเป็นการกุศลแด่ผู้วายชนม.

ดู กระจกและพระเมรุมาศ

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ห้องจัดแสดงชั้น 4: อุทยานจามจุรี พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร เกี่ยวกับภาพรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ทั้งผลงานอันเกิดจากการวิจัย และองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยได้ผลิตขึ้น ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย พัฒนาการทางด้านกายภาพ ความเป็นอยู่ของนิสิต ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมไทย อาคารแห่งนี้ เดิมเป็นอาคารเรียนของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อว่า อาคารเคมี 3 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น ได้รับการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเฉลิมฉลองวาระ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ.

ดู กระจกและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

พินบอล

พินบอล (Pinball) คือรูปแบบเกมตู้ชนิดหนึ่ง ที่ผู้เล่นจะพยายามทำคะแนนโดยบังคับลูกบอลเหล็ก 1 ลูกหรือมากกว่านั้นในสนามเล่นข้างใน ที่มีกระจกครอบอยู่ เรียกโดยรวมว่า เครื่องเล่นพินบอล จุดประสงค์หลักของเกมคือการทำคะแนนให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จุดประสงค์รองคือ ยืดเวลาการเล่นให้มากที่สุด (โดยการทำบอลพิเศษเพิ่มและให้เล่นลูกบอลให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้) และทำให้ได้เกมแถมขึ้นมา.

ดู กระจกและพินบอล

พีระมิดลูฟวร์

ีระมิดกระจกยามค่ำคืน พีระมิดลูฟวร์ (Louvre Pyramid) เป็นพีระมิดที่สร้างขึ้นจากกระจกและโลหะ มีพีระมิดขนาดเล็กกว่า 3 หลังตั้งอยู่โดยรอบ ตั้งอยู่ที่ลานหน้าพิพิธภัณฑสถานลูฟวร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำหน้าที่เป็นทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.

ดู กระจกและพีระมิดลูฟวร์

กระบวนการเพลตแห้ง

กระบวนการเพลตแห้ง (dry plate process) เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1867 โดย B.J.Sayce และ W.B. Bojton ได้ร่วมคิดค้นวัตถุไวแสงและพบว่าเยื่อไวแสงโคโลเดียน โดยใช้ซิลเวอร์โบรไมด์และซิลเวอร์ไนเตรตฉาบบนแผ่นกระจกแล้วผึ่งให้แห้ง สามารถเก็บไว้ได้นาน ถ่ายเมื่อใดก็ได้ และในปี ค.ศ.

ดู กระจกและกระบวนการเพลตแห้ง

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) หรือเดิมชื่อ Space Infrared Telescope Facility (SIRTF) เป็นกล้องสังเกตการณ์อวกาศอินฟราเรด เป็นกล้องอันดับที่สี่และสุดท้ายของโครงการหอดูดาวเอกของนาซา ตั้งชื่อตาม ดร.

ดู กระจกและกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

การวัดความแข็งบริเนลล์

ผังแรง การวัดความแข็งบริเนลล์ (Brinell hardness test) คือการวัดความแข็งของวัตถุจากรอยบุ๋มที่เกิดจากการกดลูกปืนแข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตรที่ทำด้วยเหล็กกล้าที่ทำให้แข็งหรือ ทำด้วยทังสเตนคาร์ไบด์เผาแล้วนำมากดด้วยเครื่องกดที่ได้มาตรฐาน ผลลัพธ์ของความแข็งที่มีหน่วยเป็นบริเนลเท่ากับน้ำหนักที่กดเป็นกิโลกรัม หารด้วยเนื้อที่ที่เกิดรอยถูกกดวัดเป็นตารางมิลลิเมตร ชื่อหน่วยวัดบริเนลตั้งตามชื่อของนักโลหวิทยา (Metallurgist) ชาวสวีเดน ชื่อโยอัน บริเนล หน่วยความแข็งบริเนลล์ (Brinell Hardness)ใช้ชื่อย่อว่า HB.

ดู กระจกและการวัดความแข็งบริเนลล์

การแปรใช้ใหม่

right การแปรใช้ใหม่ (recycling) เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะโดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ (โดยเฉพาะการหลอม) เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก วัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ การแปรใช้ใหม่มีความหมายต่างจาก การใช้ซ้ำ (reusing) ซึ่งหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใด ๆ ทั้งสิ้น ในความเข้าใจของคนบางกลุ่มนั้น การแปรใช้ใหม่ยังหมายถึง การนำวัสดุเหลือใช้กลับมาปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือพัฒนารูปร่างใหม่ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ขวดน้ำพลาสติก หากนำมาใช้ใส่น้ำอีกครั้งเป็นการใช้ซ้ำ แต่ถ้านำเอาขวดนำพลาสติกมาตัดให้เป็นกระป๋อง แล้วนำไปใช้ตัดดินบรรจุในถุง หรือนำขวดพลาสติกมาตัดครึ่งทำเป็นแจกันใส่ดอกไม้หรือเป็นที่ใส่ปากกา มักถูกเรียกว่าเป็นการแปรขวดน้ำพลาสติกเพื่อใช้ใหม.

ดู กระจกและการแปรใช้ใหม่

ฝอยขัดหม้อ

ฝอยขัดหม้อ ฝอยขัดหม้อ (steel wool) เป็นเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำที่ถูกขูดเป็นฝอยละเอียดและปั่นรวมเป็นแผ่น ใช้ในการขัดทำความสะอาดไม้, โลหะ, เครื่องครัว หรือกระจก เนื่องจากฝอยขัดหม้อมีเนื้อเหล็กเป็นฝอยละเอียด มีพื้นที่สัมผัสกับอากาศได้มาก ทำให้สามารถติดไฟแล้วลุกไหม้ให้ประกายเหมือนดอกไม้ไฟ จึงนิยมนำมาใช้เป็นเอฟเฟกต์ในการถ่ายภาพ หรือใช้เป็นเชื้อไฟในกรณีฉุกเฉินเนื่องจากติดไฟได้ง่ายแม้เปียกน้ำ และสามารถใช้เพียงประกายไฟ หรือแบตเตอรี่ (โดยนำฝอยขัดหม้อไปลัดวงจรให้เกิดความร้อน) เพื่อจุดไฟได้.

ดู กระจกและฝอยขัดหม้อ

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ดู กระจกและภาพเหมือนตนเอง

ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง

ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง (LaFlora, the Princess Academy) เป็นหนังสือการ์ตูนที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมและวัฒนธรรมนานาชาติ มี 9 ชุด คือ "ลา ฟลอร่า", "ลา ฟลอร่า ภาค ประเทศฉันสุดยอด", "ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม","ลาฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่","ลาฟลอร่า คลับเฟสต้า","ลาฟลอร่า แอนิเมชัน","นิยาย ลาฟลอร่า","คอมมิกชันนารี ลา ฟลอร่า โรซารี่ please" และ "ลาฟลอร่า ดรีมมี่ คาเฟ่" โดยในแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาและตัวละครที่ต่างกัน จากความนิยมอย่างแพร่หลาย และความโดดเด่นของตัวละคร ส่งผลให้ทางผู้ผลิตได้จัดทำในรูปแบบของเกมกระดานในเวลาต่อมา ปัจจุบันได้มีการจัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ 4 ภาษา รวมถึงจัดทำเป็นแอนิเมชัน และวรรณกรรมเยาวชน.

ดู กระจกและลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง

วัสดุ

วัสดุ หรือ วัตถุดิบ (material) เป็นแก่นสารทางวัตถุที่ใช้ในกระบวนการผลิต เป็นวัตถุในขั้นแรกที่ได้มาจากแหล่งวัตถุดิบก่อนจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตผล สำหรับการอุปโภคหรือบริโภค ประเภทของวัสดุ อาจจำแนกตามสสารที่ประกอบเป็นวัสดุ เช่น ไม้ กระดาษ กระจก ปูนซิเมนต์ หรือ จำแนกตามการใช้งานเช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุอุตสาหกรรม วัสดุตกแต่ง.

ดู กระจกและวัสดุ

วัสดุก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้าง คือ วัสดุที่ใช้ในจุดประสงค์สำหรับการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้น วัสดุก่อสร้างมีการหลากหลายในทางวัสดุตั้งแต่ ดินจนถึงโลหะ พลาสติกหรือแก้ว วัสดุแบ่งแยกในหลายด้านไม่ว่าโครงสร้างทางวัตถุ จุดประสงค์การใช้งาน มักจะหมายถึงชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้ในงานจำเพาะเจาะจงและอาจหมายถึงวัสดุต่างชนิดได้เช่น เสาเข็ม สามารถหมายถึง เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มไม้ หรือเสาเข็มเหล็ก หรือแม้แต่ในปัจจุบันได้มีการเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของวัสดุก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม ได้มีหลายองค์การที่จัดแบ่งแยกวัสดุออกตามการนำกลับมาใช้ใหม่ ในเมืองไทยคอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (2549) เนื่องจากคุณสมบัติที่แข็งแรงและทนไฟ คอนกรีตได้มีการใช้ในงานอาคาร ถนน หรือแม้แต่อนุสาวรีย์ และด้วยเหตุผลทางการเมืองที่รัฐบาลมีการสนับสนุนคอนกรีต และมีการตั้งภาษีนำเข้าของเหล็กสูง.

ดู กระจกและวัสดุก่อสร้าง

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (180px) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 8 สิงหาคม 2481, หน้า 1476 ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 28 ไร่ 3 งาน 26 ตารางว.

ดู กระจกและวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

วัดธรรมมิการามวรวิหาร

วัดธรรมมิการามวรวิหาร หรือ วัดเขาช่องกระจก ตั้งอยู่บนเขาช่องกระจกเป็นภูเขาขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านหลังศาลากลางจังหวัดติดต่อกับอ่าวประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีลักษณะเด่นก็คือใกล้กับ ยอดเขาทางด้านทิศเหนือ จะเป็นช่องเขาขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากกระแสลมและกระแสน้ำตามธรรมชาติ และถ้ามองจากด้านล่างจะเห็นว่าตรงช่องเขาแห่งนี้ มีลักษณะคล้ายกับกระจกใสขนาดใหญ่ส่วนด้านบนยอดเขานั้นเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และรอยพระพุทธบาทจำลอง โดยรอยพระพุทธบาทจำลองแห่งนี้แรกเริ่มเดิมทีนั้นสร้างโดย หม่อมเจ้าทองเติม ทองแกม ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยญาติพี่น้องเพื่อเป็นที่สักการะของประชาชน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู กระจกและวัดธรรมมิการามวรวิหาร

วังแก้ว

วังแก้ว หรือ วังกระจก (The Crystal Palace เดอะ คริสตัล พาเลซ) เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างด้วยเหล็กหล่อ (Cast iron) และกระจกที่เดิมสร้างขึ้นที่ไฮด์พาร์คในกรุงลอนดอนในอังกฤษเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการแสดงนิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ (The Great Exhibition) ของปี..

ดู กระจกและวังแก้ว

สฟิงซ์ ฟาโรห์

ฟิงซ์ ฟาโรห์ ตัวละครในเซนต์เซย่าภาคเจ้านรกฮาเดส เป็น 1 ใน 108 สเป็คเตอร.

ดู กระจกและสฟิงซ์ ฟาโรห์

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

แผนที่ที่ตั้งของสถาบันภายในมหาวิทยาลัยบูรพา (หมายเลข 2) สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นสถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมีสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชม สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และถูกเรียกชื่อตามความเข้าใจในชื่อต่าง ๆ กัน เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตั้งอยู่ด้านหน้าของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี.

ดู กระจกและสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

ปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ คือสถาปัตยกรรมในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลปัจจุบัน) เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากจากตะวันตก วิชาชีพสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 6 เริ่มเป็นที่รู้จัก และถือได้ว่าการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมแผนใหม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี..

ดู กระจกและสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

หอคอยเฉลิมพระเกียรติ

หอคอยเฉลิมพระเกียรติ เป็นหอคอยสำหรับชมทิวทัศน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี.

ดู กระจกและหอคอยเฉลิมพระเกียรติ

หน้าต่าง

หน้าต่าง เป็นช่องเปิดบนผนังหรือประตู ที่ยอมให้แสงผ่านหรืออาจเป็นหน้าต่างทึบ ที่อาจปิดกันลมหรือเสียง หน้าต่างส่วนมากมักมีติดกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงอื่น ๆ หรือวัสดุทึบแสง หน้าต่างยึดติดกับบานกรอบหน้าต่าง หน้าต่างอาจจะเปิดออกได้เพื่อให้ลมเข้ามา หรืออาจปิดตายเพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะอากาศที่รุนแรง.

ดู กระจกและหน้าต่าง

ห้องอำพัน

ห้องอำพันที่สร้างใหม่ ห้องอำพัน (Amber Room หรือ Amber Chamber, Янтарная комната Yantarnaya komnata, Bernsteinzimmer) ตั้งอยู่ภายในพระราชวังแคทเธอรีนที่หมู่บ้านซาร์สโคเยอเซโลไม่ไกลจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นห้องที่ผนังที่ทำด้วยอำพันทั้งห้องตกแต่งด้วยทองคำเปลวและกระจก ความงามของห้องนี้ทำให้บางครั้งได้รับสมญาว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์ที่แปดของโลก” ห้องอำพันเดิมเป็นความร่วมมือระหว่างช่างฝีมือชาวเยอรมันและชาวรัสเซีย การก่อสร้างห้องเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.

ดู กระจกและห้องอำพัน

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ดู กระจกและอะลูมิเนียม

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ ปีเตอร์มหาราช (Пётр I Великий, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู กระจกและจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ดู กระจกและทองแดง

ทิลล์ ออยเลนชปีเกล

แกะไม้รูปตัวตลกทิลล์ ออยเลนชปีเกล ในมือถือนกฮูกและกระจก จากหนังสือของ Straßburg ฉบับปี 1515 แก้ไข ทิลล์ ออยเลนชปีเกล (Mölln) ตัวตลกแต่งชุดทิลล์ ออยเลนชปีเกลในปัจจุบัน แก้ไข ทิลล์ ออยเลนชปีเกล (Mölln) ทิลล์ ออยเลนชปีเกล (Till Eulenspiegel) เป็นตัวละครในตำนานพื้นบ้านเยอรมันยุคกลาง ว่ากันว่าเป็นชายชาวชนบทจากเมืองเบราน์ชไวก์ที่ออกตระเวนท่องไปในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ โบฮีเมีย และอิตาลี ชอบทำอะไรตลกขบขัน เป็นที่พอใจของบุคคลทั่วไปที่ได้รู้จัก มีชีวิตอยู่ราว..

ดู กระจกและทิลล์ ออยเลนชปีเกล

ดอกไม้ประดิษฐ์

อกไม้ประดิษฐ์ที่ทำจากกระดาษ ดอกไม้ประดิษฐ์ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุมีลักษณะคล้ายรูปร่างดอกไม้ ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากแรงงานฝีมือมนุษย์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์การผลิต โดยมีการใช้วัตถุดิบการผลิตจากธรรมชาติ หรือวัตถุดิบที่เกิดจากการสังเคราะห์มาผลิตโดยผ่านขั้นตอนการประดิษฐ์ ดัดแปลง อบ ย้อม เผา เคลือบสารเคมี รวมทั้งทำการตกแต่งตัดต่อเติม เพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม โดยดอกไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอาจจะมีความเหมือนหรือไม่เหมือนธรรมชาติก็ได้ขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้งาน โดยคุณสมบัติของดอกไม้ประดิษฐ์ที่สำคัญคือ มีความคงทน ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและดูแลรักษา มีความสวยงาม สามารถนำไปใช้ในการประดับในโอกาสต่างๆ การประดิษฐ์ดอกไม้ด้วยฝีมือมนุษย์เป็นศิลปะที่มีความละเอียดอ่อน มุ่งหวังที่จะดำรงความงดงามตามธรรมชาติของดอกไม้ให้คงอยู่ ไม่ร่วงโรย เหี่ยวเฉา การทำดอกไม้ประดิษฐ์ จึงเริ่มต้นที่การใช้ความสังเกต ศึกษา ค้นคว้า รูปลักษณะ สีสันตามธรรมชาติ ของดอกไม้แต่ละชนิด แต่ละประเภท แล้วถ่ายทอดการทำออกมาเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ ดอกไม้ประดิษฐ์ อาจถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบางชนชาติ ที่มีการสืบทอดการประดิษฐ์ดอกไม้มายาวนาน.

ดู กระจกและดอกไม้ประดิษฐ์

ดิอะเมซิ่งเรซ 12

อะเมซิ่ง เรซ 12 (The Amazing Race 12) เป็นฤดูกาลที่ 12 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส สำหรับรายการนี้เริ่มออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.

ดู กระจกและดิอะเมซิ่งเรซ 12

ดิอะเมซิ่งเรซ 13

อะเมซิ่ง เรซ 13 (The Amazing Race 13) เป็นฤดูกาลที่ 13 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส สำหรับฤดูกาลที่ 13 นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ของผังรายการโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาประจำปี ค.ศ.

ดู กระจกและดิอะเมซิ่งเรซ 13

คะงะมิ

งะมิ (鏡) แปลว่ากระจกในภาษาญี่ปุ่น อาจหมายถึง.

ดู กระจกและคะงะมิ

ตู้ปลา

ตู้ปลาที่เลี้ยงปลาน้ำจืดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ปลาตะพาก, ปลาตะพัด ในสวนสัตว์บริสตอล ประเทศอังกฤษ ตู้ปลาแบบทั่วไปภายในบ้านเรือน ขนาด 80x30 เซนติเมตร ตู้ปลา (Aquarium) คือ ภาชนะหลักสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงาม มีรูปทรงต่าง ๆ กัน โดยมากมักจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยผลิตจากวัสดุประเภทกระจกหรืออะครีลิค มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ประมาณ 1 ฟุต จนถึงหลายเมตรในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในน้อยกว่าหรือช้ากว่าตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก โดยมากแล้วตู้ปลาที่ผลิตจากกระจกจะเชื่อมต่อกันด้วยกาวซิลิโคนแบบกันน้ำ ซึ่งมีความเหนียวทนทานต่อการละลายของน้ำ ขณะที่ประเภทที่ผลิตจากอะครีลิคจะมีความทนทานกว่า เนื่องจากไม่แตกหักได้ง่าย แต่ก็จะมีราคาขายที่สูงกว่า ซึ่งตู้ปลาแบบที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้วยแล้ว จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ดู กระจกและตู้ปลา

ซิลิกอนไดออกไซด์

ทราย หนึ่งในอัญรูปของซิลิกา ซิลิกอนไดออกไซด์ (silicon dioxide) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกา (จากภาษาละตินคำว่า silex) คือสารประกอบระหว่างออกไซด์และซิลิกอนรวมตัวกันเป็นสูตรทางเคมีคือ SiO2 และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยโบราณถึงความแข็งแกร่งของมัน ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก ซิลิกาได้นำมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตที่หลากหลาย อาทิ แก้ว, คริสตัล, เจล, แอโรเจล, ซิลิการมควัน และคอลลอยดอลซิลิกา ยิ่งไปกว่านั้น ซิลิกานาโนสปริงก็ผลิตขึ้นจากวิธีความดันไอ-ของเหลว-ของแข็ง ในอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ซิลิกาใช้เป็นวัสดุเบื้องต้นในการผลิตกระจก, แก้วน้ำและขวดแก้ว สายใยแก้วที่ใช้ในการโทรคมนาคมก็เป็นผลิตผลจากซิลิกาเช่นเดียวกัน และยังใช้เป็นวัสถุดิบแรกเริ่มในผลิตภัณฑ์จำพวกเซรามิกเช่น เครื่องปั้นดินเผา, เครื่องหิน, เครื่องลายคราม และการผลิตพาร์ตแลนด์ซีเมนต.

ดู กระจกและซิลิกอนไดออกไซด์

ซิลิคอน

ซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current).

ดู กระจกและซิลิคอน

ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย

วาดในจินตนาการของประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย หรือ ประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย (Pharos of Alexandria, Lighthouse of Alexandria, คำว่าฟาโรสในภาษากรีก (Φάρος) แปลว่าประภาคาร) เป็นประภาคารโบราณซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนเกาะฟาโรส เมืองอเล็กซานเดรีย ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สร้างประมาณ 270 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในรัชสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่ 1 โดยสถาปนิกชื่อ โซสเตรโตส ตัวประคาภารมีความสูงเท่าใดไม่แน่ชัด แต่อยู่ในระหว่าง 200-600 ฟุต (ขนาดพอ ๆ กับ เทพีเสรีภาพ) สร้างด้วยหินอ่อนแกะสลัก มีตะเกียงขนาดใหญ่บนยอด นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าในเวลากลางวันจะปล่อยควัน ในเวลากลางคืนจะเป็นแสงไฟสว่างที่เห็นได้จากระยะไกล ซึ่งยังไม่ทราบว่าใช้วิธีใดในการจุดไฟและส่องแสง บ้างก็สันนิษฐานว่าใช้กระจกในการส่องแสง บ้างก็เชื่อว่า สามารถส่องแสงได้ถึง 4 ทาง แต่บางส่วนก็เชื่อว่า ส่องแสงได้เพียงแค่ 2 ทางเท่านั้น ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย มีอายุอยู่ได้ยาวนานถึง 1,600 ปี จนกระทั่งในประมาณศตวรรษที่ 13-14 เกิดแผ่นดินไหวทำให้ประภาคารพังลงมา ในปี ค.ศ.

ดู กระจกและประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ.

ดู กระจกและปรากฏการณ์โลกร้อน

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แผนภูมิแสดงการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างดวงอาทิตย์ พื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลก และอวกาศ ความสามารถของชั้นบรรยากาศในการจับและนำพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกกลับมาใช้ใหม่เป็นลักษณะนิยามของปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้A concise description of the greenhouse effect is given in the Intergovernmental Panel on Climate Change Fourth Assessment Report, "What is the Greenhouse Effect?", IIPCC Fourth Assessment Report, Chapter 1, page 115: "เพื่อความสมดุลของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ โลกโดยเฉลี่ยต้องแผ่รังสีพลังงานจำนวนที่เท่ากันกลับไปสู่อวกาศ เพราะว่าโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์ โลกจึงแผ่รังสีที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่าในแถบความถี่อินฟราเรด รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากพื้นดินและมหาสมุทรจำนวนมากนี้จะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศรวมทั้งหมู่เมฆและแผ่รังสีอีกครั้งกลับมายังโลก ขบวนการนี้เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก" Stephen H.

ดู กระจกและปรากฏการณ์เรือนกระจก

นกหงส์หยก

นกหงส์หยก เป็นนกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของนกหงส์หยกอยู่ตามแถบทุ่งหญ้าในประเทศออสเตรเลีย มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า "บัดจี" (budgie) หรือ "แพระคีต" (parakeet) ครั้งหนึ่ง ผู้คนทั่วไปเคยเข้าใจว่านกหงส์หยกเป็นนกที่อยู่ในจำพวกนกเลิฟเบิร์ด แต่ในปัจจุบันได้ยอมรับกันแล้วว่าเป็นนกคนละจำพวกกัน โดยผู้ที่ทำการอนุกรมวิธาน คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น กูลด์ ที่เข้าไปศึกษาธรรมชาติวิทยาที่ออสเตรเลียเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยถือเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Melopsittacus โดยทั่วไปแล้วสีตามธรรมชาติ นกหงส์หยกมักมีขนสีเขียว, ฟ้า, เหลือง และขาว แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายออกไปจากสีดั้งเดิมตามธรรมชาติในฐานะของการเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามลักษณะ อาทิ "โอแพล์ลิน", "อัลบิโนส์" และ"ลูติโนส์".

ดู กระจกและนกหงส์หยก

แว่น

แว่น อาจหมายถึง.

ดู กระจกและแว่น

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ดู กระจกและแอโฟรไดที

แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน

ตราสัญลักษณ์เกม แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชั่น; Dance Dance Revolution) เป็นเกมที่ได้รับความนิยมในช่วงปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ.

ดู กระจกและแดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน

แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 1)

ตราสัญลักษณ์เกมเต้นภาค 1 แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 1) (Dance Dance Revolution (1stMIX)) เป็นเกมเต้นภาคแรกของเกมเต้นภาคภาษาญี่ปุ่น วางแผงในประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.

ดู กระจกและแดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 1)

แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 2)

ตราสัญลักษณ์เกมเต้นภาค 2 แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 2) (Dance Dance Revolution (2ndMIX)) เป็นเกมเต้นภาคที่สองต่อจากเกมเต้นแดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 1) ซึ่งภาคนี้ เป็นภาคภาษาญี่ปุ่น และวางแผง ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.

ดู กระจกและแดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน (ภาค 2)

โจเซฟ แพกซ์ตัน

ซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน เซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน (Sir Joseph Paxton; 3 สิงหาคม พ.ศ. 2346 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2408) นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิกชาวอังกฤษ เกิดใกล้เมืองวอเบิร์น เบดฟอร์ดไชร์ สหราชอาณาจักร เป็นบุตรของชาวน.

ดู กระจกและโจเซฟ แพกซ์ตัน

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท.

ดู กระจกและโขน

โคลด์เอนด์

โคลด์เอนด์ (cold end หรือ lower line) เป็นชื่อเฉพาะทีใช้สำหรับเรียกแผนกหนึ่งในโรงงานหลอมแก้วหรือกระจก มีหน้าที่ควบคุมการตัดกระจกหรือการควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามใบสั่งของลูกค้า สาเหตุที่เรียกว่าโคลด์เอนด์ (cold end) เป็นเพราะส่วนแผนกนี้จะเป็นส่วนที่แก้วได้ถูกทำให้เย็นตัวเป็นของแข็งแล้ว ส่วนแผนกที่ทำหน้าที่เป็นผู้หลอมแก้วและควบคุมกระบวนการหลอมแก้ว จะเรียกว่าฮ๊อตเอนด์ (Hot end) หมวดหมู่:กระจก.

ดู กระจกและโคลด์เอนด์

โตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค

ปลาทูน่าในตู้ขนาดใหญ่ ของส่วน Voyagers of the Sea โตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค (Tokyo Sea Life Park; 葛西臨海水族園; โรมะจิ: Kasai rinkaisuizokuen) เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ใกล้กับโตเกียวดิสนีย์แลนด์ ริมอ่าวโตเกียว โตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู กระจกและโตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค

โซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1

ซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1 (Sony Xperia Z1) เป็นสมาร์ตโฟน รุ่นระดับสูง ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผลิตโดยโซนี่ โดยส่วนใหญ่รู้จัก แซด1 ในชื่อ "โฮนามิ" (Honami) ซึ่งเป็นชื่อรหัสสำหรับการพัฒนาและผลิตรุ่นนี้ โดยเปิดตัวในงาน ไอเอฟเอ 2013 เมื่อวันที่ 4 กันยายน..

ดู กระจกและโซนี่ เอ็กซ์พีเรียแซด1

ไอโฟน 4

อโฟน 4 (iPhone 4) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัส ที่พัฒนาโดย บริษัทแอปเปิล ซึ่งเป็นรุ่นที่สี่ของ ไอโฟน ต่อมาจากรุ่น ไอโฟน 3จีเอส ถูกออกแบบเฉพาะสำหรับการใช้งานด้านการโทรศัพท์ โดยมีสัญญาณภาพ (ในชื่อ เฟซไทม์) การอ่านหนังสืออีบุค, การดูวิดีโอ, ฟังเพลง, เล่นเกม และ อินเทอร์เน็ต ถูกประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน..

ดู กระจกและไอโฟน 4

ไฮฟอง

ฟอง (Haiphong) หรือ หายฝ่อง (Hải Phòng) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเวียดนาม ตั้งอยู่ในจังหวัดไฮฟองและเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.

ดู กระจกและไฮฟอง

เรือพาลีรั้งทวีป

รือพาลีรั้งทวีป เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค จัดเป็นเรือกระบวนปิดทอง ไม่พบหลักฐานที่สร้าง โขนเรือเป็นรูปพาลีปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง เรือยาว 27.54 เมตร กว้าง 1.99 เมตร ลึก 0.59 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร หัวเรือกว้างมี รูกลมโผล่ทางหัวเรือสำหรับติดตั้งปืนใหญ่บรรจุทางปากกระบอกได้ 1 กระบอก ขนาดปากกระบอก 65 มม.

ดู กระจกและเรือพาลีรั้งทวีป

เงิน (โลหะ)

งิน (silver) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 47 และสัญลักษณ์คือ Ag (άργυρος árguros, Argentum) เงินเป็นโลหะทรานซิชันสีขาวเงิน มีสมบัติการนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก ในธรรมชาติอาจรวมอยู่ในแร่อื่นๆ หรืออยู่อิสระ เงินใช้ประโยชน์ในการทำเหรียญ เครื่องประดับ ภาชนะบนโต๊ะอาหาร และอุตสาหกรรมการถ่ายรูป มีผู้ค้นพบคือ โรเบิร์ต แบนฟอตร.

ดู กระจกและเงิน (โลหะ)

เตารังสีแสงอาทิตย์

ตารังสีแสงอาทิตย์ (solar furnace) คือสิ่งก่อสร้างสำหรับจับแสงอาทิตย์เพื่อใช้สร้างอุณหภูมิสูงๆ โดยมากใช้ในงานอุตสาหกรรม วิธีการทำโดยใช้กระจกโค้ง (หรือแถบกระจกจำนวนมาก) ทำหน้าที่เป็นจานสะท้อนแบบพาราโบลา เพื่อรวมแสงให้อยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่ง อุณหภูมิที่จุดโฟกัสอาจสูงถึง 3,500 °C (6,330 °F) ได้ ความร้อนนี้จะนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า หลอมเหล็ก ผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือวัสดุนาโน (nanomaterials) คำว่า "เตารังสีแสงอาทิตย์" อาจหมายถึงงานที่พัฒนาขึ้นไป คือระบบความร้อนจากการรวมแสงอาทิตย์ โดยอาศัยกระจกพาราโบลาหรือ heliostat ซึ่งปัจจุบันสามารถทำอุณหภูมิได้ถึง 538 °C (1,000 °F) เตารังสีแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดคือที่เมือง Odeillo จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล ประเทศฝรั่งเศส เปิดใช้งานเมื่อปี..

ดู กระจกและเตารังสีแสงอาทิตย์

IG

IG, Ig หรือ ig สามารถหมายถึง.

ดู กระจกและIG

หรือที่รู้จักกันในชื่อ แผ่นกระจก

ไฮฟองเรือพาลีรั้งทวีปเงิน (โลหะ)เตารังสีแสงอาทิตย์IG