สารบัญ
80 ความสัมพันธ์: ATC รหัส N03ATC รหัส V08บีตาออกซิเดชันฟริตซ์ อัลเบิร์ต ลิปมันน์ฟอสโฟลิพิดกรดลิกโนซีริกกรดอะราคิดิกกรดจัสโมนิกกรดโอเลอิกกรดไขมันอิ่มตัวกรดไขมันจำเป็นกรดเบฮินิกการรับรู้รสการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอกการหายใจระดับเซลล์การขาดวิตามินบี12การตอบสนองโดยสู้หรือหนีกาเฟอีนภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวานมะก่อยอยากันชักยาปฏิชีวนะระบบภูมิคุ้มกันรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ลิพิดวัฏจักรไกลออกซีเลตวิตามินวิตามินบี12สบู่สฟิงโกลิพิดสฟิงโกไมอีลินสารลดแรงตึงผิวสารประกอบอินทรีย์สารประกอบแอลิแฟติกหน่วยรับรสอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตอาร์เคียอาหารแมวอาหารเสริมทุเรียนคาร์บอนคาร์นิทีนตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดต่อมหมวกไตปลาปลาตะลุมพุกฮิลซาน้ำมันปาล์มน้ำย่อยน้ำเลือด... ขยายดัชนี (30 มากกว่า) »
ATC รหัส N03
วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) N ระบบประสาท (Nervous system).
ATC รหัส V08
วนของ ระบบแบ่งตามกายวิภาคศาสตร์ที่ยามีผลรักษา (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) V อื่นๆ (Various).
บีตาออกซิเดชัน
ีตาออกซิเดชัน เป็นขบวนการสลายกรดไขมันในรูปของโมเลกุลเอซิลโค เอ (acyl-CoA) ในไมโทคอนเดรีย และ/หรือ เพอรอกซิโซม เพื่อสร้างเป็นอะซิติลโค เอ เพื่อนำเข้าวัฏจักรเครปส์ต่อไป บีตาออกซิเดชันของกรดไขมันประกอบด้วยสามขั้นตอน คือ.
ฟริตซ์ อัลเบิร์ต ลิปมันน์
ฟริตซ์ อัลเบิร์ต ลิปมันน์ (Fritz Albert Lipmann; 12 มิถุนายน ค.ศ. 1899 – 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1986) เป็นนักชีวเคมีชาวเยอรมัน/อเมริกัน เกิดที่เมืองเคอนิกสแบร์ก (ปัจจุบันคือเมืองคาลินินกราด ประเทศรัสเซีย) ในครอบครัวชาวยิว เป็นบุตรของเลโอโปลด์และแกร์ทรูด (นามสกุลเดิม ลัคมันสกี) ลิปมันน์ ลิปมันน์เรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเคอนิกสแบร์ก มหาวิทยาลัยเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยมิวนิก แล้วเรียนต่อด้านเคมีกับศาสตราจารย์ฮันส์ เมียร์ไวน์ ในปี..
ดู กรดไขมันและฟริตซ์ อัลเบิร์ต ลิปมันน์
ฟอสโฟลิพิด
Two schematic representations of a phospholipid. ฟอสโฟลิพิด (อังกฤษ:Phospholipids) เป็นโมเลกุลที่เกิดจาก 4 ส่วนประกอบ คือ.
กรดลิกโนซีริก
กรดลิกโนซีริก (Lignoceric acid) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีสูตร C23H47COOH ถูกพบในน้ำมันดินไม้,เซอรีโบไซด์ต่างๆ และในปริมาณน้อยในไขมันธรรมชาติมากที่สุด กรดไขมันของน้ำมันถั่วลิสง มีปริมาณเล็ก ๆ ของกรดลิกโนซีริก (1.1% – 2.2%).
กรดอะราคิดิก
กรดอะราคิดิก (Arachidic acid) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีห่วงโซ่ 20 คาร์บอน เป็นส่วนประกอบย่อยของน้ำมันถั่วลิงสง (1.1%–1.7%) และน้ำมันข้าวโพด (3%).
กรดจัสโมนิก
กรดจัสโมนิกเป็นสารอินทรีย์ที่พบในพืชหลายชนิดรวมทั้งในน้ำมันหอมระเหยของมะลิ และยังพบในมอสและเฟินด้วย สังเคราะห์มาจากกรดไขมันคือกรดลิโนเลนิก มีโครงสร้างใกล้เคียงกับกรดแอบไซซิก มีผลในด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตและกระตุ้นการชราและการหลุดร่วงของใบ การลงหัว การขดของมือพืช การสุกและการสร้างเม็ดสีในผล ยับยั้งการงอกของเมล็ด ยับยั้งการเจริญของราก ยับยั้งการสังเคราะห์ด้วยแสง สารประกอบเอสเทอร์ของกรดจัสโมนิกเช่นก๊าซเมทิลจัสโมเนตซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยในพืชออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยาได้เช่นกัน เช่นกระตุ้นการทำงานของโปรตีเนสในมะเขือเทศ และชักนำการขดของมือพื.
กรดโอเลอิก
กรดโอเลอิก (oleic acid) เป็นกรดไขมันที่มีสูตรเคมีคือ C18H34O2 อยู่ในกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวโอเมกา-9 เป็นไขมันที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่ในเชิงพาณิชย์อาจมีสีเหลือง คำว่า "โอเลอิก" มาจากน้ำมันมะกอก (olive oil) ซึ่งมีปริมาณกรดโอเลอิกสูง นอกจากนี้ยังพบในน้ำมันพีแคน คาโนลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันแมคาเดเมียและน้ำมันดอกทานตะวัน นอกจากนี้ยังพบในไขมันไก่และมันหมู กรดโอเลอิกเป็นกรดไขมันที่พบมากที่สุดในเนื้อเยื่อไขมันของมนุษย์ และเป็นกรดไขมันที่พบมากที่สุดในเนื้อเยื่อทั่วร่างกายมนุษย์เป็นอันดับ 2 รองจากกรดปาล์มิติก ชีวสังเคราะห์ของกรดโอเลอิกในร่างกายเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของเอนไซม์ Stearoyl-CoA 9-desaturase ในปฏิกิริยานี้กรดสเตียริกจะถูกกลายสภาพเป็นกรดโอเลอิก ในแมลงกรดโอเลอิกทำหน้าที่เป็นฟีโรโมนที่ปล่อยออกมาจากซากของแมลง เพื่อกระตุ้นให้แมลงตัวอื่นขนซากไปทิ้ง หากแมลงที่ยังมีชีวิตอยู่มีกลิ่นนี้ก็จะถูกขนออกจากรังเช่นกัน นอกจากนี้กรดโอเลอิกยังใช้เตือนแมลงตัวอื่นให้หลีกเลี่ยงแมลงที่ป่วยตายและเตือนภัยนักล่า กรดโอเลอิกพบในอาหารทั่วไป เกลือโซเดียมของกรดโอเลอิกเป็นส่วนผสมในสบู่ เป็นตัวทำอิมัลชันและสารให้ความชุ่มชื้น กรดโอเลอิกปริมาณน้อยใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณในการทำยาและใช้เป็นตัวทำอิมัลชันและตัวช่วยละลายในผลิตภัณฑ์แอโรซอล.
กรดไขมันอิ่มตัว
รงสร้างของกรดไมริสติก กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง กรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C12 - C18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรดบิวทาโนอิก C3H7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นกรดไขมันอิ่มตัวมาก จะเป็นไขมัน เช่น กรดลอริก (C12) กรดไมริสติก (C14) กรดปาล์มิติก (C16) กรดสเตียริก (C18) กรดไขมันอิ่มตัว คือกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่ (double bond) หรือ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) อื่นๆ ตามสายโซ่เลย คำว่าอิ่มตัวหมายถึง ไฮโดรเจนในที่ซึ่งคาร์บอน (ที่เป็นส่วนของคาร์บอกซิลิก แอซิด-COOH กรุ๊ป) มีไฮโดรเจนเกาะอยู่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือที่ปลายโอเมก้าจะมี 3 ไฮโดรเจน (CH3-) และแต่ละคาร์บอนในสายโซ่จะมี 2 ไฮโดรเจน (-CH2-).
กรดไขมันจำเป็น
กรดไขมันจำเป็น เป็นกรดไขมันที่มนุษย์และสัตว์อื่นจะต้องรับเข้าสู่ร่างกายเนื่องจากร่างกายต้องการกรดไขมันเหล่านี้เพื่อให้มีสุขภาพดี แต่ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ คำว่า "กรดไขมันจำเป็น" หมายความถึง กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับกระบวนการทางชีววิทยา และไม่ใช่กรดไขมันที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเท่านั้น กรดไขมันจำเป็นในมุนษย์เท่าที่ทราบมีเพียงสองชนิดเท่านั้น: กรดอัลฟาไลโนเลนิก (กรดไขมันโอเมก้า 3) และกรดไลนาเลอิก (กรดไขมันโอเมก้า 6) ส่วนกรดไขมันอื่น ๆ นั้น "จำเป็นโดยมีเงื่อนไข" เท่านั้น รวมไปถึง กรดแกมมาไลโนเลนิก (กรดไขมันโอเมก้า 6), กรดลอริก (กรดไขมันอิ่มตัว) และกรดปาล์มมิโตลีอิค (กรดไขมันเดี่ยวอิ่มตัว) เมื่อกรดไขมันทั้งสองชนิดได้รับการค้นพบครั้งแรกใน..
กรดเบฮินิก
กรดเบฮินิก (behenic acid) หรือ กรดโดโคซาโนอิก (docosanoic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกและกรดไขมันอิ่มตัว มีสูตรเคมีคือ C21H43COOH เป็นผลึกหรือผงสีขาวถึงเหลือง ละลายในเฮกเซนและคลอโรฟอร์ม พบมากในน้ำมันมะรุม (Moringa oleifera) นอกจากนี้ยังพบในน้ำมันผักกาดก้านขาว, น้ำมันและผิวของถั่วลิสง โดยผิวถั่วลิสง 1 ตัน มีกรดเบฮินิกอยู่ 13 ปอนด์ (5.9 กก.).
การรับรู้รส
ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.
การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก
หลอกที่ใช้ในงานวิจัยและการปฏิบัติจริง การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (Placebo-controlled studies) หรือ การศึกษาควบคุมด้วยการรักษาหลอก เป็นวิธีการทดสอบการรักษาทางการแพทย์ ที่นอกจากจะมีกลุ่มบุคคลที่ได้รับการรักษาที่เป็นประเด็น ก็ยังมีกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาหลอก (placebo) ที่ออกแบบไม่ให้มีผลอะไร การรักษาหลอกมักจะใช้ในการทดลองแบบอำพราง ที่คนไข้ไม่รู้ว่าตนกำลังได้รับการรักษาแบบจริงหรือหลอก บ่อยครั้งจะมีกลุ่มอีกลุ่มหนึ่ง (natural history) ที่ไม่ได้รับการรักษาอะไรเลย จุดมุ่งหมายของกลุ่มรักษาหลอกก็เพื่อที่จะแก้ปรากฏการณ์ยาหลอก (placebo effect) ซึ่งหมายถึงผลจากกระบวนการรักษาที่ไม่ได้เกิดจากการรักษาที่เป็นประเด็น เป็นผลที่อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งการรู้ว่ากำลังได้รับการรักษา ความใส่ใจจากแพทย์พยาบาล และความคาดหวังถึงประสิทธิผลการรักษาของผู้ทำงานวิจัย และถ้าไม่มีกลุ่มรักษาหลอกเพื่อใช้เปรียบเทียบ ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า การรักษามีผลอะไรจริง ๆ หรือไม่ เพราะคนไข้บ่อยครั้งจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาแบบหลอก การรักษาแบบหลอกอาจมีหลายแบบรวมทั้ง ยาที่มีแต่น้ำตาล การผ่าตัดที่ไม่ทำอะไรที่ได้ผลจริง ๆ (เช่น เพียงแต่ผ่า และบางครั้งจับหรือจัดการอวัยวะเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ) หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (เช่น การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์) ที่ไม่ได้เปิดจริง ๆ นอกจากนั้นแล้ว เพราะเหตุที่ร่างกายสามารถดีขึ้นได้โดยธรรมชาติ หรือเพราะผลทางสถิติอื่น ๆ เช่น regression to the mean (คือโรคที่อาการหนักมากมักจะดีขึ้น) คนไข้เป็นจำนวนมากจะดีขึ้นแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาโดยประการทั้งปวง ดังนั้น คำถามที่เป็นประเด็นเมื่อประเมินการรักษาไม่ใช่ "การรักษาได้ผลหรือไม่" แต่เป็น "การรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาหลอก หรือเมื่อไม่ได้การรักษาอะไรเลยหรือไม่" นักวิจัยที่ทำการทดลองทางคลินิกในยุคต้น ๆ คนหนึ่งเขียนไว้ว่า "จุดประสงค์แรกของการทดสอบการรักษาก็คือเพื่อสืบหาว่า คนไข้ที่ได้รับการรักษาที่กำลังสืบสวนหายได้เร็วกว่า ได้สมบูรณ์กว่า ได้บ่อยครั้งกว่า ที่จะเป็นเมื่อไม่ได้" หรือกล่าวโดยกว้าง ๆ ก็คือ จุดมุ่งหมายของการทดลองทางคลินิกก็เพื่อจะกำหนดว่า การรักษาอะไร ทำอย่างไร ต่อคนไข้ประเภทไหน ในสภาวะอะไร ที่ได้ผลดีที่สุด ดังนั้น การใช้การรักษาหลอกเป็นองค์ควบคุมมาตรฐานในการทดลองทางคลินิกโดยมาก ซึ่งพยายามทำการประเมินเชิงปริมาณ (quantitative assessment) ของประสิทธิผลของยาหรือการรักษา การตรวจสอบหรือการทดลองทางคลินิกอย่างที่ว่า เรียกว่า การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (placebo-controlled study) โดยมีกลุ่มควบคุมเป็นแบบลบ (คือเป็นกลุ่มที่ไม่ควรได้ผล) ส่วนงานศึกษาที่ควบคุมโดยการรักษาที่เคยตรวจสอบมาก่อนแล้ว จะเรียกว่า positive-control study เพราะว่า กลุ่มควบคุมเป็นแบบบวก (คือควรจะได้ผลดังที่เคยพบมาก่อนแล้ว) องค์กรควบคุมของรัฐจะอนุมัติยาก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบที่ไม่ใช่เพียงแค่แสดงว่ามีผลต่อคนไข้ แต่ว่าผลต่างที่ได้มีมากกว่าที่ได้จากการรักษาหลอก (คือมีผลต่อคนไข้จำนวนมากกว่า มีผลต่อคนไข้ในระดับสูงกว่า หรือทั้งสอง).
ดู กรดไขมันและการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก
การหายใจระดับเซลล์
การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) เป็นชุดปฏิกิริยาและกระบวนการทางเมแทบอลิซึมที่เกิดในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อเปลี่ยนแปลงพลังงานชีวเคมีจากสารอาหารเป็นอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) และปล่อยผลิตภัณฑ์ของเสียออกมา ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหายใจมีปฏิกิริยาแคแทบอลิซึมที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยารีดอกซ์ (หมายถึง มีทั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน) การหายใจเป็นหนึ่งในวิธีการหลักที่เซลล์จะได้รับพลังงานที่มีประโยชน์เพื่อเป็นเชื้อเพลิงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ สารอาหารซึ่งเซลล์สัตว์และพืชมักใช้ในการหายใจ มีน้ำตาล กรดอะมิโนและกรดไขมัน ตลอดจนตัวออกซิไดซ์ทั่วไป (ตัวรับอิเล็กตรอน) ในโมเลกุลออกซิเจน (O2) แบคทีเรียและอาร์เคียยังเป็นลิโธโทรฟ (lithotroph) คือ อาจหายใจได้โดยใช้โมเลกุลอนินทรีย์หลากชนิดเป็นตัวให้และรับอิเล็กตรอน เช่น กำมะถัน ไอออนโลหะ มีเทนและไฮโดรเจน สิ่งมีชีวิตซึ่งใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในการหายใจเรียกว่า สิ่งมีชีวิตต้องการออกซิเจน (aerobic) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย เรียกว่า สิ่งมีชีวิตไม่ต้องการออกซิเจน (anaerobic) พลังงานซึ่งปลดปล่อยออกมาในการหายใจใช้ในการสังเคราะห์เอทีพีเพื่อเก็บพลังงานนี้ พลังงานที่เก็บในเอทีพีจากนั้นสามารถใช้เพื่อขับเคลื่อนขบวนการซึ่งอาศัยพลังงาน ได้แก่ ชีวสังเคราะห์ การเคลื่อนที่หรือการส่งโมเลกุลข้ามเยื่อหุ้มเซลล.
ดู กรดไขมันและการหายใจระดับเซลล์
การขาดวิตามินบี12
การขาดวิตามินบี12 หรือ ภาวะขาดวิตามินบี12 (Vitamin B12 deficiency, hypocobalaminemia) หมายถึงการมีระดับวิตามินบี12 ในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการหลายอย่างรวมทั้งปัญหาทางความคิด ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ความซึมเศร้า ความหงุดหงิด โรคจิต (psychosis) --> ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) รีเฟล็กซ์เปลี่ยน กล้ามเนื้อทำงานไม่ดี ลิ้นอักเสบ (glossitis) ได้รสชาติลดลง (hypogeusia) เม็ดเลือดแดงน้อย (เลือดจาง) การทำงานของหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) และความเป็นหมัน ในเด็กเล็ก ๆ อาการอาจรวมการไม่โต พัฒนาการที่ล่าช้า และความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว (movement disorder) ถ้าไม่รักษา ความเปลี่ยนแปลงอาจจะกลายเป็นปัญหาถาวร เหตุสามัญรวมทั้งการดูดซึมวิตามินได้ไม่ดีจากกระเพาะหรือลำไส้ การทานอาหารที่มีวิตามินไม่พอ และความต้องการที่เพิ่มขึ้น --> การดูดซึมได้ไม่ดีอาจมีเหตุจากโรคโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) การผ่าตัดเอากระเพาะออก ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง พยาธิในลำไส้ ยาบางชนิด และความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ --> ส่วนการทานอาหารที่มีวิตามินไม่พออาจเกิดกับผู้ที่ทานอาหารเจแบบวีแกน หรือได้สารอาหารไม่เพียงพอ --> ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดในคนไข้เอชไอวี/เอดส์ และในบุคคลที่สลายเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยปกติจะอาศัยระดับวิตามินบี12 ในเลือดที่ต่ำกว่า 120-180 picomol/L (หรือ 170-250 pg/mL) ในผู้ใหญ่ --> การมีระดับกรด methylmalonic ที่สูงขึ้น คือ เกิน 0.4 micromol/L อาจจะเป็นตัวบ่งความขาดวิตามินได้ด้วย --> การมีภาวะโลหิตจางแบบ megaloblastic anemia (ที่เม็ดเลือดใหญ่เกินปกติเพราะแบ่งตัวไม่ได้) เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่จำเป็น สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐแนะนำให้หญิงทานเจที่มีครรภ์ทานวิตามินเสริมเพื่อป้องกันการขาด เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว สามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยให้วิตามินเสริมไม่ทางปากก็ทางการฉีด ไม่ต้องกังวลว่าจะมีวิตามินบี12 เกินในบุคคลที่มีสุขภาพดี คนไข้บางรายอาจจะดีขึ้นเองถ้ารักษาโรคที่เป็นเหตุ ในบางกรณีอาจจะต้องทานวิตามินชั่วชีวิตเพราะโรคที่เป็นเหตุไม่สามารถรักษาได้ การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญ ประมาณว่า 6% ของคนที่อายุต่ำกว่า 60 และ 20% ของคนที่อายุมากกว่า 60 จะมีปัญหานี้ --> โดยอัตราอาจสูงถึง 80% ในบางเขตของทวีปแอฟริกาและเอเชี.
ดู กรดไขมันและการขาดวิตามินบี12
การตอบสนองโดยสู้หรือหนี
ู้หรือหนีดี การตอบสนองโดยสู้หรือหนี หรือ การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (fight-or-flight response, hyperarousal, acute stress response) เป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย เสี่ยงต่อถูกทำร้าย หรือเสี่ยงต่อชีวิต โดยมี.
ดู กรดไขมันและการตอบสนองโดยสู้หรือหนี
กาเฟอีน
กาเฟอีน (caféine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก.
ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน
วะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน หรือ ดีเคเอ (diabetic ketoacidosis - DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในบางสถานการณ์ DKA เป็นผลจากการขาดอินซูลิน ทำให้ร่างกายหันไปใช้พลังงานจากกรดไขมันซึ่งผลจากการเผาผลาญกรดไขมันจะทำให้ได้ผลผลิตเป็นคีโตนบอดี้ซึ่งทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจไม่เคยมีอาการหรือไม่เคยรับการตรวจมาก่อนเลย จนพบมีอาการอีกครั้งก็คือเป็นมากจนเป็น DKA แล้วก็มี สิ่งกระตุ้นให้เกิด DKA ในผู้ป่วยเบาหวานมีหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยคือการขาดยา อาการของ DKA ที่พบบ่อยคืออาเจียนมาก ขาดน้ำ หายใจลึกเร็ว สับสน หรือหมดสติถึงขั้นโคม่าได้ การวินิจฉัย DKA ทำได้โดยการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ แยกจากภาวะเลือดเป็นกรดอื่นๆ (ซึ่งพบน้อยกว่ามาก) ได้โดยตรวจพบมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก การรักษาที่สำคัญคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ให้อินซูลินเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ไม่ต้องย่อยสลายไขมันเกิดเป็นคีโตนและกรดคีโตน รักษาโรคที่พบร่วมและอาจเป็นเหตุกระตุ้นได้เช่นการติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งติดตามอาการใกล้ชิดเพื่อตรวจและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น DKA เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกใน..
ดู กรดไขมันและภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน
มะก่อ
มะก่อ เป็นไม้ในวงศ์ก่อ ขึ้นตามป่าดิบเขา เป็นไม้ผลัดใบไม่มียาง เปลือกต้นหนา ติดผลเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีครีมอมเหลือง เปลือกนอกสีเขียวมีหนามแหลม กะลาสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวครีม รสมัน นำเมล็ดมาคั่วหรือต้มให้สุก เพื่อรับประทานเนื้อในเมล็ด มีกรดไขมันโอเมกา 3 ที่ช่วยบำรุงสมอง.
ยอ
อกยอ ยอ (L.) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียกเมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม.
ยากันชัก
แอนติอิพิเลปติก (อังกฤษ:antiepileptics) มีอีกชื่อว่า แอนติคอนวัลแซนต์ (anticonvulsants) เป็นยาต้านและป้องกันอาการชักเช่นอาการชักจากลมบ้าหมู กลไกการออกฤทธิ์คือการบล็อกโวลเตก-เซนซิตีพ โซเดียมแชแนล (voltage-sensitive sodium channel) ในสมอง.
ยาปฏิชีวนะ
การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".
ระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.
รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์
หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..
ดู กรดไขมันและรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์
ลิพิด
รงสร้างลิพิด ลิพิดส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนหัวเป็นโพลาร์ กรุ๊ป (P) และส่วนหางที่เป็นนอนโพลาร์ (U for unpolar) ลิพิดแสดงฟอสโฟลิพิด 2 หาง รูปซ้ายเป็นส่วนขยายของภาพทางขวา ที่แทน โซ่ลิพิด 1, 2 และ 3 เส้น ลิพิด (lipid) คือสารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ (water-insoluble) มีหลายชนิด หรือ สารประกอบ ไม่มีขั้ว (nonpolar) ละลายน้ำน้อยตลอดจนละลายน้ำมาก พวกที่ละลายน้ำได้มากจะเป็นสารประกอบจำพวก มีขั้ว (polar) ลิพิดบางตัวมีโมเลกุลเป็นเส้นตรง อะลิฟาติก (aliphatic) บางตัวมีวงแหวนเรียก อะโรมาติก (aromatic) บางตัวยืดหยุ่นบางตัวเปราะบาง โมเลกุลของลิพิดมีสองส่วนทั้งที่มีขั้วและไม่มีขั้ว จึงทำให้ลิพิดสามารถละลายได้ทั้งในตัวทำละลายมีขั้วเช่นน้ำ และไม่มีขั้วเช่นน้ำมัน โมเลกุลเหล่านี้เรียกว่า แอมฟิฟิลิก (amphiphilic) คือใน โมเลกุล เดียวกันมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic) และส่วนที่กลัวน้ำ ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) ตัวอย่างเช่น คอเลสเตอรอลส่วนที่มีขั้วคือ -OH (ไฮดรอกซิล หรือ แอลกอฮอล์).
วัฏจักรไกลออกซีเลต
วัฏจักรไกลออกซีเลต (glyoxylate cycle) เป็นเมตาโบลิก พาทเวย์ที่สังเคราห์คาร์โบไฮเดรตจากกรดไขมัน กระบวนการนี้สามารถพบได้ในพืช จุลชีพบางชนิด และ สัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท.
ดู กรดไขมันและวัฏจักรไกลออกซีเลต
วิตามิน
วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อยLieberman, S and Bruning, N (1990).
วิตามินบี12
วงแหวง corrin ที่เป็นโครงสร้างประกอบของวิตามิน methylcobalamin (ดังที่แสดง) เป็นรูปแบบของวิตามินบี12 อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายกับรูปแบบอื่น ๆ ของวิตามิน ปรากฏเป็นผลึกสีแดงซึ่งละลายน้ำเป็นสีแดงเข้ม วิตามินบี12 (12, cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำได้ที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำงานเป็นปกติของสมองกับระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 8 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยมีผลเฉพาะต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เมแทบอลิซึมของกรดไขมันและกรดอะมิโน ไม่มีเห็ดรา พืช หรือสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถสร้างวิตามินบี12ได้ มีแต่สิ่งมีชีวิตประเภทแบคทีเรียและอาร์เคียที่มีเอนไซม์เพื่อสังเคราะห์มันได้ แหล่งของวิตามินที่ได้พิสูจน์แล้วเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์รวมทั้งเนื้อ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มาจากสัตว์บางอย่างอาจเป็นแหล่งธรรมชาติของวิตามินได้ เพราะอยู่ร่วมกับแบคทีเรีย (bacterial symbiosis) วิตามินบี12 เป็นวิตามินที่ใหญ่ที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด และสามารถสังเคราะห์โดยหมักแบคทีเรีย (bacterial fermentation-synthesis) แล้วใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม วิตามินบี12 เป็นกลุ่มสารประกอบที่มีโครงสร้างเคมีเกี่ยวข้องกัน (หรือที่เรียกว่า vitamer) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีธาตุโคบอลต์ (Co) ที่ไม่สามัญทางเคมี-ชีวภาพ อยู่ตรงกลางวงแหวนเชิงระนาบแบบ tetra-pyrrole ที่เรียกว่าวงแหวน corrin (ดูรูป) ซึ่งสามารถผลิตได้โดยแบคทีเรีย hydroxocobalamin แต่ร่างกายสามารถแปรรูปแบบวิตามินไปในแบบต่าง ๆ ได้ วิตามินค้นพบโดยความสัมพันธ์ของมันกับโรคภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง และมีผลทำลายเซลล์ผนัง (parietal cell) ที่มีหน้าที่หลั่งไกลโคโปรตีน คือ intrinsic factor ในกระเพาะอาหาร เซลล์เหล่านี้ยังมีหน้าที่หลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอีกด้วย เพราะว่า intrinsic factor จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินตามปกติ การขาดโปรตีนนี้เพราะโรค จึงทำให้ขาดวิตามินบี12 ยังมีรูปแบบการขาดวิตามินแบบเบากว่าอื่น ๆ ที่ผลติดตามทางชีวเคมีก็ปรากฏชัดแล้ว.
สบู่
ู่ของโรงแรม โครงสร้างของโซเดียมสเตียเรตหรือสบู่ ในทางเคมี สบู่คือเกลือของกรดไขมัน สบู่ในบ้านเรือนใช้ชะล้าง อาบ และใช้ในการทำความสะอาดบ้าน โดยสบู่ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว และน้ำมันอิมัลซิไฟเออร์เพื่อให้สบู่ไหลไปกับน้ำได้ ในอุตสาหกรรม สบู่ยังใช้กับการปั่นผ้า และเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารหล่อลื่นบางชนิด สบู่สำหรับการชะล้างได้มาจากน้ำมันพืชหรือสัตว์ และไขมันที่มีค่าเบสสูง เช่น โซดาไฟ หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ในสารละลายในน้ำ ไขมันและน้ำมันเป็นส่วนประกอบของไตรกลีเซอไรด์ กล่าวคือ โมเลกุลของกรดไขมันสามโมเลกุลติดกับโมเลกุลของกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุลCavitch, Susan Miller.
สฟิงโกลิพิด
รงสร้างทางเคมีโดยทั่วไปของสฟิงโกลิพิด สฟิงโกซายน์ สฟิงโกลิพิด (Sphingolipids) เป็นการรวมตัวของสฟิงโกซายน์ (Sphingosine) กับกรดไขมันและหมู่ฟอสเฟต เป็นไขมันที่เป็นองค์ประกอบในเยื่อหุ้ม และมีบทบาทในการจดจำระหว่างเซลล์ พบมากในเนื้อเยื่อประสาทและสมอง.
สฟิงโกไมอีลิน
รงสร้างทั่วไปของสฟิงโกลิพิด สฟิงโกไมอีลิน (sphingomyelin) เป็นสฟิงโกลิพิดชนิดหนึ่งที่พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์ โดยเฉพาะเยื่อไมอีลินที่หุ้มรอบแอกซอนของเซลล์ประสาท ส่วนใหญ่ประกอบด้วยฟอสโฟโคลีน (phosphocholine) และเซราไมด์ (ceramide) หรือหมู่ฟังก์ชันเอทาโนลามีน (ethanolamine) ดังนั้นสฟิงโกไมอีลินจึงสามารถจัดอยู่ในกลุ่มสฟิงโกฟอสโฟลิพิด (sphingophospholipids) ในมนุษย์ สฟิงโกไมอีลินนับเป็นประมาณร้อยละ 85 ของสฟิงโกลิพิดในร่างกาย และคิดเป็น 10–20 ร้อยละโมลของลิพิดในเยื่อหุ้มเซลล์ สฟิงโกไมอีลินถูกแยกครั้งแรกโดยนักเคมีชาวเยอรมัน Johann L.W.
สารลดแรงตึงผิว
มเซลล์ในน้ำ สารลดแรงตึงผิว (surfactant) เป็นสารประกอบที่ทำให้แรงตึงผิวของของเหลวลดลง ช่วยให้การกระจายตัวของของเหลวดีขึ้น และช่วยลดแรงตึงผิวระหว่างของเหลวสองชนิดหรือระหว่างของเหลวกับของแข็ง สารลดแรงตึงผิวสามารถใช้เป็น น้ำยาซักล้าง อีมัลชั่น โฟมมิ่งเอเจนต์ หรือ ดิสเพอส์แซนต์ สารชนิดนี้จะมีทั้งส่วนที่มีและไม่มีขั้ว เมื่ออยู่ในน้ำจึงมักจัดตัวเป็นไมเซลล.
สารประกอบอินทรีย์
มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอน ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบคาร์ไบน์, คาร์บอเนต, ออกไซด์ของคาร์บอนและไซยาไนด์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอน อย่างเช่น เพชรและแกรไฟต์ ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชาเคมีอย่างกว้างขวาง...
ดู กรดไขมันและสารประกอบอินทรีย์
สารประกอบแอลิแฟติก
รประกอบแอลิแฟติก (Aliphatic Compound IPA:; G. aleiphar, fat, oil) คือสารประกอบในศาสตร์เคมีอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอน) ประเภทที่ไม่มีวงอโรมาติก สารประกอบแอลิแฟติกสามารถประกอบด้วยวง (cyclic) ดั่งไซโคลเฮกเซนหรืออไซคลิก สารประกอบอาจอยู่ในรูปอิ่มตัว เช่น เฮกเซนหรือไม่อิ่มตัว เช่น เฮกซีน ก็ได้ ในสารประกอบแอลิแฟติก อะตอมของคาร์บอนจะสร้างพันธะแก่กันอาจอยู่ในแบบโซ่ตรง (straight chains), โซ่กิ่ง (branched chains), หรือไม่เป็นวงอโรมาติกก็ได้ (อลิไซคลิก) และอาจสร้างพันธะเดี่ยว (แอลเคน), พันธะคู่ (แอลคีน) หรือพันธะสาม (แอลไคน์) นอกเหนือจากไฮโดรเจนนั้น ยังมีอะตอมของธาตุอื่นๆสามารถสร้างพันธะกับคาร์บอนได้ โดยส่วนมากจะได้แก่อะตอมของออกซิเจน, ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ และโคลรีน สารประกอบแอลิแฟติกอย่างง่ายที่สุดคือมีเทน (CH4) อลิฟาติยังรวมไปถึงสารจำพวกแอลเคน อาทิ พาราฟิน ไฮโดรคาร์บอน, แอลคีน อาทิ เอทิลีน และแอลไคน์ เช่น อะเซทิลีน กรดไขมัน ซึ่งจะประกอบด้วยแอลิแฟติกแบบไม่มีกิ่งต่อเข้ากับหมู่คาร์บอกซิล.
ดู กรดไขมันและสารประกอบแอลิแฟติก
หน่วยรับรส
หน่วยรับรส (taste receptor) เป็นหน่วยรับความรู้สึกประเภทหนึ่ง อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์รับรส และอำนวยให้รู้รส เมื่ออาหารหรือสารอื่น ๆ เข้ามาในปาก โมเลกุลของอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำลายจะจับกับหน่วยรับรสในช่องปากและในที่อื่น ๆ ซึ่งก่อปฏิกิริยาภายในเซลล์ และในที่สุดทำให้เซลล์หลั่งสารสื่อประสาท อำนวยให้เกิดกระแสประสาทส่งไปยังสมอง แล้วทำให้รู้รส ระบบรับรสมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับสารอาหาร มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถรับรู้รสหลัก ๆ ได้ 5 อย่างคือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน ขม และอุมะมิ หน่วยรับรสสามารถแบ่งออกเป็นแบบทั่ว ๆ ไปสองหมู่คือ.
อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต
อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (adenosine triphosphate: ATP) เป็นสารให้พลังงานสูงแก่เซลล์ ผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์แสง หรือการหายใจระดับเซลล์และถูกใช้โดยกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สลายอาหาร, active transport,move ในสิ่งมีชีวิต ATP ถูกสร้างขึ้นด้วยวิถีทางต่าง ๆ ดังนี้.
ดู กรดไขมันและอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต
อาร์เคีย
อาร์เคีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายแบคทีเรีย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการแยกมา เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่แปลกออกไป เป็นโปรคาริโอตที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและในมหาสมุทร ผนังเซลล์ไม่มีเปบทิโดไกลแคน กรดไขมันในเยื่อหุ้มแตกกิ่ง ไม่ไวต่อยาปฏิชีวนะ ยีนไม่มีอินทรอน RNA polymerase มีหลายชนิด บางส่วนเหมือนยูคาริโอต rRNA บางส่วนคล้ายกับของยูคาริโอตด้วยเช่นกัน กลุ่มของอาร์เคียที่สำคัญได้แก.
อาหารแมว
แมวกำลังกินอาหารแมวชนิดเม็ด อาหารแมว คืออาหารที่ผลิตหรือปรุงแต่งขึ้นให้แมวกิน แมวมีความต้องการสารอาหารเฉพาะทาง ในกระบวนการผลิตนั้น สารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินหลายชนิด และกรดอะมิโน ลดคุณภาพได้จากอุณหภูมิ ความดัน และการปรุงแต่งด้วยสารเคมี ดังนั้นสารอาหารนี้จึงถูกเพิ่มหลังผลิตเสร็จเพื่อไม่ให้แมวขาดสารอาหาร | Perry T.
อาหารเสริม
อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีเจตนาให้สารอาหารที่อาจบริโภคในปริมาณที่ไม่เพียงพอ โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าอาหารเสริมมีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร กรดไขมันหรือกรดอะมิโน ตลอดจนสารอื่น ทางการสหรัฐนิยามอาหารเสริมว่าเป็นอาหาร แต่ที่อื่นอาจจำแนกเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์อื่น มีอาหารเสริมกว่า 50,000 อย่าง ประชากรผู้ใหญ่สหรัฐกว่าครึ่ง (53-55%) บริโภคอาหารเสริมโดยที่ใช้มากที่สุดคือ วิตามินรวม ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มิได้เจตนาใช้ป้องกันหรือรักษาโรคใด ๆและในบางกรณีก็เป็นอันตรายตามข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถบริโภคอาหารสมดุลได้ สำนักงานดังกล่าวว่าอาหารเสริมบางอย่าง "อาจมีคุณ" ควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมส่วนใหญ่ และปกติบุคคลไม่ควรกินสารอาหารรองยกเว้นบุคคลที่มีการขาดแสดงชัดเจน บุคคลควรปรึกษาแพทย์ก่อน มีข้อยกเว้นคือ วิตามินดี ซึ่งมีการแนะนำในประเทศนอร์ดิก เนื่องจากมีแสงแดดน้อ.
ทุเรียน
ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae) ก็ตาม) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้วันดี กฤษณพันธ์, สมุนไพรน่ารู้, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 3..
คาร์บอน
ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.
คาร์นิทีน
ร์นิทีน เป็นสารประกอบจตุรภูมิของแอมโมเนียมที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนสองชนิดคือ ไลซีนและเมธไทโอนีน ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคาร์นิทีนจะลำเลียงกรดไขมันจากไซโตซอลเข้าสู่ไมโทคอนเดรียระหว่างการสลายของลิพิด (ไขมัน) เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงาน คาร์นิทีนถูกใช้เป็นอาหารเสริมกันอย่างกว้างขวาง เดิมคาร์นิทีนพบว่าเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของหนอนนกและมีอยู่บนฉลากวิตามินบี คาร์นิทีนมีอยู่ 2 stereoisomers: Active form คือ L-carnitine ขณะที่ inactive form คือ D-carnitine.
ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด
นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.
ดู กรดไขมันและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด
ต่อมหมวกไต
ต่อมหมวกไต อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไต (adrenal gland,suprarenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิด เช่น อะดรีนาลิน จะอยู่เหนือไตทั้ง2ข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด ต่อมหมวกไตแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ.
ปลา
ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.
ปลาตะลุมพุกฮิลซา
ปลาตะลุมพุกฮิลซา (Hilsa shad, Ilisha, โอริยา: ଇଲିଶି, Ilishii, เบงกาลี: ইলিশ, Ilish, เตลูกู: పులస, Pulasa หรือ Polasa, สินธี: پلو مڇي, Pallu Machhi) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa ilisha อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) ปลาตะลุมพุกฮิลซา เป็นปลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเทศในแถบอ่าวเบงกอล เช่น บังกลาเทศ, อินเดียและพม่าเนื่องจากใช้เป็นอาหารบริโภคกันมาอย่างยาวนาน จนเสมือนเป็นสมบัติของชาติชิ้นหนึ่งของบังกลาเทศ มีลักษณะคล้ายกับปลาตะลุมพุก (T.
ดู กรดไขมันและปลาตะลุมพุกฮิลซา
น้ำมันปาล์ม
น้ำมันปาล์ม (Palm oil) สกัดจาก ปาล์มน้ำมันดิบ เป็นพืชน้ำมันที่ให้ปริมาณน้ำมันสูงถึง 0.6 - 0.8 ตัน/ไร่/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง ไม่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง น้ำมันปาล์มมีราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ปลอดจากสารตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) น้ำมันปาล์มผลิตได้เองในประเทศการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและรายได้โดยรวมของประเท.
น้ำย่อย
น้ำย่อยของลำไส้เล็ก (Intestinal Juices) เป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากนำลำไส้เล็กเอง ประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิด ดังนี้.
น้ำเลือด
น้ำเลือด หรือ พลาสมา (plasma) คือ ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว โดยปกติจะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใส แต่ถ้าพบไขมันก็จะเห็นเป็นสีขาว มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55 ในเลือด พลาสมาได้จากการนำเลือด (blood)ไปปั่นเหวี่ยงและเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป ทำให้พลาสมาสามารถแยกชั้นจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ เซลล์เม็ดเลือดแดง ไปอยู่ชั้นบนสุดได้ ส่วนซีรั่มก็คือพลาสมาที่ปราศจากไฟบริโนเจน (fibrinogen) หรือเป็นของเหลวที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือ.
แล็กทูโลส
แล็กทูโลส (Lactulose) เป็นน้ำตาลที่ดูดซึมไม่ได้และใช้รักษาอาการท้องผูกและโรคสมองเหตุตับ (hepatic encephalopathy) โดยใช้ทานสำหรับท้องผูก และใช้ทานหรือใส่ในไส้ตรงสำหรับโรคสมอง ปกติจะออกฤทธิ์ภายใน 8-12 ชม.
แห้วไทย
แห้วไทย เป็นพืชอายุยืน เหง้าเรียว มีเกล็ดสีซีดห่อหุ้ม เหง้าจะฝ่อหลังจากเกิดหัว หัวรูปไข่หรือกลม หัวแก่มีขนสีเทาปกคลุม ลำต้นเรียวเล็ก แข็ง ช่อดอกคล้ายซี่ร่ม มีริ้วประดับเป็นวงรองรับช่อดอก การกระจายพันธุ์พบตั้งแต่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตอนใต้ของแอฟริกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย หัวนำมาต้มสุกหรือคั่ว และบดละเอียดเป็นแป้ง ใช้ทำไอศกรีม ขนมปังหรือโจ๊ก ในสเปนใช้ทำเครื่องดื่มที่เรียกออร์ชาตา ทำจากน้ำคั้นจากหัวสด ลำต้นแห้งใช้สานเสื่อ งานจักสานต่าง ๆ ส่วนบนดินใช้เป็นอาหารสัตว์ หัวมีแป้ง 2030 ของน้ำหนักแห้ง มีน้ำมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น กรดโอเลอิก.
แคแทบอลิซึม
แผนภาพแคแทบอลิซึมของสารอาหารในร่างกาย แคแทบอลิซึม เป็นกลุ่มวิถีเมแทบอลิซึมซึ่งสลายโมเลกุลเป็นหน่วยขนาดเล็กและปลดปล่อยพลังงาน ในแคแทบอลิซึม โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น พอลิแซ็กคาไรด์ ลิพิด กรดนิวคลีอิกและโปรตีนถูกสลายเป็นหน่วยขนาดเล็กกว่า เช่น มอโนแซ็กคาไรด์ กรดไขมัน นิวคลีโอไทด์และกรดอะมิโนตามลำดับ โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น พอลิแซ็กคาไรด์ โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วยหน่วยมอโนเมอร์สายยาวนี้ เรียกว่า พอลิเมอร์ เซลล์ใช้มอโนเมอร์ที่ปลดปล่อยจากการสลายพอลิเมอร์เพื่อสร้างโมเลกุลพอลิเมอร์ใหม่ หรือย่อยมอโนเมอร์นั้นอีกจนเหลือผลิตภัณฑ์ของเสียที่มีโครงสร้างเรียบง่าย และปลดปล่อยพลังงานออกมา ของเสียในเซลล์รวมถึงกรดแลกติก กรดอะซีติก คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนียและยูเรีย การสร้างของเสียเหล่านี้โดยปกติเป็นขบวนการออกซิเดชันเกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยพลังงานเคมีอิสระ ซึ่งบางส่วนสูญเสียไปในรูปความร้อน แต่ส่วนที่เหลือถูกใช้เพื่อขับเคลื่อนการสังเคราะห์อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) โมเลกุลนี้ทำหน้าที่เป็นหนทางที่เซลล์ขนส่งพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากแคแทบอลิซึมไปยังปฏิกิริยาที่ต้องการพลังงานซึ่งประกอบเป็นแอแนบอลิซึม ฉะนั้น แคแทบอลิซึมจึงให้พลังงานเคมีซึ่งจำเป็นต่อการคงสภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ ตัวอย่างของขบวนการแคแทบอลิซึม เช่น ไกลโคไลสิส วัฏจักรเครปส์ การสลายโปรตีนกล้ามเนื้อเพื่อใช้กรดอะมิโนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูโคสและการสลายไขมันในเนื้อเยื่อไขมันเป็นกรดไขมัน มีหลายสัญญาณซึ่งควบคุมแคแทบอลิซึม สัญญาณที่ทราบกันส่วนมากเป็นฮอร์โมนและโมเลกุลที่เกี่ยวข้องในเมแทบอลิซึมเอง นักวิทยาต่อมไร้ท่อเดิมจำแนกฮอร์โมนจำนวนมากเป็นฮอร์โมนแอแนบอลิกหรือแคแทบอลิกขึ้นอยู่กับส่วนของเมแทบอลิซึมที่มันไปกระตุ้น ฮอร์โมนแคแทบอลิกดั้งเดิมที่ทราบกันตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ คอร์ติซอล กลูคากอนและอะดรีนาลีน ตลอดจนแคทีโคลามีนอื่น ๆ ในทศวรรษหลัง ๆ มีการค้นพบฮอร์โมนมากขึ้นที่มีผลเชิงแคแทบอลิซึมอยู่บ้าง รวมทั้งไซโคไคน์ โอรีซิน (ไฮโปเครติน) และเมลาโทนิน ฮอร์โมนแคแทบอลิกเหล่านี้จำนวนมากแสดงผลต่อต้านแคแทบอลิซึมในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ การศึกษาหนึ่งพบว่า การจัดการเอพิเนฟริน (อะดรีนาลิน) มีผลยับยั้งการสลายโปรตีน และอันที่จริง ยับยั้งแคแทบอลิซึมมากกว่ากระตุ้น อีกการศึกษาหนึ่งพบว่า แคทีโคลามีนโดยรวม (คือ นอร์อะดรีนาลินและอะดรีนาลิน) ลดอัตราแคแทบอลิซึมในกล้ามเนื้ออย่างมาก.
โพรสตาแกลนดิน
E1 - อัลโพรสตาดิล (Alprostadil) I2 - โพรสตาไซคลิน (Prostacyclin) โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) เป็นกลุ่มของสารประกอบจำพวกลิพิดซึ่งสร้างมาจากกรดไขมันและทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างในร่างกายสัตว์ สารประกอบโพรสตาแกลนดินประกอบด้วยคาร์บอน 20 อะตอม และมีวงแหวน 5 อะตอมคาร์บอน (5-carbon ring) โพรสตาแกลนดินเป็นสารตัวกลาง (mediator) และทำหน้าทำให้เกิดอาการปวดและเหนี่ยวนำให้เกิดพยาธิสภาพของโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง, มะเร็ง และการอักเสบ เป็นต้น ทั้งโพรสตาแกลนดิน, ทรอมบอกเซน (thromboxane), และโพรสตาไซคลิน (prostacyclin) เป็นอนุพันธ์ของกรดไขมันที่เรียกว่ากลุ่มโพรสตานอยด์ (prostanoid) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของพวกไอโคซานอยด์ (eicosanoid) หมวดหมู่:ฮอร์โมน หมวดหมู่:ลิพิด.
โพลีคีไทด์
รประกอบโพลีคีไทด์ (polyketide) เป็นกลุ่มของสารประกอบเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ (natural product) สามารถพบได้ทั้งใน พืช รา และ แบคทีเรีย สารประกอบโพลีคีไทด์นั้นเป็นสารประกอบที่มีหมู่คาร์บอนนิลหลายหมู่ในโมเลกุล ได้รับความสนใจค้นคว้าเนื่องจากสารประกอบจำพวกนี้มีคุณสมบัติทางชีวภาพหลายประการ อย่างเช่น มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค และต่อต้านเนื้องอก สารประกอบโพลีคีไทด์ที่พบในธรรมชาติสามารถแบ่งได้เป็น 1.
โมโน- และไดกลีเซอไรด์ของกรดไขมัน
มโนกลีเซอไรด์ เชื่อมกับกรดไขมันอิ่มตัว (มีสี'''น้ำเงิน''') ไดกลีเซอไรด์ เชื่อมกับกรดไขมันอิ่มตัว (สี'''น้ำเงิน''') และกรดไขมันไม่อิ่มตัว (สี'''เขียว''') กรดไขมัน "โมโนกลีเซอไรด์" และ "ไดกลีเซอไรด์" (สารเติมแต่งอาหาร E-471) เป็นสารเติมแต่งอหาร (food additive) ที่ใช้เป็นตัวอิมัลซิฟายเออร์ (เช่นใช้ในครีมเทียมเพื่อให้ไขมัน "ละลาย" ในกาแฟได้) ไขมันสังเคราะห์เหล่านี้สังเคราะห์มาจากกลีเซอรอล (glycerol) และกรดไขมันธรรมชาติ ซึ่งมาจากพืชหรือมาจากสัตว์ E471 มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ผสมจากสารหลายอย่าง โดยมีองค์ประกอบคล้าย ๆ กับไขมันธรรมชาติที่ย่อยแล้วเป็นบางส่วน.
ดู กรดไขมันและโมโน- และไดกลีเซอไรด์ของกรดไขมัน
โมโนกลีเซอไรด์
รงสร้างเคมีของโมเลกุล 1-monoacylglycerol โครงสร้างเคมีของโมเลกุล 2-monoacylglycerol โมโนกลีเซอไรด์ (Monoglyceride) เป็นกลีเซอไรด์ที่มีโมเลกุลกลีเซอรอล (glycerol) ที่มีมีพันธะเอสเทอร์กับโมเลกุลหนึ่งของกรดอะมิโน ชื่อที่ตรงกับโครงสร้างโมเลกุลมากกว่าที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ acylglycerol และ monoacylglycerol โมโนกลีเซอไรด์ทั้งหมดถ้าไม่เป็น 1-monoacylglycerol ก็จะเป็น 2-monoacylglycerol (ดูรูป) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของพันธะเอสเทอร์ (ester bond) 1-monoacylglycerides มีศูนย์ไคแรลอยู่ที่คาร์บอน 2 โมโนกลีเซอไรด์เกิดขึ้นจากทั้งกระบวนการทางชีวภาพและกระบวนการอุตสาหกรรมเคมี โดยกระบวนการทางชีวเคมีแล้ว โมโนกลีเซอไรด์เกิดขึ้นจาก.
โมเลกุลชีวภาพ
รงสร้างสามมิติของไมโอโกลบิน แสดงเกลียวแอลฟาที่เน้นสี โปรตีนนี้เป็นตัวแรกที่โครงสร้างได้รับการอธิบายโดยผลิกศาสตร์รังสีเอ็กซ์ (X-ray crystallography) โดย Max Perutz และ John Kendrew ใน ค.ศ.
โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)
url.
ดู กรดไขมันและโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)
ไบโอติน
อติน (biotin) หรือ วิตามินเอช (vitamin H) หรือ วิตามินบี7 (vitamin B7) เป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบีซึ่งสามารถละลายน้ำได้, วันที่สืบค้น 17 เมษายน 2559 จาก www.health.haijai.com.
ไกลออกซิโซม
กลออกซิโซม (Glyoxysome) เป็นกระบวนการทางการเจริญเติบโตของพืช ภายในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน.
ไฮโดรจีเนชัน
right ไฮโดรจีเนชัน (Hydrogenation) บางครั้งเรียกว่า การยับยั้งการสลายตัว โดยการการเพิ่มไฮโดรเจน ให้กับโมเลกุล เป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในโมเลกุลที่ไม่อิ่มตัวในสารอินทรีย์ คือมีพันธะคู่ที่อะตอมของคาร์บอน โดยอะตอมของไฮโดรเจนจะเข้าไปทำพันธะกับอะตอมของคาร์บอนจนเกิดพันธะเดี่ยวรอบๆ คาร์บอนครบ 4 พันธะ กระบวนการนี้มีประโยชน์ในด้านเภสัชศาสตร์และในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นอกจากนี้ กระบวนการไฮโดรจีเนชันยังสามารถเปลี่ยนกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัวได้อีกด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว กระบวนการนี้ก็ไม่ได้ทำได้อย่างสมบูรณ์มากนัก เนื่องจากในน้ำมันพืชมักมีกรดไขมันที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 พันธะ แต่ก็สามารถลดจำนวนของพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนในกรดไขมันนั้นได้ เช่น ในการผลิตเนยเทียม สามารถน้ำมันพืชซึ่งเป็นของเหลวให้กลายเป็นของแข็งหรือกึ่งของแข็งได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพความอิ่มตัวของกรดไขมันนี้ มีผลทางกายภาพต่อกรดไขมัน เช่น ลดจุดหลอมเหลว เป็นต้น น้ำมันพืชที่ถูกทำให้อิ่มตัวนี้ได้ถูกใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการอบขนมปัง เนื่องจากมีราคาไม่สูงมากนัก และยังมีคุณสมบัติที่ดีอื่นๆ อีก เช่น ทนต่อกระบวนการออกซิเดชั่น ทำให้ไม่เน่าเสียง่าย อย่างไรก็ตาม กระบวนการไฮโดรจีเนชันที่ไม่สมบูรณ์นี้ก่อให้เกิดความแตกต่างของอะตอมคาร์บอนที่ยังเหลือพันธะคู่อยู่ โดยในธรรมชาติ อะตอมของไฮโดรเจนที่อยู่บริเวณพันธะคู่ของคาร์บอนมักจะอยู่ด้านเดียวกัน (ดูรูป) แต่กระบวนการนี้มักทำให้เกิดอะตอมของไฮโดรเจนอยู่ตรงกันข้ามกัน โดยจำนวนไฮโดรเจนที่อยู่ตรงข้ามกันนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึงสองเท่าของการที่ไฮโดรเจนสองอะตอมอยู่ข้างเดียวกันเลยทีเดียว ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ ทำให้สหรัฐและยุโรปได้มีกฎหมายให้แสดงจำนวนไฮโดรเจนที่อยู่ตรงข้ามกันในรายละเอียดของอาหารด้ว.
ไขมัน
มัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเมแทบอลิซึม ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา เนยเหลว และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจากนมและเนื้อ ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และเนยโกโก้ สำหรับเนยขาวซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและเนยเทียมเป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ไขมันจำแนกได้เป็นไขมันอิ่มตัวกับไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็นไขมันซิส ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ และไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่ได้ทำไฮโดรจิเนชันไปแล้วบางส่วน.
ไขมันทรานส์
มันทรานส์ ที่ ไขมันทรานส์ (trans fat) เป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งพบได้ไม่บ่อยในธรรมชาติ แต่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ ไขมันมีสายไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ยาว ซึ่งอาจเป็นไขมันไม่อิ่มตัว คือ มีพันธะคู่อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง หรือไขมันอิ่มตัว คือ ไม่มีพันธะคู่เลย ก็ได้ tyในธรรมชาติ โดยทั่วไปกรดไขมันมีการจัดเรียงแบบซิส (ซึ่งตรงข้ามกับแบบทรานส์) แม้ว่าไขมันทราน์จะกินได้ แต่มีการแสดงแล้วว่าไขมันทรานส์เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด ส่วนหนึ่งไปเพิ่มไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ลดระดับไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดและเพิ่มการอักเสบทั่วร่างกาย ไขมันทรานส์ยังเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ แต่น้อย เช่น กรดแวกซีนิก (vaccenic acid) และกรดคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิก (conjugated linoleic acid) มีไขมันทรานส์ที่เกิดเองตามธรรมชาติในปริมาณหนึ่งในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง ไขมันธรรมชาติและไขมันสังเคราะห์มีความแตกต่างทางเคมี แต่ไม่มีความเห็นพ้องกันทางวิทยาศาสตร์ถึงความแตกต่างในผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษาสองชิ้นในประเทศแคนาดาได้แสดงว่ากรดแวกซีนิกซึ่งเป็นไขมันทรานส์ธรรมชาติ ที่พบในเนื้อวัวและผลิตถัณฑ์นม แท้จริงแล้วอาจเป็นประโยชน์เมื่อเทียบกับน้ำมันพืชที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชัน (hydrogenated vegetable shortening) หรือมันหมูและน้ำมันถั่วเหลือง โดยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม LDL และไตรกลีเซอไรด์ ในทางตรงข้าม การศึกษาโดยกระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาแสดงว่า กรดแวกซีนิกมีผลเสียต่อ LDL และ HDL เหมือนกับไขมันทรานส์อุตสาหกรรม เมื่อขาดหลักฐานอันเป็นที่ยอมรับและการตกลงทางวิทยาศาสตร์ หน่วยงานโภชนาการจึงพิจารณาไขมันทรานส์ทั้งหมดว่ามีผลเสียต่อสุขภาพเท่ากัน และแนะนำให้ลดการบริโภคไขมันทรานส์ลงเหลือน้อยที่สุด องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาออกข้อกำหนดเบื้องต้นว่าน้ำมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันบางส่วน (ซึ่งมีไขมันทรานส์) โดยทั่วไปไม่ผ่านการรับรองว่าปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การห้ามไขมันทรานส์ที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรมจากอาหารอเมริกา ในประเทศอื่น มีข้อจำกัดทางกฎหมายต่อปริมาณไขมันทรานส์ สามารถลดระดับไขมันทรานส์ได้ โดยการใช้ไขมันอิ่มตัว เช่น มันหมู น้ำมันปาล์ม หรือไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันอย่างสมบูรณ์ ไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาอินเทอร์เอสเทอริฟิเคชัน (interesterified fat) และสูตรทางเลือกซึ่งใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันไม่อิ่มตัวหรือผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันบางส่วน ไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันไม่ใช่ไวพจน์กับไขมันทรานส์ เพราะปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันที่สมบูรณ์จะขจัดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหมด คือ ทั้งซิสและทราน.
ไดกลีเซอไรด์
right ไดกลีเซอไรด์ (di-glyceride, diglyceride, diacyl-glycerol ตัวย่อ: DAG) เป็นกลีเซอไรด์ที่ประกอบด้วยโซ่กรดไขมันคู่ ที่มีพันธะโคเวเลนต์กับโมเลกุลกลีเซอรอล (glycerol) ผ่านเอสเทอร์ (พันธะเอสเทอร์) ในโมเลกุล 1-palmitoyl-2-oleoyl-glycerol ที่แสดงในรูป จะเห็นโซ่กรดไขมันคู่ที่มาจากกรดไขมันปาลม์ (palmitic acid) และกรดไขมันมะกอก (oleic acid) ไดกลีเซอไรด์อาจจะมีกรดไขมันแบบอื่น ๆ ที่ตำแหน่ง C-1 และ C-2 หรือที่ตำแหน่ง C-1 และ C-3 กลีเซอรอลที่มีโซ่กรดไขมันที่ตำแหน่ง 1,2 จะมีลักษณะเป็นไคแรล (chiral คือไม่เหมือนกับภาพที่สะท้อนในกระจก) ส่วนกลีเซอรอลที่มีโซ่ที่ตำแหน่ง 1,3 จะมีลักษณะเป็นไคแรลถ้าเป็นโซ่กรดไขมันที่ไม่เหมือนกัน.
ไตรกลีเซอไรด์
ตัวอย่างไตรกลีเซอไรด์ ซ้าย: กลีเซอรอล, ขวาจากบนลงล่าง: กรดพาล์มมิติก, กรดโอเลอิก, กรดลิโนเลนิก, สูตรเคมี: C55H98O6 ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรือไตรเอซิลกลีเซอรอล (Triacylglycerol) เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุล กรดไขมันที่มาประกอบเป็นไตรกลีเซอไรด์นั้นอาจจะเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกัน เช่น ไตรสเตียริน มีกรดสเตียริกเป็นองค์ประกอบเท่านั้น หรือเป็นกรดไขมันคนละชนิด เช่น 1-พาล์มิโทสเตียริน (1-Palmitostearin) หมายถึงไตรกลีเซอไรด์ที่กรดไขมันตัวแรกเป็นกรดพาล์มมิติก ส่วนกรดไขมันตัวที่ 2 และ 3 เป็นกรดสเตียริก เป็นพลังงานสะสมในสัตว์ และใช้สะสมใต้ผิวหนังเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย โดยสะสมในเซลล์ไขมัน (Adipocyte หรือ Fat cell) ในรูปเม็ดไขมัน หรืออยู่ในรูปไมเซลล์ (Micelle) ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือ ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้แก่ อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ คนอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ควรมีค่า triglyceride เกิน 200 mg/dl.
เชลแล็ก
ลแล็ก (Shellac) เป็นสารจากธรรมชาติที่ได้จากการแปรรูปเรซินหรือสารคัดหลั่งที่ได้จากแมลงครั่ง ซึ่งสามารถผลิตได้มากในประเทศไทย โดยสารนี้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การกันน้ำที่ดี,มีความเป็นเงางาม, สามารถยึดกับพื้นผิวได้หลายชนิด, กันความร้อนและไฟฟ้าได้ รวมทั้งการละลายที่ขึ้นกับค่าพีเอช ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท เช่น การเคลือบผลไม้และอาหารป้องกันการสูญเสียน้ำและยืดอายุในการเก็บรักษา, การเคลือบเภสัชภัณฑ์เพื่อควบคุมการปลดปล่อยยาให้ออกฤทธิในตำแหน่งและเวลาที่ต้องการ, การประยุกต์ใช้ในการเคลือบผลิตภัณฑ์เพื่อหวังผลในแง่การป้องกันความชื้นและเพิ่มความสวยงาม, การใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ต้องอาศัยคุณสมบัติในแง่การเป็นตัวช่วยยึดเกาะ รวมไปถึงการใช้เป็นส่วนผสมในอุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทเนื่องจากคุณสมบัติการเป็นฉนวนและความสามารถในการยึดเกาะที่ดี ในปัจจุบันเชลแล็กมีการนำไปใช้น้อยลงเนื่องจากข้อด้อยบางประการได้แก่ การละลายและความคงตัว แต่อย่างไรก็ตามเชลแล็กเป็นสารที่มีราคาถูกและผลิตขึ้นได้เอง ประกอบกับมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีความเป็นไปได้ในการใช้เชลแล็กเพื่ออุตสาหกรรมในประเทศและการส่งออกต่อไป สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัต.
เมแทบอลิซึม
กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.
เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
มแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate metabolism) เป็นขบวนการทางชีวเคมีต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุของการสร้าง การสลาย และการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรตในสิ่งมีชีวิต คาร์โบไฮเดรตที่สำคัญที่สุด คือ กลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่เกิดเมแทบอลิซึมได้ในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดเท่าที่ทราบ กลูโคสและคาร์โบไฮเดรตตัวอื่นมีส่วนในวิถีเมแทบอลิซึมอันหลากหลายในสปีชีส์ต่าง ๆ พืชสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตจากแก๊สในบรรยากาศโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเก็บพลังงานที่ดูดซับมาไว้ภายใน มักอยู่ในรูปของแป้งหรือลิพิด ส่วนประกอบของพืชถูกสัตว์หรือฟังไจกิน และใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหายใจระดับเซลล์ ออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรตหนึ่งกรัมให้พลังงานประมาณ 4 กิโลแคลอรี พลังงานที่ได้จากเมแมบอลิซึม (นั่นคือ ออกซิเดชันของกลูโคส) มักถูกเก็บไว้ในเซลล์ชั่วคราวในรูปของ ATP สิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถหายใจแบบใช้ออกซิเจนสามารถเกิดเมแทบอลิซึมของกลูโคสและออกซิเจนเพื่อปลดปล่อยพลังงาน โดยมีคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นผลพลอยได้ คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยน้ำตาลซับซ้อนและน้ำตาลอย่างง่าย น้ำตาลเดี่ยวสามารถสลายได้โดยตรงในเซลล์ คาร์โบไฮเดรตซับซ้อนอย่างซูโครส (น้ำตาลโมเลกุลคู่) มีน้ำตาลเดี่ยวมากกว่าหนึ่งตัวในสายโซ่ คาร์โบไฮเดรตพวกนี้ถูกสลายในทางเดินอาหารโดยเอนไซม์เฉพาะที่สลายสายโซ่และให้น้ำตาลเดี่ยวออกมา แป้งเป็นพอลิเมอร์ของหน่วยกลูโคสและถูกสลายเป็นกลูโคส เซลลูโลสเป็นสายโซ่คาร์โบไฮเดรตที่สัตว์บางชนิดไม่สามารถย่อยได้ เช่น มนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงไม่ได้รับพลังงานจากการทานพืช แบคทีเรียบางชนิดที่ผลิตเอนไซม์ย่อยเซลลูโลสอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น วัว และเมื่อวัวกินหญ้า เซลลูโลสจะถูกแบคทีเรียสลาย และบางส่วนจะถูกปล่อยเข้าสุ่ทางเดินอาหาร คาร์โบไฮเดรตเชื้อเพลิงระยะสั้นอันดับแรกของสิ่งมีชีวิต เพราะคาร์โบไฮเดรตเกิดเมแทบอลิซึมได้ง่ายกว่าไขมันหรือกรดอะมิโนของโปรตีนส่วนที่ใช้เป็นพลังงาน ในสัตว์ คาร์โบไฮเดรตที่สำคัญที่สุด คือ กลูโคส ระดับของกลูโคสถูกใช้เป็นการควบคุมหลักของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนศูนย์กลางเมแทบอลิซึม คาร์โบไฮเดรตอย่างง่ายบางชนิดมีวิถีออกซิเดชันด้วยเอนไซม์ของมันเอง เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตซับซ้อนอีกเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น น้ำตาลโมเลกุลคู่ แล็กโทส ต้องอาศัยเอนไซม์แลกเทสเพื่อสลายได้เป็นองค์ประกอบมอโนแซ็กคาไรด์ ซึ่งสัตว์หลายชนิดขาดเอนไซม์นี้เมื่อโตเต็มวัย คาร์โบไฮเดรตมักถูกเก็บอยู่ในรูปพอลิเมอร์สายยาวที่โมเลกุลกลูโคสต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก เป็นโครงสร้างค้ำจุน (นั่นคือ ไคติน เซลลูโลส) หรือเพื่อการเก็บสะสมพลังงาน (นั่นคือ ไกลโคเจน แป้ง) อย่างไรก็ดี ความชอบน้ำอย่างมากของคาร์โบไฮเดรตส่วนมากทำให้การเก็บสะสมคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมากไม่มีประสิทธิภาพ เพราะน้ำหนักโมเลกุลที่มากของสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างน้ำกับคาร์โบไฮเดรต ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ คาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไปจะเกิดแคแทบอลิซึมเป็นประจำเพื่อสร้างอะซิติลโค เอ ซึ่งสามารถเข้าวิถีการสังเคราะห์กรดไขมัน พลังงานระยะยาวตามปกติเก็บสะสมอยู่ในรูปของกรดไขมัน ไตรกลีเซอไรด์และลิพิดอื่น ๆ มากกว่า อย่างไรก็ดี สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ ขาดกลไกเอนไซม์ที่จำเป็นในการสังเคราะห์กลูโคสจากลิพิด แม้กลีเซอรอลจะสามารถเปลี่ยนมาเป็นกลูโคสได้ก็ตาม.
ดู กรดไขมันและเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
เอสเทอร์
อสเทอร์กรดคาร์บอกซิลิก R และ R' แสดงถึงหมู่แอลคิลหรือแอริล เอสเทอร์กรดฟอสฟอริก เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด (หนึ่งในหมู่ oxo, X.
เต้าเจี้ยว
ต้าเจี้ยว เป็นการแปรรูปถั่วเหลือง ให้อยู่ในลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้ได้นาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้มาจากการหมักถั่วเหลือง เพื่อการถนอมอาหาร ที่จัดอยู่ในกลุ่มอาหารหมักเกลือ เต้าเจี้ยวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของการปรุงรสชาติอาหาร ซึ่งนอกเหนือจากจะได้รสชาติที่ดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เช่น อาหารเจ อาหารมังสะวิรัติ คนไทยนิยมนำเต้าเจี้ยวมาทำเป็นเครื่องจิ้มที่ เรียกว่า “หลนเต้าเจี้ยว” ไม่ว่าจะเป็นหลนเต้าเจี้ยวหมูสับ หรือกุ้งสับ และยังสามารถนำมาทำน้ำจิ้มได้อีก เช่น น้ำจิ้มข้าวมันไก่ หรือนำมาทำเป็นเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารตามตำรับจีน เช่น ทำแป๊ะซะ ผัดราดหน้า ตลอดจนผัดผักชนิดต่าง.
เนยเชีย
นยเชีย เมล็ดต้นเชีย (''Vitellaria paradoxa'') เนยเชีย (shea butter) เป็นไขมันสีขาวเหลืองที่สกัดได้จากเมล็ดต้นเชีย (Vitellaria paradoxa) ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นในทวีปแอฟริกา เนยเชียเป็นไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ที่ประกอบด้วยกรดไขมันหลายชนิด ได้แก่ กรดโอเลอิก (40-60%), กรดสเตียริก (20-50%), กรดไลโนเลอิก (3-11%), กรดปาล์มิติก (2-9%), กรดไลโนเลนิก (เนยเชียนิยมใช้เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้นในเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น ลิปกลอส, โลชัน, ครีม, ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมและสบู่ แต่ในเชิงพาณิชย์ไม่นิยมใช้เนยเชียทำสบู่เพราะต้นทุนสูงและคุณสมบัติที่ไม่ค่อยแปรสภาพเป็นสบู่เมื่อทำปฏิกิริยากับแอลคาไลน์ ในทางการแพทย์ใช้ผสมเป็นยาประเภทขี้ผึ้งเพราะมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ในอุตสาหกรรมผลิตช็อกโกแลต บางครั้งมีการผสมเนยเชียกับไขมันอื่น ๆ เพื่อใช้แทนเนยโกโก้ แต่จะให้รสชาติที่ต่างกัน องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกาและหลายบริษัท ได้จัดระดับความบริสุทธิ์ของเนยเชียเป็น 5 ระดับ ได้แก่.
CYP2A13
ซโทโครม P450 2A13 (Cytochrome P450 2A13; ชื่อย่อ: CYP2A13) เป็นสมาชิกพอลีเปปไทด์ลำดับที่ 13 ในสกุลย่อย A ของสกุลที่ 2 ในมหาสกุลไซโทโครม P450 จัดเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์โดยมียีน CYP2A13 เป็นตัวควบคุมการแสดงออก ซึ่งยีนนี้อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 และถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450.
CYP2A7
ซโทโครม P450 2A7 (Cytochrome P450 2A7; ชื่อย่อ: CYP2A7) เป็นสมาชิกพอลีเปปไทด์ลำดับที่ 7 ในสกุลย่อย A ของสกุลที่ 2 ในมหาสกุลไซโทโครม P450 จัดเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์โดยมียีน CYP2A7 เป็นตัวควบคุมการแสดงออก ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 เอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งรวมถึง CYP2A7 นั้นจัดเป็นเอนไซม์ชนิดมอนอออกซีจีเนส ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเร่งปฏิกิรยาการเกิดเมแทบอลิซึมของยาชนิดต่างๆ รวมไปถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และกรดไขมันชนิดอื่นๆ โดยเอนไซม์เหล่านี้จะเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างแหเอนโดพลาซึม แล้วถูกกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์จึงจะสามารถแสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นั้นๆได้ อย่างไรก็ตาม สารที่เป็นซับสเตรตของ CYP2A7 นั้นยังไม่มีการจำแนกและระบุได้แน่ชัด โปรตีน CYP2A7 ที่พบในมนุษย์ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 2 ไอโซฟอร์ม ทั้งนี้ CYP2A7 ถือเป็นสมาชิกของกลุ่มเอนไซม์ขนาดใหญ่ของไซโทโครม P450ที่มียีนควบคุมอยู่บนโครโมโซม 19q เช่นเดียวกันเอนไซม์อื่นในสกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F.
CYP2B6
ซโทโครม P450 2B6 (Cytochrome P450 2B6; ชื่อย่อ: CYP2B6) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP2B6 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บนแขนด้านยาวของโครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 โดย CYP2B6 จะทำงานร่วมกับ CYP2A6 ในการเมแทบอไลซ์นิโคติน รวมไปถึงยาหรือสารเคมีอื่นๆ CYP2B6 มีอยู่ด้วยกันหลายไอโซฟอร์ม แต่ก็ยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าไอโซฟอร์มเหล่านั้นถูกสร้างมาจากยีน CYP2B6 หรือยีนเทียมของ CYP2B6 โดยทั้ง CYP2B6 และยีนเทียมของมันมีตำแหน่งอยู่ระหว่างกลางของยีนเทียม CYP2A ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีนขนาดใหญ่ของ cytochrome P450 บนโครโมโซม 9q ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์สกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F.
CYP2F1
ซโทโครม P450 2F1 (Cytochrome P450 2F1; ชื่อย่อ: CYP2F1) เป็นสมาชิกพอลีเปปไทด์ลำดับที่ 1 ในสกุลย่อย F ของสกุลที่ 2 ในมหาสกุลไซโทโครม P450 จัดเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์โดยมียีน CYP2F1 เป็นตัวควบคุมการแสดงออกซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2.
CYP2W1
ซโทโครม P450 2W1 (Cytochrome P450 2W1; ชื่อย่อ: CYP2W1; และ) เป็นสมาชิกพอลีเปปไทด์ลำดับที่ 1 ในสกุลย่อย W ของสกุลที่ 2 ในมหาสกุลไซโทโครม P450 จัดเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์โดยมียีน CYP2A7 เป็นตัวควบคุมการแสดงออก ซึ่งยีนนี้อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7p22.3 และถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 เอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งรวมถึง CYP2A7 นั้นจัดเป็นเอนไซม์ชนิดมอนอออกซีจีเนส ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเร่งปฏิกิรยาการเกิดเมแทบอลิซึมของยาชนิดต่างๆ รวมไปถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และกรดไขมันชนิดอื่นๆ โดยเอนไซม์เหล่านี้จะเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างแหเอนโดพลาซึม แล้วถูกกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์จึงจะสามารถแสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นั้นๆได้ และเป็นที่น่าสนใจว่า CYP2W1 นั้นเป็นเอนไซม์ที่จะแสดงออกในสภาวะที่ร่างกายเกิดเนื้องอก ซึ่งหมายความว่าจะไม่พบการแสดงออกของ CYP2W1 ในเนื้อเยื่อปกติของมนุษ.
CYP3A43
ซโทโครม P450 3A43 (Cytochrome P450 3A43; ชื่อย่อ: CYP3A43) เป็นโปรตีนในมหาสกุลไซโทโครม P450 ของมนุษย์ ซึ่งถูกควบคุมโดยยีน CYP3A43 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1 การเลือกตัดอินทรอน (alternative splicing) ของยีนนี้ทำให้ได้โปรตีน CYP3A43 ที่มีความแตกต่างกันทั้งสิ้นจำนวน 3 ไอโซฟอร์ม.
CYP3A5
ซโทโครม P450 3A5 (Cytochrome P450 3A5; ชื่อย่อ: CYP3A5) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A5 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1 CYP3A5 เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเนื้อเยืื่อหลายชนิดในร่างกาย ส่วนมากมักอยู่ที่เนื้อเยื่อของเซลล์ตับ ต่อมลูกหมาก ทางเดินอาหาร ไต ต่อมหมวกไต อย่างไรก็ตาม CYP3A5 ที่อยู่ในเนื้อเยื่ออื่นที่นอกเหนือจากเซลล์ตับจะสามารถแสดงออกได้โดดเด่นมากกว่า หน้าที่หลักของ CYP3A5 คือ การเมแทบอไลซ์ยาและสารประกอบไขมันต่างๆ ในร่างกาย เช่น เทสโทสเทอโรน โปรเจสเตอโรน และแอนโดรสตีนีไดโอน อย่างไรก็ตาม การทำงานของ CYP3A5 นั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยชาติพันธ์ุที่มีอัลลีลของ CYP3A5 เป็น CYP3A5*1 จะมีการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นปกติ แต่ในบางกลุ่มชาติพันธ์ุที่มีอัลลีลเป็น CYP3A5*3 อย่างประชากรในแถบยุโรป เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง จะมีการทำงานของเอนไซม์นี้ลดลง และในบางกลุ่มประชากรอาจเกิดการกลายพันธุ์จากอัลลีล CYP3A5*1 มาเป็น CYP3A5*3 ได้.
ICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม
ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..
ดู กรดไขมันและICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fatty acid