สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: ฟีนิลอะลานีนกรดอะมิโนลิวซีนอาหารกับโรคมะเร็งทริปโตเฟนทรีโอนีนไลซีนไข่ (อาหาร)เมแทบอลิซึม
ฟีนิลอะลานีน
ฟีนิลอะลานีน (phenylalanine, Phe, F) คือ กรดอะมิโน (amino acid) ชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ กรดอะโนชนิดนี้จึงต้องได้รับจากอาหาร ฟีนิลอะลานีนมีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ C6H5CH2CH(NH2)COOH.
ดู กรดอะมิโนจำเป็นและฟีนิลอะลานีน
กรดอะมิโน
กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.
ดู กรดอะมิโนจำเป็นและกรดอะมิโน
ลิวซีน
ลิวซีน (leucine, Leu, L) คือกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HO2CCH(NH2)CH2CH(CH3)2.
อาหารกับโรคมะเร็ง
ษณานี้เสนอว่า อาหารที่ถูกสุขภาพจะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาหารมีผลสำคัญต่อความเสี่ยงโรคมะเร็ง โดยอาหารบางอย่างอาจเพิ่มและบางอย่างอาจลดความเสี่ยง และโดยรวม ๆ แล้ว ปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งอาหาร การไม่ออกกำลังกาย และโรคอ้วนอาจจะสัมพันธ์กับความตายจากมะเร็งในอัตราถึง 30-35% แต่ก็มีงานทบทวนวรรณกรรมปี 2554 ที่เสนอว่า พลังงานจากอาหารที่บริโภคมีอิทธิพลต่ออุบัติการณ์ของมะเร็ง และอาจมีผลต่อการเติบโตของมะเร็งด้วย ไม่ใช่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ แม้ว่าจะมีคำแนะนำมากมายหลายอย่างเกี่ยวกับอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง แต่มีน้อยอย่างที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดี แต่ทั้งโรคอ้วนและการดื่มเหล้า มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเหตุของมะเร็ง ดังนั้น รายงานปี 2557 ขององค์การอนามัยโลก จึงแนะนำให้ลดการบริโภคเครื่องดื่มหวาน ๆ เพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วน แม้ว่าอาหารที่มีผักผลไม้น้อยและมีเนื้อแดงมากอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน และอาจมีผลน้อยต่อบุคคลที่ทานอาหารสมบูรณ์และมีน้ำหนักที่เหมาะสม แต่ก็มีอาหารบางประเภทโดยเฉพาะ ที่สัมพันธ์กับมะเร็งบางอย่าง คือ มีงานศึกษาที่สัมพันธ์การบริโภคเนื้อแดง หรือเนื้อที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพื่อให้เก็บได้นาน (processed meat) กับการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งตับอ่อน ซึ่งอธิบายเป็นบางส่วนได้ว่าเป็นเพราะมีสารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นเพราะผ่านความร้อนสูง และเพราะมีอะฟลาทอกซินที่เป็นสารปนเปื้อนสามัญและทำให้เกิดมะเร็งตับ ส่วนการดื่มกาแฟสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับที่ต่ำกว่า การเคี้ยวหมากก่อให้เกิดมะเร็งปาก และการบริโภคอาหารที่ต่าง ๆ กันอาจอธิบายอุบัติการณ์ของมะเร็งที่ต่าง ๆ กันในประเทศต่าง ๆ ได้โดยบางส่วน ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเรื่องสามัญกว่าในประเทศญี่ปุ่นเพราะทานอาหารที่เค็มกว่า และมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นอย่างสามัญกว่าในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐานมักจะเกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเหมือนกับคนพื้นเมือง บางครั้งแม้ภายในชั่วยุคคนเดียว ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างอาหารกับมะเร็ง คำแนะนำทางอาหารเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปกติจะรวมการรักษาน้ำหนักตัว การรับประทานพืชผักผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี และปลา เป็นหลัก และการลดการบริโภคเนื้อแดง ไขมันสัตว์ และน้ำตาล.
ดู กรดอะมิโนจำเป็นและอาหารกับโรคมะเร็ง
ทริปโตเฟน
ทริปโตเฟน (Tryptophan;ย่อ Trp หรือ W) เป็นหนึ่งใน 8 กรดอะมิโนที่จำเป็นในความต้องการของมนุษย์ มันถูกเข้ารหัสในรหัสทางพันธุกรรมพื้นฐานเป็นโคดอน UGG เพียงแค่ L-สเตอริโอไอโซเมอร์ของทริปโตเฟนเท่านั้นถูกใช้ในสเกลอโรโปรตีนหรือโปรตีนเอนไซม์ แต่ D-สเตอริโอไอโซเมอร์บางครั้งพบในเพปไทด์ที่ถูกสร้างขึ้นตามธรรมชาติ (ตัวอย่าง คอนทริปเฟนเพปไทด์พิษทะเล) ลักษณะโครงสร้างเด่นของทริปโตเฟนคือบรรจุด้วยหมู่ฟังก์ชันอินโดล.
ดู กรดอะมิโนจำเป็นและทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ทรีโอนีน (Threonine, Thr, T) คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ จึงจะต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HO2CCH(NH2)CH(OH)CH3.
ไลซีน
ลซีน (lysine, Lys, K) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HO2CCH (NH2) (CH2) 4NH2 กรดอะมิโนไลซีน thumb.
ไข่ (อาหาร)
ทางซ้ายคือไข่ไก่ ซึ่งโดยทั่วไปได้ใช้ในการกินมากที่สุดโดยมนุษย์ และทางขวาคือไข่นกกระทาสองฟอง ที่สุนัขจิ้งจอกมักนำมากินเป็นอาหาร สัตว์ว่าตัวเมียหลายสปีชีส์วางไข่ รวมทั้งนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา และอาจเป็นอาหารที่มนุษย์ชาติรับประทานมานับสหัสวรรษ ไข่นกและสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วยเปลือกไข่ที่ทำหน้าที่ปกป้องอันตรายต่อไข่, ไข่ขาวและไข่แดง รวมกันอยู่ภายในเยื่อบาง ๆ หลายชั้น ไข่สัตว์ที่นิยมรับประทานกันมีไก่ เป็ด นกกระทา ปลาและคาเวียร์ แต่มนุษย์นิยมรับประทานไข่ไก่มากที่สุด และทิ้งช่วงห่างไข่สัตว์อื่นอยู่มาก ไข่แดงและไข่ทั้งฟองมีปริมาณโปรตีนและโคลีนอยู่มาก และพบใช้บ่อยในการครัว เนื่องจากโปรตีนที่มีอยู่ กระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาจึงจัดประเภทไข่ว่าเป็น เนื้อสัตว์ ในพีระมิดอาหาร อย่างไรก็ดี แม้ไข่จะมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ก็มีแนวโน้มก่อปัญหาสุขภาพบางอย่างเกิดขึ้นจากคุณภาพ การเก็บ และการเกิดการแพ้ในผู้ที่มีอาการแพ้ ไก่และสิ่งมีชีวิตวางไข่อื่น ๆ เก็บเลี้ยงอย่างกว้างขวางทั่วโลก และการผลิตไข่ไก่จำนวนมากเป็นอุตสาหกรรมระดับโลก มีปัญหาในอุปสงค์และความคาดหมายที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เช่นเดียวกับการถกเถียงกันในปัจจุบันเกี่ยวกับวิธีการผลิตจำนวนมาก โดยสหภาพยุโรปวางแผนห้ามการเลี้ยงแบบแบตเตอรี (battery farming) หลัง..
ดู กรดอะมิโนจำเป็นและไข่ (อาหาร)
เมแทบอลิซึม
กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.
ดู กรดอะมิโนจำเป็นและเมแทบอลิซึม
หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรดอะมิโนที่จำเป็น