เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กรดซัลฟิวริก

ดัชนี กรดซัลฟิวริก

กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid หรือ sulphuric acid) มีสูตรเคมีว่า H2SO 4 เป็นกรดแร่ (mineral acid) แก่ ละลายได้ในน้ำในทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี..

สารบัญ

  1. 41 ความสัมพันธ์: กรดกรดอนินทรีย์กรดคลอริกกรดซัลเฟมิกกรดไฮโดรคลอริกกรดไธโอซัลฟิวริกกรดไนโตรซิลซัลฟิวริกการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอกกำมะถันฝนกรดมลพิษทางอากาศมอนซานโต้รายชื่อสารประกอบอนินทรีย์ฤดูหนาวจากภูเขาไฟศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองสตรอนเชียมซัลเฟตหนอนมรณะมองโกเลียอะซิโตนเพอร์ออกไซด์อาเลสซานโดร โวลตาขี้เลื่อยคริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์คู่กรด-เบสซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซัลเฟตซีเซียมซัลเฟตปฏิกิริยาเบลูซอฟ–จาโบทินสกีนีโอดิเมียมแบตเตอรี่แอมโมเนียมซัลเฟตแคลเซียมฟลูออไรด์โทลูอีนโซเดียมซัลเฟตไฮโดรเจนไฮโดรเจนโบรไมด์ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ไทเทเนียมเชื้อเพลิงเอทานอลเกลือ (เคมี)เอสเทอร์เคซีน1-โพรพานอล

กรด

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว.

ดู กรดซัลฟิวริกและกรด

กรดอนินทรีย์

กรดอนินทรีย์ (Mineral acid) หรือเรียกอีกอย่างว่า "กรดแร่" คือกรดที่เกิดจากแร่ธาตุ กรดประเภทนี้มักเป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง เช่น กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric Acid) หรือกรดเกลือ (กรดน้ำย่อย) กรดซัลฟิวริก (Sulfuric Acid) หรือกรดกำมะถัน (กรดในแบตเตอรีรถยนต์) และกรดไนตริก (Nitric Acid) หรือกรดดินประสิว เป็นต้น หมวดหมู่:กรด.

ดู กรดซัลฟิวริกและกรดอนินทรีย์

กรดคลอริก

กรดคลอริก (Chloric acid) มีสูตรเคมีว่า HClO3 เป็นกรดออกโซ (กรดที่ประกอบด้วยธาตุออกซิเจน) ของคลอรีน และถือว่าเป็นสารประกอบเกลือคลอเรตตัวแรกในลำดับที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ กรดคลอริกเป็นกรดแก่ มีค่าคงที่สมดุลของกรด (pKa) ประมาณ −1 และยังเป็นตัวรับอิเล็กตรอน (oxidant) อีกด้ว.

ดู กรดซัลฟิวริกและกรดคลอริก

กรดซัลเฟมิก

กรดซัลเฟมิก (Sulfamic acid) มักจะเรียกว่า 'กรดอะมิโดซัลโฟนิก,กรดอะมิโดซัลเฟอร์ริก, กรดอะมิโนซัลโฟนิก, และ กรดซัลเฟมิดิกเป็นสารประกอบโมเลกุลที่มีสูตร H3NSO3 ไม่มีสีละลายน้ำได้สารนี้พบว่าการใช้งานมาก กรดซัลเฟมิก ละลายที่ 205 ° C ก่อนที่จะสลายตัวที่อุณหภูมิสูงไปยัง H2O, SO3, SO2, และ N2 กรดซัลเฟมิก (H3NSO3) อาจมีการพิจารณาสารประกอบตรงกลางระหว่างกรดซัลฟิวริก (H2SO4) และซัลฟามิต (H4N2SO2).

ดู กรดซัลฟิวริกและกรดซัลเฟมิก

กรดไฮโดรคลอริก

รเจนคลอไรด์โอเวน กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ.

ดู กรดซัลฟิวริกและกรดไฮโดรคลอริก

กรดไธโอซัลฟิวริก

กรดไธโอซัลฟิวริก (Thiosulfuric acid) เป็นกรดออกโซกำมะถัน กรดไม่สามารถทำโดยการเกิดฝนกรดเกลือไธโอซัลเฟตเป็นกรดสลายตัวได้ง่ายในน้ำ สารที่สลายตัวสามารถรวมกำมะถัน,ซัลเฟอร์ไดออกไซด์,ไฮโดรเจนซัลไฟด์,polysulfanes,กรดซัลฟิวริก และ polythionates ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาที่แน่นอน วิธีการที่ไม่มีน้ำในการผลิตกรดได้รับการพัฒนาโดยชมิดท์: กรดไฮดรัสยังสลายตัวตามด้านล่าง0 °C:.

ดู กรดซัลฟิวริกและกรดไธโอซัลฟิวริก

กรดไนโตรซิลซัลฟิวริก

กรดไนโตรซิลซัลฟิวริก (Nitrosylsulfuric acid) เป็นสารประกอบเคมีที่มีสูตร NOHSO4 จะเป็นสีที่เป็นของแข็งที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตอุตสาหกรรมของแคโพรแล็กแทม.

ดู กรดซัลฟิวริกและกรดไนโตรซิลซัลฟิวริก

การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก

หลอกที่ใช้ในงานวิจัยและการปฏิบัติจริง การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (Placebo-controlled studies) หรือ การศึกษาควบคุมด้วยการรักษาหลอก เป็นวิธีการทดสอบการรักษาทางการแพทย์ ที่นอกจากจะมีกลุ่มบุคคลที่ได้รับการรักษาที่เป็นประเด็น ก็ยังมีกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาหลอก (placebo) ที่ออกแบบไม่ให้มีผลอะไร การรักษาหลอกมักจะใช้ในการทดลองแบบอำพราง ที่คนไข้ไม่รู้ว่าตนกำลังได้รับการรักษาแบบจริงหรือหลอก บ่อยครั้งจะมีกลุ่มอีกลุ่มหนึ่ง (natural history) ที่ไม่ได้รับการรักษาอะไรเลย จุดมุ่งหมายของกลุ่มรักษาหลอกก็เพื่อที่จะแก้ปรากฏการณ์ยาหลอก (placebo effect) ซึ่งหมายถึงผลจากกระบวนการรักษาที่ไม่ได้เกิดจากการรักษาที่เป็นประเด็น เป็นผลที่อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งการรู้ว่ากำลังได้รับการรักษา ความใส่ใจจากแพทย์พยาบาล และความคาดหวังถึงประสิทธิผลการรักษาของผู้ทำงานวิจัย และถ้าไม่มีกลุ่มรักษาหลอกเพื่อใช้เปรียบเทียบ ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า การรักษามีผลอะไรจริง ๆ หรือไม่ เพราะคนไข้บ่อยครั้งจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาแบบหลอก การรักษาแบบหลอกอาจมีหลายแบบรวมทั้ง ยาที่มีแต่น้ำตาล การผ่าตัดที่ไม่ทำอะไรที่ได้ผลจริง ๆ (เช่น เพียงแต่ผ่า และบางครั้งจับหรือจัดการอวัยวะเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ) หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (เช่น การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์) ที่ไม่ได้เปิดจริง ๆ นอกจากนั้นแล้ว เพราะเหตุที่ร่างกายสามารถดีขึ้นได้โดยธรรมชาติ หรือเพราะผลทางสถิติอื่น ๆ เช่น regression to the mean (คือโรคที่อาการหนักมากมักจะดีขึ้น) คนไข้เป็นจำนวนมากจะดีขึ้นแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาโดยประการทั้งปวง ดังนั้น คำถามที่เป็นประเด็นเมื่อประเมินการรักษาไม่ใช่ "การรักษาได้ผลหรือไม่" แต่เป็น "การรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาหลอก หรือเมื่อไม่ได้การรักษาอะไรเลยหรือไม่" นักวิจัยที่ทำการทดลองทางคลินิกในยุคต้น ๆ คนหนึ่งเขียนไว้ว่า "จุดประสงค์แรกของการทดสอบการรักษาก็คือเพื่อสืบหาว่า คนไข้ที่ได้รับการรักษาที่กำลังสืบสวนหายได้เร็วกว่า ได้สมบูรณ์กว่า ได้บ่อยครั้งกว่า ที่จะเป็นเมื่อไม่ได้" หรือกล่าวโดยกว้าง ๆ ก็คือ จุดมุ่งหมายของการทดลองทางคลินิกก็เพื่อจะกำหนดว่า การรักษาอะไร ทำอย่างไร ต่อคนไข้ประเภทไหน ในสภาวะอะไร ที่ได้ผลดีที่สุด ดังนั้น การใช้การรักษาหลอกเป็นองค์ควบคุมมาตรฐานในการทดลองทางคลินิกโดยมาก ซึ่งพยายามทำการประเมินเชิงปริมาณ (quantitative assessment) ของประสิทธิผลของยาหรือการรักษา การตรวจสอบหรือการทดลองทางคลินิกอย่างที่ว่า เรียกว่า การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (placebo-controlled study) โดยมีกลุ่มควบคุมเป็นแบบลบ (คือเป็นกลุ่มที่ไม่ควรได้ผล) ส่วนงานศึกษาที่ควบคุมโดยการรักษาที่เคยตรวจสอบมาก่อนแล้ว จะเรียกว่า positive-control study เพราะว่า กลุ่มควบคุมเป็นแบบบวก (คือควรจะได้ผลดังที่เคยพบมาก่อนแล้ว) องค์กรควบคุมของรัฐจะอนุมัติยาก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบที่ไม่ใช่เพียงแค่แสดงว่ามีผลต่อคนไข้ แต่ว่าผลต่างที่ได้มีมากกว่าที่ได้จากการรักษาหลอก (คือมีผลต่อคนไข้จำนวนมากกว่า มีผลต่อคนไข้ในระดับสูงกว่า หรือทั้งสอง).

ดู กรดซัลฟิวริกและการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก

กำมะถัน

กำมะถัน(สุพรรณถัน) หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าร.

ดู กรดซัลฟิวริกและกำมะถัน

ฝนกรด

ฝนกรด (acid rain) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide: SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide: NO) โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ (water: H2O) และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (sulfuric acid: H2SO4), กรดไนตริก (nitric acid: HNO3) และสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเมื่อไปโดนกับออกซิเจนอาจถูกกระแสลมพัดพาไปหลายร้อยกิโลเมตร และมักจะกลับสู่พื้นโลกโดยฝน หิมะ หมอก หรือแม้แต่ในรูปฝุ่นผงละออง ความเสียหายอันเกิดมาจากฝนกรดได้แพร่ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝนกรดจะละลายปุ๋ยในดิน ทำให้พืชเติบโตช้า เมื่อไหลลงแหล่งน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ หรือแม้แต่ในเมืองเอง ฝนกรดก็ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรืออาจจะจับตัวรวมกับหมอกก่อให้เกิดหมอกควันพิษ (smog) ที่ทำอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้หากมีมากถึงระดับหนึ่ง.

ดู กรดซัลฟิวริกและฝนกรด

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง มลพิษทางอากาศ (Air pollution) คือการเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตในมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ชั้นบรรยากาศเป็นระบบแก๊สธรรมชาติที่ซับซ้อนที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์เนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษโลก 2 ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places) ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี..

ดู กรดซัลฟิวริกและมลพิษทางอากาศ

มอนซานโต้

ริษัทมอนซานโต้ (Monsanto Company) เป็นบริษัทมหาชนจำกัดด้านเกษตรเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรข้ามชาติ มีสำนักงานใหญ่ในคลีฟคัวร์ เกรตเตอร์เซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุวิศวกรรมชั้นนำ และราวน์อัพ สารฆ่าวัชพืชซึ่งมีสารไกลโฟเสต บทบาทของมอนซานโต้ในการเปลี่ยนแปลงทางเกษตร ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ การวิ่งเต้นหน่วยงานของรัฐบาล และเดิมที่เคยเป็นบริษัทเคมีทำให้บริษัทฯ เป็นกรณีพิพาท มอนซานโต้ก่อตั้งในปี 2444 โดย จอห์น แฟรนซิส ควีนี (John Francis Queeny) เดิมผลิตสารปรุงแต่งอาหารอย่างแซกคารีนและวานิลลิน และขยายเป็นสารเคมีอุตสาหกรรมอย่างกรดซัลฟิวริกและพอลีคลอริเนเต็ดไบฟีนิล (polychlorinated biphenyl) ในคริสต์ทศวรรษ 1920 และในคริสต์ทศวรรษ 1940 เป็นผู้ผลิตพลาสติกรายสำคัญ ซึ่งรวมพอลิสไตรีนและใยสังเคราะห์ ความสำเร็จสำคัญของมอนซานโต้และนักวิทยาศาสตร์ในฐานะบริษัทเคมีได้แก่การวิจัยค้นพบยิ่งใหญ่เรื่องไฮโดรจีเนชันอสมมาตรแคทาลิติก (catalytic asymmetric hydrogenation) และเป็นบริษัทแรกที่ผลิตไดโอดเปล่งแสงขนาดใหญ่ บริษัทฯ ยังเคยผลิตผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นข้อพิพาทอย่าง สารฆ่าแมลงดีดีที พีซีบี เอเจนต์ออเรนจ์ และรีคอมบิแนนต์โซมาโตโทรปินหมู (หรือฮอร์โมนเติบโตหมู) มอนซานโต้เป็นบริษัทแรก ๆ ที่ดัดแปรพันธุกรรมเซลล์พืช เป็นหนึ่งในสี่กลุ่มที่ประกาศการใส่ยีนเข้าพืชในปี 2526 และเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ดำเนินการทดลองสนามพืชผลดัดแปรพันธุกรรมซึ่งทำในปี 2530 มอนซานโต้ยังเป็นหนึ่งในสิบยอดบริษัทเคมีของสหรัฐจนบริษัทถอนธุรกิจเคมีส่วนใหญ่ระหว่างปี 2540 ถึง 2545 ผ่านกระบวนการการรวมบริษัทและแยกบริษัทซึ่งมุ่งสนใจเทคโนโลยีชีวภาพ มอนซานโต้ยังเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ใช้แบบจำลองธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโยโลยีชีวภาพเพื่อเกษตรกรรม โดยใช้เทคนิคที่จีเนนเทค (Genentech) พัฒนาและบริษัทยาเทคโนโลยีชีวภาพอื่นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในแบบจำลองธุรกิจนี้ บริษัทลงทุนอย่างหนักในการวิจัยและพัฒนา และหักลบกลบค่าใช้จ่ายผ่านการใช้และบังคับใช้สิทธิบัตรชีวภาพ แบบจำลองสิทธิบัตรเมล็ดถูกวิจารณ์ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางชีวภาพและภัยต่อความหลากหลายทางชีว.

ดู กรดซัลฟิวริกและมอนซานโต้

รายชื่อสารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (อังกฤษ:inorganic compound) คือสารประกอบที่มีในโลกที่ไม่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน.

ดู กรดซัลฟิวริกและรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์

ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ

ูหนาวจากภูเขาไฟ คือการที่โลกมีอุณหภูมิลดลงจากการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดเถ้าภูเขาไฟ, กรดซัลฟิวริกและน้ำจำนวนมากในชั้นบรรยากาศจนทำให้บดบังแสงจากดวงอาทิตย์และมีการเพิ่มอัลบีโด (ค่าการสะท้องแสง) ของโลกมากขึ้น ความหนาวเย็นของปรากฏการณ์นี้จะกินเวลานานเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนก๊าซกำมะถันที่เปลี่ยนรูปเป็นอนุภาคชื่อว่าละอองลอยของกรดซัลฟิวริกซึ่งจะรวมตัวกันที่ชั้นสตราโทสเฟียร์Robock, Alan (2000).

ดู กรดซัลฟิวริกและฤดูหนาวจากภูเขาไฟ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

รงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อพัฒนาพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส โดยมีที่ตั้งโครงการ อยู่ที่ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิว.

ดู กรดซัลฟิวริกและศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

สตรอนเชียมซัลเฟต

ตรอนเชียมซัลเฟต (Strontium sulfate) เป็นเกลือซัลเฟตของสตรอนเชียม มันเป็นผงผลึกสีขาวและเกิดขึ้นในธรรมชาติเป็นแร่เซเลสไทน์ และเป็นคุณภาพที่ละลายน้ำได้ในน้ำที่มีขอบเขตของ1 ส่วนใน 8,800 มันเป็นที่ละลายน้ำได้ในเจือจางกรดไฮโดรคลอริก และกรดไนตริกและประเมินค่าละลายน้ำได้ในการแก้ไขปัญหาคลอไรด์ด่าง (เช่น โซเดียมคลอไรด์).

ดู กรดซัลฟิวริกและสตรอนเชียมซัลเฟต

หนอนมรณะมองโกเลีย

วาดในจินตนาการของหนอนมรณะมองโกเลีย ของ ปีเตอร์ เดิร์ก นักเขียนชาวเบลเยี่ยม หนอนมรณะมองโกเลีย (Mongolian Death Worm) คือ สัตว์ประหลาดที่เชื่อว่ารูปร่างคล้ายหนอนหรือไส้เดือนขนาดใหญ่ อาศัยในทะเลทรายโกบี ในมองโกเลี.

ดู กรดซัลฟิวริกและหนอนมรณะมองโกเลีย

อะซิโตนเพอร์ออกไซด์

อะซิโตนเพอร์ออกไซด์ อะซิโตนเพอร์ออกไซด์ (อังกฤษ:acetone peroxide) เป็นสารประกอบจากอะซิโตน และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ มีคุณสมบัติไวต่อความร้อนและความสั่นสะเทือน ซึ่งเมื่อได้รับความร้อนหรือความสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย จะทำให้พันธะระหว่างออกซิเจนที่เกาะตัวกันอย่างหลวมๆ แตกตัวออก และเกิดแรงอัดของแก๊สจำนวนมากออกมา ทำให้เกิดการระเบิด อะซิโตนเพอร์ออกไซด์ มีลักษณะเป็นผลึกคล้ายกับน้ำตาล ทำให้ตรวจจับยาก และสามารถผลิตด้วยสารตั้งต้นที่หาได้ง่าย ประกอบด้วยอะซิโตน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ และกรดไฮโดรคลอริก หรือกรดซัลฟิวริก จึงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ก่อการร้าย อะซิโตนเพอร์ออกไซด์ มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อได้แก.

ดู กรดซัลฟิวริกและอะซิโตนเพอร์ออกไซด์

อาเลสซานโดร โวลตา

Alessandro Volta อาเลสซานโดร จูเซปเป อันโตนิโอ อนาสตาซิโอ โวลตา (Alessandro Giuseppe Antonio Anastasio Volta; 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1745 — 5 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นนักฟิสิกส์ชาวลอมบาร์ดี ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าคิดค้นแบตเตอรี (เซลล์ไฟฟ้าเคมี) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1800 อาเลสซานโดร เป็นผู้บุกเบิกการผลิตไฟฟ้าและพลังงานซึ่งเป็นเครดิตในฐานะ ผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้าและผู้ค้นพบก๊าซมีเทน เขาได้คิดค้นกองเชื้อเพลิงในปี..

ดู กรดซัลฟิวริกและอาเลสซานโดร โวลตา

ขี้เลื่อย

ีเลื่อยที่เกิดจากการเลื่อยด้วยมือ ถ่านแบบญี่ปุ่น ''โอกาตัน'' (オガ炭)ผลิตจากขี้เลื่อย ขี้เลื่อย(Sawdust or wood dust) เป็นผลพลอยได้จากการเลื่อยไม้ มีลักษณะเป็นผงไม้ละเอียด เป็นของเสียในโรงงานที่เป็นพิษ โดยเฉพาะการทำให้เกิดอาการอักเสบ แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายประการ ขี้เลื่อยมีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบจำนวนมาก (เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน) ที่มีหมู่โพลีฟีนอลซึ่งสามารถจับกับโลหะหนักได้ด้วยกลไกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ขี้เลื่อยจากต้นพอบลาร์และต้นเฟอร์ที่ทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมคาร์บอเนต ดูดซับทองแดงและสังกะสีได้ดี ขี้เลื่อยจากต้นมะพร้าวที่ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริกดูดซับนิกเกิลและปรอทได้.

ดู กรดซัลฟิวริกและขี้เลื่อย

คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์

ริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein; 18 ตุลาคม ค.ศ. 1799 – 29 สิงหาคม ค.ศ. 1868) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน/สวิส เกิดที่เมืองเม็ทซิงเงิน เมื่ออายุได้ 13 ปี เชินไบน์ช่วยงานที่บริษัทยาในเมืองเบอบลิงเงินและผ่านการสอบของศาสตราจารย์ด้านเคมีที่ทือบิงเงิน ต่อมาในปี..

ดู กรดซัลฟิวริกและคริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์

คู่กรด-เบส

ตามทฤษฎีของโยฮันน์ นิโคเลาส์ เบรินสเตดและทอมัส มาร์ติน ลาวรี หรือทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี (Brønsted-Lowry) ที่ระบุไว้ว่าคู่กรด-เบส (Conjugate acid-base pair) คือสารประกอบสองตัว โดยตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นกรดในปฏิกิริยาไปข้างหน้า กับสารที่ทำหน้าที่เป็นเบสในปฏิกิริยาย้อนกลับ หรือในทางกลับกัน โดยสารที่เป็นคู่กรด-เบสกันจะมีจำนวนโปรตอนต่างกันอยู่ 1 โปรตอน และสารที่เป็นคู่กรดจะมีโปรตอน (H+) มากกว่าสารที่เป็นคู.

ดู กรดซัลฟิวริกและคู่กรด-เบส

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (สูตรทางเคมี SO2) เป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของกำมะถัน.

ดู กรดซัลฟิวริกและซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ซัลเฟต

รงสร้างและพันธะของซัลเฟตไอออน โครงสร้าง Space-filling ของซัลเฟตไอออน ซัลเฟต (Sulfate) คือเกลือของกรดซัลฟิวริก.

ดู กรดซัลฟิวริกและซัลเฟต

ซีเซียมซัลเฟต

ซีเซียมซัลเฟต (Caesium sulfate) เป็นเกลือซีเซียมของกรดซัลฟูริก ใช้ในการเตรียมสารละลายที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากันซึ่งจะใช้ในเทคนิคการปั่นเหวี่ยงแบบไอโซปิกนิก.

ดู กรดซัลฟิวริกและซีเซียมซัลเฟต

ปฏิกิริยาเบลูซอฟ–จาโบทินสกี

การจำลองปฏิกิริยาเบลูซอฟจาโบทินสกีบนจานเพาะเชื้อโดยคอมพิวเตอร์ ปฏิกิริยาเบลูซอฟจาโบทินสกี (Belousov–Zhabotinsky reaction) หรือ ปฏิกิริยาบีซี (BZ reaction) คือ หนึ่งในกลุ่มของปฏิกิริยาที่เป็นตัวอย่างดังเดิมของอุณหพลศาสตร์แบบไม่สมดุล (non-equilibrium thermodynamics) ซึ่งทำให้เกิดตัวแกว่งสารเคมีไม่เชิงเส้น (nonlinear chemical oscillator) โดยธาติที่มีส่วนในระบบการแกว่งนี้มีเพียงโบรมีนและกรดเท่านั้น ปฏิกิริยานี้มีความสำคัญด้วยความที่ทำให้เห็นว่าปฏิกิริยาทางเคมีนั้นไม่จำเป็นต้องมีพฤติกรรมแบบอุณหพลศาสตร์แบบสมดุล ปฏิกิริยาเหล่านี้นั้นไกลจากความสมดุลและมีการเปลี่ยนแปลงแบบอลวนในระยะเวลาหนึ่ง เพราะอย่างนี้ ปฏิกิริยานี้จึงเป็นต้นแบบทางเคมีที่น่าสนใจของปรากฏการณ์ทางชีววิทยาแบบไม่สมดุล อีกทั้งต้นแบบทางคณิตศาสตร์ของปฏิกิริยาบีซีเองยังเป็นทฤษฎีและการจำลองที่น่าสนใจ พล็อตของศักย์ไฟฟ้าอีเล็คโตรดของปฏิกิริยาบีซี โดยใช้เล็คโตรดเงินกับ    Ag/AgNO3 ครึ่งเซลล์ มุมมองที่สำคัญมุมหนึ่งของปฏิกิริยาบีซีคือความสามารถในการ "ถูกกระตุ้น" ภายใต้ตัวกระตุ้น ส่งผลให้เกิดรูปแบบบนตัวกลางที่เคยอยู่อย่างสงบ  .

ดู กรดซัลฟิวริกและปฏิกิริยาเบลูซอฟ–จาโบทินสกี

นีโอดิเมียม

นีโอดิเมียม (Neodymium) เป็นธาตุโลหะลักษณะเงินมันวาวหายาก เมื่อสัมผัสอากาศสีจะหมองเพราะเกิดสนิมสารประกอบออกไซด์ หมายเลขอะตอมคือ 60 สัญลักษณ์ Nd จัดอยู่ในกลุ่มแลนทาไนด์ มีปริมาณบนพื้นโลกมากเป็นอันดับ2 ในกลุ่มเดียวกันรองจากซีเรียม นีโอดีเมียมเป็นธาตุที่ไม่ได้พบในรูปแบบโลหะหรือบริสุทธิ์เหมือนกับธาตุอื่นๆในกลุ่มแลนทาไนด์ และนีโอดีเมียมยังใช้การกลั่นปกติสำหรับการใช้งานทั่วไป แม้ว่านีโอดิเมียมถูกจัดว่าเป็น "โลกที่หายาก" มีการกระจายกันอย่างแพร่หลายในโลกอยู่ในชั้นเปลือกโลก ส่วนใหญ่นีโอดิเมียมในโลกจะขุดได้ที่ในประเทศจีน นีโอดิเมียมเป็นธาตุที่อยู่ในบล็อกF จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละชั้นนีโอดีเมียม คือ 2, 8, 18, 22, 8, 2 และการกำหนดค่าอิเล็กตรอนของมันคือ 4f46s2 นีโอไดเมียเป็นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของธาตุหายากหลังจากซีเรียมและแลนทานัม.

ดู กรดซัลฟิวริกและนีโอดิเมียม

แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ (Battery) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แบตเตอรี่มี ขั้วบวก (cathode) และ ขั้วลบ (anode) ขั้วที่มีเครื่องหมายบวกจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วที่มีเครื่องหมายลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายลบคือแหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรภายนอกแล้วอิเล็กตรอนเหล่านี้จะไหลและส่งมอบพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก สาร อิเล็กโทรไลต์ มีความสามารถที่จะเคลื่อนที่โดยทำตัวเป็นไอออน ยอมให้ปฏิกิริยาทางเคมีทำงานแล้วเสร็จในขั้วไฟฟ้าที่อยู่ห่างกัน เป็นการส่งมอบพลังงานให้กับวงจรภายนอก การเคลื่อนไหวของไอออนเหล่านั้นที่อยู่ในแบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดกระแสไหลออกจากแบตเตอรี่เพื่อปฏิบัติงาน ในอดีตคำว่า "แบตเตอรี่" หมายถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่การใช้งานได้มีการพัฒนาให้รวมถึงอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว แบตเตอรี่ปฐมภูมิจะถูกใช้เพียงครั้งเดียวหรือ "ใช้แล้วทิ้ง"; วัสดุที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในช่วงปล่อยประจุออก (discharge) ตัวอย่างที่พบบ่อยก็คือ แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ที่ใช้สำหรับ ไฟฉาย และอีกหลายอุปกรณ์พกพา แบตเตอรี่ทุติยภูมิ (แบตเตอรี่ประจุใหม่ได้) สามารถดิสชาร์จและชาร์จใหม่ได้หลายครั้ง ในการนี้องค์ประกอบเดิมของขั้วไฟฟ้าสามารถเรียกคืนสภาพเดิมได้โดยกระแสย้อนกลับ ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ตะกั่วกรด ที่ใช้ในยานพาหนะและแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนย้ายได้ แบตเตอรี่มาในหลายรูปทรงและหลายขนาด จากเซลล์ขนาดเล็กที่ให้พลังงานกับ เครื่องช่วยฟัง และนาฬิกาข้อมือ จนถึงแบตเตอรี่แบงค์ที่มีขนาดเท่าห้องที่ให้พลังงานเตรียมพร้อมสำหรับ ชุมสายโทรศัพท์ และ ศูนย์ข้อมูล คอมพิวเตอร์ ตามการคาดการณ์ในปี 2005 อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสร้างมูลค่า 48 พันล้านดอลาร์สหรัฐในการขายในแต่ละปี ด้วยการเจริญเติบโตประจำปี 6% แบตเตอรี่มีค่า พลังงานเฉพาะ (พลังงานต่อหน่วยมวล) ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับ เชื้อเพลิง ทั้งหลาย เช่นน้ำมัน แต่ก็สามารถชดเชยได้บ้างโดยประสิทธิภาพที่สูงของมอเตอร์ไฟฟ้าในการผลิตงานด้านกลไกเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์สันดาป.

ดู กรดซัลฟิวริกและแบตเตอรี่

แอมโมเนียมซัลเฟต

ณสมบัติ ทั่วไป แอมโมเนียมซัลเฟตแอมโมเนียมซัลเฟต กายภาพ เคมีความร้อน (Thermochemistry) ความปลอดภัย (Safety) SI units were used where possible.

ดู กรดซัลฟิวริกและแอมโมเนียมซัลเฟต

แคลเซียมฟลูออไรด์

แคลเซียมฟลูออไรด์ (calcium fluoride) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ CaF2 ลักษณะเป็นของแข็งผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ได้จากแร่ฟลูออไรต์ แคลเซียมฟลูออไรด์บริสุทธิ์ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมคาร์บอเนตกับกรดไฮโดรฟลูออริก ตามสมการ: แคลเซียมฟลูออไรด์ใช้ในอุตสาหกรรมกระจกและเลนส์ และเป็นแหล่งสำคัญของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ การกลั่นน้ำมันและตัวทำความเย็น แคลเซียมฟลูออไรด์ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ หากทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกจะได้กรดไฮโดรฟลูออริกซึ่งเป็นพิษ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง.

ดู กรดซัลฟิวริกและแคลเซียมฟลูออไรด์

โทลูอีน

ทลูอีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ เมทิลเบนซีน หรือ ฟีนิลมีเทน เป็นของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ กลิ่นคล้ายสีทาบ้าน เป็นสารประกอบอะโรมาติกที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเป็นสารตั้งต้นและเป็นตัวทำละลาย เช่นเดียวกับตัวทำละลายอื่นๆ โทลูลีนเป็นสารระเหยที่มีคนสูดดมและเกิดอาการเสพติดได้.

ดู กรดซัลฟิวริกและโทลูอีน

โซเดียมซัลเฟต

ซเดียมซัลเฟต (Sodium sulfate) เป็นเกลือโซเดียมของกรดกำมะถัน เมื่อปราศจากน้ำจะเป็นผลึกสีขาว มีสูตร Na2SO4 เรียกว่าเกลือของ Glauber ของแข็งอีกรูปหนึ่งจะมีน้ำ 7 โมเลกุล ใช้ในทางอุตสาหกรรม เช่นในอุตสาหกรรมกระดาษ รูปที่พบในธรรมชาติจะมีน้ำ 10 โมเลกุล เกิดเป็นผลพลอยได้ในการผลิตกรดไฮโดรคลอริก โซเดียมซัลเฟตรูปที่มีโมเลกุลของน้ำ 10 โมเลกุลเรียกว่าดีเกลือไทย ได้มาจากการทำนาเกลือ ในตำรับยาโบราณใช้เป็นยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ใช้ผสมในน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็น ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าและพิมพ์ผ้.

ดู กรดซัลฟิวริกและโซเดียมซัลเฟต

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ดู กรดซัลฟิวริกและไฮโดรเจน

ไฮโดรเจนโบรไมด์

รเจนโบรไมด์ (hydrogen bromide) มีสูตรเคมีว่า HBr เป็นสารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งโมเลกุลประกอบขึ้นจากธาตุสองตัว ได้แก่ ไฮโดรเจน และโบรมีน ไฮโดรเจนโบรไมด์มีสถานะเป็นแก๊สที่ภาวะมาตรฐาน และเมื่อนำไปผสมน้ำจะได้เป็นกรดไฮโดรโบรมิก ในทางกลับกันเราสามารถสกัดเอาไฮโดรเจนโบรไมด์ออกจากสารละลายดังกล่าวได้ โดยการเติมตัวดูดความชื้น (dehydration agent) เพื่อไล่น้ำออก แต่ไม่สามารถแยกได้โดยการกลั่น ถือได้ว่าไฮโดรเจนโบรไมด์และกรดไฮโดรโบมิกมีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่ใช่สารชนิดเดียวกัน ซึ่งในบางครั้งนักเคมีอาจใช้สูตร "HBr" แทนกรดไฮโดรโบมิก พร้อมทั้งเป็นที่เข้าใจกันในหมู่นักเคมีส่วนใหญ่ แต่อาจทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนระหว่างสารสองชนิดนี้ได้.

ดู กรดซัลฟิวริกและไฮโดรเจนโบรไมด์

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

รเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) มีสูตรทางเคมีว่า H2O2 เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ (สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนสองตัวและเชื่อมกันด้วยพันธะเดี่ยว) รูปแบบที่ง่ายที่สุด มีสภาพเป็นของเหลวใส หนืดกว่าน้ำเล็กน้อย มีรสขม ไม่อยู่ตัว ซึ่งสามารถสลายตัวเป็นออกซิเจนกับน้ำ เมื่อเจือจางจะเป็นสารละลายไม่มีสี เนื่องจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถสลายตัวเป็นน้ำได้เมื่อถูกแสงและความร้อน จึงควรเก็บรักษาสารชนิดนี้ไว้ในภาชนะทึบแสง, ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ดู กรดซัลฟิวริกและไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

ไทเทเนียม

ทเทเนียม (Titanium) เป็นธาตุเคมี มีสัญลักษณ์เป็น Ti มีเลขอะตอมเท่ากับ 22 มีความหนาแน่นต่ำ แข็ง ทนการกัดกร่อน (น้ำทะเล, น้ำประสานทอง (aqua regia) และ คลอรีน) เป็นโลหะทรานซิชันสีเงิน ไทเทเนียมได้รับการค้นพบในคอร์นวอลล์ บริเตนใหญ่ โดย วิลเลียม เกรเกอร์ (William Gregor) ในปี..

ดู กรดซัลฟิวริกและไทเทเนียม

เชื้อเพลิงเอทานอล

ื้อเพลิงเอทานอล คือ เอทานอล (เอทิลแอลกอฮอล์)ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ ในรูปแบบสารเติมแต่งในผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซิน การผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลเพื่อใช้ในการขนส่งเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า จากปี..

ดู กรดซัลฟิวริกและเชื้อเพลิงเอทานอล

เกลือ (เคมี)

ผลึกเกลือ เมื่อส่องขยาย (เฮไลต์/เกลือแกง) ในทางเคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยแคตไอออนและแอนไอออน ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสุทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl−) กับอินทรีย์ (CH3COO−) หรือไอออนอะตอมเดี่ยว (F−) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) ก็ได้ เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน.

ดู กรดซัลฟิวริกและเกลือ (เคมี)

เอสเทอร์

อสเทอร์กรดคาร์บอกซิลิก R และ R' แสดงถึงหมู่แอลคิลหรือแอริล เอสเทอร์กรดฟอสฟอริก เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด (หนึ่งในหมู่ oxo, X.

ดู กรดซัลฟิวริกและเอสเทอร์

เคซีน

ซีน (Casein มาจากภาษาละตินว่า caseus ซึ่งแปลว่า ชีส) เป็นชื่อของกลุ่มฟอสโฟโปรตีน คือ αS1, αS2, β, κ โปรตีนเหล่านี้พบโดยทั่วไปในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นส่วนถึง 80% ของโปรตีนในนมวัว และประมาณ 20%-45% ของโปรตีนในนมมนุษย์ เคซีนใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของชีส สารเติมแต่งอาหาร และตัวยึดในไม้ขีดไฟ โดยเป็นอาหาร เคซีนประกอบด้วยกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และสารอนินทรีย์สองอย่างคือแคลเซียมและฟอสฟอรั.

ดู กรดซัลฟิวริกและเคซีน

1-โพรพานอล

1-โพรพานอล (1-Propanol) หรือ โพรพาน-1-ออล (Propan-1-ol) หรือโพรพิลแอลกอฮอล์ (Propyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยคาร์บอนสามอะตอมในหนึ่งโมเลกุลประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลที่ปลาย แอลกอฮอล์ชนิดนี้ใส ไม่มีสี ติดไฟได้ มีสมบัติทางเคมีเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ทั่วไปคือ สามารถฟอกสีโบรมีนได้ สามารถทำปฏิกิริยากับกรดอะซิติกเกิดเป็นโพรพิลอะซิเตต โดยอาศัยกรดซัลฟิวริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา 1-โพรพานอลเตรียมได้ โดยอาศัยปฏิกิริยาเติมไฮโดรเจนของโพรพิโอนัลดีไฮด์ ซึ่งโพรพิโอนัลดีไฮด์เตรียมได้จากปฏิกิริยาไฮโดรฟอร์มิเลชันของเอทิลีน กับคาร์บอนมอนอกไซด์ และ ไฮโดรเจน ในสภาวะที่มีตัวเร่งปฏิกิริยา 1-โพรพานอลสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในได้ โดยมีค่าเลขออกเทนที่ 118 และดัชนีต่อต้านการน็อก (Anti-Knock Index) ที่ 108.

ดู กรดซัลฟิวริกและ1-โพรพานอล

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Sulfuric acidกรดกำมะถันกรดซัลฟุริกซัลเฟอริกแอซิก