โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กบฏต่อแผ่นดิน

ดัชนี กบฏต่อแผ่นดิน

การลงโทษโดยการ “แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่” (Hanged, drawn and quartered) ซึ่งเป็นบทกำหนดการลงโทษของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินในอังกฤษ กบฏต่อแผ่นดิน (High treason) เป็นความผิดทางอาญาในการทรยศต่อประเทศของตนเองซึ่งครอบคลุมการกระทำต่างๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศของตนเอง ที่รวมทั้งการเข้าร่วมสงคราม, การพยายามโค่นล้มรัฐบาล, การสืบความลับทางการทหารหรือทางการทูต, หรือการพยายามสังหารผู้นำของประเทศ การ “กบฏต่อแผ่นดิน” อยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต้องมีความสวามิภักดิ์ต่อประเทศที่ตนจงใจที่จะทำร้ายเช่นการเป็นประชาชนของประเทศนั้น แต่การมีที่อยู่อาศัยในประเทศหรือรัฐก็พอเพียง ชาวต่างประเทศที่เป็นสายลับ, ผู้ล่าสังหาร, และผู้ก่อการร้ายแม้ว่าจะไม่เข้าข่ายการเป็นกบฏต่อแผ่นดินอาจจะถูกฟ้องร้องและลงโทษในข้อหาเป็นสายลับ, เป็นผู้ล่าสังหาร, และเป็นผู้ก่อการร้าย แต่ในปัจจุบันผู้ต้องสงสัยในกรณีเหล่านี้มักจะถูกเนรเทศหลังจากถูกจับ ในประวัติศาสตร์ในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ (common law) ข้อหาการกบฏต่อแผ่นดินแตกต่างจากกบฏย่อย (petty treason) ซึ่งเป็นการฆ่าผู้มีอำนาจเหนือกว่าตามกฎหมายเช่นผู้รับใช้ฆ่านายซึ่งถือว่าเป็นกรณีการฆาตกรรมที่หนักกว่าปกติ แต่กฎหมายครอบคลุมการกบฏย่อยถูกยุบเลิกกันไปจากประเทศต่างๆ เกือบทั้งสิ้น แนวคิดเกี่ยวกับกบฏย่อยจึงหายไป ในปัจจุบันคำว่า “กบฏ” จึงมักจะหมายถึงการ “กบฏต่อแผ่นดิน” ข้อสังเกตในกฎหมายของแคนาดาแยก “กบฏ” และ “กบฏต่อแผ่นดิน” เป็นสองกรณีแต่อันที่จริงแล้วในทั้งสองกรณีเป็นการกล่าวถึงการกบฏต่อแผ่นดินในประวัติศาสตร.

19 ความสัมพันธ์: พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848พระราชวังพลาเซ็นเทียพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษกบฏกาย ฟอกส์การกบฏรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์รัฐสภารัมป์ศาลยุติธรรมชั้นสูงสำหรับพิจารณาคดีพระเจ้าชาลส์ที่ 1สงครามกลางเมืองอังกฤษสงครามดอกกุหลาบจอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์คาร์ล ฟอน ออสซิเอ็ดซกีแมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่เฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์

พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848

ระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ..

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและพระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังพลาเซ็นเทีย

ระราชวังพลาเซ็นเทีย (Palace of Placentia) เป็นพระราชวังของพระราชวงศ์อังกฤษที่สร้างโดยฮัมฟรีย์ ดยุคแห่งกลอสเตอร์ในปี ค.ศ. 1447 ที่กรีนิชบนฝั่งแม่น้ำเทมส์ทางใต้ของลอนดอน พระราชวังถูกรื้อทิ้งในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และสร้างแทนที่ด้วยโรงพยาบาลกรีนิช (ปัจจุบันคือราชวิทยาลัยราชนาวีเดิม) เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและพระราชวังพลาเซ็นเทีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVI de France, หลุยส์แซซเดอฟร็องส์; 5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ พระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษหรือพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าเจมส์ที่ 2แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2228 – พ.ศ. 2232) หรือ พระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ และพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2228 ถึง 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์สุดท้ายที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเจมส์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ประสูติที่พระราชวังเซนต์เจมส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในปี..

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กบฏ

กบฏ, ขบถ หรือ กระบถ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและกบฏ · ดูเพิ่มเติม »

กาย ฟอกส์

กาย ฟอกส์ (Guy Fawkes; 13 เมษายน 1570 – 31 มกราคม 1606) ที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า กวีโด ฟอกส์ (Guido Fawkes) อันเป็นชื่อที่เขาใช้ขณะสู้รบให้กับสเปนในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ เป็นสมาชิกกลุ่มคาทอลิกอังกฤษแขวงผู้วางแผนแผนดินปืน (Gunpowder Plot) ที่ล้มเหลวในปี 1605 ฟอกส์เกิดและได้รับการศึกษาในยอร์ก บิดาเขาเสียชีวิตเมื่อฟอกส์อายุได้แปดขวบ จากนั้น มารดาเขาสมรสกับผู้นับถือคาทอลิกที่ไม่เข้าร่วมกิจการของศาสนจักรแห่งอังกฤษ (recusant) ภายหลังฟอกส์เปลี่ยนมานับถือคาทอลิกและเดินทางไปแผ่นดินใหญ่ยุโรป ที่ซึ่งเขาสู้รบในสงครามแปดสิบปี โดยอยู่ฝ่ายสเปนคาทอลิก และสู้รบกับนักปฏิรูปดัตช์โปรเตสแตนต์ เขาเดินทางไปสเปนเพื่อแสวงการสนับสนุนกบฏคาทอลิกในอังกฤษ แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังเขาพบทอมัส วินเทอร์ (Thomas Wintour) ซึ่งเดินทางกลับอังกฤษพร้อมกับเขาด้วย วินเทอร์แนะนำฟอกส์ให้รู้จักรอเบิร์ต เคตส์บี (Robert Catesby) ผู้วางแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเจมส์ที่ 1 และฟื้นฟูพระมหากษัตริย์คาทอลิกสู่ราชบัลลังก์ กลุ่มผู้วางแผนเช่าห้องใต้ดินใต้สภาขุนนาง และฟอกส์ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบระเบิดดินปืนที่พวกเขาเก็บสะสมไว้ที่นั่น ทางการค้นพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในช่วงเช้ามืดวันที่ 5 พฤศจิกายนหลังได้รับการแจ้งเตือนจากจดหมายนิรนาม และพบฟอกส์กำลังเฝ้าระเบิดอยู่ เขาถูกสอบสวนและทรมานอยู่สองสามวันจนยอมเปิดเผยข้อมูลในที่สุด ก่อนการประหารชีวิตในวันที่ 31 มกราคม ฟอกส์กระโดดจากตะแลงแกงที่เขากำลังจะถูกแขวนคอ และคอหัก จึงไม่ได้รับความทรมานจากการถูกตัดและคว้านอวัยวะที่ตามมา ชื่อของฟอกส์กลายเป็นคำพ้องกับแผนระเบิดดินปืน มีการเฉลิมฉลองความล้มเหลวของแผนดังกล่าวในอังกฤษตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 1605 ตามประเพณีมีการเผาหุ่นจำลองของเขาบนกองไฟ ซึ่งมักร่วมด้วยการแสดงดอกไม้ไฟ.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและกาย ฟอกส์ · ดูเพิ่มเติม »

การกบฏ

การกบฏ หรือการขบถ (rebellion) หมายถึง การปฏิเสธการเชื่อฟังหรือคำสั่ง ฉะนั้น จึงอาจมองว่ารวมพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งมุ่งทำลายหรือเข้าควบคุมตำแหน่งผู้มีอำนาจอันเป็นที่ยอมรับ เช่น รัฐบาล ผู้ว่าราชการ ประธาน ผู้นำทางการเมือง สถาบันการเงิน หรือบุคคลผู้รับผิดชอบ ด้านหนึ่ง รูปแบบพฤติกรรมอาจรวมวิธีปราศจากความรุนแรง เช่น ปรากฏการณ์การดื้อแพ่ง การขัดขืนของพลเรือนและการขัดขืนโดยปราศจากความรุนแรง อีกด้านหนึ่ง อาจรวมการรณรงค์ด้วยความรุนแรง ผู้เข้าร่วมการกบฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกบฏด้วยอาวุธ เรียก "กบฏ" หรือ "ขบถ" การกบฏที่มีอาวุธแต่ขอบเขตจำกัด เรียก การก่อการกบฏ (insurrection) และหากรัฐบาลอันเป็นที่ยอมรับไม่รับรองกบฏเป็นคู่สงคราม การกบฏนั้นจะเป็นการก่อการกำเริบ (insurgency) และกบฏจะเป็นผู้ก่อการกำเริบ (insurgent) ในความขัดแย้งที่ใหญ่กว่า อาจมีการรับรองกบฏเป็นคู่สงครามโดยไม่รับรองรัฐบาลของกบฏ ในกรณีนี้ ความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นสงครามกลางเมือง.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและการกบฏ · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์

รอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ (Robert Devereux, 3rd Earl of Essex; 11 มกราคม ค.ศ. 1591 - 14 กันยายน ค.ศ. 1646) เป็นแม่ทัพของฝ่ายรัฐสภาที่มีบทบาทในการต่อสู้ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ เมื่อสงครามกลางเมืองอังกฤษเริ่มในปี ค.ศ. 1642 รอเบิร์ต เดเวอรูก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพและผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดของกองทัพฝ่ายรัฐสภาหรือที่เรียกว่ากลุ่มหัวเกรียนคนแรก แต่เดเวอรูไม่สามารถและไม่เต็มใจที่จะเอาชนะอย่างเด็ดขาดต่อกองทัพของฝ่ายกษัตริย์นิยมของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ต่อมาเดเวอรูก็ถูกข่มรัศมีโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และในที่สุดก็ลาออกในปี ค.ศ. 1646.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภารัมป์

รัฐสภารัมป์ (ภาษาอังกฤษ: Rump Parliament) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษรัฐสภาหนึ่งที่เกิดจากการยึดรัฐสภายาวโดยนายพันทอมัส ไพรด์ (Thomas Pride) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1648 ซึ่งเป็นรัฐสภาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีเสียงข้างมากในการเป็นปฏิปักษ์ต่อการพิจารณาโทษของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน “รัมป์” ตามปกติหมายถึงส่วนบั้นท้ายของสัตว์ แต่บันทึกของการใช้ในความหมายนี้หมายถึง “เศษ” ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและรัฐสภารัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลยุติธรรมชั้นสูงสำหรับพิจารณาคดีพระเจ้าชาลส์ที่ 1

มพ์แสดงการไต่ถวนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1649 จาก “บันทึกการพิจารณาคดีพระเจ้าชาลส์ที่ 1, ค.ศ. 1688” ในพิพิธภัณฑ์บริติช ศาลยุติธรรมชั้นสูง เป็นชื่อของศาลที่ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐสภารัมพ์เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีพระเจ้าชาลส์ที่ 1 เป็นศาลที่ก่อตั้งขึ้นเป็นพิเศษสำหรับกรณีนี้เท่านั้น แม้ว่าชื่อของศาล “ศาลยุติธรรมชั้นสูง” จะใช้กันต่อม.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและศาลยุติธรรมชั้นสูงสำหรับพิจารณาคดีพระเจ้าชาลส์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์

อร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์ (George Plantagenet, 1st Duke of Clarence) (21 ตุลาคม ค.ศ. 1449 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1478) จอร์จ แพลนแทเจเนต เป็นบุตรชายคนที่สามของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก และซิซิลิ เนวิลล์ และเป็นพระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และพระเชษฐาของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ดยุคแห่งแคลเรนซ์มีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งในการอ้างสิทธิในการครองราชบัลลังก์ที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ และถูกประหารชีวิตในข้อหากบฏต่อแผ่นดินในการวางแผนโค่นราชบัลลังก์ของพระเชษฐาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและจอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ฟอน ออสซิเอ็ดซกี

ร์ล ฟอน ออสซิเอ็ดซกี (3 ตุลาคม ค.ศ. 1889 – 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1938) เป็นชาวเยอรมันผู้รักสันติภาพและได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่อปี..

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและคาร์ล ฟอน ออสซิเอ็ดซกี · ดูเพิ่มเติม »

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Marie d'Angleterre, Mary Tudor, Queen of France) (18 มีนาคม ค.ศ. 1496 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1533) แมรี ทิวดอร์ เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1515 แมรีประสูติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1496 ที่พระราชวังริชมอนด์ในราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และเอลิซาเบธแห่งยอร์ค แมรีเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตพระองค์ก็ทรงเสกสมรสเป็นครั้งที่สองกับชาร์ลส์ แบรนดอน ดยุคแห่งซัฟโฟล์คที่ 1 (Charles Brandon, 1st Duke of Suffolk).

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและแมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่

การประหารชีวิต ฮิว เดสเพนเซอร์ ผู้เยาว์ (Hugh Despenser the Younger) การแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ (hanged, drawn and quartered) เป็นโทษประหารชีวิตสำหรับนักโทษชายที่มีความผิดฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดินอังกฤษ ประกาศใช้ครั้งแรกในพระราชบัญญัติกบฏ ค.ศ. 1351 แต่มีการใช้มาก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์

นรี ริช เอิร์ลแห่งฮอลแลนด์ที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Henry Rich, 1st Earl of Holland) (19 สิงหาคม ค.ศ. 1590 - 9 มีนาคม ค.ศ. 1649) เฮนรี ริชเป็นขุนนางและนักการทหารชาวอังกฤษ เฮนรี ริชเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1590 เป็นบุตรของโรเบิร์ต ริช เอิร์ลแห่งวอริคที่ 1และเพ็นนิโลพี เดเวอโรซ์ และป็นน้องชายของ โรเบิร์ต ริช เอิร์ลแห่งวอริคที่ 2 และเริ่มรับราชการเป็นนายทหาร ในปี ค.ศ. 1610 ในราชสำนักและไม่นานก็ได้เป็นคนโปรดของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แต่ในที่สุดก็สิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์ เฮนรี ริชได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “เอิร์ลแห่งฮอลแลนด์” ในปี ค.ศ. 1624 และในที่สุดก็ได้เป็นนายทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ แต่ต่อมาถูกจับได้และถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1649 ในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน.

ใหม่!!: กบฏต่อแผ่นดินและเฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

High treasonการกบฏต่อแผ่นดินทรยศต่อแผ่นดิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »