โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กฎเดอมอร์แกน

ดัชนี กฎเดอมอร์แกน

กฎเดอมอร์แกนหรือกฎของเดอมอร์กอง(อ่านตามภาษาฝรั่งเศส) (De Morgan's laws) หรือ ทฤษฎีบทเดอมอร์แกน (De Morgan's theorem) เป็นกฎในวิชาตรรกศาสตร์ คือ ชุดของกฎในสาขาตรรกศาสตร์รูปนัยซึ่งแสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างคู่ของตัวดำเนินการเชิงตรรกที่คู่กัน โดยแสดงในรูปนิเสธ ความสัมพันธ์เช่นนี้เรียกว่าภาวะคู่กันเดอมอร์แกน (De Morgan duality) กฎนี้แสดงว่าประพจน์ทางซ้ายมือต่อไปนี้แต่ละตัวสมมูลเชิงตรรกกับประพจน์ทางขวามือที่คู่กัน และเราสามารถแปลงประพจน์จากข้างหนึ่งไปเป็นอีกข้างหนึ่งได้ ไม่ว่าในทิศทางใดก็ตาม.

6 ความสัมพันธ์: พีชคณิตแบบบูลยูเนียนรูปแบบบัญญัติ (พีชคณิตแบบบูล)ส่วนเติมเต็มอินเตอร์เซกชันโดเมนแบบบูล

พีชคณิตแบบบูล

ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พีชคณิตแบบบูล, พีชคณิตบูลีน หรือ แลตทิซแบบบูล (Boolean algebra) คือโครงสร้างเชิงพีชคณิตซึ่งเป็นการรวบรวมแก่นความหมายของการดำเนินการทางตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต โดยชื่อพีชคณิตแบบบูลนั้นตั้งตามจอร์จ บูล ผู้พัฒนาพีชคณิตแบบนี้.

ใหม่!!: กฎเดอมอร์แกนและพีชคณิตแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

ยูเนียน

ูเนียน (union) หรือ ส่วนรวม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการรวมสมาชิกทั้งหมดของเซตต้นแบบเข้าด้วยกัน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ (คล้ายอักษรตัวใหญ่ U).

ใหม่!!: กฎเดอมอร์แกนและยูเนียน · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบบัญญัติ (พีชคณิตแบบบูล)

ในวิชาพีชคณิตแบบบูล ฟังก์ชันแบบบูลใด ๆ สามารถแสดงให้อยู่ในรูปแบบบัญญัติ (canonical form) ได้โดยอาศัยมโนทัศน์คู่กันของ มินเทิร์ม และ แมกซ์เทิร์ม ฟังก์ชันเชิงตรรกะใด ๆ สามารถแสดงให้อยู่ในรูปแบบบัญญัติได้ ทั้งแบบ "ผลบวกของมินเทิร์ม" และแบบ "ผลคูณของแมกซ์เทิร์ม" รูปแบบบัญญัติทำให้เราสามารถวิเคราะห์เพื่อลดความซับซ้อนของฟังก์ชันเหล่านี้ได้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดรูปวงจรดิจิทัล ฟังก์ชันแบบบูลซึ่งแสดงให้อยู่ในรูปประพจน์เลือกของมินเทิร์มนั้นเรีกว่า "ผลบวกของผลคูณ" และฟังก์ชันที่คู่กันตามกฎเดอมอร์แกนนั้นเรียกว่า "ผลคูณของผลบวก" ซึ่งแสดงในรูปของประพจน์เชื่อมของแมกซ์เทิร์ม หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์ หมวดหมู่:พีชคณิตแบบบูล หมวดหมู่:วงจรดิจิทัล.

ใหม่!!: กฎเดอมอร์แกนและรูปแบบบัญญัติ (พีชคณิตแบบบูล) · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนเติมเต็ม

วนเติมเต็ม หรือ คอมพลีเมนต์ (complement) คือแนวคิดหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบเซต เพื่อที่จะให้ทราบว่า เมื่อเซตหนึ่งสัมพันธ์กับอีกเซตหนึ่ง มีสมาชิกใดบ้างที่อยู่ภายใต้เซตเพียงเซตเดียว แบ่งออกตามการใช้งานเป็น ส่วนเติมเต็มสัมบูรณ์ (absolute complement) กับ ส่วนเติมเต็มสัมพัทธ์ (relative complement) ซึ่งแนวคิดแรกหมายถึงส่วนเติมเต็มที่เกี่ยวข้องกับเอกภพสัมพัทธ์ (universal set) ส่วนแนวคิดหลังเกี่ยวข้องกับเซตตัวอื่น.

ใหม่!!: กฎเดอมอร์แกนและส่วนเติมเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

อินเตอร์เซกชัน

อินเตอร์เซกชัน (intersection) หรือ ส่วนร่วม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการหาสมาชิกทั้งหมดที่เหมือนกันในเซตต้นแบบ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ (คล้ายอักษรตัวใหญ่ U กลับหัว).

ใหม่!!: กฎเดอมอร์แกนและอินเตอร์เซกชัน · ดูเพิ่มเติม »

โดเมนแบบบูล

มนแบบบูล (Boolean domain) ในทางคณิตศาสตร์และพีชคณิตนามธรรม คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกสองตัวที่เป็นการตีความว่า เท็จ กับ จริง เท่านั้น ในทางตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี โดเมนแบบบูลมักจะเขียนเป็น,,, หรือ \left \ โครงสร้างเชิงพีชคณิตที่สร้างขึ้นบนโดเมนแบบบูลตามธรรมชาติคือพีชคณิตแบบบูลบนสมาชิกสองตัว (two-element Boolean algebra) วัตถุเริ่มต้นในแคทิกอรีของแลตทิซมีขอบเขตคือโดเมนแบบบูล ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตัวแปรแบบบูล (Boolean variable) คือตัวแปรที่เก็บค่าเป็นสมาชิกจากโดเมนแบบบูล ภาษาโปรแกรมบางภาษามีคำหรือสัญลักษณ์ที่สงวนไว้สำหรับสมาชิกในโดเมนแบบบูล เช่น false กับ true อย่างไรก็ดี ภาษาโปรแกรมหลาย ๆ ภาษาก็ไม่ได้มีชนิดข้อมูลแบบบูลโดยเฉพาะ เช่นภาษาซีหรือภาษาเบสิก ค่าเท็จแทนด้วยจำนวน 0 และค่าจริงแทนด้วยจำนวน 1 หรือ −1 ตามลำดับภาษา เป็นต้น และตัวแปรทั้งหมดที่เก็บค่าเหล่านี้ก็สามารถเก็บจำนวนอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน.

ใหม่!!: กฎเดอมอร์แกนและโดเมนแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

De Morgan's LawDe Morgan's lawsกฎของเดอมอร์กองกฎเดอมอร์กอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »