เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กฎหมายมหาชน

ดัชนี กฎหมายมหาชน

กฎหมายมหาชน (public law) คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐ หรือความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงถึงสังคม อาจแบ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายภาษี กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาคดี ส่วนกฎหมายที่ว่าเฉพาะด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันนั้นเรียก กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชนนั้นว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลและไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น รัฐที่มีอำนาจกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของปัจเจกบุคคล แต่ด้วยผลของหลักนิติธรรม การกำหนดดังกล่าวจะต้องเป็นไปภายในขอบเขตของกฎหมาย (secundum et intra legem) และรัฐจะต้องเคารพกฎหมาย ราษฎรที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ทางปกครองก็อาจร้องขอต่อศาลให้ทบทวนคำวินิจฉัยดังกล่าว การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นฝ่ายมหาชนและเอกชนนั้นย้อนหลังไปได้ถึงสมัยกฎหมายโรมัน ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์จัดการแบ่งแยกดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และนับแต่นั้น แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกก็แพร่ไปสู่ประเทศคอมมอนลอว์ด้วย ขอบเขตของกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนอาจทับซ้อนกันได้ในบางกรณี ทำให้มีความพยายามที่จะเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับรากฐานของกฎหมายทั้งสองกลุ่มมาตลอ.

สารบัญ

  1. 15 ความสัมพันธ์: บวรศักดิ์ อุวรรณโณพันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองกฎหมายปกครองกฎหมายปกครองท้องถิ่นกฎหมายเอกชนมหาชนสมยศ เชื้อไทยอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ความโปร่งใสคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์คณิต ณ นครประชุมกฎหมายแพ่งไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (19 ตุลาคม พ.ศ. 2497 —) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประธานกรรมการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ..

ดู กฎหมายมหาชนและบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2501) หรือชื่อเมื่อเกิดว่า พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา และชื่อเล่นว่า แหวว เป็นข้าราชการชาวไทย เป็นอาจารย์วิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งยังเป็นนักเคลื่อนไหวและนักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน.

ดู กฎหมายมหาชนและพันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง หรือ กฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ (public international law) คือ กลุ่มกฎเกณฑ์ที่มีผลบังคับเป็นกฎหมายผูกพันรัฐในทางปฏิสัมพันธ์กับรัฐอื่น ปัจเจกบุคคล องค์การ และคณะบุคคลอื่น ครอบคลุมกิจกรรมหลายประเทศ เช่น ความสัมพันธ์ทางทูต การทำสงคราม การค้า สิทธิมนุษยชน และการใช้ทรัพยากรทางทะเลร่วมกัน ตรงข้ามกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หรือกฎหมายเอกชนระหว่างประเทศ (private international law) ซึ่งว่าด้วยการระงับกรณีพิพาททางกฎหมายระหว่างปัจเจกบุคคลในระดับระหว่างประเทศ เช่น ระหว่างคู่กรณีจากสองประเทศที่มีระบบกฎหมายต่างกัน.

ดู กฎหมายมหาชนและกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

กฎหมายปกครอง

กฎหมายปกครอง (Administrative law) ได้แก่ กฎหมายที่ให้อำนาจทางปกครองกับหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจทางปกครอง กฎหมายปกครองมีลักษณะพิเศษคือผู้ที่ใช้อำนาจหรือออกคำสั่งทางปกครองได้ต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่เท่านั้น จะมีข้อยกเว้นก็ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจทางปกครองนั้นไม่ใช่บุคคลที่กล่าวมาแล้ว แต่เบื้องต้นจะใช้อำนาจทางปกครองได้ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้เป็นกรณีไป เช่น บุคคลที่ได้รับสัญญาทางปกครองกับรัฐ และเมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นจะต้องนำคดีเข้าสู่ศาลปกครอง ซึ่งคู่พิพาทจะต้องเป็นคู่กรณีดังต่อไปนี้ คือ หน่วยงานทางปกครอง หน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ กับหน่วยงานทางปกครองกับเอกชน เจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่กับเอกชน และผู้ที่จะฟ้องต่อศาลปกครองได้ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม.ร..จัดตั้งศาลปกครองมาตรา 42วรรคหนึ่ง กฎหมายที่กำหนดถึงรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นกันลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือกฎหมายรัฐธรรนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการปกครองประเทศ แต่กฎหมายปกครองนั้นเป็นกฎหมายดำเนินการปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครองนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การทางปกครอง เช่น การจัดแบ่งออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น ระหว่างองค์การเหล่านี้ซึ่งมีต่อกันและกันและเป็นเกี่ยวพันระหว่างองค์กรเหล่านี้กับราษฎร กฎหมายปกครองถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่กฎหมายมหาชน.

ดู กฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครอง

กฎหมายปกครองท้องถิ่น

กฎหมายปกครองท้องถิ่น เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน.

ดู กฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองท้องถิ่น

กฎหมายเอกชน

กฎหมายเอกชน (Private law) คือกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับนิติบุคคล ทั้งนี้กฎหมายเอกชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับบุคคล เช่น กฎหมายมรดก กฎหมายครอบครัว กฎหมายเกี่ยวกับสัญญา เป็นต้น หมวดหมู่:กฎหมายเอกชน.

ดู กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน

มหาชน

มหาชน สามารถหมายถึง.

ดู กฎหมายมหาชนและมหาชน

สมยศ เชื้อไทย

รองศาสตราจารย์ สมยศ เชื้อไทย (เกิด พ.ศ. 2493) เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ากระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย) ประธานกรรมการมูลนิธิปรีดี เกษมทรัพย์ และนักวิชาการชาวไทย โดยเป็นรองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตคณบดีคณะดังกล่าว.

ดู กฎหมายมหาชนและสมยศ เชื้อไทย

อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์

นายกองตรี อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่ม 8 สังกัดพรรคมาตุภูมิ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอดีตรองหัวหน้าพรรคมาตุภูม.

ดู กฎหมายมหาชนและอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์

ความโปร่งใส

วามโปร่งใส (ทางการเมือง) (Political Transparency) หมายถึง ความสามารถของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่จะเข้าถึง และอภิปรายเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เอกสาร และข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจดำเนินนโยบายสาธารณะ การใช้อำนาจบริหารประเทศของรัฐบาลและทางราชการ ตลอดจนการแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง และในระบบราชการ โดยที่มาของคำว่าความโปร่งใสนี้มาจากความหมายในทางวิทยาศาสตร์กายภาพที่นำไปใช้อธิบายคุณลักษณะของวัตถุที่มีคุณสมบัติ “โปร่งใส” คือ วัตถุที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านผิวของวัตถุทำให้สามารถมองทะลุพื้นผิวของวัตถุได้นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายในเชิงการเมืองยังมีความหมายที่ลึกกว่าแค่เพียงการมองเห็นการทำงานของรัฐบาล และราชการ แต่ยังรวมถึงการที่ประชาชนสามารถเข้าใจ มีส่วนร่วม และควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อีกด้วย (Kurian, 2011: 1686).

ดู กฎหมายมหาชนและความโปร่งใส

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะนิติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีก.

ดู กฎหมายมหาชนและคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เริ่มดำเนินการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.

ดู กฎหมายมหาชนและคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คณิต ณ นคร

ตราจารย์พิเศษ คณิต ณ นคร อดีตประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรรมการกฤษฎีกา ประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.

ดู กฎหมายมหาชนและคณิต ณ นคร

ประชุมกฎหมายแพ่ง

วัดซันวีตาเล ประเทศอิตาลี ประชุมกฎหมายแพ่ง (Corpus Iuris Civilis) เป็นประชุมข้อเขียนทางนิติศาสตร์ซึ่งพระเจ้าจัสติเนียนที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีพระราชโองการให้รวบรวมและเผยแพร่ตั้งแต..

ดู กฎหมายมหาชนและประชุมกฎหมายแพ่ง

ไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด

"ไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" (nulla poena sine lege, นุลลาโพนาซีเนเลเก) เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมายและหลักกฎหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติเป็นหลักการสากลว่า จะมีโทษสำหรับผู้กระทำการอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายมิได้ ภาษิตนี้มีฝาแฝดคือภาษิต "ไม่มีความผิดถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" (nullum crimen sine lege) ทั้งสองมาจากภาษิตเต็มว่า "ไม่มีความผิดและไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ก่อน" (nullum crimen, nulla poena sine praevia lege poenali) อันเป็นหลักที่ถือปฏิบัติกันเคร่งครัดว่า ในทางอาญากฎหมายจะมีผลย้อนหลังไม่ได้ เว้นแต่ย้อนหลังไปเป็นคุณแก่ผู้ต้องโทษ.

ดู กฎหมายมหาชนและไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Public law