เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

Ч

ดัชนี Ч

Che หรือ Cherv (Ч, ч) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีลักษณะคล้ายอักษรละติน h ตัวเล็กที่กลับหัว ใช้แทนเสียง เหมือนทวิอักษร ch ในภาษาอังกฤษ (คล้าย ช) บางครั้งก็ออกเสียงเป็น เหมือน จ ในภาษาไทย อักษรนี้ยังไม่ทราบพัฒนาการที่แน่ชัด บ้างก็เข้าใจว่าเป็นอักษรรูปหนึ่งที่เพี้ยนมาจาก Ц หรือ Ҁ อักษรนี้มีชื่อเดิมคือ čr̤̥vǐ ปัจจุบันใช้แทนค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 90 แทนอักษร Ҁ ที่เลิกใช้ไปแล้ว "Ч" ในภาษาอังกฤษจะถอดเป็น "ch" หรือบางทีจะถอดเป็น "tch" ถ้าอยู่เป็นตัวแรก ส่วนภาษาเยอรมันจะถอดเป็น "tch".

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: ภาษาฮีบรูอักษรฟินิเชียอักษรฮีบรูตัวเลขซีริลลิกĈҺҀЁЏ

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ดู Чและภาษาฮีบรู

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ดู Чและอักษรฟินิเชีย

อักษรฮีบรู

อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.

ดู Чและอักษรฮีบรู

ตัวเลขซีริลลิก

ลขซีริลลิก คือระบบเลขอย่างหนึ่งซึ่งถ่ายทอดมาจากอักษรซีริลลิก ใช้โดยชาวสลาวิกใต้และตะวันออก ระบบเลขนี้เคยมีการใช้ในดินแดนรัสเซีย แต่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงแทนที่เลขซีริลลิกด้วยเลขอารบิก เลขซีริลลิกเป็นระบบเลขคล้ายทศนิยม (quasi-decimal) มีพื้นฐานมาจากเลขกรีก แต่เขียนโดยใช้หน่วยอักขระ (grapheme) ของอักษรซีริลลิก นั่นคือการเรียงลำดับนั้นเรียงตามอักษรกรีก แต่ไม่เป็นไปตามลำดับอักษรซีริลลิกปัจจุบัน อักษรแต่ละตัวจะถูกกำหนดให้แทนค่าของตัวเลขหลักหน่วย (1, 2,...

ดู Чและตัวเลขซีริลลิก

Ĉ

ตัวอักษร Ĉ (ตัวเล็ก: ĉ) เป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรละติน C ที่มีเซอร์คัมเฟล็กซ์ (circumflex) อยู่ด้านบน โดยถูกใช้ในบริบทที่หลากหลายในสัทอักษรสากลเสียงนี้แสดงโดยสัญลักษณ์ Ĉ เป็นอักษรที่ใช้ในภาษาเอสเปรันโต.

ดู ЧและĈ

Һ

Һ/һ เป็นหนึ่งรูปแบบอักษรซีริลลิก ชื่อว่า "Shha" จึงมีลักษณะคล้ายรูปร่างเปรียบเทียบอักษรละติน H/h และ Ч ตามดังภาพตัวอักษรดังกล่าว จะถูกคิดค้นโดยใช้ทุกภาษา ใน อักษร Һ จะออกเสียงเป็น และความเป็นจริงที่เป็นอักษร Һ ที่ใช้ได้.

ดู ЧและҺ

Ҁ

Koppa (Ҁ, ҁ) เป็นอักษรซีริลลิกยุคเก่าตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก คอปปา (Ϙ, ϙ) อักษรตัวนี้ไม่มีใช้แล้วในกลุ่มภาษาสลาวิก และไม่ได้ใช้แทนเสียงใดๆ เพียงแต่เป็นอักษรที่ใช้แทนเลขซีริลลิกที่มีค่าเท่ากับ 90 แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้ Ч ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันและไม่มีค่าของเลขซีริลลิกตั้งแต่แรก.

ดู ЧและҀ

Ё

Yo (Ё, ё) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก และเป็นอักษรตัวที่ 7 ของภาษารัสเซีย อักษรนี้ประดิษฐ์ขึ้นใน พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) โดยนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวรัสเซีย นิโคไล มิไฮโลวิช คารามซิน (Nikolai Mikhailovich Karamzin) เพื่อลดความสับสนระหว่างการใช้ Е กับ О สำหรับแทนเสียงสระ // ที่ตามหลังพยัญชนะซึ่งถูกอ่านโดยเลื่อนขึ้นไปทางเพดานแข็ง อักษรนี้ใช้ในภาษารัสเซียและภาษาเบลารุส และใช้น้อยครั้งในกลุ่มภาษาสลาวิกอื่นๆ โดยปกติแล้วอักษร Ё จะออกเสียงเป็น // (โย) แต่เมื่อตามหลังพยัญชนะเสียงเสียดแทรก ฐานปุ่มเหงือก ได้แก่ Ж, Ч, Ш, และ Щ จะออกเสียงเป็น // (โอ) ธรรมดา นอกจากนั้นพยางค์ที่มีอักษรนี้อยู่จะเป็นเสียงเน้นหนักเสมอ (stress) ลักษณะของ Yo นั้นสามารถระบุได้ว่าเอามาจาก Ye ซึ่งเหมือนอักษรละติน E เว้นแต่ด้านบนจะมีเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นจุดสองจุดเรียกว่า umlaut หรือ diaeresis ซึ่งไม่มีที่ใช้ทั่วไปในอักษรอื่นของภาษารัสเซีย เครื่องหมายนี้ถูกใช้เพื่อให้เกิดความแตกต่างกับ Ye เท่านั้น อักษร Ё ได้นำไปใช้ในงานเขียนครั้งแรกเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ก็ไม่ได้ใช้ให้เป็นมาตรฐานจนถึง พ.ศ.

ดู ЧและЁ

Џ

Dzhe (Џ, џ) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีใช้ในภาษาเซอร์เบียและภาษามาซิโดเนีย ใช้แทนเสียง เหมือนเสียงของ j ในภาษาอังกฤษ อักษรนี้เป็นอักษรที่ควบคู่ไปกับ ДЖ, ЧЖ, Ӂ, Җ หรือ Ӌ ในภาษาอื่นที่ใช้อักษรซีริลลิกเหล่านี้ สำหรับชื่อ Dzhe เป็นเพียงชื่อที่ตั้งขึ้นชั่วคราว เนื่องจากอักษรของภาษาเซอร์เบียไม่มีชื่อเรียกอยู่แล้ว เมื่อต้องการสะกดทีละตัว อักษรนี้จึงจะอ่านว่า และในบางครั้งก็ใช้ชื่อว่า Dzherv ตามแบบอย่างของชื่ออักษร Cherv (Ч) หรือ Djerv (Ћ) จุดเริ่มต้นของอักษร Dzhe มาจากอักษรซีริลลิกโรมาเนียในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และชาวเซอร์เบียเริ่มนำมาใช้ในภาษาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17.

ดู ЧและЏ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Che (ซีริลลิก)ChervChrviČr̤̥vǐ