สารบัญ
5 ความสัมพันธ์: ภาษาฮีบรูอักษรฟินิเชียอักษรฮีบรูҊЙ
ภาษาฮีบรู
ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..
อักษรฟินิเชีย
ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.
อักษรฮีบรู
อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.
Ҋ
Short I with tail (Ҋ, ҋ) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีใช้ในภาษากิลดินซามี ใช้แทนเสียงเปิดเพดานแข็งอโฆษะ // บางครั้งก็ใช้อักษร Ј แทน.
ดู ЈและҊ
Й
Short I (Й, й) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก อักษรตัวนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากอักษร И และเครื่องหมายเสริมอักษร breve ใช้แทนเสียงพยัญชนะกึ่งสระ // เหมือน y ในคำว่า yellow ของภาษาอังกฤษหรือ ย ในภาษาไทย อักษร Short I เป็นอักษรตัวที่ 11 ในภาษารัสเซียเรียกว่า И краткое (I kratkoye อี ครัตโคเอีย), เป็นอักษรตัวที่ 10 ในภาษาบัลแกเรียเรียกว่า И кратко (I kratko อี ครัตโค), เป็นอักษรตัวที่ 14 ในภาษายูเครนเรียกว่า Йот (Yot ยอต) หรือ Ий (Yi อิย) และเป็นอักษรตัวที่ 11 ในภาษาเบลารุส แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีการใช้อักษร И ในภาษาเบลารุส อักษร Short I มักจะถูกถ่ายอักษรให้เป็น j หรือ y ส่วนมากจะใช้เป็นพยัญชนะสะกดตัวสุดท้ายของคำ อักษร Й (หรือในอีกแง่หนึ่งคือการเติม breve บนอักษร И) เริ่มมีการใช้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15–16 และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ความแตกต่างระหว่าง И กับ Й เริ่มปรากฏในอักขรวิธีของภาษาเชิร์ชสลาโวนิก (ซึ่งใช้เป็นภาษารัสเซียเช่นกัน) แต่หลังจากเกิดการปฏิรูปอักขรวิธีในสหภาพโซเวียต โดย จักรพรรดิปอเตอร์ที่ 1 (Peter I) เครื่องหมายเสริมอักษรของภาษารัสเซียถูกตัดออกไปทั้งหมด แต่หลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตใน พ.ศ.
ดู ЈและЙ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Je (ซีริลลิก)