โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาแจ็กซ์และอีเลียด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อาแจ็กซ์และอีเลียด

อาแจ็กซ์ vs. อีเลียด

รูปวาดบนภาชนะโบราณ อาแจ็กซ์อุ้มร่างของอคิลลีส อาแจ็กซ์ (Ajax) หรือ ไอแอ็ส (Aias) วีรบุรุษในสงครามกรุงทรอย เป็นบุคคลมีรูปร่างใหญ่โต มีพละกำลังที่แข็งแรงมาก เป็นทั้งญาติและเพื่อนร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับอคิลลีส ภาพวาดในสมัยโบราณที่ปรากฏมักเป็นรูปอาแจ็กซ์นั่งเล่นหมากรุกกับอคิลลีสในช่วงพักรบ อาแจ็กซ์เป็นหนึ่งในบรรดาผู้สมัครเป็นเจ้าบ่าวของนางเฮเลน และได้กระทำสาบานปกป้องนางเฮเลนกับผู้ใดก็ตามที่ได้เป็นสามี ดังนั้นเมื่อนางเฮเลนถูกลักพาตัวไป และท้าวเมนนิเลอัสร้องขอความช่วยเหลือ เขาจึงได้เข้าร่วมสงครามเมืองทรอยด้วย ในช่วงท้ายของสงคราม ภายหลังจากที่อคิลลีสถูกปารีสยิงธนูถูกข้อเท้าถึงแก่ความตาย อาแจ็กซ์เป็นผู้ที่อุ้มร่างของอคิลลีสฝ่าทหารของกรุงทรอยออกมา นอกจากนี้แล้ว อาแจ็กซ์ยังเป็นชื่อของอีกบุคคลหนึ่งที่ปรากฏบทบาทในสงครามกรุงทรอยด้วยเช่นกัน โดยอาแจ็กซ์ผู้นี้มักถูกเรียกว่า Ajax the Lesser (อาแจ็กซ์ผู้น้อย) ขณะที่อาแจ็กซ์ผู้มีร่างกายใหญ่โตจะถูกเรียกว่า Ajax the Great (อาแจ็กซ์ผู้ยิ่งใหญ่) โดยอาแจ็กซ์ผู้น้อยนี้เป็นบุตรของกษัตริย์โอลิอุส เป็นหนึ่งในผู้ที่หลงรูปโฉมของเฮเลน จึงได้นำกองทัพเรือจำนวนมากเข้าสู่สงครามกรุงทรอย อาแจ็กซ์ผู้น้อยเสียชีวิตจากการหนีจากการจมน้ำโดยโปเซดอนได้ และไต่ขึ้นไปนั่งบนหิน โปเซดอนจึงใช้สายฟ้าฟาดไปบนหินที่อาแจ็กซ์ผู้น้อยนั่งอยู่ให้แตกละเอียด จนอาแจ็กซ์ผู้น้อยจมน้ำตายอีกครั้ง ปัจจุบัน ชื่อของอาแจ็กซ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้ถูกตั้งเป็นชื่อของสโมสรฟุตบอลระดับชั้นแนวหน้าแห่งหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ คือ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม หมวดหมู่:การฆ่าตัวตาย หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก. ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อาแจ็กซ์และอีเลียด

อาแจ็กซ์และอีเลียด มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สงครามกรุงทรอยอคิลลีสปารีส (ทรอย)โพไซดอนเฮเลนแห่งทรอย

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

สงครามกรุงทรอยและอาแจ็กซ์ · สงครามกรุงทรอยและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

อคิลลีส

ทิสมอบเกราะและโล่ที่เทพช่างเหล็กฮิฟีสตัสตีขึ้นแก่อคิลลีสลูกชาย อคิลลีส (Achilles, Akhilleus, Achilleus; ภาษากรีกโบราณ: Ἀχιλλεύς) เป็นวีรบุรุษในตำนานกรีกโบราณว่าด้วยเรื่องสงครามเมืองทรอย เป็นตัวละครหลักและนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ เป็นแก่นของแนวเรื่องหลักในมหากาพย์นั้น คือ "โทสะของอคิลลีส" อคิลลีสเป็นบุตรของท้าวพีลูส กษัตริย์ชาวเมอร์มิดอน กับนางพรายทะเลเธทิส เกิดที่เมืองฟาร์สะลา แคว้นเทสสะลี แต่เดิมนางพรายทะเลเธทิสเป็นที่หมายปองของเทพซูสและโพไซดอน แต่ภายหลังโปรมีธูสแจ้งคำพยากรณ์ต่อเทพทั้งสองว่า บุตรของเธทิสจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าบิดา เทพทั้งสองจึงยกนางให้แก่พีลูส เมื่ออคิลลีสเกิด เธทิสได้จุ่มร่างของบุตรลงในแม่น้ำสติกส์เพื่อให้เป็นคงกระพัน ร่างกายของอคิลลีสจึงแข็งแกร่ง ไม่มีอาวุธใดทำอันตรายได้ อย่างไรก็ดีขณะนางจุ่มร่างบุตร เธทิสใช้มือกุมข้อเท้าบุตรไว้ ดังนั้นทั่วร่างอคิลลีสจึงมีเพียงข้อเท้าที่ไม่ได้อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นจุดอ่อน ซึ่งในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า "Achilles' heel" หมายถึง จุดอ่อน อคิลลีสได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งนักรบ เป็นผู้ที่มีฝีมือการต่อสู้ฉกาจฉกรรจ์มาก เมื่อพระเจ้าอกาเมมนอนรวบรวมทัพเพื่อยกไปตีเมืองทรอย จึงได้เชิญตัวอคิลลีสไปด้วย คำพยากรณ์มีว่า กรีกไม่มีวันเอาชนะทรอยได้หากปราศจากอคิลลีส กระนั้นก็มีคำพยากรณ์สำหรับอคิลลีสว่า เขาจะสิ้นชีวิตหากสังหารแม่ทัพทรอย คือ เฮกเตอร์ อคิลลีสไปถึงเมืองทรอยด้วยอายุเพียง 10 ขวบ และตั้งกองทัพอยู่ชายฝั่งเมืองทรอยนานถึง 15 ปี ระยะแรกอคิลลีสยังไม่มีความมุ่งมาดที่จะเอาชนะ จนกระทั่งเปรโตคัส เพื่อนรักอย่างยิ่งของอคิลลิส ถูกเฮกเตอร์สังหาร อคิลลิสจึงมีโทสะอย่างมากในการรบ จึงได้ขอดวลเดี่ยวกับเฮกเตอร์เพื่อล้างแค้นและสามารถสังหารเฮกเตอร์ได้ และลากศพของเฮกเตอร์ไปรอบ ๆ เมืองทรอยด้วยรถม้าเป็นการประจาน อคิลลีสเป็นผู้ที่บุกตะลุยเข้าไปในเมืองหลังจากเข้าเมืองได้ด้วยอุบายม้าไม้ของโอดิซูส และอคิลลีสก็ถูกสังหารจริง ๆ ตามคำทำนายด้วยลูกธนูที่ข้อเท้าจากการยิงของปารีส เมื่ออคิลลีสเสียชีวิตไปแล้ว ได้ทิ้งชื่อไว้เป็นตำนานให้เลื่องลือ กล่าวกันว่า โล่ห์ของอคิลลีส (Shield of Achilles) ซึ่งเป็นโลห์ที่อคิลลีสใช้สู้กับเฮคเตอร์เป็นสิ่งที่ใครต่อใครต้องการแสวงหา และอเล็กซานเดอร์มหาราชก็นับถืออคิลลีสเป็นอย่างมาก โดยถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากอคิลลีส และพระองค์ยังออกตามหาหลุมศพของอคิลลีสรวมทั้งปรารถนาจะครอบครองโล่ห์ของอคิลลีสด้วย ซึ่งเชื่อว่าได้ถูกฝังอยู่ในหลุมศพของอคิลลี.

อคิลลีสและอาแจ็กซ์ · อคิลลีสและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส (ทรอย)

รูปปั้น''ปารีส'' ในพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม ปารีส (Paris) ในตำนานเทพปกรณัมกรีกโบราณ เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย โอรสของท้าวเพรียม จากวีรกรรมการชิงตัวนางเฮเลน ราชินีแห่งสปาร์ตามา ทำให้เกิดสงครามเมืองทรอย อันเป็นเหตุแห่งการล่มสลายของทรอยในท้ายที่สุด เขาเป็นผู้สังหารอคิลลีสโดยยิงธนูถูกที่ข้อเท้า ซึ่งเป็นจุดอ่อนของอคิลลีส ตามคำพยากรณ์ที่นางอัปสรธีทิส มารดาของอคิลลีสเคยทำนายไว้ และเขาก็ถูกสังหารโดยบุตรชายของอคิลลีสเอง หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ปารีส (ทรอย)และอาแจ็กซ์ · ปารีส (ทรอย)และอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

อาแจ็กซ์และโพไซดอน · อีเลียดและโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

เฮเลนแห่งทรอย

เฮเลนแห่งทรอย ภาพวาด ''เฮเลนกับปารีส'' โดย ฌาคส์-หลุยส์ เดวิด ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส เฮเลน (Helen, ภาษากรีกว่า Ἑλένη – Helénē) คือหญิงสาวผู้เป็นชนวนศึกในสงครามเมืองทรอย ปกรณัมเก่าแก่ของกรีก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานมหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ ส่วนใหญ่มักเรียกชื่อนางว่า เฮเลนแห่งสปาร์ตา หรือ เฮเลนแห่งทรอย นางเป็นบุตรีของเทพซูสกับนางลีดา มีพี่ชายคือแคสเตอร์ พอลลักซ์ และคลีเทมเนสตรา เมื่อเฮเลนเติบโตถึงวัยวิวาห์ บิดามารดาได้จัดพิธีเลือกคู่ให้แก่นาง โดยมีกษัตริย์ เจ้าชาย และนักรบจากเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นกรีกมาร่วมงาน ได้แก่ โอดิซูส เมเนสทีอัส ไดโอมีดีส อจักซ์ ปโตรกลัส เมนนิเลอัส และอักกะเมมนอน นางเลือกเมนนิลิอัสเป็นคู่วิวาห์ ส่วนกษัตริย์อื่นต่างให้สัญญาว่าจะคอยช่วยปกป้องนาง เฮเลนมีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ เมื่อครั้งปารีสแห่งทรอยเป็นผู้ตัดสินความงามระหว่างเหล่าเทพี อโฟรไดท์สัญญาว่าจะให้นางเฮเลนแก่เขาหากเขาเลือกให้พระนางเป็นเทพีผู้งามที่สุด เหตุนี้ปารีสจึงมาชิงตัวเฮเลนไปเสียโดยความช่วยเหลือของเทพเจ้า แล้วพานางหนีกลับไปเมืองทรอย ทำให้เหล่ากษัตริย์ที่ได้ให้สัตย์ไว้ต่อเมนนิลิอัส ต้องยกทัพมาช่วยเหลือเพื่อชิงนางเฮเลนกลับคืน หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

อาแจ็กซ์และเฮเลนแห่งทรอย · อีเลียดและเฮเลนแห่งทรอย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อาแจ็กซ์และอีเลียด

อาแจ็กซ์ มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ อีเลียด มี 64 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 6.94% = 5 / (8 + 64)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาแจ็กซ์และอีเลียด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »