โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หน่วยเสียงและอักขรวิธี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หน่วยเสียงและอักขรวิธี

หน่วยเสียง vs. อักขรวิธี

หน่วยเสียง (phoneme) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาษาพูด สัทสมาคมระหว่างประเทศนิยามหน่วยเสียงว่าหมายถึง "ส่วนที่เล็กที่สุดของเสียงที่ใช้เพื่อสร้างความหมายต่าง ๆ เมื่อเปล่งเสียงออกมา" ในทางภาษาศาสตร์ยังมีทรรศนะแตกต่างกันว่าหน่วยเสียงเป็นอย่างไรแน่ และภาษาจำแนกออกเป็นหน่วยเสียงได้อย่างไร แต่โดยทั่วไปจะเข้าใจอย่างกว้าง ๆ ร่วมกันว่าหน่วยเสียงเป็นภาวะนามธรรมของชุดเสียงพูดที่ถือว่ามีลักษณะเหมือนกันในภาษานั้น ๆ ตัวอย่างเช่นในภาษาอังกฤษ "k" ในคำว่า kit และ skill ออกเสียงต่างกัน แต่ผู้พูดภาษาอังกฤษถือว่าเป็นเสียงเดียวกัน ดังนั้น k ในคำทั้งสองจึงถือเป็นหน่วยเสียงเดียวกันในรูป กรณีเสียงพูดต่างกันแต่ใช้หน่วยเสียงเดียวกันนี้เรียกว่าเสียงย่อย (allophone) ดังนั้นจึงถือว่าหน่วยเสียงเป็นตัวแสดงคำต่าง ๆ ออกมา การศึกษาระบบหน่วยเสียงถือเป็นประเด็นศึกษาหลักของสัทวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร. อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หน่วยเสียงและอักขรวิธี

หน่วยเสียงและอักขรวิธี มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หน่วยเสียงและอักขรวิธี

หน่วยเสียง มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ อักขรวิธี มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (4 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หน่วยเสียงและอักขรวิธี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »