โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามครูเสดครั้งที่ 5

ดัชนี สงครามครูเสดครั้งที่ 5

นักรบครูเสดฟรีเชียนเผชิญกับหอที่ดามิยัตตาในอียิปต์ สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (Fifth Crusade) (ค.ศ. 1217-ค.ศ. 1221) เป็นสงครามครูเสดที่พยายามยึดเยรูซาเลมและดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดคืนโดยเริ่มด้วยการโจมตีรัฐมหาอำนาจของอัยยูบิดในอียิปต์ สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพครูเสดโดยการนำของเลโอโปลด์ที่ 4 ดยุคแห่งออสเตรีย (Leopold VI, Duke of Austria) และ สมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี ต่อมาในปี..

23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1760พ.ศ. 1764ภาษาเฟลมิชรัฐสุลต่านรูมรัฐนักรบครูเสดราชอาณาจักรเยรูซาเลมสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3สารตราพระสันตะปาปาสงครามครูเสดสงครามครูเสดครั้งที่ 2อานาโตเลียจักรวรรดิละตินจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิไบแซนไทน์จักรวรรดิเซลจุคทวีปยุโรปดาเมียตตาประเทศอียิปต์ประเทศเนเธอร์แลนด์แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ไคโรเยรูซาเลม

พ.ศ. 1760

ทธศักราช 1760 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และพ.ศ. 1760 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1764

ทธศักราช 1764 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และพ.ศ. 1764 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเฟลมิช

ภาษาฟลามส์ (ดัตช์: Vlaams) หรือภาษาเฟลมิช (อังกฤษ: Flemish) เป็นภาษาถิ่นของชาวฟลามส์ ในฟลานเดอร์หรือเขตฟลามส์ของ ประเทศเบลเยียม ฟลามส์ไม่เชิงเป็นภาษา แต่เป็นสำเนียงหนึ่งของ ภาษาดัตช์มาตรฐาน (Algemeen Nederlands) ภาษาดัตช์เป็นหนึ่งใน 3 ภาษาราชการของเบลเยียม ใช้สื่อสารทั่วไปใน ฟลานเดอร์ และบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม หมวดหมู่:ภาษาในประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และภาษาเฟลมิช · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสุลต่านรูม

รัฐสุลต่านรูม (Sultanate of Rûm, سلاجقة الروم) เป็นรัฐสุลต่านเซลจุคตุรกี ที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลียระหว่างปี ค.ศ. 1077 จนถึงปี ค.ศ. 1307 โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่อิซนิคและต่อมาคอนยา เนื่องจากอาณาจักรสุลต่านเป็นอาณาจักรที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่เสมอฉะนั้นเมืองอื่นเช่นเคย์เซรีและซิวาสต่างก็ได้เป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่ง ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาจักรสุลต่านแห่งรัมมีอาณาบริเวณครอบคลุมกลางตุรกีตั้งแต่เมืองท่าอันทาลยา-อลันยาบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงไซนอพบนฝั่งทะเลดำ ทางตะวันออกอาณาจักรสุลต่านก็ผนวกรัฐต่างๆ ของตุรกีไปจนถึงทะเลสาบวาน ทางด้านตะวันตกสุดก็มีอาณาบริเวณไปจรดบริเวณเดนิซลิและบริเวณทะเลอีเจียน.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และรัฐสุลต่านรูม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนักรบครูเสด

ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 โดยมีอาณาจักรครูเสดเป็นสีเขียว อานาโตเลียและอาณาจักรครูเสด ราว ค.ศ. 1140 รัฐนักรบครูเสด (Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และรัฐนักรบครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม (Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลว้าน (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk) ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านไต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่นๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มแข็งตัวขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิโมกุลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และราชอาณาจักรเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 (อังกฤษ: Innocent III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1198 ถึง ค.ศ. 1216 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1160 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 อินโนเซนต์ที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในสงครามครูเสดครั้งที่ 5 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลัตซีโย.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 (อังกฤษ: Honorius III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1216 ถึง ค.ศ. 1227 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ฮโโนริอุสที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในสงครามครูเสดครั้งที่ 5 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และสมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สารตราพระสันตะปาปา

รตราของสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ที่ออกใน ค.ศ. 1637 ประทับด้วยตราบุลลา สารตราพระสันตะปาปา (Papal bull) เป็นเอกสารสิทธิ (Letters patent) หรือใบอนุญาตประเภทหนึ่งที่ออกโดยพระสันตะปาปา ในภาษาอังกฤษ “สารตราพระสันตะปาปา” เป็นคำที่มาจากคำว่า “Bulla” (ตราบุลลา) ที่ประทับห้อยติดกับเอกสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นเอกสารแท้จากผู้ออก สารตราพระสันตะปาปาเดิมออกโดยพระสันตะปาปาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารหลายประเภทที่เป็นสาธารณะ แต่หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็เป็นเอกสารที่กลายเป็นเอกสารที่ออกเฉพาะโอกาสที่เป็นทางการที่สำคัญๆ เท่านั้น นักวิชาการสมัยใหม่ใช้คำว่า “Bull” ในการบรรยายย้อนหลังถึงเอกสารใดใดที่ออกโดยพระสันตะปาปาในรูปของ “กฤษฎีกา” (decree), “เอกสิทธิ์” (privilege) และเอกสารที่ไม่สำคัญเท่าใดนักที่ออกมาเป็นจดหมาย ตามความนิยมโดยทั่วไป “สารตราพระสันตะปาปา” จะใช้กับเอกสารของพระสันตะปาปาที่มีตราโลหะ สารตราพระสันตะปาปาใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่วลีนี้มิได้เริ่มใช้กันมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 และใช้เฉพาะเป็นการภายในสำหรับกล่าวถึงระบบการเก็บเอกสารอย่างไม่เป็นทางการ คำนี้กลายมาใช้อย่างเป็นทางการในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อสำนักงานหนึ่งของระบบการบริหารของพระสันตะปาปาได้รับชื่อว่า “Registrum bullarum” (สำนักงานลงทะเบียนพระบัญญัติ) ในปัจจุบันสารตราจะออกก็ต่อเมื่อพระสันตะปาปากล่าวถึงพระองค์เองว่า “ผู้รับใช้ของบรรดาผู้รับใช้พระเป็นเจ้า” (Servus Servorum Dei) ตัวอย่างเช่นเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงออกสารตราพระองค์ก็ทรงเริ่มเอกสารโดยมีพระนามนำหน้าเป็น “เบเนดิกต์ บิชอป ผู้รับใช้ของบรรดาผู้รับใช้พระเป็นเจ้า” (Benedictus, Episcopus, Servus Servorum Dei).

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และสารตราพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

“สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และสงครามครูเสดครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิละติน

ักรวรรดิละติน หรือ จักรวรรดิละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Latin Empire หรือ Latin Empire of Constantinople, Imperium Romaniae (จักรวรรดิโรมาเนีย)) เป็นชื่อที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ที่หมายถึงนครรัฐครูเสดที่ก่อตั้งโดยผู้นำต่างๆ ของสงครามครูเสดครั้งที่ 4 จากบริเวณที่ยึดได้จากจักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิละตินก่อตั้งขึ้นหลังการยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลใน..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และจักรวรรดิละติน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซลจุค

มหาจักรวรรดิเซลจุค (سلجوقیان.) เป็นจักรวรรดิแบบเปอร์เชียM.A. Amir-Moezzi, "Shahrbanu", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,: "...

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และจักรวรรดิเซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ดาเมียตตา

การยึดเมืองดาเมียตตาโดยนักรบครูเสด ดาเมียตตา (Damietta หรือ Damiata หรือ Domyat) หรือ ดุมยาฏ (دمياط) เป็นเมืองท่าและเมืองหลักของเขตผู้ว่าการดาเมียตตาในประเทศอียิปต์ ดาเมียตตาตั้งอยู่ที่จุดที่แม่น้ำไนล์ไหลออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนราว 200 กิโลเมตรทางตอนเหนือของกรุงไคโร.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และดาเมียตตา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

ทะเลเดดซี แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land; הקודש; Terra Sancta; الأرض المقدسة; ภาษาอารามิคโบราณ: ארעא קדישא Ar'a Qaddisha) หมายถึงดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณประเทศอิสราเอลซึ่งมีความสำคัญต่อศาสนาสำคัญศาสนาอับราฮัมสามศาสนา ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม สาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากความสำคัญของกรุงเยรูซาเลมทางศาสนาและความสำคัญของการเป็นดินแดนแห่งอิสราเอล สงครามครูเสดใช้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เป็นสาเหตุในการยึดคืนเพราะเป็นดินแดนที่มีความหมายต่อพันธสัญญาใหม่ ในปัจจุบันดินแดนบริเวณนี้เป็นดินแดนของความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไคโร

ร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ไคโร (القاهرة; Cairo) เป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ ไคโรมีประชากรประมาณ 15.2 ล้านคน ซึ่งเป็นเมืองที่ประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นแห่งหนึ่งในโลก ชื่อเมือง "ไคโร" ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า "ชัยชนะ" โดยความเชื่อว่าเกิดจากที่มีการมองเห็นดาวอังคารในช่วงที่ก่อสร้างเมือง และดาวอังคารเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการทำลายล้าง อย่างไรก็ตามในอีกความเชื่อหนึ่ง ชื่อไคโรมาจากที่เมืองไคโรเป็นเมืองที่รบชนะทุกกองทัพที่มาตีเมืองไคโร รวมไปถึงกองทัพมองโกล กองทัพครูเสด หรือแม้แต่กองทัพออตโตมัน.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และไคโร · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: สงครามครูเสดครั้งที่ 5และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Fifth Crusadeสงครามครูเสดครั้งที่ห้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »