โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ดัชนี ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคินเม จักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองกษัตริย์อาณาจักรแพคเจส่งราชทูตมายังราชสำนักจักรพรรดิคินเม พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม และพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้จักรพรรดิคินเมรับนับถือพระพุทธศาสนา จักรพรรดิคินเมทรงรับด้วยความพอพระทัย แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์ พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาร่วมสหัสวรรษ และในพันปีกว่านี้ชาวญี่ปุ่นยังได้เชื่อมโยงความเชื่อของพุทธศาสนาบางส่วนเข้าผสมผสานกับปรัชญาหลักคำสอนของศาสนาชินโตพื้นบ้าน เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์และทวยเทพในศาสนาพุทธ ซึ่งได้ผนวกเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถือในศาสนาชินโต ความเชื่อมโยงนี้ซึมซับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนรากทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ.

56 ความสัมพันธ์: ชินโตพ.ศ. 1095พ.ศ. 1135พ.ศ. 1165พ.ศ. 1177พ.ศ. 1718พระพุทธรูปพระสุตตันตปิฎกพระสงฆ์พระอมิตาภพุทธะพระนิชิเร็งพระโพธิสัตว์พระโพธิธรรมพระโคตมพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุพุทธศาสนิกชนมหายานยุคโชวะยุคโคะฟุงยุคเมจิยุคเฮอังรัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรารัตนตรัยราชวงศ์แพ็กเจวัชรยานวัดโฮรีวศาสนาพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นศีล 227สมาคมสร้างคุณค่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรสุขาวดีสุขาวดี (นิกาย)จักรพรรดิญี่ปุ่นจักรพรรดิคิมเมจักรพรรดินีซุอิโกะจักรพรรดิโยเมฆราวาสประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นประเทศอินเดียประเทศจีนนักบวชนิชิเร็งโชชูนิชิเร็นนิฮงโชะกิโพธิสัตว์ศีลโกทูโนว์เกาหลีเจ้าชายโชโตะกุ...เถรวาทเทวดา (ศาสนาพุทธ)เทียนไถเซน1 กุมภาพันธ์12 ตุลาคม ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1095

ทธศักราช 1095 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพ.ศ. 1095 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1135

ทธศักราช 1135 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพ.ศ. 1135 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1165

ทธศักราช 1165 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพ.ศ. 1165 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1177

ทธศักราช 1177 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพ.ศ. 1177 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1718

ทธศักราช 1718 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพ.ศ. 1718 · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธรูป

ระพุทธรูป หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระพุทธรูป · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอมิตาภพุทธะ

ระอมิตาภพุทธะ (अमिताभ बुद्ध) เป็นพระธยานิพุทธะที่ประทับในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นพุทธเกษตรแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์มีรูปกายเป็นสีแดง นับถือกันมากในนิกายสุขาวดี ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายเถรวาท เพราะไม่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกภาษาบาลี.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระอมิตาภพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระนิชิเร็ง

อนุสาวรีย์พระนิชิเร็น ด้านนอกฮอนโนะจิ ใน อำเภอเทะระมะชิ กรุงเกียวโต พระนิชิเร็ง (日蓮) หรือ พระนิชิเร็งไดโชนิน (ใช้ในนิกายนิชิเร็งโชชู) เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ซึ่งนิกายนิชิเร็งโชชูเชื่อว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง ท่านคือผู้สถาปนาและริเริ่มเผยแผ่คำสอน "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว" บนพื้นฐานของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็ง ซึ่งปัจจุบันได้แตกกิ่งก้านออกไปเป็นนิกายย่อย ๆ ประมาณ 32 นิกายในญี่ปุ่น และมีหลายลัทธิยืมคำสอนของท่านไปใช้ด้วย นิกายหลัก ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือนิชิเร็งโชชูและนิชิเร็งชู แต่นิกายแรกจะเป็นที่รู้จักมากกว่าเพราะมีสานุศิษย์กระจายอยู่ทั่วโลกแม้แต่ในเมืองไทย ตลอดชีวิตของพระนิชิเร็ง ท่านทุ่มเทเผยแผ่คำสอน โดยท่านเรียกร้องให้ชาวญี่ปุ่นละทิ้งคำสอนของนิกายและความเชื่อต่าง ๆ หันมายึดมั่นในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแต่เพียงพระสูตรเดียว เพราะท่านกล่าวว่าเป็นพระสูตรที่สูงส่งที่สุดและเป็นเจตนาที่แท้จริงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า เมื่อทำเช่นนั้นแล้วจึงจะช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นสงบสุข มั่นคง รอดพ้นจากปัญหานานาประการทั้งจากภัยธรรมชาติ ฤดูกาลแปรปรวน โรคระบาด เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง กบฏภายใน และภัยจากจักรวรรดิมองโกล ซึ่งญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้น แต่หนทางในการเผยแผ่คำสอนของพระนิชิเร็งไม่เรียบง่าย บางครั้งถึงขั้นต้องแลกกับชีวิต ด้วยเหตุนี้วงการพุทธศาสนามหายานจึงสดุดีท่านว่า ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑรีกสูตร.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระนิชิเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิธรรม

'''"พระโพธิธรรม"''' โดยโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) พระโพธิธรรม (โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC): bōdhidharma; 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó, Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในในประเทศไทยมักเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ) เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานนิกายเซน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้ ตามตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระโพธิธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระไภษัชยคุรุ

วัดโฮรีว พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระไภษัชยคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศาสนิกชน

ทธศาสนิกชน (Buddhist) แปลว่า คนที่นับถือศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า พุทธมามกะ ซึ่งหมายถึง ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของตน พุทธศาสนิกชน หมายถึง คนที่ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมคือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อขัดเกลา อบรม บ่มเพาะกาย วาจา ใจให้งดงามเรียบร้อย ให้สงบนิ่ง และให้พ้นจากความเศร้าหมองต่างๆ พุทธศาสนิกชน ที่พึงประสงค์คือผู้ปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้ ผู้ฉลาด ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่งมงาย ไม่ประมาทมัวเมา ไม่หลงไปตามกระแสกิเล.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพุทธศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคโชวะ

ยุคโชวะ คือการนับช่วงยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในรัชกาลของสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ (ฮิโระฮิโตะ)รัชกาลเดียว เริ่มต้นขึ้นในค.ศ. 1926 และสิ้นสุดใน ค.ศ. 1989 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 62 ปี 14 วัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงรัชกาลที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น เจ้าชายอะกิฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ, สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน, เจ้าชายมะซะฮิโตะ ฮิตะชิ, เจ้าหญิงโยริ, เจ้าหญิงทากะ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและยุคโชวะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคโคะฟุง

ฟุง อยู่ในช่วง ค.ศ. 250 - ค.ศ. 538 เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 4 ชนเผ่าอิสระกลุ่มต่าง ๆ ได้ถูกรวบรวมโดยชนเผ่า ยามาโตะ (大和民族 Yamato-Minzoku) ขณะเดียวกันสุสานที่มีลักษณะพิเศษเป็นรูปกุญแจก็ถูกสร้างขึ้นทั่วไป ความรู้ และวิทยาการต่าง ๆ จากจีนได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากในสมัยนี้ ในศตวรรษที่ 4 ชนเผ่ายามาโตะได้ขึ้นไปคาบสมุทรเกาหลีและรับเอาวัฒนธรรมการผลิตเครื่องใช้ของภาคพื้นทวีปมา ต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 5 ชาวเกาหลีได้นำวิทยาการต่าง ๆ เข้ามา เช่น การผลิตเครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การถลุงเหล็ก และวิศวกรรมโยธา รวมทั้งมีการเริ่มใช้อักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรของจีนด้วย และเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 6 ลัทธิขงจื้อ กับศาสนาพุทธก็ได้แพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่นเช่นกัน ในศตวรรษที่ 7 เจ้าชายโชะโทะคุ (聖徳太子 Shōtoku-taishi) จัดวางระบบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่จักรพรรดิตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถังของจีนได้สำเร็จเมื่อครั้งปฏิรูปการปกครองไทขะ (大化の改新 Taika-no-kaishin) และมีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีจนถึงปลายศตวรรษที่ 9 ถึงสิบกว่าครั้ง.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและยุคโคะฟุง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเมจิ

มจิ เป็นยุคสมัยของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ ยุคใหม่ (Modern Era) ของญี่ปุ่น ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะ ผนึกกำลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซะมุไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนารัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ จักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงจากเคียวโตะไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุกๆด้าน มีการทำสงครามกับจักรวรรดิรัสเซียและมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในขณะนั้น รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์และมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ในกรุงโตเกียว มีการสถาปนาสภานิติบัญญัติในสมเด็จพระจักรพรรดิขึ้นมาตามแบบอย่างของรัฐสภาอังกฤษ อันประกอบด้วยสภาขุนนาง (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ที่เหล่าขุนนางในสภาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเก็นโรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในระบบการเมือง มีการประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและยุคเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเฮอัง

อัง อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (平安京 Heian-kyou) หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (平安,Heian) แปลว่า ความสงบสันต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและยุคเฮอัง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา

รัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา (seventeen-article constitution) เป็นงานที่เจ้าชายโชโตะกุ (Shōtoku) นิพนธ์ขึ้นเมื่อปี 604 ตามความในพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 720 ต่อมา พระนางซุอิโกะ (Suiko) ทรงตรานิพนธ์นั้นเป็นกฎหมายซึ่งภายหลังนิยมเรียกกันว่ารัฐธรรมนูญ และถือกันว่า เป็นหนึ่งในเอกสารซึ่งบังคับบัญชาเรื่องศีลธรรมฉบับเริ่มแรกที่สุดในประวัติศาสตร์ รัฐธรรมนูญมีเนื้อความหลักดังนี้.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและรัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

รัตนตรัย

ระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและรัตนตรัย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แพ็กเจ

ราชวงศ์แพ็กเจ (18 ปีก่อน ค.ศ. - 660) ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับอาณาจักรแพ็กเจโดยพระเจ้าอนจอ ราชวงศ์นี้มีฝีมือทั้งทางด้านศิลปะ การทหาร วัฒนธรรมและพระพุทธศาสนาที่รับมาทั้งจากโคกูรยอและจีนโดยราชวงศ์นี้สิ้นสุดลงในรัชกาลพระเจ้าอึยจา (Uija; ค.ศ. 641-660) กษัตริย์รัชกาลที่ 31.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและราชวงศ์แพ็กเจ · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

วัดโฮรีว

หอคอนโดและเจดีย์ห้าชั้น 210px พระไภษัชยคุรุ กวนอิม วัดโฮรีว เป็นวัดพุทธในเมืองอิกะรุงะ จังหวัดนะระ ประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเต็มว่า "วัดปราชญ์เปรื่องธรรม" (法隆学問寺; Learning Temple of the Flourishing Law) มีที่มาจากการที่วัดนี้ได้เปิดให้เป็นโรงเรียนสอนศาสนาเช่นเดียวกับที่เป็นอารามสงฆ์ เป็นที่ยอมรับกันว่าวัดนี้มีอาคารไม้หลายหลังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ในโลก แม้ว่าจะยังมีวัดอื่นที่เก่าแก่กว่าและมีความสำคัญมากกว่า แต่วัดโฮรีวก็ยังคงเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและวัดโฮรีว · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

นาในประเทศญี่ปุ่น ถูกครอบงำโดยลัทธิชินโตเป็นหลักซึ่งเป็นลัทธิเก่าแก่ของชนชาติญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในญี่ปุ่นแต่พุทธสถานเกือบทั้งหมดในญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลจากลัทธิชินโตอยู่ไม่น้อย จากการสำรวจในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและศาสนาในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ศีล 227

ระวินัย 227 ข้อ ของพระ เป็นกฎหมายหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา พระวินัย 227บทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ พระวินัย 227 บ ไม่ใช่ศีลแต่เรียกว่า พระวินัย ผู้ทำผิดศีลเรียกว่า ล่วงพระวินัย เป็น อาบัติ ระดับชั้นต่าง ๆ ตามความหนักเบา สามารถแบ่งระดับอาบัติออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ในอาบัติระดับเบาจะต้องมีการเผยความผิด อาบัติระดับเบาเช่น ปาจิตตีย์ สามารถแก้ได้โดยกล่าวแสดงความผิดของตนกับพระภิกษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงถึงความสำนึกผิดและเพื่อจะตั้งใจประพฤติตนใหม่ หรือที่เรียกว่า การแสดงอาบัติ, ปลงอาบัติ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกย่อมขาดจากความเป็นพระ และไม่สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้อีก ซึ่งพระวินัย ไม่ใช่ศีล แต่เป็นเสมือนกฎหมายของพระภิกษุ แต่หากจะกล่าวถึงศีลพระนั้น มีเพียง 43 ข้อ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงจะเป็นศีลพระที่แท้จริงตามพุทธบัญญัต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและศีล 227 · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมสร้างคุณค่า

ัญลักษณ์แห่งสมาคมโซคา สมาคมสร้างคุณค่า (創価学会, Sōka Gakkai โซคา กักไก) เป็นองค์การศาสนาพุทธดำเนินการโดยฆราวาสที่จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ก่อตั้งขึ้นโดยแยกตัวออกมาจากนิกายนิชิเร็นโชชู ในปัจจุบันสมาคมโซคา กักไก นั้นไม่ได้ขึ้นตรงต่อวัดไทเซะคิและสังฆปริณายกนิชิเร็นโชชู กระทั่งปัจจุบันไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอันใดกัน โดยสมาคมโซคาศรัทธาในคำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินที่กล่าวว่า "คฤหัสถ์ก็สามารถเข้าถึงการรู้แจ้งและเปิดสภาพชีวิตพุทธะในตนเองได้" ซึ่งในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและสมาคมสร้างคุณค่า · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี

ตรกรรมฝาผนัง ''พุทธเกษตรของพระอมิตาภะ'' ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเบอร์มิงแฮม ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี (सुखावती สุขาวตี) คือพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลก สุขาวดีไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นภูมิที่สาวกของพระอมิตาภะใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและสุขาวดี · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี (นิกาย)

ระอมิตาภพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ขวา) และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, ไต้หวัน นิกายสุขาวดี (浄土教, Jōdokyō; 정토종, jeongtojong; Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและสุขาวดี (นิกาย) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิญี่ปุ่น

ักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น เป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและเอกภาพของประชาชน" ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและจักรพรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคิมเม

ักรพรรดิคิมเม เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ที่ 29 ของประเทศญี่ปุ่นImperial Household Agency (Kunaichō):; retrieved 2013-8-22.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและจักรพรรดิคิมเม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีซุอิโกะ

ักรพรรดินีซุอิโกะ (Empress Suiko; 554 – 15 เมษายน 628) เป็นพระเจ้าแผ่นดินญี่ปุ่นองค์ที่ 33Imperial Household Agency (Kunaichō): ตามลำดับการสืบสันตติวงศ์แต่โบราณ พระนางอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่ปี 593 จนสวรรคตเมื่อปี 628 ตามประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นแล้ว นางเป็นสตรีคนแรกในบรรดาแปดคนที่ได้เป็นจักรพรรดินี (empress regnant) อีกเจ็ดคนที่เหลือ คือ โคเงียวกุ (Kōgyoku), จิโต (Jitō), เก็มเม (Gemmei), เก็นโช (Genshō), โคเก็ง (Kōken), เมโช (Meishō) และโกะ-ซะกุระมะชิ (Go-Sakuramachi) ตามลำดั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและจักรพรรดินีซุอิโกะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโยเม

ักรพรรดิโยเม (พ.ศ. 1061 - พ.ศ. 1130) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นรัชกาลที่ 31Imperial Household Agency (Kunaichō): ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิโยเมครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1128 จนกระทั่งพระองค์เสร็จสวรรคต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและจักรพรรดิโยเม · ดูเพิ่มเติม »

ฆราวาส

ราวาส (อ่านว่า คะราวาด) นัยแรกแปลว่า การอยู่ครองเรือน, การอยู่ในเรือน, การเป็นอยู่แบบชาวบ้าน เช่น "ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง...." ฆราวาส นัยที่สองแปลว่า ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน ได้แก่ชาวบ้านทั่วไปที่มิใช่นักบวช เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า คฤหัสถ์ เช่น "ฆราวาสธรรมเป็นธรรมสำหรับผู้ครองเรือนจะพึงประพฤติปฏิบัติ" "เมื่อเรายังเป็นฆราวาสอยู่ ได้ตกแต่งร่างกายนุ่งห่มเสื้อผ้าอันงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน....." ฆราวาส มักพูดหรืออ่านเพี้ยนไปว่า ฆราวาส (คาระวาด).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ประตูซุซะกุ ประตูเมืองหลวงเฮโจวเกียว สมัยนะระ (บูรณะขึ้นมาใหม่) คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ ในชุด ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ วาดเมื่อปี พ.ศ. 2369 โดยคะสึชิกะ โฮะกุไซ ประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น: 日本の歴史; นิฮงโนะเระกิชิ).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

นิชิเร็งโชชู

อนุสาวรีย์พระนิชิเร็น ด้านนอกฮอนโนะจิ ใน อำเภอเทะระมะชิ กรุงเกียวโต นิกายนิชิเรนโชชู (日蓮正宗) คือหนึ่งในนิกายฝ่ายมหายานของพระพุทธศาสนา นิกายนิชิเรน โดยยึดตามคำสอนของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ซึ้งเชื่อในหมู่ผู้นับถือว่าคือพระพุทธเจ้าแท้จริง มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น การปฏิบัติที่รู้จักกันดีคือการสวดไดโมขุ หรือ ธรรมสารัตถที่ว่านัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว นิกายนี้จัดเป็นนิกายที่มีคำสอนตรงกันข้ามและหักล้างนิกายอื่นๆอย่างชัดเจน อาทิเช่น นิกายเซน, นิกายชินงอน, นิกายสุขาวดี, วัชรยาน เป็นต้น ซึ่งนิชิเรน ได้เห็นความเบี่ยนเบนทางคำสอนของพระพุทธศาสนา และได้หักล้างความเบี่ยนเบนต่างๆเหล่านั้น สาวกคนสำคัญของพระนิชิเร็นไดโชนิน พระนิกโค โชนิน เป็นผู้ก่อตั้งวัดใหญ่ไทเซขิจิ ปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก มีวัดสาขาและศูนย์กลางเผยแผ่ประจำในประเทศต่างๆเช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย ศรีลังกา สิงคโปร์ กานา บราซิล อาร์เจนตินา ฮ่องกง มาเลเซีย สเปน อินเดีย เป็นต้น คำสอนของนิกายได้รับการดัดแปลงและเผยแพร่โดยองค์กรทางพุทธศาสนาบางองค์กรจนแตกต่างไปในปัจจุบัน ดังนั้นนิกายนิชิเรนโชชูจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรเหล่านั้นแต่อย่างใด นิชิเรนโชชูได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 750 ปีแห่งการก่อตั้งนิกายเมื่อปี ค.ศ. 2002.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและนิชิเร็งโชชู · ดูเพิ่มเติม »

นิชิเร็น

ทธศาสนานิชิเร็น (日蓮系諸宗派, นิชิเร็น-เคอิ โช ชูฮะ) เป็นหนึ่งในนิกายทางมหายานของพุทธศาสนา ที่ยึดตามคำสอนของ พระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นชื่อ พระนิชิเร็ง (ค.ศ. 1222– ค.ศ. 1282) รูปแบบของศาสนาพุทธนิกายนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมญี่ปุ่นหลายช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ นิชิเร็นโชชูจะเชื่อใน คัมภีร์ สัทธรรมปุณฑริกสูตร และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติพุทธะอยู่ในชีวิตของแต่ละคนอยู่แล้ว จึงทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ในช่วงชีวิตนี้ ซึ่งพระนิชิเร็ง ได้เห็นความเบี่ยนเบนทางคำสอนของ มหายานในสมัยนั้น นิกายนิชิเร็นมีแตกแยกออกเป็นหลาย ๆ นิกายย่อยและลัทธิต่าง ๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังมีแยกออกเป็นกลุ่มศาสนาใหม่มากมาย โดยบางนิกายจะใช้บทสวดเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างในการปฏิบัติ และคำสอน ผู้นับถือนิกายนิชิเร็นจะเชื่อว่าการปฏิบัติธรรมจะสามารถนำพาความสุข และสันติสุขมาสู่โลก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและนิชิเร็น · ดูเพิ่มเติม »

นิฮงโชะกิ

นิฮงโชะกิ คือ พงศาวดารญี่ปุ่น เรียบเรียงสำเร็จใน ค.ศ. 720 นับเป็นหนังสือเล่มที่สองของญี่ปุ่นในสมัยโบราณ เขียนด้วยอักษรจีน ผู้เรียบเรียงคือองค์ชายโทะเนะริ และอาลักษณ์ชื่อโอโนะ ยาสึมะโร นิฮงโชะกิ ประกอบด้วยเนื้อหา 30 บท เป็นประวัติของพระราชวงศ์และจักรพรรดิ เริ่มจากภาคตำนาน เมื่อเทพได้จุติลงมาเป็นจักรพรรดิจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิในคริสต์ศตวรรษที่ 8.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและนิฮงโชะกิ · ดูเพิ่มเติม »

โพธิสัตว์ศีล

ัตว์ศีล คือศีลที่ปรากฏเฉพาะในพุทธศาสนานิกายมหายาน มีจุดมุ่งหมายให้ผู้สมาทานศีลนี้ มีความสำรวมทั้งกาย วาจา ใจเพื่อการก้าวสู่สถานะพระโพธิสัตว์รื้อขนสรรพสัตว์สู่พระนิพพาน โดยปกติแล้วฝ่ายบรรพชิตฝ่ายเถรวาทจะถือพระปาติโมกข์หรือศีล 227 ข้อ หรือที่ฝ่ายมหายานเรียกในภาษสันสกฤตว่า ปราติโมกษ์ โดยบรรพชิตฝ่ายมหายานก็ถือศีลชุดนี้เช่นกัน โดยอาศัยพระวินัยปิฎกจากพระไตรปิฎกของนิกายธรรมคุปต์ ซึ่งมีเนื้อหาตรงกับพระวินัยและ/หรือพระปาติโมกข์ของฝ่ายเถรวาท โดยบรรจุรวมอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาจีน อย่างไรก็ตาม นอกจากปาติโมกข์ หรือปราติโมกษ์ แล้ว บรรพชิตฝ่ายมหายานยังถือโพธิสัตว์ศีลอีกด้วย เพื่อขัดเกลาตนเองและศีลให้บริสุทธิ์สมกับการดำเนินตามครรลองโพธิสัตว์มรรคยิ่งขึ้น อันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญของพุทธศาสนิกชนนิกายมหายาน เสถียร โพธินันทะ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา และผู้แปลพระวินัยในพุทธศาสนามหายาน กล่าวถึงโพธิสัตว์ศีลไว้ในหนังสือ "ประมวญกำหนดสิกขาบทในอุตตรนิกาย" ไว้ว่า "อนึ่ง ถ้าจะพิจารณาตามกำเนิดของลัทธิมหายาน จักประจักษ์ว่า เป็นด้วยวัตถุประสงค์ส่งเสริมจริยาแห่งพระบรมโพธิสัตว์เป็นสำคัญ โดยสอนให้บุคคลตั้งปณิธาน มุ่งพระพุทธภูมิ เพื่อมีโอกาสในการโปรดสรรพสัตว์ได้กว้างขวาง ฉะนั้น ลัทธิมหายานจึงมีสิกขาบทพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีในลัทธิฝ่ายสาวกยานนั่นคือ “โพธิสัตว์สิกขาบท” หรือ “โพธิสัตว์ศีล” ซึ่งศีลประเภทนี้ เป็นสาธรณทั่วไป แก่บรรพชิต และฆราวาสชน มิได้จำกัดเพศ ใคร ก็ตามที่มีโพธิจิตต์ตั้งความปรารถนา จักลุพุทธภูมิไซร้ ก็ย่อมบำเพ็ญตามสิกขาบทนี้ และโพธิจริยาอื่นๆ มีทศบารมี เป็นต้น" โพธิสัตว์ศีล ของฝ่ายมหายานปรากฏในในพรหมชาลสูตร (มหายาน) ซึ่งระบุถึงศีลสำหรับพระโพธิสัตว์ อันเป็นมูลฐานของการเป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และพุทธะธาตุ หรือความเป็นพุทธะในตัวของสรรพสัตว์ แบ่งออกเป็นมหาโพธิสัตว์ศีล 10 (ครุกาบัติ) และจุลโพธิสัตว์ศีล 48 (ลหุกาบัติ) รวมเป็นโพธิสัตว์ศีล 58 ทั้งนี้ หากละเมิดครุกาบัติถือเป็นปาราชิก อย่างไรก็ตาม อาบัติโทษสถานหนัก 10 ข้อ แยกไว้เป็น 3 ประเภท เจตนา บังเอิญ หรือ สุดวิสัย คือ.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและโพธิสัตว์ศีล · ดูเพิ่มเติม »

โกทูโนว์

กทูโนว์ (GotoKnow.org) เป็นเว็บไซต์ให้บริการบล็อก สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต พัฒนาโดย ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ และ ผ. ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยในขณะนั้นมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ ซานฟรานซิสโกประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะย้ายมาเมืองไทยในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ภายใต้การสนับสนุนหลักจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โดยภายในเว็บไซต์มีการแบ่งย่อยเนื้อหาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออกเป็นกลุ่มเนื้อหาต่าง ๆ เช่น ชุมชนเบาหวาน ชุมชนอาหารปลอดภัย ชุมชนการป้องกันโรค นอกจากนี้ ในแต่ละหน้าจะเชื่อมโยงกันตามกลุ่มป้ายเพื่อง่ายต่อการค้นหาและเชื่อมโยงเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ผู้เขียน GotoKnow ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาวิชา จากองค์กรเอกชน หน่วยงานรัฐบาล วงการศึกษา และวงการแพทย์ โดยมีผู้เขียนมากกว่า 65,000 คน และมีผู้เข้าชมกว่า 21,000 คนต่อวัน โดยเพาะในวงการศึกษาศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช และคณะได้นำหลักการแนวคิดในการจัดการความรู้มาเผยแพร่ให้กับผู้บริหารต้นแบบของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ระหว่างปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและโกทูโนว์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโชโตะกุ

้าชายโชโตะกุ (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1115 – 8 เมษายน พ.ศ. 1165) รู้จักกันในพระนามเจ้าชายอุมะยะโดะ หรือเจ้าชายคะมิสึยะ เป็นผู้ปกครองในยุคอะซุกะแห่งประเทศญี่ปุ่น อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของจักรพรรดินีซุอิโกะ พระองค์เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิโยเมและเจ้าหญิงอะนะโนะเบะ โนะ ฮะชิฮิโตะ พระบิดาและพระมารดาเป็นพระญาติของตระกูลโซะกะ ซึ่งมีอำนาจมากในสมัยนั้น และพระองค์ทรงเกี่ยวพันกับการกำจัดตระกูลโมะโนะโนะเบะอีกด้วย หลักฐานสำคัญที่ใช้อ้างอิงพระประวัติและพระกรณียกิจนั้นมาจากพงศาวดารญี่ปุ่นนามนิฮงโชะก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและเจ้าชายโชโตะกุ · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา (ศาสนาพุทธ)

วัดโทได ตามคติความเชื่อในศาสนาพุทธ เทพ (-pi;देव เทว) หมายถึงชาวสวรรค์ ถ้าเป็นเพศชายเรียกว่าเทพบุตร เพศหญิงเรียกว่าเทพธิดา และเรียกโดยรวมว่าเทวดา ในบางกรณีอาจครอบคลุมถึงพระพรหมทั้งหลายในพรหมภูมิด้ว.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและเทวดา (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

เทียนไถ

นิกายสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือ นิกายเทียนไถ (天台宗 Tiāntái) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศจีน ก่อตั้งโดยฉีอี้ นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและเทียนไถ · ดูเพิ่มเติม »

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและเซน · ดูเพิ่มเติม »

1 กุมภาพันธ์

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 32 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 333 วันในปีนั้น (334 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและ1 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

12 ตุลาคม

วันที่ 12 ตุลาคม เป็นวันที่ 285 ของ.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและ12 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »