โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสหรัฐ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสหรัฐ

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย vs. สหรัฐ

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง. หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสหรัฐ

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสหรัฐ มี 42 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาญี่ปุ่นภาษาละตินภาษาอังกฤษภาษาเยอรมันมอรมอนมะเร็งรองประธานาธิบดีสหรัฐรัฐสภาสหรัฐรัฐฮาวายวอชิงตัน ดี.ซี.วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544สหราชอาณาจักรสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์สงครามกลางเมืองอเมริกาสงครามโลกครั้งที่สองสงครามเวียดนามอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อินทรีหัวขาวอินเทอร์เน็ตจอร์จ วอชิงตันทวีปเอเชียทอมัส เอดิสันทำเนียบขาวคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสความดันโลหิตสูงคาซาบลังกา (ภาพยนตร์)คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาซีบีเอสประธานาธิบดีสหรัฐประเทศจีน...ประเทศแคนาดาประเทศเกาหลีใต้ประเทศเม็กซิโกนครนิวยอร์กโรคอ้วนโรคซึมเศร้าโรนัลด์ เรแกนเฮนรี ฟอร์ดเดอะนิวยอร์กไทมส์เดอะเพนตากอนเครื่องรับวิทยุเครื่องจักรไอน้ำ ขยายดัชนี (12 มากกว่า) »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ภาษาญี่ปุ่นและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ภาษาญี่ปุ่นและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ภาษาละตินและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ภาษาละตินและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ภาษาอังกฤษและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ภาษาอังกฤษและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ภาษาเยอรมันและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ภาษาเยอรมันและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

มอรมอน

รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน เป็นผู้นำศาสนาคริสต์นิกายมอรมอนคนปัจจุบัน จำนวนสมาชิกของศาสนจักรมอรมอนทั่วโลกเมื่อปี 2009https://www.mormonnewsroom.org/facts-and-statistics มอรมอน (Mormon) เป็นคริสต์ศาสนิกชนกลุ่มหนึ่งในขบวนการวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ซึ่งโจเซฟ สมิธ เป็นผู้ริเริ่มขบวนการนี้ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1820 ปัจจุบันชาวมอรมอนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ชาวมอรมอนมีบทบาทมากในรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา แต่ศาสนิกชนส่วนมากอาศัยอยู่นอกสหรัฐ ชาวมอรมอนยอมรับคัมภีร์ไบเบิลและคัมภีร์อื่น ๆ ด้วยโดยเฉพาะพระคัมภีร์มอรมอน และเชื่อว่าโจเซฟ สมิธ เป็นผู้ฟื้นฟูคริสตจักรของพระคริสต์ และยังมีการสืบทอดตำแหน่งผู้เผยพระวจนะและอัครทูตในฐานะผู้นำคริสตจักร ในปี..

มอรมอนและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · มอรมอนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

มะเร็งและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · มะเร็งและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รองประธานาธิบดีสหรัฐ

รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (Vice President of the United States; ย่อ: VPOTUS) เป็นบุคคลแรกภายใต้โครงสร้างการบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐ และจะได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีเมื่อประธานาธิบดีคนปัจจุบันถึงแก่อสัญกรรม ลาออกหรือถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐนั้น รองประธานาธิบดียังได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานวุฒิสภาอีกด้วย แต่จะไม่มีอำนาจในการลงมติ เว้นแต่เพื่อการชี้ขาดในกรณีคะแนนเสียงเท่ากัน รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ คือนาย ไมก์ เพนซ์ ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ รายนามรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ส หมวดหมู่:รองประธานาธิบดีสหรัฐ หมวดหมู่:คณะรัฐมนตรีสหรัฐ.

รองประธานาธิบดีสหรัฐและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · รองประธานาธิบดีสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

รัฐสภาสหรัฐและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · รัฐสภาสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฮาวาย

รัฐฮาวาย (Hawaii,, ภาษาฮาวาย: Hawaii) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวายได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือลำดับที่ 50 ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยฮาวายตั้งห่างจากชายฝั่งสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,700 กม.

รัฐฮาวายและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · รัฐฮาวายและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

วอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและวอชิงตัน ดี.ซี. · วอชิงตัน ดี.ซี.และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

หตุวินาศกรรม 11 กันยายน..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 · วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสหราชอาณาจักร · สหรัฐและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที, เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ MIT ตั้งขึ้นในปี..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ · สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอเมริกา

งครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War) เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐระหว่างปี 1861 ถึง 1865 สืบเนื่องจากข้อโต้แย้งยืดเยื้อเกี่ยวกับทาส ระหว่างฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสหภาพซึ่งประกาศความภักดีต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสมาพันธรัฐซึ่งสนับสนุนสิทธของรัฐในการขยายทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในบรรดา 34 รัฐของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 1861 เจ็ดรัฐทาสในภาคใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐเพื่อตั้งเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา หรือ "ฝ่ายใต้" สมาพันธรัฐเติบโตจนมี 11 รัฐทาส รัฐบาลสหรัฐไม่เคยรับรองทางการทูตซึ่งสมาพันธรัฐ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทุกประเทศ (แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะให้สถานภาพคู่สงคราม) รัฐที่ยังภักดีต่อสหรัฐ (รวมทั้งรัฐชายแดนซึ่งทาสชอบด้วยกฎหมาย) เรียก "สหภาพ" หรือ "ฝ่ายเหนือ" สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสงครามกลางเมืองอเมริกา · สงครามกลางเมืองอเมริกาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสงครามเวียดนาม · สงครามเวียดนามและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · สหรัฐและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีหัวขาว

อินทรีหัวขาว หรือ อินทรีหัวล้าน (White-Head Eagle, Bald Eagle, American Eagle) เป็นนกอินทรีชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกอินทรีทะเล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Haliaeetus leucocephalus เป็นนกขนาดใหญ่ มีจุดเด่น คือ ขนส่วนหัวจนถึงลำคอเป็นสีขาว ตัดกับสีขนลำตัวและปีกซึ่งเป็นสีดำ และปลายหางสีขาว ขณะที่กรงเล็บ รวมทั้งจะงอยปากเป็นสีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 70-102 เซนติเมตร (28-40 นิ้ว) ความยาวปีกเมื่อกางปีก 1.8-2.3 เมตร (5.9-7.5 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 7 กิโลกรัม (9-12 ปอนด์) ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ประมาณร้อยละ 25 สามารถบินได้เร็วประมาณ 48 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีสายตาที่สามารถมองได้ไกลประมาณ 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) จัดเป็นนกที่มีความสวยงามและสง่างามมากชนิดหนึ่ง มีถิ่นกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือตลอดไปจนถึงเม็กซิโกตอนเหนือ และทะเลแคริบเบียน มักอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชายทะเล เพราะกินปลาเป็นอาหารหลัก มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 25-30 ปี ในขณะที่ยังเป็นนกวัยอ่อนจนถึง 5 ขวบ ขนบริเวณหัวและปลายหางจะยังเป็นสีน้ำตาล ไม่เปลี่ยนไปเป็นสีขาว อินทรีหัวขาวมีพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีกันค่อนข้างโลดโผน โดยนกทั้งคู่จะใช้กรงเล็บเกาะเกี่ยวกันกลางอากาศ แล้วทิ้งตัวดิ่งลงสู่พื้นดิน แต่เมื่อใกล้จะถึงพื้น ก็จะผละแยกออกจากกัน ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้เป็นไปเพื่อต้องการทดสอบความแข็งแกร่งของคู่ของตน ซึ่งจะทำให้ได้ลูกนกที่เกิดมาใหม่นั้นเป็นนกที่แข็งแรง อีกทั้งยังเป็นคู่ที่จับคู่กันตลอดชีวิตอีกด้วย เว้นแต่ตัวใดตัวหนึ่งตายไปเสียก่อน จึงจะหาคู่ใหม่ อินทรีหัวขาวถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยปรากฏในตราประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และอีกหลายหน่วยงานราชการในประเทศ อินทรีหัวขาว เป็นนกที่ได้รับการคุ้มครองในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและอินทรีหัวขาว · สหรัฐและอินทรีหัวขาว · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและอินเทอร์เน็ต · สหรัฐและอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ วอชิงตัน

อร์จ วอชิงตัน (George Washington, 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 Engber, Daniel (2006).. (Both Franklin's and Washington's confusing birth dates are clearly explained.) Retrieved on June 17, 2009.วันเกิดและวันถึงแก่กรรมของจอร์จ วอชิงตันในที่นี้เป็นระบบปฏิทินเกรกอเรียน อย่างไรก็ดี ขณะที่เขาเกิด สหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคมทั้งหมดยังใช้ปฏิทินจูเลียนอยู่ ดังนั้นในบันทึกร่วมสมัยนั้นจึงระบุวันเกิดของเขาเป็นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 บทบัญญัติว่าด้วยการใช้ปฏิทินรูปแบบใหม่ ค.ศ. 1750 เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1752 ซึ่งเปลี่ยนแปลงวันที่ในระบบของอังกฤษเดิม มาเป็นปฏิทินเกรกอเรียนโดยเริ่มต้นปี ณ วันที่ 1 มกราคม – 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799) เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองที่โดดเด่นของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ระหว่าง..

จอร์จ วอชิงตันและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · จอร์จ วอชิงตันและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ทวีปเอเชียและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ทวีปเอเชียและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส เอดิสัน

''A Day with Thomas Edison'' (1922) ทอมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน ทอมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟ และสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย เอดิสันยังคงเป็นบุคคลสำคัญในสงครามกระแสไฟฟ้า (War of Currents) โดยเอดิสันพยายามผลักดันระบบไฟฟ้ากระแสตรงของบริษัท แข่งกับระบบไฟฟ้ากระแสสลับของจอร์จ เวสติงเฮาส์ (George Westinghouse) โดยพนักงานในบริษัทของเขาได้โฆษณาชวนเชื่อความอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับโดยการฆ่าหมาแมวเป็นจำนวนหลายตัว.

ทอมัส เอดิสันและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ทอมัส เอดิสันและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ทำเนียบขาว

ทำเนียบขาว (White House) เป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการและสถานที่ทำงานหลักของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1600 ถนนเพนซิลเวเนีย เขตตะวันตกเฉียงเหนือ วอชิงตัน ดี.ซี. โดยเป็นสถานที่พำนักของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนตั้งแต่ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ในปี..

ทำเนียบขาวและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ทำเนียบขาวและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

ริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus), กริสโตบัล โกลอน (Cristóbal Colón), คริสโตโฟรุส โกลุมบุส (Christophorus Columbus) หรือ กริสตอโฟโร โกลอมโบ (Cristoforo Colombo; เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว "Christopher Columbus." Encyclopædia Britannica.

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ความดันโลหิตสูงและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ความดันโลหิตสูงและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

คาซาบลังกา (ภาพยนตร์)

ซาบลังกา (Casablanca) เป็นภาพยนตร์รักอเมริกัน ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 1942 กำกับโดยไมเคิล เคอร์ติซ นำแสดงโดยฮัมฟรีย์ โบการ์ต อิงกริด เบิร์กแมน และพอล เฮนรีด และมีโคลด เรนส์ คอนราด วีดท์ ซิดนีย์ กรีนสตรีท ปีเตอร์ ลอรร์ และดูลีย์ วิลสัน เป็นนักแสดงสบท.

คาซาบลังกา (ภาพยนตร์)และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · คาซาบลังกา (ภาพยนตร์)และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา

วาดคณะกรรมการร่างคำประกาศอิสรภาพยื่นร่างให้กับรัฐสภาอเมริกา โดยภาพนี้พบได้ในธนบัตรสองดอลลาร์ด้วย คำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐ (United States Declaration of Independence) เป็นแถลงการณ์ซึ่งสภาภาคพื้นทวีปลงมติยอมรับเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม..

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ซีบีเอส

ซีบีเอส (CBS หรือ CBS Broadcasting Inc.) เป็นเครือข่ายสถานีโทรทัศน์อเมริกัน หนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่ แห่งวงการโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา โดยอีกสองสถานีคือ เอ็นบีซี และเอบีซี และเช่นเดียวกับทั้งเอ็นบีซี ทางซีบีเอสเริ่มจากการเป็นสถานีวิทยุมาก่อน ชื่อมาจากชื่อเก่าของสถานีที่ใช้ชื่อว่า โคลัมเบีย บรอดแคสติง ซิสเตม (Columbia Broadcasting System) ในบางครั้งจะเรียกว่าสถานี "อายเน็ตเวิร์ก" (Eye Network) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า "ดิอาย" (The Eye) เนื่องจากรูปร่างโลโก้ของบริษัทที่มีลักษณะเป็นดวงตา หรือในบางครั้งก็เรียกว่า "ทิฟฟานีเน็ตเวิร์ก" (Tiffany Network) เช่นกัน ที่หมายถึงความมีคุณภาพสูงของรายการของซีบีเอสในช่วงระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งของผู้ก่อตั้ง วิลเลียม เอส. แพเลย์ (1927–1990) (พ.ศ. 2470-2533) และยังอาจหมายถึงการเริ่มออกอากาศทางโทรทัศน์สีครั้งแรกของช่องอีกด้วย ที่เกิดขึ้นในตึก ทิฟฟานี แอน.

ซีบีเอสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ซีบีเอสและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ประธานาธิบดีสหรัฐและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ประธานาธิบดีสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ประเทศจีนและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ประเทศจีนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ประเทศแคนาดาและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ประเทศแคนาดาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ประเทศเกาหลีใต้และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ประเทศเกาหลีใต้และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ประเทศเม็กซิโกและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

นครนิวยอร์กและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · นครนิวยอร์กและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

โรคอ้วน

รคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีการคาดหมายคงชีพลดลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่งWHO 2000 p.6 การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก ใน..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและโรคอ้วน · สหรัฐและโรคอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและโรคซึมเศร้า · สหรัฐและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โรนัลด์ เรแกน

รนัลด์ วิลสัน เรแกน (Ronald Wilson Reagan; 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 40 (พ.ศ. 2524–2532) สังกัดพรรครีพับลิกัน นอกจากนี้เรแกนยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 33 (พ.ศ. 2510-พ.ศ. 2518) ก่อนหน้านั้นเขาเคยเป็นผู้ประกาศข่าวและนักแสดงมาก่อน เรแกนเกิดในเมือง ตัมปีโก, รัฐอิลลินอยส์ เติบโตมาในดิกซัน แรแกนได้ศึกษาเข้าที่มหาวิทยาลัย Eureka โดยได้หารายได้จากศิลปศาสตรบัณฑิต ปริญญาในสาขาเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยา หลังจากสำเร็จการศึกษา เรแกนได้ย้ายไปยัง รัฐไอโอวา โดยทำหน้าที่เป็นผู้กระจายเสียงทางวิทยุ หลังจากในปี พ.ศ. 2480 เรแกนได้ไปยังเมือง ลอสแอนเจลิส เมื่อเรแกนเริ่มทำงานโดยการเป็นนักแสดง โดยเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์และครั้งสุดท้ายในวิทยุ หนึ่งในภาพยนตร์ที่โดดเด่นที่สุดของเขามีดังนี้ Knute Rockne, All American (2483), Kings Row (2485), and Bedtime for Bonzo (2494) เรแกนทำหน้าที่เป็นประธานของสมาคมนักแสดงหน้าจอและต่อมาเป็นโฆษกสำหรับ General Electric (GE) จุดเริ่มต้นของแรแกนในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของเขาสำหรับจีอี แต่เดิมเขาเป็นสมาชิกของพรรคเดโมแครต (สหรัฐอเมริกา) แต่เนื่องจากฝ่ายขยับแพลตฟอร์มในระหว่างปี พ.ศ. 2493 เปลี่ยนไปอยู่ในพรรคริพับลิกัน (สหรัฐอเมริกา) ใน พ.ศ. 2505 หลังจากการส่งมอบคำพูดที่เร้าใจในการสนับสนุนของผู้สมัครประธานาธิบดี แบรี่ โกรวอทเธอร์ ในปี พ.ศ. 2507, เขาถูกชักชวนให้ไปหาผู้ว่าจ้างแคลิฟอเนีย, เขาชนะสองปีและอีกครั้งในปี พ.ศ. 2513 เขาก็พ่ายแพ้ในระยะของเขาสำหรับพรรคริพับลิกันเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2511 และในปี พ.ศ. 2519.

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและโรนัลด์ เรแกน · สหรัฐและโรนัลด์ เรแกน · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี ฟอร์ด

นรี ฟอร์ด พ.ศ. 2462 เฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) (30 กรกฎาคม พ.ศ. 2406 – 7 เมษายน พ.ศ. 2490) เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ และได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนก่อให้เกิด "ชนชั้นกลาง" ขึ้นมาในสังคมอเมริกัน ฟอร์ดเป็นผู้แรกที่ประยุกต์ระบบสายพานการผลิตเข้ากับการผลิตยานยนต์ในจำนวนมาก ๆ ความสำเร็จนี้ไม่เพียงแต่ปฏิวัติการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลอย่างมากกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ โดยนักทฤษฎีสังคมหลายคนถึงกับเรียกช่วงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมช่วงนี้ว่า "แบบฟอร์ด" (Fordism).

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและเฮนรี ฟอร์ด · สหรัฐและเฮนรี ฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · สหรัฐและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเพนตากอน

อะเพนตากอน (The Pentagon) หรือ อาคารเพนตากอน เป็นอาคารที่ทำการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เคานตีอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย อาคารเพนตากอนรูปห้าเหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ทางการทหารของสหรัฐอเมริกา อาคารเพนตากอนเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นอาคารสำนักงานที่มีพนักงานมากที่สุดในโลก และเคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับตามปริมาณพื้นที่ใช้สอย) ปัจจุบันมีพนักงานทั้งทหารและพลเรือนทำงานมากกว่า 23,000 คน และพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหารอีกกว่า 3,000 คน รูปทรงของเพนตากอนเป็นรูปห้าเหลี่ยม ตัวอาคารมีห้าชั้น และแต่ละชั้นแบ่งเป็นวงย่อยๆ ห้าวงซ้อนกัน บริเวณใจกลางของเพนตากอนมีอาณาเขต 20,000 ตร.ม. นับเป็นอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลกที่ทหารไม่จำเป็นต้องทำความเคารพนายทหารชั้นสัญญาบัตร (ตามปกติในที่โล่ง เมื่อสวมหมวกจะต้องทำความเคารพเสมอ).

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและเดอะเพนตากอน · สหรัฐและเดอะเพนตากอน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องรับวิทยุ

รื่องรับวิทยุรุ่นเก่า เครื่องรับวิทยุ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้าง แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน โดยทั่วไป คำว่า "เครื่องวิทยุ" มักจะใช้เรียกเครื่องรับสัญญาณความถี่กระจายเสียง เพื่อส่งข่าวสาร และความบันเทิง โดยมีย่านความถี่หลักๆ คือ คลื่นสั้น คลื่นกลาง และคลื่นยาว.

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและเครื่องรับวิทยุ · สหรัฐและเครื่องรับวิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจักรไอน้ำ

รื่องจักรไอน้ำ เครื่องจักรไอน้ำ (Steam engine) ประดิษฐ์โดย โทมัส นิวโคเมน (Thomas Newcomen) เมื่อ พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1705) ต่อมา เจมส์ วัตต์ ได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำขึ้น ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีการนำเอาชื่อท่านมาตั้งเป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า เช่น กำลังไฟฟ้า 400 วัตต์ เป็นต้น เครื่องจักรไอน้ำเป็นเครื่องจักรแรกๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น รถจักรไอน้ำ เรือกลไฟ ฯลฯ เครื่องจักรไอน้ำ เป็นเครื่องจักรประเภท สันดาปภายนอก ที่ให้ความร้อนผ่านของเหลว (น้ำ) และทำการเปลี่ยนไอของของเหลวเป็นพลังงานกล ซึ่งสามารถนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยการนำไอน้ำมาหมุนกังหันของ เครื่องปั่นไฟ (ไดนาโม) เครื่องจักรไอน้ำต้องมีหม้อต้มในการต้มน้ำในการทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จากการต้ม จะนำไปเป็นแรงในการดันกระบอกสูบหรือกังหัน ข้อดีของเครื่องจักรไอน้ำประการหนึ่งคือการที่สามารถใช้แหล่งความร้อนจากอะไรก็ได้ เช่น ถ่านหิน, ฟืน, น้ำมันปิโตรเลียม หรือกระทั่ง นิวเคลียร์ และแม้แต่ในปัจจุบัน เครื่องจักรไอน้ำหรือกลไกที่ถูกพัฒนาขึ้นจากเครื่องจักรไอน้ำยังคงปรากฏซ่อนอยู่ในเครื่องจักรเครื่องกลแทบทุกประเภท เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน จนถึง กระบอกสูบในรถยนต์ หรือในเครื่องบินในปัจจุบันนั้นมีการค้นพบรูปแบบใหม่ๆในการนำเครื่องจักรไอน้ำไปใช้งาน การค้นพบครั้งล่าสุดถูกค้นพอโดนลูกชายของโทมัส นิวโครแมน โดยชื่อที่ใช้ในการค้นพบคือ อเล็กซ์ซี่ นิวโครแมน ซึ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม..

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและเครื่องจักรไอน้ำ · สหรัฐและเครื่องจักรไอน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสหรัฐ

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย มี 675 ความสัมพันธ์ขณะที่ สหรัฐ มี 556 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 42, ดัชนี Jaccard คือ 3.41% = 42 / (675 + 556)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสหรัฐ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »