โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่ดันเคิร์กและเรือพิฆาต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยุทธการที่ดันเคิร์กและเรือพิฆาต

ยุทธการที่ดันเคิร์ก vs. เรือพิฆาต

ทธการที่ดันเคิร์ก เป็นปฏิบัติการทางทหารซึ่งเกิดที่ดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การยุทธ์นี้ต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและนาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่ฝรั่งเศสบนแนวรบด้านตะวันตก ยุทธการที่ดันเคิร์กเป็นการป้องกันและอพยพทหารบริติชและฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรประหว่างวันที่ 26 พฤษภาคมถึง 4 มิถุนายน 1940 หลังสงครามลวง ยุทธการที่ฝรั่งเศสเริ่มอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ทางทิศตะวันตก กองทัพเยอรมันกลุ่มบีบุกครองประเทศเนเธอร์แลนด์และบุกไปทางทิศตะวันตก ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอกฝรั่งเศส โมรีส เกมลิน (Maurice Gamelin) เริ่ม "แผนดี" และเข้าประเทศเบลเยียมเพื่อประจัญบานกับฝ่ายเยอรมันในประเทศเนเธอร์แลนด์ แผนดังกล่าวต้องพึ่งพาป้อมสนามแนวมากีโนตามชายแดนเยอรมัน–ฝรั่งเศสอย่างมาก แต่กองทัพเยอรมันข้ามแนวดังกล่าวมาแล้วผ่านประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ก่อนกองทัพฝรั่งเศสมาถึง เกมลินจึงส่งกำลังภายใต้บังคับบัญชาของเขา ได้แก่ กองทัพสนามยานเกราะ (mechanized army) สามกอง คือ กองทัพที่ 1 ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และกำลังรบนอกประเทศบริเตน (British Expeditionary Force) ไปแม่น้ำดิล (Dyle) วันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันกลุมเอทะลวงผ่านป่าอาร์เดนและบุกไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็วสู่ซะด็อง (Sedan) แล้วหันขึ้นเหนือสู่ช่องแคบอังกฤษ การนี้จอมพลเอริช ฟอน มันชไตน์ เรียกว่า "เกี่ยวออก" (หรือเรียก "แผนเหลือง" หรือแผนมันชไตน์) ซึ่งเป็นการโอบทัพฝ่ายสัมพันธมิตร การตีโต้ตอบหลายครั้งของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมทั้งยุทธการที่อารัส (Arras) ไม่สามารถหยุดยั้งหัวหอกของเยอรมันได้ ซึ่งไปถึงชายฝั่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม แยกกองทหารบริติชใกล้กับแอคม็องตีแย (Armentières) กองทัพที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และกองทัพเบลเยียมที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกำลังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่อยู่ทางใต้ของการบุกทะลวงของเยอรมัน เมื่อถึงช่องแคบแล้ว กำลังเยอรมันกวาดไปทางเหนือตามชายฝั่ง คุกคามที่จะยึดท่าและดักกองทัพบริติชและฝรั่งเศสก่อนที่จะสามารถอพยพไปบริเตน ฝ่ายเยอรมันหยุดการบุกเข้าดันเคิร์กซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดครั้งหน่งของสงคราม สิ่งที่เรียกว่า "คำสั่งหยุด" นั้นมิได้มาจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งขัดต่อความเชื่อของมหาชน จอมพลแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์และกึนเทอร์ ฟอน คลูเกอเสนอว่ากองทัพเยอรมันรอบวงล้อมดันเคิร์กควรหยุดการบุกเข้าท่าและสะสมกำลังเพื่อเลี่ยงการตีฝ่าของฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์อนุมัติคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 24 พฤษภาคมด้วยการสนับสนุนของกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพหยุดเป็นเวลาสามวันซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีเวลาเพียงพอสำหรับจัดระเบียบการอพยพดันเคิร์กและตั้งแนวป้องกัน แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะประเมินสถานการณ์ดังกล่าวไว้อย่างเลวร้าย โดยบริเตนถึงขั้นอภิปรายกันเรื่องยอมจำนนแบบมีเงื่อนไขต่อเยอรมนี ในบั้นปลายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการช่วยเหลือกว่า 330,000 น. ูเอสเอส วินสตัน เอส. เชอร์ชิล (USS Winston S. Churchill) ของกองทัพเรือสหัฐอเมริกา เรือพิฆาต (destroyer) เป็นคำศัพท์เฉพาะทางของกองทัพเรือซึ่งหมายถึงเรือรบที่รวดเร็วและคล่องแคล่ว มีระยะทำการไกล มีหน้าที่คุ้มกันเรือขนาดใหญ่ในกองเรือรบ ขบวนเรือ หรือ หมู่เรือบรรทุกอากาศยาน โดยปกป้องจากเรือรบที่มีขนาดเล็กกว่า มีระยะยิงที่สั้นแต่ทรงพลัง (แต่เดิมคือเรือตอร์ปิโด, ต่อมาภายหลังเป็นเรือดำน้ำและอากาศยาน).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุทธการที่ดันเคิร์กและเรือพิฆาต

ยุทธการที่ดันเคิร์กและเรือพิฆาต มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยุทธการที่ดันเคิร์กและเรือพิฆาต

ยุทธการที่ดันเคิร์ก มี 32 ความสัมพันธ์ขณะที่ เรือพิฆาต มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (32 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุทธการที่ดันเคิร์กและเรือพิฆาต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »